พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๓. จักวากชาดก ว่าด้วยนกจักรพราก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ส.ค. 2564
หมายเลข  35913
อ่าน  429

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 931

๑๓. จักวากชาดก

ว่าด้วยนกจักรพราก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 931

๑๓. จักวากชาดก

ว่าด้วยนกจักรพราก

[๑๔๕๓] ดูก่อนจักรพราก ท่านมีสีสวย รูปงาม ร่างกายแน่นแฟ้น มีสีแดงดังทอง ทรวดทรงงาม ใบหน้าผุดผ่อง.

[๑๔๕๔] ท่านจับอยู่ที่ฝั่งคงคา เห็นจะได้กินอาหารอย่างนี้ คือ ปลากา ปลากระบอก ปลาหมอ ปลาเค้า ปลาตะเพียน กระมัง.

[๑๔๕๕] ดูก่อนสหาย สิ่งอื่นนอกจากสาหร่าย และแหนแล้ว เรามิได้ถือเอาเนื้อสัตว์บก หรือสัตว์น่ามากิน เป็นอาหารเลย สาหร่าย และแหนเท่านั้น เป็นอาหารของเรา.

[๑๔๕๖] ดูก่อนสหาย เราไม่เชื่อว่า อาหารของนกจักรพราก เป็นอย่างนี้ แม้เรากินอาหาร ที่คลุกเคล้าด้วยเกลือ และน้ำมันในบ้าน.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 932

[๑๔๕๗] ซึ่งเป็นอาหาร ที่ปรุงด้วยเนื้ออันสะอาด ทำกินกันในหมู่มนุษย์ ดูก่อนนกจักรพราก ถึงกระนั้นสีของเรา ก็ไม่เหมือนท่าน.

[๑๔๕๘] ท่านเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย จึงต้องคอยมองดู ผู้ที่ผูกเวรในตน เพียงแต่จะกินก็ สะดุ้งแล้ว เพราะเหตุนั้น สีกายของท่าน จึงเป็นเช่นนี้.

[๑๔๕๙] แน่ะท่านธังกะ ท่านเป็นผู้ถูกคนทั่วโลก โกรธเคือง อาหารที่ท่านได้มา ด้วยกรรมอันลามก ย่อมไม่อิ่มท้อง เพราะเหตุนั้น สีกายของท่าน จึงเป็นเช่นนี้.

[๑๔๖๐] ดูก่อนสหาย ส่วนเรา มิได้เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง มากิน มีความขวนขวายน้อย ไม่มีใครรังเกียจ ใจไม่ห่อเหี่ยว ภัยแต่ที่ไหนๆ ก็มิได้มี.

[๑๔๖๑] ท่านนั้น จงสร้างอานุภาพ ละปกติ คือ ความทุศีลของตนเสีย อย่าเบียดเบียนใคร

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 933

เที่ยวไปในโลก จะเป็นที่รักของชาวโลก เช่นตัวเรา.

[๑๔๖๒] ผู้ใดไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ไม่ทำทรัพย์ให้เสื่อมเอง ไม่ใช้ผู้อื่นทำให้เสื่อม มี เมตตาจิต ในสัตว์ทั่วไป ผู้นั้นย่อมไม่มีเวรกับใคร.

จบ จักกวากชาดกที่ ๑๓

อรรถกถาจักกวากชาดกที่ ๑๓

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ ภิกษุเหลาะเเหละรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า วณฺณวา อภิภูโปสิ ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุรูปนั้น ไม่อิ่มด้วยปัจจัย มีจีวร เป็นต้น เที่ยวแสวงหาอยู่ว่า สังฆภัตมีที่ไหน กิจนิมนต์มีที่ไหน เป็นต้น พอใจอยู่ในเรื่องอามิสเท่านั้น ครั้งนั้น ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก หวังจะอนุเคราะห์เธอ จึงกราบทูลกะพระศาสดา พระศาสดารับสั่ง ให้เรียกภิกษุนั้นมา ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่า เธอเป็นผู้เหลาะแหละ จริงหรือ? เมื่อภิกษุนั้น กราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอบวชในศาสนา ที่จะนำออกจากทุกข์เห็นปานนี้ เหตุไรจึงเป็นผู้เหลาะแหละ ขึ้นชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 934

ความเหลาะแหละ เป็นเรื่องลามกมาก แม้ในกาลก่อน เธอก็อาศัยความเหลาะแหละ ไม่รู้จักอิ่ม ด้วยศพช้าง เป็นต้น ในเมืองพาราณสี ต้องเข้าไปในป่าใหญ่ ดังนี้ แล้วทรงนำเอาเรื่อง ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติ อยู่ในเมืองพาราณสี มีกาเหลาะแหละตัวหนึ่ง ไม่รู้จักอิ่มด้วยศพช้าง เป็นต้น ในเมืองพาราณสี จึงคิดว่า ป่าเป็นเช่นไรหนอ แล้วไปป่าไม่สันโดษ ด้วยผลาผลในป่านั้น เที่ยวไปถึงฝั่งแม่น้ำคงคา เห็นนกจักรพราก ๒ ตัว ผัวเมียแล้วคิดว่า นกเหล่านี้งามเหลือเกิน นกเหล่านี้ เห็นจะกินเนื้อปลามาก ที่ฝั่งแม่น้ำคงคานี้ แม้เราก็ควรจะถามนกเหล่านี้ แล้วกินอาหาร ของนกเหล่านี้ จะเป็นผู้มีวรรณะงาม คิดแล้ว ก็ไปจับอยู่ใกล้ๆ นกจักรพรากเหล่านั้น เมื่อจะถามนกจักรพราก จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

ดูก่อนจักรพราก ท่านมีสีสวย รูปงาม ร่างกายแน่นแฟ้น มีสีแดงดังทอง ทรวดทรงงาม ใบหน้าผุดผ่อง.

ท่านจับอยู่ที่ฝั่งคงคา เห็นจะได้กินอาหารอย่างนี้ คือ ปลากา ปลากระบอก ปลาหมอ ปลาเค้า ปลาตะเพียน กระมัง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฆโน คือ มีร่างกายแน่น. บทว่า สญฺชาตโรหิโต คือ มีสีแดง ที่เกิดแล้วด้วยดี ดังทองสีแดง. บทว่า

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 935

ปาฏีนํ คือ ปลากา ชื่อว่า ปาฏีนะ. บทว่า ปาวุสํ ได้แก่ ปลากระบอก บาลีว่า ราวุสํ ดังนี้ก็มี. บทว่า พลชฺชํ ได้แก่ ปลาหมอ. บทว่า มุญฺชโรหิตํ. ได้แก่ ปลาเค้า และปลาตะเพียน. กา ถามว่า ท่านเห็นจะได้กินอาหาร เห็นปานนี้? นกจักรพราก เมื่อจะปฏิเสธคำของกานั้น จึงได้กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

ดูก่อนสหาย สิ่งอื่นนอกจากสาหร่าย และแหนแล้ว เรามิได้ถือเอาเนื้อสัตว์บก หรือสัตว์น้ำ มากินเป็นอาหารเลย สาหร่าย และแหนเท่านั้น เป็นอาหารของเรา.

พึงทราบความแห่งคำ อันเป็นคาถานั้นว่า ดูก่อนสหาย สิ่งอื่นนอกจากสาหร่าย และแหนแล้ว เรามิได้ถือเอาเนื้อสัตว์บก หรือสัตว์น้ำ มาบริโภคเป็นอาหารเลย ดูก่อนสหาย ก็สาหร่าย และแหนเท่านั้น เป็นอาหารของเรา.

ลำดับนั้น กา จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

ดูก่อนสหาย เราไม่เชื่อว่า อาหารของนกจักรพราก เป็นอย่างนี้ แม้เรากินอาหาร ที่คลุกเคล้า ด้วยเกลือ และน้ำมันในบ้าน.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 936

ซึ่งเป็นอาหารที่ปรุง ด้วยเนื้ออันสะอาด ทำกินกันในหมู่มนุษย์ ดูก่อนนกจักรพราก ถึงกระนั้นสีของเรา ก็ไม่เหมือนท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถา ตุวํ เป็นต้น ความว่า สี ของเรา ไม่เหมือนท่าน ผู้ซึ่งเพียบพร้อม ด้วยความงามอันเลอเลิศ มีสีดุจทอง ด้วยเหตุนั้น เมื่อท่านบอกว่า มีสาหร่าย และแหน เป็นอาหาร เราจึงไม่เชื่อ.

ลำดับนั้น นกจักรพราก เมื่อจะบอกเหตุ ที่ทำให้วรรณะเศร้าหมอง แสดงธรรมแก่กานั้น จึงได้กล่าวคาถา ที่เหลือว่า :-

ท่านเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย จึงต้องคอยมองดู ผู้ที่ผูกเวรในตน เพียงแต่จะกิน ก็สะดุ้ง กลัว เพราะเหตุนั้น สีกายของท่านจึงเป็นเช่นนี้.

แน่ะท่านธังกะ ท่านเป็นผู้ถูกคนทั่วโลก โกรธเคือง อาหารที่ท่านได้มา ด้วยธรรมอัน ลามก ย่อมไม่อิ่มท้อง เพราะเหตุนั้น สีกายของท่าน จึงเป็นเช่นนี้.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 937

ดูก่อนสหาย ส่วนเรามิได้เบียดเบียน สัตว์ทั้งปวงมากิน มีความขวนขวายน้อย ไม่มีใครรังเกียจ ใจไม่ห่อเหี่ยว ภัยแต่ที่ไหนๆ ก็มิได้มี.

ท่านนั้น จงสร้างอานุภาพ ละปกติ คือ ความทุศีลของตนเสีย อย่าเบียดเบียนใคร เที่ยวไปในโลก จะเป็นที่รักของชาวโลก เช่นตัวเรา.

ผู้ใดไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ไม่ทำทรัพย์ให้เสื่อมเอง ไม่ใช้ผู้อื่นทำให้เสื่อม มีเมตตาจิตในสัตว์ทั่วไป ผู้นั้นย่อมไม่มีเวรกับใครๆ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺปสฺสํ ความว่า แน่ะเพื่อน กา ท่านเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย จึงต้องคอยแลดูจิต ที่คิดผูกเวรในตน ซึ่งเกิดขึ้นในผู้อื่น. บทว่า มานุสึ ปชํ ได้แก่ เบียดเบียน คือทำร้ายสัตว์ทั้งหลาย. บทว่า อุตฺรสฺโต คือ กลัวแล้ว. บทว่า ฆสสี แปลว่า จะกินเพราะเหตุนั้น วรรณะของท่าน จึงเป็นเช่นนี้.

นกจักรพราก ร้องเรียกกาว่า ดูก่อนธังกะ โภชนะ ชื่อว่า ปิณฑะ.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 938

บทว่า อหึสํ สพฺพปาณินํ ความว่า นกจักรพรากกล่าวว่า ส่วนเรามิได้เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวงมากิน. บทว่า โส กรสฺสุ อานุภาวํ ความว่า แม้ท่านนั้น จงทำความเพียรของตน ละความทุศีล กล่าวคือ ปกติของตนเสีย. บทว่า อหึสาย คือ เป็นผู้ประกอบด้วยอหิงสา เที่ยวไปในโลก. บทว่า ปิโย โหหิสิ มมฺมิว ความว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านย่อมจะเป็นที่รักของชาวโลก เช่นตัวเรา นั้นเทียว. บทว่า น ชินาติ คือ ไม่ทำทรัพย์ให้เสื่อมเอง. บทว่า น ชาปเย คือ ไม่ใช้ให้ผู้อื่น ทำทรัพย์ให้เสื่อม. บทว่า เมตฺตํโส คือ มีเมตตาจิต อันเป็นส่วนแห่งความรัก. บทว่า น เกนจิ ความว่า ขึ้นชื่อว่า เวรของผู้นั้น ย่อมไม่มีกับใครๆ แม้สักคนเดียว.

ฉะนั้น ท่านต้องการเป็นที่รักของโลก พร้อมทั้งเทวโลก ก็จงงดเว้น จากเวรทั้งหมด นกจักรพราก แสดงธรรมแก่กา ด้วยประการ ฉะนี้. กากล่าวว่า ท่านไม่บอกอาหาร ของตนแก่เรา แล้วก็ร้อง กา กา บินไปร่อนลง ณ พื้นที่ที่เจือด้วยอุจจาระ ในกรุงพาราณสี.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาแสดงแล้ว ทรงประกาศสัจธรรม เวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้เหลาะแหละ ดำรงอยู่ในอนาคามิผล พระทศพลทรงประชุมชาดกว่า กาในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุผู้เหลาะแหละ ในบัดนี้ นางนกจักรพรากในครั้งนั้น ได้มาเป็นมารดาพระราหุล ในบัดนี้ ส่วนนกจักรพรากในครั้งนั้น คือ เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถา จักกวากชาดกที่ ๑๓