พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. มหาสุวราชชาดก ว่าด้วยสหายย่อมไม่ละทิ้งสหาย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ส.ค. 2564
หมายเลข  35891
อ่าน  420

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 627

๓. มหาสุวราชชาดก

ว่าด้วยสหายย่อมไม่ละทิ้งสหาย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 627

๓. มหาสุวราชชาดก

ว่าด้วยสหายย่อมไม่ละทิ้งสหาย

[๑๒๒๖] เมื่อใด ต้นไม้มีผลบริบูรณ์ เมื่อนั้น ฝูงวิหคทั้งหลาย ย่อมพากันมามั่วสุม บริโภคผลไม้ต้นนั้น แต่โดยรู้ว่า ต้นไม้สิ้นแล้ว ผลวายแล้ว ฝูงวิหคทั้งหลาย ก็พากันจากต้นไม้นั้น บินไปสู่ ทิศน้อยทิศใหญ่.

[๑๒๒๗] ดูก่อนนกแขกเต้า ผู้มีจะงอยปากแดง ท่านจงไปยังที่ที่ควรไปเถิด อย่าได้มาตายเสียเลย เหตุไรท่านจึงซบเซา อยู่ที่ต้นไม้แห้ง ดูก่อนนกแขกเต้า ผู้มีขนเขียว ดุจไพรสณฑ์ ในฤดูฝน เชิญเถิด ขอท่านจงบอกเรื่องนั้น เหตุไรท่านจึงทิ้ง ต้นไม้แห้งไม่ได้.

[๑๒๒๘] ข้าแต่พระยาหงส์ ชนเหล่าใดแล เป็นเพื่อนของพวกเพื่อน ในคราวร่วมสุขทุกข์จน ตลอดชีวิต ชนเหล่านั้น เป็นสัตบุรุษ ระลึกถึง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 628

ธรรมของสัตบุรุษอยู่ ย่อมละทิ้งเพื่อน ผู้สิ้นทรัพย์ หรือยังไม่สิ้นทรัพย์ไปไม่ได้เลย.

[๑๒๒๙] ข้าแต่พญาหงส์ เราก็เป็นผู้หนึ่ง ในบรรดาสัตบุรุษ ต้นไม้นี้ เป็นทั้งญาติ เป็นทั้ง เพื่อนของเรา เราต้องการเพียงเพื่อเป็นอยู่ จึงไม่อาจละทิ้ง ต้นไม้นั้นไปได้ ก็การที่จะละทิ้งไป เพราะได้ทราบว่า ต้นไม้นี้สิ้นผลแล้ว ดังนี้ นี่ไม่ยุติธรรม.

[๑๒๓๐] ความเป็นเพื่อน ความไมตรี ความสนิทสนมกัน ท่านได้ทำไว้เป็นพยานดีแล้ว ถ้าท่านชอบใจธรรมนั้น ท่านก็เป็นผู้ควรที่วิญญูชนทั้งหลาย พึงสรรเสริญ.

[๑๒๓๑] ดูก่อนพญานกแขกเต้า ผู้ชาติวิหค มีปีกเป็นยาน มีคอโค้งเป็นสง่า เรานั้นจะให้พรแก่ท่าน ท่านจงเลือกเอาพร ตามที่ใจปรารถนาเถิด.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 629

[๑๒๓๒] ข้าแต่พญาหงส์ ถ้าท่านจะให้พรแก่ข้าพเจ้าไซร้ ก็ขอให้ต้นไม้นี้ พึงได้มีอายุต่อไป ต้นไม้นั้น จงมีกิ่งมีผล งอกงามดี มีผลมีรสหวาน เหมือนน้ำผึ้ง ตั้งอยู่อย่างสง่างามเถิด.

[๑๒๓๓] ดูก่อนสหาย ท่านจงดูต้นไม้นั้น ซึ่งมีผลมากมาย ขอให้ท่านจงอยู่ร่วมกับต้นมะเดื่อของท่าน ขอให้ต้นมะเดื่อนั้น จงมีกิ่งก้าน มีผล งอกงามดี มีผลมีรสหวาน เหมือนน้ำผึ้ง ตั้งอยู่อย่างสง่างามเถิด.

[๑๒๓๓] ข้าแต่ท้าวสักกะ ขอให้พระองค์ ทรงพระเจริญสุข พร้อมกับพระญาติทั้งปวง เหมือนข้าพระบาท มีความสุข เพราะได้เห็นต้นไม้ ผลิตผลในวันนี้ ฉะนั้นเถิด.

[๑๒๓๔] ท้าวสักกเทวราช ประทานพร แก่พญานกแขกเต้า ทำต้นไม้ให้มีผลแล้ว พาพระมเหสี เสด็จกลับเทพนันทนวัน.

จบ มหาสุวราชชาดกที่ ๓

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 630

อรรถกถามหาสุวราชชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ รูปใดรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ทุโม ยถา โหติ ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุรูปนั้น เรียนพระกรรมฐาน ในสำนักพระศาสดา แล้วไปอยู่ในป่า อาศัยบ้านชายแดนตำบลหนึ่ง ในแคว้นโกศลชนบท พวกมนุษย์ช่วยกันปลูกสร้าง ที่พักกลางคืน และที่พักกลางวัน เป็นต้น แล้วทำเสนาสนะ ในที่เดินไปมา ถวายภิกษุนั้น บำรุงภิกษุนั้น โดยเคารพ เมื่อภิกษุนั้น จำพรรษาเดือนแรก เกิดเพลิงไหม้บ้านนั้นขึ้น แม้สักว่า พืชของพวกมนุษย์ก็ไม่มีเหลือ เขาจึงไม่อาจถวายบิณฑบาตที่ประณีต แก่ภิกษุนั้นได้ เธอแม้จะอยู่ในเสนาสนะที่สบาย แต่ลำบากด้วยบิณฑบาต จึงไม่สามารถจะให้มรรค หรือผลเกิดขึ้นได้ ครั้นกาลล่วงไปได้ ๓ เดือน เธอมาเฝ้าพระศาสดา พระองค์ทรงทำปฏิสันถาร แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ? เสนาสนะเป็นที่สบายดีหรือ? ภิกษุรูปนั้น ได้กราบทูลความนั้น ให้ทรงทราบ พระศาสดาครั้น ทรงทราบว่า เธอมีเสนาสนะเป็นที่สบาย จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ธรรมดาสมณะ เมื่อมีเสนาสนะเป็นที่สบายแล้ว ก็ควรละ ความโลภอาหารเสีย ยินดีฉัน ตามที่ได้มา นั่นแหละ กระทำสมณธรรมไป โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย แม้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เคี้ยวผงแห้งในต้นไม้ที่ตนอยู่อาศัย ยังละความโลภอาหาร มีความสันโดษ ไม่ทำลายมิตรธรรม

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 631

ไปเสียที่อื่น เหตุไรเธอจึงมาคิดว่า บิณฑบาตน้อยไม่อร่อย แล้วละทิ้งเสนาสนะ ที่สบายเสีย? ภิกษุนั้นทูลอาราธนา ให้ตรัสเรื่องราว จึงทรงนำเอา เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล ที่ป่าไม้มะเดื่อแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งคงคา ณ หิมวันตประเทศ มีนกแขกเต้าอาศัยอยู่หลายแสน บรรดานกแขกเต้าเหล่านั้น พญานกแขกเต้าตัวหนึ่ง เมื่อผลของต้นไม้ที่ตนอาศัยอยู่หมดลง สิ่งใดที่ยังเหลืออยู่ จะเป็นหน่อ ใบ เปลือก หรือสะเก็ดก็ตาม ก็กินสิ่งนั้น แล้วดื่มน้ำ ในแม่น้ำคงคา มีความมักน้อยสันโดษ เป็นอย่างยิ่ง ไม่ไปที่อื่นเลย ด้วยคุณ คือ ความมักน้อยสันโดษอย่างยิ่ง ของพญานกแขกเต้านั้น ได้บันดาลให้ภพของท้าวสักกเทวราช หวั่นไหว ท้าวสักกเทวราช ทรงพิจารณาดู ก็รู้เห็นเหตุนั้น เพื่อจะลองใจพญานกแขกเต้า จึงบันดาลให้ต้นไม้นั้นแห้งไป ด้วยอานุภาพของพระองค์ ต้นไม้นั้น เหลืออยู่แต่ตอ แตกเป็นช่องน้อย ช่องใหญ่ เมื่อถูกลมพัด ก็มีเสียงปรากฏ เหมือนมีใครมาตีให้ดัง มีผงละเอียดไหลออกมา ตามช่องต้นไม้นั้น พญานกแขกเต้า จิกผงเหล่านั้นกิน แล้วไปดื่มน้ำที่แม่น้ำคงคา ไม่ไปที่อื่น มาจับอยู่ที่ยอดตอไม้มะเดื่อ โดยไม่ย่อท้อต่อลม และแดด.

ท้าวสักกเทวราช ทรงทราบความ ที่พญานกแขกเต้านั้น มีความมักน้อยอย่างยิ่ง ทรงดำริว่า เราจักให้พญานกแขกเต้า แสดงคุณในมิตรธรรม แล้วจักให้พรแก่เธอ ทำต้นมะเดื่อ ให้มีผลอยู่เรื่อยไป แล้ว

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 632

จะกลับมา ครั้นทรงดำริดังนี้ แล้วจึงทรงแปลงพระองค์ เป็นพญาหงส์ตัวหนึ่ง นำนางสุชาดาอสุรกัญญา ให้เป็นนางหงส์อยู่เบื้องหน้า บินไปถึงป่าไม้มะเดื่อนั้น จับอยู่ที่กิ่งไม้มะเดื่อต้นหนึ่ง ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กัน เมื่อจะเริ่มเจรจากัน พญานกแขกเต้านั้น ได้ตรัสคาถาที่ ๑ ว่า :-

เมื่อใด ต้นไม้มีผลบริบูรณ์ เมื่อนั้น ฝูงวิหคทั้งหลาย ย่อมพากันมามั่วสุม บริโภคผลไม้ต้นนั้น แต่โดยรู้ว่า ต้นไม้สิ้นไปแล้ว ผลวายแล้ว ฝูงวิหคทั้งหลาย ก็พากันจากต้นไม้นั้น บินไปสู่ ทิศน้อยทิศใหญ่.

บัณฑิตพึงทราบ เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า ดูก่อนพระยานกแขกเต้า เมื่อใด ต้นไม้มีผลสมบูรณ์ เมื่อนั้น ฝูงวิหคทั้งหลาย ย่อมพากันมามั่วสุม บริโภคผลไม้ต้นนั้น จากกิ่งโน้นสู่กิ่งนี้ แต่โดยรู้ว่า ต้นไม้นั้นสิ้นไปแล้ว ผลวายไปแล้ว ฝูงวิหคทั้งหลาย ก็พากันจากต้นไม้นั้น บินไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่.

ก็แหละ ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เพื่อจะทรงยุพญานกแขกเต้า ให้ไปจากที่นั้น จึงตรัสคาถาที่ ๒ ว่า :-

ดูก่อนนกแขกเต้า ผู้มีจะงอยปากแดง ท่านจงไปยังที่ที่ควรไปเถิด อย่าได้มาตายเสีย

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 633

เลย เหตุไรท่านจึงซบเซา อยู่ที่ต้นไม้แห้ง ดูก่อนนกแขกเต้า ผู้มีขนเขียว ดุจไพรสณฑ์ ในฤดูฝน เชิญเถิด ขอท่านจงบอกเรื่องนั้น เหตุไร ท่านจึงทิ้งต้นไม้แห้งไม่ได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฌายสิ ความว่า เหตุไรท่านจึงยืนซบเซา คือ งมงายอยู่ที่ยอดตอไม้แห้ง. ศัพท์ว่า อิงฺฆ เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า เตือน.

บทว่า วสฺสนฺตสนฺนิภา ความว่า ในเวลาฤดูฝนไพรสณฑ์ จะมีสีเขียวชะอุ่ม เหมือนดาดาษไปด้วยชั้นที่สวยงาม เพราะเหตุนั้น พญาหงส์จึงทักทาย พญานกแขกเต้านั้นว่า ดูก่อนพญานกแขกเต้า ผู้มีขนเขียว ดุจไพรสณฑ์ ในฤดูฝน ดังนี้. บทว่า น ริญฺจสิ เท่ากับ น ฉฑฺเฑสิ แปลว่า ทิ้งไม่ได้.

ลำดับนั้น พญานกแขกเต้า กล่าวกะพญาหงส์ว่า ข้าแต่พญาหงส์ เราละทิ้งต้นไม้นี้ ไปไม่ได้ เพราะความที่เรามีกตัญญูกตเวที แล้วได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า.

ข้าแต่พญาหงส์ ชนเหล่าใดแล เป็นเพื่อนของพวกเพื่อน ในคราวร่วมสุขทุกข์ จนตลอดชีวิต ชนเหล่านั้น เป็นสัตบุรุษ ระลึกถึง

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 634

ธรรมของสัตบุรุษอยู่ ย่อมละทิ้งเพื่อน ผู้สิ้นทรัพย์ หรือยังไม่สิ้นทรัพย์ไป ไม่ได้เลย.

ข้าแต่พญาหงส์ เราก็เป็นผู้หนึ่ง ใน รรดาสัตบุรุษ ต้นไม้นี้ เป็นทั้งญาติ เป็นทั้งเพื่อนของเรา เราต้องการเพียงเพื่อเป็นอยู่ จึงไม่อาจละทิ้งต้นไม้นั้นไปได้ ก็การที่จะละทิ้งไป เพราะได้ทราบว่า ต้นไม้นี้ สิ้นผลแล้ว ดังนี้ นี่ไม่ยุติธรรม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย เว สขีนํ สขาโร ภวนฺติ เท่ากับ เย จ สหายานํ สหายา โหนฺติ แปลว่า ชนเหล่าใด เป็นเพื่อนของเพื่อนทั้งหลาย. บทว่า ขีณํ อขีณํ ความว่า ธรรมดาว่า บัณฑิต ทั้งหลาย ย่อมละทิ้งเพื่อน ผู้ชื่อว่า สิ้นทรัพย์ เพราะสิ้นสหาย และโภคทรัพย์ของตนไป ไม่ได้เลย. บทว่า สตํ ธมฺมมนุสฺสรนฺโต คือ ระลึกถึง ประเพณีของบัณฑิตทั้งหลายอยู่. บทว่า าตี จ เม ความว่า ข้าแต่พญาหงส์ ต้นไม้นี้ ชื่อว่า เป็นทั้งญาติของเรา เพราะอรรถว่า เป็นที่รักสนิทสนม ชื่อว่า เป็นทั้งเพื่อนของเรา เพราะอยู่ร่วมป่ากับเรา. บทว่า ชีวิกตฺโถ ความว่า เราต้องการเพียงเพื่อเป็นอยู่ จึงไม่อาจจะทิ้งต้นไม้นั้น ไปได้.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 635

ท้าวสักกเทวราช ทรงสดับถ้อยคำ ของพญานกแขกเต้านั้นแล้ว ทรงยินดีตรัสสรรเสริญ ประสงค์จะประทานพร จึงตรัสคาถา ๒ คาถา ว่า :-

ความเป็นเพื่อน ความไมตรี ความสนิทสนมกัน ท่านได้ทำไว้ เป็นพยานดีแล้ว ถ้าท่าน ชอบใจธรรมนั้น ท่านก็เป็นผู้ควรที่วิญญูชนทั้งหลาย พึงสรรเสริญ.

ดูก่อนพญานกแขกเต้า ผู้ชาติวิหค มีปีกเป็นยาน มีคอโค้งเป็นสง่า เรานั้นจะให้พรแก่ท่าน ท่านจงเลือกเอาพร ตามที่ใจปรารถนาเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาธุ ความว่า ท่านได้ทำไว้ เป็นพยานดีแล้ว ด้วยความร่าเริง. บทว่า เมตฺติ สํสติ สนฺถโว ได้แก่ ความเป็นเพื่อน ความไมตรี และความสนิทสนม ในท่ามกลางบริษัท ความไมตรี ดังว่า นี้ใด อันท่านได้ทำไว้ดีแล้ว คือ ทำไว้ดีนักแล้ว ได้แก่ ทำไว้ประเสริฐแล้วเทียว. บทว่า สเจตํ ธมฺมํ ความว่า ถ้าท่านชอบใจธรรม คือ ความไมตรีนั้น. บทว่า วิชานตํ ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านก็เป็นผู้ควร ที่วิญญูชนทั้งหลาย พึงสรรเสริญ. บทว่า โส เต คือ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 636

เรานั้นจะให้พรแก่ท่าน. บทว่า วรสฺสุ เท่ากับ อิจฺฉ แปลว่า จงปรารถนา. บทว่า มนสิจฺฉสิ ความว่า ท่านปรารถนาพรอย่างใด อย่างหนึ่งด้วยใจ เราจะให้พรนั้นทั้งหมด แก่ท่าน.

พญานกแขกเต้า เมื่อจะเลือกรับพร ได้กล่าวคาถาที่ ๗ ว่า :-

ข้าแต่พญาหงส์ ถ้าท่านจะให้พรแก่ ข้าพเจ้าไซร้ ก็ขอให้ต้นไม้นี้ พึงได้มีอายุต่อไป ต้นไม้นั้น จงมีกิ่ง มีผลงอกงามดี มีผล มีรสหวานเหมือนน้ำผึ้ง ตั้งอยู่อย่างสง่างามเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาขวา คือ จงสมบูรณ์ด้วยกิ่ง. บทว่า ผลิมา คือ จงประกอบด้วยกิ่งที่มีผล. บทว่า สํวิรูฬฺโห คือ จงมีใบงอกงามโดยชอบ ได้แก่ จงสมบูรณ์ด้วยใบอ่อน. บทว่า มธุตฺถิโก คือ จงมีผลมีรสหวาน เหมือนน้ำหวาน ดุจน้ำผลในผลมะซาง ซึ่งมีอยู่โดยธรรมชาติ ฉะนั้น.

ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราช เมื่อจะประทานพร แก่พญานกแขกเต้านั้น ได้กล่าวคาถาที่ ๘ ว่า :-

ดูก่อนสหาย ท่านจงดูต้นไม้นั้น ซึ่งมีผลมากมาย ขอให้ท่านจงอยู่ร่วมกับต้นมะเดื่อ ของท่าน ขอให้ต้นมะเดื่อนั้น จงมีกิ่งก้าน มีผล

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 637

งอกงามดี มีผล มีรสหวานเหมือนน้ำผึ้ง ตั้งอยู่อย่างสง่างามเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหาว เต โหตุ อุทุมฺพเรน ความว่า การอยู่ร่วมโดยความเป็นอันเดียวกัน ด้วยต้นมะเดื่อ จงมีแก่ท่าน.

ก็แหละ ท้าวสักกเทวราช ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ก็กลายเพศหงส์ กลับเป็นท้าวสักกเทวราช ตามเดิม แสดงอานุภาพของพระองค์กับนางสุชาดา เอาพระหัตถ์วักน้ำ จากแม่น้ำคงคามาประพรมตอไม้มะเดื่อ ทันใดนั้น ต้นมะเดื่อ ซึ่งสมบูรณ์ด้วยกิ่ง และค่าคบ มีผลอันอร่อย ก็ตั้งขึ้นยืนต้นอยู่อย่างงามสง่า เหมือนมุณฑมณีบรรพ ฉะนั้น พญานกแขกเต้า เห็นดังนั้นแล้ว เกิดโสมนัส เมื่อจะสรรเสริญ ท้าวสักกเทวราช ได้กล่าวคาถาที่ ๙ ว่า :-

ข้าแต่ท้าวสักกะ ขอให้พระองค์ ทรงพระเจริญสุข พร้อมกับพระญาติทั้งปวง เหมือนข้าพระบาท มีความสุข เพราะได้เห็น ต้นไม้ผลิตผล ในวันนี้ ฉะนั้นเถิด.

ส่วนท้าวสักกเทวราช ครั้นประทานพร แก่พญานกแขกเต้านั้นแล้ว ทรงทำต้นมะเดื่อ ให้มีผลเรื่อยไป แล้วเสด็จกลับวิมานของพระองค์

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 638

พร้อมกับนางสุชาดา

พระศาสดาได้ทรงวาง อภิสัมพุทธคาถา ที่ให้แสดงถึงเนื้อความนั้นไว้ ในตอนสุดท้ายว่า :-

ท้าวสักกเทวราช ประทานพร แก่พญานกแขกเต้า ทำต้นไม้ให้มีผลแล้ว พาพระมเหสีเสด็จกลับเทพนันทนวัน.

พระศาสดา ครั้นทรงนำ พระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า นี่แหละเธอ โบราณกบัณฑิต แม้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ยังไม่โลภอาหาร เธอบวชในศาสนา เห็นปานนี้ ไฉนจึงยังโลภอาหารอยู่ เธอจงไปอยู่ในที่นั้นแหละ ดังนี้ แล้วทรงสอนพระกัมมัฏฐาน แก่ภิกษุนั้น ครั้นเธอ ไปอยู่ที่นั้นแล้ว เจริญวิปัสสนา ได้บรรลุพระอรหัต พระพุทธองค์ทรงประชุมชาดกว่า ท้าวสักกเทวราช ในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอนุรุทธะในบัดนี้ พระยานกแขกเต้าในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถา มหาสุวราชชาดกที่ ๓