พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. อินทริยชาดก ว่าด้วยดี ๔ ชั้น

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ส.ค. 2564
หมายเลข  35885
อ่าน  483

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 552

๗. อินทริยชาดก

ว่าด้วยดี ๔ ชั้น


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 552

๗. อินทริยชาดก

ว่าด้วยดี ๔ ชั้น

[๑๑๗๑] ดูก่อนนารทะ บุรุษใดตกอยู่ ในอำนาจแห่งอินทรีย์ เพราะกามบุรุษนั้น ละโลกทั้งสองไปแล้ว ย่อมเกิดในอบาย มีนรก เป็นต้น แม้เมื่อยังเป็นอยู่ ก็ย่อมซูบซีดไป.

[๑๑๗๒] ทุกข์เกิดในลำดับแห่งสุข สุขเกิดในลำดับแห่งทุกข์ ส่วนเธอนั้น ประสบทุกข์มากกว่าสุข เธอจงหวังความสุข อันประเสริฐเถิด.

[๑๑๗๓] ในเวลาเกิดความลำบาก บุคคลใดอดทน ความลำบากได้ บุคคลนั้นย่อมไม่เป็นไป ตามความลำบาก บุคคลนั้นเป็นนักปราชญ์ ย่อมบรรลุสุขปราศจาก เครื่องประกอบอันเป็นที่สุด แห่งความลำบาก.

[๑๑๗๔] เธอไม่ควรเคลื่อนจากธรรม เพราะปรารถนากามทั้งหมด เพราะเหตุใช่ประโยชน์ เพราะเหตุเป็นประโยชน์ ถึงเธอจะทำสุขใน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 553

ฌาน ที่สำเร็จแล้ว ให้นิราศไป ก็ไม่ควรเคลื่อนจากธรรมเลย.

[๑๑๗๕] ความขยันของคฤหบดี ผู้อยู่ครองเรือน ดีชั้นหนึ่ง การแบ่งปันโภคทรัพย์ ให้แก่สมณพราหมณ์ ผู้ตั้งอยู่ในธรรมแล้ว บริโภคด้วยตนเอง ดีชั้นสอง เมื่อได้ประโยชน์ไม่ระเริงใจ ด้วยความมัวเมา ดีชั้นสาม เมื่อเวลาเสื่อมประโยชน์ ไม่มีความลำบากใจ ดีชั้นสี่.

[๑๑๗๖] เทวิลดาบสผู้สงบระงับ ได้พร่ำสอน ความเป็นบัณฑิต กะนารทดาบสนั้น ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ว่า บุคคลผู้เลวกว่า ผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจอินทรีย์ ไม่มีเลย.

[๑๑๗๗] ข้าแต่พระเจ้าสีวิราช พระองค์เกือบจะถึงความพินาศ อยู่ในเงื้อมมือ ของศัตรูทั้งหลายเทียว เหมือนข้าพระองค์ ไม่กระทำกรรมที่ควรกระทำ ไม่ศึกษาศิลปวิทยา ไม่ทำความขวนขวาย เพื่อให้เกิดโภคทรัพย์ ไม่ทำอาวาห

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 554

วิวาหะ ไม่รักษาศีล ไม่กล่าววาจาอ่อนหวาน ทำยศเหล่านี้ ให้เสื่อมไป จึงมาบังเกิดเป็นเปรต เพราะกรรมของตน.

[๑๑๗๘] ข้าพระองค์นั้น ปฏิบัติชอบแล้ว พึงยังโภคะให้เกิดขึ้น เหมือนบุรุษชนะแล้วพันคน ไม่มีพวกพ้องที่พึ่งอาศัย ล่วงเสียจากอริยธรรม มีอาการเหมือนเปรต ฉะนั้น.

[๑๑๗๙] ข้าพระองค์ทำสัตว์ทั้งหลาย ผู้ใคร่ต่อความสุข ให้ได้รับความทุกข์ จึงได้มาถึงส่วนอันนี้ ข้าพระองค์นั้น ดำรงอยู่เหมือนบุคคล อันกองถ่านไฟล้อมรอบด้าน ย่อมไม่ได้ประสบความสุขเลย.

จบ อินทริยชาดกที่ ๗

อรรถกถาอินทริยชาดกที่ ๗

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุ ถูกภรรยาเก่า ประเล้าประโลม จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า โย อินฺทฺริยานํ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 555

ได้ยินว่า ในพระนครสาวัตถี มีกุลบุตรคนหนึ่ง ฟังพระธรรมเทศนา ของพระศาสดาแล้ว คิดว่า ผู้อยู่ครองเรือน ไม่อาจประพฤติพรหมจรรย์ ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว เราจักบวชในศาสนา ที่นำสัตว์ออกจากทุกข์ แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ ดังนี้ แล้วได้มอบสมบัติในเรือน ให้แก่บุตร และภรรยา แล้วทูลขอบรรพชากะพระศาสดา. แม้พระบรมศาสดา ก็รับสั่งให้บรรพชา แก่กุลบุตรนั้น ครั้นบวชเป็นภิกษุแล้ว ไปบิณฑบาตกับอาจารย์ และพระอุปัชฌาย์ อาสนะในเรือน แห่งตระกูลก็ดี ในโรงฉันก็ดี ไม่ถึงภิกษุนั้น เพราะตนเป็นนวกะ และมีภิกษุมากด้วยกัน. ตั่งหรือแผ่นกระดาน ย่อมถึงในที่สุดท้าย พระสังฆนวกะ. แม้อาหารที่จะพึงได้ ก็ล้วนป่นเป็นแป้ง และเป็นน้ำข้าว ที่ติดอยู่ตามข้างกระบวยบ้าง เป็นข้าวยาคูบ้าง ของเคี้ยวที่บูด ที่แห้งบ้าง เป็นข้าวตัง ข้าวตากบ้าง ไม่พออิ่ม. ภิกษุนั้น ถือเอาอาหารที่ตนไว้แล้ว ไปสำนักของภรรยาเก่า ภรรยาเก่าไหว้ แล้วรับบาตรของภิกษุนั้น เอาภัตตาหารออกจากบาตร ทิ้งเสีย แล้วถวายข้าวยาคูภัต สูปพยัญชนะที่ตนตกแต่งไว้ดีแล้ว. ภิกษุแก่นั้น ติดรสอาหาร ไม่สามารถจะละภรรยาเก่าได้. ภรรยาเก่าคิดว่า เราจักทดลองภิกษุแก่นี้ว่า จะติดรสอาหารหรือไม่. อยู่มาวันหนึ่ง นางได้ให้มนุษย์ชาวชนบท อาบน้ำ ทาดินสีพอง นั่งอยู่ในเรือน บังคับคนใช้อื่นอีก ๒, ๓ คน ให้นำน้ำ และข้าวมา ให้มนุษย์ชนบทนั้นคนละนิดละหน่อย แล้วก็พากัน นั่งเคี้ยวกินอยู่. นางได้ให้คนใช้ ไปจับโคเข้าเทียมเกวียน ไว้เล่มหนึ่งที่ประตูเรือน ส่วนตัวเอง ก็หลบไปนั่งทอดขนม อยู่ที่ห้องหลังเรือน ลำดับ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 556

นั้น ภิกษุแก่มายืนอยู่ที่ประตู. ชายแก่คนหนึ่ง เห็นภิกษุนั้นกล่าวว่า แน่ะแม่เจ้า พระเถระองค์หนึ่ง มายืนอยู่ที่ประตู. นางตอบไปว่า ท่านช่วย ไหว้นิมนต์ให้ท่าน ไปข้างหน้าเถิด. ชายแก่กล่าวหลายครั้งว่า นิมนต์ไปข้างหน้าเถิดเจ้าข้า ก็ยังเห็นท่านยืนเฉยอยู่ จึงได้บอกกะภรรยาเก่าว่า แน่ะแม่เจ้า พระเถระไม่ยอมไป. ภรรยาเก่าไปเลิกม่านมองดู กล่าวว่า อ้อ พระเถระพ่อของเด็กเรา จึงออกไปไหว้ แล้วรับบาตรนิมนต์ ให้เข้าไปในเรือนแล้วให้ฉัน ครั้นฉันเสร็จ นางกล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้า จงปรินิพพานอยู่ในที่นี้แหละ ตลอดกาลเท่านี้ ดิฉันมิได้ยึดถือตระกูลอื่นเลย ก็เรือนที่ปราศจากสามี จะดำรงการครองเรือนอยู่ ด้วยดีไม่ได้ ดิฉันจะยึดถือตระกูลอื่น ไปอยู่ชนบทที่ไกล ขอพระผู้เป็นเจ้าอย่าได้ประมาท ถ้าดิฉันมีโทษอยู่ไซร้ ขอได้โปรดอดโทษนั้นเสียเถิด. หัวใจของภิกษุแก่ ได้เป็นเหมือนถูกฉีกออก. ลำดับนั้น ภิกษุแก่ได้กล่าวกะภรรยาเก่าว่า เราไม่อาจจะละเจ้าไปได้ เจ้าอย่าไปเลย ฉันจักสึกละ เจ้าจงส่งผ้าสาฎก ไปให้ฉันที่โน้น เราไปมอบบาตรจีวรแล้วจักมา. นางรับคำแล้ว. ภิกษุแก่ไปวิหาร ให้อาจารย์อุปัชฌาย์ รับบาตรจีวร เมื่ออาจารย์และ อุปัชฌาย์ถามว่า อาวุโส เหตุไรเธอจึงทำอย่างนี้ จึงตอบว่า กระผมไม่อาจละภรรยาเก่าได้ กระผมจักสึก ลำดับนั้น อาจารย์ และอุปัชฌาย์ จึงนำภิกษุนั้น ผู้ไม่ปรารถนาจะบวชอยู่ ไปสู่สำนักพระศาสดา เมื่อพระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอนำเอาภิกษุ ผู้ไม่ปรารถนาจะบวชอยู่นี้ มาทำไม? จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้กระ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 557

สันอยากจะสึก พระเจ้าข้า. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ได้ยินว่า เธอกระสันจะสึกจริงหรือ เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า ตรัสถามว่า ใครทำให้เธอกระสัน เมื่อภิกษุทราบทูลว่า ภรรยาเก่า พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่หญิงนั้น ทำความพินาศให้แก่เธอ แม้ในกาลก่อน เธอก็เสื่อมจากฌาน ๔ ถึงความทุกข์ใหญ่ เพราะอาศัยหญิงนั้น แต่ได้อาศัยเรา จึงพ้นจากทุกข์กลับได้ ฌานที่เสื่อมเสียไปแล้ว ดังนี้แล้ว ทรงนำเอา เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติ อยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์อาศัยปุโรหิต ของพระเจ้าพรหมทัตนั้น เกิดในครรภ์นางพราหมณี ภรรยาปุโรหิตนั้น. ในวันที่พระโพธิสัตว์เกิด บรรดาอาวุธ ที่มีอยู่ทั่วพระนคร ลุกโพลงขึ้น เพราะเหตุนั้น ญาติทั้งหลาย จึงตั้งชื่อพระโพธิสัตว์ว่า โชติปาละ. โชติปาลกุมารนั้น ครั้นเจริญวัยแล้ว เรียนศิลปะทุกอย่าง ในเมืองตักกศิลา แล้วกลับมา แสดงศิลปะแก่พระราชา ต่อมาได้ละอิสริยยศเสีย ไม่ให้ใครๆ รู้ หนีออก ทางอัคคทวาร เข้าป่าบวช เป็นฤๅษีอยู่ในอาศรม ป่าไม้มะขวิด ที่ท้าวสักกเทวราช เนรมิตรถวาย ทำฌาน และอภิญญาให้เกิดแล้ว. พระฤๅษีหลายร้อย ห้อมล้อมเป็นบริวาร พระโชติปาลฤๅษีผู้อยู่ที่อาศรมนั้น. อาศรมนั้น ได้เป็นมหาสมาคม ท่านฤๅษีได้มีชื่อว่า สรภังคดาบส มีลูกศิษย์ชั้นหัวหน้า ๗ องค์ องค์ที่ ๑ ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 558

สาลิสสรฤๅษี ได้ออกจากอาศรมป่าไม้มะขวิด ไปอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำสาโตทกา ในสุรัฏฐชนบท มีฤๅษีหลายพันองค์เป็นบริวาร. องค์ที่ ๒ ชื่อ เมณฑิสสรฤๅษี ไปอาศัยนิคมกลัมพมูลกะ อยู่ในแว่นแคว้นของ พระเจ้าปโชตกราช มีฤๅษีหลายพันองค์เป็นบริวาร. องค์ที่ ๓ ชื่อ บรรพตฤๅษีไปอาศัยอฏวี ชนบทแห่งหนึ่งอยู่ มีฤๅษีหลายพันเป็นบริวาร องค์ที่ ๔ ชื่อ กาฬเทวิลฤๅษี ไปอาศัยโขดศิลาแห่งหนึ่งอยู่ ณ ทักษิณาบท ในแคว้นอวันตี มีฤๅษีหลายพันเป็นบริวาร. องค์ที่ ๕ ชื่อ กิสวัจฉฤๅษี ไปอาศัยนครกุมภวดี ของเจ้าทัณฑกี อยู่องค์เดียว ในพระราชอุทยาน. องค์ที่ ๖ พระดาบสอนุสิสสะ เป็นอุปัฏฐาก อยู่กับพระโพธิสัตว์ องค์ที่ ๗ ชื่อว่า นารทฤๅษี เป็นน้องชายกาฬเทวิลฤๅษี ไปอยู่ในถ้ำที่เร้นแห่งหนึ่ง ในระหว่างข่ายภูเขาอัญชนคิรี ในป่ามัชฌิมประเทศ แต่องค์เดียว.

ก็ ณ ที่ใกล้ๆ ภูเขาอัญชนคิรี มีนิคมแห่งหนึ่ง มีมนุษย์อยู่มากด้วยกัน. ในระหว่างภูเขาอัญชนคิรีกับนิคมมีแม่น้ำใหญ่ พวกมนุษย์พากันไปประชุม ที่แม่น้ำนั้นมาก. พวกนางวรรณทาสี รูปงามทั้งหลาย เมื่อเล้าโลมผู้ชาย ก็พากันไปนั่งที่ฝั่งแม่น้ำ. พระนารทดาบสเห็นนางหนึ่ง เข้าในบรรดานางเหล่านั้น มีจิตปฏิพัทธ์ จึงเสื่อมจากฌาน ซูบชีดตกอยู่ในอำนาจกิเลส นอนอดอาหารอยู่ ๗ วัน. ลำดับนั้น กาฬเทวิลดาบส ผู้เป็นพี่ชาย ของนารทดาบส ใคร่ครวญดู ก็รู้เหตุนั้น จึงเหาะมาแล้วเข้าไปในถ้ำที่เร้น. นารทดาบส เห็นพระกาฬเทวิลดาบส จึงถามว่า ท่านมาทำไม? กาฬเทวิลดาบสตอบว่า ท่านไม่สบาย เรามาเพื่อรักษาท่าน.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 559

นารทดาบส จึงพูดข่มกาฬเทวิลดาบส ด้วยมุสาวาทว่า ท่านพูดไม่ได้เรื่อง กล่าวคำเหลาะแหละเปล่าๆ กาฬเทวิลดาบสคิดว่า เราไม่ควรฟัง นารทดาบสจึงไปนำดาบส ๓ องค์มา คือ สาลิสสรดาบส เมณฑิสสรดาบส บรรพติสสรดาบส. นารทดาบสก็กล่าว ข่มดาบสเหล่านั้น ด้วยมุสาวาท.

กาฬเทวิลดาบสคิดว่า เราจักนำสรภังคดาบสมา จึงเหาะไปเชิญ สรภังคดาบสมา. ท่านสรภังคดาบส ครั้นมาเห็นแล้วก็รู้ว่า ตกอยู่ในอำนาจแห่งอินทรีย์ จึงถามว่า ดูก่อนนารทะ เธอตกอยู่ในอำนาจแห่งอินทรีย์กระมัง. เมื่อนารทดาบส พอได้ฟังถ้อยคำดังนั้น ก็ลุกขึ้นถวายอภิวาทกล่าวว่า ถูกแล้วท่านอาจารย์ ท่านสรภังคดาบส จึงกล่าวว่า ดูก่อนนารทะ ธรรมดาผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจอินทรีย์ ในอัตตภาพนี้ ก็ซูบชีด เสวยทุกข์ ในอัตตภาพที่ ๒ ย่อมเกิดในนรก ดังนี้แล้ว กล่าวคาถาที่ ๑ ความว่า :-

ดูก่อนนารทะ บุรุษใดตกอยู่ ในอำนาจแห่งอินทรีย์ เพราะกามบุรุษนั้น ละโลกทั้ง ๒ ไปแล้ว ย่อมเกิดในอบาย มีนรก เป็นต้น แม้เมื่อยังเป็นอยู่ ก็ย่อมซูบซีดไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย อินฺทฺริยานํ ความว่า ดูก่อนนารทะ บุรุษใด ยึดถืออาการในรูป เป็นต้น ว่างาม ตกอยู่ในอำนาจแห่งอินทรีย์ ๖ ด้วยสามารถแห่งกิเลสกาม. บทว่า ปริจฺจชฺชุโภ ความว่า

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 560

บุรุษนั้น ละโลกทั้ง ๒ คือ มนุษยโลก และเทวโลกเสีย ย่อมบังเกิดในอบาย มีนรก เป็นต้น. บทว่า ชีวนฺเตว วิสุสฺสติ ความว่า เมื่อยังเป็นอยู่ ก็ไม่ได้กิเลสวัตถุ ที่ตนปรารถนา ย่อมเหือดแห้ง ด้วยความโศก ถึงทุกข์ใหญ่.

นารทดาบสได้ฟังดังนั้น จึงถามว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ขึ้นชื่อว่า การเสพกาม ย่อมเป็นสุข แต่ท่านมากล่าว ความสุขเช่นนี้ว่า เป็นทุกข์ ดังนี้ หมายถึงอะไร? ลำดับนั้น ท่านสรภังคดาบส ได้กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ความว่า :-

ทุกข์เกิดในลำดับแห่งสุข สุขเกิดในลำดับแห่งทุกข์ ส่วนเธอนั้น ประสบทุกข์มากกว่าสุข เธอจงหวังความสุข อันประเสริฐเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขสฺสานนฺตรํ ได้แก่ ทุกข์คือนรก อันเกิดขึ้นในลำดับแห่งกามสุข. บทว่า ทุกฺขสฺส ได้แก่ สุขที่เป็นทิพย์ สุขมนุษย์ และสุข คือพระนิพพาน อันเกิดในลำดับแห่งความลำบาก คือ ต้องรักษาศีล.

ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้ ดูก่อนนารทะ สัตว์เหล่านี้ ทำกาละลง ในสมัยที่เสพกาม ย่อมเกิดในนรก อันเป็นสถานที่มีทุกข์ โดยส่วนเดียว ส่วนผู้รักษาศีล และเจริญวิปัสสนา ย่อมลำบาก เขาเหล่านั้น รักษาศีลด้วย

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 561

ความลำบากแล้ว ย่อมกลับได้ความสุขดังกล่าวแล้ว ด้วยผลแห่งศีล อาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวอย่างนี้.

บทว่า โสสิ ปตฺโต ความว่า ดูก่อนนารทะ. เธอนั้น บัดนี้ ได้ทำฌานสุขให้พินาศเสียแล้ว จึงถึงทุกข์ทางใจ ซึ่งอาศัยกามเป็นเหตุ มากกว่าสุขนั้น. บทว่า ปาฏิกงฺขา ความว่า เธอจงทิ้งกิเลสทุกข์นี้เสีย แล้วจำนง คือ ปรารถนาฌานสุข ที่ประเสริฐ คือ สูงสุด นั้นแหละเถิด.

นารทดาบสกล่าวว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ทุกข์นี้นั้น ข้าพเจ้าไม่อาจ อดกลั้นได้. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ กล่าวกะนารทดาบสว่า ดูก่อนนารทะ ธรรมดาทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้ว บุคคลพึงอดกลั้นได้ดังนี้ แล้วกล่าว คาถาที่ ๓ ความว่า :-

ในเวลาเกิดความลำบาก บุคคลใดอดทน ความลำบากได้. บุคคลนั้น ย่อมไม่เป็นไปตาม ความลำบาก บุคคลนั้นเป็นนักปราชญ์ ย่อมบรรลุสุข ปราศจากเครื่องประกอบ อันเป็นที่สุด แห่งความลำบาก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาติวตฺตติ แปลว่า ย่อมไม่เป็นไปตาม. พระบาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 562

ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า ดูก่อนนารทะ บุคคลใด ในกาลเมื่อความลำบาก คือ ทุกข์ อันเป็นไปทางกาย และทางจิตเกิดขึ้นแล้ว เป็นผู้ไม่ประมาท หาอุบายกำจัด ความลำบากนั้น เสียได้ อดกลั้นต่อความลำบากได้ ชื่อว่า ไม่เป็นไปตามความลำบาก คือ ไม่เป็นไปในอำนาจ ความลำบากนั้น ใช้อุบายนั้นๆ ครอบงำความลำบาก คือ ทำความลำบากนั้น ให้หมดไปได้ บุคคลนั้นเป็นนักปราชญ์ บรรลุความสุข ที่ปราศจากอามิส คือ สุขที่มีในที่สุด แห่งความลำบาก. หรือว่า เป็นผู้ไม่ลำบาก ย่อมประสบ คือบรรลุถึง ซึ่งความสุขที่ปราศจากโยคะ ซึ่งเป็นที่สุดของความลำบากนั้น.

นารทดาบสกล่าวว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ขึ้นชื่อว่า กามสุข เป็นสุขสูงสุด ข้าพเจ้าไม่อาจละกามสุขนั้นได้. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์จึง กล่าวกะนารทดาบสว่า ดูก่อนนารทะ ขึ้นชื่อว่าธรรม บุคคลไม่ควรให้พินาศ ด้วยเหตุไรๆ ก็ตาม ดังนี้แล้ว กล่าวคาถาที่ ๔ ความว่า :-

เธอไม่ควรเคลื่อนจากธรรม เพราะปรารถนากามทั้งหลาย เพราะเหตุใช่ประโยชน์ เพราะเหตุเป็นประโยชน์ ถึงเธอจะทำสุข ในฌานที่สำเร็จแล้ว ให้นิราศไป ก็ไม่ควรเคลื่อนจากธรรมเลย.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 563

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กามานํ กามา ได้แก่ เพราะความใคร่กาม คือ เพราะปรารถนาวัตถุกามทั้งหลาย. บทว่า นานตฺถา นตฺถการณา ความว่า เธอไม่ควรเสื่อมจากธรรม เพราะเหตุใช่ประโยชน์ และเพราะเหตุเป็นประโยชน์. บทว่า น กตญฺจ นิรํกตฺวา ความว่า ถึงเธอจะทำฌานสุข ที่ทำจนสำเร็จแล้ว ให้นิราศไป.

ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า ดูก่อนนารทะ เธอไม่ควรเคลื่อนจากธรรม เพราะปรารถนาวัตถุกามเท่านั้นเลย คือ เมื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์อย่างหนึ่งเกิดขึ้น ประสงค์จะกำจัดสิ่งมิใช่ประโยชน์นั้น ก็ไม่ควรเคลื่อนจากธรรม เพราะมุ่งประโยชน์ คือ เพราะประโยชน์อันเป็นต้นเหตุ. อธิบายว่า ก็เธอสมควรเคลื่อนจากธรรม เพราะเหตุอันเป็นประโยชน์อย่างนี้ว่า ประโยชน์อย่างโน้นจะเกิดแก่เรา คือ ถึงเธอจะทำฌานสุข ที่ทำจนสำเร็จแล้ว ให้นิราศไป คือเสื่อมสิ้นไป ก็ยังไม่สมควรเคลื่อนเสียจากธรรม.

เมื่อสรภังคดาบส แสดงธรรมด้วยคาถา ๔ คาถา อย่างนี้แล้ว กาฬเทวิลดาบส เมื่อจะกล่าวสอนน้องชายของตน จึงกล่าวคาถาที่ ๕ ความว่า :-

ความขยันของคฤหบดี ผู้อยู่ครองเรือน ดีชั้น ๑ การแบ่งปันโภคทรัพย์ ให้แก่สมณพราหมณ์ ผู้ตั้งอยู่ในธรรมแล้ว บริโภคด้วยตน

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 564

เอง ดีชั้น ๒ เมื่อได้ประโยชน์ไม่ระเริงใจ ด้วยความมัวเมา ดีชั้น ๓ เมื่อเวลาเสื่อม ประโยชน์ ไม่มีความลำบากใจ ดีชั้น ๔

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทกฺขํ คหปตํ ความว่า ดูก่อนนารทะ. คฤหบดีผู้อยู่ครองเรือน ฉลาด ไม่เกียจคร้าน ทำโภคะให้เกิดขึ้น ชื่อว่า ขยันมั่นเพียร คือ ความเป็นผู้ฉลาด ข้อนี้ดีชั้น ๑. บทว่า สํวิภชฺชญฺจ โภชนํ ความว่า การแบ่งปันโภคะ ที่ให้เกิดแล้ว ด้วยความลำบาก แก่สมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติธรรม แล้วจึงบริโภค ข้อนี้ดีที่ ๒. บทว่า อหาโส อตฺถลาเภสุ ความว่า เมื่ออิสริยยศ อันยิ่งใหญ่เกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่ร่าเริงใจ ด้วยอำนาจความมัวเมา ได้แก่ ปราศจากความระเริงใจ ข้อนี้ดีที่ ๓. บทว่า อตฺถพฺยาปตฺติ ความว่า ก็เมื่อใด มีความเสื่อมประโยชน์ คือ ยศพินาศ เมื่อนั้น ไม่มีความลำบากซบเซา ข้อนี้ดีที่ ๔.

ดูก่อนนารทะ เพราะเหตุนั้น เธออย่าเศร้าโศกไปเลยว่า ฌานของเราเสื่อมไปแล้ว ถ้าเธอไม่ตกอยู่ใน อำนาจของอินทรีย์ แม้ฌานของเธอที่เสื่อมแล้ว ก็จักกลับคืนเป็นปกติ เหมือนเดิม.

พระศาสดา ผู้ตรัสรู้เอง ด้วยพระปัญญาอันยิ่ง ทรงทราบความที่ กาฬเทวิลดาบส กล่าวสอนนารทดาบสนั้น ตรัสพระคาถาที่ ๖ ความว่า :-

เทวิลดาบส ผู้สงบระงับ ได้พร่ำสอน ความเป็นบัณฑิต กะนารทดาบสนั้น ด้วยคำมีประ-

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 565

มาณเท่านี้ว่า บุคคลผู้เลวกว่า ผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจอินทรีย์ ไม่มีเลย.

พระคาถานั้น มีอรรถาธิบายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวิลดาบส ผู้สงบระงับพร่ำสอน ความเป็นบัณฑิต กะนารทดาบสนั้น ด้วยคำเท่านี้ว่า ก็ผู้ใดตกอยู่ในอำนาจแห่งอินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งกิเลส คนอื่นที่จะเลวไปกว่าผู้นั้น มิได้มีสักนิดเลย.

ลำดับนั้น สรภังคศาสดา เรียกนารทดาบสนั้น มากล่าวว่า ดูก่อนนารทะ เธอจะฟังคำนี้ก่อน ผู้ใดไม่ทำสิ่งที่ควรจะพึงทำก่อน ผู้นั้นย่อมเศร้าโศกร่ำไร เหมือนมาณพ ที่เที่ยวไปในป่า ฉะนั้น ดังนี้แล้วได้นำเอา เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ในกาสีนิคมตำบลหนึ่ง มีพราหมณ์มาณพคนหนึ่ง รูปงาม สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง มีกำลังเท่าช้างสาร. พราหมณ์มาณพนั้น คิดว่า ประโยชน์อะไร ที่เราจะทำกสิกรรม เป็นต้น เลี้ยงมารดา ประโยชน์อะไรด้วยบุตรภรรยา ประโยชน์อะไรด้วยบุญ มีทาน เป็นต้น ที่เราทำไว้ เราจักไม่เลี้ยงดูใครๆ จักไม่ทำบุญอะไรๆ จักเข้าป่าฆ่าเนื้อต่างๆ เลี้ยงชีวิต ดังนี้แล้ว จึงผูกสอดอาวุธ ๕ ชนิด มุ่งไปสู่ป่าหิมพานต์ ฆ่าเนื้อต่างๆ กิน วันหนึ่งไปถึงเวิ้งภูเขาใหญ่ มีภูเขาห้อมล้อมรอบ ใกล้ฝั่งวิธินีนที ภายในหิมวันตประเทศ ฆ่าเนื้อแล้ว กินเนื้อที่ย่างในถ่านเพลิงอยู่ ณ ที่นั้น. มาณพนั้นคิดว่า เราจักมีเรี่ยวแรงอยู่เสมอไปไม่ได้ เวลาทุพพลภาพเรา

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 566

จักไม่อาจเที่ยวไปในป่า บัดนี้เราจักต้อนเนื้อนานาชนิด เข้าเวิ้งภูเขาแล้ว ทำประตูปิดไว้ เมื่อเข้าไปป่าไม่ได้ เราจักได้ฆ่าเนื้อกินตามชอบใจ คิดดังนี้แล้ว เขาก็ทำตามนั้น. ครั้นกาลล่วงไป กรรมของเขาถึงที่สุด ให้ผลเป็นทิฏฐธรรมเวทนีย์ ทันตาเห็น คือ มือเท้าของตนใช้ไม่ได้ เขาไม่อาจเดิน และพลิกไปมาได้ กินของเคี้ยวของบริโภคอะไรๆ ไม่ได้ น้ำก็ดื่มไม่ได้ ร่างกายเหี่ยวแห้ง เป็นมนุษย์เปรต ร่างกายแตกปริ เป็นร่องริ้วเหมือนแผ่นดิน แตกระแหงในฤดูร้อน ฉะนั้น. เขามีรูปร่างทรวดทรง น่าเกลียด น่ากลัว เสวยทุกข์ใหญ่หลวง.

เมื่อเวลาล่วงผ่านไปนาน ด้วยอาการอย่างนี้ พระเจ้าสีวิราช ในสีวิรัฐ ทรงพระดำริว่า เราจักเสวยเนื้อย่างในป่า จึงมอบราชสมบัติ ให้อำมาตย์ทั้งหลาย ดูแลแทน พระองค์เหน็บอาวุธ ๕ อย่างเสด็จเข้าป่า ฆ่าเนื้อ เสวยเนื้อ เรื่อยมาจนลุถึงประเทศนั้น โดยลำดับ ทอดพระเนตรเห็นบุรุษนั้น ตกพระทัย ครั้นดำรงพระสติได้ จึงตรัสถามว่า พ่อมหาจำเริญ ท่านเป็นใคร? เขาตอบว่า นาย ข้าพเจ้าเป็นมนุษย์เปรต เสวยผลกรรม ที่ตนทำไว้ ก็ท่านเล่าเป็นใคร?

เรา คือ พระเจ้าสีวิราช

พระองค์เสด็จมาที่นี้ เพื่ออะไร?

เพื่อเสวยเนื้อมฤค.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 567

ลำดับนั้น มาณพนั้นจึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า แม้ข้าพระองค์ ก็มาด้วยเหตุนี้แหละ จึงเป็นมนุษย์เปรต แล้วทูลเรื่องทั้งหมด โดยพิสดาร เมื่อจะกราบทูล ความที่ตนเสวยทุกข์ แด่พระราชา ได้กล่าวคาถาที่เหลือ ความว่า :-

ข้าแต่พระเจ้าสีวิราช พระองค์เกือบจะถึงความพินาศ อยู่ในเงื้อมมือของศัตรูทั้งหลาย เทียว เหมือนข้าพระองค์ ไม่กระทำกรรม ที่ควรกระทำ ไม่ศึกษาศิลปวิทยา ไม่ทำความขวน ขวาย เพื่อให้เกิดโภคทรัพย์ ไม่ทำอาวาห วิวาหะ ไม่รักษาศีล ไม่กล่าววาจาอ่อนหวาน ทำยศเหล่านี้ ให้เสื่อมไป จึงมาบังเกิดเป็นเปรต เพราะกรรมของตน.

ข้าพระองค์นั้น ปฏิบัติชอบแล้ว พึงยังโภคะให้เกิดขึ้น เหมือนบุรุษชนะแล้วพันคน ไม่มีพวกพ้องที่พึ่งอาศัย ล่วงเสียจากอริยธรรม มีอาการเหมือนเปรต ฉะนั้น.

ข้าพระองค์ทำสัตว์ทั้งหลาย ผู้ใคร่ต่อความสุข ให้ได้รับความทุกข์ จึงได้มาถึงส่วน

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 568

อันนี้ ข้าพระองค์นั้น ดำรงอยู่เหมือนบุคคล อันกองถ่านไฟล้อมรอบด้าน ย่อมไม่ได้ประสบ ความสุขเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมิตฺตานํว หตฺถตฺถํ ความว่า พระองค์เกือบจะมาถึง ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ คือ ความพินาศ ในมือของพวกอมิตร.

มาณพ เรียกพระราชาว่า สีวิ ข้าแต่พระเจ้าสีวิราช. บทว่า ปปฺโปติ มามิว ความว่า เหมือนดังข้าพระองค์ ต้องประสบบาปกรรม. อธิบายว่า ต้องถึงความพินาศ ด้วยกรรมของตนเอง. บทว่า กมฺมํ ได้แก่ กิจกรรม อันยังอาชีพให้สำเร็จ มีกสิกรรม เป็นต้น เป็นประเภท. บทว่า วิชฺชํ ได้แก่ศิลปะ มีศิลปะในเพราะช้าง เป็นต้น ซึ่งมีประการต่างๆ กัน. บทว่า ทกฺเขยฺยํ ได้แก่ ความเป็นผู้ฉลาด ด้วยการยังโภคะให้เกิดขึ้น มีประการต่างๆ บทว่า วิวาหํ ความว่า ไม่ทำอาวาหมงคล และวิวาหมงคล. บทว่า สีลมทฺทวํ ได้แก่ ศีลมีอย่าง ๕ และความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน มีกัลยาณมิตรผู้มุ่งประโยชน์ สามารถช่วยห้ามการทำบาป ก็ข้อนั้นแหละ ท่านหมายเอาว่า มัททวะ ในคาถานี้ บทว่า เอเตว ยเส หาเปตฺวา ความว่า ทำโลกธรรม อันเป็นเหตุให้ถึงยศเหล่านี้ มีประมาณเท่านี้ ให้เสื่อมไป. บทว่า นิพฺพตฺโต เสหิ กมฺเมหิ ความว่า เกิดเป็นมนุษย์เปรต ด้วยกรรมของตน.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 569

ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้ ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์ไม่กระทำกรรม ที่ควรกระทำอันเป็นเหตุ ให้ถืออิสริยยศ ในโลกนี้ ไม่ศึกษาศิลปวิทยา ไม่ขวนขวาย ยังโภคะให้เกิดโดยอุบาย ไม่ทำอาวาหวิวาหะ ไม่รักษาศีล ไม่คบกัลยาณมิตร ผู้สามารถห้ามไม่ให้ทำชั่ว ยังโลกธรรม อันถึงการนับว่ายศ เพราะเป็นเหตุ ให้ได้ยศเหล่านี้ คือมีประมาณเท่านี้ ให้เสื่อมเสียไป คือ ละทิ้งเสีย เข้าไปสู่ป่านี้ จนเกิดเป็นมนุษย์เปรต ในบัดนี้ ด้วยบาปกรรม อันตนทำไว้เอง. บทว่า สหสฺสชีโนว ความว่า เหมือนมีบุรุษ ได้ชนะแล้วพันคน. และมีอรรถาธิบายว่า ถ้าข้าพระองค์ปฏิบัติชอบ ทำโภคะให้เกิดขึ้น มีชัยชนะ. ด้วยโภคสมบัติหลายพันเหล่านั้น ดังนี้บ้าง. บทว่า อปรายโน ความว่า ไม่มีพวกพ้อง ที่พึ่งอาศัย. บทว่า อริยธมฺมา ความว่า ก้าวล่วงจากสัปปุริสธรรม. บทว่า ยถา เปโต ความว่า ถึงยังมีชีวิตอยู่ ก็เหมือนตายแล้ว เกิดเป็นเปรต อธิบายว่า ข้าพระองค์กลายเป็นมนุษย์เปรต. บทว่า สุขกาเม ทุกฺขาเปตฺวา ความว่า ข้าพระองค์ ได้ทำสัตว์ทั้งหลาย ผู้ใคร่ต่อความสุข ให้ได้รับความทุกข์ ปาฐะเป็นสุขกาโม ก็มี ความก็ว่า ข้าพระองค์ ปรารถนาความสุขด้วยตนเอง แต่ยังผู้อื่นให้ได้รับความทุกข์. บทว่า อาปนฺโนสฺมิ ปทํ อิมํ ความว่า ข้าพระองค์ จึงถึงส่วนอันนี้ คือ เห็นปานนี้. ปาฐะว่า ปถํ ดังนี้ ก็มี ความก็ว่า ข้าพระองค์ต้องมาถึงอัตตภาพ อันเป็นครองแห่งทุกข์นี้. บทว่า ิโต ภาณุมกาสิว ความว่า ไฟ ท่านเรียกว่า ภาณุมา คือ มาณพกราบทูลว่า ข้าพระองค์เป็นราวกะว่า มีกองถ่านเพลิงรายรอบข้าง ถูกความเร่าร้อน

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 570

ใหญ่ที่ตั้งขึ้น ในร่างกายเผาผลาญอยู่ ไม่ได้ประสบความสุขกาย สุขใจเลย.

ก็มาณพนั้น ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว กราบทูลต่อไปว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ข้าพระองค์ประสงค์ความสุข แต่ทำผู้อื่นให้ได้รับความทุกข์ จึงเป็นมนุษย์เปรต ในปัจจุบันทันตาเห็น เพราะฉะนั้น ขอพระองค์ อย่าทรงทำกรรมชั่วเลย จงเสด็จไปพระนครของพระองค์ ทรงบำเพ็ญบุญ มีให้ทาน เป็นต้นเถิด. พระเจ้าสีวิราชได้ทรงกระทำตามนั้น ทรงบำเพ็ญทางไปสู่สวรรค์.

สรภังคศาสดา นำเรื่องนี้มาแสดง ให้ดาบสเข้าใจแจ่มแจ้ง เป็นอันดี. ดาบสนั้น ได้ความสลดใจ เพราะถ้อยคำ ของสรภังคศาสดา จึงไหว้ขอขมาโทษ แล้วทำกสิณบริกรรม ทำฌานที่เสื่อมแล้ว ให้กลับคืนเป็นปกติ. สรภังคดาบส ไม่ยอมให้นารทดาบส อยู่ที่ที่นั้น พาไปยังอาศรมของตน.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาแสดงแล้ว ทรงประกาศสัจจะ เวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสัน ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พระทศพล ทรงประชุมชาดกว่า นารทดาบสในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุผู้กระสัน สาลิสสรดาบส ได้เป็นพระสารีบุตร เมณฑิสสรดาบส ได้เป็นพระกัสสปะ ปัพพตดาบส ได้เป็นพระอนุรุทธะ กาฬเทวิลดาบส ได้เป็นพระกัจจายนะ อนุสิสสะดาบส ได้เป็นพระอานนท์ กิสวัจฉดาบส ได้เป็นพระโมคคัลลานะ ส่วนสรภังคดาบส คือ เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถา อินทริยชาดกที่ ๗