พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. จักกวากชาดก ว่าด้วยความเป็นอยู่ของนกจักรพราก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ส.ค. 2564
หมายเลข  35896
อ่าน  422

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 697

๘. จักกวากชาดก

ว่าด้วยความเป็นอยู่ของนกจักรพราก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 697

๘. จักกวากชาดก

ว่าด้วยความเป็นอยู่ของนกจักรพราก

[๑๒๗๔] ข้าพเจ้าขอพูดกับนกทั้งสอง ที่เหมือนดังคลุม ด้วยผ้าย้อมน้ำฝาด มีใจเพลิดเพลิน เที่ยวไปอยู่ นกทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญ ชาติของนกอะไร ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย ขอเชิญท่านทั้งสอง บอกนกนั้น แก่ข้าพเจ้าเถิด.

[๑๒๗๕] ดูก่อนท่านผู้เบียดเบียนมนุษย์ ในหมู่มนุษย์ นกทั้งหลาย ย่อมกล่าวถึงข้าพเจ้าทั้งหลาย ซึ่งชื่อว่า นกจักรพราก เนื่องโดยลำดับมาว่า บรรดานกทั้งหลาย เขารู้กันทั่วไปว่า พวกข้าพเจ้า เป็นผู้มีภาวะน่านับถือ เป็นผู้มีรูปงาม เที่ยวไปใกล้ห้วงน้ำ พวกข้าพเจ้า ไม่ทำบาป แม้เพราะการกินเป็นเหตุ.

[๑๒๗๖] ดูก่อนนกจักรพราก ท่านทั้งหลาย กินผลไม้อะไร ที่ห้วงน้ำนี้ หรือว่าท่านทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 698

กินเนื้อแก่ที่ไหน หรือว่าท่านทั้งหลาย กินโภชนาหารอะไร กำลัง และสีของท่านทั้งหลาย จึงไม่เสื่อมทรามผิดรูป.

[๑๒๗๗] ดูก่อน ผลไม้ทั้งหลาย จะมีที่ห้วงน้ำ ก็หามิได้ เนื้อที่นกจักรพรากจะกิน ก็มิได้มี แต่ที่ไหน ข้าพเจ้าทั้งหลาย กินแต่สาหร่าย กับน้ำ จะได้ทำบาป เพราะการกินก็หามิได้.

[๑๒๗๘] ดูก่อนนกจักรพราก อาหารของท่านนี้ เราไม่ชอบ อาหารที่ท่านกินในภพนี้อย่างไร ท่านก็เป็นผู้ละม้ายคล้ายกัน กับอาหารนั้น ครั้งก่อน เราเคยเป็นอย่างนี้มาแล้ว แต่เดี๋ยวนี้ กลายเป็นอย่างอื่นไป ด้วยเหตุนี้แหละ เราจึงเกิดความสงสัย ในสีกายของท่าน.

[๑๒๗๙] แม้เราได้กินเนื้อ ผลไม้ และอาหาร ที่เคล้าด้วยเกลือ เจือด้วยน้ำมัน เราได้กินอาหาร มีรสที่เขากินกัน ในหมู่มนุษย์ จึงได้กล้าหาญ เข้าต่อสู้สงครามได้ ดูก่อนนกจักรพราก แต่สีของเรา หาเหมือนกับของท่านไม่.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 699

[๑๒๘๐] ดูก่อนกา ท่านเป็นผู้กินอาหารไม่บริสุทธิ์ มักจะโฉบลง ในขณะที่เขาพลั้งเผลอ จะได้กินข้าว และน้ำก็โดยยาก ลูกไม้ทั้งหลาย ท่านก็ไม่ชอบใจกิน หรือเนื้อในกลางป่าช้า ท่านก็ไม่ชอบใจกิน.

[๑๒๘๑] ดูก่อนกา ผู้ใดอาศัยบริโภค โภคสมบัติ ด้วยกรรมอันสาหัส มักจะโฉบลง ในขณะที่เขาพลั้งเผลอ ภายหลังสภาวธรรมตนเอง ก็ย่อมติเตียนผู้นั้น ผู้นั้นถูก สภาวธรรมตนเอง ติเตียนแล้ว ก็ย่อมละทิ้งวรรณะ และกำลังเสีย.

[๑๒๘๒] ถ้าผู้ใดบริโภคอาหาร แม้จะนิดหน่อย ซึ่งเป็นของเย็น ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ถึงสาหัส ในกาลนั้น กำลังกาย และวรรณะ ย่อมมีแก่ผู้นั้น วรรณะทั้งปวง จะมีแก่ผู้นั้น ด้วยอาหารต่างๆ เท่านั้น ก็หาไม่.

จบ จักกวากชาดกที่ ๘

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 700

อรรถกถาจักกวากชาดกที่ ๘

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุเหลาะแหละรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า กาสายวตฺเถ ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุรูปนั้น เป็นผู้เหลาะแหละ โลภปัจจัย ทิ้งอาจริยวัตร และอุปัชฌายวัตร เป็นต้นเสีย เข้าพระนครสาวัตถีแต่เช้าทีเดียว แม้ดื่มข้าวยาคู ที่มีของเคี้ยวหลายอย่าง เป็นบริวารแล้ว ฉันข้าวสาลี เนื้อ และข้าวสุก ที่มีรสเลิศต่างๆ ที่เรือนนางวิสาขา เท่านั้น ก็ยังไม่อิ่ม ออกจากที่นั้นมุ่งหน้าไปยังนิเวศน์ของตนนั้นๆ คือ จูลอนาถปิณฑิกเศรษฐี มหาอนาถปิณฑิกเศรษฐี และพระเจ้าโกศล.

อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันในธรรมสภา ปรารภ ความเหลาะแหละของภิกษุนั้น พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากัน ถึงเรื่องอะไร? เมื่อภิกษุเหล่านั้น กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว รับสั่งให้เรียกภิกษุนั้นมา แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่า เธอเป็นผู้เหลาะแหละจริงหรือ? เมื่อภิกษุนั้น กราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า ดังนี้ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เหตุไรเธอจึงเป็นผู้เหลาะแหละ แม้ในกาลก่อน เธอก็ไม่อิ่มด้วยซากศพช้าง เป็นต้น ในพระนครพาราณสี เพราะความเป็นผู้เหลาะแหละ ออกจากที่นั้นแล้ว

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 701

เที่ยวไปตามฝั่งแม่น้ำคงคา เข้าหิมวันตประเทศ ดังนี้ แล้วทรงนำเอาเรื่อง ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติ อยู่ในนครพาราณสี มีกาเหลาะแหละตัวหนึ่ง เที่ยวเคี้ยวกินซากศพช้าง เป็นต้น ในพระนครพาราณสี ไม่อิ่มด้วยซากศพเหล่านั้น คิดว่า เราจักเคี้ยวกินปลา ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ไปหากินปลาตาย ที่ฝั่งแห่งแม่น้ำคงคานั้น อยู่ ๒, ๓ วัน เข้าถิ่นหิมพานต์ เคี้ยวกินผลไม้น้อยใหญ่นานาชนิด ไปยังสระปทุมใหญ่ ซึ่งมีปลา และเต่ามาก เห็นนกจักรพราก ๒ ตัว มีสีดังทอง กำลังเคี้ยวกินสาหร่าย อยู่ในสระนั้น คิดว่านกจักรพราก ๒ ตัวนี้มีสีสวยงามเลิศเหลือเกิน นกเหล่านี้ คงจักมีโภชนาหาร เป็นที่พอใจ เราจักถามถึง โภชนาหารของนกเหล่านี้ แล้วกินเช่นนั้นบ้าง ก็จักมีสีเหมือนทอง แล้วไปยังสำนักของนกเหล่านั้น กระทำปฏิสันถาร แล้วจับอยู่ที่ปลายกิ่งไม้แห่งหนึ่ง กล่าวคาถาที่ ๑ ซึ่งประกอบด้วย การสรรเสริญนกเหล่านั้น ว่า :-

ข้าพเจ้าขอพูดกับนกทั้ง ๒ ที่เหมือนดังคลุม ด้วยผ้าย้อมน้ำฝาด มีใจเพลิดเพลิน เที่ยวไปอยู่ นกทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญ ชาติของนกอะไร ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย ขอเชิญท่านทั้ง ๒ บอกนกนั้น แก่ข้าพเจ้าเถิด.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 702

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาสายวตฺเถ คือ ที่มีสีดุจทอง ดังคลุมด้วยผ้าย้อมน้ำฝาด. สองบทว่า ทุเว ทุเว แปลว่า ทั้ง ๒. บทว่า นนฺทมเน คือ มีใจยินดี. บทว่า กํ อณฺฑชํ อณฺฑชา มานุเสสุ ชาตึ ปสํสนฺติ ความว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย นกทั้งหลาย เมื่อสรรเจริญพวกท่าน ย่อมกล่าวสรรเสริญว่า นกอะไร คือ นกชื่ออะไร ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย อธิบายว่า นกทั้งหลาย ย่อมยกย่องท่านทั้งหลาย ในระหว่างมนุษย์ทั้งหลาย ระบุว่าชื่อนกอะไร. บาลีว่า อณฺฑชํ อณฺฑชมานุเสสุ ดังนี้ก็มี บาลีนั้น มีอธิบายว่า นกทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญพวกท่าน ในหมู่นกทั้งหลาย และในหมู่มนุษย์ทั้งหลายว่า นกชนิดไร.

นกจักรพรากได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ดูก่อนท่านผู้เบียดเบียนมนุษย์ ในหมู่มนุษย์ นกทั้งหลาย ย่อมกล่าวถึง ข้าพเจ้าทั้งหลาย ซึ่งชื่อว่า นกจักรพราก เนื่องโดยลำดับมาว่า บรรดานกทั้งหลาย เขารู้กันทั่วไปว่า พวกข้าพเจ้าเป็นผู้มีภาวะน่านับถือ เป็นผู้มีรูปงาม เที่ยวไปใกล้ห้วงน้ำ พวกข้าพเจ้าไม่ทำบาป แม้เพราะการกินเป็นเหตุ.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 703

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนุสฺสหึส ความว่า กาย่อมเบียดเบียน คือ รบกวนมนุษย์ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น นกจักรพราก จึงทักทายกานั้น อย่างนี้. บทว่า อนุพฺพเต หมายความว่า ไปตาม คือ บันเทิงอยู่ ได้แก่ อยู่ด้วยความรัก ซึ่งกันและกัน บทว่า จกฺกวาเก ความว่า นกทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญ คือ ยกย่อง ได้แก่ กล่าวขวัญถึงว่า ชาตินกนั้น ชื่อว่า จักรพราก บทว่า ทิเชสุ ความว่า ขึ้นชื่อว่า นกทั้งหลาย มีประมาณเท่าใด บรรดานกทั้งหลาย มีประมาณเท่านั้น เขารู้กันทั่วไป ในหมู่มนุษย์ว่า พวกข้าพเจ้า เป็นผู้มีภาวะน่านับถือ.

พึงทราบวินิจฉัย ในอรรถวิกัปที่ ๒ ว่า ในหมู่มนุษย์ นกทั้งหลาย ย่อมกล่าวถึง ข้าพเจ้าทั้งหลายว่า นกจักรพราก แต่ในหมู่นกด้วยกัน นกทั้งหลาย ย่อมกล่าวถึงพวกข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้มีภาวะน่านับถือ. บทว่า อณฺณเว ความว่า ในที่นี้ นกจักรพราก เรียกสระว่า ห้วงน้ำ อธิบายว่า พวกข้าพเจ้าสองตัวเท่านั้น ชื่อว่า เป็นผู้มีรูปงาม เพราะไม่เบียดเบียนสัตว์เหล่าอื่น เที่ยวไปใกล้สระปทุมนี้.

ก็แล บทที่ ๔ ของคาถานี้ อาจารย์บางพวกพูดว่า น ฆาสเหตุํปิ กโรม ปาปํ ดังนี้. คำนั้น มีอธิบายว่า เพราะพวกข้าพเจ้าไม่ทำบาป เพราะเห็นแก่กิน เพราะเหตุนั้น เขาจึงยกย่องพวกข้าพเจ้า ทั้งในหมู่มนุษย์ และในหมู่นกว่า เป็นผู้มีภาวะน่านับถือ.

กาได้ยินดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 704

ดูก่อนนกจักรพราก ท่านทั้งหลาย กินผลไม้อะไร ที่ห้วงน้ำนี้ หรือว่าท่านทั้งหลาย กินเนื้อแต่ที่ไหน หรือว่าท่านทั้งหลาย กินโภชนาหารอะไร กำลัง และสีของท่านทั้งหลาย จึงไม่เสื่อมทรามผิดรูป.

ศัพท์ว่า กึ ในคาถานั้น เป็นอาลปนะ ด้วยสามารถแห่งคำถาม มีอธิบายว่า ดูก่อนนกจักรพราก ท่านทั้งหลาย กินโภชนาหารอะไร.

บทว่า อณฺณเว คือ ในสระนี้. บทว่า ภุญฺเช เท่ากับ ภุญฺชถ แปลว่า กิน อีกอย่างหนึ่ง เท่ากับ ภุญฺชิตฺถ แปลว่า กินแล้ว. หลายบทว่า มํสํ กุโต ขาทถ คือ ท่านทั้งหลาย กินเนื้อของสัตว์จำพวก ไหน?

โว อักษรในคำว่า ภุญฺชถ โว เป็นเพียงนิบาต. ศัพท์ว่า โว นั้น สัมพันธ์เข้ากับบทข้างหน้าว่า พลญฺจ โว วณฺโณ จ อนปฺปรูโป ดังนี้

ต่อจากนั้น นกจักรพรากกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-

ดูก่อนกา ผลไม้ทั้งหลาย จะมีที่ห้วงน้ำ ก็หามิได้ เนื้อที่นกจักรพราก จะกินก็มิได้มี

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 705

แต่ที่ไหน ข้าพเจ้าทั้งหลาย กินแต่สาหร่าย กับน้ำ จะได้ทำบาป เพราะการกินก็หามิได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จกฺกวาเก เท่ากับ จกฺกวากสฺส. บทว่า อวากโภชนา ได้แก่ กินน้ำที่ปราศจากความผิดปกติ นกจักรพรากแสดงไว้ว่า พวกเรามีสาหร่ายกับน้ำเท่านั้น เป็นอาหาร. บทว่า น ฆาสเหตุ ความว่า พวกเราจะได้ทำบาป เพราะเห็นแก่กิน เหมือนอย่างพวกท่าน ก็หามิได้.

ต่อจากนั้น กาได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

ดูก่อนนกจักรพราก อาหารของท่านนี้ เราไม่ชอบ อาหารที่ท่านกิน ในภพนี้อย่างไร ท่านก็เป็นผู้ละม้าย คล้ายกันกับอาหารนั้น ครั้งก่อน เราเคยเป็นอย่างนี้มาแล้ว แต่เดี๋ยวนี้ กลายเป็นอย่างอื่นไป ด้วยเหตุนี้แหละ เราจึงเกิดความสงสัย ในสีกายของท่าน.

แม้เราได้กินเนื้อ ผลไม้ และอาหาร ที่เคล้าด้วยเกลือเจือด้วยน้ำมัน เราได้กินอาหาร มีรสที่เขากินกัน ในหมู่มนุษย์ จึงได้กล้าหาญ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 706

เข้าต่อสู้สงครามได้ ดูก่อนนกจักรพราก แต่สีของเรา หาเหมือนกับของท่านไม่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทํ ความว่า อาหารที่ท่านกินเรา ไม่ชอบใจ. บทคาถาว่า อสฺมึ ภเว โภชนสนฺนิกาโส ความว่า อาหารที่ท่านกิน ในภพนี้อย่างไร ท่านก็เป็นผู้ละม้าย คล้ายกันกับอาหารนั้น คือ อาหารใดที่ท่านกิน ในภพที่เป็นนกจักรพรากนี้ ท่านก็เป็นผู้คล้ายกันกับอาหารนั้น คือ เป็นผู้เช่นกับด้วยอาหารนั้น ได้แก่ เป็นผู้สมควรแก่อาหารนั้น อธิบายว่า ท่านเป็นผู้มีสรีระกายสมบูรณ์อย่างยิ่ง. หลายบทว่า ตโต เม อญฺถา ความว่า เมื่อก่อนความเข้าใจดังนี้ ได้มีแก่ข้าพเจ้า เพราะเป็นพวกท่านว่า นกจักรพรากเหล่านี้ เคี้ยวกินผลไม้นานาชนิด และเคี้ยวกินปลา และเนื้อในสระนี้ เพราะเหตุนั้น จึงมีรูปร่างสวยเลิศอย่างนี้ แต่บัดนี้เรากลายเป็นอย่างอื่น จากนี้ไป. บทว่า อิจฺเจว เม ความว่า ด้วยเหตุนี้แหละ เราจึงเกิดความสงสัย ในสีกายของท่านนี้ว่า เหตุไฉนหนอแล นกจักรพรากเหล่านี้ กินอาหารที่เศร้าหมอง เห็นปานนี้ จึงมีสีดุจทอง. บทว่า อหํปิ เท่ากับ อหํ หิ, อีกอย่าง ๑ บาลีก็อย่างนี้ เหมือนกัน. บทว่า ภุญฺเช เท่ากับ ภุญฺชามิ คือ กิน. บทว่า อนฺนานิ จ เท่ากับ โภชนานิ จ คือ โภชนาหาร. บทว่า โลณิยเตลิยานิ แปลว่า ที่เคล้าด้วยเกลือเจือด้วยน้ำมัน. บทว่า รสํ คือ มีรสประณีต ที่มนุษย์เขากินกัน ในหมู่มนุษย์. บทว่า วิเชตฺวา

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 707

ความว่า นักรบได้กินอาหาร มีรสประณีตเหล่านั้น จึงกล้าหาญ มีความเพียร เข้าผจญต่อสู้สงครามได้ ฉันใด เราก็ฉันนั้น ได้กินอาหารมีรส ที่เขากินกันในหมู่มนุษย์ จึงได้กล้าหาญ เข้าต่อสู้สงครามได้.

ด้วยคำว่า ยถา ตว นี้ กาชี้แจงว่า สีของเรา แม้ผู้บริโภคอาหาร อันประณีตอย่างนี้ หาได้เหมือนกับของท่านไม่ เราจึงไม่เชื่อคำของท่าน.

ลำดับนั้น นกจักรพราก เมื่อจะกล่าวถึงเหตุ ที่ไม่เจริญ แห่งวรรณสมบัติของกา และเหตุที่เจริญ แห่งวรรณสมบัติของตน ได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า :-

ดูก่อนกา ท่านเป็นผู้กินอาหารไม่บริสุทธิ์ มักจะโฉบลง ในขณะที่เขาพลั้งเผลอ จะได้กิน ข้าว และน้ำ ก็โดยยาก ลูกไม้ทั้งหลาย ท่านก็ไม่ชอบใจกิน หรือเนื้อในกลางป่าช้า ท่านก็ไม่ ชอบใจกิน.

ดูก่อนกา ผู้ใดอาศัยบริโภค โภคสมบัติ ด้วยธรรมอันสาหัส มักจะโฉบลง ในขณะที่เขาพลั้งเผลอ ภายหลังสภาวธรรมตนเอง ก็ย่อม

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 708

ติเตียนผู้นั้น ผู้นั้นถูกสภาวธรรมตนเอง ติเตียนแล้ว ก็ย่อมละทิ้งวรรณะ และกำลังเสีย.

ถ้าผู้ใดบริโภคอาหาร แม้จะนิดหน่อย ซึ่งเป็นของเย็น ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ถึงสาหัส ในกาลนั้น กำลังกาย และวรรณะ ย่อมมีแก่ผู้นั้น วรรณะทั้งปวง จะได้มีแก่ผู้นั้น ด้วยอาหาร มีประการต่างๆ เท่านั้น ก็หาไม่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสุทฺธภกฺโขสิ ความว่า ท่านชื่อว่า เป็นผู้กินอาหารไม่บริสุทธิ์ เพราะลักเขากิน ขโมยเขากิน. บทว่า ขณานุปาตี คือ มักโฉบลง ในขณะที่เขาเผลอ. สองบทว่า กิจฺเฉน เต ความว่า ท่านนั้น จะได้กินข้าว และน้ำ ก็โดยยาก. บทว่า มํสานิ วา ความว่า หรือเนื้อเหล่าใดที่มีอยู่ในท่ามกลางป่าช้า เนื้อเหล่านั้น ท่านก็ไม่ยินดี. บทว่า ตโต เท่ากับ ปจฺฉา แปลว่า ภายหลัง. หลายบทว่า อุปกฺโกสติ นํ สภาโว คือ ตนนั่นแล ย่อมติเตียนบุคคลผู้นั้น. บทว่า อุปกฺกุฏฺโ ความว่า บุคคลผู้นั้น ถูกตนเองบ้าง ถูกผู้อื่นบ้างติเตียนแล้ว คือ ตำหนิแล้ว ย่อมละทิ้งวรรณะ และกำลังเสีย เพราะเป็นผู้มีความเดือดร้อน. สองบทว่า นิพฺพุตึ ภุญฺชติ ยทิ ความว่า ก็ผิว่าผู้ใดบริโภคอาหาร แม้เพียงเล็กน้อย ซึ่งได้มาโดยธรรม ชื่อว่า เป็นของเย็น ไม่เบียดเบียนผู้อื่น. สองบทว่า ตทสฺส โหติ ความว่า ในกาลนั้น กำลังกาย

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 709

และวรรณะ ในสรีระ ย่อมมีแก่ผู้นั้น ผู้เป็นบัณฑิต. บทว่า อาหารมเยน คือ ด้วยอาหาร มีประการต่างๆ เท่านั้น มีคำที่นกจักรพรากกล่าวไว้ ดังนี้ว่า ดูก่อนกา ขึ้นชื่อว่า วรรณะนั้น มีสมุฏฐาน ๔ ประการ คือ อาหาร ความอบอุ่น ความคิด และกิจการที่ทำ.

นกจักรพรากติเตียนกา โดยปริยายไม่น้อยอย่างนี้ กาเกิดความเกลียดชังนกจักรพราก คิดว่าเราไม่ต้องการสีของท่าน แล้วร้องขึ้นว่า กา กา บินหนีไป.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนา มาแสดงแล้ว ทรงประกาศสัจธรรม เวลาจบสัจจะ ภิกษุเหลาะแหละ ดำรงอยู่ในอนาคามิผล พระทศพลทรงประชุมชาดกว่า กาในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุเหลาะแหละในบัดนี้ นางนกจักรพรากในครั้งนั้น ได้มาเป็นมารดาพระราหุลในบัดนี้ ส่วนนกจักรพราก ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถา จักกวากชาดกที่ ๘