บทสวด ปัตติทานะคา กล่าวเกี่ยวกับเรื่องใด ครับ?
บทสวด ปัตติทานคาถา กล่าวเกี่ยวกับการอุทิศกุศลที่ได้กระทำแล้วให้แก่สัพพสัตว์ (กรวดน้ำ)
ปัตติทาน หมายถึง บุญที่สำเร็จด้วยการอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับไปแล้ว การกล่าว คำอุทิศส่วนกุศล เป็นภาษาไทยก็ได้ค่ะ เช่น ข้าพเจ้าขออุทิศส่วน กุศลที่ได้ทำแล้ว ในวันนี้ให้กับมารดา บิดา ตลอดจนสัพพสัตว์ ที่สามารถล่วงรู้ กุศลกรรมที่ข้าพเจ้าได้ทำไว้
จำเป็นไหม เมื่ออุทิศส่วนกุศล ต้องสวดบท ปัตติทาน
บุญอยู่ที่จิต บาปก็อยู่ที่จิต แต่จิตเกิดก็ต้องมีเจตนาด้วยครับ ดังนั้น บุคคลที่ไม่รู้คำสวดนี้ หรือการกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลได้ไหมครับ ถ้าบุคคลนั้นมีเจตนา ตั้งใจที่จะอุทิศ แม้ไม่ต้องสวดหรือกรวดน้ำ แต่คิดในใจด้วยเจตนาอุทิศให้ ขณะนั้น จิตเป็นกุศล เป็นไปในปัตติทานมัย (การอุทิศให้) ดังนั้น บุญจึงไม่ได้อยู่ที่คำสวดภาษาบาลี หรือการกรวดน้ำ แต่อยู่ที่เจตนาที่จะอุทิศให้ด้วยความหวังดี บุญจึงอยู่ที่จิตครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
เรียนอาจารย์ ที่เคารพ
มีบท ที่เกี่ยวข้อง (อ้างอิง) กับพระไตรปิฏก เล่ม หน้า เรื่องใด ครับ
ขอความกรุณาครับ
บทสวดกรวดน้ำเช้า เย็น และอิมินา เป็นต้น ที่นิยมใช้กันทั่วไป ไม่มีที่มาในพระไตรปิฎก แต่อาจารย์รุ่นหลังๆ ท่านแต่งขึ้น ความจริงแล้วเราเป็นคนไทยเราก็อุทิศส่วนกุศลด้วยภาษาไทยสั้นๆ ก็ใช้ได้ เช่น ที่ มศพ. ใช้อยู่คือ
ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลที่ได้บำเพ็ญแล้ว แด่บุพพการี มีมารดาบิดา เป็นต้นแด่ญาติและมิตรสหายผู้ล่วงลับไปแล้ว แด่เทพยดาและอมนุษย์ทั้งหลายขอจงมีจิตโสมนัสยินดี อนุโมทนาในส่วนกุศลนี้โดยทั่วกันเทอญ