พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. สัตติคุมพชาดก ว่าด้วยพี่น้องก็ยังต่างใจกัน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ส.ค. 2564
หมายเลข  35970
อ่าน  415

[เล่มที่ 61] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 127

๗. สัตติคุมพชาดก

ว่าด้วยพี่น้องก็ยังต่างใจกัน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 61]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 127

๗. สัตติคุมพชาดก

ว่าด้วยพี่น้องก็ยังต่างใจกัน

[๒๑๔๒] พระมหาราชาผู้เป็นจอมชนแห่งชาว ปัญจาลรัฐ เป็นดุจพรานเนื้อเสด็จออกมาสู่ป่าพร้อม ด้วยเสนา พลัดจากหมู่เสนาไป.

ท้าวเธอได้ทอดพระเนตรเห็นกระท่อม ที่เขาทำ ไว้เป็นที่อาศัยของโจรทั้งหลายในป่านั้น สุวโปดก ออกจากกระท่อมนั้นไปแล้ว กลับมาพูดแข็งขันกับ พ่อครัวว่า มีบุรุษหนุ่มน้อย มีรถม้าเป็นพาหนะ มี กุณฑลเกลี้ยงเกลาดี มีกรอบหน้าแดง งดงามเหมือน พระอาทิตย์ ส่องแสงสว่างในกลางวัน ฉะนั้น.

เมื่อถึงเที่ยงวันพระราชากำลังทรงบรรทมหลับ กับนายสารถี (สุวโปดกป่าวร้องว่า) เอาซิพวกเรา จง รีบไปชิงเอาทรัพย์ทั้งหมดของท้าวเธอเสีย เวลานี้ก็ เงียบสงัดดุจยามค่ำคืน พระราชากำลังทรงบรรทมหลับ พร้อมกับนายสารถี พวกเราจงไปแย่งเอาผ้าและ กุณฑลแก้วมณี แล้วฆ่าเสีย เอากิ่งไม้กลบไว้.

[๒๑๔๓] ดูก่อนสุวโปดกสัตติคุมพะ เจ้าเป็นบ้า ไปกระมัง จึงได้พูดอย่างนั้น เพราะว่าพระราชา ทั้งหลายถึงจะเสด็จมาแต่ไกล ก็ย่อมทรงเดชานุภาพ เหมือนดังไฟสว่างไสว ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 128

[๒๑๔๔] ดูก่อนนายปติโกลุมพะ ท่านเมาแล้ว ย่อมเก่งกาจสามารถมิใช่หรือ เมื่อมารดาของเรา เปลือยกาย ไฉนท่านจึงเกลียดการโจรกรรมหนอ.

[๒๑๔๕] ดูก่อนนายสารถีผู้เพื่อนยาก เจ้าจงลุก ขึ้นเทียมรถ เราไม่ชอบใจนก เราจงไปอาศรมอื่น กันเถิด.

[๒๑๔๖] ข้าแต่พระมหาราชา ราชรถได้เทียม แล้ว และม้าราชพาหนะมีกำลัง ก็ได้จัดเทียมแล้ว เชิญพระองค์เสด็จขึ้นประทับเถิด จะได้เสด็จไปยัง อาศรมอื่น พระเจ้าข้า.

[๒๑๔๗] พวกโจรภายในอาศรมนี้ พากันไป เสียที่ไหนหมดเล่า พระเจ้าปัญจาลราชนั้นหลุดพ้นไป ได้ เพราะพวกโจรเหล่านั้นไม่เห็น ท่านทั้งหลายจง จับเกาทัณฑ์ หอก และโตมร พระเจ้าปัญจาลราช กำลังหนีไป ท่านทั้งหลายอย่าได้ปล่อยให้มีชีวิตอยู่ได้ เลย.

[๒๑๔๘] ขณะนั้น ปุปผกสุวโปดก ตัวมีจะงอย ปากแดงงาม ยินดีต้อนรับพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราชา พระองค์เสด็จมาดีแล้ว อนึ่ง พระองค์ไม่ ได้เสด็จมาร้าย พระองค์ผู้ทรงอิสรภาพเสด็จมาถึง แล้วโดยลำดับ ของสิ่งใดที่มีอยู่ในอาศรมนี้ ขอ พระองค์จงทรงเลือกเสวยของสิ่งนั้น ผลมะพลับ ผล

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 129

มะหาด ผลมะซาง ผลหมากเม่า อันเป็นผลไม้มี รสหวานเล็กน้อย ขอพระองค์จงเลือกเสวยแต่ที่ดีๆ ข้าแต่พระมหาราชา น้ำนี้เย็นนำมาแต่ซอกภูเขา ขอ เชิญพระองค์ทรงดื่มถ้าทรงปรารถนา ฤาษีทั้งหลายใน อาศรมนี้ พากันไปป่าเพื่อแสวงหาผลาผล เชิญเสด็จ ลุกขึ้นไปทรงเลือกหยิบเอาเองเถิด เพราะข้าพระองค์ ไม่มีมือที่จะทูลถวายได้.

[๒๑๔๙] นกแขกเต้าตัวนี้ เจริญดีหนอ ประกอบ ด้วยคุณธรรมอย่างยิ่ง ส่วนนกแขกเต้าตัวโน้น พูด ถ้อยคำหยาบคายว่า จงจับมัดพระราชานี้ฆ่าเสีย อย่า ให้รอดชีวิตไปได้เลย เมื่อนกแขกเต้านั้นรำพันเพ้ออยู่ อย่างนี้ เราได้มาถึงอาศรมนี้ โดยสวัสดี.

[๒๑๕๐] ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระองค์ทั้ง สองเป็นพี่น้องร่วมท้องมารดาเดียวกัน ได้เจริญเติบโต ที่ต้นไม้เดียวกัน แต่ต่างพลัดกันไปอยู่คนละเขตแดน สัตติคุมพะเจริญอยู่ในสำนักของพวกโจร ส่วนข้าพระองค์เจริญอยู่ในสำนักของฤาษีในอาศรมนี้ สัตติ คุมพะนั้น เข้าอยู่ในสำนักของอสัตบุรุษ ข้าพระองค์ อยู่ในสำนักของสัตบุรุษ ฉะนั้น ข้าพระองค์ทั้งสอง จึงต่างกันโดยธรรม.

[๒๑๕๑] การฆ่าก็ดี การจองจำก็ดี การหลอกลวง ด้วยของปลอมก็ดี การหลอกลวงด้วยอาการตรงๆ ก็ดี

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 130

การปล้นฆ่าชาวบ้านก็ดี การกระทำกรรมอันแสน สาหัสก็ดี มีอยู่ในที่ใด สัตติคุมพะนั้นย่อมศึกษาสิ่ง เหล่านั้นในที่นั้น ข้าแต่พระองค์ผู้ภารตวงศ์ ในอาศรม ของฤาษีนี้มีแต่สัจจธรรม ความไม่เบียดเบียน ความ สำรวม และความฝึกอินทรีย์ ข้าพระองค์เป็นผู้เจริญ แล้ว บนตักของฤาษีทั้งหลาย ผู้มีปกติให้อาสนะ และน้ำ.

[๒๑๕๒] ข้าแต่พระราชา บุคคลคบคนใดๆ เป็นสัตบุรุษ อสัตบุรุษ มีศีล หรือไม่มีศีล เขาย่อม ตกอยู่ใต้อำนาจของบุคคลนั้นนั่นแหละ บุคคลคบคน เช่นใดเป็นมิตร หรือเข้าไปซ่องเสพคนเช่นใด ก็ย่อม เป็นเช่นคนนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันเป็นเช่นนั้น อาจารย์คบอันเตวาสิกย่อมทำอันเตวาสิก ผู้ยังไม่ แปดเปื้อนให้แปดเปื้อนได้ อาจารย์ถูกอันเตวาสิกพา แปดเปื้อนแล้ว พาอาจารย์อื่นให้เปื้อนอีก เหมือน ลูกศรที่เปื้อนยาพิษแล้ว ย่อมทำแล่งลูกศรให้เปื้อน ฉะนั้น นักปราชญ์ไม่พึงมีสหายลามกเลยทีเดียว เพราะกลัวแต่การแปดเปื้อน ด้วยบาปธรรม นรชนใด ห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา แม้ใบหญ้าคาของนรชน นั้น ย่อมมีกลิ่นเน่าฟุ้งไป ฉันใด การเข้าไปคบหา

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 131

คนพาลก็เช่นนั้นเหมือนกัน นรชนใดห่อกฤษณาด้วย ใบไม้ แม้ใบไม้ของนรชนนั้น ก็ย่อมหอมฟุ้งไป ฉันใด การเข้าไปคบหานักปราชญ์ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น บัณฑิตรู้ความเปลี่ยนแปลงของตน ดุจห่อใบไม้แล้ว ไม่ควรเข้าไปคบหาพวกอสัตบุรุษ ควรคบหาแต่พวกสัตบุรุษ ด้วยว่าอสัตบุรุษย่อมนำไป สู่นรก สัตบุรุษย่อมพาให้ถึงสุคติ.

จบสัตติคุมพชาดกที่ ๗

อรรถกถาสัตติคุมพชาดก

พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระคทายวิหาร ใกล้ถ้ำมัททกุจฉิ ทรงปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า มิคลุทฺโท มหาราช ดังนี้.

ความย่อว่า เมื่อพระเทวทัตกลิ้งศิลา สะเก็ดแตกมากระทบพระบาทของ พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็เกิดทุกขเวทนาเป็นกำลัง. ภิกษุทั้งหลายเป็นอันมาก มาประชุมกันเพื่อเฝ้าเยี่ยมพระตถาคตเจ้า. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทอด พระเนตรเห็นพุทธบริษัทมาประชุมกันแล้ว มีพระดำรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เสนาสนะนี้คับแคบนัก จักมีการประชุมใหญ่ พวกเธอจงนำเราขึ้นคานหามไป ที่ถ้ำมัททกุจฉิเถิด. ภิกษุทั้งหลาย พากันกระทำตามพุทธดำรัส. หมอชีวกโกมารภัจ ได้จัดการรักษาพระบาทของพระตถาคตเจ้าให้ผาสุก. ภิกษุทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 132

นั่งประชุมสนทนากันในสำนักของพระศาสดาว่า อาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัต แม้ตนเองก็ลามก แม้บริษัทของเธอก็ลามก พระเทวทัตนั้นเป็นคนลามก มีบริวารลามกอยู่อย่างนี้ พระศาสดาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอประชุม สนทนาอะไรกัน? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ภิกษุ ทั้งหลาย ใช่แต่ในชาตินี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในชาติก่อน พระเทวทัตก็เป็น คนลามก มีบริวารลามกเหมือนกัน แล้วทรงนำอดีตนิทานมาตรัสดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล พระราชาพระนามว่า ปัญจาละ เสวยราชสมบัติอยู่ใน อุตตรปัญจาลนคร กาลนั้น พระมหาสัตว์บังเกิดเป็นลูกพญานกแขกเต้า ตัวหนึ่ง สองตัวพี่น้องอยู่ที่สิมพลีวันใกล้สานุบรรพตแห่งหนึ่ง ในแนวป่า. ก็ในด้านเหนือของภูเขาลูกนั้น มีบ้านโจรเป็นที่อยู่อาศัยของโจร ๕๐๐ ในด้าน ใต้เป็นอาศรมสถานที่อยู่ของหมู่ฤาษี ๕๐๐ ตน. ในกาลเมื่อสุวโปดกสองพี่น้อง นั้นกำลังสอนบิน บังเกิดลมหัวด้วนขึ้น สุวโปดกตัวหนึ่ง ถูกลมพัดไปตก ระหว่างอาวุธของพวกโจรในโจรคาม เพราะสุวโปดกตกลงในระหว่างกองอาวุธ พวกโจรจับได้จึงตั้งชื่อว่า " สัตติคุมพะ ". ส่วนสุวโปดกตัวหนึ่งลมพัดไปตก ในระหว่างกองดอกไม้ ที่เนินทรายใกล้อาศรมพระฤาษี เพราะสุวโปดกนั้น ตกลงในระหว่างกองดอกไม้ พระฤาษีทั้งหลายจึงพากันตั้งชื่อนกนั้นว่า " ปุปฺผ- กะ ".

สัตติคุมพสุวโปดก เจริญเติบโตในระหว่างพวกโจร. บุปผกสุวโปดก เจริญเติบโตในระหว่างพระฤาษีทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้าปัญจาลราช ประดับตกแต่งองค์ด้วยเครื่องสรรพาลังการ เสด็จทรงรถพระที่นั่งอันประเสริฐ เสด็จสู่ชายป่าอันเป็นรมณียสถานมีดอกไม้ผลไม้ผลิดอกออกผลงามดี ณ ที่ ใกล้พระนคร โดยทรงประสงค์จะล่ามฤค พร้อมด้วยบริวารเป็นจำนวนมาก

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 133

แล้วทรงประกาศว่า มฤคหนีออกได้โดยด้านหน้าที่ของผู้ใด อาชญาจะพึงมี แก่ผู้นั้น แล้วเสด็จลงจากราชรถ ทรงธนูศรประทับยืนซ่อนพระองค์อยู่ในซุ้ม ที่ราชบุรุษจัดทำถวาย. เมื่อพวกราชบุรุษพากันตีเคาะที่ละเมาะพุ่มไม้ เพื่อที่จะ ให้มฤคทั้งหลายลุกขึ้น เนื้อทรายตัวหนึ่ง ลุกขึ้น แลดูทางที่จะไป เห็นสถานที่ ด้านพระราชาประทับยืนอยู่สงัดเงียบ จึงบ่ายหน้าตรงทิศนั้นเผ่นหนีไป. อำมาตย์ทั้งหลายร้องถามกันว่า มฤคหนีไปทางด้านหน้าที่ของใคร รู้ว่าทางด้าน หน้าที่ของพระราชาแล้ว พากันทำการยิ้มเยาะพระราชา. พระเจ้าปัญจาลราช ทรงกลั้นการเย้ยหยันของเหล่าอำมาตย์ไม่ได้ ด้วยอัสมิมานะ. เสด็จขึ้นสู่รถพระที่นั่งตรัสสั่งว่า เราจักจับมฤคนั้นให้ได้เดี๋ยวนี้ แล้วตรัสสั่งบังคับนายสารถี ว่า จงขับรถไปโดยเร็ว เสด็จไปตามทางที่มฤคหนีไป. ราชบริษัทไม่สามารถ จะติดตามรถพระที่นั่งซึ่งกำลังวิ่งไปโดยเร็วได้ พระราชาสองคนกับนายสารถี เสด็จไปจนถึงเวลาเที่ยงวัน ไม่พบเนื้อ จึงเสด็จกลับมา ทอดพระเนตรเห็น ลำธารอันเป็นรมณียสถานใกล้โจรคามนั้น แล้วเสด็จลงจากราชรถทรงเสวยแล้ว เสด็จขึ้น. ลำดับนั้น นายสารถีจึงเลิกเครื่องปูรถ แต่งให้เป็นที่บรรทมที่ภายใต้ ร่มไม้. พระราชาทรงบรรทม ณ ที่นั้น ฝ่ายนายสารถีก็นั่งถวายงานนวด พระบาทยุคลของพระราชาอยู่. พระราชาทรงบรรทมหลับๆ ตื่นๆ ในระยะ ติดๆ กัน. ฝ่ายพวกโจรชาวโจรคามเข้าป่าเพื่อถวายอารักขาพระราชากันหมด. ในโคจรคามจึงเหลืออยู่แต่สัตติคุมพสุวโปดก กับบุรุษพ่อครัวชื่อปติโกลุมพะ สองคนเท่านั้น. ขณะนั้น สัตติคุมพสุวโปดกบินออกจากบ้านไปเห็นพระราชา จึงคิดว่า เราจักฆ่าพระราชาผู้กำลังหลับนี้เสีย เก็บเอาเครื่องประดับไปเสีย แล้ว บินกลับไปยังสำนักของนายปติโกลุมพะ แจ้งเหตุนั้นให้ทราบ.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 134

พระศาสดาเมื่อจะประกาศเนื้อความนั้น ได้ตรัสพระคาถา ๕ คาถา ความว่า

พระมหาราชา ผู้เป็นจอมแห่งชนชาวปัญจาลรัฐ เป็นดุจนายพรานเนื้อ เสด็จออกมาสู่ป่าพร้อมด้วยเสนา พลัดจากหมู่เสนาไป.

ท้าวเธอได้ทอดพระเนตรเห็นกระท่อม ที่เขาทำ ไว้เป็นที่อาศัย ของโจรทั้งหลายในป่านั้น สุวโปดก ออกจากกระท่อมนั้นไปแล้ว กลับมาพูดแข็งขันกับ พ่อครัวว่า มีบุรุษหนุ่มน้อย มีรถม้าเป็นพาหนะ มี กุณฑลเกลี้ยงเกลาดี มีกรอบหน้าแดง งดงามเหมือน พระอาทิตย์ ส่องแสงสว่างในกลางวัน ฉะนั้น. เมื่อถึงเที่ยงวัน พระราชากำลังบรรทมหลับ พร้อมกับนายสารถี (สุวโปดกป่าวร้องว่า) เอาซิพวก เรา จงรีบไปชิงเอาทรัพย์ทั้งหมดของท้าวเธอเสีย เวลา นี้ก็เงียบสงัดดุจกลางคืน พระราชากำลังบรรทมหลับ พร้อมกับนายสารถี พวกเราจงไปแย่งเอาผ้าและกุณฑลแก้วมณี แล้วฆ่าเสียเอากิ่งไม้กลบไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิคลุทฺโท ความว่า พระเจ้าปัญจาลราช มีพระอาการดุจนายพรานเนื้อ เพราะทรงแสวงหาเนื้อเหมือนนายพราน. บทว่า โอคโณ ความว่า ทรงล้าหลัง พลัดไปจากหมู่เสนา. บทว่า ตกฺการานํ กุฏีกตํ ความว่า พระราชานั้นได้ทอดพระเนตรเห็นหมู่บ้าน ซึ่งเขาทำไว้เป็น ที่อยู่อาศัยของพวกโจรในป่านั้น. บทว่า ตสฺส ความว่า ออกจากกระท่อม ของโจรนั้น. บทว่า ลุทฺทานิ ภาสติ ความว่า นกสุวโปดกกล่าวถ้อยคำ หยาบคายกับพ่อครัวชื่อปติโกลุมพะนั้น.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 135

บทว่า สมฺปนฺนวาหโน แปลว่า มีม้าเป็นพาหนะอันสมบูรณ์. บทว่า โลหิตุณฺหีโส ความว่า ถึงพร้อมแล้วด้วยกรอบหน้าอันแดง งดงาม. บทว่า สมฺปติเก ได้แก่ บัดเดี๋ยวนี้ คือบัดนี้ ได้แก่ ในเวลาที่พระอาทิตย์ ตั้งอยู่ในท่ามกลาง. บทว่า สหสา ความว่า สุวโปดกกล่าวว่า พวกเรามา ช่วยกันทำอาการข่มขู่. แย่งชิงเอาโดยเร็วพลัน.

บทว่า นิสฺสิเวปิ รโหทานิ ความว่า แม้บัดนี้เป็นที่ลับเหมือน ค่ำคืน คือ นกสุวโปดกกล่าวคำนี้ว่า ในเวลาค่ำคืน คือในสมัยกึ่งรัตติกาล มนุษย์ทั้งหลายเล่นหัวอยู่ย่อมพากันนอน ย่อมชื่อว่าเป็นที่ลับได้ฉันใด บัดนี้ คือในเวลาที่พระอาทิตย์ตั้งอยู่ในท่ามกลางเห็นปานนี้ ย่อมเป็นฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า หนฺตฺวาน ความว่า ครั้นพวกเราปลงพระชนม์พระราชา ถือเอา ผ้าผ่อนอาภรณ์พรรณ์แล้ว แต่นั้นจึงฉุดพระบาทท้าวเธอลากมา เอากิ่งไม้ปิด บังหมกไว้ในที่ส่วนข้างหนึ่ง.

สัตติคุมพสุวโปดกนั้น ครั้นบินออกไปโดยเร็วครั้งหนึ่งแล้วก็บินกลับ ไปยังสำนักของนายปติโกลุมพะ อีกครั้งหนึ่งด้วยประการฉะนี้. พ่อครัวปติโกลุมพะ ได้ฟังถ้อยคำของสุวโปดกนั้นแล้ว จึงออกไปดูรู้ว่าเป็นพระราชาแล้ว ก็สะดุ้งตกใจกลัวกล่าวคาถา ความว่า

ดูก่อนสุวโปดกสัตติคุมพะ เจ้าเป็นบ้าไปกระมัง จึงได้พูดอย่างนั้น เพราะว่าพระราชาทั้งหลาย ถึงจะ เสด็จมาแต่ไกล ก็ย่อมทรงเดชานุภาพเหมือนดังไฟ สว่างไสว ฉะนั้น.

ลำดับนั้น สุวโปดกได้กล่าวตอบพ่อครัวปติโกลุมพะ โดยวจนประพันธ์ คาถา ความว่า

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 136

ดูก่อนปติโกลุมพะ ท่านเมาแล้วย่อมเก่งกาจมาก มิใช่หรือ เมื่อมารดาของเราเปลือยกายอยู่ ไยท่านจึง เกลียดการโจรกรรมเล่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อถ ตฺวํ มีความเท่ากับ นนุ ตฺวํ. บทว่า มตฺโต ความว่า เมื่อก่อนท่านได้ดื่มสุราเหลือเดนของพวกโจรเมาแล้ว ย่อมเก่งกาจคุกคามมากมิใช่หรือ? สุวโปดกกล่าว. บทว่า ภรรยา หมายเอา ภรรยาหัวหน้าโจร. ได้ยินว่า ครั้งนั้นภรรยาหัวหน้าโจรนั้น นุ่งผ้ากรองด้วย กิ่งไม้เที่ยวอยู่. บทว่า วิชิคุจฺฉเส ความว่า เมื่อมารดาของเราเปลือยกายอยู่ บัดนี้ไยท่านจึงรังเกียจการโจรกรรม คือไม่อยากทำโจรกรรมเล่า.

พระเจ้าปัญจาลราชทรงตื่นพระบรรทม ได้ทรงสดับคำของสุวโปดก กล่าวกับพ่อครัว โดยภาษามนุษย์ ทรงดำริว่า สถานที่นี้มีภัยเฉพาะหน้า เมื่อจะทรงปลุกนายสารถีให้ลุกขึ้น จึงตรัสพระคาถา ความว่า

ดูก่อนนายสารถี เพื่อนยาก จงลุกขึ้นเทียมรถ เราไม่ชอบใจนก เราจงไปอาศรมอื่นกันเถิด.

ฝ่ายนายสารถีก็ลุกขึ้นโดยด่วน เทียมราชรถแล้ว กล่าวคาถา กราบทูลว่า

ข้าแต่มหาราชเจ้า ราชรถได้เทียมแล้ว และม้า ราชพาหนะมีกำลัง ก็ได้จัดเทียมแล้ว เชิญพระองค์ เสด็จขึ้นประทับเถิด จะได้เสด็จไปยังอาศรมอื่นพระเจ้าข้า. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พลวาหโน ได้แก่ พาหนะที่มีกำลัง คือม้าที่สมบูรณ์ด้วยกำลังมาก.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 137

เมื่อพระเจ้าปัญจาลราชเสด็จขึ้นประทับบนราชรถเท่านั้น ม้าสินธพ ทั้งคู่ก็วิ่งไปโดยเร็วดังลมพัด. สัตติคุมพสุวโปดก เห็นราชรถกำลังวิ่งไป ถึง ความเคียดแค้น ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

พวกโจรในอาศรมนี้ พากันไปเสียที่ไหนหมดเล่า พระเจ้าปัญจาลราชนั้นหลุดพ้นไปได้ เพราะพวก โจรเหล่านั้นไม่เห็น ท่านทั้งหลายจงจับเกาทัณฑ์ หอก และโตมร พระเจ้าปัญจาลราชกำลังหนีไป ท่านทั้งหลายอย่าได้ปล่อยให้มีชีวิตอยู่ได้เลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกนุเม เท่ากับ กุหึ นุ อิเม แปลว่า โจรในอาศรมนี้ไปไหนเสียหมดเล่าหนอ. บทว่า อสฺมึ ความว่า ในอาศรมนี้. บทว่า ปริจาริกา ได้แก่ โจรทั้งหลาย. บทว่า อทสฺสนา ความว่า พระเจ้าปัญจาลราชหนีพ้นไปได้ เพราะพวกโจรเหล่านั้นไม่ได้เห็น. บทว่า เอส คจฺฉติ ความว่า พระเจ้าปัญจาลราชหนีรอดเงื้อมมือพวกโจรเหล่านั้น เสด็จไปได้ เพราะไม่เห็น. บทว่า ชีวิตํ ความว่า เมื่อพวกท่านยังมีชีวิตอยู่ อย่าได้ปล่อยไปเสีย ทุกคนจงจับอาวุธ วิ่งตามไปจับพระราชาให้ได้.

เมื่อสัตติคุมสุวโปดกนั้น ร้องพลางบินตามพระราชาไปอยู่อย่างนี้ พระราชาก็เสด็จถึงอาศรมของฤาษีทั้งหลาย ขณะนั้นหมู่ฤาษีไปแสวงหาผลาผล มีปุปผกสุวโปดกตัวเดียวเท่านั้นอยู่ในอาศรม. มันเห็นพระราชาแล้ว บิน ออกมารับเสด็จ ได้ทำการปฏิสันถาร.

พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงประกาศความนั้น ได้ตรัสพระคาถา ๔ คาถา ความว่า

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 138

ขณะนั้น ปุปผกสุวโปดก ตัวมีจะงอยปากแดง งาม ยินดีต้อนรับพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราชา พระองค์เสด็จมาดีแล้ว อนึ่ง พระองค์มิได้เสด็จมาร้าย พระองค์ผู้ทรงอิสรภาพ เสด็จมาถึงแล้วโดยลำดับ ของสิ่งใดมีอยู่ในอาศรมนี้ ขอพระองค์ทรงเลือกเสวย ของสิ่งนั้น ผลมะพลับ ผลมะหาด ผลมะซาง ผล หมากเม่า อันเป็นผลไม้มีรสหวานเล็กน้อย ขอพระองค์จงเลือกเสวยแต่ที่ดีๆ ข้าแต่พระมหาราชา น้ำนี้ เย็นนำมาแต่ซอกภูเขา ขอเชิญพระองค์ทรงดื่มถ้าทรง ปรารถนา ฤาษีทั้งหลายในอาศรมนี้ พากันไปป่า เพื่อแสวงหาผลาผล เชิญพระองค์เสด็จลุกขึ้นไปทรง เลือกหยิบเอาเองเถิด เพราะข้าพระองค์ไม่มีมือจะทูล ถวายได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏินนฺทิตฺถ ความว่า พอเห็นพระราชา แล้ว ก็ชื่นชมยินดี. บทว่า โลหิตตุณฺฑโก แปลว่า มีจะงอยปากแดง คือถึงส่วนแห่งความงาม. บทว่า มธุเก ได้แก่ ผลาผลที่มีรสหวาน. บทว่า กาสมาริโย ความว่า ขอพระองค์โปรดเสวยผลมะพลับ ผลมะหาด ผลมะซาง และผลหมากเน่า ซึ่งมีชื่ออย่างนี้ๆ. บทว่า ตโต ปิว ความว่า โปรดทรงดื่มน้ำ จากโรงน้ำดื่มนั้นเถิด.

บทว่า เย อสฺมึ ปริจาริกา ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระฤาษี เหล่าใดเที่ยวไปอยู่ในอาศรมนี้ พระฤาษีเหล่านั้นไปสู่ป่าเพื่อแสวงหาผลาผล. บทว่า คณฺหวโห ความว่า พระองค์โปรดหยิบเอาผลาผลน้อยใหญ่. บทว่า ทาตเว แปลว่า เพื่อจัดถวาย.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 139

พระราชาทรงเลื่อมใสในการปฏิสันถารของปุปผกสุวโปดก เมื่อจะทรง ทำการชมเชย จึงตรัสพระคาถา ๒ คาถา ความว่า

นกแขกเต้าตัวนี้ เจริญดีหนอ ประกอบด้วย คุณธรรมอย่างยิ่ง ส่วนนกแขกเต้าตัวโน้น พูดคำ หยาบคายว่า จงจับมัดพระราชานี้ ฆ่าเสียอย่าให้รอด ชีวิตไปได้เลย เมื่อนกแขกเต้าตัวนั้น รำพันเพ้ออยู่ อย่างนี้ เราได้มาถึงอาศรมนี้ โดยสวัสดี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิตโร ได้แก่ นกแขกเต้าในบ้านโจร. บทว่า อิจฺเจวํ ความว่า ส่วนเรา เมื่อนกแขกเต้าตัวนั้นเพ้อรำพันอยู่อย่างนี้ มาถึงอาศรมนี้แล้ว โดยสวัสดี.

ปุปผกสุวโปดก ฟังพระดำรัสของพระราชาแล้ว ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระองค์ทั้งสองเป็น พี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน ได้เจริญเติบโตที่ต้นไม้ เดียวกัน แต่ต่างพลัดกันไปอยู่คนละเขตแดน สัตติ- คุมพะเจริญอยู่ในสำนักของพวกโจร ส่วนข้าพระองค์ เจริญอยู่ในสำนักของฤาษีในอาศรมนี้ สัตติคุมพะนั้น เข้าอยู่ในสำนักของอสัตบุรุษ ข้าพระองค์อยู่ในสำนัก ของสัตบุรุษ ฉะนั้น ข้าพระองค์ทั้งสองจึงต่างกัน โดยธรรม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภาตโรสฺมา ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า สัตติคุมพะนั้น กับข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองเป็นพี่น้องกัน บทว่า

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 140

โจรานํ ความว่า สัตติคุมพะนั้น เจริญในสำนักพวกโจร ข้าพระพุทธเจ้า เจริญในสำนักพวกฤาษี. บทว่า อสตํ โส สตํ อหํ ความว่า สัตติคุมพะ เข้าอยู่สำนักอสัตบุรุษผู้ทุศีล ข้าพระพุทธเจ้าเข้าอยู่สำนักสัตบุรุษผู้มีศีล. บทว่า เตน ธมฺเมน โน วินา ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า โจรทั้งหลาย แนะนำสั่งสอนสัตติคุมพะนั้น ด้วยธรรมของโจร และกิริยาโจร พระฤาษี ทั้งหลายแนะนำสั่งสอนข้าพระพุทธเจ้าด้วยธรรมของฤาษี และอาจาระมรรยาท ของฤาษี เพราะเหตุนั้น แม้สัตติคุมพะนั้นจึงแตกต่างจากข้าพระพุทธเจ้า โดยโจรธรรมนั้น ส่วนข้าพระพุทธเจ้า ก็แตกต่างจากเขาโดยอิสิธรรม.

บัดนี้ ปุปผกสุวโปดก เมื่อจะจำแนกธรรมนั้น จึงกล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

การฆ่าก็ดี การจองจำก็ดี การหลอกลวงด้วย ของปลอมก็ดี การหลอกลวงด้วยอาการตรงๆ ก็ดี การปล้นฆ่าชาวบ้านก็ดี การกระทำกรรมอันแสน สาหัสก็ดี มีอยู่ในที่ใด สัตติคุมพะนั้นย่อมศึกษาสิ่ง เหล่านั้นในที่นั้น ข้าแต่พระองค์ผู้ภารตวงศ์ ใน อาศรมของฤาษีนี้มีแต่สัจจธรรม ความไม่เบียดเบียน ความสำรวมและความฝึกอินทรีย์ ข้าพระองค์เป็นผู้ เจริญแล้วบนตักของฤาษีทั้งหลาย ผู้มีปกติให้อาสนะ และน้ำ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิกตี ได้แก่ การหลอกลวงด้วยของ ปลอม. บทว่า วญฺจนานิ ได้แก่ การหลอกลวงกันตรงๆ (ซึ่งๆ หน้า). บทว่า อาโลปา ได้แก่ การปล้นฆ่าชาวบ้านในเวลากลางวัน. บทว่า

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 141

สหสาการา ได้แก่ การเข้าไปสู่เรือนแล้วจับเจ้าทรัพย์ ทำให้บอบช้ำแสน สาหัส โดยคุกคามขู่เข็ญด้วยความตาย.

บทว่า สจฺจํ ได้แก่ สภาวธรรม. บทว่า ธมฺโม ได้แก่ สุจริตธรรม. บทว่า อหึสา ได้แก่ ความไม่เบียดเบียน มีเมตตาธรรมเป็นบุรพภาค. บทว่า สํยโม ได้แก่ ความสำรวมระวังในศีล. บทว่า ทโม ได้แก่ การ ทรมานอินทรีย์.

บทว่า อาสนูทกทายีนํ ความว่า แห่งพระฤาษีทั้งหลายผู้มีปกติ ให้อาสนะและอุทกวารี แก่ชนทั้งหลายผู้มาถึงเฉพาะหน้า. ปุปผกสุวโปดก เรียกพระราชาว่า " ภารตา ".

บัดนี้ เมื่อปุปผกสุวโปดก จะแสดงธรรมแก่พระราชาสืบไป ได้กล่าว คาถาเหล่านี้ ความว่า

ข้าแต่พระราชา บุคคลคบคนใดๆ เป็นสัตบุรุษ อสัตบุรุษ มีศีล หรือไม่มีศีล บุคคลนั้นย่อมไปสู่อำนาจ ของบุคคลนั้นนั่นแล บุคคลคบคนเช่นใดเป็นมิตร หรือ เข้าไปซ่องเสพคนเช่นใด ก็ย่อมเป็นเช่นคนนั้น เพราะ การอยู่ร่วมกันเป็นเช่นนั้น อาจารย์คบอันเตวาสิกย่อม ทำอันเตวาสิกผู้ยังไม่แปดเปื้อนให้แปดเปื้อนได้ อาจารย์ ถูกอันเตวาสิกพาแปดเปื้อนแล้ว ย่อมพาอาจารย์อื่น ให้เปื้อนอีก เหมือนลูกศรที่เปื้อนยาพิษแล้ว ย่อมทำ แล่งลูกศรให้เปื้อน ฉะนั้น นักปราชญ์ไม่พึงมีสหาย ลามกเลยทีเดียว เพราะกลัวแต่การแปดเปื้อนด้วย บาปธรรม นรชนใดห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา แม้

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 142

ใบหญ้าคาของนรชนนั้น ก็ย่อมมีกลิ่นเน่าฟุ้งไป ฉันใด การเข้าไปเสพคนพาลก็ฉันนั้นเหมือนกัน นรชนใด ห่อกฤษณาด้วยใบไม้ แม้ใบไม้ของนรชนนั้น ก็ย่อม หอมฟุ้งไปฉันใด การเข้าไปเสพนักปราชญ์ก็ฉันนั้น เหมือนกัน เพราะเหตุนั้น บัณฑิตรู้ความเปลี่ยนแปลง ของตน ดุจห่อใบไม้แล้ว ไม่ควรเข้าไปเสพอสัตบุรุษ ควรเสพแต่สัตบุรุษ ด้วยว่า อสัตบุรุษย่อมนำไปสู่นรก สัตบุรุษย่อมพาให้ถึงสุคติ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตํ วา ยทิ วา อสํ ความว่า จะเป็นสัตบุรุษ หรืออสัตบุรุษก็ตาม. บทว่า เสวมาโน เสวมานํ ความว่า เมื่ออาจารย์คบหาอันเตวาสิก ย่อมทำอันเตวาสิกผู้ที่ตนคบ. บทว่า สมฺผุฏฺโ ความว่า อาจารย์ถูกอันเตวาสิกพาแปดเปื้อนแล้ว. บทว่า สมฺผุสํ ปรํ ความว่า อันเตวาสิกไปแตะต้องอาจารย์คนอื่นเข้า. บทว่า อลิตฺตํ ความว่า อาจารย์นั้นย่อมทำอันเตวาสิกนั้น ผู้ยังไม่แปดเปื้อนด้วยบาปธรรมให้แปดเปื้อน ได้ เหมือนลูกศรที่เปื้อนยาพิษแล้ว ย่อมทำแล่งลูกศรที่เหลือให้แปดเปื้อน ฉะนั้น. บทว่า เอวํ พาลูปเสวนา ความว่า แท้จริง ผู้ชอบคบหาคนพาล แม้จะไม่ได้กระทำความชั่วเลย ย่อมได้รับคำติเตียน และความเสื่อมเสียชื่อเสียง เหมือนห่อปลาเน่าไว้ด้วยใบหญ้าคา (ย่อมมีกลิ่นเน่าฟุ้งไป) ฉะนั้น.

บทว่า ธีรูปเสวนา ความว่า บุคคลผู้คบหาธีรชนก็ย่อมเป็นเหมือน ใบไม้อันห่อคันธชาติ มีกฤษณาเป็นต้นฉะนั้น ถึงยังไม่อาจเป็นบัณฑิตได้ ก็ยังได้รับเกียรติคุณว่า คบกัลยาณมิตร. บทว่า ปตฺตปูฏสฺเสว ความว่า เหมือนดังใบไม้ที่ห่อของมีกลิ่นเหม็นและกลิ่นหอมฉะนั้น. บทว่า สมฺปากมตฺตโน ความว่า บัณฑิตรู้ความที่ญาณของตนแก่กล้า คือสุกงอมแล้ว

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 143

ด้วยอำนาจการเกี่ยวข้องกับกัลยาณมิตร. บทว่า ปาเปนฺติ สุคตึ ความว่า ปุปผกสุวโปดกนั้น ยังเทศนาให้ถึงอนุสนธิตามลำดับว่า สัตบุรุษคือสัมมาทิฏฐิ บุคคลทั้งหลาย ย่อมยังหมู่สัตว์ที่อาศัยตน ให้ถึงสวรรค์อย่างเดียว ด้วย ประการฉะนี้.

พระเจ้าปัญจาลราชทรงเลื่อมใส ในธรรมกถาของปุปผกสุวโปดกนั้น. ฝ่ายหมู่พระฤาษีกลับมาจากป่า. พระราชาทรงนมัสการพระฤาษีทั้งหลายแล้ว ตรัสว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ เมื่อพระคุณเจ้าทั้งหลายจะอนุเคราะห์ข้าพเจ้า โปรดพากันไปอยู่ในสถานที่อยู่ของข้าพเจ้าเถิด ทรงรับปฏิญญาของฤาษี ทั้งหลายเหล่านั้นแล้ว เสด็จไปพระนคร ได้พระราชทานอภัยแก่สุวโปดก ทั้งหลาย. ฝ่ายพวกฤาษี ก็ได้พากันไปในพระนครนั้น พระราชาทรงนิมนต์ หมู่พระฤาษีให้อยู่ในพระราชอุทยาน ทรงอุปัฏฐากบำรุงตลอดพระชนมายุ แล้วเสด็จสู่สวรรคาลัย. ฝ่ายพระราชโอรสของท้าวเธอ โปรดให้ยกเศวตฉัตร เสวยราชสมบัติสืบต่อมา ทรงปฏิบัติหมู่พระฤาษี เสมือนพระราชบิดา. ใน ราชสกุลต่อมานั้น ได้ยังทานให้เป็นไปแก่หมู่พระฤาษี ชั่วพระราชาเจ็ดพระองค์ พระมหาสัตว์เมื่ออยู่ในอรัญประเทศตามสมควร ก็ไปตามยถากรรมของตน.

พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในชาติก่อนพระเทวทัตก็เป็นคนลามก มีบริวารลามก เหมือนกันอย่างนี้ แล้วทรงประชุมชาดกว่า สัตติคุมพสุวโปดก ในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระเทวทัตนี้ โจรทั้งหลายได้มาเป็นบริษัทบริวารของพระเทวทัต พระราชาได้มาเป็นพระอานนท์ หมู่แห่งฤาษีได้มาเป็นพุทธบริษัท ส่วน ปุปผกสุวโปดกได้มาเป็นเราผู้ตถาคต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาสัตติคุมพชาดก