พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. อัฏฐานชาดก ว่าด้วยสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ส.ค. 2564
หมายเลข  35887
อ่าน  478

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 585

๙. อัฏฐานชาดก

ว่าด้วยสิ่งที่เป็นไปไม่ได้


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 585

๙. อัฏฐานชาดก

ว่าด้วยสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

[๑๑๘๘] เมื่อใด แม่น้ำคงคาดารดาษ ด้วยดอกบัวก็ดี นกดุเหว่าสีขาวเหมือนสังข์ก็ดี ต้นหว้า พึงให้ผลเป็นผลตาลก็ดี เมื่อนั้น เราทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

[๑๑๘๙] เมื่อใด ผ้า ๓ ชนิด จะพึงสำเร็จได้ ด้วยขนเต่า ใช้เป็นเครื่องกันหนาว ในคราวน้ำค้างตกได้ เมื่อนั้น เราทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

[๑๑๙๐] เมื่อใด เท้ายุงทั้งหลาย จะพึงทำเป็นป้อมมั่นคงดี ไม่หวั่นไหว อาจจะทนบุรุษ ผู้ขึ้นรบได้ตั้งร้อย เมื่อนั้น เราทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

[๑๐๙๑] เมื่อใด เขากระต่าย จะพึงทำเป็นบันได เพื่อขึ้นไปสวรรค์ได้ เมื่อนั้น เราทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 586

[๑๑๙๒] เมื่อใด หนูทั้งหลาย จะพึงไต่บันได ขึ้นไปกัดพระจันทร์ และขับไล่ราหู ให้หนีไปได้ เมื่อนั้น เราทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

[๑๑๙๓] เมื่อใด แมลงวันทั้งหลาย เที่ยวไปเป็นหมู่ๆ ดื่มเหล้าหมดหม้อ เมาแล้ว จะพึงเข้าไปอยู่ ในโรงถ่านเพลิง เมื่อนั้น เราทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

[๑๑๙๔] เมื่อใด ลาพึงมีริมฝีปากงาม สีเหมือนผลมะพลับ มีหน้างามเหมือนแว่นทอง จะ เป็นสัตว์ฉลาด ในการฟ้อนรำขับร้องได้ เมื่อนั้น เราทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

[๑๑๙๕] เมื่อใด กากับนกเค้า พึงปรารถนาสมบัติ ให้แก่กันและกัน ปรึกษาปรองดองกัน อยู่ในที่ลับได้ เมื่อนั้น เราทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

[๑๑๙๖] เมื่อใด รากไม้ และใบไม้อย่างละเอียด พึงเป็นร่มมั่นคง ป้องกันฝนได้ เมื่อนั้น เรา ทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 587

[๑๑๙๗] เมื่อใด นกตัวเล็กๆ พึงเอาจะงอยปาก คาบภูเขาคันธมาทน์ บินไปได้ เมื่อนั้น เราทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

[๑๑๙๘] เมื่อใด เด็กๆ พึงขับเรือใหญ่ อันประกอบด้วยเครื่องยนต์ และใบพัด กำลังแล่นไปในสมุทรไว้ได้ เมื่อนั้น เราทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

จบ อัฏฐานชาดกที่ ๙

อรรถกถาอัฏฐานชาดกที่ ๙

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ ภิกษุผู้กระสันรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า คงฺคา กุมุทินี ดังนี้.

พระศาสดา ตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่า เธอกระสันจริงหรือ? เมื่อภิกษุนั้นกราบทลูว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสถามว่า เธอกระสันเพราะเหตุไร? เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า เพราะอำนาจกิเลส จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ขึ้นชื่อว่า มาตุคาม มักอกตัญญู ประทุษร้ายมิตร ไม่น่าไว้วางใจ บัณฑิตทั้งหลายในครั้งก่อน แม้ให้ทรัพย์วันละพัน ก็

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 588

ไม่สามารถ จะให้มาตุคามยินดีได้ นางนั้น พอไม่ได้ทรัพย์พันหนึ่ง เพียงวันเดียวเท่านั้น ก็ได้ให้คน ลากคอบัณฑิตเหล่านั้น ไปเสีย มาตุคามไม่รู้คุณคนอย่างนี้ เธออย่าตกอยู่ในอำนาจกิเลส เพราะเหตุมาตุคามนั้น ดังนี้แล้ว ได้ทรงนำเอา เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติ อยู่ในนครพาราณสี พระโอรสของพระองค์ มีพระนามว่า พรหมทัตกุมาร และบุตรของเศรษฐี พระนครพาราณสี มีชื่อว่า มหาธนกุมาร กุมารทั้งสอง เป็นสหายกันมาแต่เล็กๆ เรียนศิลปะ ในตระกูลอาจารย์เดียวกัน. พรหมทัตกุมารได้ครองราชสมบัติ เมื่อพระราชบิดาสวรรคต. บุตรเศรษฐีได้อยู่ในราชสำนักนั้นแหละ ก็ในพระนครพาราณสี มีนางวรรณทาสีคนหนึ่ง เป็นหญิงนครโสเภณี มีรูปร่างงามเลิศ. บุตรเศรษฐี ได้ให้ทรัพย์วันละพัน อภิรมย์อยู่กับนางนั้นตลอดกาล แม้ได้ตำแหน่งเศรษฐี เมื่อบิดาตายแล้ว ก็ไม่ทิ้งนางนั้น คงยังให้ทรัพย์วันละพัน อภิรมย์อยู่เช่นนั้นเอง.

เศรษฐีบุตร ต้องเข้าเฝ้าพระราชา วันละ ๓ ครั้ง. ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง เมื่อเศรษฐีบุตรเข้าเฝ้าพระราชาเวลาเย็น ปราศรัยอยู่กับพระราชาจนพลบค่ำ จึงออกจากราชสำนักคิดว่า บัดนี้ถ้าเราจะไปบ้านก่อน แล้วมาหาหญิงนครโสเภณี เวลาไม่พอ เราจักไปบ้านหญิงนครโสเภณีเลยทีเดียว แล้วส่งคนใช้ไปเรือน ตัวคนเดียวเท่านั้น ไปบ้านหญิงนคร

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 589

โสเภณี. ลำดับนั้น หญิงนครโสเภณีเห็นเศรษฐีบุตร แล้วกล่าวว่า แน่ะ ลูกเจ้า ท่านนำทรัพย์พันหนึ่งมาหรือเปล่า? เศรษฐีบุตรกล่าวว่า น้องรัก วันนี้เราล่วงเลยผิดเวลาไป เพราะฉะนั้น จึงไม่ได้ไปบ้าน ส่งแต่คนใช้ไป เราเข้ามานี่แต่คนเดียว แต่วันพรุ่งนี้ เราจักให้ทรัพย์แก่เจ้าสองพัน. นางคิดว่า ถ้าวันนี้เราให้โอกาส แม้วันอื่นๆ ก็จักมามือเปล่าอีก เมื่อเป็นเช่นนี้ เราก็จักเสื่อมจากทรัพย์ เราจักไม่ให้โอกาสแก่เขา. คิดดังนี้แล้ว จึงกล่าวกะบุตรเศรษฐีว่า นาย พวกเราชื่อว่า เป็นวรรณทาสี ซึ่งจะให้เย้าหยอกเล่นเปล่าๆ นั้นไม่มี ท่านจงนำทรัพย์พันหนึ่งมา. เศรษฐีบุตรได้ขอร้องอยู่แล้วๆ เล่าๆ ว่า น้องรัก พรุ่งนี้เราจักนำมาให้ ๒ เท่า. หญิงนครโสเภณีบังคับพวกทาสีว่า พวกเจ้าอย่าให้เศรษฐีนี้ มายืนแลดู อยู่ที่นี่ จงลากคอมันออกไป แล้วปิดประตูเสีย. พวกนางทาสีได้กระทำ เช่นนั้น.

เศรษฐีนั้นคิดว่า เราได้ให้ทรัพย์แก่หญิงนี้ ถึง ๘๐ โกฏิ แต่พอนางเห็นเรามือเปล่าเข้าวันเดียว ก็ให้ลากคอเราออกไปเสีย โอ! ขึ้นชื่อว่า มาตุคาม เป็นผู้ลามก หมดละอาย อกตัญญู ประทุษร้ายมิตร คิดดังนี้ ก็มองเห็นโทษของมาตุคามได้ จึงคลายความรัก กลับได้ปฏิกูลสัญญา เบื่อหน่ายแม้ฆราวาส คิดว่าการครองเรือน จะเป็นประโยชน์อะไรแก่เรา เราจักออกบวชในวันนี้แหละ ไม่ไปเรือน และไม่เฝ้าพระราชาอีกเลย ออกจากพระนครเข้าป่า บวชเป็นฤๅษี สร้างอาศรมอยู่

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 590

ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ทำฌาน และอภิญญาให้เกิดขึ้น มีเผือกมัน ผลไม้ป่า เป็นอาหารอยู่ ณ ที่นั้น.

เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ไม่เห็นมหาธนเศรษฐีเข้าเฝ้า จึงตรัสถามว่า สหายของเราไปไหน? แม้ข่าวการกระทำ ของหญิงนครโสเภณี ก็ได้แพร่สะพัดไปทั่วพระนคร. ลำดับนั้น พวกราชบุรุษ ได้กราบทูลความนั้น แต่พระราชาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระสหายของพระองค์ มีความละอายไม่กลับบ้าน เข้าป่าบวชแล้ว. พระราชารับสั่งให้เรียก หญิงนครโสเภณี มาตรัสถามว่า ได้ยินว่า เจ้าไม่ได้ทรัพย์พันหนึ่ง วันเดียวเท่านั้น ก็ให้พวกทาสี ลากคอสหายของเราออกไป จริงหรือ? นางรับว่า จริงเพคะ พระราชาตรัสว่า แน่ะ หญิงลามกเลวทราม เจ้าจงไปยังที่ที่สหายของเราไป แล้วนำเขามา ถ้าเจ้านำมาไม่ได้ เจ้าต้องตาย. นางได้ฟังพระราชดำรัส ดังนั้น มีความกลัว จึงขึ้นรถออกจากพระนครไป พร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก เที่ยวเสาะแสวงหา ที่อยู่ของฤๅษีนั้นพอได้ฟังข่าวว่าอยู่ที่นั่น ก็ได้ไป ณ ที่นั้น นมัสการแล้ววิงวอนว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ขอท่านได้อดโทษ ที่ดิฉันกระทำ ด้วยความเป็นคนอันธพาล ดิฉันจักไม่กระทำอย่างนี้อีก เมื่อพระฤๅษีกล่าวว่า ดีแล้ว เราอดโทษให้ เราไม่มีความอาฆาตในเธอ นางจึงกล่าวว่า ถ้าท่านอดโทษให้ดิฉัน ก็ขอจงขึ้นรถไปสู่พระนครกับดิฉัน เมื่อถึงพระนครแล้ว ดิฉันจักถวายทุกสิ่งทุกอย่าง ที่มีอยู่ในเรือนของดิฉัน. พระฤๅษีได้ฟังคำของ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 591

นางแล้วกล่าวว่า น้องหญิง บัดนี้เราไม่อาจจะไปกับเจ้า ก็คราวใด ของสิ่งใดในโลกนี้ ไม่พึงมีพึงเป็น ของสิ่งนั้นจักมีจักเป็นได้ ของสิ่งนั้นจักมีจักเป็นได้ คราวนั้นแหละ เราจะพึงไปกับเจ้า ดังนี้แล้ว กล่าวคาถาที่ ๑ ความว่า :-

เมื่อใด แม่น้ำคงคาดารดาษ ด้วยดอกบัวก็ดี นกดุเหว่าสีขาวเหมือนสังข์ก็ดี ต้นหว้าพึงให้ผลเป็นผลตาลก็ดี เมื่อนั้น เราทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

คาถานั้น มีอรรถาธิบายดังนี้ ดูก่อนนางผู้เจริญ เมื่อใด แม่น้ำมหาคงคา แม้ทั้งหมด มีกอโกมุท ละความเป็นมหานที มีกระแสไหลเชี่ยว เวียนวนไม่ไหวติง เหมือนสระโกมุท ดารดาษไปด้วยดอกโกมุทตั้งอยู่ก็ดี นกดุเหว่าทั้งหมด มีสีขาวเหมือนสังข์ก็ดี อนึ่ง ต้นหว้าทั้งหมด ให้ผลเป็นผลตาลก็ดี

บทว่า อถ นูน ตทา สิยา มีอธิบายว่า เมื่อนั้น คือในเวลานั้น แม้เราทั้งสอง จะพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

ก็แล ครั้นพระฤๅษีกล่าวอย่างนี้แล้ว เมื่อนางกล่าวอีกว่า เชิญพระผู้เป็นเจ้ามาไปด้วยกันเถิด จึงกล่าวว่า เราจักไป เมื่อนางถามว่า

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 592

จักไปเมื่อใด? พระฤๅษีจึงกล่าวว่า จักไปเวลาโน้น เวลาโน้น ดังนี้ แล้วได้กล่าว คาถาที่เหลือ ความว่า :-

เมื่อใด ผ้า ๓ ชนิด จะพึงสำเร็จได้ด้วยขนเต่า ใช้เป็นเครื่องกันหนาว ในคราวน้ำค้างตกได้ เมื่อนั้น เราทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

เมื่อใด เท้ายุงทั้งหลาย จะพึงทำเป็นป้อมมั่นคงดี ไม่หวั่นไหว อาจจะทนบุรุษ ผู้ขึ้นรบได้ตั้งร้อย เมื่อนั้น เราทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

เมื่อใด เขากระต่าย จะพึงทำเป็นบันได เพื่อขึ้นไปสวรรค์ได้ เมื่อนั้น เราทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

เมื่อใด หนูทั้งหลาย จะพึงไต่บันได เพื่อขึ้นไปกัดพระจันทร์ และขับไล่ราหู ให้หนีไปได้ เมื่อนั้น เราทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

เมื่อใด แมลงวันทั้งหลาย เที่ยวไปเป็นหมู่ๆ ดื่มเหล้าหมดหม้อ เมาแล้ว จะพึงเข้า

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 593

ไปอยู่ในโรงถ่านเพลิง เมื่อนั้น เราทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

เมื่อใด ลาพึงมีริมฝีปากงาม สีเหมือนผลมะพลับ มีหน้างามเหมือนแว่นทอง จะเป็นสัตว์ฉลาด ในการฟ้อนรำขับร้องได้ เมื่อนั้น เราทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

เมื่อใด กากับนกเค้า พึงปรารถนาสมบัติ ให้แก่กันและกัน ปรึกษาปรองดองกัน อยู่ในที่ลับได้ เมื่อนั้น เราทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

เมื่อใด รากไม้ และใบไม้อย่างละเอียด พึงเป็นร่มมั่นคง ป้องกันฝนได้ เมื่อนั้น เราทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

เมื่อใด นกตัวเล็กๆ พึงเอาจะงอยปาก คาบภูเขาคันธมาทน์ บินไปได้ เมื่อนั้น เราทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

เมื่อใด เด็กๆ พึงขับเรือใหญ่ อัน

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 594

ประกอบด้วยเครื่องยนต์ และใบพัด กำลังแล่นไปในสมุทรไว้ได้ เมื่อนั้น เราทั้งสองพึงอยู่ร่วมกันได้แน่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติวิโธ ได้แก่ ผ้า ๓ ชนิดอย่างนี้ คือ ผ้าทำด้วยดอกไม้๑ ทำด้วยนุ่น๑ ทำด้วยของ ๒ อย่าง ๑ ซึ่งจะทำให้สำเร็จได้ด้วยขนเต่า. บทว่า เหมนฺติกํ ปาวุรณํ ความว่า สามารถใช้เป็นเครื่องคลุมกันหนาว ในคราวน้ำค้างตกได้. บทว่า อถ นูน ตทา สยา ความว่า เมื่อนั้น คือในเวลานั้น เราจะพึงอยู่ร่วมกับเจ้าได้ โดยส่วนเดียว.

โดยวิธีนี้ บัณฑิต พึงเอาบทข้างหลัง ประกอบเข้ากับทุกๆ บท. บทว่า อฏฺฏาโล สุกโต ความว่า เมื่อใด หากจะทำเท้าแห่งยุงทั้งหลาย ให้เป็นป้อมที่มั่นคงดี ไม่หวั่นไหว รองรับบุรุษร้อยคน ผู้ขึ้นรบไว้ได้. บทว่า ปริพาเหยฺยุํ แปลว่า ขับไล่ให้หนีไป. บทว่า องฺคาเร ได้แก่ ในโรงที่ปราศจากเปลว. บทว่า วาสํ กปฺเปยฺยุํ ความว่า แมลงวันทั้งหลาย พากันดื่มสุราหมดหม้อ เมาแล้ว เข้าไปอยู่ในโรงถ่านเพลิง. บทว่า พิมฺโพฏฺสมฺปนฺโน ความว่า ประกอบด้วยริมฝีปากทั้ง ๒ งามเหมือนผลมะพลับ. บทว่า สุมุโข ได้แก่ มีหน้างามเหมือนแว่นทอง. บทว่า ปิหเยยฺยุํ ความว่า พึงปรารถนาสมบัติ ให้แก่กันและกัน

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 595

ปรารถนาดีต่อกัน ปรองดองกันได้. บทว่า มูลสปตฺตานํ ได้แก่ รากไม้ และใบไม้อย่างละเอียด. บทว่า กุลุโก ได้แก่ นกเล็กๆ ตัว ๑. บทว่า สามุทฺทิกํ ได้แก่ เรือใหญ่ซึ่งกำลังแล่นไปในสมุทร. บทว่า สยนฺตํ สวฏากรํ ความว่า ประกอบไปด้วยสัมภาระครบครัน พร้อมด้วยเครื่องยนต์ และใบพัด. บทว่า เจโต อาทาย ความว่า ก็เมื่อใด เด็กชาวบ้านตัวเล็กๆ พึงขับเรือเห็นปานนี้ ไว้ได้ด้วยมือ.

พระมหาสัตว์ได้กล่าวคาถา ๑๑ คาถา โดยอัฏฐานปริกัปนี้ ด้วยประการฉะนี้. หญิงนครโสเภณีได้ฟังดังนั้นแล้ว ขอขมาโทษพระมหาสัตว์ ไปพระนคร กราบทูลเรื่องนั้นแก่พระราชา แล้วทูลขอชีวิตของตนไว้.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ จบลงแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ขึ้นชื่อว่า มาตุคาม มักอกตัญญู ประทุษร้ายมิตรอย่างนี้ ดังนี้แล้ว ทรงประกาศสัจจะ แล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสัน ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. พระทศพลทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอานนท์ ส่วนพระดาบส ได้มาเป็นเราผู้ตถาคต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถา อัฏฐานชาดกที่ ๙