พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. เจติยราชชาดก ว่าด้วยเชฏฐาปจายนธรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ส.ค. 2564
หมายเลข  35884
อ่าน  427

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 531

๖. เจติยราชชาดก

ว่าด้วยเชฏฐาปจายนธรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 531

๖. เจติยราชชาดก

ว่าด้วยเชฏฐาปจายนธรรม

[๑๑๖๓] เชฏฐาปจายนธรรม อันบุคคลใดทำลายแล้ว ย่อมทำลายบุคคลนั้น เสียโดยแท้ เชฏฐาปจายนธรรม อันบุคคลใดไม่ทำลายแล้ว ย่อมไม่ทำลายบุคคลนั้น แม้สักหน่อยหนึ่ง เพราะเหตุนั้นแล พระองค์ไม่ควรทำลายเชฏฐาปจายนธรรมเลย เชฏฐาปจายนธรรมที่ พระองค์ทำลายแล้ว อย่าได้กลับมา ทำลายพระองค์เลย.

[๑๑๖๔] เมื่อพระองค์ยังตรัสคำ กลับกลอกอยู่ เทวดาทั้งหลาย ก็จะพากันหลีกหนีไปเสีย พระโอษฐ์จักมีกลิ่นบูดเน่า เหม็นฟุ้งไป ผู้ใดรู้อยู่ เมื่อถูกถามปัญหาแล้ว แกล้งแก้ปัญญานั้น ไปเสียอย่างอื่น ผู้นั้นย่อมพลัดพราก จากฐานะของตน แล้วถูกแผ่นดินสูบ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 532

ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ถ้าพระองค์ตรัส สัจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ในพระราชวัง ตามเดิมได้ ถ้ายังตรัสมุสาวาทอยู่ พระองค์ก็จะดำรงอยู่ได้ เพียงบนพื้นดิน ไม่สามารถจะ ลอย ขึ้นสู่อากาศได้อีก.

[๑๑๖๕] พระราชาพระองค์ใด ทรงทราบอยู่ ถูกเขาถามปัญหาแล้ว แกล้งทำมุสาวาท พยากรณ์ ปัญหานั้นไปเสียอย่างอื่น ในแว่นแคว้นของ พระราชาพระองค์นั้น ฝนย่อมตกในเวลาไม่ใช่ฤดูกาล ย่อมไม่ตกต้องตามฤดูกาล.

ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ถ้าพระองค์ตรัส สัจวาจา พระองค์ก็จะประทับ อยู่ในพระราชวังตามเดิมได้ ถ้าพระองค์ตรัส มุสาวาทอยู่ ก็จะถูกแผ่นดินสูบลงไปอีก.

[๑๑๖๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ในทิศ พระราชาพระองค์ใด ทรงทราบอยู่ ถูกเขาถามปัญหา แล้วแกล้งตรัสแก้ปัญหานั้น ไปเสียอย่างอื่น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 533

พระชิวหาของพระราชาพระองค์นั้น จะแตกเป็นสองแฉก เหมือนลิ้นงู.

ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ถ้าพระองค์ตรัส สัจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ ในพระราชวังตามเดิมได้ ถ้าพระองค์ยังตรัสมุสาวาทอยู่ ก็จะถูกแผ่นดินสูบ ลึกยิ่งลงไปอีก.

[๑๑๖๗] ข้าแต่พระราชา ผู้เป็นใหญ่ในทิศ พระราชาพระองค์ใด ทรงทราบอยู่ เมื่อถูกถามปัญหา แล้วแกล้งตรัส แก้ปัญหานั้น ไปเสียอย่างอื่น พระชิวหาของพระราชา พระองค์นั้น จะไม่มี เหมือนปลาฉะนั้น.

ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ถ้าพระองค์ตรัสสัจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ ในพระราชวังตามเดิมได้ ถ้าพระองค์ยังตรัสมุสาวาทอยู่ ก็จะถูกแผ่นดินสูบ ลึกยิ่งลงไปกว่านี้อีก.

[๑๑๖๘] พระราชาพระองค์ใด ทรงทราบอยู่ เมื่อถูกถามปัญหาแล้ว แกล้งตรัสแก้ปัญหานั้นไป

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 534

เสียอย่างอื่น พระราชาพระองค์นั้น จะมีแต่พระธิดาเท่านั้น มาเกิด หามีพระราชโอรสมาเกิดในราชสกุลไม่.

ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ถ้าพระองค์ตรัส สัจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ ในพระราชวังตามเดิมได้ ถ้าพระองค์ยังตรัสมุสาวาทอยู่ ก็จะถูกแผ่นดินสูบ ลึกไปยิ่งกว่านี้อีก.

[๑๑๖๙] พระราชาพระองค์ใด ทรงทราบอยู่ เมื่อถูกถามปัญหาแล้ว แกล้งตรัสแก้ปัญหานั้น ไปเสียอย่างอื่น พระราชาพระองค์นั้นจะไม่มีพระราชโอรส ถ้ามีก็จะพากันหลีกหนี ไปยัง ทิศน้อยทิศใหญ่.

ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ถ้าพระองค์ตรัส สัจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ ในพระราชวัง ตามเดิมได้ ถ้าพระองค์ยังตรัสมุสาวาทอยู่ ก็จะถูกแผ่นสูบ ลึกยิ่งกว่านั้นลงไปอีก.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 535

[๑๑๗๐] พระเจ้าเจติยราชนั้น แต่ก่อนเคยเสด็จ เที่ยวไปได้ในอากาศ ภายหลังถูกพระฤๅษีสาบแล้ว เสื่อมจากอำนาจ ถึงกำหนดเวลาของตนแล้ว ก็ถูกแผ่นดินสูบ.

เพราะเหตุนั้นแหละ บัณฑิตทั้งหลาย จึงไม่สรรเสริญฉันทาคติ บุคคลไม่พึงเป็นผู้มีจิต ถูกฉันทาคติ เป็นต้น ประทุษร้าย พึงกล่าวแต่คำสัตย์เท่านั้น.

จบ เจติยราชชาดกที่ ๖

อรรถกถาเจติยราชชาดกที่ ๖

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ พระเทวทัต ตอนถูกแผ่นดินสูบ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ธมฺโม หเว หโต หนฺติ ดังนี้.

ความย่อมีว่า วันนี้ ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัต ทำมุสาวาท ถูกแผ่นดินสูบ มีอเวจีเป็นที่ไปในเบื้องหน้า. พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากัน ถึงเรื่องอะไร? เมื่อภิกษุเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 536

กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่พระเทวทัต ทำมุสาวาทแล้ว ถูกแผ่นดินสูบ แม้ในกาลก่อน พระเทวทัต ก็ทำมุสาวาท แล้วถูกแผ่นดินสูบเหมือนกัน ดังนี้ แล้วทรงนำเอา เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งปฐมกัป มีพระราชาทรงพระนามว่า มหาสัมมตะ ทรงมีพระชนมายุได้หนึ่งอสงไขย. พระโอรสของพระองค์มีพระนามว่า โรชะ พระโอรสของพระเจ้าโรชะ มีพระนามว่า วรโรชะ โอรสของพระเจ้าวรโรชะ มีพระนามว่า กัลยาณะ โอรสของพระเจ้ากัลยาณะ มีพระนามว่า วรกัลยาณะ โอรสของพระเจ้าวรกัลยาณะ มีพระนามว่า อุโบสถ โอรสของพระเจ้าอุโบสถ มีพระนามว่า วรอุโบสถ โอรสของพระเจ้าวรอุโบสถ มีพระนามว่า มันธาตุ โอรสของพระเจ้ามันธาตุ มีพระนามว่า วรมันธาตุ โอรสของพระเจ้าวรมันธาตุ มีพระนามว่า วระ โอรสของพระเจ้าวระ มีพระนามว่า อุปวระ แต่บางคนก็เรียกว่า อุปริจระ.

พระเจ้าอุปจิรราชนั้น ครองราชสมบัติ อยู่ ณ โสตถิยนคร ในเจติยรัฐ พระองค์ประกอบด้วยฤทธิ์ ๔ อย่าง มักเสด็จไปเบื้องบน คือ เสด็จไปโดยอากาศ มีเทพบุตร ๔ องค์ ถือพระขรรค์รักษาอยู่ทั้ง ๔ ทิศ มีกลิ่นจันทน์หอมฟุ้ง ออกจากพระวรกาย มีกลิ่นอุบลหอมฟุ้ง ออกจากพระโอษฐ์. พระองค์มีพราหมณ์ชื่อว่า กปิล เป็นปุโรหิต. กปิลพราหมณ์ มีน้องชายชื่อ โกรกลัมพกะ เป็นพาลสหาย เคยเล่าเรียนศิลปะในสำนัก

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 537

อาจารย์เดียวกันกับพระราชา. ในสมัยที่ พระราชายังเป็นพระราชกุมาร พระองค์ได้ทรงปฏิญญา กะโกรกลัมพกพราหมณ์ไว้ว่า เมื่อเราได้ครองราชสมบัติแล้ว จักให้ตำแหน่งปุโรหิตกับท่าน. ครั้นพระองค์ ขึ้นครองราชสมบัติแล้ว ก็ไม่อาจถอดกปิลพราหมณ์ ซึ่งเป็นปุโรหิตของพระชนก ออกจากตำแหน่งปุโรหิตได้. ก็เมื่อกปิลปุโรหิตเข้าเฝ้าพระองค์ ก็ทรงแสดงความยำเกรง ด้วยความเคารพในปุโรหิตนั้น. พราหมณ์สังเกตุ อาการนั้นแล้วคิดว่า ธรรมดาการครองราชสมบัติ ต้องบริหารกับผู้ที่มีวัยเสมอกัน จึงจะดี เราจักทูลลาพระราชาบวช ดังนี้แล้ว จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระองค์เป็นคนแก่ ที่เรือนมีกุมารอยู่คนหนึ่ง ขอพระองค์จงตั้งกุมารนั้นให้เป็นปุโรหิต ข้าพระองค์จักบวช ขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาต แล้วตั้งบุตรไว้ในตำแหน่งปุโรหิต เข้าพระราชอุทยาน บวชเป็นฤๅษี ยังฌาน และอภิญญาให้เกิดแล้ว อยู่ในพระราชอุทยานนั้นเอง โดยอาศัยบุตรเป็นผู้บำรุง.

โกรกลัมพกพราหมณ์ ผูกอาฆาตพี่ชายว่า พี่ชายของเรานี้ แม้บวช ก็ยังไม่ให้ฐานันดรแก่เรา วันหนึ่ง ขณะที่สนทนากัน พระราชาตรัสถามว่า โกรกลัมพกะ ท่านไม่ได้ตำแหน่งปุโรหิต ดอกหรือ? เขากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ไม่ได้ทำ พี่ชายของข้าพระองค์ทำ.

พระราชารับสั่งว่า ก็พี่ชายของท่านบวชแล้ว มิใช่หรือ?

เขาทูลว่า พระเจ้าข้า เขาบวชแล้ว แต่เขาได้ให้พระองค์ประ-

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 538

ทานฐานันดรแก่บุตรของเขา.

ถ้าเช่นนั้น ท่านจะให้เราทำอย่างไร?

ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระองค์ไม่อาจ ให้พระองค์ถอดพี่ชาย เสียจากฐานันดร อันสืบเนื่องมาตามประเพณี แล้วแต่งตั้งข้าพระองค์ เป็นปุโรหิต.

เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจักแต่งตั้งท่านให้เป็นใหญ่ แล้วทำพี่ชาย ของท่านให้เป็นน้องชาย.

พระองค์จักทำได้อย่างไร?

เราทำได้โดยมุสาวาท.

ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์ไม่ทรงทราบ ดอกหรือ แต่ไรมา พี่ชายของข้าพระองค์ มีวิชาประกอบด้วย ธรรมน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก เขาจักลวงพระองค์ ด้วยอุบายที่ไม่จริง เช่น จักทำเป็นเทพบุตร ๔ องค์ หายตัว จักทำกลิ่นหอมที่ฟุ้งจากพระวรกาย และพระโอษฐ์ให้เป็นเหมือนกลิ่น เหม็น จักทำพระองค์ให้เป็น เหมือนพลัดตกจากอากาศ ยืนอยู่บนพื้นดิน พระองค์จักเป็นเหมือนลูก แผ่นดินสูบที่นั้น พระองค์จักไม่อาจดำรง พระวาจาอยู่ได้.

ท่านอย่าได้เข้าใจอย่างนั้นเลย เราสามารถทำเช่นนั้นได้.

ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์จักทรงทำเมื่อไร?

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 539

นับแต่นี้ไป ๗ วัน.

พระราชดำรัสนั้น ได้แพร่สะพัด ไปทั่วพระนคร.

มหาชนเกิดปริวิตกขึ้น อย่างนี้ว่า ได้ยินว่า พระราชาจักทรงทำมุสาวาท ทำเด็กให้เป็นใหญ่ จักให้ผู้ใหญ่คืนฐานันดรให้แก่เด็ก ขึ้นชื่อว่า มุสาวาทเป็นอย่างไรหนอ มีสีเขียว หรือสีเหลือง เป็นต้น สีอะไร กันแน่. เขาว่ากันว่า ในครั้งนั้น เป็นเวลาที่โลกพูดความสัตย์ คนทั้งหลายจึงไม่รู้ว่า มุสาวาทนี้ เป็นอย่างนี้.

แม้บุตรปุโรหิต พอได้ฟังคำนั้นแล้ว ก็ไปบอกบิดาว่า พ่อ เขาว่าพระราชา จักทำมุสาวาท ทำพ่อให้เป็นเด็ก แล้วพระราชทานฐานันดรของฉัน ให้แก่อา. ปุโรหิตกล่าวว่า ลูกรัก ถึงพระราชาทรงทำมุสาวาท ก็ไม่อาจพระราชทาน ฐานันดรของเรา แก่อา เจ้าได้. ก็พระราชาจักกระทำมุสาวาท ในวันไหน?

ได้ยินว่า แต่วันนี้ไป ๗ วัน.

ถ้าเช่นนั้น เมื่อถึงวันนั้น เจ้าพึงบอกแก่เรา.

ครั้นถึงวันที่ ๗ มหาชนคิดว่า จักดูมุสาวาท จึงไปประชุมกัน ที่พระลานหลวง ผูกเตียงซ้อนๆ กันขึ้นยืนดู. กุมารก็ได้ไปบอกแก่บิดา. พระราชแต่งพระองค์แล้ว เสด็จออกจากประทับอยู่ในอากาศหน้า พระลานหลวงท่ามกลางมหาชน. พระดาบส ได้เหาะมาแล้ว ลาดหนังรอง

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 540

นั่ง ตรงพระพักตร์พระราชา นั่งบัลลังก์ในอากาศ ทูลถามว่า ดูก่อน มหาบพิตร ได้ยินว่า พระองค์ประสงค์จะทำมุสาวาท ทำเด็กให้เป็นผู้ ใหญ่ แล้วพระราชทานฐานันดรแก่เขา จริงหรือ? พระราชาตรัสว่า ถูกแล้ว ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าได้กล่าวอย่างนี้จริง. ลำดับนั้น พระดาบส เมื่อจะกล่าวสอนพระราชา ได้กล่าวว่า ดูก่อนมหาบพิตร ขึ้นชื่อว่า มุสาวาท เป็นบาปหนัก กำจัดคุณความดี ทำให้เกิดในอบายทั้ง ๔ ธรรมดาพระราชา เมื่อทรงทำมุสาวาท ย่อมชื่อว่า ทำลายธรรม ครั้นทำลายธรรมเสียแล้ว ย่อมได้ชื่อว่า ทำลายตน นั่นเอง ดังนี้แล้ว กล่าวคาถาที่ ๑ ความว่า :-

เชฏฐาปจายนธรรม อันบุคคลใดทำลายแล้ว ย่อมทำลายบุคคลนั้น เสียโดยแท้ เชฏฐาปจายนธรรน อันบุคคลใดไม่ทำลายแล้ว ย่อมไม่ทำลายบุคคลนั้น สักน้อยหนึ่ง เพราะเหตุ นั้นแล พระองค์ไม่ควรทำลาย เชฏฐาปจายนธรรมเลย เชฏฐาปจายนธรรม ที่พระองค์ทำลายแล้ว อย่าได้กลับมา ทำลายพระองค์เลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺโม พระดาบส หมายถึง เชฏฐาปจายนธรรม.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 541

พระดาบส เมื่อจะกล่าวสอนพระราชา ให้ยิ่งขึ้นไปอีก. จึงกล่าวว่า ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าพระองค์ จักทรงทำมุสาวาทไซร้ ฤทธิ์ ๔ อย่างของพระองค์ ก็จักอันตรธานไป ดังนี้แล้ว กล่าวคาถาที่ ๒ ความว่า :-

เมื่อพระองค์ ยังตรัสคำกลับกลอกอยู่ เทวดาทั้งหลาย ก็จะพากันหลีกหนีไปเสีย พระโอษฐ์จักมีกลิ่นบูดเน่า เหม็นฟุ้งไป ผู้ใดรู้อยู่ เมื่อถูกถามปัญหาแล้ว แกล้งแก้ปัญหานั้น ไปเสียอย่างอื่น ผู้นั้น ย่อมพลัดพราก จากฐานะของตน แล้วถูกแผ่นดินสูบ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปกฺกมนฺติ เทวตา ความว่า พระดาบสกล่าวคำนี้ไว้ โดยประสงค์ว่า ดูก่อนมหาบพิตร ข้าพระองค์ ยังตรัสกลับกลอกอยู่ไซร้ เทพบุตรทั้ง ๔ องค์ ก็จักละทิ้งหน้าที่หลีกหนี ไปเสีย.

บทว่า ปูติกญฺจ มุขํ วาติ ความว่า พระดาบสกล่าวว่า กลิ่น บูดเน่า ทั้งสองคือทั้งทางพระโอฐ และทั้งพระวรกาย ของพระองค์จัก ฟุ้งไปดังนี้หมายถึงพระราชา.

บทว่า สกฏฺานาว ธํสติ ความว่า พระดาบสเมื่อจะแสดงว่า ย่อมตกลงจากอากาศ แล้วถูกแผ่นดินสูบ. จึงกล่าวอยางนี้.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 542

พระเจ้าอุปริจรราช ได้สดับโอวาทแล้ว มีพระหทัยกลัว ทอดพระเนตรดู โกรกลัมพกพราหมณ์. ลำดับนั้น โกรกลัมพกพราหมณ์ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์ อย่าทรงกลัวเลย ข้าพระองค์ ได้กราบทูลเรื่องนี้ แก่พระองค์ไว้ก่อนแล้ว มิใช่หรือ? พระราชาถึงจะได้ ทรงสดับคำของกปิลปุโรหิต แล้วก็ตาม แต่เพื่อจะรักษา พระดำรัสของพระองค์ไว้ จึงได้ตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านเป็นน้องชาย โกรกลัมพกะเป็นพี่ชาย. ทันใดนั้น เทพบุตรทั้ง ๔ องค์ กล่าวว่า พวกเราจักไม่อารักขา คนมุสาวาทเช่นท่าน แล้วได้ทิ้งพระขรรค์ไว้ ใกล้บาทพระราชา อันตรธานไปพร้อมกัน ที่พระราชาได้ตรัสมุสาวาท. พระโอษฐ์ก็มีกลิ่นเหม็น เหมือนฟองไข่เน่าแตก พระวรกาย ก็มีกลิ่นเหม็น เหมือนเวจกุฎี ที่เปิดไว้ ฟุ้งตลบไป. พระราชาก็ตกจากอากาศ ประทับอยู่บนแผ่นดิน ฤทธิ์ทั้ง ๔ ได้เสื่อมไปแล้ว. ลำดับนั้น มหาปุโรหิตได้ กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระราชาผู้เป็นใหญ่ ขอพระองค์อย่าได้ทรงกลัวเลย ถ้าพระองค์ตรัสสัจวาจาไซร้ ข้าพระองค์จักทำสิ่งทั้งปวง ให้กลับเป็นปกติ แด่พระองค์ แล้วกล่าวคาถาที่ ๓ ความว่า :-

ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ถ้าพระองค์ตรัส สัจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ ในพระราชวัง ตามเดิมได้ ถ้ายังตรัสมุสาวาทอยู่ พระองค์ก็จะดำรงอยู่ได้ เพียงบนพื้นดิน ไม่สามารถจะ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 543

ลอยขึ้นสู่อากาศได้อีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภูมิยํ ติฏฺ บทว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้สมมติเทพ ถ้าพระองค์ยังตรัสมุสาวาทอยู่ พระองค์จะดำรงอยู่ได้ เพียงบนพื้นดิน ไม่สามารถลอยขึ้นสู่อากาศได้อีก.

แม้กปิลดาบส ได้ทูลเตือนว่า จงดูเอาเถิดมหาบพิตร เพียงมุสาวาทครั้งแรก เท่านั้น ฤทธิ์ ๔ อย่างของพระองค์ ก็อันตรธานไปแล้ว พระองค์จงกำหนดดูเถิด แม้บัดนี้ ข้าพระองค์ ก็อาจทำให้กลับเป็นปกติได้ ดังนี้ พระเจ้าอุปริจรราชนั้น ตรัสว่า กปิลดาบสกล่าวอย่างนี้ ประสงค์จะลวงท่านทั้งหลาย แล้วกล่าวมุสาวาท เป็นครั้งที่สอง ได้ถูกแผ่นดินสูบลงไป แค่ข้อพระบาท. ลำดับนั้น พราหมณ์ได้กราบทูล พระราชาอีกว่า ขอพระองค์จงทรงกำหนดดูเถิด แม้บัดนี้ ข้าพระองค์ก็อาจทำให้กลับ เป็นปกติได้ พระเจ้าข้า ดังนี้แล้ว กล่าวคาถานี้ ๔ ความว่า :-

พระราชาพระองค์ใด ทรงทราบอยู่ ถูกเขา ถามปัญหาแล้ว แกล้งทำมุสาวาท พยากรณ์ ปัญหานั้น ไปเสียอย่างอื่น ในแว่นแคว้นของ พระราชาพระองค์นั้น ฝนย่อมตก ในเวลาไม่ใช่ ฤดูกาล ย่อมไม่ตกต้อง ตามฤดูกาล.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 544

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺส ความว่า พระราชาพระองค์ใด ทรงทราบอยู่ แสร้งกล่าวเท็จ พยากรณ์ปัญหา ที่เขาถามแล้ว ไปเสียอย่างอื่น ในแว่นแคว้นของพระราชา พระองค์นั้น ฝนย่อมไม่ตก ในเวลาที่ควรตก แต่ตกในเวลาที่ไม่ควรตก.

ลำดับนั้น กปิลดาบส ทูลเตือนต่อไปอีกว่า มหาบพิตร ด้วยผลแห่งมุสาวาท พระองค์ถูกแผ่นดินสูบไป แต่พระชงฆ์แล้ว ขอพระองค์ จงทรงกำหนดดูเถิด แล้วกล่าวคาถาที่ ๕ ความว่า :-

ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ถ้าพระองค์ตรัส สัจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ ในพระราชวังตามเดิมได้ ถ้าพระองค์ตรัส มุสาวาทอยู่ ก็จะแผ่นดินสูบลงไปอีก.

พระเจ้าอุปริจรราช ได้ทรงทำมุสาวาทเป็นครั้งที่ ๓ ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านเป็นน้องชาย โกรกลัมพกะเป็นพี่ชาย ดังนี้แล้ว ถูกแผ่นดินสูบลงไปแต่พระชานุ. ลำดับนั้น กปิลดาบสได้ทูลพระราชาอีกว่า ขอพระองค์จงทรงกำหนดดูเถิด มหาบพิตร แล้วกล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า :-

ข้าแต่พระองค์ ผู้เป็นใหญ่ในทิศ พระราชาพระองค์ใด ทรงทราบอยู่ ถูกเขาถามปัญหา

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 545

แล้ว แกล้งตรัสแก้ปัญหานั้น ไปเสียอย่างอื่น พระชิวหาของพระราชา พระองค์นั้น จะแตก เป็นสองแฉก เหมือนลิ้นงู.

ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ข้าพระองค์ตรัส สัจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ ในพระราชวังตามเดิมได้ ถ้าพระองค์ยังตรัส มุสาวาทอยู่ ก็จะถูกแผ่นดินสูบลึกยิ่ง ลงไปอีก.

พระดาบส ครั้นกล่าวคาถา ๒ คาถานี้แล้ว ทูลว่า แม้จนบัดนี้ พระองค์ก็ยังไม่อาจที่จะกลับทำให้เป็นปกติได้. พระราชามิได้ถือเอาถ้อยคำ ของพระดาบสนั้น ยังทรงทำมุสาวาท เป็นครั้งที่ ๔ ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านเป็นน้องชาย โกรกลัมพกะ เป็นพี่ชาย ดังนี้แล้ว ถูกแผ่นดินสูบลงไปแค่บั้นพระองค์. ลำดับนั้น กปิลพราหมณ์ ได้ทูลพระราชาว่า ขอพระองค์ จงทรงกำหนดดูเถิดมหาบพิตร แล้วกล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า :-

ข้าแต่พระราชา ผู้เป็นใหญ่ในทิศ พระราชาพระองค์ใด ทรงทราบอยู่ เมื่อถูกถามปัญหา แล้ว แกล้งตรัสแก้ปัญหานั้น ไปเสียอย่างอื่น

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 546

พระชิวหาของพระราชา พระองค์นั้น จะไม่มีเหมือนปลา ฉะนั้น.

ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ถ้าพระองค์ตรัส สัจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ ในพระราชวังตามเดิมได้ ถ้าพระองค์ยังตรัส มุสาวาทอยู่ ก็จะถูกแผ่นดินสูบ ลึกยิ่งลงไป กว่านี้อีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มจฺฉสฺเสว ความว่า พระชิวหา ของพระราชานั้น จะไม่มี คือ พระราชาที่กล่าวมุสาวาท จะเกิดในชาติใดก็ตาม จะเป็นใบ้ อาจทำเสียงได้เหมือนปลา.

พระเจ้าอุปริจราช ได้ทำมุสาวาท เป็นครั้งที่ ๕ ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านเป็นน้องชาย โกรกลัมพกะเป็นพี่ชาย ดังนี้ แล้วถูกแผ่นดินสูบลงไป แค่พระนาภี. ลำดับนั้น กปิลดาบส ได้ทูลพระราชาอีกว่า ขอพระองค์ จงทรงกำหนดดูเถิด มหาบพิตร แล้วกล่าวคาถา ๒ คาถาความว่า :-

พระราชาพระองค์ใด ทรงทราบอยู่ เมื่อถูกถามปัญหาแล้ว แกล้งตรัสแก้ปัญหานั้น ไปเสียอย่างอื่น พระราชาพระองค์นั้น จะมีแต่

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 547

พระธิดาเท่านั้น มาเกิด หามีพระราชโอรสมาเกิด ในราชสกุลไม่.

ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ถ้าพระองค์ตรัส สัจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ ในพระราชวังตามเดิมได้ ถ้าพระองค์ยังตรัส มุสาวาทอยู่ ก็จะถูกแผ่นดินสูบ ลึกไปยิ่งกว่านี้อีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ถิโยว ความว่า พระราชาผู้มีปกติ ตรัสมุสาวาทนั้น จะเกิดในภพใดก็ตาม จะมีแต่พระธิดาเท่านั้น หามีพระราชโอรสไปเกิดไม่.

พระราชามิได้ทรงเชื่อถือถ้อยคำ ตรัสมุสาวาทเช่นนั้นอีก เป็นครั้งที่ ๖ ถูกแผ่นดินสูบลงไปแค่พระถัน. กปิลดาบสได้ทูลพระราชาอีกว่า ขอพระองค์ จงทรงกำหนดดูเถิด มหาบพิตร แล้วกล่าวคาถา ๒ คาถาความว่า :-

พระราชาพระองค์ใด ทรงทราบอยู่ เมื่อถูกถามปัญหาแล้ว แกล้งตรัสแก้ปัญหานั้น ไปเสียอย่างอื่น พระราชาพระองค์นั้น จะไม่มีพระราชโอรส ถ้ามีก็จะพากันหลีกหนีไป ยังทิศน้อย ทิศใหญ่.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 548

ข้าแต่พระเจ้าเจติยราช ถ้าพระองค์ตรัส สัจวาจา พระองค์ก็จะประทับอยู่ ในพระราชวังตามเดิมได้ ถ้าพระองค์ยังตรัส มุสาวาทอยู่ จะถูกแผ่นดิน สูบลึกยิ่งกว่านั้น ลงไปอีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปกฺกมนฺติ ความว่า ถ้าพระราชา ผู้มีปกติตรัสคำเท็จ มีพระราชโอรสไซร้ พระราชโอรสเหล่านั้น ก็จะไม่ทำอุปการะแก่พระชนกชนนี จะพากันหลีกหนีไป ยังทิศน้อยทิศใหญ่.

พระเจ้าอุปริจรราช มิได้ทรงเชื่อถือถ้อยคำของพระดาบส เพราะโทษ คือ การคบคนชั่วเป็นมิตร ได้ทรงคำมุสาวาท เช่นนั้นอีก เป็นครั้งที่ ๗. ทันใดนั้น แผ่นดินได้แยกออกเป็นสองช่อง. มีเปลวไฟจากอเวจี พลุ่งขึ้นไหม้พระราชา. มีสัมพุทธคาถา ๒ คาถา ดังต่อไปนี้ :-

พระเจ้าเจติยราชนั้น แต่ก่อนเคยเสด็จเที่ยวไปได้ ในอากาศ ภายหลังถูกพระฤๅษีสาบ แล้ว เสื่อมจากอำนาจ ถึงกำหนดเวลาของตนแล้ว ก็ถูกแผ่นดินสูบ.

เพราะเหตุนั้นแหละ บัณฑิตทั้งหลาย จึงไม่สรรเสริญฉันทาคติ บุคคลไม่พึงเป็นผู้มีจิต

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 549

ถูกฉันทาคติ เป็นต้น ประทุษร้าย พึงกล่าวแต่คำสัตย์ เท่านั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ส ราชา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าเจติยราชนั้น แต่ก่อนเคยสัญจรไปได้ ในอากาศ ครั้นภายพลังถูกพระฤๅษีสาบแล้ว ก็เสื่อมอำนาจ ถึงกำหนดเวลา คือกาลวิปโยคของตน ก็ถูกแผ่นดินสูบ. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะพระเจ้าเจติยราช ลุอำนาจอคติ มีฉันทาคติ เป็นต้น จึงต้องไปอเวจี เหตุนั้น. บทว่า อทุฏฺจิตฺโต ความว่า ผู้ที่มีจิตไม่ถูกฉันทาคติ เป็นต้น ประทุษร้าย พึงกล่าวคำสัตย์ เท่านั้น.

มหาชนพากันตกใจกลัวว่า พระเจติยราชด่าพระฤๅษี กล่าว มุสาวาท ตกนรกอเวจีแล้ว. พระโอรส ๕ องค์ ของพระเจ้าเจติยราช พากันหมอบลงที่เท้า ของพระดาบส กล่าวว่า ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของพวกข้าพเจ้าเถิด. พระดาบสทูลว่า พระชนกของพระองค์ ยังธรรมให้พินาศ กล่าวมุสาวาท ด่าพระฤๅษี จึงตกนรกอเวจี ขึ้นชื่อว่า ธรรมนี้ อันบุคคลทำลายแล้ว ย่อมทำลายบุคคลนั้น พวกพระองค์ไม่สามารถจะพากัน อยู่ในที่นี้ได้ ดังนี้แล้ว เรียกพระโอรสองค์ใหญ่ มาทูลว่า ขอพระองค์ จงออกทางประตูด้านทิศปราจีน เสด็จตรงไป นั่นแหละ เมื่อเสด็จไปจักพบ ช้างแก้วเผือกล้วน พระองค์จงสร้างพระนครอยู่ ณ ที่นั้น ตามสัญญาณนั้น พระนครนั้นจักมีชื่อว่า หัตถิปุระ. เรียกพระโอรสที่ ๒ มา

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 550

ทูลว่า พระองค์จงออกทางประตู ด้านทิศทักษิณ เสด็จตรงไป นั่นแหละ เมื่อเสด็จไปจะพบ ม้าแก้วขาวล้วน พระองค์จงสร้างพระนครอยู่ ณ ที่นั้น ตามสัญญาณนั้น พระนครนั้น จักมีชื่อว่า อัสสปุระ. แล้วเรียก พระโอรสองค์ที่ ๓ มาทูลว่า พระองค์จงเสด็จออก ทางประตูด้านทิศปัจฉิม เสด็จตรงไป นั่นแหละ เมื่อเสด็จไปจักพบ ไกรสรราชสีห์ พระองค์จงสร้างพระนครอยู่ ณ ที่นั้น ตามสัญญาณนั้น พระนครนั้น จักมีชื่อว่า สีหปุระ. แล้วเรียกพระโอรสองค์ที่ ๔ มาทูลว่า พระองค์จงเสด็จออกทาง ประตูด้านทิศอุดร เสด็จตรงไป นั่นแหละ เมื่อเสด็จไป จักพบจักรบัญชร ที่ทำด้วยแก้วล้วน พระองค์จงสร้างพระนครอยู่ ณ ที่นั้น ตามสัญญาณนั้น พระนครนั้นจักมีชื่อว่า อุตตรบัญชร. แล้วเรียกพระโอรสองค์ที่ ๕ มาทูลว่า พระองค์ ไม่อาจจะอยู่ในที่นี้ได้ จงสร้างพระสถูปใหญ่ไว้ ในพระนครนี้ แล้วเสด็จออกตรงไปทางทิศพายัพ เมื่อเสด็จไปจักพบ ภูเขาสองลูก โอนยอดเข้ากระทบกัน ส่งเสียงดังว่า ทัทธะ. พระองค์ จงสร้างพระนครอยู่ ณ ที่นั้น ตามสัญญาณนั้น พระนครนั้น จักมีชื่อว่า ทัทธปุระ. พระราชโอรสทั้ง ๕ องค์ ได้ไปสร้างนครอยู่ในที่นั้นๆ ตามสัญญาณนั้น.

พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาแสดงแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้ เท่านั้น ที่พระเทวทัตทำมุสาวาท แล้วถูกแผ่นดินสูบ แม้ในกาลก่อน พระเทวทัตก็ทำมุสาวาท แล้วถูก

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 551

แผ่นดินสูบเหมือนกัน ดังนี้แล้ว ทรงประชุมชาดกว่า พระเจ้าเจติยราช ในครั้งนั้นได้มาเป็น พระเทวทัต ส่วนกปิลพราหมณ์ ได้มาเป็นเรา ผู้ตถาคต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถา เจติยราชชาดกที่ ๖