๑๔. ภูริปัญหาชาดก ว่าด้วยคนไม่ดี ๔ จําพวก
[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 939
๑๔. ภูริปัญหาชาดก
ว่าด้วยคนไม่ดี ๔ จําพวก
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 939
๑๔. ภูริปัญหาชาดก
ว่าด้วยคนไม่ดี ๔ จำพวก
[๑๔๖๓] ดูก่อนท่านผู้มีปัญญากว้างขวาง ได้ยินว่า คำที่ท่านอาจารย์เสนอกล่าวนั้น เป็นความจริง ท่านเป็นผู้มีปัญญา มีสิริ มีความเพียร มีความคิดมั่นคง แม้ท่านเป็นผู้มีปัญญา มีสิริ มีความเพียร มีความคิดมั่นคง เช่นนั้น ก็ป้องกันความเข้าถึงอำนาจ แห่งความฉิบหายไม่ได้ ท่านจึงต้องกินข้าวแดง ไม่มีแกง.
[๑๔๖๔] เราทำความสุขเดิมของเรา ให้เจริญได้ ด้วยความยาก เมื่อพิจารณากาลอันควรและไม่ควร จึงหลบอยู่ ตามความพอใจ เปิดช่องประโยชน์ให้แก่ตน ด้วยเหตุนั้น เราจึงยินดีด้วยข้าวแดง.
[๑๔๖๕] ก็เรารู้จักกาล เพื่อกระทำความเพียร ทรงประโยชน์ให้เจริญ ด้วยความรู้ของตน องอาจ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 940
อยู่เหมือนความองอาจแห่งราชสีห์ ฉะนั้น ท่านจักได้เห็นเรา พร้อมด้วยความสำเร็จนั้นอีก.
[๑๔๖๖] ก็บุคคลบางพวก แม้จะมีความสุข ก็ไม่ทำบาป บุคคลอีกพวก ๑ ไม่ทำบาป เพราะเกรงกลัวต่อการเกี่ยวข้อง ด้วยความติเตียน ท่านเป็นคนสามารถ มีความคิดกว้างขวาง เหตุไร จึงไม่ทำทุกข์ให้เกิดแก่เรา.
[๑๔๖๗] บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่ประพฤติธรรม อันเป็นบาป เพราะเหตุแห่งความสุขของตน ถูกทุกข์กระทบแล้ว แม้จะพลาดพลั้งลงไป ก็สงบอยู่ได้ ไม่ละทิ้งธรรม เพราะความรัก และความชัง.
[๑๔๖๘] บุคคลควรถอนตน ผู้เข็ญใจขึ้น ด้วยเพศที่อ่อนแอ หรือแข็งแรง อย่างใดอย่างหนึ่ง ภายหลังจึงประพฤติธรรม.
[๑๔๖๙] บุคคลนอน หรือนั่ง ที่ร่มเงาแห่งต้นไม้ใด ไม่พึงหักก้านกิ่ง แห่งต้นไม้นั้น เพราะบุคคลผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนชั่วช้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 941
[๑๔๗๐] บุรุษรู้แจ้งธรรม แต่สำนักอาจารย์ใด อนึ่ง การที่สัตบุรุษทั้งหลาย กำจัดความสงสัยของบุรุษนั้น นั่นแหละ ชื่อว่า เป็นดังเกาะ หรือเป็นที่พึ่งพาของบุรุษนั้น คนมีปัญญาไม่พึงละมิตรภาพกับอาจารย์ เช่นนั้น.
[๑๔๗๑] คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามคุณ เป็นคนเกียจคร้าน ไม่ดี บรรพชิตผู้ไม่สำรวมระวัง ไม่ดี พระราชาไม่ทรงพิจารณาเสียก่อน แล้วประกอบราชกิจ ไม่ดี บัณฑิตมักโกรธ ก็ไม่ดี.
[๑๔๗๒] ข้าแต่พระราชา กษัตริย์ควรพิจารณาก่อนแล้ว จึงค่อยประกอบราชกิจ ไม่พิจารณาก่อน ไม่ควรประกอบราชกิจ พระยศ และพระเกียรติ ย่อมเจริญแก่พระราชา ผู้ทรง พิจารณาเสียก่อน แล้วจึงประกอบราชกิจ.
จบ ภูริปัญหาชาดกที่ ๑๔