๑๖. ฆตบัณฑิตชาดก ว่าด้วยการดับความโศก
[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 961
๑๖. ฆตบัณฑิตชาดก
ว่าด้วยการดับความโศก
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 961
๑๖. ฆตบัณฑิตชาดก
ว่าด้วยการดับความโศก
[๑๔๘๓] ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหวงศ์ ขอพระองค์ จงเสด็จลุกขึ้นเถิด จะมัวทรงบรรทมอยู่ทำไม ความเจริญอะไร จะมีแต่พระองค์ ด้วยพระสุบินเล่า พระภาดาของพระองค์แม้ใด เสมอด้วยระหทัย และเสมอด้วยพระเนตรข้างขวา ลมได้กระทบดวงหทัยของพระภาดานั้น ข้าแต่ พระองค์ผู้มีพระเกศางาม ฆตบัณฑิตทรงเพ้อไป.
[๑๔๘๔] พระเจ้าเกสวราช ทรงสดับคำของโรหิเณยยอำมาตย์นั้นแล้ว อัดอั้นพระหฤทัย ด้วยความโศกถึงพระภาดา มีพระวรกาย กระสับกระส่าย เสด็จลุกขึ้น.
[๑๔๘๕] เหตุไรหนอ เจ้าจึงเป็นเหมือนคนบ้า เที่ยวบ่นเพ้ออยู่ทั่วนครทวาราวดีนี้ว่า กระต่าย กระต่าย ใครเขาลักกระต่ายของเจ้าไปหรือ?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 962
[๑๔๘๖] เจ้าอยากได้กระต่ายทอง กระต่ายเงิน กระต่ายแก้วมณี กระต่ายสังขศีล หรือกระต่ายแก้วประพาฬประการใด เจ้าจงบอกแก่เรา เราจักให้เขาทำให้เจ้า ถ้าแม้เจ้าไม่ชอบกระต่ายเหล่านั้น ฝูงกระต่ายป่าอื่นๆ มีอยู่ในป่า เราจักให้เขานำเอากระต่ายเหล่านั้น ให้เจ้า เจ้าต้องการกระต่ายชนิดไรเล่า?
[๑๔๘๗] ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระเกศางาม กระต่ายเหล่าใด ที่อาศัยอยู่บนแผ่นดิน หม่อมฉันไม่ปรารถนาสิ้นทั้งนั้น หม่อมฉันปรารถนา กระต่ายจากดวงจันทร์ ขอพระองค์ได้ทรงโปรด สอยตระต่ายนั้น มาให้หม่อมฉันเถิด.
[๑๔๘๘] น้องเจ้าปรารถนา สิ่งที่เขาไม่พึงปรารถนากัน อยากได้กระต่ายจากดวงจันทร์ จักละชีวิตที่ยังดี ไปเสียเป็นแน่.
[๑๔๘๙] ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหวงศ์ ถ้าพระองค์ ทรงทราบและตรัสสอนผู้อื่น อย่างนี้ไซร้ เหตุไร พระองค์จงทรงเศร้าโศก ถึงพระราชโอรสผู้สิ้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 963
พระชนม์ไปแล้ว ในกาลก่อน จนกระทั่งถึงวันนี้เล่า?
[๑๔๙๐] มนุษย์หรือเทวดา ไม่พึงได้ฐานะอันใด คือ ความมุ่งหวังว่า บุตรของเราที่เกิดมาแล้ว อย่าตายเลย พระองค์ทรงปรารถนา ฐานะอันนั้นอยู่ จะพึงทรงได้ฐานะที่ไม่ควรได้ แต่ที่ไหน ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหวงศ์ พระองค์ทรงเศร้าโศกถึง พระโอรสองค์ใด ผู้ไปปรโลกแล้วพระองค์ก็ไม่สามารถ จะนำพระโอรสนั้น มาได้ด้วยมนต์ ยารากไม้ โอสถ หรือพระราชทรัพย์เลย.
[๑๔๙๑] บุรุษผู้เป็นบัณฑิตเช่นนี้ เป็นอำมาตย์ของพระราชา พระองค์ใด พระราชาพระองค์นั้น จะมีความโศกมาแต่ไหน เหมือนฆตบัณฑิต ดับความโศกของเราในวันนี้ ฆตบัณฑิต ได้รดเรา ผู้เร่าร้อนให้สงบระงับ ดับความกระวนกระวายทั้งปวงได้ เหมือนบุคคลดับไฟ ที่ติดเปรียงด้วยน้ำ ฉะนั้น ฆตบัณฑิต ได้ถอนลูกศร ที่เสียบแทงหทัยของเรา ออกแล้ว ได้บรรเทา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 964
ความโศกถึงบุตรของเรา ผู้ถูกความเศร้าโศก ครอบงำแล้วหนอ เราเป็นผู้ถอนลูกศร ออกได้แล้ว ปราศจากความโศก ไม่ขุ่นมัว จะไม่เศร้าโศก จะไม่ร้องไห้ เพราะได้ฟังคำของเจ้า นะน้องชาย.
[๑๔๙๒] ผู้มีปัญญา มีใจกรุณา ย่อมทำผู้มีเศร้าโศก ให้หลุดพ้น จากความเศร้าโศกได้เหมือน ฆตบัณฑิตทำพระเชษฐา ผู้เศร้าโศกให้หลุดพ้น จากความเศร้าโศก ฉะนั้น.
จบ ฆตบัณฑิตชาดกที่ ๑๖
อรรถกถาฆตบัณฑิตชาดกที่ ๑๖
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ กุฎุมพีลูกตาย ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มตันว่า อุฏฺเหิ กณฺห ดังนี้.
เนื้อเรื่องเหมือนกับเรื่อง มัฏฐกุณฑลี นั่นแหละ ส่วนในชาดกนี้ มีความย่อดังต่อไปนี้ :-
พระศาสดา เสด็จเข้าไปหาอุบาสกนั้น แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนอุบาสก ท่านเศร้าโศกถึงลูกตายหรือ? เมื่ออุบาสกกราบทูลว่า ถูกแล้วพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 965
เจ้าข้า พระองค์จึงตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก โบราณกบัณฑิตฟังถ้อยคำ ของบัณฑิตแล้ว ไม่เศร้าโศกถึงลูกที่ตายไปแล้ว ผู้อันอุบาสกนั้น กราบทูลอาราธนา ให้ตรัสเรื่องราว จึงทรงนำเอา เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามว่า มหาวังสะ ครองราชสมบัติ อยู่ในอสิตัญชนคร แคว้นกังสโคตร ใกล้อุตราปถประเทศ พระองค์มีพระราชโอรส ๒ พระองค์ องค์หนึ่งพระนามว่า กังสะ องค์หนึ่งพระนามว่า อุปกังสะ มีพระราชธิดาองค์หนึ่ง พระนามว่า เทวคัพภา ในวันที่พระราชธิดานั้นประสูติ พราหมณ์ผู้ทายลักษณะ พยากรณ์ไว้ว่า พระโอรสที่เกิดในพระครรภ์ ของพระนางเทวคัพภานั้น จักทำกังสโคตร กังสวงศ์ให้พินาศ พระราชาไม่อาจให้สำเร็จโทษ พระราชธิดาได้ เพราะทรงสิเนหามาก แม้พระเชษฐาทั้งสอง ก็ทรงทราบเหมือนกัน พระราชาดำรงราชสมบัติ อยู่ตลอดพระชนมายุแล้ว เสด็จสวรรคต ด้วยประการฉะนี้ เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว กังสราชโอรสได้เป็นพระราชา อุปกังสราชโอรสได้เป็นอุปราช ทั้ง ๒ พระองค์ ทรงพระดำริว่า ถ้าเราจักให้สำเร็จโทษภคินี เราก็จักถูกครหา เราจักไม่ให้ภคินีนี้แก่ใครๆ จักเลี้ยงดู โดยไม่ให้มีสามี ดังนี้ ทั้ง ๒ พระองค์ จึงให้สร้างปราสาทเสาเดียว ให้ราชธิดาอยู่ ณ ปราสาทนั้น นางทาสีนามว่า นันทโคปา ได้เป็นปริจาริกาของพระนาง ทาสนามว่า อันธกเวณฑุ ผู้เป็นสามีของนางนันทโคปา เป็นผู้พิทักษ์รักษาพระนาง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 966
ครั้งนั้น พระเจ้ามหาสาครราช เสวยราชสมบัติ อยู่ในอุตตรปถประเทศ พระองค์มีพระราชโอรส ๒ พระองค์ องค์หนึ่งพระนามว่า สาคร องค์หนึ่งพระนามว่า อุปสาคร ก็ในบรรดาพระราชโอรส ๒ พระองค์นั้น เมื่อพระชนกเสด็จสวรรคต สาครราชโอรส ได้เป็นพระราชา อุปสาครราชโอรส ได้เป็นอุปราช อุปสาครอุปราชนั้น เป็นสหายของอุปกังสอุปราช สำเร็จการศึกษาคราวเดียวกัน ในตระกูลอาจารย์คนเดียวกัน.
อุปสาครอุปราช ได้ทำมิดีมิงาม นางสนมกำนัลใน ของพระเจ้าพี่สาครราช กลัวพระราชอาชญา หนีไปสำนักอุปกังสอุปราช ในแคว้นกังสโคตร อุปกังสอุปราช พาเข้าเฝ้าพระเจ้ากังสราช พระเจ้ากังสราช ทรงประทานยศใหญ่แก่ อุปสาครอุปราช อุปสาครอุปราชเมื่อไปเฝ้าพระราชา เห็นปราสาทเสาเดียว ซึ่งเป็นที่ประทับของพระนางเทวคัพภา จึงถามว่า นี่ที่อยู่ของใคร ครั้นทราบความนั้นแล้ว ก็มีจิตปฏิพัทธ์ ในพระนางเทวคัพภา.
วันหนึ่ง พระนางเทวคัพภา ทอดพระเนตร เห็นอุปสาครอุปราช ไปเฝ้าพระราชา พร้อมกับอุปกังสอุปราช จึงตรัสถามว่า นั่นใคร ทรงทราบจากนางนันทโคปาว่า โอรสพระเจ้ามหาสาครราชพระนามว่า อุปสาคร ก็มีจิตปฏิพัทธ์ในอุปสาครอุปราชนั้น อุปสาครอุปราช ให้สินบนนางนันทโคปา แล้วกล่าวว่า น้องหญิง ท่านอาจที่จักพาพระนางเทวคัพภา มาให้เราไหม? นางนันทโคปากล่าวว่า ข้อนั้นไม่ยากดอก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 967
นาย แล้วก็บอกเรื่องนั้นแก่ พระนางเทวคัพภา ตามปกติพระนาง ก็มีจิตปฏิพัทธ์ ในอุปสาครอุปราชอยู่แล้ว พอได้ฟังดังนั้น ก็รับว่า ดีแล้ว นางนันทโคปา ให้สัญญาแก่อุปสาครอุปราช ให้ขึ้นปราสาทในเวลาราตรี อุปสาครอุปราช ได้ร่วมสังวาสกับพระนางเทวคัพภา โดยทำนองนั้นบ่อยๆ เข้า พระนางได้ตั้งครรภ์ ต่อมาข่าวพระนางทรงครรภ์ ก็ได้ปรากฏขึ้น พระเชษฐาทั้งสอง จึงถามนางนันทโคปา นางนันทโคปาทูลขออภัยแล้ว กราบทูลความลับนั้น ให้ทรงทราบ พระเชษฐาทั้ง ๒ พระองค์ ทรงทราบแล้ว จึงปรึกษากันว่า เราไม่อาจที่จะสำเร็จโทษน้องหญิงได้ ถ้าเธอคลอดพระธิดา เราจักไม่สำเร็จโทษ แต่ถ้าเป็นพระโอรส เราจักสำเร็จโทษเสีย แล้วประทานพระนางเทวคัพภา แก่อุปสาครอุปราช พระนางเทวคัพภาทรงครรภ์ ครบกำหนดแล้ว ก็ประสูติพระธิดา พระเชษฐาทั้งสอง ทรงทราบแล้วดีพระทัย ตั้งพระนามให้พระธิดานั้นว่า อัญชนเทวี ได้พระราชทานบ้านส่วยชื่อ โภควัฒมานะ แก่กษัตริย์ทั้ง ๒ อุปสาครอุปราช จึงพาพระนางเทวคัพภาไปประทับ ณ โภควัฒมานคาม พระนางเทวคัพภาก็ทรงครรภ์อีก แม้นางนันทโคปาก็ตั้งครรภ์ในวันนั้นเหมือนกัน เมื่อหญิงทั้งสองมีครรภ์ ครบกำหนดแล้ว พระนางเทวคัพภาประสูติ พระโอรส แม้นางนันทโคปาก็คลอดธิดา ในวันเดียวกัน นั่นเอง พระนางเทวคัพภา กลัวพระโอรสจะพินาศ ด้วยราชภัย จึงส่งพระโอรสไปให้นางนันทโคปา และให้นางนันทโคปา นำธิดามาให้เปลี่ยนกันเลี้ยงเงียบ.
อำมาตย์ทั้งหลาย กราบทูลความที่พระนางเทวคัพภา ประสูติแล้ว ให้พระเชษฐาทั้ง ๒ ทรงทราบ พระเชษฐาทั้ง ๒ พระองค์นั้น ตรัสถาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 968
ว่า ประสูติโอรสหรือธิดา เมื่อได้รับตอบว่า ธิดา จึงรับสั่งว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลาย จงเลี้ยงไว้เถิด พระนางเทวคัพภาประสูติพระโอรสรวม ๑๐ องค์ นางนันทโคปาก็คลอดลูกหญิงรวม ๑๐ คน ได้เปลี่ยนให้กันเลี้ยง ด้วยอุบายนี้ โอรสของพระนางเทวคัพภา เจริญอยู่ในสำนักนางนันทโคปา ลูกหญิงของนางนันทโคปา เจริญอยู่ในสำนักของพระนางเทวคัพภา ใครๆ มิได้รู้ความลับเรื่องนั้น.
โอรสองค์ใหญ่ ของพระนางเทวคัพภา นามว่าวาสุเทพ องค์ที่ ๒ นามว่าพลเทพ องค์ที่ ๓ นามว่าจันทเทพ องค์ที่ ๔ นามว่าสุริยเทพ องค์ที่ ๕ นามว่าอัคคิเทพ องค์ที่ ๖ นามว่าวรุณเทพ องค์ที่ ๗ นามว่าอัชชุนะ องค์ที่ ๘ นามว่าปัชชุนะ องค์ที่ ๙ นามว่าฆตบัณฑิต องค์ที่ ๑๐ นามว่าอังกุระ โอรสเหล่านั้น ได้ปรากฏว่าพี่น้อง ๑๐ คน เป็นบุตรของอันธกเวณฑุทาส.
ต่อมาโอรสเหล่านั้น ครั้นเจริญวัยแล้ว มีกำลังเรี่ยวแรงมาก เป็นผู้หยาบช้ากล้าแข็ง พากันเที่ยวปล้นประชาชน แม้คนนำบรรณาการ ไปถวายพระราชา ก็พากันปล้นเอาหมด ประชาชนประชุมกันร้องทุกข์ ที่พระลานหลวงว่า พี่น้อง ๑๐ คน ซึ่งเป็นบุตรของอันธกเวณฑุทาส ปล้นแว่นแคว้น พระราชารับสั่ง ให้เรียกตัวอันธกเวณฑุทาส มาตรัสคุกคามว่า เหตุไร? เจ้าจึงปล่อยให้ลูกทำการปล้น ดังนี้ เมื่อประชาชนร้องทุกข์ถึง ๒ ครั้ง ๓ ครั้งอย่างนี้ พระราชาก็ทรงคุกคามอันธกเวณฑุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 969
เขากลัวต่อมรณภัย ทูลขออภัยโทษกะพระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ กุมารเหล่านั้น มิใช่บุตรของข้าพระองค์ เป็นโอรสของอุปสาครอุปราช แล้วกราบทูลความลับเรื่องนั้น ให้ทรงทราบ พระราชาทรงตกพระทัย ตรัสถามอำมาตย์ทั้งหลายว่า เราจะใช้อุบายอย่างไร จึงจักจับกุมารเหล่านั้นได้? เมื่อพวกอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้สมมติเทพ กุมารเหล่านั้น ลำพองจิตด้วยมวยปล้ำ ข้าพระองค์จักให้ทำการต่อสู้ขึ้น ในพระนคร แล้วให้จับกุมารเหล่านั้น ผู้มาสู่สนามยุทธฆ่าเสีย ณ ที่นั้น ดังนี้ จึงรับสั่งให้เรียก นักมวยปล้ำมา ๒ คน คนหนึ่งชื่อ วานุระ อีกคนหนึ่งชื่อ มุฏฐิกะ แล้วให้ตีกลองประกาศทั่วพระนครว่า จากวันนี้ไป ๗ วัน จักมีการต่อสู้ ดังนี้ แล้วให้ตระเตรียมสนามต่อสู้ ที่พระลานหลวง ให้ทำสังเวียนนั้น สนามต่อสู้ แล้วให้ผูกธง และแผ่นผ้า.
เสียงเล่าลือกันแซ่ไปทั่วนคร ประชาชนพากันผูกล้อเลื่อน และเตียงน้อยใหญ่ วานุระ แลมุฏฐิกะ ก็มายังสนามต่อสู้ โห่ร้องคำราม ตบมือเดินไปมาอยู่ แม้กุมารพี่น้องทั้ง ๑๐ ก็มา แล้วยื้อแย่งตามถนนขายอาหาร ของหอม และเครื่องย้อม แล้วนุ่งห่มผ้าสี แย่งเอาของหอม ตามร้านขายของหอม แลดอกไม้ ตามร้านขายดอกไม้ มาประดับตัว ทัดดอกไม้ ๒ หู โห่ร้องคำราม ตบมือ เข้าสนามต่อสู้ ขณะนั้นวานุระ เดินตบมืออยู่ พลเทพเห็นดังนั้น จึงคิดว่า เราจะไม่ถูกต้องวานุระ ด้วยมือ แล้วไปนำเชือกผูกช้างเส้นใหญ่ มาแต่โรงช้าง โห่ร้องคำราม แล้วโยนเชือกไป พันท้องวานุระ รวบปลายเชือกทั้ง ๒ เข้ากัน โห่ร้องยกขึ้น หมุนเหนือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 970
ศีรษะ แล้วฟาดลงแผ่นดิน โยนไปนอกสังเวียน เมื่อวานุระตายแล้ว พระราชารับสั่งให้ มุฏฐิกะคนปล้ำ ทำการต่อสู้ต่อไป มุฏฐิกะลุกออกไป โห่ร้องคำรามตบมืออยู่ พลเทพทุบมุฏฐิกะ จนกระดูกละเอียด เมื่อมุฏฐิกะ กล่าวว่า ท่านเป็นนักมวยปล้ำ ฉันไม่ใช่นักมวยปล้ำ จึงตอบว่า เราไม่เข้าใจว่า ท่านเป็นนักมวยปล้ำ หรือไม่ใช่นักมวยปล้ำ แล้วจับมือทั้ง ๒ ฟาดลงบนแผ่นดินให้ตาย แล้วโยนไปนอกสังเวียน มุฏฐิกะเมื่อจะตายได้ ตั้งความปรารถนาไว้ว่า ขอให้เราเป็นยักษ์ ได้กินพลเทพ ครั้นเขาตายไปแล้ว จึงเกิดเป็นยักษ์อยู่ในดง ชื่อ กาฬมัตติกะ.
พระราชาเสด็จลุกขึ้น ตรัสว่า ท่านทั้งหลาย จงจับพี่น้องทั้ง ๑๐ คนเหล่านี้ให้ได้ ขณะนั้น วาสุเทพ ขว้างจักรไปตกถูกพระเศียรกษัตริย์ สองพี่น้องสิ้นพระชนม์ มหาชนพากันสะดุ้ง หวาดกลัว หมอบลงแทบบาท ของกุมารเหล่านั้น ด้วยกล่าวว่า ขอพระองค์ได้เป็นที่พึ่ง ของพวกข้าพระองค์เถิด กุมารเหล่านั้น ครั้นปลงพระชนม์พระเจ้าลุงทั้ง ๒ ก็ยึดราชสมบัติอสิตัญชนคร ยกมารดาบิดา ขึ้นครองราชสมบัติ แล้วปรึกษากันว่า เรา ๑๐ คน จักชิงราชสมบัติ ในชมพูทวีปทั้งหมด แล้วชวนกัน ยกออกไปโดยลำดับ ถึงอยุชฌนคร ซึ่งเป็นที่ประทับ ของพระเจ้ากาลโยนกราช ล้อมเมืองไว้ ทำลายค่าย พังกำแพงเข้าไป จับพระราชา ยึดราชสมบัติอยู่ในเงื้อมมือของตน แล้วพากัน ไปถึงกรุงทวาราวดี.
ก็กรุงทวาราวดีนั้น มีสมุทรตั้งอยู่ข้างหนึ่ง มีภูเขาตั้งอยู่ข้างหนึ่ง ได้ยินว่า นครนั้นมีอมนุษย์รักษา ยักษ์ผู้ยืนรักษานครนั้น เห็นปัจจามิตร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 971
แล้วแปลงเพศเป็นลา ร้องเสียงเหมือนลา ขณะนั้น นครทั้งสิ้นก็เลื่อนลอยไป อยู่บนเกาะเกาะหนึ่ง กลางสมุทร ด้วยอานุภาพยักษ์ เมื่อพวกปัจจามิตรไปแล้ว นครก็กลับมาประดิษฐาน ตามเดิมอีก แม้คราวนั้น ยักษ์เพศลานั้น รู้ว่ากุมาร ๑๐ คนพี่น้องมา ก็ร้องเป็นเสียงลาขึ้น นครก็เลื่อนลอยไป ประดิษฐานอยู่บนเกาะ กุมารเหล่านั้น ไม่เห็นนคร ก็พากันกลับนคร ก็มาประดิษฐานอยู่ตามเดิมอีก กุมารเหล่านั้นกลับมาอีก ยักษ์เพศลา ก็ได้ทำเหมือนอย่างนั้นอีก กุมารเหล่านั้น เมื่อไม่อาจชิงราชสมบัติ ในกรุงทวาราวดีได้ ก็พากันไปหา กัณหทีปายนดาบส นมัสการแล้ว ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ไม่อาจชิงราชสมบัติทวาราวดี ขอท่านได้บอกอุบายแก่พวกข้าพเจ้าสักอย่างหนึ่ง เมื่อพระดาบสบอกว่า มีลาตัวหนึ่ง เที่ยวอยู่ที่หลังคูแห่งโน้น ลานั้นเห็นพวกอมิตรแล้วร้องขึ้น ขณะนั้น นครก็เลื่อนลอยไปเสีย ท่านทั้งหลาย จงจับเท้าของลานั้น นี้เป็นอุบายที่จะให้ท่านถึงความสำเร็จดังนี้ กุมารทั้ง ๑๐ นมัสการพระดาบส แล้วไปหมอบจับเท้าของลาวิงวอนว่า ข้าแต่นาย คนอื่นนอกจากท่านเสียแล้ว ไม่เป็นที่พึ่งของพวกข้าพเจ้าได้ กาลเมื่อพวกข้าพเจ้ายึดนคร ขอท่านอย่าได้ร้องขึ้นเลย ยักษ์เพศลากล่าวว่า เราไม่อาจที่จะไม่ร้อง แต่ว่าท่าน ๔ คน จงมาก่อน จงถือเอาไถเหล็กใหญ่ๆ แล้วตอกหลักเหล็กใหญ่ๆ ลงกับพื้นแผ่นดิน ที่ประตูเมืองทั้ง ๔ ด้าน กาลเมื่อนครจะเขยื่อนขึ้น จงจับไถ แล้วช่วยกันเอาโซ่เหล็ก ที่ผูกกับไถ ล่ามไว้กับหลักเหล็ก นครจักไม่อาจลอยไปได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 972
กุมารเหล่านั้นรับว่า ดีแล้ว ครั้นเวลาเที่ยงคืนนั้น ก็พากันถือเอาไถ แล้วตอกหลักลงบนแผ่นดิน ที่ประตูเมืองทั้ง ๔ ด้าน ยืนอยู่ ขณะนั้นยักษ์เพศลาก็ร้องขึ้น นครเริ่มจะเลื่อนลอย กุมารเหล่านั้นยืนอยู่ ที่ประตูเมืองทั้ง ๔ ด้าน จับไถเหล็ก ๔ คัน เอาโซ่เหล็กผูกกับไถ ล่ามไว้กับหลักเหล็ก นครก็ไม่อาจเขยื้อนขึ้นได้ ลำดับนั้น กุมาร ๑๐ พี่น้อง ก็เข้านคร ปลงพระชนม์พระราชา แล้วยึดราชสมบัติได้ กุมารเหล่านั้น ได้ใช้จักร ปลงพระชนม์พระราชาทั้งหมด ในนคร ๖ หมื่น ๓ พันนคร แล้วมารวมกัน อยู่ที่กรุงทวาราวดี แบ่งราชสมบัติเป็น ๑๐ ส่วน แต่หาทันนึกถึง อัญชนเทวีเชษฐภคินีไม่ ต่อมานึกขึ้นได้จึงปรึกษากันใหม่ว่า จะแบ่งเป็น ๑๑ ส่วน อังกุรกุมารพูดขึ้นว่า ท่านทั้งหลาย จงให้ส่วนของเรา แก่อัญชนเทวีเชษฐภคินีเถิด เราจะทำการค้าขายเลี้ยงชีพ แต่ท่านทั้งหลาย ต้องแบ่งส่วยในชนบทของตน ให้แก่เราทุกๆ คน พี่น้อง ๙ องค์ รับว่า ดีแล้ว ดังนี้ แล้วมอบราชสมบัติ ส่วนของอังกุรกุมาร ให้แก่อัญชนเทวีเชษฐภคินี ได้เป็นพระราชา ๙ องค์ กับเชษฐภคินี อยู่ด้วยกัน ในกรุงทวาราดี ส่วนอังกุรกุมาร ได้ทำการค้าขาย.
เมื่อพระราชาพี่น้องเหล่านั้น เจริญด้วยบุตรธิดาต่อๆ มาอีกอย่างนี้ ครั้นกาลล่วงไปนาน พระราชมารดาบิดา ก็สิ้นพระชนม์ลง ได้ยินว่า อายุกาลของมนุษย์ ในครั้งนั้นถึง ๒๐,๐๐๐ ปี ครั้งนั้น พระปิโยรสองค์หนึ่ง ของวาสุเทพมหาราช สิ้นพระชนม์ พระราชาทรงแต่เศร้าโศก ละสรรพกิจเสีย นอนกอดแคร่พระแท่น บ่นเพ้ออยู่ กาลนั้น ฆตบัณฑิตคิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 973
ว่า เว้นเราเสียแล้ว คนอื่นใครเล่าชื่อว่า สามารถกำจัด ความโศกของพี่ชายเรา ย่อมไม่มี เราจักใช้อุบาย กำจัดความโศกของพี่ชาย คิดดังนี้แล้ว จึงทำเป็นคนบ้า แหงนดูอากาศ เดินบ่นไปทั่วเมืองว่า ท่านจงให้กระต่ายแก่เรา ท่านจงให้กระต่ายแก่เรา ดังนี้ ข่าวเล่าลือกันไปทั่วเมืองว่า ฆตบัณฑิต เป็นบ้าเสียแล้ว.
เวลานั้น อำมาตย์ชื่อ โรหิเณยยะ ไปเฝ้าพระเจ้าวาสุเทพ เมื่อจะเริ่มสนทนากับพระองค์ ได้กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหวงศ์ ขอพระองค์ จงเสด็จลุกขึ้นเถิด จะมัวทรงบรรทมอยู่ทำไม ความเจริญอะไร จะมีแก่พระองค์ ด้วยพระสุบินเล่า พระภาดาของพระองค์แม้ใด เสมอด้วยพระหฤทัย และเสมอด้วยพระเนตรข้างขวา ลมได้กระทบดวงหทัย ของพระภาดานั้น ข้าแต่พระองค์ ผู้มีพระเกศางาม ฆตบัณฑิตทรงเพ้อไป.
โรหิเณยยะอำมาตย์ ทูลทักทายด้วยโคตรว่า ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหวงศ์ ในคาถานั้น นัยว่าพระวาสุเทพนั้น มีโคตรว่า กัณหายนะ. บทว่า โก อตฺโถ คือ ความเจริญชื่ออะไร. บทว่า หทยํ จกฺขุญฺจ ทกฺขิณํ ความว่า เสมอด้วยพระหฤทัยด้วย เสมอด้วยพระเนตรข้างขวาด้วย. บทว่า ตสฺส วาตา พลิยฺยนฺติ ความว่า ลมกระทบดวงหทัย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 974
ของพระภาดานั่งอยู่ ณ ที่นี้. บทว่า ชปฺปติ คือ ทรงเพ้อไปว่า ท่านทั้งหลาย จงให้กระต่ายแก่เรา. บทว่า เกสว ความว่า ได้ยินว่า พระเจ้าวาสุเทพนั้น ทรงปรากฏพระนามว่า เกสว เพราะทรงมีพระเกษางาม โรหิเณยยะอำมาตย์ ทูลทักทายพระเจ้าวาสุเทพ ด้วยพระนามนั้น.
เมื่ออำมาตย์ทูลอย่างนี้แล้ว พระศาสดาผู้ตรัสรู้แล้ว ทรงทราบความที่ ฆตบัณฑิต มีจิตมั่นคง จึงตรัสพระคาถาที่ ๒ ว่า :-
พระเจ้าเกสวราช ทรงสดับคำของ โรหิเณยยะอำมาตย์นั้นแล้ว อัดอั้นพระหฤทัย ด้วยความโศกถึงพระภาดา มีพระวรกาย กระสับกระส่าย เสด็จลุกขึ้น.
พระราชาเสด็จลุกขึ้น รีบเสด็จลงจากปราสาท ไปหาฆตบัณฑิต จับหัตถ์ทั้ง ๒ ไว้แน่น เมื่อจะเจรจากับฆตบัณฑิต ได้กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
เหตุไรหนอ เจ้าจึงเป็นเหมือนคนบ้า เที่ยวบ่นเพ้อ อยู่ทั่วนครทวาราวดีนี้ว่า กระต่าย กระต่าย ใครเขาลักกระต่ายของเจ้าไปหรือ?
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เกวลํ ทฺวารกํ อิมํ ความว่า พระราชาตรัสถามว่า เพราะเหตุไรเจ้า จึงเป็นดังคนบ้า เที่ยวบ่นเพ้ออยู่ทั่ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 975
ทวาราวดีนครนี้ว่า กระต่าย กระต่าย ใครมาลักเอากระต่ายของเจ้าไปหรือ? คือกระต่ายของเจ้า ใครลักไปแล้วหรือ?
เมื่อพระราชาตรัสอย่างนี้แล้ว ฆตบัณฑิต ก็ยังตรัสคำนั้นแหละ อยู่บ่อยๆ พระราชาจึงตรัส ๒ คาถาอีกว่า :-
เจ้าอยากได้กระต่ายทอง กระต่ายเงิน กระต่ายแก้วมณี กระต่ายสังขศิลา หรือกระต่ายแก้วประพาฬ ประการใด เจ้าจงบอกแก่เรา เราจักให้เขาทำให้เจ้า ถ้าแม้เจ้าไม่ชอบกระต่าย เหล่านี้ ฝูงกระต่ายป่าอื่นๆ มีอยู่ในป่า เราจักให้เขานำเอากระต่ายเหล่านั้น ให้เจ้า เจ้าต้อง การกระต่ายชนิดไรเล่า?
พึงทราบความย่อ ในพระคาถานั้น ดังนี้.
บรรดากระต่ายทั้งหลาย มีกระต่ายทอง เป็นต้นเหล่านั้น เจ้าจงบอกกระต่าย ที่เจ้าต้องการ เราจักให้เขาทำให้เจ้า ถ้าแม้เจ้าไม่ชอบ กระต่ายเหล่านั้น ฝูงกระต่ายป่าอื่นๆ ก็มีอยู่ในป่า เราจักให้เขานำเอา กระต่ายเหล่านั้น มาให้ ดูก่อนท่าน ผู้มีพระพักตร์อันงาม เจ้าต้องการกระต่ายเช่นไร จงบอกมา?
ฆตบัณฑิต ฟังพระดำรัส ของพระราชาแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๖ ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 976
ข้าแต่พระองค์ ผู้มีพระเกศางาม กระต่ายเหล่าใด ที่อาศัยอยู่บนแผ่นดิน หม่อมฉันไม่ ปรารถนาสิ้นทั้งนั้น หม่อมฉันปรารถนา กระต่ายจากดวงจันทร์ ขอพระองค์ได้ทรงโปรด สอยกระต่ายนั้น มาให้หม่อมฉันเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอหร ได้แก่ ให้หยั่งลง.
พระราชาทรงสดับถ้อยคำ ของฆตบัณทิตแล้ว ทรงโทมนัสว่า น้องชายของเรา เป็นบ้าเสียแล้ว โดยไม่ต้องสงสัย จึงกล่าวคาถาที่ ๗ ว่า :-
น้อง เจ้าปรารถนา สิ่งที่เขาไม่พึงปรารถนากัน อยากได้กระต่ายจากดวงจันทร์ จักละชีวิต ที่ยังดี ไปเสียเป็นแน่.
พระราชาเมื่อจะทรงทักพระกนิษฐาจึง ตรัสว่า น้อง ในพระคาถานั้น ข้อนี้มีอธิบายว่า แน่ะพ่อท่านใดปรารถนา สิ่งที่ไม่ควรปรารถนา ท่านนั้น ผู้เป็นน้องของเรา จักละชีวิตของตนที่ดียิ่ง ไปเสียเป็นแน่.
ฆตบัณฑิต ฟังพระราชดำรัสแล้ว ยืนนิ่งอยู่ กล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าพี่ เจ้าพี่ทรงทราบว่า ข้าพระองค์ปรารถนา กระต่ายจากดวงจันทร์ ไม่ได้แล้วจะตาย ก็เหตุไร เจ้าพี่จึงเศร้าโศก ถึงโอรสที่สิ้นพระชนม์ไป แล้วเล่า? แล้วกล่าวคาถาที่ ๘ ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 977
ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหวงศ์ ถ้าพระองค์ทรงทราบ และตรัสสอนผู้อื่น อย่างนี้ไซร้ เหตุไร พระองค์จึงทรงเศร้าโศก ถึงพระราชโอรส ผู้สิ้นพระชนม์ไปแล้ว ในกาลก่อน จนกระทั้งถึงวันนี้เล่า?
คำว่า เอวํ ในคาถานั้น มีอธิบายว่า ถ้าพระองค์ทรงทราบ อย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า ของที่ไม่ควรได้ บุคคลก็ไม่ควรหวัง ดังนี้ไซร้. บทว่า ยทญฺมนุสาสสิ ความว่า ผิว่าพระองค์ ทรงทราบอยู่อย่างนี้แหละ ตรัสสอนผู้อื่นอยู่. บทว่า. ปุเร เป็นต้น ความว่า ฆตบัณฑิตกล่าวว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงเศร้าโศกถึงพระราชโอรส ผู้สิ้นพระชนม์ไปแล้ว นับจากนี้ไปถึง ๔ เดือน จนกระทั้งถึงวันนี้เล่า?
ฆตบัณฑิต ยืนอยู่ระหว่างวิถี กราบทูลดังนี้ว่า ข้าแต่พระเจ้าพี่ หม่อมฉันปรารถนาสิ่งที่เห็นปรากฏอยู่แท้ๆ แต่เจ้าพี่ทรงเศร้าโศก เพื่อทรงประสงค์ สิ่งที่มิได้ปรากฏอยู่ เมื่อจะแสดงธรรมถวายพระราชา ได้กล่าวคาถา ๒ คาถาอีกว่า :-
มนุษย์หรือเทวดา ไม่พึงได้ฐานะอันใด คือ ความมุ่งหวังว่า บุตรของเราที่เกิดมาแล้ว อย่าตายเลย พระองค์ทรงปรารถนาฐานะ อันนั้นอยู่ จะพึงทรงได้ฐานะ ที่ไม่ควรได้ แต่ที่ไหน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 978
ข้าแต่พระองค์ผู้กัณหวงศ์ พระองค์ทรงเศร้าโศก ถึงพระโอรสองค์ใด ผู้ไปปรโลกแล้ว พระองค์ก็ไม่สามารถ จะนำพระโอรสนั้น มาได้ ด้วยมนต์ ยารากไม้ โอสถ หรือพระราชทรัพย์เลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ เป็นต้น ความว่า ฆตบัณฑิต แสดงว่า มนุษย์หรือเทวดา ไม่พึงได้อีก คือไม่อาจเพื่ออันได้ฐานะอันใด คือความมุ่งหวังอย่างนี้ว่า บุตรของเราที่เกิดมาแล้ว อย่าตายเลย พระองค์ทรงปรารถนาฐานะ อันนั้นอยู่ จะพึงทรงให้ฐานะ ที่ไม่ควรได้นั้น คือ พระโอรสผู้ไปปรโลกแล้ว แต่ที่ไหน? คือจะสามารถได้ ด้วยเหตุอะไร? ได้แก่ ไม่สามารถจะได้ฐานะ ที่ไม่ควรได้นั้น. อธิบายว่า เพราะเหตุนั้น ขึ้นชื่อว่า สิ่งอันไม่ควรได้ คือ ฐานะอันไม่ควรได้นั้น จะพึงได้แต่ที่ไหน.
บทว่า มนฺตา คือ ด้วยการร่ายมนต์ บทว่า มูลเภสชฺช คือ ด้วยรากยา บทว่า โอสเถหิ คือ ด้วยโอสถชนิดต่างๆ. บทว่า ธเนน วา คือ หรือด้วยพระราชทรัพย์นับด้วย ๑๐๐ โกฏิ.
คำนี้มีอธิบายว่า พระองค์ทรงเศร้าโศก ถึงพระโอรสองค์ใด ผู้ไปปรโลกแล้ว พระองค์ก็ไม่สามารถ จะนำพระโอรสนั้น มาได้ แม้ด้วยการร่ายมนต์ เป็นต้นเหล่านั้น.
พระราชาทรงสดับ ดังนั้นแล้ว ตรัสว่า แน่ะ พ่อฆตบัณฑิต คำที่กล่าวนี้ ควรกำหนดไว้ ท่านได้ทำให้เราหายโศกแล้ว เมื่อจะสรรเสริญ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 979
ฆตบัณฑิต จึงตรัสพระคาถา ๔ พระคาถาว่า :-
บุรุษผู้เป็นบัณฑิตเช่นนี้ เป็นอำมาตย์ ของพระราชาพระองค์ใด พระราชาพระองค์นั้น จะมีความโศกมาแต่ไหน เหมือนฆตบัณฑิต ดับความโศกของเราในวันนี้ ฆตบัณฑิตได้ รดเราผู้เร่าร้อน ให้สงบระงับ ดับความกระวนกระวายทั้งปวงได้ เหมือนบุคคลดับไฟ ที่ติดเปรียงด้วยน้ำ ฉะนั้น ฆตบัณฑิตได้ถอนลูกศร ที่เสียบแทงหทัยของเราออกแล้ว ได้บรรเทาความโศกถึงบุตรของเรา ผู้ถูกความเศร้าโศก ครอบงำแล้วหนอ เราเป็นผู้ถอนลูกศร ออกได้แล้ว ปราศจากความโศก ไม่ขุ่นมัว จะไม่เศร้าโศก จะไม่ร้องไห้ เพราะได้ฟังคำของเจ้านะ น้อง.
บรรดาคาถาเหล่านั้น คาถาที่หนึ่ง มีความย่อดังนี้ว่า บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เช่นนี้ เป็นอำมาตย์ของพระราชา แม้พระองค์อื่นใด พระราชาพระองค์นั้น จะมีความโศกมาแต่ไหน เหมือนดังฆตบัณฑิต ยังเราผู้ถูกความเศร้าโศกถึงบุตร ครอบงำแล้ว ให้ดับ คือให้เย็น ได้แก่ให้ตื่น เพื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 980
ประโยชน์แก่การกำจัดความโศก ฉะนั้น. คาถาที่เหลือ มีเนื้อความดังกล่าวแล้ว นั่นแหละ.
ในอวสาน มีอภิสัมพุทธคาถา ซึ่งมีเนื้อความง่ายดังนี้ว่า :-
ผู้มีปัญญา มีใจกรุณา ย่อมทำผู้ที่เศร้า โศกให้หลุดพ้น จากความเศร้าโศกได้ เหมือน ฆตบัณฑิต ทำพระเชษฐา ผู้เศร้าโศกให้หลุดพ้น จากความเศร้าโศก ฉะนั้น.
เมื่อพระเจ้าวาสุเทพ ผู้อันฆตบัณฑิต ทำให้หมดความโศกแล้ว อย่างนี้ ครองราชสมบัติอยู่ โดยล่วงไปแห่งกาล ยืดยาวนาน พระกุมารโอรสของกษัตริย์ พี่น้องทั้ง ๑๐ ปรึกษากันว่า เขากล่าวกันว่า กัณหทีปายนดาบส ผู้มีตาดังทิพย์ พวกเราจักทดลองท่านดูก่อน จึงประดับกุมาร เด็กผู้ชายคนหนึ่ง แสดงอาการเหมือนหญิงมีครรภ์ เอาลูกแก้วมรกต ผูกไว้ที่ท้อง แล้วนำไปหาพระดาบสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เด็กหญิงนี้จักคลอดหรือไม่? พระดาบสพิจารณาดู รู้ว่า กาลวิบัติของกษัตริย์ พี่น้อง ๑๐ องค์ มาถึงแล้ว อายุสังขารของพวกเรา เป็นเช่นไรหนอ? ก็รู้ว่า จักตายวันนี้แน่ จึงกล่าวว่า กุมารทั้งหลาย พวกท่านต้องการอะไร ด้วยเรื่องนี้ ถูกพวกกุมารเซ้าซี้ว่า ขอท่านจงบอกแก่พวกกระผมเถิด พระเจ้าข้า จึงกล่าวว่า ต่อนี้ไป ๗ วัน กุมาริกาผู้นี้ จักคลอด ปุ่มไม้ตะเคียนออกมา ด้วยเหตุนั้น ตระกูลของวาสุเทพจักพินาศ อนึ่ง ท่านทั้งหลาย จงเอาปุ่มไม้ตะเคียนนั้น ไปเผา แล้วเอาเถ้าไปทิ้งในแม่น้ำ ลำดับนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 981
พระกุมารเหล่านั้น กล่าวกะพระดาบสว่า ดูก่อนชฎิลโกง ธรรมดาผู้ชาย ออกลูกได้ไม่มีเลย แล้วทำกรรมกรณ์ ชื่อ ตันตรัชชุกะ. ให้ดาบสิ้นชีวิต ในที่นั้นเอง.
กษัตริย์พี่น้องทั้งหลาย เรียกพระกุมารมา ตรัสถามว่า พวกเจ้าฆ่าพระดาบส เพราะเหตุไร? ครั้นได้สดับเรื่องทั้งหมดแล้ว ทรงหวาดกลัว จึงรักษาเด็กนั้นไว้ ครั้นถึงวันที่ ๗ ให้เผาปุ่มตะเคียน ที่ออกจากท้องเด็กนั้น แล้วเอาเถ้าไปทิ้งในแม่น้ำ เถ้านั้นถูกน้ำพัดไปติดอยู่ที่ปากอ่าว ข้างหนึ่ง เกิดเป็นตะไคร่น้ำขึ้นที่นั้น.
อยู่มาวันหนึ่ง กษัตริย์เหล่านั้น ชวนกันทรงสมุทรกีฬา เสด็จไปถึงปากอ่าว แล้วให้ปลูกมหามณฑป ทรงเสวยทรงดื่ม ทรงหยอกเย้ากัน ที่มหามณฑป ซึ่งตกแต่งงดงาม ใช้พระหัตถ์ และพระบาทถูกต้องกัน แต่เป็นไปด้วยอำนาจความเย้ยหยัน จึงทะเลาะกันยกใหญ่ แตกกันเป็นสองพวก ลำดับนั้น กษัตริย์พระองค์หนึ่ง เมื่อไม่ได้ไม้ตะบองอย่างอื่น ก็ถือใบตะไคร้น้ำ แต่กอตะไคร้น้ำใบหนึ่ง ใบตะไคร้น้ำนั้น พอถูกจับเข้าเท่านั้น ก็กลายเป็นสากไม้ตะเคียน พระองค์ทรงตีมหาชน ด้วยสากนั้น แล้วสิ่งที่คนทั้งหมดจับ ด้วยเข้าใจว่าเป็นอย่างอื่น ก็กลายเป็นสากไปหมด เขาจึงประหารกันและกัน ถึงความพินาศสิ้น เมื่อเขาเหล่านั้นกำลังพินาศอยู่ กษัตริย์ ๔ องค์ คือ วาสุเทพ พลเทพ อัญชนเทวีภคินี และปุโรหิต พากันขึ้นรถหนีไป พวกที่เหลือ พากันพินาศหมด กษัตริย์ ๔ องค์เหล่านั้น ขึ้นรถหนีไปถึงดงกาฬมัตติกะ ก็มุฏฐิกะคนปล้ำนั้น ซึ่งตั้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 982
ความปรารถนาไว้ ได้เกิดเป็นยักษ์ อยู่ในดงนั้น รู้ว่าพลเทพมา ก็เนรมิตรบ้านขึ้นที่นั่น แปลงเพศเป็นคนปล้ำ เที่ยวโห่ร้องคำราม ตบมือ ท้าทายว่า ใครต้องการสู้ พลเทพพอเห็นเขาเหล่านั้น ก็กล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าพี่ หม่อมฉันจักสู้กับบุรุษนี้เอง เมื่อวาสุเทพห้ามอยู่นั่นแหละ ลงจากรถ ตบมือ เข้าไปหายักษ์นั้น ลำดับนั้น ยักษ์จึงจับมือ ที่เหยียดออก แล้วกินพลเทพเสีย ดุจเหง้าบัว.
วาสุเทพรู้ว่าพลเทพสิ้นชีวิต จึงพาภคินี และปุโรหิต เดินทางไป ตลอดคืน พอรุ่งสว่างก็ถึงปัจจันตคามตำบลหนึ่ง สั่งภคินี และปุโรหิต ไปยังบ้านสั่งว่า จงหุงอาหารแล้วนำมา ตัวเองเข้าไปนอนซ่อนอยู่ ที่กอไม้กอหนึ่ง ครั้งนั้น นายพรานคนหนึ่ง ชื่อ ชรา เห็นกอไม้ไหวๆ เข้าใจว่า สุกร จักมีที่นั่น จึงพุ่งหอกไปถูกพระบาทวาสุเทพ เมื่อวาสุเทพตรัสว่า ใครแทงเรา นายพรานรู้ว่า ตนแทงมนุษย์ ก็ตกใจกลัว ปรารภจะหนีไป พระราชาดำรงพระสติไว้ เสด็จลุกขึ้น ตรัสเรียกว่า ดูก่อนลุง อย่ากลัวเลยจงมาเถิด ครั้นนายพรานมาแล้ว จึงตรัสถามว่า ท่านชื่ออะไร? เมื่อนายพรานตอบว่า ข้าแต่นาย ข้าพเจ้าชื่อ ชรา ก็ทรงทราบว่า นัยว่า คนรุ่นก่อนพยากรณ์เราไว้ว่า จักถูกนายชราแทงตาย วันนี้เราคงตาย โดยไม่ต้องสงสัย แล้วตรัสกะนายชราว่า ดูก่อนลุง ท่านอย่ากลัวเลย จงมาช่วยพันแผลที่เท้าให้เรา ให้นายพรานชรา พันปากแผล แล้วก็ส่งนายพรานนั้นไป เวทนามีกำลังได้เป็นไปอย่างแรงกล้า พระราชา ไม่อาจจะเสวยพระกระยาหาร ที่ภคินี และปุโรหิต นำมาได้ ลำดับนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 983
พระองค์จึงตรัสเรียกชนทั้งสอง มาตรัสว่า เราจักตายวันนี้ ก็ท่านทั้ง ๒ เป็นสุขุมาลชาติ ไม่อาจจะทำการงานอย่างอื่น เลี้ยงชีพได้ จงเรียนวิชานี้ไว้ แล้วให้ศึกษาวิชาอย่างหนึ่ง แล้วส่งเขากลับไป พระองค์สิ้นพระชนม์อยู่ ณ ที่นั้นเอง กษัตริย์พี่น้องทั้งหมด นอกจากอัญชนเทวีแล้ว ถึงความพินาศสิ้น.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาแสดงแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก โบราณบัณฑิต ฟังด้วยคำของบัณฑิตแล้ว กำจัดความโศกถึงบุตร ของตนออกได้ ท่านอย่าคิดถึงเขาเลย ดังนี้ แล้วทรงประกาศสัจธรรม เวลาจบสัจจะ อุบาสกดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พระทศพล ทรงประชุมชาดกว่า โรหิเณยยอำมาตย์ในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอานนท์ในบัดนี้ วาสุเทพในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระสารีบุตรในบัดนี้ พวกที่เหลือนอกนี้ ในครั้งนั้น ได้มาเป็นพุทธบริษัทในบัดนี้ ส่วนฆตบัณฑิต ในครั้งนั้น ได้มาเป็นเรา ผู้สัมมาสัมพุทธะ เปิดหลังคา คือ กิเลสในโลกได้แล้ว ฉะนี้แล.
จบอรรถกถา ฆตบัณฑิตชาดกที่ ๑๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 984
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. จตุทวารชาดก ๒. กัณหชาดก ๓. จตุโปสถชาดก ๔. สังขชาดก ๕. จุลลโพธิชาดก ๖. มัณฑัพยชาดก ๗. นิโครธ ชาดก ๘. ตักกลชาดก ๙. มหาฐัมมปาจชาดก ๑๐. กุกกุฏชาดก ๑๑. มัฏฐกุณฑศิชาดก ๑๒. พิลารโกสิยชาดก ๑๓. จักกวากชาดก ๑๔. ภูริปัญหาชาดก ๑๕. มหามังคลชาดก ๑๖. ฆตบัณฑิตชาดก.
จบ ทสกนิบาตชาดก