ข้อสงสัยเกี่ยวกับถาวรวัตถุกับพุทธศาสนา

 
paisan.ju
วันที่  29 เม.ย. 2550
หมายเลข  3590
อ่าน  3,259

ด้วยความเคารพกับความเห็นของทุกท่าน กระผมเห็นด้วยที่การเข้าใจธรรมะที่ถูกต้อง การเจริญสติปัฏฐาน เป็นพุทธศาสนาที่แท้จริง แต่ผมยังมีข้อสงสัยอยู่บางประการ

๑. แม้พระพุทธรูปจะเป็นเพียงแต่วัตถุ แต่ก็เป็นรูปเหมือนของพระพุทธเจ้าเป็นแต่ความคิดนึกเป็นเพียงบัญญัติ แต่ก็เป็นเหตุปัจจัยให้กุศลจิตเกิดได้ เป็นเหตุให้นึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ก็เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดศรัทธา เมื่อเกิดศรัทธา ก็ไปฟังธรรม เมื่อฟังธรรม ก็เป็นเหตุปัจจัยให้เจริญสติปัฏฐาน ถ้าสิ่งแวดล้อมเราไม่มีพระพุทธรูปเลย มีแต่วัตถุแห่งกามคุณอารมณ์ กุศลจิตก็เกิดยาก สติปัฏฐานก็ไม่สามารถเจริญได้ด้วย

๒. พระพุทธรูปสร้างขึ้นเมื่อใด และเหตุผลของการสร้างพระพุทธรูปของพุทธศาสนิกชนในอดีตคืออะไร การบูชาพระพุทธรูป เจดีย์ ก็เป็นกุศลอย่างหนึ่งเหมือนกัน

๓. ประเพณีบางอย่างในพระพุทธศาสนา ที่บรรพบุรุษในอดีตได้สร้างขึ้น ก็เพื่อเหนี่ยวรั้งจิตใจให้น้อมมาในทางกุศล เช่น การบวชเมื่ออายุครบ ๒๐ ปี แม้ผู้บวชจะไม่ได้มีศรัทธามาก่อน แต่เมื่อได้บวชก็ได้ยินพระสัทธรรม เมื่อได้ยินพระสัทธรรม ก็จะเกิดศรัทธา เมื่อเกิดศรัทธา จึงเจริญสติปัฏฐาน

๔. การได้ยินเสียงพระสัทธรรม ก็แล้วแต่ผลของกรรม เห็นด้วยครับ แต่ก็ยังสงสัยอยู่ว่าสมมติ ถ้าเราเปิดประตูบ้านทิ้งไว้ แล้วคิดว่าของจะหายหรือไม่ขึ้นอยู่กับผลของกรรม หรือเวลาเจ็บป่วย เราก็ไม่ไปรักษา เพราะคิดว่าขึ้นอยู่กับผลของกรรม คิดอย่างนี้จะถูกต้องไหม ผมคิดว่าความคิดเช่นนี้ จะเกิดได้ ก็เพราะผลของกรรมนั่นเอง จิตจึงน้อมคิดไปเช่นนั้น สรุป ผมเข้าใจว่า สติปัฏฐาน เป็นเหตุผลบั้นปลายที่ทำให้พุทธศาสนาดำรงอยู่ แต่การที่สติปัฏฐานจะเจริญได้ ก็อาศัยเหตุปัจจัยอีกหลายอย่าง และในบรรดาเหตุปัจจัยเหล่านั้น ก็มีเหตุปัจจัย อีกหลายอย่างทำให้เกิดขึ้นต่อเนื่องกันไปอีก ผมไม่ได้มีเจตนาจะโต้เถียง โต้แย้ง แต่อย่างใด เพราะความสงสัยเป็นเหตุปัจจัย ไม่ทราบว่าผมเข้าใจอะไรผิดหรือไม่ จึงเรียนมาเพื่อขอความกระจ่างด้วยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 30 เม.ย. 2550

๑ - ๒ พระพุทธรูปเป็นสิ่งที่เตือนให้ทำความดี ในสมัยก่อนนิยมสร้างพระเจดีย์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ หรือบรรจุพระธรรม หลังพุทธปรินิพพานประมาณ ๔๐๐ - ๕๐๐ ปี (หลักฐานยังไม่ชัดเจน) เริ่มมีการสร้างพระพุทธรูป

๓. การบวชเป็นสิ่งที่ดี เพราะเป็นการเว้นจากบาป ถ้าประพฤติตามพระอริยะที่ท่านบวชเพื่อสละกิเลส เพื่อพระอรหัตตผล จึงเป็นการบวชที่ถูกต้อง

๔. ผู้ที่เข้าใจเรื่องกรรม และผลของกรรมย่อมเป็นผู้ไม่ประมาท ไม่ละเลยการกระทำสิ่งที่ดี เมื่อเจ็บป่วยย่อมหาทางรักษา เพื่อการอยู่สะสมอบรมเจริญ ปัญญาต่อไป

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
อิสระ
วันที่ 30 เม.ย. 2550

สาธุ ... ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 1 พ.ค. 2550

๑.- ๒. การเห็นพระพุทธรูป เป็นเหตุให้เกิดสติ ขั้นทาน ขั้นศีลและขั้นภาวนา

เช่น ขณะที่เรายกมือไหว้พระพุทธรูป น้อมระลึกถึงพุทธคุณ จิตเป็นกุศล และเป็นศีลด้วยในขณะนั้น

๓. คนที่จะบวชต้องเป็นผู้ที่สละทุกสิ่งทุกอย่าง บ้าน ทรัพย์สินเงิน ทอง ฯลฯ จุดมุ่งหมายเพื่อนิพพาน

๔. โรคที่เกิดจากกรรมรักษาก็ไม่หาย ไม่รักษาก็ไม่หาย แต่โรคบางอย่างที่ไม่ได้เกิดจากกรรม ไม่รักษาก็ไม่หาย รักษาจึงจะหายค่ะ ฯลฯ อยากให้ไปรักษาจะได้มีชีวิตอยู่นานๆ เพื่อทำความดีค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 1 พ.ค. 2550

ข้อ ๑. ถ้าไม่มีการตรัสรู้ ก็ไม่มีพระพุทธรูป ถ้าไม่มีความเข้าใจธรรมะและสติปัฏฐาน ก็ไม่สามารถรู้พระคุณของพระพุทธเจ้าแม้มีพระปฏิมา จะขอยกตัวอย่าง แม้ไม่มีพระพุทธรูปเลย แต่ก็สามารถอยู่โดยมีพระพุทธองค์เสมอ ดังนั้น เหตุปัจจัยที่ให้เกิดศรัทธาคือ การเข้าใจธรรมะ และจะขอยกเรื่องเหตุให้เกิดศรัทธา คืออะไร

ลองอ่านดู

เรื่องเหตุให้เกิดศรัทธา

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 203

แม้ศรัทธาก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของศรัทธา ควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม แม้การฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามี อาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การคบหาสัปบุรุษ

เรื่อง เห็นพระพุทธเจ้าด้วยความเข้าใจธัมมะที่ถูกต้อง แม้ไม่มีพระปฏิมา

เชิญคลิกอ่านที่นี่ ...

เห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยใจ [จูฬนิทเทส]

ข้อ ๒. สร้างหลัง จากพระพุทะเจ้าปรินิพพานครับ เหตุผลในการสร้างที่ถูกต้อง เป็นเครื่องระลึกถึงพระคุณ อันเกิดมาจากความเข้าใจพระธรรม ที่ถูกต้องครับ การบูชาพระเจดีย์และพระปฏิมาด้วยความเข้าใจ ย่อมเป็นกุศล เพื่อน้อมระลึกถึงพระคุณอันเนื่องมาจากความเข้าใจธรรมะ

ข้อ ๓. ด้วยความเข้าใจถูกว่าจุดประสงค์ของการบวชเพื่ออะไรครับ

ข้อ ๔. ต้องแยกก่อนว่า ผลของกรรมคืออะไร ขณะไหน เบื้องต้น จิต มี ๔ ชาติ กุศล อกุศล วิบาก กิริยา ผลของกรรมคือวิบาก ขณะไหน ขณะเห็น ได้ยิน.. เป็นวิบากเป็นผลของกรรม การได้ยินพระสัทธรรมก็เป็นผลของกรรม ได้ยินเป็นชาติวิบาก บังคับไม่ได้ว่าจะได้ยินอะไร (อนัตตา) การคิดแบบนั้น ไม่ใช่เป็นผลของกรรม เป็นการสะสมมา คือ เป็นกุศลหรืออกุศลที่เกิดที่ชวนจิต ไม่ใช่ชาติวิบาก (ผลของกรรม) แต่เป็นชาติกุศลหรืออกุศล เป็นปัจจัยให้คิดอย่างนั้นครับ เช่น คนคิดในทางโกรธบ่อยๆ ก็จะเป็นปัจจัยคิดในทางโกรธบ่อยขึ้น โกรธเป็นชาติอกุศล ไม่ใช่วิบากครับ

ข้อ ๕. ความไม่เข้าใจธรรมะ เป็นเหตุผลประการสำคัญที่ทำให้ศาสนาเสื่อม มิใช่อยู่ที่วัตถุ ถึงแม้จะมีถาวรวัตถุมากมาย แต่ขาดความเข้าใจพระธรรม ก็เข้าใจธรรมะผิด เลื่อมใสผิด แม้มีพระไตรปิฎกในตู้มากมาย แต่ไม่เข้าใจ ไม่ศึกษาโดยถูกต้อง ก็ไม่มีการปฏิบัติที่ถูกต้อง ศาสนาก็เสื่อมครับ พระพุทธเจ้าทรงเป็นสัพพัญญู มิได้ทรงแสดงว่าศาสนาจะเสื่อมเพราะ แต่เพราะดังพระไตรปิฎกที่ยกมา ในกระทู้อื่นๆ ครับ ขอให้มีพระธรรมเป็นเครื่องตัดสินความถูกผิดครับมีพระธรรมเป็นที่พึ่ง

ข้อ ๖. เรื่อง เหตุให้เกิดหรือเจริญสติปัฏฐาน คือ ปัจจัยภายนอกต่างๆ หรือ ลองอ่านดูนะ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ ...

ตัณหาสูตร [เหตุให้เกิดสติปัฏฐาน]

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ปุถุชนคนหนึ่ง
วันที่ 2 พ.ค. 2550

การสร้างพระพุทธรูปในดินแดนชมพูทวีปนั้น เริ่มมีมาหลังจากที่ดินแดนนั้นได้ถูกรุกราน และยึดครองโดยชนชาวกรีก หลังรัชสมัยของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเพราะชนชาวกรีกนิยมชมชอบการสร้างรูปปั้นต่างๆ เช่น เทพเจ้าของกรีก เมื่อกษัตริย์และเจ้านายของกรีกหันมานับถือศาสนาพุทธ จึงได้มีการสร้างพระพุทธปฏิมาขึ้น พระเจ้ามิลินทรก็เป็นกษัตริย์กรีกในสมัยนั้น เหตุที่ไม่มีการสร้างพระพุทธรูปมาก่อนหน้านี้ทั้งๆ ที่ผู้คนก็มีศรัทธามาก เป็นเพราะไม่ใช่วัฒนธรรมประเพณี และคนในยุคนั้นมีความเคารพยำเกรง ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างมาก แม้จะสร้างพระพุทธรูปให้วิจิตรงดงามสักเพียงใด ก็ไม่มีทางที่จะงามเทียบกับพระองค์ได้ พระศาสดาทรงเป็นผู้ที่เลิศประเสริฐ หาผู้ใดเปรียบเสมอเหมือนมิได้เลยจริงๆ เป็นบุญของพวกเราแล้วนะคะ ที่ได้พบคำสอนของพระองค์ท่าน

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paisan.ju
วันที่ 3 พ.ค. 2550

ขออนุโมทนา คุณแล้วเจอกัน และทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paisan.ju
วันที่ 3 พ.ค. 2550

ขอเรียนถาม คุณแล้วเจอกัน จากคำตอบข้อ ๔ นะครับ ที่ว่าความคิดเป็นชาติกุศล อกุศล ไม่ใช่วิบาก จึงไม่ใช่ผลของกรรม ถามว่า ครั้นเมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่ได้ทรงตรัสรู้ ทรงทรมานตนเองก่อนการที่พระพุทธเจ้าคิดที่จะไปทรมานตนเอง เป็นผลของกรรมในอดีตหรือเปล่าครับ

คลิกอ่านที่นี่ ...

บาปของโชติปาละ [พุทธาปทาน]

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 6 พ.ค. 2550

การที่พระพุทธเจ้าคิดที่จะไปทรมานตนเอง เป็นผลของกรรมในอดีตหรือเปล่าครับ

เราอันบุรพกรรมตักเตือนแล้ว จึงแสวงหาโพธิญาณ โดยทางที่ผิด สภาพธรรมะที่เป็นวิบากเมื่อให้ผล ย่อมให้ในปฏิสนธินำเกิด ซึ่งตัวอย่างนี้ โชติปาละด้วยกรรมนั้น ท่านต้องตกนรก (ปฏิสนธิกาล) และวิบากย่อมให้ผลในปวัตติกาลคือ หลังจากเกิดแล้ว วิบากคือขณะที่เห็น ได้ยิน ... สิ่งดีหรือไม่ดี ซึ่งผลของกรรมที่โชติปาละกระทำ ทำให้ต้องได้รับทุกข์ทางกาย ทุกขกายวิญญาณจิต เพราะการอดอาหาร เป็นต้น แต่จิตที่แสวงหาหนทาง ไม่ได้มาจากผลของกรรมนั้น เพราะขณะที่จิตคิดนึก ถ้าเป็นปุถุชนก็จะมี ๒ ชาติ คือ ชาติกุศล หรืออกุศล ซึ่งเป็นเหตุใหม่ แต่ไม่ใช่วิบากที่เป็นผลของกรรม ดังจะขอยกข้อความส่วนอื่น ว่าผลของกรรมนั้นทำให้พระองค์ต้องได้รับทุกข์จากทุกรกิริยา โดยข้อความระบุเลยครับว่า เพราะวิบากกรรมนั้น จึงต้องทำทุกกกิริยา ขณะที่ทำทุกกิริยาก็ต้องทุกข์ทางกาย เป็นกายวิญญาณจิต เป็นชาติวิบากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
study
วันที่ 6 พ.ค. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 6 พ.ค. 2550

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 215
ก็ในกาลนั้น เราได้เป็นพราหมณ์ชื่อ โชติปาละ ได้กล่าว กะพระกัสสปสุคตเจ้าว่า การตรัสรู้ของสมณะโล้นจักมีมาแต่ไหน การตรัสรู้เป็นของได้ยากยิ่ง. เพราะวิบากของกรรมนั้น เราจึงต้องทำทุกรกิริยามากมาย อยู่ที่ตำบลอุรุเวลาถึง ๖ ปี จากนั้น จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ. เราไม่ได้บรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุดโดยหนทางนั้น เรา ถูกกรรมเก่าห้ามไว้ จึงได้แสวงหาโดยทางผิด. เรามีบุญและบาปสิ้นไปหมดแล้ว เว้นจากความเร่าร้อน ทั้งปวง ไม่มีความโศก ไม่มีความคับแค้น ไม่มีอาสวะ

จักปรินิพพานแล.

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 6 พ.ค. 2550

เรื่อง วิบากคือขณะที่เห็น จักขุวิญญาณจิต เป็นต้น

[เล่มที่ 76] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 564

ในข้อว่า สพฺโพ กามาวจรสฺส วิปาโก (กามาวจรวิบากทั้งหมด) นี้ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณ (วิญญาน ๑๐) ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์ เป็นปริตตะ (กามอารมณ์) เพราะอรรถาว่าอาศัยจักขุประสาท เป็นต้น แล้วเริ่มเป็นไปในธรรมคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันต่างโดยเป็น อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์เป็นต้น โดยแน่นอน ทีเดียว

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
paisan.ju
วันที่ 7 พ.ค. 2550

ขอบพระคุณครับ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
chatchai.k
วันที่ 18 มิ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 21 พ.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ