พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๒. ทัททรชาดก ว่าด้วยคนอกตัญญู ไม่รู้จักบุญคุณคนอื่น

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ส.ค. 2564
หมายเลข  35900
อ่าน  509

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 742

๑๒. ทัททรชาดก

ว่าด้วยคนอกตัญู ไม่รู้จักบุญคุณคนอื่น


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 742

๑๒. ทัททรชาดก (๑)

ว่าด้วยคนอกตัญญู ไม่รู้จักบุญคุณคนอื่น

[๑๓๑๐] ผู้ใด เจ้าให้ข้าวมันหุงกิน มันเลยกิน ลูกทั้งสองของเจ้า ผู้ไม่มีความผิด เจ้าจงวาง เขี้ยวลงบนผู้นั้น อย่าปล่อยให้มัน มีชีวิตอยู่ต่อไปเลย.

[๑๓๑๑] บุรุษผู้เกลือกกลั้ว ด้วยความหยาบ ผู้ลบหลู่ท่อนผ้า ที่ตนนุ่งอยู่ เราไม่ขอเห็นมันเลย เราจะพึงให้เขี้ยวตกไป ในบุรุษไรเล่า?

[๑๓๑๒] อันคนอกตัญญู มักคอยหาโอกาสอยู่เป็นนิตย์ ถึงจะให้สมบัติทั้งแผ่นดิน ก็ไม่พึง ทำให้มัน ชื่นชมยินดีได้เลย.

[๑๓๑๓] ดูก่อนเสือโคร่ง ชื่อว่า สุพาหุ เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงรีบด่วนกลับมา พร้อมกับ มาณพ กิจที่เป็นประโยชน์ของท่าน มีอยู่ในที่นี้


๑. อรรถกถา เรียก ติตติรชาดก (เรียกนกกระทาพระโพธิสัตว์).

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 743

หรือ เราขอถามถึงกิจ อันเป็นประโยชน์นั้น? ขอท่านจงบอกแก่เรา.

[๑๓๑๔] นกกระทาใด ผู้มีรูปงาม ซึ่งเป็นสหายของท่าน เราสงสัยว่า นกกระทานั้น จะถูกฆ่า เสียแล้วในวันนี้ เราได้ฟังเหตุทั้งหลายที่ต่อเนื่อง ด้วยการกระทำของบุรุษนี้ จึงมิได้สำคัญว่า นกกระทาจะมีความสุขในวันนี้.

[๑๓๑๕] ในการดำรงชีพของบุรุษนี้ ท่านได้ฟังเหตุการณ์อะไร ที่ต่อเนื่องด้วยการกระทำของเขา หรือท่านได้ฟังคำปฏิญาณอะไร ของบุรุษนี้? จึงสงสัยว่า นกกระทาถูกมาณพนี้ ฆ่าเสียแล้ว.

[๑๓๑๖] การค้าขาย อันเป็นของชาวกลิงครัฐ บุรุษนี้ ก็ได้สั่งสมประพฤติมาแล้ว แม้หนทางที่มีหลักตอ ควรรังเกียจ บุรุษนี้ ก็ได้ประพฤติเที่ยวไป ด้วยการรับจ้าง การฟ้อนรำขับร้องกับคนฟ้อนทั้งหลาย บุรุษนี้ ก็ได้ประพฤติมาถึงการรบกัน ด้วยท่อนไม้ ในท่ามกลางมหรสพ บุรุษนี้ ก็ได้เคยประพฤติมา.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 744

[๑๓๑๗] นกทั้งหลาย บุรุษนี้ ก็ได้ดักมาแล้ว การตวงข้าวเปลือก ด้วยเครื่องตวง บุรุษนี้ ก็ได้ตวงมาแล้ว การเล่นสกา บุรุษนี้ ก็ได้ตั้งให้นักเลงสกาเล่นกัน ความสำรวมระวัง บุรุษนี้ก็ก้าวล่วงเสีย เลือดที่ไหลออกมาตั้งครึ่งคืน บุรุษนี้ ก็คัดให้หยุดได้ มือทั้งสองของบุรุษนี้ มีความร้อน ในเวลารับก้อนข้าว.

[๑๓๑๘] เราได้ฟังเหตุทั้งหลาย อันเกี่ยวเนื่องด้วย การกระทำของบุรุษนี้ ในการดำรงชีพของบุรุษนี้ ดังนี้ กลุ่มขนนกกระทา ยังปรากฏอยู่ ที่ชฎาของบุรุษนี้ วัวทั้งหลาย บุรุษนี้ ก็ได้ฆ่ากินแล้ว ไฉนจะไม่ฆ่านกกระทา กินเล่า.

จบ ทัททรชาดกที่ ๑๒

อรรถกถาติตติรชาดกที่ ๑๒

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ทรงปรารภการที่พระเทวทัต พยายามจะปลง พระชนม์พระองค์ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า โย เต ปุตฺตเก ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 745

ความย่อมีว่า สมัยนั้นภิกษุทั้งหลาย สนทนากันในธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัต ไม่มีความละอาย ไม่ใช่คนดี คบกับพระเจ้าอชาตศัตรู ทำอุบายเพื่อปลงพระชนม์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงพระคุณสูงสุด โดยวิธีประกอบนายขมังธนู กลิ้งก้อนศิลา และปล่อยช้างนาฬาคิรี พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันถึงเรื่องอะไร? เมื่อภิกษุเหล่านั้น กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่พระเทวทัต พยายามฆ่าเรา แม้ในกาลก่อน พระเทวทัตก็ได้พยายามฆ่าเรา เหมือนกัน ดังนี้ แล้วทรงนำเอา เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติ อยู่ในพระนครพาราณสี อาจารย์ทิศาปาโมกข์คนหนึ่ง สอนศิลปะแก่มาณพ ห้าร้อยคน ในพระนครพาราณสี วันหนึ่งคิดว่า เราอยู่ในที่นี้ มีความกังวล แม้มาณพทั้งหลาย ก็จะไม่สำเร็จการศึกษา เราจะเข้าป่าเขตถิ่นหิมพานต์ อยู่ในที่นั้น บอกศิลปะ. อาจารย์ทิศาปาโมกข์นั้น บอกแก่พวกมาณพ แล้วให้ขนงา ข้าวสาร น้ำมัน และผ้า เป็นต้น เข้าป่า ให้สร้างบรรณศาลา อยู่ในที่ไม่ไกลจากหนทาง แม้พวกมาณพ ก็สร้างบรรณศาลาของตนๆ พวกญาติของมาณพทั้งหลาย ต่างก็ส่งน้ำมัน และข้าวสาร เป็นต้น แม้ชาวแว่นแคว้นก็พูดว่า ได้ยินว่า อาจารย์ทิศาปาโมกข์

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 746

อยู่ในป่าแห่งโน้น ให้มาณพเรียนศิลปะ ดังนี้ ต่างก็นำข้าวสาร เป็นต้น ไปให้ แม้ผู้ที่เดินทางกันดาร ก็นำไปให้ บุรุษคนหนึ่ง ได้ให้แม่โคนม พร้อมด้วยลูกโค เพื่อประโยชน์ที่อาจารย์ทิศาปาโมกข์ จะได้ดื่มน้ำนม ณ ที่ใกล้บรรณศาลาของอาจารย์ มีเหี้ยตัวหนึ่งอยู่กับลูกอ่อนสองตัว แม้ราชสีห์ และเสือโคร่ง ก็มาสู่ที่บำรุงอาจารย์นั้น นกกระทาตัวหนึ่ง ได้มาอยู่ ณ ที่นั้นเป็นประจำ นกกระทาตัวนั้น ได้ยินเสียงอาจารย์ กำลังบอกมนต์แก่มาณพทั้งหลาย จึงเรียนเวทย์ได้ทั้งสาม มาณพทั้งหลาย ก็ได้คุ้นเคยกับนกกระทานั้น

ต่อมา เมื่อมาณพทั้งหลาย ยังไม่ทันสำเร็จการศึกษา อาจารย์ได้ทำกาละเสียแล้ว พวกมาณพช่วยกันเผาศพอาจารย์แล้ว ก่อพระสถูป ด้วยทราย เอาดอกไม้ต่างๆ มาบูชาแล้ว ร้องไห้คร่ำครวญอยู่. ลำดับนั้น นกกระทาถามมาณพเหล่านั้นว่า พวกท่านร้องไห้ทำไม พวกมาณพ กล่าวว่า พวกเรายังไม่สำเร็จการศึกษา อาจารย์ก็มาตายเสีย ฉะนั้น พวกเราจึงร้องไห้ นกกระทากล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านอย่าเสียใจเลย เราจะบอกศิลปะแก่พวกท่าน มาณพทั้งหลายถามว่า ท่านรู้ได้อย่างไร นกกระทำตอบว่า เมื่ออาจารย์กำลังบอกแก่พวกท่าน เราได้ฟังแล้ว ได้ทำไตรเพทให้คล่องแคล่ว มาณพทั้งหลายกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงให้พวกเรารู้ ความที่ตน เป็นผู้คล่องแคล่วเถิด นกกระทากล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านคอยฟัง แล้วได้สวดไตรเพท ที่มาณพเหล่านั้น ฟั่นเฝือ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 747

ประดุจจะบินถลา มาจากยอดภูเขา ลงสู่แม่น้ำ ฉะนั้น มาณพทั้งหลาย ต่างก็ร่าเริงยินดี เริ่มเรียนศิลปะ ในสำนักนกกระทาผู้เป็นบัณฑิต แม้นกกระทา ก็ได้ดำรงอยู่ ในตำแหน่งอาจารย์ทิศาปาโมกข์ บอกศิลปะแก่มาณพเหล่านั้น พวกมาณพ ได้กระทำกรงทองแก่นกกระทา ดาษเพดานเบื้องบน นำน้ำผึ้ง และข้าวตอก เป็นต้น ใส่จานทองให้นกกระทา บูชาด้วยดอกไม้นานาชนิด กระทำสักการะเป็นการใหญ่ ข่าวนกกระทาบอกมนต์แก่มาณพห้าร้อย ในป่า ได้แพร่สะพัดไปทั่วชมพูทวีป.

ครั้งนั้น ประชาชนในชมพูทวีป ได้ป่าวร้องกัน เล่นมหรสพเป็นการใหญ่ เหมือนมหรสพที่เล่นบนยอดภูเขา มารดาบิดา ของมาณพทั้งหลาย ได้ส่งข่าวไปถึงบุตรว่า จงมาดูงานมหรสพ มาณพทั้งหลาย บอกลานกกระทาแล้ว ช่วยกันปิดบังนกกระทา ผู้เป็นบัณทิต เหี้ย และสัตว์ทั้งหมด ตลอดจนอาศรม ไม่ให้ใครรู้เห็น แล้วไปสู่เมืองของตนๆ ในกาลนั้น ดาบสชั่วร้าย ไม่มีความกรุณาคนหนึ่ง ท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ มาถึงที่นั้น เหี้ยเห็นดาบสนั้น ก็กระทำการต้อนรับ กล่าวว่า ข้าวสาร มีอยู่ที่โน้น น้ำมัน เป็นต้น อยู่ที่โน้น ท่านจงหุงภัตรฉันเถิด ดังนี้แล้ว ก็ไปเพื่อหาอาหาร ดาบสหุงภัตรแต่เช้าทีเดียว ฆ่าลูกเหี้ยสองตัว ทำเป็นกับข้าวบริโภค ตอนกลางวัน ฆ่านกกระทาผู้เป็นบัณฑิต และลูกโคกิน ตอนเย็น เห็นแม่โคเดินมา ก็ฆ่าแม่โคนั้นเสีย กินเนื้อแล้ว ไปนอนหลับ กรน อยู่ที่โคนต้นไม้ เหี้ยมาในเวลาเย็น ไม่เห็นลูกน้อยทั้งสอง ก็เที่ยว

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 748

วิ่งหาอยู่ รุกขเทวดา แลดูเหี้ยผู้ไม่พบลูกน้อย มีกายหวั่นไหวอยู่ จึงแสดงกายให้ปรากฏ ที่โพรงไม้ ด้วยทิพยานุภาพ แล้วกล่าวว่า แน่ะเหี้ย เจ้าอย่าหวั่นไหวไปเลย ลูกน้อยของเจ้า นกกระทา ลูกโค และแม่โค ถูกคนชั่วนี้ฆ่าแล้ว เจ้าจงกัดคอมันให้ตาย ดังนี้แล้ว กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ผู้ใด เจ้าให้ข้าวมันหุงกิน มันเลยกินลูกทั้งสองของเจ้า ผู้ไม่มีความผิด เจ้าจงวางเขี้ยวลง บนผู้นั้น อย่าปล่อยให้มัน มีชีวิตอยู่ต่อไปเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทินฺนภตฺโต คือ ผู้ที่เจ้าให้ภัตร ด้วยกล่าวว่า ท่านจงหุงภัตรฉันเถิด ดังนี้. บทว่า อทูสเก ได้แก่ ผู้ไม่มีโทษ คือ ปราศจากความผิด. บทว่า ตสฺมึ ทาเ อธิบายว่า เจ้าจงวางเขี้ยวทั้งสี่ ลงบนคนชั่ว. บทว่า มา เต มุญฺจิตฺถ ชีวเต ความว่า ท่านอย่าปล่อย คนใจชั่วนั้น พ้นไปจากเงื้อมมือ ให้มันเป็นอยู่ คือ ให้มีชีวิตอยู่ต่อไปเลย อธิบายว่า มันจงอย่าได้พ้น ท่านจงให้มันถึง ความสิ้นชีวิตไปเสีย.

ลำดับนั้น เหี้ยได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

บุรุษผู้เกลือกกลั้ว ด้วยความหยาบ ผู้

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 749

ลบหลู่ท่อนผ้า ที่ตนนุ่งอยู่ เราไม่ขอเห็นมันเลย เราจะพึงให้เขี้ยวตกไป ในบุรุษไรเล่า?

อันคนอกตัญญู มักคอยหาโอกาส อยู่เป็นนิตย์ ถึงจะให้สมบัติทั้งแผ่นดิน ก็ไม่พึงทำให้มัน ชื่นชมยินดีได้เลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อากิณฺณลุทฺโธ ได้แก่ ผู้มีความหยาบช้าร้ายแรง. บทว่า วิวรทสฺสิโน ได้แก่ ผู้แสวงหาช่อง คือ โทษ. ด้วยบทว่า เนว นํ อภิราธเย เหี้ยแสดงไว้ว่า ถึงจะให้สมบัติทั้งแผ่นดิน ก็ไม่สามารถจะให้บุคคล เห็นปานนี้ ยินดีได้เลย จะป่วยกล่าวไปไย ถึงเราที่ให้เพียงภัตตาหาร.

เหี้ยกล่าวอย่างนี้แล้ว คิดว่า บุรุษนี้ตื่นขึ้น คงกินเรา เมื่อจะรักษาชีวิตของตน จึงได้หนีไป แม้ราชสีห์ และเสือโคร่ง ก็เป็นเพื่อนของนกกระทา บางครั้งสัตว์เหล่านั้น ก็พากันมาเยี่ยมนกกระทา บางครั้ง นกกระทานั้น ก็ไปแสดงธรรมแก่สัตว์ทั้งสอง แล้วกลับมา ก็ในวันนั้น ราชสีห์กล่าวกะเสือโคร่งว่า แน่ะเพื่อน เราไม่ได้ไปเยี่ยมนกกระทา นานถึงวันนี้ ก็เจ็ดแปดวันแล้ว ท่านจงไปฟังข่าว ของนกระทานั้นก่อน แล้วจงมา เสือโคร่งรับคำว่า ดีแล้ว ไปถึงที่นั้น ในเวลาที่เหี้ยหนีไปแล้ว เห็นบุรุษชั่วนั้นหลับอยู่ ขนของนกกระทาผู้เป็นบัณฑิต ยังติดอยู่

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 750

ในระหว่างชฎาของบุรุษนั้น กระดูกแม่โค และลูกโค ก็ยังปรากฏอยู่ พระยาเสือโคร่ง เห็นเหตุการณ์นั้นทั้งหมด ไม่เห็นนกกระทาบัณฑิต ในกรงทอง คิดว่า บุรุษชั่วนี้ คงฆ่าสัตว์เหล่านั้น จึงได้ถีบบุรุษชั่วนั้น ให้ลุกขึ้น ดาบสชั่วเห็นดังนั้นแล้ว มีความสะดุ้งกลัวเป็นอย่างยิ่ง ลำดับนั้น เสือโคร่ง ถามดาบสชั่วนั้นว่า ท่านฆ่าสัตว์เหล่านี้ กินหรือ? เมื่อได้รับคำตอบว่า เราไม่ได้ฆ่า เราไม่ได้เคี้ยวกิน ดังนี้ จึงกล่าวว่า แน่ะ คนลามก เมื่อท่านไม่ฆ่า คนอื่นใครเล่าจักฆ่า จงบอกมาเถิด เมื่อไม่บอก ท่านต้องตาย ดาบสนั้นกลัวมรณภัย จึงกล่าวว่า ถูกแล้วนาย เราฆ่าลูกเหี้ย ลูกโค และแม่โคกินแล้ว แต่ไม่ได้ฆ่านกกระทา ถึงดาบสนั้น จะพูดอยู่มากมาย เสือโคร่งก็ไม่เชื่อ จึงถามว่า ท่านมาแต่ไหน? เมื่อดาบสนั้น บอกกรรมที่ตนทำทั้งหมดว่า ข้าแต่นาย ฉันนำสินค้าของ พวกพ่อค้า ชาวกลิงครัฐ ไปทำงานอย่างนี้บ้าง อย่างนั้นบ้าง เพื่อเลี้ยงชีพ บัดนี้มาถึงที่นี้ ดังนี้ จึงกล่าวว่า คนลามก เมื่อท่านไม่ฆ่านกกระทา คนอื่นใครเล่าจักฆ่า มาเถิด เราจักนำท่าน ไปสู่สำนักของราชสีห์ ผู้เป็นพระยาเนื้อ แล้วให้ดาบสนั้น เดินหน้า เดินไปพลาง ขู่ไปพลาง.

พระยาราชสีห์ เห็นพระยาเสือโคร่ง นำดาบสนั้นมา เมื่อจะถามพระยาเสือโคร่ง ได้กล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-

ดูก่อนเสือโคร่ง ชื่อว่า สุพาหุ เพราะ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 751

เหตุไรหนอ ท่านจงรีบด่วนกลับมา พร้อมกับมาณพ กิจที่เป็นประโยชน์ของท่าน มีอยู่ในที่นี้หรือ เราขอถามถึง กิจอันเป็นประโยชน์นั้น? ขอท่านจงบอกแก่เรา.

ในคาถานั้น พระยาราชสีห์ทักทาย พระยาเสือโคร่ง โดยชื่อว่า ดูก่อนเสือโคร่ง ชื่อว่า สุพาหุ เพราะกายส่วนข้างหน้า ของพระยาเสือโคร่ง เป็นที่พอใจ ฉะนั้น พระยาราชสีห์จึงกล่าวอย่างนั้น กะพระยาเสือโคร่งนั้น. บทว่า กึ กิจฺจมตฺถํ อิธมตฺถิ ตุยฺหํ ความว่า กรณียกิจ ที่ประกอบด้วยประโยชน์ มีอยู่กับมาณพนี้ ในที่นี้หรือ? ปาฐะว่า ตุยฺหํ กึ กิจฺจมตฺถํ เนื้อความก็อย่างนี้ เหมือนกัน.

พระยาเสือโคร่ง ได้ฟังดังนั้น ได้กล่าวคาถาที่ ๕ ว่า:-

นกกระทาใด ผู้มีรูปงาม ซึ่งเป็นสหายของท่าน เราสงสัยว่า นกกระทานั้น จะถูกฆ่าเสียแล้ว ในวันนี้ เราได้ฟังเหตุทั้งหลาย ที่ต่อเนื่องด้วยการกระทำ ของบุรุษนี้ จึงมิได้สำคัญว่า นกกระทา จะมีความสุขในวันนี้.

นกกระทา ชื่อว่า ททฺทโร ในคาถานั้น. บทว่า ตสฺส วธํ ความว่า เราสงสัยว่า นกกระทาผู้เป็นบัณฑิตนั้น จะถูกบุรุษนี้ฆ่า

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 752

ในวันนี้. บทว่า นาหํ สุขึ ความว่า เรามิได้สำคัญว่า นกกระทาจะมีความสุข คือ ไม่มีโรค ในวันนี้.

พระยาราชสีห์ เมื่อจะถามพระยาเสือโคร่ง ได้กล่าวคาถาที่ ๖ ว่า :-

ในการดำรงชีพของบุรุษนี้ ท่านได้ฟังเหตุการณ์อะไร ที่ต่อเนื่องด้วยการกระทำ ของเขา หรือท่านได้ฟัง คำปฏิญาณอะไร ของบุรุษนี้? จึงสงสัยว่า นกกระทาถูกมาณพนี้ ฆ่าเสียแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสฺสุ เท่ากับ อสฺโสสิ แปลว่า ได้ฟังแล้ว. บทว่า วุตฺติสโมธานตาย คือ ในความประพฤติเลี้ยงชีพ อธิบายว่า บุรุษนี้ ได้บอกการงานอะไรของตน แก่ท่าน. บทว่า มาณเวน ความว่า ท่านได้ฟังคำปฏิญาณอะไร จึงสงสัยว่า นกกระทาถูกมาณพนี้ ฆ่าเสียแล้ว.

ลำดับนั้น พระยาเสือโคร่ง เมื่อจะกล่าวแก่ พระยาราชสีห์ ได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า :-

การค้าขาย อันเป็นของชาวกลิงครัฐ บุรุษนี้ ก็ได้สั่งสมประพฤติมาแล้ว แม้หนทางที่มีหลักตอ ควรรังเกียจ บุรุษนี้ก็ได้ประพฤติเที่ยว

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 753

ไปด้วยการรับจ้าง การฟ้อนรำ ขับร้อง กับคนฟ้อนทั้งหลาย บุรุษนี้ ก็ได้ประพฤติมา ถึงการรบกัน ด้วยท่อนไม้ในท่ามกลางมหรสพ บุรุษนี้ ก็ได้เคยประพฤติมา.

นกทั้งหลาย บุรุษนี้ ก็ได้ดักมาแล้ว การตวงข้าวเปลือก ด้วยเครื่องตวง บุรุษนี้ ก็ได้ตวงมาแล้ว การเล่นสกา บุรุษนี้ ก็ได้ตั้งให้นักเลงสกาเล่นกัน ความสำรวมระวัง บุรุษนี้ ก็ก้าวล่วงเสีย เลือดที่ไหลออกมาตั้งครึ่งคืน บุรุษนี้ ก็คัดให้หยุดได้ มือทั้งสองของบุรุษนี้ มีความร้อนในเวลารับก้อนข้าว.

เราได้ฟังเหตุทั้งหลาย อันเกี่ยวเนื่องด้วยการกระทำ ของบุรุษนี้ ในการดำรงชีพของบุรุษนี้ ดังนี้ กลุ่มขนนกกระทา ยังปรากฏอยู่ที่ชฎา ของบุรุษนี้ วัวทั้งหลาย บุรุษนี้ ก็ได้ฆ่ากินแล้ว ไฉนจะไม่ฆ่านกกระทากินเล่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิณฺณา กลิงฺคา ความว่า ได้ยินว่า แม้การค้าขาย ในกลิงครัฐ เขาผู้ขนสินค้า ของพวกพ่อค้าไปอยู่ ได้สั่งสม

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 754

ประพฤติมาแล้ว คือ กระทำมาแล้ว. บทว่า เวตฺตาจโร คือ พึงเที่ยวไป ด้วยการรับจ้าง. บทว่า สงฺกุปโถปิ จิณฺโณ คือ แม้หนทางที่มีหลักตอ เขาก็ได้ใช้มาแล้ว. บทว่า นเฏหิ คือ ร่วมกับคนฟ้อนทั้งหลาย เพื่อเลี้ยงชีพ. บทว่า จิณฺณํ สห วากุเรหิ ความว่า การขับร้องกับนักขับร้องทั้งหลาย อันเขาผู้นำพวกนักขับร้องไปอยู่ ได้ประพฤติมาแล้ว บทว่า ทณฺเฑน ยุทฺธํ ความว่า ได้ยินว่า ถึงการรบกันด้วยท่อนไม้ เขาก็เคยรบมาแล้ว. บทว่า พนฺธา กุลิกา ความว่า ได้ยินว่า แม้นกทั้งหลาย เขาก็เคยดักมาแล้ว. บทว่า มิตมาฬฺหเกน ความว่า นัยว่า แม้การตวงข้าวเปลือก เขาก็เคยกระทำมาแล้ว. บทว่า. อกฺขา ิตา ความว่า แม้การเล่นสกา เขาก็ได้ตั้ง ให้นักเลงสกาเล่นกัน. บทว่า สญฺโม อพฺภตีโต ความว่า การสำรวมระวังในศีล อันเขาผู้บวช อาศัยเลี้ยงชีพ ก้าวล่วงเสียแล้ว. บทว่า อปฺปหิตํ ได้แก่ คัดไว้แล้ว คือ กระทำไม่ให้ไหลออก.

โลหิต ชื่อว่า ปุปผกะ.

ข้อนี้มีอธิบายว่า ได้ยินว่า บุรุษนี้ ตัดมือ และเท้า ของพวกที่มีความผิด ต่อพระราชา อาศัยเลี้ยงชีวิต แล้วนำคนเหล่านั้น มาให้นอนอยู่ที่ศาลา พอเวลาเที่ยงคืน จึงไปที่ศาลานั้น แล้วใส่ยาชื่อ กัณฑกธูมะ คัดเลือดที่ไหลออกให้หยุดได้. บทว่า หตฺถา ทฑฺฒา ความว่า ได้ยินว่า ในเวลาที่เขาบวชเป็นอาชีวก แม้มือทั้งสองของเขาก็ร้อน เพราะรับก้อนข้าวที่ร้อน. บทว่า ตานิสฺส กมฺมายตนานิ ได้แก่ เหตุเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 755

ที่ต่อเนื่อง ด้วยการกระทำของเขา. บทว่า อสฺสุ เท่ากับ อสฺโสสึ แปลว่า ได้ฟังแล้ว. บทว่า ยถา อยํ ความว่า แม้กลุ่มขนนกกระทานั้น ยังปรากฏอยู่ในระหว่างชฎา ของบุรุษนั้น ด้วยเหตุนี้ เราจึงทราบ ข้อนั้นว่า บุรุษนี้แหละ ฆ่านกกระทานั้น. บทว่า คาโว หตา กึ ปน ททฺทรสฺส ความว่า แม้โคทั้งหลาย บุรุษนี้ก็ได้ฆ่าแล้ว การที่นกกระทา จะไม่ถูกบุรุษนี้ฆ่า จะมีได้อย่างไร เพราะฉะนั้น บุรุษนี้ ต้องฆ่านกกระทาแน่.

ราชสีห์ ถามบุรุษนั้นว่า ท่านฆ่านกกระทาบัณฑิตหรือ? บุรุษ ตอบว่า ถูกแล้วท่าน ราชสีห์ได้ฟังดาบสนั้น รับตามจริง ก็อยากจะปล่อยดาบสนั้นไป แต่พระยาเสือโคร่งกล่าวว่า คนเลวเช่นนี้ ควรให้ตายเสีย แล้วก็เข้ากัดดาบสนั้น ด้วยเขี้ยวให้ตาย แล้วขุดหลุมฝังไว้ ในที่นั้นเอง มาณพทั้งหลายมา ไม่เห็นนกกระทาบัณฑิต ก็พากันร้องไห้คร่ำครวญ กลับไป.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน พระเทวทัตก็พยายามฆ่าเราอย่างนี้ ดังนี้ แล้วทรงประชุมชาดกว่า ชฎิล คือ ดาบสลามกในกาลนั้น ได้มาเป็นพระเทวทัต ในบัดนี้ นางเหี้ย ได้มาเป็นนางกีสาโคตมี เสือโคร่ง ได้มาเป็น พระโมคคัลลานะ ราชสีห์ ได้มาเป็นพระสารีบุตร อาจารย์ทิศาปาโมกข์ ได้มาเป็นพระกัสสปะ นกกระทาบัณฑิต ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถา ติตติรชาดกที่ ๑๒

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 756

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. คิชฌชาดก ๒. โกสัมพิยชาดก ๓. มหาสุวราชชาดก ๔. จุลลสุวกราชชาดก ๕. หริตจชาดก ๖. ปทกุสลมาณวชาดก ๗. โลมสกัสสปชาดก ๘. จักกวากชาดก ๙. หลิททราคชาดก ๑๐. สมุคคชาดก ๑๑. ปูติมังสชาดก ๑๒. ทัททรชาดก.

จบ นวกนิบาต