กัลยาณมิตรที่เกี่ยวกับโคจร

 
pirmsombat
วันที่  30 เม.ย. 2550
หมายเลข  3596
อ่าน  1,349

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 612

มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ทั้งหลาย ด้วยการก้าวไป ด้วยการถอยกลับ

ด้วยการเหลียวซ้าย ด้วยการแลขวา ด้วยการเหยียดเท้า ด้วยการเหยียดออก

ที่น่าเลื่อมใส รู้ประมาณในการบริโภค ตามประกอบความเพียร ประกอบ

ด้วยสติและสัมปชัญญะ มีความปรารถนาน้อย สันโดษ สงัดแล้ว ไม่คลุกคลี

(ด้วยหมู่) กระทำโดยเคารพในอภิสมาจาริกวัตร มากไป ด้วยความเคารพ

ยำเกรงอยู่ ภิกษุนี้ ท่านกล่าวว่าสมบูรณ์ด้วยอาจาระ.

ก็โคจรมี ๓ อย่างคือ อุปนิสัยโคจร อารักขโคจร อุปนิพันธโคจร.

ในโคจร ๓ อย่างนั้น กัลยาณมิตร ผู้ประกอบไปด้วยคุณสมบัติ คือ

กถาวัตถุ ๑๐ มีลักษณะดังกล่าวแล้วอาศัยภิกษุใด ย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง

ทำข้อที่ฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง บรรเทาความสงสัยเสียได้ กระทำความเห็นให้ตรง

ยังจิตให้เลื่อมใส และเมื่อติดตามศึกษา ภิกษุใดอยู่ ย่อมเจริญด้วยศรัทธาเจริญด้วยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ภิกษุนี้นั้น ชื่อว่า อุปนิสัยโคจร. ภิกษุใด เข้าไปในละแวกบ้าน เดินไปสู่ถนนทอดตาลงต่ำ มองดูชั่วแอก

สำรวมแล้วเดินไป ไม่มองดูช้าง ไม่มองดูม้า ไม่มองดูรถ ไม่มองดูคนเดินเท้า

ไม่มองดูสตรี ไม่มองดูบุรุษ ไม่เพ่งดูทิศน้อย ทิศใหญ่ ภิกษุนี้นั้น ชื่อว่า

อารักขโคจร. ส่วน อุปนิพันธโคจร ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ อันเป็นที่

ซึ่งภิกษุเข้าไปผูกพันจิตของตนไว้. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ก็ อารมณ์อันเป็นของบิดาตน อันเป็นโคจรของภิกษุ คืออะไร? คือ

สติปัฏฐาน ๔ ดังนี้. ดังนั้น ภิกษุผู้ชื่อว่า สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร

เพราะประกอบด้วยอาจารสมบัติ ตามที่กล่าวมาแล้ว และโคจรสมบัตินี้.

บทว่า อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี ความว่า มีปกติเห็น

ภัยในโทษทั้งหลาย ต่างด้วยอกุศลจิตตุปบาทในเสขิยวัตร ที่ต้องแล้วโดยไม่

ได้ตั้งใจ เป็นต้น มีประมาณน้อย คือ มีประมาณเท่าอณู. อธิบายว่า ภิกษุใด เห็นโทษมีประมาณเท่าปรมาณู ทำให้ใหญ่ เหมือนขุนเขาสิเนรุราชที่สูงถึง ๖๘ แสนโยชน์ ก็ดี ภิกษุใด เห็นอาบัติเพียงทุพภาสิตอัน (มีโทษ)

เบากว่าอาบัติทั้งปวง ทำให้ (หนัก) เหมือนอาบัติปาราชิก ก็ดี ภิกษุนี้

ชื่อว่า มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลาย มีประมาณน้อย. บทว่า สมาทาย

สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ ความว่า ในบรรดาสิกขาบททั้งหลาย สิกขาบทอย่าง

ใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจะต้องศึกษา สมาทานสิกขาบทนั้น หมดทุกสิ่งทุกอย่าง

คือ ครบถ้วนโดยประการทั้งปวง ได้แก่ ไม่ให้เหลือ แล้วศึกษา คือ

บำเพ็ญให้เป็นไป.

บทว่า อิติ กลฺยาณสีโล ความว่า เป็นผู้มีศีลอันงามด้วยประการ

นี้ อธิบายว่า ศีลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ด้วยสามารถแห่ง

บุคลาธิษฐาน แล้วทรงย้ำด้วยสามารถแห่งบุคลาธิษฐานที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมชื่อว่า เป็นผู้มีศีลอันงาม ด้วยประการอย่างนี้แลนั้นเองอันพระองค์ตรัสไว้ว่า อิติ กลฺยาณสีโล เป็นผู้มีศีลงาม ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้อีก เพื่อจะทรงแสดงว่า ศีลนี้ เป็นที่ตั้งของธรรมเหล่านั้น โดย

มีพระประสงค์ จะทรงเสดงธรรมที่ตรัสไว้แล้วในบท ว่า กลฺยาณธมฺโม นี้.

บททั้งปวงมีอาทิว่า สตฺตนฺนํ โพธิปกฺขิยานํ มีเนื้อความดังกล่าวในหน

หลังแล้วแล. คำว่า กลฺยาณสีโล เป็นต้น เป็นคำตรัสย้ำอีก.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายต่อไป บทว่า ทุกฺกฏํ แปลว่า

กระทำแล้วชั่ว อธิบายว่า ได้แก่ ทุจริต. บทว่า หิรีมนํ ความว่า มี

ความละอาย คือ ถึงพร้อมด้วยหิริ. อธิบายว่า ได้แก่ สภาวะที่รังเกียจ

ความประพฤติชั่วโดยประการทั้งปวง. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า หิรีมนํ ได้แก่

จิตที่ประกอบด้วยหิริ. ก็ในอธิการนี้ พึงทราบว่า ทรงถือเอาแม้โอตัปปะ

ไว้ด้วยศัพท์ว่า หิริแล้วทีเดียว. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงเหตุแห่ง

ความเป็นผู้ทุจริต โดยประการทั้งปวง ด้วยศัพท์ว่า หิริโอตัปปะ ชื่อว่า ย่อม

ทรงยังความเป็นผู้มีศีลอันงามให้แจ่มแจ้ง โดยเหตุ.

ภิกษุชื่อว่า สมฺโพธิคามิโน เพราะถึง คือ ประสบสัมโพธิญาณ คือ

อริยมรรคญาณ. อธิบายว่า เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งโพธิ. บทว่า อนุสฺสทํ

ความว่า เว้นจากกิเลสที่ฟูขึ้นมีราคะเป็นต้น. บางอาจารย์ กล่าวว่า ตถาวิธํ

ดังนี้บ้าง. อธิบายว่า คำว่า หมั่นประกอบเนืองๆ ซึ่งการเจริญโพธิปักขิยธรรมนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้วในกาลก่อน อย่างใดๆ ก็เป็น

อย่างนั้น คือเป็นเช่นนั้น.

บทว่า ทุกฺขสฺส ได้แก่ วัฏทุกข์ หรือเหตุแห่งวัฏทุกข์.

บทว่า อิเธว ขยมตฺตโน ความว่า ย่อมรู้ชัดซึ่งความสิ้นไป คือความไม่บังเกิดขึ้น

แห่งชัฏคือกิเลส อันเป็นเหตุแห่งวัฏทุกข์ของตน คือเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งสมุทัย ด้วยการบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะในอัตภาพนี้แหละ คือในอัตภาพนี้ทีเดียว. อีกอย่างหนึ่ง ย่อมรู้ซึ่งความสิ้นไป คือความหมดไปแห่งวัฏทุกข์

นั่นแหละ ด้วยความดับแห่งจริมกจิต ในอัตภาพนี้ทีเดียว.

บทว่า เตหิ ธมฺเมหิ สมฺปนฺนํ ความว่า ประกอบแล้วด้วยธรรม

มีศีลตามที่กล่าวแล้วเป็นต้นเหล่านั้น. บทว่า อสิตํ ความว่า ไม่อาศัย คือ

ไม่เนื่องในอะไรๆ เพราะละธรรมเป็นเครื่องอาศัย คือ ตัณหาและทิฏฐิได้แล้ว.

บทว่า สพฺพโลกสฺส ได้แก่ ในสัตว์โลกทั้งปวง.

คำที่เหลือมีนัย ดังกล่าวแล้วทั้งนั้น.

จบอรรถกถากัลยาณสูตรที่ ๘


  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 3 พ.ค. 2550

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 74

มิตรดีเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค

[๑๒๙] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น

สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น

เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ของ

ภิกษุ คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อันภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์

๘ จักทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.

[๑๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

อย่างไรเล่า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ

อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญ

สัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์

๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pirmsombat
วันที่ 3 พ.ค. 2550

ขออนุโมทนา และ ขอบคุณครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ