พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ปทุกสลมาณวชาดก ว่าด้วยภัยที่เกิดแต่ที่พึ่งอาศัย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ส.ค. 2564
หมายเลข  35894
อ่าน  467

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 659

๖. ปทุกสลมาณวชาดก

ว่าด้วยภัยที่เกิดแต่ที่พึ่งอาศัย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 659

๖. ปทุกสลมาณวชาดก

ว่าด้วยภัยที่เกิดแต่ที่พึ่งอาศัย

[๑๒๕๕] แม่น้ำคงคาพัดเอามาณพ ชื่อ ปาฏลี ผู้คงแก่เรียน มีถ้อยคำไพเราะ ให้ลอยไป พี่จ๋าผู้ถูกน้ำพัดไป ขอความเจริญจงมีแก่พี่ ขอพี่จงให้ เพลงขับบทน้อยๆ แก่ฉันสักบทหนึ่งเถิด.

[๑๒๕๖] ชนทั้งหลาย ย่อมรด ผู้ที่ได้รับความทุกข์ ด้วยน้ำใด ชนทั้งหลาย ย่อมรด ผู้ที่เร่าร้อน ด้วยน้ำใด เราจักตายในท่ามกลางน้ำนั้น ภัยเกิดแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

[๑๒๕๗] พืชทั้งหลาย งอกงามขึ้นได้ บนแผ่นดินใด สัตว์ทั้งหลาย ดำรงอยู่ได้ บนแผ่นดินใด แผ่นดินนั้น ก็พังทับศีรษะของเราแตก ภัยเกิดขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

[๑๒๕๘] ชนทั้งหลาย หุงอาหารด้วยไฟใด บรรเทาความหนาว ด้วยไฟใด ไฟนั้น ก็มาไหม้ตัวเรา ภัยเกิดขึ้นแก่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 660

[๑๒๕๙] พราหมณ์ และกษัตริย์ทั้งหลาย เป็นจำนวนมาก เลี้ยงชีพด้วยข้าวสุกใด ข้าวสุกนั้น เราบริโภคแล้ว ก็มาทำเราให้ถึงความพินาศ ภัยเกิดขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

[๑๒๖๐] บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมปรารถนาลม ในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน ลมนั้นมาพัด ประหาร ร่างกายเรา ภัยเกิดขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

[๑๒๖๑] นกทั้งหลาย พากันอาศัยต้นไม้ใด ที่งอกแต่แผ่นดิน ต้นไม้นั้น ก็พ่นไฟออกมา นกทั้งหลาย เห็นดังนั้น ก็พากันหลบหนีไป ภัยเกิดขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

[๑๒๖๒] เรานำหญิงใด ผู้มีความโสมนัส ทัดระเบียบดอกไม้ มีกายประพรมด้วยจันทน์เหลืองมา หญิงนั้นขับไล่เรา ออกจากเรือน ภัยเกิดแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

[๑๒๖๓] เราชื่นชมยินดี ด้วยบุตร ผู้เกิดแล้วคนใด เราปรารถนาความเจริญ แก่บุตรคนใด บุตรคน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 661

นั้น ก็มาขับไล่เรา ออกจากเรือน ภัยเกิดขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

[๑๒๖๔] ขอชาวชนบท และชาวนิคม ผู้มาประชุมกันแล้ว จงฟังข้าพเจ้า น้ำมีในที่ใด ไฟก็มีในที่นั้น ความเกษมสำราญ บังเกิดขึ้นแต่ที่ใด ภัยก็บังเกิดขึ้นแต่ที่นั้น พระราชากับพราหมณ์ ปุโรหิต พากันปล้นรัฐเสียเอง ท่านทั้งหลาย จงพากันรักษาตนของตนอยู่เถิด ภัยเกิดขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

จบ ปทกุศลมาณวชาดกที่ ๖

อรรถกถาปทกุสลชาดกที่ ๖

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภทารกคนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า พหุสฺสุตํ ดังนี้.

ได้ยินว่า ทารกนั้น เป็นบุตรของกุฎุมพี ในนครสาวัตถี ได้เป็นผู้ฉลาด ในการสังเกตรอยเท้า ในเวลาที่ตน มีอายุเพียงเจ็ดขวบเท่านั้น. ครั้งนั้น บิดาของเขาคิดว่า จักทดลองลูกคนนี้ จึงได้ไปเรือนของเพื่อน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 662

โดยที่ทารกนั้นไม่รู้เลย ทารกนั้นก็มิได้ถาม ที่ไปของบิดา เดินไปโดยสังเกต รอยเท้าของบิดา ได้ไปยืนอยู่ที่สำนักของบิดา.

อยู่มาวันหนึ่ง บิดาได้ถามทารกนั้นว่า ลูกรัก เมื่อพ่อไป ก็ไปโดยมิให้เจ้ารู้ แต่เจ้ารู้ที่ไปของพ่อได้อย่างไร? เขากล่าวตอบบิดาว่า พ่อจ๋า ฉันจำรอยเท้าของพ่อได้ ฉันฉลาดในการสังเกตรอยเท้า. ลำดับนั้น บิดาของเขา ต้องการจะทดลองอีก เมื่อบริโภคอาหารเช้าแล้ว ออกจากเรือน ไปยังเรือนของผู้ที่คุ้นเคย ซึ่งอยู่ติดๆ กัน แล้วออกจากเรือนนั้น ไปยังเรือนที่ ๓ ออกจากเรือนที่ ๓ มายังประตูเรือนของตนอีก แล้วออกจากประตูเรือนของตน ไปยังประตูเมืองทิศอุดร ออกประตูนั้น อ้อมเมืองไปทางซ้าย ไปถึงพระเชตวันวิหาร ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว นั่งฟังธรรมอยู่. ทารกถามพวกบ้านว่า พ่อฉันไปไหน เมื่อได้รับคำตอบว่า ไม่ทราบ จึงได้สังเกตรอยเท้าของบิดา ตั้งต้นแต่เรือนของผู้ที่คุ้นเคย ซึ่งอยู่ติดๆ กัน ไปตามทางที่บิดาไป นั่นแหละ จนถึงพระเชตวันวิหาร ถวายบังคมพระศาสดา แล้วไปยืนอยู่ใกล้ๆ บิดา เมื่อบิดาถามว่า ลูกรัก เจ้ารู้ว่าพ่อมาในที่นี้หรือ? เขาตอบว่า ฉันจำรอยเท้าพ่อไป จึงได้มา โดยสังเกตรอยเท้า. พระศาสดาตรัสถามว่า พูดอะไรกันอุบาสก? เมื่อกุฎุมพี กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เด็กคนนี้ฉลาดสังเกตรอยเท้า ข้า พระองค์ทดลองเด็กนี้ จึงได้มาโดยอุบายนี้ แลเด็กนี้ ครั้นไม่เห็นข้าพระองค์ในเรือน ได้มาโดยสังเกตรอยเท้า ข้าพระองค์ จึงตรัสว่า อุบาสก

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 663

การจำรอยเท้าบนพื้นดินได้ ไม่น่าอัศจรรย์ บัณฑิตก่อนๆ จำรอยเท้าในอากาศได้ กุฎุมพีนั้นกราบทูลอาราธนา ให้ตรัสเรื่องราว จึงทรงนำเรื่อง ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติ อยู่ในพระนครพาราณสี พระอัครมเหสีของพระองค์ประพฤตินอกใจ เมื่อพระราชาตรัสถาม ก็สบถสาบานว่า ถ้าหม่อมฉันประพฤตินอกใจพระองค์ ขอให้หม่อมฉันเป็นยักษิณี มีหน้าเหมือนม้า. ต่อจากนั้นพระนางได้สิ้นพระชนม์ เกิดเป็นยักษิณี มีหน้าเหมือนม้า ที่เชิงเขาแห่งหนึ่ง อยู่ในคูหา จับมนุษย์ที่สัญจรไปมา ในดงใหญ่ ในทางที่ไป จากตันดงถึงปลายดง เคี้ยวกินเป็นอาหาร ได้ยินว่า นางยักษิณีนั้น ไปบำเรอท้าวเวสวัณอยู่ ๓ ปี ได้รับพรให้เคี้ยวกินมนุษย์ได้ ในที่ยาว ๓๐ โยชน์ กว้าง ๕ โยชน์.

อยู่มาวันหนึ่ง พราหมณ์รูปงามคนหนึ่ง เป็นผู้มั่งคั่ง มีโภคทรัพย์มาก แวดล้อมไปด้วยมนุษย์จำนวนมาก เดินมาทางนั้น นางยักษิณีเห็นดังนั้น มีความยินดี จึงวิ่งไป พวกมนุษย์ผู้เป็นบริวารพากันหนีไปหมด นางยักษิณีวิ่งเร็วอย่างลม จับพราหมณ์ได้แล้ว ให้นอนบนหลังไปคูหา เมื่อได้ถูกต้องกับบุรุษเข้า ก็เกิดสิเนหาในพราหมณ์นั้น ด้วยกิเลส จึงมิได้เคี้ยวกินเขา เอาไว้เป็นสามีของตน แล้วทั้ง ๒ ต่างก็อยู่ร่วมกัน ด้วยความ ามัคคี ตั้งแต่นั้นมา นางยักษิณีก็เที่ยวจับมนุษย์ถือเอาผ้า ข้าวสาร และน้ำมัน เป็นต้น มาปรุงเป็นอาหาร มีรสเลิศต่างๆ ให้สามี ตนเองเคี้ยว

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 664

กินเนื้อมนุษย์ เวลาที่นางจะไปไหน นางได้เอาหินแผ่น ปิดประตูถ้ำก่อน แล้วจึงไป เพราะกลัวพราหมณ์จะหนี เมื่อเขา ๒ คน อยู่กันอย่างปรีดาปราโมทย์เช่นนี้ พระโพธิสัตว์ เคลื่อนจากฐานะที่พระองค์เกิดมา ถือปฏิสนธิ ในครรภ์ของนางยักษิณีนั้น เพราะอาศัยพราหมณ์ พอล่วงไปได้ ๑๐ เดือน นางยักษิณีก็คลอดบุตร นางได้มีความสิเนหาในบุตร และพราหมณ์มาก ได้เลี้ยงดูคนทั้ง ๒ เป็นอย่าง ต่อมาเมื่อบุตรเจริญวัยแล้ว นางยักษิณีได้ให้บุตร เข้าไปภายในถ้ำพร้อมกับบิดาแล้วปิดประตูเสีย ครั้นวันหนึ่ง พระโพธิสัตว์รู้ว่า นางยักษิณีนั้นไปแล้ว จึงได้เอาศิลา ออกพาบิดาไปข้างนอก นางยักษิณีมาถามว่า ใครเอาศิลาออก เมื่อพระโพธิสัตว์ตอบว่า ฉันเอาออกจ้ะแม่ ฉันไม่สามารถนั่งอยู่ในที่มืด นางก็มิได้ว่าอะไร เพราะรักบุตร.

อยู่มาวันหนึ่ง พระโพธิสัตว์ถามบิดาว่า พ่อจ๋า เหตุไรหน้าของแม่ฉัน จึงไม่เหมือนหน้าของพ่อ. พราหมณ์ผู้เป็นบิดากล่าวว่า ลูกรัก แม่ของเจ้าเป็นยักษิณี ที่กินเนื้อมนุษย์ เราสองพ่อลูกนี้เป็นมนุษย์. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า พ่อจ๋า ถ้าเช่นนั้น เราจะอยู่ในที่นี้ทำไม ไปเถิดพ่อ เราไปแดนมนุษย์กันเถิด. พราหมณ์ผู้เป็นบิดากล่าวว่า ลูกรัก ถ้าเราหนี แม่ของเจ้า ก็จักฆ่าเราทั้งสองเสีย พระโพธิสัตว์พูดเอาใจบิดาว่า อย่ากลัวเลยพ่อ ฉันรับภาระพาพ่อไปให้ถึงแดนมนุษย์. ครั้นวันรุ่งขึ้น เมื่อมารดาไปแล้ว ได้พาบิดาหนี นางยักษิณีกลับมา ไม่เห็นคนทั้ง ๒ นั้น

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 665

จึงวิ่งไปเร็วอย่างลม จับคนทั้ง ๒ นั้นได้ แล้วกล่าวว่า พราหมณ์ ท่านหนีทำไม ท่านอยู่ที่นี้ขาดแคลนอะไรหรือ? เมื่อพราหมณ์กล่าวว่า น้องรัก เธออย่าโกรธพี่เลย ลูกของเธอพาพี่หนี ดังนี้ นางก็มิได้ว่าอะไรแก่เขา เพราะความสิเนหาในบุตร ปลอบโยนคนทั้ง ๒ ให้เบาใจ แล้วพาไปยังที่อยู่ของตน. ในวันที่ ๓ นางยักษิณี ก็ได้นำคนทั้ง ๒ ซึ่งหนีไปอยู่อย่างนั้น กลับมาอีก.

พระโพธิสัตว์คิดว่า แม่ของเราคงจะมีที่ที่เป็นเขตกำหนดไว้ ทำอย่างไรเราจึงจะถามถึงแดนที่อยู่ในอาณาเขตของแม่นี้ได้ เมื่อถามได้ เราจักหนีไปให้เลยเขตแดนนั้น. วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์กอดมารดานั่งลง ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง แล้วกล่าวว่า แม่จ๋า บรรดาของที่เป็นของแม่ ย่อมตกอยู่แก่พวกลูก ขอแม่ได้โปรดบอก เขตกำหนดพื้นดิน ที่เป็นของแม่ แก่ฉัน นางยักษิณีบอกที่ซึ่งยาว ๓๐ โยชน์ กว้าง ๕ โยชน์ มีภูเขา เป็นต้น เป็นเครื่องหมาย ในทิศทั้งปวงแก่บุตรแล้ว กล่าวว่า ลูกรัก เจ้าจงกำหนดที่นี้ ซึ่งมีอยู่เพียงเท่านี้ไว้ ครั้นล่วงไปได้ ๒, ๓ วัน เมื่อมารดาไปดงแล้ว พระโพธิสัตว์ ได้แบกบิดาขึ้นคอ วิ่งไปโดยเร็วอย่างลม ตามสัญญาที่มารดาให้ไว้ ถึงฝั่งแม่น้ำอันเป็นเขตกำหนด นางยักษิณีกลับมา เมื่อไม่เห็นคนทั้ง ๒ ก็ออกติดตาม พระโพธิสัตว์พาบิดาไปถึงกลางแม่น้ำ นางยักษิณีไปยืนอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำ รู้ว่าคนทั้ง ๒ ล่วงเลยเขตแดนของ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 666

ตนไปแล้ว จึงยืนอยู่ที่นั้นเอง วิงวอนบุตร และสามีว่า ลูกรัก เจ้าจงพาพ่อกลับมา แม่มีความผิดอะไรหรือ? อะไรๆ ไม่สมบูรณ์แก่พวกท่าน เพราะอาศัยเราหรือ? กลับมาเถิด ผัวรัก ดังนี้. ลำดับนั้น พราหมณ์ ได้ข้ามแม่น้ำไปแล้ว นางยักษิณีวิงวอนบุตรว่า ลูกรัก เจ้าอย่าได้ทำอย่างนี้ เจ้าจงกลับมาเถิด. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า แม่ ฉันและพ่อเป็นมนุษย์ แม่เป็นยักษิณี ฉันไม่อาจอยู่ในสำนักของแม่ได้ตลอดกาล ฉะนั้น ฉันกับพ่อจักไม่กลับ. นางยักษิณีถามว่า เจ้าจักไม่กลับหรือลูกรัก. พระโพธิสัตว์ตอบว่า ใช่ ลูกจะไม่กลับดอกแม่ นางยักษิณีกล่าวว่า ลูกรัก ถ้าเจ้าจักไม่กลับก็ตามเถิด ขึ้นชื่อว่า ชีวิตในโลกนี้เป็นของยาก คนที่ไม่รู้ศิลปวิทยา ไม่อาจที่จะดำรงชีพอยู่ได้ แม่รู้วิชาอย่างหนึ่ง ชื่อ จินดามณี ด้วยอานุภาพของวิชานี้ อาจที่จะติดตามรอยเท้า ของผู้ที่หายไปแล้ว สิ้น ๑๒ ปีเป็นที่สุด วิชานี้จักเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิตเจ้า ลูกรัก เจ้าจงเรียนมนต์อันหาค่ามิได้นี้ไว้ ว่าดังนั้นแล้วทั้งๆ ที่ถูกความทุกข์ เห็นปานนั้นครอบงำ นางก็ได้สอนมนต์ให้ ด้วยความรักลูก. พระโพธิสัตว์ยืนอยู่ในแม่น้ำ นั่นเอง. ไหว้มารดาแล้ว ประณมมือเรียนมนต์ ครั้นเรียนได้แล้ว ได้ไหว้มารดาอีก แล้วกล่าวว่า แม่ ขอแม่จงไปเถิด นางยักษิณีกล่าวว่า ลูกรัก เมื่อเจ้า และพ่อของเจ้าไม่กลับ ชีวิตของแม่ก็จักไม่มี แล้วกล่าวคาถาว่า :-

ลูกรัก เจ้าจงมาหาแม่ จงกลับไปอยู่กับ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 667

แม่เถิด อย่าทำให้แม่ไม่มีที่พึ่งเลย เมื่อแม่ไม่ได้เห็นลูก ก็ต้องตายในวันนี้.

ครั้นกล่าวแล้ว นางยักษิณีได้ทุบหน้าอกของตนเอง. ทันใดนั้น หทัยของนางได้แตกทำลาย เพราะความเศร้าโศกถึงบุตร. นางตายแล้ว ล้มลงไปในที่นั้น นั่นเอง. ขณะนั้นพระโพธิสัตว์ทราบว่า มารดาตาย จึงเรียกบิดาไปใกล้มารดา แล้วทำเชิงตะกอนเผาศพมารดา ครั้นเผาเสร็จ แล้วได้บูชา ด้วยดอกไม้นานาชนิด พลางร้องไห้คร่ำครวญ พาบิดาไปนครพาราณสี ยืนอยู่ที่ประตูพระราชนิเวศน์ ให้กราบทูลแด่พระเจ้าพาราณสีว่า มีมาณพผู้ฉลาด สังเกตรอยเท้ามายืนอยู่ที่พระทวาร ขอเข้าเฝ้า เมื่อได้รับเชื้อเชิญว่า ถ้าเช่นนั้นจงเข้ามาเถิด ได้เข้าไป ถวายบังคมพระเจ้าพาราณสี เมื่อพระองค์ตรัสถามว่า นี่แน่ะเจ้า เจ้ารู้ศิลปวิทยาอะไร? จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ข้าพระองค์รู้วิชา ที่สามารถไปตามรอยเท้า แล้วจับคนที่ลักสิ่งของไปแล้ว นานถึง ๑๒ ปีได้. พระเจ้าพาราณสีตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงรับราชการอยู่กับเรา. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า เมื่อข้าพระองค์ ได้รับพระราชทานทรัพย์วันละพัน จึงจะขอรับราชการ พระเจ้าพาราณสีตรัสว่า ดีแล้วพ่อ เจ้าจงรับราชการเถิด พระเจ้าพาราณสี รับสั่งให้พระราชทานทรัพย์ วันละพันทุกวันแล้ว.

อยู่มาวันหนึ่ง ปุโรหิตกราบทูล พระเจ้าพาราณสีว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า. เราทั้งหลายไม่รู้ว่ามาณพนั้น จะมีศิลปะนั้นหรือไม่มี เพราะ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 668

เขายังมิได้ทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยอานุภาพของศิลปวิทยา ควรจักทดลองมาณพนั้นก่อน พระราชารับสั่งว่า ดีแล้ว ทั้ง ๒ คน จึงให้สัญญาแก่เจ้าพนักงานรักษารัตนะ แล้วถือเอาแก้วดวงสำคัญ ลงจากปราสาท เดินวนเวียนภายในพระราชนิเวศน์ ๓ ครั้ง แล้วพาดบันได ลงข้างนอกปลายกำแพง เข้าไปศาลยุติธรรม นั่งในศาลนั้นแล้ว เดินกลับมา พาดบันได ลงภายในพระราชนิเวศน ์ ทางปลายกำแพง เดินไปยังฝั่งสระโบกขรณี ภายในพระราชวัง เวียนสระโบกขรณี ๓ รอบ แล้วลงไปวาง สิ่งของไว้ในสระโบกขรณี แล้วจึงไปขึ้นปราสาท. วันรุ่งขึ้นได้เกิดโกลาหลกันว่า ได้ยินว่า พวกโจรลักแก้วไปจากพระราชนิเวศน์ พระราชาทำเป็นทรงทราบ รับสั่งให้เรียกพระโพธิสัตว์มา แล้วตรัสว่า นี่แน่ะเจ้า แก้วมีค่ามาก ถูกโจรลักไปจากพระราชนิเวศน์ เอาเถิด เจ้าควรติดตามแก้วนั้นมาให้ได้. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า สิ่งของที่โจรลักไปแล้วนานถึง ๑๒ ปี ข้าพระองค์ยังสามารถ ติดตามรอยเท้าโจร นำคืนมาได้ อย่างไม่น่าแปลกสิ่งของที่ถูกลักไป เมื่อคืนนี้ ข้าพระองค์ จักสามารถนำมาให้ ในวันนี้แน่ ขอพระองค์อย่าได้ทรงปริวิตก สิ่งของนั้นเลย พระราชารับสั่งว่า นี่แน่ะเจ้า ถ้าเช่นนั้น เจ้าจงนำมาเถิด พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า แล้วยืนขึ้นที่ท้องพระโรงไหว้ มารดาร่ายมนต์จินดามณี แล้วกราบทูลว่า รอยเท้าของโจร ๒ คน ปรากฏพระเจ้าข้า แล้วตามรอยเท้าของพระราชา และปุโรหิต เข้าไปยังห้องสิริมงคล ออกจากห้องนั้น ลงจากปราสาทวนเวียนอยู่ ในพระราช-

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 669

นิเวศน์ ๓ ครั้ง แล้วไปใกล้กำแพง ตามรอยเท้า นั่นแหละ ยืนบนกำแพง แล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พ้นจากำแพงในที่นี้ไปแล้ว รอยเท้าปรากฏในอากาศ ขอพระองค์จงพระราชทานบันได แล้วให้พาดบันได ลงทางปลายกำแพง ไปศาลยุติธรรม ตามรอยเท้า นั่นแหละ แล้วเดิน กลับมายังพระราชนิเวศน์อีก ให้พาดบันได แล้วลงทางปลายกำแพง ไปสระโบกขณี เดินเวียนขวาสระโบกขรณี ๓ ครั้ง แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พวกโจรลงสระโบกขรณีนี้ แล้วลงไปนำสิ่งของ ซึ่งดุจตนวางไว้เอง มาถวายพระเจ้าพาราณสี แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า โจร ๒ คนนี้ เป็นมหาโจรที่พระองค์ทรงรู้จักดี จึงได้ขึ้นพระราชนิเวศน์ ตามทางนี้ มหาชนพากันชื่นชมยินดี ต่างก็ปรบมือกันยกใหญ่ บางพวกก็ยกผ้าขึ้นโบก.

พระราชาทรงพระดำริว่า มาณพนี้ เดินไปโดยสังเกตรอยเท้า เห็นจะรู้ แต่ตำแหน่งสิ่งของที่พวกโจรวางไว้เท่านั้น แต่ไม่อาจจับโจรได้ที่นั้น พระราชา จึงได้ตรัสกะพระโพธิสัตว์ว่า เจ้านำสิ่งของ ที่พวกโจรลักไปมาให้เราได้ แต่ไม่อาจจับพวกโจรมาให้เราได้ พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พวกโจรอยู่ในที่นี้แหละ มิได้อยู่ไกลเลย พระราชามีพระดำรัสว่า ใครเป็นโจร ใครเป็นโจร? พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ผู้ใดย่อมอยากได้อยู่ ผู้นั้นแหละเป็นโจร เมื่อได้สิ่งของ ของพระองค์มาแล้ว จะประโยชน์อะไร ด้วยพวกโจรอีกเล่า ขอพระองค์ อย่าได้ถามถึงเลย. พระราชามีรับสั่งว่า นี่แน่ะเจ้า เราให้ทรัพย์แก่เจ้า

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 670

วันละพันทุกวัน เจ้าจงจับพวกโจรมาให้เรา. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ทรัพย์ที่หายไป พระองค์ก็ได้แล้ว จะประโยชน์อะไร ด้วยพวกโจรอีกเลย. พระราชามีรับสั่งว่า นี่แน่ะเจ้า เราได้พวกโจร เหมาะกว่าได้ทรัพย์ พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ถ้าเช่นนั้น ข้าพระองค์จักไม่กราบทูล แต่พระองค์ว่า คนเหล่านี้เป็นโจร แต่จักนำเรื่อง ที่เป็นไปแล้วในอดีตมากราบทูลพระองค์ ถ้าพระองค์ทรงพระปรีชา ก็จะทรงทราบเรื่องนั้น ครั้นกราบทูลดังนี้แล้ว ได้นำเอาเรื่อง ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ข้าแต่มหาราชเจ้า ในอดีตกาล มีมาณพ นักฟ้อนคนหนึ่ง ชื่อ ปาฏลี อยู่ในบ้านน้อย ริมฝั่งแม่น้ำไม่ไกล พระนครพาราณสีนัก วันหนึ่ง มีการมหรสพ เขาพาภรรยา ไปพระนครพาราณสี ฟ้อนรำขับร้อง ได้ทรัพย์ ครั้นเลิกการมหรสพแล้ว ได้ซื้อสุราอาหาร เป็นจำนวนมาก เดินกลับบ้านของตน ถึงฝั่งแม่น้ำเห็นน้ำใหม่กำลังไหลมา จึงนั่งบริโภคอาหาร ดื่มสุราเมา จนไม่รู้กำลังของตน เอาพิณใหญ่ผูกคอ แล้วลงน้ำจับมือภรรยาพูดว่า เราไปกันเถิด แล้วว่ายข้ามแม่น้ำไป. น้ำได้เข้าไปตามช่องพิณ. ครานั้น พิณนั้น ได้ถ่วงเขาจมลงในน้ำ. ฝ่ายภริยาของเขารู้ว่า สามีจมน้ำ จึงสลัดเขาขึ้นไปยืนอยู่บนฝั่ง. มาณพนักฟ้อน จมน้ำผลุบโผล่ๆ อยู่ ดื่มน้ำเข้าไปจนเต็มท้อง ลำดับนั้น ภรรยาของเขาจึงคิดว่า สามีของเราจักตายในบัดนี้ เราจักขอเพลงขับไว้สักบท ๑ เอาไว้ขับ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 671

ในท่ามกลางบริษัทเลี้ยงชีพ คิดดังนี้แล้ว จึงได้กล่าวว่า พี่ พี่กำลังจะจมน้ำ ขอท่านจงให้เพลงขับแก่ฉันบท ๑ ฉันจักเลี้ยงชีพ ด้วยเพลงขับนั้น แล้วกล่าวคาถาว่า :-

แม่น้ำคงคา พัดพาเอามาณพ ชื่อ ปาฏลี ผู้คงแก่เรียน มีถ้อยคำไพเราะ ให้ลอยไป พี่ผู้ถูก น้ำพัดไป ขอความเจริญ จงมีแก่พี่ ขอพี่จงให้เพลงขับบทน้อยๆ แก่ฉันสักบท ๑ เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คาถกํ คือ เพลงขับบทน้อยๆ ลำดับนั้น ปาฏลีนักฟ้อน ได้กล่าวกะภรรยาว่า น้องรักพี่จักให้เพลงขับแก่เจ้า อย่างไรได้ น้ำ ซึ่งเป็นที่พึ่งอาศัยของมหาชน บัดนี้กำลังจักฆ่าพี่อยู่แล้ว แล้วกล่าวคาถาว่า :-

ชนทั้งหลาย ย่อมรด ผู้ที่ได้รับความทุกข์ด้วยน้ำใด ชนทั้งหลาย ย่อมรด ผู้ที่เร่าร้อนด้วยน้ำใด เราจักตาย ในท่ามกลางน้ำนั้น ภัยเกิดแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

พระโพธิสัตว์ แสดงคาถานี้แล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า น้ำเป็นที่พึ่งของมหาชนฉันใด แม้พระราชาทั้งหลาย ก็เป็นที่พึ่งของมหาชนฉันนั้น เมื่อภัยเกิด แต่สำนักของพระราชาเหล่านั้นแล้ว ใครจัก

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 672

ป้องกันภัยนั้นได้ ดังนี้แล้วกราบทูลอีกว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า เรื่องโจรลัก พระราชทรัพย์นี้ เป็นเรื่องลับ แต่ข้าพระองค์ กราบทูลอย่างที่บัณฑิต จะรู้ได้ ขอพระองค์ จงทรงทราบเถิด พระพุทธเจ้าข้า พระราชาตรัสว่า นี่แน่ะเจ้า เราจะรู้เรื่องลี้ลับ เห็นปานนี้ ได้อย่างไร เจ้าจะจับโจรมาให้เราเถิด ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ได้กราบทูล พระราชาว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ถ้าเช่นนั้นพระองค์ทรงสดับเรื่องนี้แล้ว จะทรงทราบ แล้วนำเรื่องมาเล่า ถวายอีกเรื่องหนึ่ง ดังต่อไปนี้ :-

ข้าแต่พระองค์ ในกาลก่อน ที่บ้านใกล้ประตู พระนครพาราณสีนี้ มีช่างหม้อคนหนึ่ง เมื่อจะนำดินเหนียวมา เพื่อต้องการปั้นภาชนะ ได้ขุดเอาดินเหนียว ในที่แห่งเดียวนั่น เอามาเป็นนิจ จนเป็นหลุมใหญ่ ภายในเป็นเงื้อม อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อช่างหม้อนั้น กำลังขุดเอาดินเหนียว เมฆก้อนใหญ่ตั้งเค้าขึ้น ในเวลาไม่ใช่ฤดูฝน ให้ฝนตกลงมาห่าใหญ่ น้ำไหลท่วมหลุม พังทลายลงไป ทับศีรษะนายช่างหม้อนั้นแตก นายช่างหม้อร้องคร่ำครวญอยู่ กล่าวคาถาว่า :-

พืชทั้งหลาย งอกงามขึ้นได้ บนแผ่นดินใด สัตว์ทั้งหลาย ดำรงอยู่ได้ บนแผ่นดินใด แผ่นดินนั้น ก็พังทับศีรษะของเราแตก ภัยเกิดขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 673

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิปฺปีเฬติ ได้แก่ พัง ทับ คือ ทำลาย

พระมหาสัตว์ กราบทูลต่อไปว่า ข้าแต่พระองค์ แผ่นดินใหญ่ เป็นที่พึ่งอาศัยของมหาชน ได้ทำลายศีรษะของนายช่างหม้อ ฉันใด เมื่อพระราชาผู้เป็นจอมแห่งนรชน เป็นที่พึ่งอาศัย แห่งสัตวโลกทั้งหมด เสมอด้วยแผ่นดินใหญ่ มากระทำโจรกรรมอย่างนี้ ใครเล่าจักป้องกันได้ ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์สามารถ ที่จะทรงทราบตัวโจร ที่ข้าพระองค์กราบทูล ปกปิดไว้ได้ ด้วยอุปมาอย่างนี้. พระเจ้าพาราณสีตรัสว่า นี่แน่ะ เจ้า เหตุที่เราจะปกปิดนั้น ไม่มี เจ้าจงจับโจรให้แก่เรา โดยชี้ว่าคนนี้แหละ เป็นโจรดังนี้ พระโพธิสัตว์ เมื่อจะรักษาพระเกียรติคุณพระราชา จึงมิได้กล่าวว่า พระองค์เป็นโจร ได้นำตัวอย่าง มากราบทูลถวายอีกเรื่อง หนึ่งว่า :-

ข้าแต่มหาราชเจ้า ในกาลก่อน เมื่อไฟไหม้บ้านของบุรุษคนหนึ่ง ในพระนครนี้แหละ เขาใช้คนๆ หนึ่งว่า เจ้าจงเข้าไปข้างในขนสิ่งของออก เมื่อคนนั้นกำลังเข้าไป ขนของอยู่ ประตูเรือนปิด. เขาตามืด เพราะถูกควัน หาทางออกไม่ได้ เกิดทุกข์ขึ้น เพราะความร้อน ยืนคร่ำครวญ อยู่ข้างใน กล่าวคาถาว่า :-

ชนทั้งหลาย หุงอาหารด้วยไฟใด บรรเทาความหนาวด้วยไฟใด ไฟนั้น ก็มาไหม้ตัวเรา ภัยเกิดขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 674

บรรดาบทเหล่านั้น ทำลายบทว่า โส มํ ฑหติ ความว่า ไฟนั้นไหม้เรา อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน.

พระมหาสัตว์กราบทูลต่อไปว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า มนุษย์คนหนึ่ง เป็นที่พึ่งอาศัยของมหาชน ราวกะว่าไฟ เป็นที่พึ่งอาศัย ฉะนั้น ได้ลักสิ่งของ คือ รัตนะไป ขอพระองค์ อย่าตรัสถามถึงโจรกะข้าพระองค์เลย พระราชาตรัสว่า นี่แน่ะเจ้า เจ้าจงบอกโจร ให้แก่เราเถิด พระโพธิสัตว์มิได้ กราบทูลพระราชาว่า พระองค์เป็นโจร ได้นำตัวอย่างมาถวาย อีกเรื่องหนึ่งว่า :-

ข้าแต่พระองค์ ในกาลก่อน บุรุษคนหนึ่ง ในพระนคร นี้แหละ บริโภคอาหารมากเกินไป ไม่อาจย่อยได้ ได้รับทุกขเวทนา คร่ำครวญอยู่ กล่าวคาถาว่า :-

พราหมณ์ และกษัตริย์ทั้งหลาย เป็นจำนวนมาก เลี้ยงชีพด้วยข้าวสุกใด ข้าวสุกนั้น เราบริโภคแล้ว ก็มาทำเรา ให้ถึงความพินาศ ภัยเกิดขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส มํ ภุตฺโต พฺยาปาทิ ความว่า ข้าวสุกนั้น เราบริโภคแล้ว ก็มาทำเราให้ถึงความพินาศ คือ ให้ตาย.

พระมหาสัตว์ กราบทูลต่อไปว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า คนคนหนึ่ง เป็นที่พึ่งอาศัยของมหาชน เหมือนข้าวสุก ได้ลักสิ่งของไป เมื่อได้สิ่ง

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 675

ของนั้นคืนมาแล้ว พระองค์จะถามถึงโจรทำไม พระราชาตรัสว่า นี่แน่ะเจ้า เมื่อเจ้าสามารถก็จงนำโจรมาให้เรา พระโพธิสัตว์ ได้นำตัวอย่างมา กราบทูลอีกเรื่องหนึ่งว่า:-

ข้าแต่มหาราชเจ้า ในกาลก่อน ลมได้ตั้งขึ้น พัดประหารร่างกายของคน คนหนึ่งในพระนครนี้แหละ คนคนนั้นคร่ำครวญอยู่ กล่าวคาถาว่า :-

บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมปรารถนาลม ในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน ลมนั้น มาพัดประหารร่างภายเรา ภัยเกิดขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

พระมหาสัตว์กราบทูลต่อไปว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ภัยเกิดขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัย ด้วยประการดังนี้ ขอพระองค์จงทราบเรื่องนี้เถิด. พระราชาตรัสว่า นี่แน่ะเจ้า เจ้าจงจับโจรเถอะ. เพื่อที่จะให้พระราชาทรงทราบ พระโพธิสัตว์ ได้นำตัวอย่างมากราบทูล อีกเรื่องหนึ่งว่า.

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ในอดีตกาล ในหิมวันตประเทศ มีต้นไม้ใหญ่สมบูรณ์ด้วยกิ่ง และค่าคบ เป็นที่อยู่อาศัยของนกหลายพันตัว กิ่งสองกิ่งของต้นไม้นั้น เสียดกันจนมีควันเกิดขึ้น แล้วเชื้อไฟหล่นลง นกนายฝูงเห็นดังนั้น จึงกล่าวคาถาว่า :-

นกทั้งหลาย พากันอาศัยต้นไม้ใดที่งอก แต่แผ่นดิน ต้นไม้นั้น ก็พ่นไฟออกมา นกทั้ง

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 676

หลาย เห็นดังนั้น ก็พากันหลบหนีไป ภัยเกิดขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขคติรุหํ แปลว่า งอกแต่แผ่นดิน พระมหาสัตว์กราบทูลต่อไปว่า ข้าแต่พระองค์ ต้นไม้เป็นที่พึ่งอาศัยของนกทั้งหลาย ฉันใด พระราชา ก็เป็นที่พึ่งอาศัยของมหาชนฉันนั้น เมื่อพระราชานั้น กระทำโจรกรรม ใครเล่าจะป้องกันได้ ขอพระองค์จงทรงทราบเถิดพระพุทธเจ้าข้า พระราชาตรัสว่า นี่แน่ะเจ้า เจ้าจงจับโจร ให้แก่เราเถิด ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้นำตัวอย่าง มากราบทูลพระราชา อีกเรื่องหนึ่งว่า :-

ข้าแต่มหาราชเจ้า ที่บ้านของชาวกาสี ตำบลหนึ่ง มีแม่น้ำที่มีจระเข้ อยู่ด้านหลัง ของตระกูลๆ หนึ่ง และตระกูลนั้น มีบุตรคนเดียวเท่านั้น เมื่อบิดาของเขาตาย เขาได้ปฏิบัติมารดา มารดาได้นำกุลธิดาคนหนึ่ง มาให้เขา โดยที่เขาไม่ปรารถนาเลย ตอนแรกๆ นางกุลธิดานั้น ก็รักใคร่แม่ผัวดี ภายหลังเจริญด้วยบุตร และธิดา จึงอยากจะขับไล่แม่ผัวเสีย แม้มารดาของนาง ก็อยู่ในเรือนนั้นเหมือนกัน ครั้งนั้น นางกล่าวโทษแม่ผัว มีประการต่างๆ ต่อหน้าสามี แล้วกล่าวว่า ฉันไม่อาจที่จะเลี้ยงดูมารดาของพี่ได้ จงฆ่ามารดาของพี่เสีย เมื่อสามีกล่าวว่า การฆ่ามนุษย์ เป็นกรรมหนัก ฉันจักฆ่าแม่ได้อย่างไร จึงกล่าวว่า ในเวลาที่แกหลับ เราช่วยกันพาแกไป ทั้งเตียงทีเดียว โยนลงแม่น้ำ ที่มีจระเข้

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 677

แล้วจระเข้ ก็จักฮุบแกไปกิน สามีถามว่า มารดาของเธอนอนที่ไหน นางตอบว่า นอนอยู่ใกล้ๆ กับมารดาพี่ นั่นแหละ สามีกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น เธอจงไปเอาเชือกผูกเตียง ที่มารดาของฉันนอน ทำเครื่องหมายไว้ ครานั้น นางได้กระทำเช่นนั้น แล้วบอกว่า ฉันได้กระทำเครื่องหมายไว้แล้ว สามีกล่าวว่า รอสักหน่อยให้คนทั้งหลาย หลับเสียก่อน ตนเองก็นอนทำเป็นหลับ แล้วไปแก้เชือกนั้นมาผูกที่เตียงของมารดาภรรยา ปลุกภรรยาขึ้น แล้วทั้ง ๒ คน ก็ไปช่วยกันยกขึ้น ทั้งเตียงทีเดียว โยน ลงไปในน้ำ จระเข้ทั้งหลาย ได้ยื้อแย่งกันเคี้ยวกินมารดาของหญิงนั้น ในแม่น้ำนั้น.

วันรุ่งขึ้น นางรู้ว่ามารดา ถูกเปลี่ยนตัว จึงกล่าวว่า พี่ มารดา ของฉันถูกฆ่าแล้ว ต่อไปนี้ พี่จงฆ่ามารดาของพี่ เมื่อสามีตอบว่า ถ้าเช่นนั้นตกลง จึงกล่าวว่า เราช่วยกันทำเชิงตะกอนในป่าช้า แล้วจับ แกใส่เข้าไปในไฟให้ตาย ลำดับนั้น คนทั้ง ๒ ได้นำมารดาผู้กำลังหลับ อยู่ไปวางไว้ที่ป่าช้า สามีกล่าวกะภรรยาที่ป่าช้านั้นว่า เธอนำไฟมาแล้วหรือ? ภรรยาตอบว่า ไม่ได้นำมาเพราะลืม สามีกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น เธอจงไปนำมา ภรรยากล่าวว่า ฉันไม่อาจไปคนเดียว แม้เมื่อพี่ไปฉันก็ ไม่อาจอยู่คนเดียว เราไปกันทั้ง ๒ คนเถิด เมื่อผัวเมีย ๒ คน ไปกันแล้ว หญิงแก่ตื่นขึ้นเพราะลมหนาว รู้ว่าที่นั่นเป็นป่าช้า จึงใคร่ครวญดูว่า ผัวเมีย ๒ คนนี้ คงจะประสงค์จะฆ่าเรา มันคงไปเพื่อเอาไฟ มาเผาเป็นแน่ คิดว่ามันไม่รู้กำลังของเรา ดังนี้ แล้วจึงได้เอาซากศพ ศพหนึ่งขึ้นนอน

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 678

บนเตียง เอาผ้าเก่าคลุมข้างบน แล้วตนเองหนีเข้าถ้ำ ที่เร้นลับใกล้ป่าช้า นั้นแหละ ผัวเมีย ๒ คนนำไฟมาแล้ว เผาซากศพ ด้วยเข้าใจว่า เป็นหญิงแก่ แล้วหลีกไป.

ก็ครั้งนั้น ในถ้ำที่เร้นลับนั้น โจรคนหนึ่ง เอาสิ่งของไปเก็บไว้ก่อน โจรนั้นคิดว่า เราจักไปเอาสิ่งของนั้น จึงได้มาเห็นหญิงแก่เข้าใจ ว่าเป็นยักษิณีตนหนึ่ง สิ่งของของเราเกิดมีอมนุษย์หวงแหนเสียแล้ว จึงได้ไปนำหมอผีมาคนหนึ่ง ครั้นหมอผีเดินร่ายมนต์เข้าไปในถ้ำ หญิงแก่จึงกล่าวกะหมอผีนั้นว่า ฉันไม่ใช่ยักษิณี ท่านจงมาเถิด เราทั้ง ๒ จะบริโภคทรัพย์นี้ หมอผีพูดว่า เราจะเชื่อได้อย่างไร? หญิงแก่พูดว่า ท่านจงเอาลิ้นของท่าน วางบนลิ้นของเรา หมอผีได้กระทำอย่างนั้น ทันใดนั้นหญิงแก่ ได้กัดลิ้นของหมอผีขาดตกไป หมอผีมีโลหิตไหลจากลิ้น คิดว่า หญิงแก่นี้ เป็นยักษิณีแน่ จึงร้องวิ่งหนีไป ฝ่ายหญิงแก่นั้น ครั้นวันรุ่งขึ้น ก็นุ่งผ้าเนื้อเลี่ยน ถือเอาสิ่งของ คือ รัตนะต่างๆ ไปเรือน ลำดับนั้น หญิงลูกสะใภ้ เห็นดังนั้น จึงถามว่า แม่จ๋า แม่ได้สิ่งของนี่ที่ไหน. หญิงแก่ตอบว่า ลูก คนที่ถูกเผาบนเชิงตะกอนไม้ ในป่าช้านั้น ย่อมได้ทรัพย์สิ่งของเห็นปานนี้ หญิงลูกสะใภ้ถามว่า แม่จ๋า ถ้าเช่นนั้นอย่างฉันนี้ อาจที่จะได้ไหม? หญิงแก่ตอบว่า ถ้าจักเป็นอย่างเรา ก็จักได้ ครั้งนั้น ด้วยความโลภในสิ่งของเครื่องประดับ นางได้บอกแก่สามี แล้วให้เผาตน ในป่าช้านั้น. ครั้นในวันรุ่งขึ้น สามีไม่เห็นภรรยากลับมา จึงพูดกะมารดา

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 679

ว่า แม่ ก็แม่มาในเวลานี้ แต่ลูกสะใภ้ทำไมจึงไม่มา. หญิงแก่ได้ฟังดังนั้น จึงดุลูกชายว่า เฮ้ยไอ้คนเลว! ขึ้นชื่อว่า คนที่ตายแล้ว จะมาได้อย่างไร แล้วกล่าวคาถาว่า :-

เรานำหญิงใด ผู้มีความโสมนัส ทัดระเบียบดอกไม้ มีกายประพรมด้วยจันทน์เหลืองมา หญิงนั้น ขับไล่เราออกจากเรือน ภัยเกิดแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โสมนสฺสํ คือ ยังความโสมนัสให้เกิดขึ้น อีกอย่างหนึ่งบาลีว่า โสมนสฺสา ความว่า เป็นผู้ยินดีในความโสมนัส.

ข้อนี้อธิบายว่า เราเข้าใจว่า บุตรของเราจักเจริญ ด้วยบุตร และธิดาทั้งหลาย เพราะอาศัยหญิงนี้ เรานำหญิงใด ผู้มีความโสมนัส ทัดระเบียบดอกไม้ มีกายประพรมด้วยจันทน์เหลืองมา ประดับตกแต่ง ให้เป็นสะใภ้ ด้วยหวังว่า จักเลี้ยงดูเราในเวลาแก่ หญิงนั้นขับไล่เรา ออกจากเรือน ในวันนี้ ภัยเกิดขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว ดังนี้.

พระมหาสัตว์กราบทูลต่อไปว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระราชา เป็นที่พึ่งของมหาชน เหมือนหญิงสะใภ้ เป็นที่พึ่งของแม่ผัว เมื่อภัยเกิดแต่พระราชานั้น แล้วใครอาจจะทำอะไรได้ ขอพระองค์จงทรงทราบเถิด พระเจ้าข้า พระราชาได้ทรงสดับ ดังนั้นแล้ว ตรัสว่า นี่แน่ะเจ้า เหตุการณ์

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 680

ที่เจ้านำมาเล่านี้ เราไม่รู้ เจ้าจงมอบโจรให้เถิด พระโพธิสัตว์คิดว่า เราจักรักษาเกียรติคุณพระราชา จึงได้นำเรื่องมากราบทูล อีกเรื่องหนึ่งว่า :-

ข้าแต่พระองค์ ในกาลก่อนบุรุษผู้หนึ่ง ในพระนครนี้แหละ ตั้งความปรารถนา แล้วก็ได้บุตร ในเวลาที่บุตรเกิด เขาเกิดปีติโสมนัสว่า เราได้บุตรแล้ว เลี้ยงดูบุตรนั้นเป็นอย่างดี เมื่อเจริญวัยแล้วได้หาภรรยาให้ ต่อมาภายหลัง เขาแก่เฒ่าลง ไม่อาจทำงานให้สำเร็จได้ ครั้งนั้น บุตรได้กล่าวกะเขาว่า พ่อไม่อาจทำการงานได้ จงออกไปจากบ้านนี้ แล้วก็ขับออกจากบ้าน เขาขอทานเลี้ยงชีพด้วยความยากแค้น คร่ำครวญอยู่ กล่าวคาถาว่า :-

เราชื่นชมยินดี ด้วยบุตรผู้เกิดแล้วคนใด เราปรารถนาความเจริญแก่บุตรคนใด บุตรคนนั้น ก็มาขับไล่เราออกจากเรือน ภัยเกิดขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า โสมํ เป็นต้น ความว่า บุตรคนนั้น ก็มาขับไล่เราออกจากเรือน เรานั้นเที่ยวขอทาน เลี้ยงชีพอย่างลำบาก ภัยเกิดขึ้นแก่เราแต่ที่พึ่งอาศัย นั่นเอง.

พระมหาสัตว์กราบทูลต่อไปว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขึ้นชื่อว่า บิดา ผู้แก่ชรา บุตรผู้มีกำลังความสามารถ ศึกษาฉันใด ชนบททั้งหมด พระราชาควรรักษาฉันนั้น ก็แลภัยนี้ เมื่อเกิดขึ้น ได้เกิดขึ้นแล้วจากสำนัก

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 681

ของพระราชา ผู้รักษาสัตว์ทั้งปวง ขอพระองค์จงทรงทราบว่า คนชื่อโน้น เป็นโจร ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าข้า. พระราชาได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสว่า นี่แน่ะเจ้า เราไม่ทราบเหตุที่ควร และไม่ควร เจ้าจงชี้ตัวโจรให้เถิด หรือว่าตัวเจ้าเองเป็นโจร พระราชาทรงรบเร้ามาณพอยู่เนืองๆ ด้วยประการดังว่ามานี้.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ ได้กราบทูลพระราชาอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์จะให้ข้าพระองค์ ชี้ตัวโจรอย่างเดียวเท่านั้น มิใช่หรือ? พระราชาตรัสว่า ถูกแล้วเธอ พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ถ้าเช่นนั้น ข้าพระองค์จักประกาศ ในท่ามกลางบริษัทว่า คนโน้นด้วย คนนี้ด้วยเป็นโจร พระราชาตรัสว่า จงทำอย่างนั้นเถิดเธอ พระโพธิสัตว์ได้สดับพระราชดำรัส ดังนั้นแล้วคิดว่า พระราชานี้ ไม่ให้เรารักษาพระองค์ไว้ ฉะนั้น เราจักจับโจรในบัดนี้ คิดดังนี้แล้ว จึงป่าวประกาศเรียกประชุมชาวนิคมชนบท แล้วกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

ขอชาวชนบท และชาวนิคม ผู้มาประชุมกันแล้ว จงฟังข้าพเจ้า น้ำมีในที่ใด ไฟก็มีในที่นั้น ความเกษมสำราญ บังเกิดขึ้นแต่ที่ใด ภัยก็บังเกิดขึ้นแต่ที่นั้น พระราชากับพราหมณ์ ปุโรหิตพากันปล้นรัฐเสียเอง ท่านทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 682

จงพากันรักษาตนของตนอยู่เถิด ภัยเกิดขึ้นแต่ที่พึ่งอาศัยแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยโตทกํ ตทาทิตฺตํ ความว่า น้ำมีที่ไหน ไฟก็มีที่นั่น บทว่า ยโต เขมํ ความว่า ความเกษมสำราญ พึงมีแต่พระราชาพระองค์ใด ภัยเกิดขึ้นแล้ว แก่พระราชาพระองค์นั้น. บทว่า อตฺตคุตฺตา วิหรถ ความว่า บัดนี้ ท่านทั้งหลายไม่มีที่พึ่งแล้ว ขออย่าได้ยังตนให้พินาศเถิด ขอท่านทั้งหลาย จงคุ้มครองตนเองรักษา ทรัพย์ และข้าวเปลือก ที่เป็นของของตนเถิด ธรรมดาว่า พระราชาเป็นที่พึ่งของมหาชน ภัยเกิดขึ้นแล้ว แก่ท่านทั้งหลาย แต่พระราชาพระองค์นั่นเอง พระราชากับพราหมณ์ปุโรหิต เป็นโจรผู้หากินด้วยการปล้น ถ้าท่านทั้งหลายประสงค์จะจับโจร ก็จงจับพระราชากับพราหมณ์ปุโรหิต ทั้งสองคนนี้ ไปลงโทษเถิด.

ลำดับนั้น ประชาชนเหล่านั้น ได้ฟังคำของพระโพธิสัตว์นั้น แล้วพากันว่า พระราชาพระองค์นี้ควรจะมีหน้าที่ปกปักรักษา บัดนี้พระองค์ กลับใส่โทษคนอื่น เอาสิ่งของของพระองค์ ไปไว้ในสระโบกขรณี ด้วยพระองค์เอง แล้วค้นหาโจร บัดนี้พวกเราจะฆ่าพระราชาลามกนี้เสีย เพื่อไม่ให้กระทำโจรกรรมอีกต่อไป. ลำดับนั้น ประชาชนเหล่านั้น จึงได้พร้อมกัน ลุกขึ้นถือท่อนไม้บ้างตะบองบ้าง ทุบตีพระราชา และพราหมณ์ โรหิตให้ตาย แล้วอภิเษกพระมหาสัตว์ ให้ครองราชสมบัติต่อไป.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 683

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาแสดงดังนี้ แล้วตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก การจำรอยเท้าบนแผ่นดินได้ ไม่น่าอัศจรรย์ บัณฑิตครั้งก่อน จำรอยเท้าในอากาศได้ ถึงอย่างนี้ แล้วทรงประกาศสัจธรรม เวลาจบสัจธรรม อุบาสก และบุตร ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พระทศพล ทรงประชุมชาดกว่า บิดาในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระกัสสปในครั้งนี้ มาณพผู้ฉลาด ในการสังเกตรอยเท้า ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถา ปทกุสลมาณวชาดกที่ ๖