๕. ชนสันธชาดก ว่าด้วยเหตุที่ทําจิตให้เดือดร้อน
[เล่มที่ 60] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้า 159
๕. ชนสันธชาดก
ว่าด้วยเหตุที่ทําจิตให้เดือดร้อน
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 60]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้า 159
๕. ชนสันธชาดก
ว่าด้วยเหตุที่ทำจิตให้เดือดร้อน
[๑๖๔๙] พระเจ้าชนสันธะได้ตรัสอย่างนี้ว่า เหตุที่จะทำให้จิตเดือดร้อนนั้น มีอยู่ ๑๐ ประการ บุคคลไม่กระทำเสียในกาลก่อนแล้ว ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง.
[๑๖๔๐] บุคคลเมื่อยังเป็นหนุ่ม ไม่ทำความพยายามยังทรัพย์ให้เกิดขึ้น ครั้นแก่ลงหาทรัพย์ไม่ได้ ย่อมเดือดร้อนภายหลังว่า เมื่อก่อนเราไม่ได้แสวงหาทรัพย์ไว้.
[๑๖๕๑] ศิลปะที่สมควรแก่ตน บุคคลใดไม่ได้ศึกษาไว้ในกาลก่อน บุคคลนั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่า เราไม่ได้ศึกษาศิลปะไว้ก่อน ผู้ไม่มีศิลปะย่อมเลี้ยงชีพลำบาก.
[๑๖๕๒] ผู้ใดเป็นคนโกง ผู้นั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่า เราเป็นคนโง่ ส่อเสียด กินสินบน ดุร้าย หยาบคาย ในกาลก่อน.
[๑๖๕๓] ผู้ใดเป็นคนฆ่าสัตว์ ผู้นั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่า เราเป็นคนฆ่าสัตว์ หยาบช้าทุศีล ประพฤติต่ำช้า ปราศจากขันติ เมตตาและเอ็นดูสัตว์ ในกาลก่อน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้า 160
[๑๖๕๔] ผู้ใดคบชู้ในภรรยาผู้อื่น ย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่า หญิงที่ไม่มีใครหวงแหนมีอยู่เป็นอันมาก ไม่ควรที่เราจะคบหาภรรยาผู้อื่นเลย.
[๑๖๕๕] คนตระหนี่ ย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่า เมื่อก่อนข้าวและน้ำของเรามีอยู่มากมาย เราก็มิได้ให้ทานเลย.
[๑๖๕๖] ผู้ไม่เลี้ยงดูมารดาบิดา ย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่า เราสามารถพอที่จะเลี้ยงดูมารดาและบิดาผู้แก่เฒ่าชราได้ ก็มิได้เลี้ยงดูท่าน.
[๑๖๕๗] ผู้ไม่ทำตามโอวาทบิดา ย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่า เราได้ดูหมิ่นบิดาผู้เป็นอาจารย์สั่งสอน ผู้นำรสที่ต้องการทุกอย่างมาเลี้ยงดู.
[๑๖๕๘] ผู้ไม่เข้าใกล้สมณพราหมณ์ ย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่า เมื่อก่อนเรามิได้ไปมาหาสู่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้มีศีล เป็นพหูสูตเลย.
[๑๖๕๙] ผู้ใดไม่ประพฤติสุจริตธรรม ไม่เข้าไปนั่งใกล้สัตบุรุษ ย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่า สุจริตธรรมที่ประพฤติแล้วและสัตบุรุษอันเราไปมาหาสู่แล้ว ย่อมเป็นความดี แต่เมื่อก่อนนี้เราไม่ได้ประพฤติสุจริตธรรมไว้เลย.
[๑๖๖๐] ผู้ใดย่อมปฏิบัติเหตุเหล่านี้ โดยอุบายอันแยบคาย ผู้นั้นเมื่อกระทำกิจที่บุรุษควรทำ ย่อมไม่เดือดร้อนใจในภายหลังเลย.
จบชนสันธชาดกที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้า 161
อรรถกถาชนสันธชาดก
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร มีพระพุทธประสงค์จะประทานโอวาทแก่พระเจ้าโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า "ทส ขลุมานิ านานิ" ดังนี้.
ความพิสดารว่า ในกาลครั้งหนึ่ง พระเจ้าโกศลทรงมัวเมาด้วยอิสริยยศหมกมุ่นอยู่ในความสุขที่เกิดแต่กิเลส ไม่ปรารถนาจะตัดสินคดี แม้การบำรุงพระพุทธเจ้าก็ทรงลืมเสีย วันหนึ่ง พระองค์ทรงระลึกถึงพระทศพล ทรงดำริว่า จักถวายบังคมพระศาสดา พอเสวยกระยาหารเช้าแล้ว เสด็จขึ้นพระราชยานไปพระวิหาร ถวายบังคมพระศาสดาแล้วประทับนั่ง ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพระราชาว่า มหาบพิตร นานมาแล้วพระองค์มิได้เสด็จมา เพราะเหตุไร พระเจ้าโกศลทูลว่า เพราะข้าพระองค์มีราชกิจมาก พระเจ้าข้า ไม่มีโอกาสที่จะมาเฝ้าพระองค์ ตรัสว่า มหาบพิตร เมื่อพระพุทธเจ้าผู้สัพพัญญู ผู้ให้โอวาทเช่นเราอยู่ในวิหารที่ใกล้ ไม่ควรที่พระองค์จะประมาท วิสัยพระราชาต้องไม่ประมาทในราชกิจทั้งหลาย ดำรงพระองค์เสมอด้วยมารดาบิดาของชาวแว่นแคว้น ละอคติเสียครองราชสมบัติโดยทศพิธราชธรรมจึงจะควร เพราะเมื่อพระราชาประพฤติธรรม แม้บริษัทของพระองค์ก็ประพฤติธรรม ข้อที่เมื่อเราตถาคตสั่งสอนอยู่ พระองค์ครองราชสมบัติโดยธรรม นั้นไม่น่าอัศจรรย์ โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย แม้ไม่มีอาจารย์สั่งสอน ก็ยังตั้งอยู่ในสุจริตธรรมสามประการ แสดงธรรมแก่มหาชนตามความรู้ของตน พาบริษัทไปสวรรค์ได้ พระเจ้าโกศลทูลอาราธนาให้ตรัสเรื่องราว พระพุทธองค์ทรงนำอดีตนิทานมาตรัสเล่า ดังต่อไปนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้า 162
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรทมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีพระเจ้าพรหมทัต พระญาติทั้งหลายได้ถวายพระนามว่า ชนสันธกุมาร เมื่อพระโพธิสัตว์เจริญวัย เรียนศิลปวิทยาจากเมืองตักกศิลากลับมาแล้ว พระราชามีรับสั่งให้ชำระเรือนจำทั้งหมดให้สะอาด แล้วพระราชทานตำแหน่งอุปราช.
ต่อมาเมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้ว พระโพธิสัตว์ได้ครองราชสมบัติ รับสั่งให้สร้างโรงทานหกแห่ง คือที่ประตูพระนครทั้งสี่ด้าน ที่กลางพระนครและที่ประตูพระราชวัง บริจาคพระราชทรัพย์วันละหกแสน ทรงบำเพ็ญมหาทานจนลือกระฉ่อนไปทั่วชมพูทวีป รับสั่งให้เปิดเรือนจำไว้เป็นนิจ ให้เคาะระฆังป่าวร้องมาฟังธรรม ทรงสงเคราะห์โลกด้วยสังคหวัตถุสี่ รักษาศีลห้า อยู่จำอุโบสถ ครองราชสมบัติโดยธรรม บางครั้งบางคราวก็ให้ชาวแว่นแคว้นมาประชุมกันแล้วแสดงธรรมว่า ท่านทั้งหลายจงให้ทาน จงสมาทานศีล จงประพฤติธรรม จงประกอบการงานและการค้าขายโดยธรรม เมื่อเป็นเด็กจงเรียนศิลปวิทยา จงแสวงหาทรัพย์ อย่าคดโกงชาวบ้าน อย่าทำความส่อเสียด อย่าเป็นคนดุร้ายหยาบช้า จงบำรุงมารดาบิดา มีความเคารพอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล พระองค์ได้ทำมหาชนให้ตั้งอยู่ในสุจริตธรรม.
วันหนึ่งเป็นวันปัณรสีอุโบสถ พระโพธิสัตว์ทรงสมาทานอุโบสถศีลแล้ว ทรงดำริว่า เราจักแสดงธรรมแก่มหาชน เพื่อประโยชน์สุขยิ่งๆ ขึ้น เพื่อให้มหาชนอยู่ด้วยความไม่ประมาท รับสั่งให้ตีกลองป่าวร้องทั่วพระนคร ให้ชาวพระนครทั้งหมดตั้งต้นแต่พระสนมของพระองค์ มาประชุมกัน แล้วประทับนั่งบนบัลลังก์อันประเสริฐที่ตกแต่งไว้กลางรัตนมณฑปซึ่งประดับประดาแล้วในพระลานหลวง ตรัสว่า ชาวพระนครที่รักทั้งหลาย เราจักแสดงธรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้า 163
ที่ร้อนบ้าง ไม่ร้อนบ้าง แก่ท่านทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาท เงี่ยโสตสดับโดยเคารพเถิด แล้วทรงแสดงธรรม.
พระศาสดาทรงเผยพระโอฐแก้วอันอบรมแล้วด้วยอริยสัจ เมื่อจะตรัสเทศนานั้นโดยแจ่มแจ้งแก่พระเจ้าโกศล ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า.
"พระเจ้าชนสันธะได้ตรัสอย่างนี้ว่า เหตุที่จะทำให้จิตเดือดร้อนนั้น มีอยู่ ๑๐ ประการ บุคคลไม่ทำเสียในกาลก่อนแล้ว ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง".
"บุคคลเมื่อยังเป็นหนุ่ม ไม่ทำความพยายามยังทรัพย์ให้เกิดขึ้น ครั้นแก่ลงหาทรัพย์ไม่ได้ ย่อมเดือดร้อนภายหลังว่า เมื่อก่อนเราไม่ได้แสวงหาทรัพย์ไว้".
"ศิลปะที่สมควรแก่ตน บุคคลใดไม่ได้ศึกษาไว้ในกาลก่อน บุคคลนั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่า เราไม่ได้ศึกษาศิลปะไว้ก่อน ผู้ไม่มีศิลปะย่อมเลี้ยงชีพลำบาก".
"ผู้ใดเป็นคนโกง ผู้นั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่า เราเป็นคนโกง ส่อเสียด กินสินบน ดุร้าย หยาบคาย ในกาลก่อน".
"ผู้ใดเป็นคนฆ่าสัตว์ ผู้นั้นย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่า เราเป็นคนฆ่าสัตว์ หยาบช้าทุศีล ประพฤติต่ำช้า ปราศจากขันติ เมตตาและเอ็นดูสัตว์ ในกาลก่อน".
"ผู้ใดคบชู้ในภรรยาผู้อื่น ย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่า หญิงที่ไม่มีใครหวงแหนมีอยู่เป็นอันมาก ไม่ควรที่เราจะคบหาภรรยาผู้อื่นเลย".
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้า 164
"คนตระหนี่ ย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่า เมื่อก่อนข้าวและน้ำของเรามีอยู่มากมาย เราก็มิได้ให้ทานเลย".
"ผู้ไม่เลี้ยงดูมารดาบิดา ย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่า เราสามารถพอที่จะเลี้ยงดูมารดาและบิดาผู้แก่เฒ่าชราได้ ก็ไม่ได้เลี้ยงดูท่าน".
"ผู้ไม่ทำตามโอวาทบิดา ย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่า เราได้ดูหมิ่นบิดา ผู้เป็นอาจารย์สั่งสอน ผู้นำรสที่ต้องการทุกอย่างมาเลี้ยงดู".
"ผู้ไม่เข้าใกล้สมณพราหมณ์ ย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่า เมื่อก่อนเราไม่ได้ไปมาหาสู่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้มีศีล เป็นพหูสูตเลย".
"ผู้ใดไม่ประพฤติสุจริตธรรม ไม่เข้าไปนั่งใกล้สัตบุรุษ ย่อมเดือดร้อนภายหลังว่า สุจริตธรรมที่ประพฤติแล้วและสัตบุรุษอันเราไปมาหาสู่แล้ว ย่อมเป็นความดี แต่เมื่อก่อนนี้เราไม่ได้ประพฤติสุจริตธรรมไว้เลย".
"ผู้ใดย่อมปฏิบัติเหตุเหล่านี้ โดยอุบายอันแยบคาย ผู้นั้นเมื่อกระทำกิจที่บุรุษควรทำ ย่อมไม่เดือดร้อนใจในภายหลังเลย".
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า านานิ ได้แก่ เหตุทั้งหลาย.
บทว่า ปุพฺเพ ความว่า ไม่กระทำไว้ก่อนเลย.
บทว่า ส ปจฺฉา อนุตปฺปติ ความว่า บุคคลผู้ไม่กระทำกิจที่ควรทำไว้ก่อน ย่อมเดือดร้อน ย่อมลำบาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้า 165
ทั้งในโลกนี้ทั้งในโลกหน้า อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า ปจฺฉา อนุตปฺปติ ย่อมตามเดือดร้อนในภายหลัง ดังนี้ก็มี.
บทว่า อิจฺจาหุ ความว่า พระเจ้าชนสันธะได้ตรัสอย่างนั้น บาลีว่า อิจฺจาสุห ดังนี้ก็มี สุ อักษรในบทว่า อิจฺจาสุห นั้นเป็นเพียงนิบาต ตัดบทเป็น อิจฺจาสุ อาห เพื่อจะแสดงเหตุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน ๑๐ อย่างนี้ พระโพธิสัตว์จึงมีธรรมกถา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพ ความว่า บุคคลเมื่อคราวเป็นหนุ่มครั้งแรกทีเดียว ไม่กระทำความบากบั่น ครั้นแก่ลงหาทรัพย์ไม่ได้ ต้องเดือดร้อนเศร้าโศก เห็นคนทั้งหลายมีความสุข ตนเองเป็นอยู่ลำบาก ย่อมเดือดร้อนในภายหลังอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราไม่ได้แสวงหาทรัพย์เอาไว้ ครั้นแก่ลงย่อมลำบาก เพราะฉะนั้น เมื่อต้องการจะมีความสุขในเวลาแก่ ต้องทำงานมีกสิกรรมเป็นต้นที่ชอบธรรม แต่เมื่อยังเป็นหนุ่มทีเดียว.
บทว่า ปุเร สนฺตํ ในกาลก่อน คือในเวลาที่เรายังหนุ่มไม่เข้าไปหาอาจารย์ทั้งหลาย ไม่ศึกษาศิลปะอะไรๆ มีศิลปะในเพราะช้างเป็นต้นอันสมควรที่ตนจะทำ.
บทว่า กิจฺฉา ความว่า ในเวลาแก่ ผู้ไม่ศึกษาศิลปะ จึงไม่สามารถเพื่อดำรงชีวิตให้พ้นจากทุกข์ ในกาลนั้นจึงควรศึกษาศิลปะ เพราะฉะนั้น ท่านจึงแสดงว่า ท่านทั้งหลายผู้ปรารถนาจะดำรงชีวิตในเวลาแก่ จงศึกษาศิลปะในเวลาเป็นหนุ่มทีเดียว.
บทว่า กูฏเวที ความว่า ผู้ใดก่อความโกงให้เกิด โกงชาวบ้าน ก่อความพินาศให้แก่โลก โกงด้วยสินบน.
บทว่า อาสิํ ความว่า ในกาลก่อนเราได้เป็นเช่นนั้น.
บทว่า ปิสุโณ แปลว่า โกงด้วยถ้อยความยุยงส่อเสียด.
บทว่า ปิฏฺมํสิโก ความว่า ถือสินบน ทำผู้มิใช่เจ้าของให้เป็นเจ้าของ ผู้ที่เป็นเจ้าของมิให้เป็นเจ้าของ กินเนื้อสันหลังของชนเหล่าอื่น.
บทว่า อิติ ปจฺฉา ความว่า นอนบนเตียงที่จะตาย ย่อมเดือดร้อนในภายหลังด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้า 166
ท่านจึงโอวาทว่า ถ้าท่านไม่อยากตกนรก ก็อย่ากระทำบาปกรรมเห็นปานนี้.
บทว่า ลุทฺโธ ความว่า ผู้ที่ฆ่าสัตว์เป็นทารุณสาหัส.
บทว่า อนาริโย ความว่า เป็นผู้ไม่ใช่พระอริยะ ไม่สำรวม เป็นคนทุศีล มีสมาจารต่ำช้า.
บทว่า นาวชานิสฺสํ ความว่า ข้าพเจ้ามิใช่เป็นผู้มีความประพฤติต่ำ ด้วยอำนาจขันติ เมตตาและความเอ็นดู คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยมีในก่อนนั่นแล.
บทว่า อนาปทาสุ ความว่า การคบหากับหญิงที่ไม่มีใครหวงแหนชื่อว่า อนาปทา เพราะเป็นหญิงไม่มีใครหวงแหน อธิบายว่า ในหญิงที่คนเหล่าอื่นไม่ทำความหวงแหน.
บทว่า อุฏฺิเต แปลว่า ปรากฏ.
บทว่า น ปุพฺเพ ความว่า เมื่อก่อนแต่นี้เรามิได้ให้ทานเลย.
บทว่า ปหุสนฺโต ความว่า เป็นผู้อาจ คือสามารถเพื่อจะเลี้ยงดู ทั้งด้วยกำลังทรัพย์ ทั้งด้วยกำลังกาย.
บทว่า อาจริยํ ความว่า บิดาในที่นี้ท่านประสงค์ว่าอาจารย์ เพราะให้ศึกษามารยาท. บทว่า อนุสตฺถารํ แปลว่า ผู้พร่ำสอน.
บทว่า สพฺพกามรสา หรํ ความว่า ผู้นำรสที่ต้องการทุกอย่างมาเลี้ยงดู.
บทว่า อติมญฺิสฺสํ ความว่า เมื่อไม่ถือเอาโอวาทของท่านชื่อว่า ดูหมิ่นล่วงเกินท่าน.
บทว่า น ปุพฺเพ ความว่า เมื่อก่อนแต่นี้ ไม่ได้เข้าไปหาสมณพราหมณ์ผู้ทรงธรรม ผู้เป็นไข้ ผู้ลำบาก ไม่ปรนนิบัติโดยถวายปัจจัยมีจีวรเป็นต้น.
บทว่า ตโป ได้แก่ ผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส คือสุจริต.
บทว่า สนฺโต ความว่า เป็นผู้มีศีลเข้าไปสงบด้วยทวาร มีกายทวารเป็นต้น ท่านกล่าวอธิบายนี้ไว้ว่า ผู้ประพฤติตบะกล่าวสุจริต ๓ และผู้สงบเห็นปานนั้นชื่อว่า เข้าไปนั่งใกล้เป็นการยังประโยชน์ให้สำเร็จ คือเป็นความดี.
บทว่า น ปุพฺเพ ความว่า เมื่อคราวเราเป็นหนุ่ม เรามิได้ประพฤติพรหมจรรย์เห็นปานนี้ ภายหลังคร่ำคร่าลงเพราะชรา ถูกมรณภัย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้า 167
คุกคาม จึงเดือดร้อนเศร้าโศกในภายหลังด้วยประการฉะนี้ ท่านกล่าวว่า ถ้าท่านปรารถนาจะไม่เศร้าโศกอย่างนี้ จงกระทำตปกรรมเถิด.
บทว่า โย จ เอตานิ านานิ ความว่า ผู้ใดปฏิบัติเหตุ ๑๐ ประการเหล่านี้ ด้วยอุบายอันแยบคายก่อนทีเดียว สมาทานประพฤติ กระทำกิจอันชอบธรรมที่บุรุษทั้งหลายควรกระทำ บุรุษผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทนั้น ย่อมไม่ตามเดือดร้อนในภายหลัง ย่อมได้รับโสมนัสทีเดียวแล.
พระมหาสัตว์แสดงธรรมแก่มหาชนโดยทำนองนี้ ทุกๆ กึ่งเดือน แม้มหาชนก็ตั้งอยู่ในโอวาทของพระองค์ บำเพ็ญฐานะสิบประการเหล่านั้นบริบูรณ์ แล้วได้ไปสวรรค์.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร โบราณกบัณฑิตไม่มีอาจารย์ แสดงธรรมตามความรู้ของตน พามหาชนไปสวรรค์ได้อย่างนี้ แล้วทรงประชุมชาดกว่า บริษัทในครั้งนั้น ได้มาเป็นพุทธบริษัทในครั้งนี้ ส่วนพระเจ้าชนสันธราช ได้มาเป็นเราตถาคตแล.
จบอรรถกถาชนสันธชาดก