พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. จตุทวารชาดก ว่าด้วยจักกรดพัดบนศีรษะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ส.ค. 2564
หมายเลข  35901
อ่าน  443

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 757

ทสกนิบาตชาดก

๑. จตุทวารชาดก

ว่าด้วยจักกรดพัดบนศีรษะ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 757

ทสกนิบาตชาดก

๑. จตุทวารชาดก

ว่าด้วยจักกรดพัดบนศีรษะ

[๑๓๑๙] เมืองนี้มีประตู ๔ ประตู มีกำแพงมั่นคง ล้วนแล้วไปด้วยเหล็กแดง ข้าพเจ้าถูกล้อมไว้ด้วยกำแพง ข้าพเจ้าได้ทำบาปอะไรไว้.

[๑๓๒๐] ประตูทั้งหมด จึงปิดแน่น ข้าพเจ้าถูกขังเหมือนนก ข้าแต่เทวดา เหตุเป็นมาอย่างไร ข้าพเจ้าจึงถูกจักรกรดพัดศีรษะ.

[๑๓๒๑] ท่านได้ทรัพย์มากมาย แสนสองหมื่น แล้วยังไม่เชื่อคำของญาติผู้เอ็นดู.

[๑๓๒๒] ท่านแล่นเรือไปสู่สมุทร อันอาจทำให้เรือโลดขึ้นได้ เป็นสาครที่มีสิทธิ์น้อย ได้ประสบนางเวมานิกเปรต ๔ นาง จาก ๔ นางเป็น ๘ นาง จาก ๘ นางเป็น ๑๖ นาง.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 758

[๑๓๒๓] ถึงจะได้ประสบ นางเวมานิกเปรตจาก ๑๖ นางเป็น ๓๒ นาง ก็ยังปรารถนายิ่งไปกว่านั้น จึงได้ประสบจักรนี้ จักรกรดย่อมพัดผัน บนศีรษะของตน ผู้ถูกความอยากครอบงำ.

[๑๓๒๔] ความอยาก เป็นของสูงใหญ่ไพศาล ยากที่จะให้เต็มได้ มักให้ถึงความวิบัติ ชนเหล่าใด ย่อมยินดีไปตามความอยาก ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ทรงจักรกรดไว้.

[๑๓๒๕] ชนเหล่าใด ละสิ่งของที่มีมากเสียด้วย ไม่พิจารณาหนทางด้วย แล้วไม่คิดอ่านเหตุ การณ์นั้นให้ถ่องแท้ ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ทรงจักรกรดไว้.

[๑๓๒๖] ผู้ใดพึงเพ่งพินิจถึงการงาน และโภคะอันไพบูลย์ ไม่ของเสพความอยาก อันประกอบด้วยความฉิบหาย ทำตามถ้อยคำของผู้เอ็นดูทั้งหลาย ผู้เช่นนั้น จะไม่ถูกจักรกรดพัดผัน.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 759

[๑๓๒๗] ข้าแต่ท่านผู้น่าบูชา จักรกรด จักตั้งอยู่บนศีรษะของข้าพเจ้านาน สักเท่าไรหนอ จะสักกี่พันปี ข้าพเจ้าขอถามความนั้น ขอท่านได้โปรดบอกแก่ข้าพเจ้าเถิด.

[๑๓๒๘] ดูก่อนมิตตวินทุกะ ท่านจงฟังเรา ท่านจะต้องทนทุกข์ทรมานไปอีกนาน จักรกรด จะพัดผันอยู่บนศีรษะของท่าน เมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ จะพ้นไปไม่ได้.

จบ จตุทวารชาดกที่ ๑

อรรถกถาชาดก

ทสกนิบาต

อรรถกถาจตุทวารชาดกที่ ๑

พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุว่ายากรูปหนึ่ง. จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า จตุทฺวารมิทํ นครํ ดังนี้ ก็แหละ เรื่องปัจจุบัน บัณฑิตพึงให้พิสดาร ในชาดกเรื่องที่ ๑ ในนวกนิบาต.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 760

สำหรับในที่นี้มีความว่า พระศาสดา ตรัสถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่า เธอเป็นผู้ว่ายากจริงหรือ? เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ แม้ในกาลก่อนเธอก็ไม่เชื่อฟังคำของบัณฑิต ไปยินดีจักรกรด เพราะที่เป็นผู้ว่ายาก ดังนี้ แล้วทรงนำเอา เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งศาสนาพระกัสสปทศพล ในเมืองพาราณสี เศรษฐีมีทรัพย์ ๘๐ โกฏิ มีบุตรคน ๑ ชื่อ มิตตวินทุกะ มารดาบิดา ของมิตตวินทุกะ เป็นพระโสดาบัน. แต่มิตตวินทุกะเป็นคนทุศีล ไม่มีศรัทธา.

ต่อมาเมื่อบิดาตายแล้ว มารดาตรวจตราดูแลทรัพย์สมบัติ วันหนึ่ง กล่าวกะเขาว่า ลูกรัก ความเป็นมนุษย์ เป็นของที่ได้ยาก เจ้าก็ได้แล้ว เจ้าจงให้ทานรักษาศีล กระทำอุโบสถกรรม ฟังธรรมเถิด มิตตวินทุกะ กล่าวว่า แม่ ทานเป็นต้น ไม่เป็นประโยชน์แก่ฉัน แม่อย่าได้กล่าวอะไรๆ กะฉัน ฉันจะไปตามยถากรรม ถึงแม้เขาจะกล่าวอยู่อย่างนี้ วันหนึ่ง เป็นวันบูรณมีอุโบสถ มารดาได้กล่าวกะเขาว่า ลูกรัก วันนี้เป็นวันอภิลักขิตสมัย มหาอุโบสถ วันนี้เจ้าจงสมาทานอุโบสถ ไปวิหารฟังธรรม อยู่ตลอดคืนแล้วจงมา แม่จะให้ทรัพย์แก่เจ้าพันหนึ่ง เขารับคำว่า ดีแล้ว สมาทานอุโบสถ เพราะอยากได้ทรัพย์ พอบริโภคอาหารเช้าแล้ว ไปวิหารอยู่ที่วิหาร ตลอดวัน แล้วนอนหลับอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง ตลอดคืน โดยอาการที่บทแห่งธรรม แม้บท ๑ ก็ไม่กระทบ วันรุ่งขึ้น เขาล้างหน้า ไปนั่งอยู่ที่เรือน แต่เช้าทีเดียว.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 761

ฝ่ายมารดาของเขาคิดว่า วันนี้ลูกของเราฟังธรรมแล้ว จักพาพระเถระ ผู้ธรรมกถึกมาแต่เช้าทีเดียว จึงตกแต่งข้าวยาคู เป็นต้น แล้วปูลาดอาสนะไว้คอยท่าอยู่ ครั้นเห็นเขามาคนเดียว จึงถามว่า ลูกรัก เจ้าไม่ได้นำ พระธรรมกถึกมาหรือ? เมื่อเขากล่าวว่า ฉันไม่ต้องการพระธรรมกถึก จึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ลูกจงดื่มข้าวยาคูเถิด เขากล่าวว่า แม่รับว่า จะให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่ฉัน แม่จะให้ทรัพย์แก่ฉันก่อน ฉันจักดื่มภายหลัง มารดากล่าวว่า ดื่มเถิดลูกรัก แล้วแม่จักให้ทีหลัง เขากล่าวว่า ฉันต้องได้รับทรัพย์ก่อนจึงจะดื่ม ลำดับนั้น มารดาได้เอาห่อทรัพย์พันหนึ่ง วางไว้ต่อหน้าเขา เขาดื่มข้าวยาคูแล้ว ถือเอาห่อทรัพย์พันหนึ่ง ไปทำการค้าขาย ในไม่ช้านักก็เกิดทรัพย์ขึ้นถึงแสนสองหมื่น. ลำดับนั้น เขาได้มีความคิดดังนี้ว่า เราจักต่อเรือทำการค้าขาย ครั้นเขาต่อเรือแล้ว ได้กล่าวกะมารดาว่า แม่ ฉันจักทำการค้าขายทางเรือ ครั้งนั้น มารดาได้ห้ามเขาว่า ลูกรัก เจ้าเป็นลูกคนเดียวของแม่ แม้ในเรือนนี้ ก็มีทรัพย์อยู่มาก ทะเลมีโทษไม่น้อย เจ้าอย่าไปเลย เขากล่าวว่า ฉันจักไปให้ได้ แม่ไม่มีอำนาจที่จะห้ามฉัน แม้เมื่อมารดากล่าวว่า ลูกรัก แม่ต้องห้ามเจ้า แล้วจับมือเอาไว้ ก็สลัดมือผลัก มารดาให้ล้มลง แล้วข้ามไปลงเรือแล่นไปในทะเล.

ครั้นถึงวันที่ ๗ เรือได้หยุดนิ่ง อยู่บนหลังน้ำกลางทะเล เพราะมิตตวินทุกะ เป็นเหตุ สลากกาลกัณณี ที่แจกไป ได้ตกในมือของมิตต-

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 762

วินทุกะคนเดียว ถึงสามครั้ง ครั้งนั้น พวกที่ไปด้วยกัน ได้ผูกแพให้เขา แล้วโยนเขาลงทะเล โดยที่คิดเห็นร่วมกันว่า คนเป็นจำนวนมาก อย่ามาพินาศเสีย เพราะอาศัยนายมิตตวินทุกะนี้ คนเดียวเลย ทันใดนั้น เรือได้แล่นไปในมหาสมุทรโดยเร็ว มิตตวินทุกะ นอนไปในแพลอยไป ถึงเกาะน้อยแห่งหนึ่ง บนเกาะน้อยนั้น เขาได้พบนางชนี คือ นางเวมานิกเปรต ๔ นาง อยู่ในวิมานแก้วผลึก นางเปรตเหล่านั้น เสวยทุกข์ ๗ วัน เสวยสุข ๗ วัน มิตตวินทุกะ ได้เสวยทิพยสมบัติ อยู่กับนางเปรตเหล่านั้น ๗ วันในสาระสุข ครั้นถึงวาระที่จะเปลี่ยนไปทนทุกข์ นางทั้ง ๒ ได้ สั่งว่า นาย พวกฉันจักมาในวันที่ ๗ ท่านอย่ากระสันไปเลย จงอยู่ในที่นี้ จนกว่าพวกฉันจะมา ดังนี้แล้ว พากันไป มิตตวินทุกะ เป็นคนตกอยู่ในอำนาจของตัณหา ลงนอนบนแพนั้น ลอยไปตามหลังสมุทรอีก ถึง เกาะน้อยอีกแห่งหนึ่ง ได้พบนางเปรต ๘ นาง ในวิมานเงิน บนเกาะนั้น ได้พบนางเปรต ๑๖ นาง ในวิมานแก้วมณี บนเกาะอีกแห่งหนึ่ง ได้พบนางเปรต ๓๒ นาง ในวิมานทอง บนเกาะอีกแห่งหนึ่ง โดยอุบายนี้แหละ ได้เสวยทิพยสมบัติ อยู่กับนางเปรตเหล่านั้น ทุกๆ เกาะ ดังกล่าวแล้ว เมื่อถึงเวลาที่นางเปรตแม้เหล่านั้น ไปทนทุกข์ ได้นอนบนหลังแพลอย ไปตามห้วงสมุทรอีก ได้พบเมืองๆ หนึ่ง มีกำแพงล้อมรอบ มีประตู ๔ ด้าน ได้ยินว่าที่นี่ เป็นอุสสทนรก เป็นที่เสวยกรรมกรณ์ของเหล่าสัตว์ นรกเป็นจำนวนมาก แต่ได้ปรากฏแก่มิตตวินทุกะ เหมือนเป็นเมืองที่

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 763

ประดับตกแต่งไว้ เขาคิดว่า เราจักเข้าไปเป็นพระราชาในเมืองนี้ แล้วเข้าไป ได้เห็นสัตว์นรกตน ๑ ทูนจักรกรด หมุนเผาผลาญอยู่บนศีรษะ ขณะนั้น จักรกรดบนศีรษะสัตว์นรกนั้น ได้ปรากฏแก่มิตตวินทุกะ เป็นเหมือนดอกบัว เครื่องจองจำ ๕ ประการที่อก ปรากฏเหมือนเป็นสังวาลย์ เครื่องประดับทรวง โลหิตที่ไหลจากศีรษะ เหมือนเป็นจันทน์แดง ที่ชะโลมทา เสียงครวญครางเหมือนเป็นเสียงเพลงขับที่ไพเราะ มิตตวินทุกะ เข้าไปใกล้สัตว์นรกนั้น แล้วกล่าวขอว่า ข้าแต่บุรุษผู้เจริญ ท่านได้ทัดทรงดอกบัวมานานแล้ว จงได้แก่ข้าพเจ้าเถิด สัตว์นรกกล่าวว่า แน่ะสหาย นี้ไม่ใช่ดอกบัวมันคือ จักรกรด มิตตวินทุกะกล่าวว่า ท่านพูดอย่างนี้ เพราะไม่อยากจะให้แก่เรา สัตว์นรกคิดว่า บาปของเราคงสิ้นแล้ว แม้บุรุษผู้นี้ ก็คงจะทุบตีมารดามาแล้ว เหมือนเรา เราจักให้จักรกรดแก่มัน ครานั้นสัตว์นรก ได้กล่าวกะมิตตวินทุกะว่า มาเถิดท่านผู้เจริญ ท่านจงรับดอกบัวนี้เถิด แล้วขว้างจักรกรด ไปบนศีรษะของมิตตวินทุกะ จักรกรดได้ตกลงพัดผันบนศีรษะเขา ขณะนั้นมิตตวินทุกะ จึงรู้ว่าดอกบัวนั้น คือ จักรกรด ได้รับทุกขเวทนาเป็นกำลัง คร่ำครวญว่า ท่านจงเอาจักรกรดของท่านไปเถิดๆ สัตว์นรกตนนั้น ได้หายไปแล้ว.

คราวนั้น พระโพธิสัตว์ เสวยพระชาติเป็นรุกขเทวดา พร้อมด้วยบริวารใหญ่ เที่ยวจาริกไปในอุสสทนรก ได้ไปถึงที่นั้น มิตตวินทุกะแลเห็นรุกขเทวดา เมื่อจะถามว่า ข้าแต่เทวราชเจ้า จักรนี้ลงบดศีรษะ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 764

ประหนึ่งว่า จะทำให้แหลกเหมือนเมล็ดงา ข้าพเจ้าได้กระทำบาปอะไร ไว้หนอ ดังนี้ จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

เมืองนี้มีประตู ๔ ประตู. มีกำแพงมั่นคง ล้วนแล้วไปด้วยเหล็กแดง ข้าพเจ้าถูกล้อมไว้ ด้วยกำแพง ข้าพเจ้าได้ทำบาปอะไรไว้.

ประตูทั้งหมด จึงปิดแน่น ข้าพเจ้าถูกขัง เหมือนนก ข้าแต่เทวดา เหตุเป็นมาอย่างไร ข้าพเจ้าจึงถูกจักรกรดพัดศีรษะ?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทฬฺหปาการํ คือ มีกำแพงมั่นคง บาลีว่า ทฬฺหโตรณํ ดังนี้ก็มี ความว่า มีประตูมั่นคง. บทว่า โอรุทฺธปฏิ รุทฺโธสฺมิ ความว่า ข้าพเจ้าถูกล้อมด้วยกำแพงโดยรอบ ติดขังอยู่ข้างใน สถานที่สำหรับหนีไป ไม่ปรากฏ. บทว่า กึ ปาปํ ปกตํ ความว่า ข้าพเจ้าได้ทำบาปอะไรไว้หนอ. บทว่า อปิหิตา เท่ากับ ถกิตา แปลว่า อันเขาปิดไว้แล้ว. บทว่า ยถา ทิโช คือ เหมือน นกที่ถูกขังไว้ ในกรง. บทว่า กิมา ธิกรณํ ความว่า มูลเหตุเป็นอย่างไร? คือ มูลเค้าเป็นอย่างไร? บทว่า จกฺกาภินิหโต คือ ถูกจักรกรดพัดผันแล้ว.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 765

ลำดับนั้น เทวราช เมื่อจะบอกเหตุแก่เขา จึงได้กล่าวคาถา ๖ คาถาว่า :-

ท่านได้ทรัพย์มากมาย แสนสองหมื่นแล้ว ยังไม่เชื่อคำของญาติผู้เอ็นดู.

ท่านแล่นเรือไปสู่สมุทร อันอาจทำให้เรือโลดขึ้นได้ เป็นสาครที่มีสิทธิ์น้อย ได้ประสบนางเวมานิกเปรต ๔ นาง จาก ๔ นางเป็น ๘ นาง จาก ๘ นางเป็น ๑๖ นาง.

ถึงจะได้ประสบ นางเวมานิกเปรตจาก ๑๖ นางเป็น ๓๒ นาง ก็ยังปรารถนายิ่งไปกว่านั้น จึงได้ประสบจักรนี้ จักรกรดย่อมพัดพัน บนศีรษะของคน ผู้ถูกความอยากครอบงำ.

ความอยาก เป็นของสูงใหญ่ไพศาล ยากที่จะให้เต็ม มักให้ถึงความวิบัติ ชนเหล่าใด ย่อมยินดีไปตามความอยาก ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ทรงจักรกรดไว้.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 766

ชนเหล่าใด ละสิ่งของที่มีมากเสียด้วย ไม่พิจารณาหนทางด้วย แล้วไม่คิดอ่านเหตุการณ์นั้น ให้ถ่องแท้ ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ทรงจักรกรดไว้.

ผู้ใดพึงเพ่งพินิจ ถึงการงาน และโภคะอันไพบูลย์ ไม่ซ่องเสพความอยาก อันประกอบด้วยความฉิบหาย ทำตามถ้อยคำ ของผู้เอ็นดูทั้งหลาย ผู้เช่นนั้น จะไม่ถูกจักรกรดพัดผัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลทฺธา สตสหสฺสานิ อติเรกานิ วีสติ ความว่า ท่านทำอุโบสถ ได้รับทรัพย์พันหนึ่ง จากสำนักของมารดา เมื่อทำการค้าขาย จึงได้ทรัพย์ คือ ที่เป็นทุนพันหนึ่ง และทรัพย์ที่เป็นกำไร ตั้งหนึ่งแสนสองหมื่นแล้ว. ด้วยบทว่า นากริ นี้ เทวราช แสดงไว้ว่า ท่านไม่ยินดีด้วยทรัพย์นั้น แล่นเรือไปสู่สมุทร แม้ถูกมารดา กล่าวถึงโทษในสมุทรแล้ว ห้ามอยู่ ก็ยังไม่เชื่อคำเตือน โดยชอบของญาติผู้เอ็นดู กลับทำร้ายมารดาผู้โสดาบัน แล้วฉวยโอกาสหนีออกไป. บทว่า ลงฺฆึ คือ อันสามารถทำให้เรือโลดขึ้นได้. บทว่า ปกฺขนฺทิ เท่ากับ ปกฺขนฺโตสิ แปลว่า ท่านเป็นผู้แล่นเรือไปแล้ว. บทว่า อปฺปสิทฺธิกํ คือ ที่มีสิทธิน้อย มากด้วยความพินาศ. บทว่า จตุพฺภิ อฏฺ เป็นต้น

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 767

ความว่า ครั้นเรือหยุดนิ่งแล้ว เพราะอาศัยท่านเป็นเหตุ แม้ถูกพวกที่ไปด้วยกัน ผูกแพให้ แล้วโยนลงทะเล ท่านยังได้หญิง ๔ คน ในวิมานแก้วผลึก เพราะอานิสงส์แห่งอุโบสถกรรม ที่ตนได้กระทำในวันหนึ่ง เพราะอาศัยมารดา ต่อจากนั้นก็ได้ให้หญิงอีก ๘ คน ในวิมานเงิน ๑๖ คน ในวิมานแก้วมณี และ ๓๒ คน ในวิมานทอง. บทว่า อติจฺฉํ จกฺกมาสโท ความว่า ถึงกะนั้น ท่านก็ยังไม่ยินดี ด้วยปัจจัยตามที่ได้ ชื่อว่า เป็นผู้ปรารถนามากเกินไป เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยความปรารถนา เกินความจำเป็น กล่าวคือ ความอยากยิ่ง อันเป็นเครื่องเกินเลย สิ่งที่ตนได้มาแล้วๆ อย่างนี้ว่า เราจักได้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ ในสิ่งนี้ ดังนี้ จักว่าเป็นบุคคลเลวทราม เพราะความที่อุโบสถกรรมนั้น สิ้นแล้ว จึงได้ผ่านพ้น หญิง ๓๒ คน แล้วมาสู่เปรตนครนี้ เพราะวิบากแห่งอกุศลกรรม คือ การทำร้ายมารดานั้น จึงได้ประสบจักรนี้ บาลีว่า อตฺริจฺฉํ ดังนี้ก็มี ความว่า ปรารถนาอยู่ในสิ่งนี้บ้าง สิ่งนั้นบ้าง บาลีว่า อตฺริจฺฉา ดังนี้ก็มี ความว่า เพราะปรารถนาเกินเลยไป. บทว่า ภมติ ความว่า บัดนี้ จักรนี้บดศีรษะของท่านนั้นอยู่ ชื่อว่า พัดผันบนศีรษะของคน ที่ถูกความอยาก ครอบงำแล้ว ดุจจักรของนายช่างหม้อ ฉะนั้น. บทคาถาว่า เย จ ตํ อนุคิชฺฌนฺติ ความว่า ขึ้นชื่อว่า ความอยากนั้น เมื่อแผ่ไป ย่อมเป็นของสูงใหญ่ไพศาล ยากที่จะเต็มได้ดุจทะเล ชื่อว่า มักให้ถึงความวิบัติ เพราะความปรารถนา อันเป็นเครื่องปรารถนาอารมณ์นั้นๆ ในบรรดาอารมณ์ มีรูป เป็นต้น ชนเหล่าใด ย่อมยินดีไปตามความอยาก เห็นปานนี้

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 768

นั้น คือ เป็นผู้กำหนัดยินดี ติดอยู่บ่อยๆ. บทว่า เต โหนฺติ จกฺกธาริโน ความว่า ชนเหล่านั้น ไปอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมทรงไว้ซึ่งจักรกรด. บทว่า พหุภณฺฑํ คือ ละทรัพย์เป็นอันมาก อันเป็นของมารดาบิดา. บทว่า มคฺคํ ความว่า ชนแม้เหล่าอื่น เหล่าใด ไม่ใคร่ครวญ คือ ไม่คิดอ่านเหตุการณ์นั้น ให้ถ่องแท้ เหมือนท่านไม่พิจารณา หนทางสมุทร อันมีสิทธิน้อย ที่ตนจะต้องไปแล้ว เดินทางไป ชนเหล่านั้น เป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจของความอยาก ละทรัพย์แล้ว ไม่พิจารณาทางที่จะไป แล้วดำเนินไป ย่อมเป็นผู้ทรงจักรไว้เหมือนท่าน บทว่า กมฺมํ สเมกฺเขยฺย ความว่า เพราะเหตุนั้น บุรุษผู้เป็นบัณฑิต พึงเพ่งพินิจ คือ พึงพิจารณาถึงกิจการงาน ที่ตนจะต้องทำว่า มีโทษหรือไม่หนอ. บทว่า วิปุลญฺจ โภคํ คือ พึงเพ่งพินิจ แม้กองแห่งทรัพย์ ที่ได้มาโดยชอบธรรมของตน. บทว่า นาติวเตยฺย ความว่า บุคคลผู้เช่นนั้น จะไม่ถูกจักรนี้พัดผัน คือ ทับยี บาลีว่า นาติวตฺเตติ ดังนี้ก็มี ความว่า ย่อมไม่ทับยี.

มิตตวินทุกะ ได้ฟังดังนั้นแล้ว คิดว่า เทวบุตรนี้ รู้กรรมที่เราทำไว้ โดยถ่องแท้ เทวบุตรนี้ คงจะรู้กำหนดกาล ที่เราจะหมกไหม้อยู่ เราจะถามท่านดู ดังนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถาที่ ๙ ว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้น่าบูชา จักรกรดจักตั้งอยู่ บนศีรษะของข้าพเจ้านานสักเท่าไรหนอ จะ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 769

สักกี่พันปี ข้าพเจ้าขอถามความนั้น ขอท่านได้โปรดบอก แก่ข้าพเจ้าเถิด.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ เมื่อจะบอกแก่มิตตวินทุกะนั้น จึงได้ กล่าวคาถาที่ ๑๐ ว่า :-

ดูก่อนมิตตวินทุกะ ท่านจงฟังเรา ท่านจะต้องทนทุกข์ทรมานไปอีกนาน จักรกรดจะพัดผัน อยู่บนศีรษะของท่าน เมื่อท่านยังมีชีวิต อยู่จะพ้นไปไม่ได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อติสโร มีวินิจฉัยว่า ชื่อว่า อติสโร เพราะอรรถว่า อติสริ ดังนี้บ้าง เพราะอรรถว่า อติสริสฺสติ ดังนี้บ้าง. บทว่า อจฺจสโร เป็นไวพจน์ของบทว่า อติสโร นั้น นั่นเอง.

ข้อนี้มีอธิบายว่า ดูก่อนมิตตวินทุกะผู้เจริญ ท่านจงฟังคำของเรา ก็ท่านชื่อว่า จะต้องทนทุกข์ทรมาน ไปสิ้นกาลนาน เพราะความที่แห่งกรรมอันทารุณยิ่ง เป็นกรรมอันท่านกระทำแล้ว อนึ่ง ท่านจะต้องทนทุกข์ทรมานไป สิ้นกาลนาน เพราะวิบากแห่งกรรมนั้น ใครๆ ไม่สามารถ จะบอกให้รู้ได้ ด้วยการนับเป็นปี และเพราะท่านจักต้องทน คือ จักต้องถึงวิบากทุกข์อันใหญ่ยิ่ง ซึ่งหาประมาณมิได้ เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่สามารถ ที่จะบอกแก่ท่านได้ว่า เท่านี้พันปี เท่านี้แสนปี ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 770

บทว่า สิรสฺมิมาวิทธํ ความว่า ก็จักรกรดนี้ใดพัดผัน คือ หมุนไปอยู่บนศีรษะของท่าน ดุจจักรของนายช่างหม้อ ฉะนั้น. บทว่า น ตฺวํ ชีวํ ปโมกฺขสิ ความว่า ตราบใด ที่วิบากกรรมของท่าน ยังไม่สิ้นไป ตราบนั้น เมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ จักพ้นจักรกรดนั้น ไปไม่ได้ แต่เมื่อวิบากกรรมสิ้นไปแล้ว ท่านก็จักละจักรกรดนี้ ไปตามยถากรรม.

ครั้นเทวบุตร กล่าวคาถานี้แล้ว ก็ได้ไปเทพวิมานของตน ส่วนมิตตวินทุกะ ก็ได้ดำเนินไปสู่ทุกข์ใหญ่.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาแล้ว ทรงประชุมชาดก มิตตวินทุกะ ในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุว่ายากรูปนี้ ในบัดนี้ ส่วนเทวราชในครั้งนั้น คือ เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถา จตุทวารชาดกที่ ๑