พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. กุกกุฏชาดก ว่าด้วยพ้นศัตรูเพราะรู้เท่าทัน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ส.ค. 2564
หมายเลข  35910
อ่าน  423

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 893

๑๐. กุกกุฏชาดก

ว่าด้วยพ้นศัตรูเพราะรู้เท่าทัน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 893

๑๐. กุกกุฏชาดก

ว่าด้วยพ้นศัตรูเพราะรู้เท่าทัน

[๑๔๒๒] บุคคลไม่พึงคุ้นเคย ในคนทำบาป คนมักพูดเหลาะแหละ คนมีปัญญา คิดแต่ประโยชน์ตน คนแสร้งทำสงบเสงี่ยม แต่ภายนอก.

[๑๔๒๓] มีคนพวกหนึ่ง มีปกติเหมือนโคกระหายน้ำ ทำทีเหมือนจะกล้ำกลืนมิตร ด้วยวาจา แต่ไม่ใช่ด้วยการงาน ไม่ควรคุ้นเคย ในคนเช่นนี้.

[๑๔๒๔] คนพวกหนึ่ง เป็นคนชูมือเปล่า พัวพันอยู่แต่ด้วยวาจา เป็นมนุษย์กระพี้ ไม่มีความกตัญญู ไม่ควรนั่งใกล้คนเช่นนั้น.

[๑๔๒๕] บุคคลไม่ควรคุ้นเคย ต่อสตรี หรือบุรุษ ผู้มีจิตกลับกลอก ไม่ทำความเกี่ยวข้อง ให้แจ้งชัดด้วยเหตุต่างๆ.

[๑๔๒๖] ไม่ควรคุ้นเคยกับบุคคล ผู้หยั่งลงสู่กรรม อันไม่ประเสริฐ เป็นคนไม่แน่นอน กำ-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 894

จัดคน ไม่เหลือกหน้า เหมือนดาบที่เขาลับแล้ว ปกปิดไว้ ฉะนั้น.

[๑๔๒๗] คนบางพวกในโลกนี้ คอยเพ่งโทษ เข้าไปหา ด้วยอุบายต่างๆ ด้วยคำพูดอันคมคาย ซึ่งไม่ตรงกับน้ำใจ ด้วยสามารถแห่งคนเทียมมิตร แม้คนเช่นนี้ ก็ไม่ควรคุ้นเคย.

[๑๔๒๘] คนมีความคิดชั่ว เช่นนั้น พบเห็นอามิส หรือทรัพย์ เข้า ณ ที่ใด ย่อมคิดประทุษร้าย และครั้นได้แล้ว ก็ละสหายนั้นไป.

[๑๔๒๙] มีคนจำนวนมาก ที่ปลอมเป็นมิตร มาคบหา บุคคลพึงละ บุรุษชั่วเหล่านั้นเสีย เหมือนไก่ละเหยี่ยว ฉะนั้น.

[๑๔๓๐] อนึ่ง บุคคลใด ไม่รู้เท่าเหตุที่เกิดขึ้น ได้ฉับพลัน หลงไปตามอำนาจศัตรู บุคคลนั้น ย่อมเดือดร้อน ในภายหลัง.

[๑๔๓๑] ส่วนบุคคลใด รู้เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้น ได้ฉับพลัน บุคคลนั้น ย่อมพ้นจากการเบียดเบียน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 895

ของศัตรู เหมือนไก่พ้นจากเหยี่ยว ฉะนั้น.

[๑๔๓๒] คนผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา ควรเว้นบุคคล ผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม มักทำการกำจัดอยู่เป็นนิตย์ เหมือนแร้ว ที่เขาดักไว้ในป่า เช่นนั้น เสียให้ห่างไกล เหมือนไก่ในป่าไผ่ ละเว้นเหยี่ยว ฉะนั้น.

จบ กุกกุฏชาดกที่ ๑๐

อรรถกถากุกกุฏชาดกที่ ๑๐

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน ทรงปรารภ ความพยายามปลงพระชนม์ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า นาสฺมเส กตปาปมฺหิ ดังนี้.

ความย่อว่า ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันในธรรมสภา ถึงความไม่ดี ของพระเทวทัตว่า อาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตทำอุบาย เพื่อจะปลงพระชนม์พระทศพล ด้วยการวางนายขมังธนูเป็นต้น. พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ นั่งสนทนากัน ถึงเรื่องอะไร? เมื่อภิกษุเหล่านั้น กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่พระเทวทัต พยายามฆ่าเรา แม้

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 896

ในกาลก่อน พระเทวทัต ก็พยายามฆ่าเราเหมือนกัน แล้วได้ทรงนำเอา เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามว่า โกสัมพิกะ ครองราชสมบัติ อยู่ในพระนครโกสัมพี. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติ เป็นไก่ ณ ป่าไผ่แห่งหนึ่ง มีไก่หลายร้อยเป็นบริวาร อยู่ในป่า. เหยี่ยวตัวหนึ่ง อยู่ ณ ที่ใกล้ๆ กันนั้น มันใช้อุบายจับไก่ กินทีละตัวๆ กินจนหมด นอกจากพระโพธิสัตว์อยู่ตัวเดียว เป็นผู้ไม่ประมาท เที่ยวหาอาหารตามเวลา แล้วก็เข้าไปอยู่ ณ เชิงไผ่. เหยี่ยวนั้น ไม่อาจจับไก่พระโพธิสัตว์นั้นได้ จึงคิดว่า เราจักใช้อุบายอย่างหนึ่ง ล่อลวงจับไก่นั้น กินให้ได้. แล้วเข้าไปแอบ อยู่ที่กิ่งไม้ใกล้ๆ กันนั้น กล่าวว่า แน่ะพญาไก่ผู้เพื่อน ท่านกลัวเรา เพราะเหตุไร? เราต้องการทำความคุ้นเคยกับท่าน ประเทศชื่อโน้นสมบูรณ์ ด้วยอาหาร เราทั้งสองไปหาอาหารกันที่นั้น แล้วจักอยู่ อย่างมีความรักใคร่กันและกัน.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์กล่าวกะเหยี่ยวว่า แน่ะเพื่อน เราจะมีความคุ้นเคยกะเจ้า ไม่ได้ เจ้าไปเถิด. เหยี่ยวถามว่า แน่ะเพื่อน ท่านไม่เชื่อเรา เพราะเราเคยทำความชั่วมาแล้ว. ตั้งแต่นี้ไป เราจักไม่ทำเช่นนั้นอีก พระโพธิสัตว์ตอบว่า เราไม่ต้องการสหายเช่นเจ้า เจ้าจงไปเสียเถิด. พระโพธิสัตว์ห้ามเหยี่ยว ทำนองนี้ถึง ๓ ครั้ง แล้วส่งเสียงขัน ก้องป่าว่า ใครๆ ไม่ควรทำความคุ้นเคย กับผู้ที่ประกอบด้วยลักษณะ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 897

เช่นนี้ ดังนี้ เมื่อเทวดาทั้งหลาย พากันแซ่ซ้องสาธุการ เมื่อจะเริ่มธรรมกถา ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

บุคคลไม่พึงคุ้นเคย ในคนทำบาป คนมักพูดเหลาะแหละ คนมีปัญญา คิดแต่ประโยชน์ตน คนแสร้งทำสงบเสงี่ยม แต่ภายนอก.

มีคนพวกหนึ่ง มีปกติเหมือนโคกระหายน้ำ ทำทีเหมือนจะกล้ำกลืนมิตร ด้วยวาจา แต่ ไม่ใช่ด้วยการงาน ไม่ควรคุ้นเคย ในคนเช่นนั้น.

คนพวกหนึ่ง เป็นคนชูมือเปล่า พัวพันอยู่แต่ด้วยวาจา เป็นมนุษย์กระพี้ ไม่มีความ กตัญญู ไม่ควรนั่งใกล้ คนเช่นนั้น.

บุคคลไม่ควรคุ้นเคย ต่อสตรี หรือบุรุษ ผู้มีจิตกลับกลอก ไม่ทำความเกี่ยวข้อง ให้แจ้งชัดด้วยเหตุต่างๆ.

ไม่ควรคุ้นเคยกับบุคคล ผู้หยั่งลงสู่กรรมอันไม่ประเสริฐ เป็นคนไม่แน่นอน กำจัดคนไม่เลือกหน้า เหมือนดาบที่เขาลับแล้ว ปกปิดไว้ ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 898

คนบางพวกในโลกนี้ คอยเพ่งโทษ เข้าไปหา ด้วยอุบายต่างๆ ด้วยคำพูดอันคมคาย ซึ่งไม่ตรงกับน้ำใจ ด้วยสามารถแห่งคนเทียมมิตร แม้คนเช่นนี้ ก็ไม่ควรคุ้นเคย.

คนมีความคิดชั่ว เช่นนั้น พบเห็นอามิส หรือทรัพย์ เข้า ณ ที่ใด ย่อมคิดประทุษร้าย และครั้นได้แล้ว ก็ละสหายนั้นไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาสฺมเส แปลว่า ไม่พึงคุ้นเคย อีกอย่างหนึ่ง พระบาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน มีคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า บุคคลไม่ควรคุ้นเคย. บทว่า กตปาปมฺหิ คือ ในคนทำบาปไว้ครั้งแรก. บทว่า อลิกวาทิเน คือ ไม่พึงคุ้นเคย แม้ในคนที่มักพูดเท็จ เพราะว่า ขึ้นชื่อว่า บาปที่บุคคล ผู้มักพูดเท็จนั้น ไม่พึงทำ ย่อมไม่มี.

บทว่า นาสฺมเส อตฺตตฺถปญฺมฺหิ ความว่า บุคคลใดมีปัญญา คิดแต่ประโยชน์ตนเท่านั้น คือ ไม่ได้คบ ด้วยสามารถแห่งเสน่หา แต่มีความต้องการทรัพย์เหล่านั้น จึงคบ แม้ในบุคคลผู้มีปัญญา คิดแต่ประโยชน์ตนนั้น ก็ไม่ควรคุ้นเคย. บทว่า อติสนฺเต ได้แก่ ในบุคคล ผู้แสร้งทำสงบเสงี่ยม ด้วยการแสดงความสงบ ในภายนอก ทั้งๆ ที่ความสงบในภายใน ไม่มีอยู่เลย คือ ในบุคคลผู้หลอกลวง ผู้ปกปิดการงาน ผู้เช่นกับอสรพิษ ที่ปกปิดรู.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 899

บทว่า โคปิปาสกชาติกา คือ ราวกะมีชาติ กระหายน้ำ แห่งโคทั้งหลาย อธิบายว่า เป็นเช่นกับด้วยโคที่กระหายน้ำ พระโพธิสัตว์แสดง ความนี้ไว้ว่า เปรียบเหมือนโค ตัวที่กระหายน้ำ ลงสู่ท่า แล้วดื่มน้ำจนเต็มปาก แต่ไม่กระทำ สิ่งที่ควรกระทำแก่น้ำอีก ฉันใด บุคคลบางพวกก็ฉันนั้น เหมือนกัน ทำทีจะกล้ำกลืนมิตร ด้วยคำอันอ่อนหวานว่า จะทำสิ่งโน้น สิ่งนี้ให้ แต่แล้วก็ไม่กระทำสิ่งที่ควรแก่คำอันไพเราะ ความคุ้นเคยในบุคคลเช่นนั้น ย่อมเป็นไป เพื่อความฉิบหาย อันใหญ่หลวง.

บทว่า สุกฺขญฺชลิปคฺคหีตา คือ เป็นคนชูมืออันเปล่า. บทว่า วาจาย ปลิคุณฺิตา คือ ปกปิดด้วยคำว่า จักให้ จักทำสิ่งนั้น. บทว่า มสุสฺเผคฺคู ความว่า มนุษย์ผู้หาแก่นสารมิได้ เห็นปานนี้ ชื่อว่า เป็นมนุษย์กระพี้. บทว่า นาสิเท ได้แก่ ไม่ควรนั่งใกล้ คือ ไม่ควรเข้าไปใกล้ ในบุคคลนั้น เห็นปานนี้.

บทว่า ยสฺมึ นตฺถิ ความว่า อนึ่ง ความกตัญญู ไม่มีในบุคคลใด แม้ในบุคคลนั้น ก็ไม่ควรนั่งใกล้. บทว่า อญฺญฺจิตฺตานํ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยจิต อันไม่แน่นอน อธิบายว่า ผู้มีจิตกลับกลอก. พระโพธิสัตว์ แสดงความนี้ไว้ว่า บุคคลไม่ควรคุ้นเคย ต่อสตรี หรือบุรุษ ผู้เห็นปานนี้.

บทว่า นานา วิกตฺวา สํสคฺคํ พระโพธิสัตว์แสดงว่า แม้บุคคลใด กระทำความเกี่ยวข้อง ให้แจ้งชัด คือ กระทำให้มั่น ด้วยเหตุต่างๆ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 900

เพื่อจะทำอันตราย ด้วยโวหารว่า ใครๆ ไม่อาจ เพื่อไม่เข้าไปทำ สิ่งที่ไม่เป็นอันตรายแก่เขาได้. ดังนี้ แล้วทำอันตรายในภายหลัง บุคคลแม้เช่นนั้น ก็ไม่ควรคุ้นเคย คือ ไม่ควรสนิทสนม.

บทว่า อนริยกมฺมํ โอกฺกนฺตํ ได้แก่ ผู้หยั่งลงสู่กรรมของผู้ไม่ประเสริฐ คือ ผู้ทุศีลทั้งหลายดำรงอยู่. บทว่า อิตํ ได้แก่ ผู้ไม่มั่นคง คือ ผู้มีคำพูดอันไม่แน่นอน.

บทว่า สพฺพฆาตินํ คือ ผู้ได้โอกาสแล้ว ทำการกำจัดบุคคล ไม่เลือกหน้า. บทว่า นิสิตํว ปฏิจฺฉนฺนํ คือ เหมือนดาบที่ลับแล้ว ปกปิดไว้ด้วยฝัก หรือเศษผ้า ฉะนั้น. บทว่า ตาทิสํปิ ความว่า บุคคลไม่ควรคุ้นเคย คนผู้มิใช่มิตร ผู้เป็นคนเทียมมิตร แม้เห็นปานนี้.

บทว่า สาขลฺเยน คือ ด้วยคำพูดอันคมคาย. บทว่า อเจตสา แปลว่า อันไม่ตรงกับน้ำใจ จริงอยู่ คำพูดของบุคคลเหล่านั้น เท่านั้น กลมกล่อม ส่วนจิตกระด้างหยาบคาย คนบางพวกในโลกนี้ คอยเพ่งโทษ เข้าไปหาด้วยอุบายต่างๆ. บทว่า ตาทิสํปิ ความว่า คนใดเป็นเช่นกับ ด้วยคนผู้มิใช่มิตร ผู้เป็นคนเทียมมิตรเหล่านั้น คนแม้เช่นนั้น ก็ไม่ควรคุ้นเคย.

บทว่า อามิสํ ได้แก่ ของควรเคี้ยว และของควรบริโภค. บทว่า ธนํ ได้แก่ สิ่งของที่เหลือตั้งต้น แต่ขาเตียง. บทว่า ยตฺถ ปสฺสติ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 901

คือ เห็น ณ ที่ใด ในเรือนของสหาย. บทว่า ทุพฺภึ กโรติ ได้แก่ ให้จิตคิดประทุษร้าย เกิดขึ้น คือ นำทรัพย์นั้นไป. บทว่า ตญฺจ หิตฺวาน คือ ครั้นได้ก็ละสหายแม้นั้นไป.

พญาไก่ ได้กล่าวคาถา ๗ คาถาด้วยประการดังนี้ :-

พระศาสดา ผู้เป็นธรรมราชา ได้ทรงภาษิต อภิสัมพุทธคาถา ๔ คาถาดังนี้ว่า :-

มีคนเป็นจำนวนมาก ที่ปลอมเป็นมิตรมาคบหา บุคคลพึงละ บุรุษชั่วเหล่านั้นเสีย เหมือนไก่ละเหยี่ยว ฉะนั้น.

อนึ่ง บุคคลใด ไม่รู้เท่าเหตุที่เกิดขึ้นได้ ฉับพลัน หลงไปตามอำนาจศัตรู บุคคลนั้น ย่อมเดือดร้อน ในภายหลัง.

ส่วนบุคคลใด รู้เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นได้ ฉับพลัน บุคคลนั้น ย่อมพ้นจากการเบียดเบียน ของศัตรู เหมือนไก่พ้นจากเหยี่ยว ฉะนั้น.

คนผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา ควรเว้นบุคคล ผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม มักทำการกำจัดอยู่ เป็นนิตย์ เหมือนแร้ว ที่เขาดักไว้ในป่า เช่นนั้น

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 902

เสียให้ห่างไกล เหมือนไก่ในป่าไผ่ ละเว้นเหยี่ยว ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชเห กาปุริเส เหเต ความว่า ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตพึงละบุรุษชั่วเหล่านั้นเสีย ก็ หิ อักษรในพระคาถานี้ เป็นเพียงนิบาต.

บทว่า ปจฺฉา จ มนุตปฺปติ คือ ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง บทว่า กูฏมิโวฑฺฑิตํ คือ เหมือนแร้วที่เขาดักไว้ในป่า เพื่อต้องการ จะให้เนื้อในป่ามาติด ฉะนั้น. บทว่า นิจฺจวิธํสการินํ แปลว่า ผู้มัก ทำการกำจัด อยู่เป็นนิจ. บทว่า วํสกานเน แปลว่า ในป่าไผ่ นรชนผู้มีปัญญา เครื่องพิจารณา ควรเว้นบาปมิตร ผู้มักทำการกำจัดเสีย เหมือนไก่ในป่าไผ่ ละเว้นเหยี่ยว ฉะนั้น.

พระยาไก่นั้น ครั้นกล่าวคาถาแล้ว เรียกเหยี่ยวมาขู่ว่า ถ้าเราจัก อยู่ในที่นี้ เราจักตอบแทนการกระทำของเจ้า แม้เหยี่ยวก็ได้หนี จากที่นั้นไป ในที่อื่น.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาแสดงแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน พระเทวทัต ก็พยายามฆ่าเราอย่างนี้ ดังนี้แล้ว ทรงประชุมชาดกว่า เหยี่ยวในครั้งนั้น ได้เป็นพระเทวทัตในบัดนี้ ส่วนพญาไก่ในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถา กุกกุฏชาดกที่ ๑๐