๑๑. มหาปโลภนชาดก ว่าด้วยหญิงเป็นมลทินของพรหมจรรย์
[เล่มที่ 61] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 219
๑๑. มหาปโลภนชาดก
ว่าด้วยหญิงเป็นมลทินของพรหมจรรย์
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 61]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 219
๑๑. มหาปโลภนชาดก
ว่าด้วยหญิงเป็นมลทินของพรหมจรรย์
[๒๒๐๘] เทพบุตรผู้มีฤทธิ์มาก จุติจากพรหมโลกแล้ว มาเกิดเป็นพระโอรสของพระเจ้ากาสี ผู้ทรง ดำรงอยู่ในราชสมบัติ อันเพรียบพร้อมด้วยสรรพกาม. ความใคร่ก็ดี ความสำคัญในกามก็ดี ไม่มีใน พรหมโลกเลย พระราชกุมารนั้น จึงทรงรังเกียจกาม ทั้งหลาย ด้วยฌานสัญญาอันบังเกิดในพรหมโลก นั้นเอง.
พระราชบิดา ตรัสสั่งให้สร้างฌานาคารไว้ใน ภายในพระราชฐาน สำหรับพระราชกุมารนั้นทรง หลีกเร้น บำเพ็ญฌานในอาคารนั้น เพียงพระองค์เดียว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 220
พระเจ้ากาสิกราช ทรงอัดอั้นตันพระทัย ด้วย ความเศร้าโศกถึงพระโอรส ทรงปริเทวนาการว่า โอรสคนเดียวของเรานี้ ไม่ยินดีเสวยกามารมณ์เสียเลย.
อุบายในข้อนี้ มีอยู่อย่างไรหนอ ผู้ใดพึงประเล้า ประโลมโอรสของเรา ให้เธอปรารถนากามได้ หรือว่า ผู้นั้นใครเล่าจะรู้เหตุที่จะให้โอรสของเราพัวพันในกาม ได้.
[๒๒๐๙] ภายในพระราชฐานนั่นเอง มีกุมารีคน หนึ่ง มีฉวีวรรณงดงาม รูปสวย ฉลาดในการฟ้อนรำ ขับร้อง และชำนาญในการดีดสีตีเป่า นางเข้าไปใน พระราชฐานนั้นแล้ว กราบทูลความนี้กะพระราชาว่า เกล้ากระหม่อมฉันนี้แล จะพึงประเล้าประโลมพระราช กุมารนั้นได้ ถ้าหากพระราชกุมารนั้น จักได้เป็น พระภัสดาของกระหม่อมฉัน.
[๒๒๑๐] พระราชาจึงตรัสกะนางกุมาริกา ผู้ กล่าวยืนยันเช่นนั้นว่า เธอจงประเล้าประโลมลูกของ เรา ลูกของเราจักเป็นสามีของเจ้า.
[๒๒๑๑] นางกุมารีนั้น เข้าไปในพระราชฐาน แล้ว จึงกล่าวเป็นคาถาไพเราะจับจิตจับใจ ยั่วยวน ชวนให้รักใคร่ เปลี่ยนแปลงขับลำนำ ประกอบไป ด้วยกามารมณ์มากมายหลายอย่าง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 221
[๒๒๑๒] กามฉันทะ บังเกิดแก่พระราชกุมาร นั้น เพราะได้ทรงสดับเสียงของนางกุมารี ผู้ขับกล่อม อยู่ พระราชกุมารจึงตรัสถามคนใกล้เคียงว่า โอ! นั่นเสียงใคร หรือใครมาขับร้องเสียงสูงต่ำ ไพเราะ จับใจ น่ารักนักหนา ไพเราะหูเรานัก.
[๒๒๑๓] (พวกพระพี่เลี้ยงจึงกราบทูลว่า) ขอเดชะ เสียงนี้น่ายินดี น่าสนุกสนานมิใช่น้อย ถ้าพระองค์ พึงบริโภคกามคุณไซร้ กามทั้งหลายจะพึงเป็นที่ โปรดปรานพระทัยของพระองค์อย่างยิ่ง.
[๒๒๑๔] (พระราชกุมารรับสั่งว่า) เชิญมาภาย ในนี้ จงมาขับร้องใกล้ๆ เรา เลื่อนเข้ามาขับร้อง ใกล้ตำหนักเรา จงขับกล่อมใกล้ที่บรรทมของเรา.
[๒๒๑๕] นางกุมารีนั้น เข้าไปขับกล่อมภาย นอกฝาห้องบรรทม แล้วเลื่อนเข้าไป ณ ตำหนัก ฌานาคารโดยลำดับ จนผูกพระราชกุมารไว้ได้ เหมือนนายหัตถาจารย์จับคชสารป่ามัดไว้ ฉะนั้น.
[๒๒๑๖] เพราะรู้กามรสโลกีย์แห่งนางกุมารีนั้น พระราชกุมารจึงเกิดความปรารถนาเป็นอธรรมว่า เรา เท่านั้นพึงได้บริโภคกาม อย่าได้มีบุรุษอื่นเลย ต่อแต่ นั้น พระราชกุมารทรงถือดาบเล่มหนึ่งแล้ว เสด็จไป เพื่อจะฆ่าบุรุษทั้งหลายเสีย ด้วยทรงดำริว่า เราจัก บริโภคกามแต่ผู้เดียว อย่าพึงมีบุรุษอื่นอยู่เลย.
[๒๒๑๗] ต่อแต่นั้น ชาวชนบททั้งปวงจึงมา ประชุมกัน ถวายเรื่องราวร้องทุกข์ว่า ข้าแต่พระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 222
มหาราชา พระโอรสของพระองค์นี้ ทรงเบียดเบียน ผู้หาโทษมิได้ พระเจ้าข้า.
[๒๒๑๘] พระเจ้ากาสีบรมกษัตริย์ ทรงเนรเทศ พระราชกุมารออกไปจากรัฐสีมาของพระองค์แล้ว มี พระราชโองการว่า อาณาเขตของเรามีอยู่เพียงใด เจ้าอย่าอยู่ในอาณาเขตของเราเพียงนั้น เป็นอันขาด.
[๒๒๑๙] ครั้งนั้น พระราชกุมารทรงพาพระชายาไป จนบรรลุถึงสมุทรนทีแห่งหนึ่ง ทรงสร้าง บรรณศาลาแล้ว จึงเสด็จเข้าไปสู่ป่า เพื่อแสวงหา ผลาผล.
[๒๒๒๐] ครั้งนั้น มีฤาษีตนหนึ่ง มาถึงบรรณ ศาลานั้น โดยทางเบื้องบนสมุทร เข้าไปยังศาลาของ พระราชกุมาร ในเวลาที่นางกุมารีจัดแจงอาหารไว้แล้ว.
[๒๒๒๑] ชายาของพระราชกุมาร ประเล้า ประโลมพระฤาษีนั้น ดูเถิด กรรมที่นางกุมารีทํานั้น หยาบช้าเพียงไร ฤาษีนั้นเคลื่อนจากพรหมจรรย์ เสื่อม จากฤทธิ์.
[๒๒๒๒] ฝ่ายพระราชโอรสแสวงหาผลาผล ในป่าได้จำนวนมากแล้ว ครั้นถึงเวลาเย็น จึงใส่หาบ ขนเข้าไปสู่อาศรม.
[๒๒๒๓] ฝ่ายพระฤาษี พอเห็นขัตติยราชกุมาร จึงรีบเข้าไปยังฝั่งสมุทร ด้วยตั้งใจว่า เราจักไปทาง เวหาส แต่ต้องจมลงในมหรรณพนั่นเอง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 223
[๒๒๒๔] ฝ่ายขัตติยราชกุมาร ได้ทอดพระเนตร เห็นพระฤาษีจมลงไปในมหรรณพ จึงได้ตรัสพระคาถา เหล่านี้ ด้วยความอนุเคราะห์ต่อพระฤาษีนั้น ความว่า
[๒๒๒๕] ตัวท่านเองมาด้วยฤทธิ์ บนน้ำอันไม่ แตกแยก ครั้นถึงความระคนด้วยสตรีแล้ว ต้องจมลง ในมหรรณพ ธรรมดาสตรีมีปกติหมุนเวียน มีมายา มาก มักทำพรหมจรรย์ให้กำเริบ ย่อมทำนักพรตให้ จมลง ท่านรู้แจ้งฉะนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล สตรีทั้งหลาย มีวาจาไพเราะ เจรจานุ่มนวล ถมไม่รู้ จักเต็ม เหมือนกับนทีธาร ย่อมยังนักพรตให้จมลง ท่านรู้แจ้งฉะนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล สตรี ทั้งหลายย่อมเข้าไปซ่องเสพบุรุษใด ด้วยความพอใจ หรือด้วยทรัพย์ก็ตาม ย่อมพลันตามเผาผลาญบุรุษนั้น เหมือนไฟป่าเผาสถานที่ตนเอง ฉะนั้น.
[๒๒๒๖] ความเบื่อหน่ายได้เกิดมีแก่ฤาษี เพราะ ได้ฟังถ้อยคำของขัตติยราชกุมาร ฤาษีนั้นกลับได้ทาง อันมีมาก่อน แล้วเหาะขึ้นไปยังเวหาส.
[๒๒๒๗] ฝ่ายขัตติยราชกุมารผู้ทรงพระปรีชา ได้ทอดพระเนตรเห็นพระฤาษี กำลังเหาะไปยังเวหาส จึงได้ความสลดจิต น้อมพระทัยสู่การบรรพชา ต่อ แต่นั้น ขัตติยราชกุมารก็ทรงบรรพชา สำรอกกาม ราคะแล้วได้เข้าถึงพรหมโลก.
จบมหาปโลภนชาดกที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 224
อรรถกถามหาปโลภชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ มาตุคามทำสัตว์ผู้บริสุทธิ์ให้เศร้าหมอง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า พฺรหฺมโลกา จวิตฺวาน ดังนี้.
เรื่องปัจจุบัน ข้าพเจ้ากล่าวไว้พิสดารแล้วในหนหลัง. ก็ในชาดกนี้ พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ขึ้นชื่อว่ามาตุคามนี้ ย่อมกระทำสัตว์ผู้บริสุทธิ์ ให้เศร้าหมองได้ ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมาตรัสดังต่อไปนี้
เรื่องอดีตนิทาน บัณฑิตพึงให้พิสดารตามนัยที่กล่าวแล้ว ในจุลลปโลภนชาดก ในอดีต. ก็ในครั้งนั้น พระมหาสัตว์เจ้า จุติจากพรหมโลก มาบัง เกิดเป็นพระโอรสของพระเจ้ากาสิกราช ทรงพระนามว่า อนิตถิคันธกุมาร. พระกุมารไม่ยอมอยู่ในมือของสตรีเลย. สตรีที่จะให้พระกุมารดื่มน้ำนมต้อง แปลงเป็นบุรุษเพศ พระราชกุมารโปรดประทับในฌานาคาร ไม่อยากพบเห็น สตรีเพศ.
พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความนั้น ได้ตรัสพระคาถา ๔ คาถา ความว่า
เทพบุตรผู้มีฤทธิ์มาก จุติจากพรหมโลกแล้ว มา เกิดเป็นพระโอรสของพระเจ้ากาสี ผู้ทรงดำรงอยู่ใน ราชสมบัติ อันเพรียบพร้อมด้วยสรรพกาม.
ความใคร่ก็ดี ความสำคัญในกามก็ดี ไม่มีใน พรหมโลกเลย พระราชกุมารนั้นจึงทรงรังเกียจกาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 225
ทั้งหลาย ด้วยฌานสัญญาอันบังเกิดในพรหมโลกนั้น เอง.
พระราชบิดาตรัสสั่งให้สร้างฌานาคารไว้ภายใน พระราชฐาน สำหรับพระราชกุมารนั้นทรงหลีกเร้น บำเพ็ญฌานในอาคารนั้นเพียงพระองค์เดียว.
พระเจ้ากาสิกราช ทรงอัดอั้นตันพระทัย ด้วย ความเศร้าโศกถึงพระโอรส ทรงปริเทวนาการว่าโอรส คนเดียวของเรานี้ ไม่ยินดีเสวยกามารมณ์เสียเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพกามสมิทฺธิสุ ความว่า ก็เทพบุตร องค์หนึ่ง บังเกิดเป็นพระโอรสของพระราชา ผู้ดำรงอยู่ในราชสมบัติอันมั่งคั่ง บริบูรณ์ด้วยสรรพกามารมณ์. บทว่า สฺวาสฺสุ ความว่า พระราชกุมารนั้น. บทว่า ตาเยว ความว่า ด้วยฌานสัญญาอันบังเกิดแล้วในพรหมโลกนั้นเอง. บทว่า สุมาปิตํ ความว่า พระราชบิดาทรงสร้างฌานาคารไว้อย่างน่าพึงใจยิ่ง. บทว่า รหสิ ฌายถ ความว่า พระกุมารหาได้สนพระทัยมองดูมาตุคามไม่. บทว่า ปริเทเวสิ ความว่า ทรงบ่นพร่ำเพ้อ.
คาถาที่ ๕ เป็นคาถาแสดงความปริเทวนาการของพระราชา ความว่า
อุบายในข้อนี้มีอยู่อย่างไรหนอ ผู้ใดพึงประเล้าประโลมโอรสของเรา ให้เธอปรารถนากามได้ หรือว่า ผู้นั้นใครเล่าจะรู้เหตุที่จะให้โอรสของเราพัวพันในกาม ได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก นุ โขตฺถ อุปาโย โส ความว่า ในเรื่องนี้ จะมีอุบายให้โอรสของเราเสวยกามสมบัติได้อย่างไรหนอ. ปาฐะว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 226
โก นุโข อิธูปาโย โส อุบายในข้อนี้ มีอยู่อย่างไรหนอ ดังนี้ก็มี แต่ใน อรรถกถาท่านกล่าวไว้ว่า โก นุโข ตํ อุปวสิตฺวา อุปลาปนการณํ ชานาติ ความว่า ใครเล่าหนอที่จะเข้าไปรู้เหตุที่ทำให้ลูกของเราเข้าไปพัวพัน อยู่ในกามได้. บทว่า โก วา ชานาติ กิญฺจนํ ความว่า หรือว่าใครจะ รู้เหตุให้โอรสของเรานี้หมกมุ่นในกามได้.
เบื้องหน้าต่อไปนี้ เป็นอภิสัมพุทธคาถาอันพระศาสดาตรัสไว้ พระคาถากึ่ง ความว่า
ภายในพระราชฐานนั้นเอง มีกุมารีคนหนึ่ง มี ฉวีวรรณงดงาม รูปสวย ฉลาดในการฟ้อนรำขับร้อง และชำนาญในการดีดสีตีเป่า นางเข้าไปในพระราชฐานนั้นแล้ว กราบทูลความนี้กะพระราชา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหุ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน ภายในพระราชฐานนั่นเอง มีดรุณกุมารีนางหนึ่ง ในจำนวนจูฬนาฏนารีทั้งหลาย. บทว่า ปทกฺขิณา ความว่า ได้รับการฝึกจนชำนาญ.
นางกุมาริกา กล่าวคาถากึ่งคาถาทูลพระราชา ความว่า
เกล้ากระหม่อมฉันนี้แล จะพึงประเล้าประโลม พระราชกุมารนั้นได้ ถ้าหากพระราชกุมารนั้น จักได้ เป็นพระภัสดาของกระหม่อมฉัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเจ ภตฺตา ความว่า ถ้าพระราชกุมารนั้น จักเป็นพระภัสดาของหม่อมฉัน.
พระราชาจึงตรัสกะนางกุมาริกา ผู้กล่าวยืนยัน เช่นนั้นว่า เธอจงประเล้าประโลมลูกของเรา ลูกของ เราจักเป็นสามีของเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 227
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตว ภตฺตา ความว่า โอรสของเรานี้ จักเป็นสามีของเจ้า และตัวเจ้าก็จักได้เป็นอัครมเหสีแห่งโอรสของเราทีเดียว ไปเถิด เจ้าจงประเล้าประโลมล่อพระโอรส ให้ทราบซึ้งกามรส.
ครั้นพระราชาตรัสอย่างนี้แล้ว ทรงส่งนางกุมาริกานั้นไปมอบแก่ชาว พนักงาน ผู้อภิบาลบำรุงพระกุมาร โดยพระราชโองการว่า เจ้าพนักงาน ผู้อภิบาลทั้งหลาย จงเปิดโอกาสแก่นางกุมาริกานี้เถิด. ในเวลาใกล้รุ่ง นาง กุมาริกาถือพิณไปยืนอยู่ภายนอกใกล้ห้องบรรทมของพระกุมาร แล้วเอาปลาย เล็บดีดพิณ ขับกล่อมคลอไปด้วยเสียงอันไพเราะ ประโลมล่อพระกุมารนั้น
พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัส (พระคาถา ทั้งหลาย) ความว่า
นางกุมารีนั้น ได้เข้าไปภายในพระราชฐานแล้ว จึงกล่าวเป็นคาถาไพเราะ จับจิตใจ ยั่วยวนชวนให้ รักใคร่ เปลี่ยนแปลงขับลำนำ ประกอบไปด้วยกามารมณ์ มากมายหลายอย่าง.
กามฉันทะบังเกิดแก่พระราชกุมารนั้น เพราะได้ ทรงสดับเสียงของนางกุมารี ผู้ขับกล่อมอยู่ พระราชกุมารจึงตรัสถามคนที่อยู่ใกล้เคียงว่า โอ! นั่นเสียงใคร หรือใครมาขับร้องเสียงสูงต่ำไพเราะจับใจ น่ารักนักหนา ไพเราะหูของเรานัก.
(พวกพระพี่เลี้ยงจึงกราบทูลว่า) ขอเดชะ เสียงนี้ น่ายินดี น่าสนุกสนานมิใช่น้อย ถ้าพระองค์พึงบริโภค กามคุณไซร้ กามทั้งหลายจะพึงเป็นที่โปรดปรานพอพระทัยของพระองค์อย่างยิ่ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 228
(พระราชกุมารรับสั่งว่า) เชิญมาภายในนี้ จงมา ขับร้องใกล้ๆ เรา เลื่อนเข้ามาขับใกล้ตำหนักของเรา จงขับกล่อมใกล้ที่บรรทมของเรา.
นางกุมารีนั้น เข้าไปขับกล่อมภายนอกฝาห้อง บรรทม แล้วเลื่อนเข้าไป ณ ตำหนักฌานาคารโดย ลำดับ จนผูกพระราชกุมารไว้ได้ เหมือนนายหัตถาจารย์ จับคชสารป่า มัดไว้ฉะนั้น.
เพราะรู้กามรสโลกีย์แห่งนางกุมารีนั้น พระราช กุมารจึงเกิดความปรารถนาเป็นอธรรมว่า เราเท่านั้น พึงได้บริโภคกาม อย่าได้มีบุรุษอื่นเลย ต่อแต่นั้น พระราชกุมารทรงถือดาบเล่มหนึ่งแล้ว เสด็จไปเพื่อจะ ฆ่าบุรุษทั้งหลายเสีย ด้วยทรงดำริว่า เราจักบริโภคกาม แต่เพียงผู้เดียว อย่าพึงมีบุรุษอื่นอยู่เลย.
ต่อแต่นั้น ชาวชนบททั้งปวงจึงมาประชุมกัน ถวายเรื่องราวร้องทุกข์ว่า ข้าแต่พระมหาราชา พระราชโอรสของพระองค์นี้ ทรงเบียดเบียนผู้หาโทษมิได้ พระเจ้าข้า.
พระเจ้ากาสีบรมกษัตริย์ ทรงเนรเทศพระราชกุมารออกไปจากรัฐสีมาของพระองค์แล้ว มีพระราช โองการว่า อาณาเขตของเรามีอยู่เพียงใด เจ้าอย่าอยู่ ในอาณาเขตของเราเพียงนั้นเป็นอันขาด.
ครั้งนั้น พระราชกุมารทรงพาพระชายาไปจน บรรลุถึงสมุทรนทีแห่งหนึ่ง ทรงสร้างบรรณศาลา แล้ว จึงเสด็จเข้าไปสู่ป่า เพื่อแสวงหาผลาผล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 229
ครั้งนั้น มีฤาษีตนหนึ่ง มาถึงบรรณศาลานั้น โดยทางเบื้องบนสมุทร เข้าไปยังบรรณศาลาของพระราชกุมาร ในเวลาที่นางกุมาร จัดแจงภัตตาหารไว้แล้ว.
ชายาของพระราชกุมาร ประเล้าประโลมฤาษีนั้น ดูเถิด กรรมที่นางกุมารีทำนั้นหยาบช้าเพียงไร ฤาษี นั้นเคลื่อนจากพรหมจรรย์เสื่อมจากฤทธิ์.
ฝ่ายพระราชโอรสแสวงหามูลผลาผลในป่าได้ จำนวนมากแล้ว ครั้นถึงเวลาเย็น จึงใส่หาบขนเข้าไป สู่อาศรม.
ฝ่ายพระฤาษีพอเห็นพระขัตติยราชกุมาร จึงรีบ เข้าไปยังฝั่งสมุทร ด้วยตั้งใจว่า เราจักไปทางเวหาส แต่ต้องจมลงในมหรรณพนั่นเอง.
ฝ่ายขัตติยราชกุมาร ได้ทอดพระเนตรเห็นฤาษี จมลงในมหรรณพ จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ ด้วย ความอนุเคราะห์ต่อพระฤาษีนั้นว่า
ตัวท่านเองมาด้วยฤทธิ์ บนน้ำอันไม่แตกแยก ครั้นถึงความระคนด้วยสตรีแล้วต้องจมลงในมหรรณพ ธรรมดาสตรีมีปกติหมุนเวียน มีมายามาก มักทำ พรหมจรรย์ให้กำเริบ ย่อมทำนักพรตให้จมลง ท่าน รู้แจ้งฉะนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล สตรีทั้งหลาย มีวาจาไพเราะ เจรจานุ่มนวล ถมไม่เต็มเหมือนกับ นทีธาร ย่อมยังนักพรตให้จมลง ท่านรู้แจ้งฉะนี้แล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 230
พึงเว้นเสียให้ห่างไกล สตรีทั้งหลายย่อมเข้าไปซ่องเสพบุรุษใด ด้วยความพอใจหรือด้วยทรัพย์ก็ตาม ย่อม พลันตามเผาผลาญบุรุษนั้น เหมือนไฟป่าเผาสถานที่ ตนเองฉะนั้น.
ความเบื่อหน่ายได้เกิดมีแก่ฤาษี เพราะได้ฟัง ถ้อยคำของขัตติยราชกุมาร ฤาษีนั้นกลับได้ทางอันมี มาก่อน แล้วเหาะขึ้นไปยังเวหาส.
ฝ่ายขัตติยราชกุมารผู้ทรงพระปรีชา ได้ทอดพระเนตรเห็นพระฤาษีกำลังเหาะไปยังเวหาส จึงได้ ความสลดจิต น้อมพระทัยสู่การบรรพชา ต่อแต่นั้น ขัตติยราชกุมารก็ทรงบรรพชา สำรอกกามราคะแล้ว ได้เข้าถึงพรหมโลก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺเตปุรํ ได้แก่ พระราชฐานอันเป็น ที่อยู่ของพระกุมาร. บทว่า พหุํ ความว่า ให้แปลกๆ ไปมากอย่าง. บทว่า กามูปสญฺหิตํ ความว่า ผลัดเปลี่ยนขับลำนำ อันมีใจความกระตุ้นกามารมณ์. บทว่า กามจฺฉนฺทสฺส ความว่า กามฉันท์บังเกิดขึ้นแก่พระอนิตถิคันธกุมาร นั้น. บทว่า ชนํ ได้แก่ ปริจาริกชนผู้อยู่ใกล้พระองค์. บทว่า อุจฺจาวจํ ได้แก่ เพลงที่มีเสียงสูงและต่ำ. บทว่า ภุญฺเชยฺย ความว่า ถ้าหากพระองค์ พึงบริโภค (กามคุณ) ไซร้. บทว่า ฉินฺเทยฺยุ ตํ ความว่า ขึ้นชื่อว่ากาม ทั้งหลายเหล่านั้น จะพึงเป็นที่โปรดปรานพอพระทัย ของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง.
พระราชกุมารทรงสดับว่า สมุทฺทา (คลื่นสมุทร) ดังนี้แล้วทรง นิ่งเฉยเสีย. แม้ในวันรุ่งขึ้น นางกุมาริกาก็ขับร้องอยู่อย่างนั้น. เมื่อเป็นเช่นนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 231
พระกุมารก็เกิดมีจิตรักใคร่ เมื่อจะโปรดให้นางกุมาริกานั้นมาเฝ้า จึงตรัสเรียก ข้าราชบริพาลทั้งหลายมาแล้วตรัสพระคาถามีคำว่า อิงฺฆ (นี่แน่ะเราจะบอกให้) ดังนี้เป็นต้น. บทว่า ติโรกุฑฺฑมฺหิ ความว่า ภายนอกฝาห้องบรรทม. บทว่า มา อญฺโ ความว่า ชื่อว่าบุรุษผู้บริโภคกามคนอื่น ไม่ควรมีเลย. บทว่า หนฺตุํ อุปกฺกมิ ความว่า พระกุมารเสด็จลงไปยืนขวางกลางถนน แล้ว ปรารภจะฆ่าพวกบุรุษเสีย. บทว่า วิกฺกนฺทึสุ ความว่า เมื่อบุรุษสอง-สามคน ถูกพระราชกุมารประหารไปแล้ว ผู้คนทั้งหลายต่างพากันวิ่งหนี หลบเข้าไป สู่เรือน. พระราชกุมารนั้นไม่พบปะพวกบุรุษทั้งหลาย ก็สงบไปพักหนึ่ง. ขณะนั้น ชาวพระนครก็พากันมาประชุมที่พระลานหลวง กราบทูลเรื่องราว แด่พระราชา. บทว่า ชนํ เหเตฺยทูสกํ ความว่า ชาวเมืองกราบทูลกล่าว โทษว่า พระโอรสของพระองค์ทรงประหารคนผู้ไร้ความผิด ขอได้โปรดให้ ทรงจับพระราชโอรสนั้น. พระราชาตรัสสั่งให้จับพระกุมารไว้ด้วยอุบาย แล้ว ตรัสถามทวยนาครว่า ควรลงโทษกุมารนี้อย่างไร? เมื่อทวยนาครกราบทูล ว่า ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ไม่มีทางอื่น แต่ควรที่พระองค์ จะทรงเนรเทศพระกุมารนี้ พร้อมด้วยนางกุมาริกานั้น ไปเสียจากแว่นแคว้น พระเจ้าข้า จึงได้ทรงทำตามนั้น.
เมื่อพระบรมศาสดาจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถา มีอาทิว่า ตญฺจ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิปาเหสิ แปลว่า ทรง เนรเทศแล้ว. บทว่า น เต วตฺถพฺพ ตาวเท ความว่า พระราชอาณาเขต ของเรามีอยู่เพียงใด เจ้าอย่าอยู่ในอาณาเขตของเราเพียงนั้นเป็นอันขาด. บทว่า อุญฺฉาย ความว่า เพื่อแสวงหาผลาผล ก็เมื่อพระราชกุมารนั้นเสด็จไปป่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 232
นางกุมาริกาผู้ชายาเฝ้าอาศรมจัดแจงของควรเผาและต้ม ซึ่งมีอยู่ในอาศรมนั้น นั่งอยู่ที่ประตูบรรณศาลา คอยดูทางที่ภัสดาจะกลับมา. เมื่อกาลเวลาล่วงไป อย่างนี้ วันหนึ่ง อิทธิมันตดาบสองค์หนึ่ง ซึ่งอาศัยอยู่ที่เกาะกลางสมุทร ออกจากอาศรมสถาน เดินบนน้ำได้เหมือนเดินบนแผ่นแก้วมณี แล้วเหาะขึ้นไป บนอากาศ เที่ยวไปภิกษาจารจนบรรลุถึงเบื้องบนบรรณศาลานั้น แลเห็น ควันไฟจึงคิดว่า ชะรอยในที่นี้จะมีมนุษย์อยู่อาศัย แล้วเลื่อนลอยลงมาที่ประตู บรรณศาลา. ฝ่ายนางกุมาริกาผู้ชายาของพระกุมาร ครั้นเห็นพระดาบสแล้ว จึงนิมนต์ให้นั่ง เกิดมีจิตปฏิพัทธ์ ได้แสดงมายาแห่งสตรีให้เห็น จนได้ประพฤติ อนาจารร่วมกับพระดาบสนั้น. เมื่อพระศาสดาจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถา มีอาทิว่า อเถตฺถ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิสิ มาคญฺฉิ ความว่า พระฤาษีได้ เหาะมาแล้ว. บทว่า สมุทฺทมุปรูปริ ความว่า โดยทางเบื้องบนสมุทร. บทว่า ปสฺส ยาว สุทารุณํ ความว่า ดูเถิดภิกษุทั้งหลาย กรรมอันทารุณ หยาบช้าเพียงไร ที่นางกุมาริกานั้นกระทำแล้ว. บทว่า สายํ ได้แก่ ใน สายัณหสมัย.
บทว่า ทิสฺวา ความว่า อิทธิมันตดาบสนั้น เมื่อไม่อาจจะละนาง กุมาริกานั้นไปได้ ก็อยู่ที่บรรณศาลานั้นจนตลอดวัน เห็นพระราชกุมารเสด็จ มาในเวลาเย็น คิดว่า เราจักหนีไปทางอากาศ จึงกระทำอาการโลดลอยขึ้นไป ตกจมลงในมหรรณพ. บทว่า อิสึ ทิสฺวา ความว่า พระราชกุมารนั้น ติดตามไป จึงเห็น (พระฤาษี). บทว่า อนุกมฺหปาย ความว่า พระกุมาร เกิดความเอ็นดูว่า ถ้าพระดาบสนี้จักมาทางพื้นดิน ก็ควรจะหนีเข้าป่าไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 233
ชะรอยจักมาทางอากาศ เพราะเหตุนั้น แม้จะตกไปในสมุทร ท่านก็ยังทำอาการ เหมือนกับจะเหาะไป แล้วได้ตรัสพระคาถาด้วยความเอ็นดู ต่อพระดาบสนั้น นั่นเอง. ก็เนื้อความแห่งคาถาเหล่านั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในติกนิบาตแล้ว ทั้งนั้น. บทว่า นิพฺพิโท อหุ ความว่า ความเบื่อหน่ายในกามทั้งหลาย เกิดแล้ว. บทว่า โปราณกํ มคฺคํ ได้แก่ ฌานวิเศษอันตนบรรลุแล้วใน กาลก่อน. บทว่า ปพฺพชิตฺวาน ความว่า พระราชกุมารทรงพานางกุมารี ไปส่งยังที่อยู่ของมนุษย์ แล้วเสด็จกลับมาบรรพชาเพศเป็นฤาษี อยู่ในราวป่า ทรงสำรอกกามราคะเสียได้ ครั้นสำรอกกามราคะได้แล้ว ได้เป็นผู้มีพรหมโลก เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ด้วยประการฉะนี้.
พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้สัตว์ผู้บริสุทธิ์ดีแล้วทั้งหลาย ย่อมเศร้าหมองเพราะ อาศัยมาตุคามเป็นเหตุอย่างนี้ แล้วทรงประกาศอริยสัจจธรรม แล้วทรงประชุม ชาดก. ในเวลาจบอริยสัจจเทศนา ภิกษุผู้กระสันได้บรรลุพระอรหัตตผล. ก็ อนิตถิกุมารในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราผู้ตถาคตฉะนี้แล.
จบอรรถกถามหาปโลภนชาดก