พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. สิริมันทชาดก ว่าด้วยปัญญาประเสริฐ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ส.ค. 2564
หมายเลข  35967
อ่าน  600

[เล่มที่ 61] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 80

๔. สิริมันทชาดก

ว่าด้วยปัญญาประเสริฐ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 61]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 80

๔. สิริมันทชาดก

ว่าด้วยปัญญาประเสริฐ

[๒๐๘๔] ท่านอาจารย์เสนกะ เราขอถามเนื้อความนี้ บรรดาคนสองจำพวกคือ คนผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา แต่เสื่อมจากสิริ กับคนที่มียศแต่ไร้ปัญญา นักปราชญ์ กล่าวคนไหนว่าประเสริฐ.

[๒๐๘๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาราษฎร์ คนฉลาดหรือคนโง่ คนบริบูรณ์ด้วยศิลปะ หรือคน หาศิลปะมิได้ แม้จะมีชาติสูง ก็ย่อมเป็นคนรับใช้ของ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 81

ชนผู้มีชาติต่ำ แต่มียศ ข้าพระพุทธเจ้า เห็นความดังนี้ จึงขอกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลวทราม คนมีสิริแลเป็นคนประเสริฐ พระเจ้าข้า.

[๒๐๘๖] ดูก่อนมโหสถผู้มีปัญญาไม่ทราม ผู้เห็นธรรมสิ้นเชิง เราถามเจ้าในคนสองจำพวก คือคนพาลผู้มียศ กับบัณฑิตผู้ไม่มีโภคะ นักปราชญ์กล่าวคนไหนว่าประเสริฐ.

[๒๐๘๗] คนพาลกระทำกรรมอันชั่วช้า ก็สำคัญว่าสิ่งนี้เท่านั้นประเสริฐ เห็นแต่เพียงโลกนี้ ไม่เห็นโลกหน้า ต้องได้รับเคราะห์ร้ายในโลกทั้งสอง ข้าพระพุทธเจ้าเห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศจะประเสริฐอะไร พระเจ้าข้า.

[๒๐๘๙] ศิลปะนี้ก็ดี พวกพ้องก็ดี ร่างกายก็ดี หาได้จัดโภคสมบัติมาให้ไม่ มหาชนย่อมคบหามหาโควินทเศรษฐีผู้มีน้ำลายไหลออกจากคางทั้งสองข้าง ผู้ได้รับความสุข มีสิริต่ำช้า ข้าพระพุทธเจ้าเห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลวทราม คนมีสิริเท่านั้น เป็นคนประเสริฐ พระเจ้าข้า.

[๒๐๘๙] คนมีปัญญาน้อย ได้รับความสุขแล้ว ย่อมมัวเมา แม้ถูกความทุกข์กระทบแล้ว ย่อมถึงความหลง อันสุขทุกข์ที่จรมากระทบเข้าแล้ว ย่อมหวั่นไหว

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 82

ดุจปลาที่ดิ้นรนอยู่ในที่ร้อน ฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้า เห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้น ประเสริฐ คนโง่ถึงมียศจะประเสริฐอะไร พระเจ้าข้า.

[๒๐๙๐] ฝูงนกย่อมพากันบินเร่ร่อนไปมาโดยรอบต้นไม้ที่มีผลดีในป่า ฉันใด คนเป็นอันมาก ย่อม คบหาผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์ มีโภคสมบัติ เพราะเหตุต้อง การทรัพย์ ก็ฉันนั้น ข้าพระพุทธเจ้าเห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลวทราม คนมีสิริ เท่านั้นเป็นคนประเสริฐ พระพุทธเจ้าข้า.

[๒๐๙๑] คนโง่ถึงจะมีกำลัง ก็หายังประโยชน์ให้สำเร็จไม่ ได้ทรัพย์มาด้วยกรรมอันร้ายแรง นายนิรยบาลทั้งหลาย ย่อมฉุดคร่าเอาคนโง่ผู้ไม่ฉลาด คร่ำครวญอยู่ไปสู่นรกอันร้ายกาจ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศจะประเสริฐอะไร พระเจ้าข้า.

[๒๐๙๒] แม่น้ำแห่งใดแห่งหนึ่ง ย่อมไหลไปสู่แม่น้ำคงคา แม่น้ำเหล่านั้นทั้งหมดเทียว ย่อมละทิ้งชื่อและถิ่นเดิม แม่น้ำคงคาไหลไปถึงมหาสมุทร ย่อมไม่ปรากฏฉันใด คนในโลกนี้ที่มีฤทธิ์ยิ่งก็ไม่ปรากฏ ฉันนั้นแล ข้าพระพุทธเจ้าเห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลวทราม คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ พระเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 83

[๒๐๙๓] ข้าพระพุทธเจ้า จะกล่าวแก้ปัญหาที่ท่านอาจารย์กล่าว แม่น้ำทั้งหลายย่อมไหลไปสู่ทะเลใหญ่ไม่ได้ตลอดกาล ทั้งปวง ทะเลนั้นมีกำลังมากเป็นนิตย์ มหาสมุทรย่อมไม่ล่วงเลยฝั่งไปได้ ฉันใด กิจการที่คนโง่ประสงค์ก็ฉันนั้น คนมีสิริย่อมไม่ล่วงเลยคนมีปัญญาไปได้ ไม่ว่าในกาลไหนๆ ข้าพระพุทธเจ้า เห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้น ประเสริฐ คนโง่ถึงมียศจะประเสริฐอะไร.

[๒๐๙๔] ถ้าแม้คนมียศไม่สำรวมแล้ว ผู้อยู่ในที่วินิจฉัยกล่าวข้อความแก่ชนเหล่าอื่น คำพูดของคนนั้นย่อมเจริญงอกงามในท่ามกลางญาติ คนมีปัญญายังคนผู้มีสิริต่ำช้าให้ทำตามคำของตนไม่ได้ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลวทราม คนมีสิริเท่านั้นเป็นคนประเสริฐ พระเจ้าข้า.

[๒๐๙๕] คนโง่หาปัญญามิได้ ย่อมกล่าวมุสา เพราะเหตุแห่งบุคคลอื่นหรือแม้แห่งตน คนโง่นั้น ย่อมถูกนินทาในท่ามกลางบริษัท แม้ภายหลังเขาก็ต้องไปทุคติ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศจะประเสริฐอะไร พระเจ้าข้า.

[๒๐๙๖] ถ้าคนมีปัญญาดังแผ่นดิน ไม่มีที่อยู่อาศัย ไม่มีทรัพย์ เป็นคนเข็ญใจกล่าวข้อความ คำพูด

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 84

ของเขานั้นย่อมไม่เจริญงอกงามในท่ามกลางบริษัท อนึ่ง สิริของคนมีปัญญาย่อมไม่มี ข้าพระพุทธเจ้า เห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลวทราม คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ พระเจ้าข้า.

[๒๐๙๗] คนผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน ย่อมไม่กล่าวคำเหลาะแหละเพราะเหตุแห่งคนอื่น หรือแม้แห่งตน บุคคลนั้นย่อมเป็นผู้อันมหาชนบูชาในท่ามกลางที่ประชุม แม้ภายหลังเขาก็จะไปสุคติ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่าคนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศจะประเสริฐอะไร พระเจ้าข้า.

[๒๐๙๘] ช้าง ม้า โค แก้วมณี กุณฑล และ นารีทั้งหลาย ผู้เกิดในตระกูลที่มั่งคั่ง สิ่งทั้งปวงนั้น ย่อมเป็นเครื่องอุปโภคของคนที่มั่งคั่ง คนทั้งหลายผู้ไม่มั่งคั่ง ก็ย่อมเป็นเครื่องอุปโภคของคนที่มั่งคั่ง ข้าพระพุทธเจ้าเห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลวทราม คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ พระเจ้าข้า.

[๒๐๙๙] สิริย่อมละคนโง่ ผู้ไม่จัดแจงการงาน ไม่มีความคิด มีปัญญาทราม เหมือนงูละทิ้งคราบเก่าไปฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าเห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเท่านั้นประเสริฐ คนโง่ถึงมียศจะประเสริฐอะไร พระเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 85

[๒๑๐๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าทั้ง ๕ คนเป็นบัณฑิต ทุกคนกราบไหว้บำรุงพระองค์ พระองค์เป็นอิสระ ครอบงำข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ดุจท้าวสักกเทวราช ผู้เป็นเจ้าแห่งหมู่สัตว์ ฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญาเป็นคนเลวทราม คนมีสิริเท่านั้นประเสริฐ พระเจ้าข้า.

[๒๑๐๑] คนโง่ถึงจะมียศ ก็เป็นทาสของคนมีปัญญา เมื่อกิจการต่างๆ เกิดขึ้น คนฉลาดย่อมจัดแจง กิจอันละเอียดใด คนโง่ย่อมถึงความหลงใหลในกิจนั้น ข้าพระพุทธเจ้าเห็นข้อความแม้นี้ จึงกราบทูลว่า คนมีปัญญานั้นแลประเสริฐ คนโง่ถึงมียศจะประเสริฐอะไร พระเจ้าข้า.

[๒๑๐๒] แท้จริงสัตบุรุษทั้งหลาย สรรเสริญปัญญาเท่านั้น สิริเป็นที่ใคร่ของคนโง่ เพราะมนุษย์ทั้งหลายยินดีในโภคสมบัติ ก็ความรู้ของท่านผู้รู้ทั้งหลาย ใครๆ ชั่งไม่ได้ในกาลไหนๆ คนมีสิริย่อมไม่ล่วงเลยคนมีปัญญาไปได้ ไม่ว่าในกาลไหนๆ.

[๒๑๐๓] ดูก่อนมโหสถผู้เห็นธรรมทั้งสิ้น เราได้ถามปัญหาข้อใดกะเจ้า เจ้าได้ประกาศปัญหาข้อนั้นแก่เราแล้ว เรายินดีด้วยการแก้ปัญหาของเจ้า เราให้ โคพันหนึ่ง โคอุสุภราช ช้าง รถเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑๐ ตัว และบ้านส่วย ๑๖ ตำบลแก่เจ้า

จบสิริมันทชาดกที่ ๔

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 86

อรรถกถาสิริเมณฑกชาดก

สิริเมณฑกปัญหานี้ มีคำเริ่มต้นว่า เนื้อความนี้... คนผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา แต่เสื่อมจากสิริ ( ปญฺายุเปตํ สิริยา วีหีนํ) จักมีแจ้งในมหาอุมมังคชาดก (มโหสถชาดก).

จบอรรถกถาสิริเมณฑกชาดก