พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๔. อโยฆรชาดก ว่าด้วยอํานาจของมัจจุราช

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ส.ค. 2564
หมายเลข  35977
อ่าน  456

[เล่มที่ 61] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 273

๑๔. อโยฆรชาดก

ว่าด้วยอํานาจของมัจจุราช


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 61]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 273

๑๔. อโยฆรชาดก

ว่าด้วยอำนาจของมัจจุราช

[๒๒๖๑] (อโยฆรกุมารตรัสว่า) สัตว์ถือปฏิสนธิ กลางคืนก็ตาม กลางวันก็ตาม ย่อมอยู่ในครรภ์มารดา ก่อน สัตว์นั้นย่อมเกิดเพราะกำลังลม ย่อมไปสู่ความ เป็นกลละเป็นต้น ย่อมไม่ย้อนกลับมาสู่ความเป็นกลละ เป็นต้นอีก.

[๒๒๖๒] นรชนทั้งหลาย จะยกพลโยธายุทธนาการกับชรา พยาธิ มรณะไม่ได้เลยเป็นอันขาด เพราะว่าชีวิตของสัตว์ทั้งมวลนี้ ถูกความเกิดและความ แก่เข้าไปประทุษร้ายเบียดเบียน เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๖๓] พระราชาผู้เป็นอธิบดีในรัฐทั้งหลาย ย่อมจะข่มขี่ราชศัตรู ผู้มีเสนาอันประกอบด้วยองค์ ๔ ล้วนมีรูปร่างน่าสะพรึงกลัว เอาชัยชนะได้ แต่ไม่ สามารถจะชนะเสนาแห่งมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๖๔] พระราชาบางพวก แวดล้อมด้วยพลม้า พลรถ และพลเดินเท้า ย่อมพ้นจากเงื้อมมือของ ข้าศึกได้ แต่ก็ไม่อาจจะพ้นจากสำนักของมัจจุราชได้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 274

เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๖๕] พระราชาทั้งหลายผู้กล้าหาญ ย่อม หักค่ายทำลายพระนคร แห่งราชศัตรูให้ย่อยยับได้ และกำจัดมหาชนได้ด้วยพลช้าง พลม้า พลรถ และ พลเดินเท้า แต่ไม่สามารถจะหักรานเสนาแห่งมัจจุราช ได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวช ประพฤติธรรม.

[๒๒๖๖] คชสารทั้งหลายที่ตกมัน มีมันเหลว แตกออกจากกระพอง ย่อมย่ำยีนครทั้งหลายและเข่นฆ่าประชาชนได้ แต่ไม่สามารถจะย่ำยีเสนาแห่งมัจจุ- ราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวช ประพฤติธรรม.

[๒๒๖๗] นายขมังธนูทั้งหลาย แม้มีมืออันได้ ฝึกฝนมาดีแล้ว เป็นผู้มีปัญญา สามารถยิ่งขึ้นให้ถูก ได้ในที่ไกล ยิงได้แม่นยำไม่ผิดพลาด ก็ไม่สามารถ จะยิ่งต่อต้านมฤตยูได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๖๘] สระทั้งหลาย และมหาปฐพี กับทั้ง ภูเขาราวไพร ย่อมเสื่อมสิ้นไป สังขารทั้งปวงนั้น จะ ตั้งอยู่นานสักเท่าไร ก็ย่อมเสื่อมสิ้นไป เพราะสังขาร ทั้งปวงนั้น ครั้นถึงกาลกำหนดแล้ว ย่อมจะแตกทำลาย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 275

ไป เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวช ประพฤติธรรม.

[๒๒๖๙] แท้จริงชีวิตของสัตว์ทั้งมวล ทั้งที่เป็น สตรีและบุรุษในโลกนี้ เป็นของหวั่นไหวเหมือนแผ่น ผ้าของนักเลงสุรา และต้นไม้เกิดใกล้ฝั่ง เป็นของ หวั่นไหว ไม่ยั่งยืนฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๗๐] ผลไม้ที่สุกแล้ว ย่อมหล่นล่วง ฉันใด สัตว์ทั้งหลาย ทั้งหนุ่มแก่ ทั้งปานกลาง ทั้งหญิงทั้ง ชาย ย่อมเป็นผู้มีสรีระทำลายหล่นไป ฉันนั้น เพราะ เหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติ ธรรม.

[๒๒๗๑] พระจันทร์อันเป็นดาราแห่งดวงดาว เป็นฉันใด วัยนี้หาเป็นฉันนั้นไม่ เพราะส่วนใดล่วง ไปแล้ว ส่วนนั้นเป็นอันล่วงไปแล้วในบัดนี้ อนึ่ง ความยินดีในกามคุณของคนแก่ชราแล้วย่อมไม่มี ความ สุขจะมีมาแต่ไหน เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๗๒] ยักษ์ก็ดี ปีศาจก็ดี หรือเปรตก็ดี โกรธเคืองแล้วย่อมเข้าสิงมนุษย์ได้ แต่ไม่สามารถจะ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 276

เข้าสิงมัจจุราชได้เลย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๗๓] มนุษย์ทั้งหลายย่อมกระทำการบวงสรวงยักษ์ ปีศาจ หรือเปรตทั้งหลายผู้โกรธเคือง แล้วได้ แต่ไม่สามารถจะบวงสรวงมัจจุราชได้เลย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๗๔] พระราชาทั้งหลายทรงทราบโทษผิด แล้ว ย่อมลงอาชญาผู้กระทำความผิด ผู้ประทุษร้าย ต่อราชสมบัติ และผู้เบียดเบียนประชาชน ตามสมควร แต่ไม่สามารถลงอาชญามัจจุราชได้เลย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๗๕] ชนทั้งหลายผู้กระทำความผิด ฐาน ประทุษร้ายต่อพระราชาก็ดี ผู้ประทุษร้ายต่อราชสมบัติ ก็ดี ผู้เบียดเบียนประชาชนก็ดี ย่อมจะขอพระราชทาน อภัยโทษได้ แต่หาทำมัจจุราชให้ผ่อนปรนกรุณาปรานี ได้ไม่ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะ บวชประพฤติธรรม.

[๒๒๗๖] มัจจุราชมิได้มีความเกรงใจเลยว่า ผู้นี้ เป็นกษัตริย์ ผู้นี้เป็นพราหมณ์ ผู้นี้มั่งคั่ง ผู้นี้มีกำลัง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 277

ผู้นี้มีเดชานุภาพ ย่อมย่ำยีทั่วไปหมด เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๗๗] ราชสีห์ก็ดี เสือโคร่งก็ดี เสือเหลือง ก็ดี ย่อมข่มขี่เคี้ยวกินสัตว์ที่ดิ้นรนอยู่ได้ แต่ไม่สามารถ จะเคี้ยวกินมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๗๘] นักเล่นกลทั้งหลาย เมื่อทำมายากล ณ ท่ามกลางสนาม ย่อมลวงนัยน์ตาประชาชนในที่นั้นๆ ให้หลงเชื่อได้ แต่ไม่สามารถจะลวงมัจจุราชให้หลงเชื่อได้เลย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๗๙] อสรพิษ ที่มีพิษร้าย โกรธขึ้นมาแล้ว ย่อมขบกัดมนุษย์ให้ถึงตายได้ แต่ไม่สามารถจะขบกัด มัจจุราชให้ตายได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๘๐] อสรพิษโกรธขึ้นแล้วขบกัดผู้ใด หมอ ทั้งหลาย ย่อมถอนพิษร้ายนั้นได้ แต่จะถอนพิษของ ผู้ถูกมัจจุราชประทุษร้ายหาได้ไม่ เพราะเหตุนั้น ข้า พระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๘๑] แพทย์ผู้มีชื่อเสียงเหล่านี้คือ แพทย์- ธรรมมนตรี แพทย์เวตตรุณะ แพทย์โภชะอาจจะ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 278

กำจัดพิษพระยานาคได้ แต่แพทย์เหล่านั้นต้องทำกาล กิริยานอนตาย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๘๒] วิชาธรทั้งหลาย เมื่อร่ายอาคมชื่อ โฆรมนต์ ย่อมหายตัวไปได้ด้วยโอสถทั้งหลาย แต่จะ หายตัวไม่ให้มัจจุราชเห็นไม่ได้เลย เพราะเหตุนั้น ข้า พระพุทธเจ้า จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

[๒๒๘๓] ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้ นี้เป็น อานิสงส์ ในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ผู้มีปกติประพฤติ ธรรม ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ.

[๒๒๘๔] สภาพทั้งสองคือ ธรรม และอธรรม มีวิบากไม่เสมอกัน อธรรมย่อมนำไปสู่นรก ธรรม ย่อมยังสัตว์ให้ถึงสุคติ.

จบอโยฆรชาดกที่ ๑๔

จบวีสตินิบาตชาดก

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 279

อรรถกถาอโยฆรชาดก

พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ การออกมหาภิเนษกรมณ์นั่นเอง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยเมกรตฺตึ ปมํ ดังนี้.

แท้จริงแม้ในครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า ใช่แต่ในชาตินี้ เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในชาติก่อน ตถาคตก็เคยออกมหาภิเนษกรมณ์เหมือนกัน แล้วทรงนำอดีตนิทานมาตรัสดังนี้

เมื่อพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติ ณ พระนครพาราณสี พระอัครมเหสีของท้าวเธอทรงพระครรภ์ ได้รับการบริหารพระครรภ์เป็นอย่างดี จนพระครรภ์แก่แล้ว ประสูติพระราชโอรส ในระหว่างเวลาปัจจุสมัยใกล้รุ่ง ในภพก่อนมีสตรีผู้หนึ่งร่วมสามีเดียวกันกับพระนางเทวีนั้น ตั้งความปรารถนา ไว้ว่า ขอให้เราได้กินลูกของท่านที่คลอดแล้วๆ. ได้ยินว่า สตรีผู้นั้น ตนเอง เป็นหญิงหมัน ทำความปรารถนาเช่นนั้น เพราะความโกรธสตรีที่มีบุตร แล้วได้มาบังเกิดในกำเนิดนางยักษิณี สตรีที่มีบุตรนั้นได้มาเป็นพระอัครมเหสี ของพระเจ้าพรหมทัต จนคลอดพระโอรสองค์นี้ คราวนั้น นางยักษิณีได้โอกาส จึงแปลงกายมา เมื่อพระเทวีทอดพระเนตรดูอยู่นั้นแล ตรงเข้าจับทารกนั้น แล้วหนีไป. พระนางเทวีทรงร้องขึ้นด้วยเสียงอันดังว่า นางยักษิณีจับโอรส ของเราหนีไปแล้ว. ฝ่ายนางยักษิณี ก็กัดกินทารกทำเสียงมุรุ มุรุ เหมือนกิน เง่าบัว แสดงท่ายกมือชี้หน้าคุกคามพระเทวี แล้วก็หลีกหนีไป พระราชาทรง สดับพระเสาวนีย์ของพระเทวีแล้วทรงดำริว่า ไฉนนางยักษิณีจึงบังอาจการทำ ได้แต่ทรงนิ่งเฉยเสีย. ในกาลที่พระเทวีทรงประสูติพระโอรสอีก ท้าวเธอได้ทรง

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 280

จัดการอารักขามั่นคง. พระเทวีก็ประสูติพระโอรสอีกเป็นคำรบสอง. นางยักษิณี ก็มาเคี้ยวกินพระกุมารนั้นแล้วหนีไปอีก. ในวาระที่สาม พระมหาสัตว์เจ้าทรง ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระเทวี พระราชาทรงมีพระโองการให้มหาชนมา ประชุมกัน ตรัสถามว่า ยักษิณีตนหนึ่งมากินโอรสที่ประสูติจากพระเทวีของเรา ทุกคราว ควรจะจัดการสถานใด? ครั้งนั้นบุรุษคนหนึ่งกราบทูลว่า ขอเดชะ ธรรมดานางยักษิณี ย่อมกลัวใบตาล ควรที่จะผูกใบตาลไว้ที่พระหัตถ์และ พระบาททั้งสองของพระเทวี อีกคนหนึ่งทูลว่า ขอเดชะ ธรรมดานางยักษิณี ย่อมกลัวเรือนเหล็ก ควรทำเรือนเหล็กไว้ พ่ะย่ะค่ะ. พระราชาตรัสสั่งว่าดีละ แล้ว ตรัสสั่งให้ช่างเหล็กทั้งหลายในแว่นแคว้นของพระองค์ มาประชุมกัน ทรงบัญชา ว่า ท่านทั้งหลายจงช่วยกันทำเรือนเหล็กให้เรา แล้วโปรดให้ราชบุรุษผู้ดูแล คอยกำกับการ. ช่างเหล็กทั้งหลายจึงก่อสร้างพระตำหนักขึ้น ณ ภูมิภาคอัน รื่นรมย์ภายในพระนครนั่นเอง. สัมภาระแห่งพระตำหนักทุกอย่าง ตั้งแต่เสา เป็นต้น ล้วนแล้วไปด้วยเหล็กทั้งนั้น ตำหนักรูปทรงจตุรมุขหลังใหญ่ล้วนแล้ว ไปด้วยเหล็ก สำเร็จลงโดยเวลาเก้าเดือน. พระตำหนักนั้นงามรุ่งเรืองเท่าเทียม กับแสงประทีปอันโพลงอยู่เป็นนิตย์ พระราชาทรงทราบว่า พระราชเทวีทรง พระครรภ์แก่แล้ว จึงตรัสสั่งให้ประดับตกแต่งพระตำหนักเหล็ก พาพระนางเทวี ไปประทับยังตำหนักนั้น พระนางเทวีก็ประสูติพระราชโอรส สมบูรณ์ด้วย ธัญบุญลักษณะ ณ พระตำหนักเหล็กนั้น. พระราชากับพระอัครมเหสี ทรงพระราชทานนามพระราชโอรสว่า " อโยฆรกุมาร " พระราชาทรงมอบ พระกุมารแก่พระพี่เลี้ยงนางนมแล้ว ทรงจัดแจงอารักขาใหญ่ยิ่ง พาพระราชเทวีกระทำประทักษิณเสด็จเลียบพระนคร แล้วเสด็จสู่พื้นอลังกตปราสาท. ฝ่าย นางยักษิณี ถึงเวรตักน้ำ นำน้ำไปถวายท้าวเวสวัณ ถึงความสิ้นชีวิตแล้ว.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 281

พระมหาสัตว์เจ้าทรงเจริญเติบโตในพระตำหนักเหล็กนั่นเอง จนรู้ เดียงสา ทรงศึกษาศิลปวิทยาทุกอย่างในที่นั้นแหละ. พระราชาตรัสถานหมู่ อำมาตย์ว่า โอรสของเรามีพระชันษาได้เท่าไร ทรงสดับว่า พระโอรสมีพระชันษา ๑๖ แกล้วกล้า สมบูรณ์ด้วยพลานามัย สามารถต่อสู้กับยักษ์ได้แม้ตั้งพัน จึงมีพระราชโองการว่า เราจักมอบราชสมบัติแก่โอรสของเรา ท่านทั้งหลาย จงให้จัดการตกแต่งทั่วทั้งพระนคร แล้วเชิญพระโอรสออกจากตำหนักเหล็ก นำมายังพระราชฐาน อำมาตย์ทั้งหลายรับพระราชโองการว่า ดีละ พระเจ้าข้า แล้วให้พนักงานตบแต่งพระนครพาราณสี อันมีปริมณฑลได้ ๑๒ โยชน์ เสร็จแล้วนำมงคลหัตถี อันเพริศแพร้วไปด้วยสรรพาลังการ ไปยังพระตำหนัก เหล็กนั้น ประดับตกแต่งพระราชกุมารแล้ว ทูลเชิญให้ประทับเหนือมงคลหัตถี แล้วทูลว่า ขอเดชะพระกุมารผู้ประเสริฐ ขอเชิญพระองค์ทรงทำประทักษิณเลียบ พระนครอันอลงกต ซึ่งเป็นมรดกแห่งราชตระกูล แล้วเสด็จไปถวายบังคม พระเจ้ากาสิกราชผู้พระราชบิดา พระองค์จักได้เศวตฉัตรในวันนี้แหละ พะย่ะค่ะ เมื่อพระมหาสัตว์ทำการประทักษิณพระนครอยู่ ทอดพระเนตรเห็นพระราชอุทยาน แนวป่า สระโบกขรณี พื้นภูมิภาคและปราสาทราชวังอันน่ารื่นรมย์ ยินดีเป็นต้นแล้ว ทรงจินตนาการว่า พระราชบิดาของเรา ให้เราอยู่ในเรือนจำ ตลอดกาลเพียงนี้ ไม่ให้เราได้เห็นพระนครอันตกแต่งงดงามเห็นปานนี้เลย โทษผิดของเรามีอย่างไรหนอ ดังนี้แล้ว จึงตรัสถามพวกอำมาตย์ อำมาตย์ ทั้งหลายกราบทูลว่า ขอเดชะ พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ โทษผิด ของพระองค์ไม่มีเลย พะย่ะค่ะ แต่นางยักษิณีตนหนึ่งมาเคี้ยวกินพระเชษฐาธิราช ของพระองค์ถึงสองพระองค์ เพราะเหตุนั้น พระราชบิดาของพระองค์ จึง โปรดให้พระองค์อยู่ในตำหนักเหล็ก พระองค์รอดพระชนมชีพมาได้ เพราะ พระตำหนักเหล็กแท้ๆ พะย่ะค่ะ อโยฆรราชกุมาร ทรงสดับคำของอำมาตย์

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 282

กราบทูล แล้วทรงพระดำริว่า เราอยู่ในครรภ์ของพระมารดา ๑๐ เดือน เหมือนอยู่ในโลหกุมภีนรก และคูถนรก นับแต่คลอดออกจากพระครรภ์พระมารดาแล้ว ต้องอยู่ในที่คุมขังถึง ๑๖ ปี ไม่ได้โอกาสที่จะได้ดูโลกภายนอกเลย เป็นเหมือนตกอยู่ในอุสสุทนรกฉะนั้น แม้เราจะพ้นจากเงื้อมมือของนางยักษิณี มาได้ ใช่ว่าจะไม่แก่ไม่ตายก็หามิได้ ประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติแก่เรา นับแต่วาระที่ได้ดำรงอยู่ในราชสมบัติแล้ว จะออกบรรพชาได้ยาก เราจักให้ พระราชบิดาทรงอนุญาตารบรรพชาแก่เรา แล้วเข้าไปสู่ป่าหิมพานต์ บวชเสีย วันนี้ทีเดียว ครั้นพระราชกุมารทรงกระทำประทักษิณพระนครแล้ว เสด็จเข้าไป สู่ราชตระกูล ถวายบังคมพระราชบิดาแล้วประทับยืนอยู่ พระเจ้าพรหมทัต ทอดพระเนตรสรีรโสภาแห่งพระโอรสแล้ว ทรงเสน่หารักใคร่เป็นกำลังจึงทรง ชำเลืองดูหมู่อำมาตย์ อำมาตย์ทั้งหลายทูลว่า ขอเดชะ จะโปรดให้พวกข้า พระพุทธเจ้า จัดแจงอย่างไรต่อไป. ท้าวเธอจึงตรัสสั่งว่า ท่านทั้งหลายจงเชิญ โอรสของเราให้ประทับเหนือกองรัตนะ แล้วสระสรงด้วยน้ำสังข์สามอย่าง แล้วสอดสวมกาญจนมาลา และยกเศวตฉัตรขึ้น พระมหาสัตว์เจ้าจึงถวาย บังคมพระราชบิดาทูลคัดค้านว่า ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความต้องการด้วยราชสมบัติ ข้าพระพุทธเจ้าจักบวช ขอพระองค์ได้โปรดทรงอนุญาตให้ข้าพระพุทธเจ้าบวชเถิด. พระเจ้าพรหมทัตจึงตรัสว่า ลูกรัก เจ้าบอกคืนราชสมบัติ แล้วจักบวช เพราะเหตุอะไร? พระมหาสัตว์เจ้าทูลตอบว่า ขอเดชะพระราช บิดาผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ข้าพระพุทธเจ้าอยู่ในพระครรภ์พระมารดา ๑๐ เดือน เหมือนอยู่ในคูถนรก ประสูติจากพระครรภ์แล้ว ต้องอยู่ในที่คุมขัง ถึง ๑๖ ปี ไม่ได้โอกาสที่จะเห็นโลกภายนอกได้ เพราะภัยอันเกิดแต่นางยักษิณี ได้เป็นเหมือนตกอยู่โนอุสสุทนรก ถึงพ้นจากเงื้อมมือนางยักษิณีแล้ว ใช่ว่าข้า

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 283

พระพุทธเจ้าจะเป็นคนไม่แก่ไม่ตายก็หามิได้ ขึ้นชื่อว่า มฤตยุราชนี้ ใครๆ ไม่อาจชนะ ไม่อาจจะลวงได้ ข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้เอือมระอาในภพ ข้าพระพุทธเจ้าจักบวชประพฤติธรรมไปจนกว่า ชรา พยาธิ และมรณะ จะไม่มาถึง ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าไม่ปรารถนาราชสมบัติ ขอเดชะพระราชบิดา ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ โปรดทรงอนุญาตให้ข้าพระองค์บวชเถิด ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรมถวายพระราชบิดา จึงตรัส (พระคาถา) ความว่า

สัตว์ถือปฏิสนธิ กลางคืนก็ตาม กลางวันก็ตาม ย่อมอยู่ในครรภ์มารดาก่อน สัตว์นั้นย่อมเกิดเพราะ กำลังลม ย่อมไปสู่ความเป็นกลละเป็นต้น ย่อมไม่ย้อน กลับมาสู่ความเป็นกลละเป็นต้นอีก.

นรชนทั้งหลาย จะยกพลโยธายุทธนาการกับชรา พยาธิ มรณะไม่ได้เลยเป็นอันขาด เพราะว่าชีวิตของ สัตว์ทั้งมวลนี้ ถูกความเกิดและความแก่เข้าไปประทุษร้ายเบียดเบียน เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

พระราชาผู้เป็นอธิบดีในรัฐทั้งหลาย ย่อมจะข่มขี่ ราชศัตรูผู้มีเสนาอันประกอบด้วยองค์ ๔ ล้วนรูปร่างน่า สะพรึงกลัว เอาชัยชนะได้ แต่ไม่สามารถจะชนะเสนา แห่งมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

พระราชาบางพวก แวดล้อมด้วยพลม้า พลรถ และพลเดินเท้า ย่อมพ้นจากเงื้อมมือของข้าศึก แต่ก็

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 284

ไม่อาจจะพ้นจากสำนักของมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

พระราชาทั้งหลายผู้กล้าหาญ ย่อมหักค่ายทำลาย พระนครแห่งราชศัตรูให้ย่อยยับได้ และกำจัดมหาชน ได้ด้วยพลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า แต่ ไม่สามารถจะหักรานเสนาแห่งมัจจุราชได้ เพราะ เหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติ- ธรรม.

คชสารทั้งหลายที่ตกมัน มีมันเหลวแตกออกจาก กระพอง ย่อมย่ำยีนครทั้งหลาย และเข่นฆ่าประชาชน ได้ แต่ไม่สามารถจะย่ำยีเสนาแห่งมัจจุราชได้ เพราะ เหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่า จะบวชประพฤติ ธรรม.

นายขมังธนูทั้งหลาย แม้มีมืออันได้ฝึกฝนมาดี แล้ว เป็นผู้มีปัญญา สามารถยิงธนูให้ถูกได้ในที่ไกล ยิงได้แม่นยำไม่ผิดพลาด ก็ไม่สามารถจะยิงต่อต้าน มัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

สระทั้งหลาย และมหาปฐพีกับทั้งภูเขาราวไพร ย่อมเสื่อมสิ้นไป สังขารทั้งปวงนั้นจะตั้งอยู่นานสัก เท่าไร ก็ย่อมเสื่อมสิ้นไป เพราะสังขารทั้งปวงนั้น ครั้นถึงกาลกำหนดแล้วย่อมจะแตกทำลายไป เพราะ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 285

เหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติ ธรรม.

แท้จริง ชีวิตของสัตว์ทั้งมวลทั้งที่เป็นสตรี และ บุรุษในโลกนี้ เป็นของหวั่นไหว เหมือนแผ่นผ้าของ นักเลงสุรา และต้นไม้เกิดใกล้ฝั่ง เป็นของหวั่นไหว ไม่ยั่งยืนฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

ผลไม้ที่สุกแล้ว ย่อมหล่นล่วง ฉันใด สัตว์ ทั้งหลาย ทั้งหนุ่มแก่ ทั้งปานกลาง ทั้งหญิง ทั้งชาย ย่อมเป็นผู้มีสรีระทำลายหล่นไปฉันนั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

พระจันทร์ อันเป็นราชาแห่งดวงดาวเป็นฉันใด วัยนี้หาเป็นฉันนั้นไม่ เพราะส่วนใดล่วงไปแล้ว ส่วน นั้นเป็นอันล่วงไปแล้วในบัดนี้ อนึ่ง ความยินดีใน กามคุณของคนแก่ชราแล้วย่อมไม่มี ความสุขจะมีมา แต่ไหน เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะ บวชประพฤติธรรม.

ยักษ์ก็ดี ปีศาจก็ดี หรือเปรตก็ดี โกรธเคืองแล้ว ย่อมเข้าสิงมนุษย์ได้ แต่ไม่สามารถจะเข้าสิงมัจจุราช ได้เลย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวช ประพฤติธรรม.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 286

มนุษย์ทั้งหลายย่อมกระทำการบวงสรวงยักษ์ ปีศาจ หรือเปรตทั้งหลาย ผู้โกรธเคืองแล้วได้ แต่ไม่ สามารถจะบวงสรวงมัจจุราชได้เลย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

พระราชาทั้งหลายทรงทราบโทษผิดแล้ว ย่อม ลงอาชญากะบุคคลผู้กระทำความผิด ผู้ประทุษร้ายต่อ ราชสมบัติ และผู้เบียดเบียนประชาชน ตามสมควร แต่ไม่สามารถลงอาชญามัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

ชนทั้งหลายผู้กระทำความผิด ฐานประทุษร้าย ต่อพระราชาก็ดี ผู้ประทุษร้ายต่อราชสมบัติก็ดี ผู้ เบียดเบียนประชาชนก็ดี ย่อมจะขอพระราชทานอภัยโทษได้ แต่หาทำมัจจุราชให้ผ่อนปรน กรุณาปรานี ได้ไม่ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวช ประพฤติธรรม.

มัจจุราชมิได้มีความเกรงใจเลยว่า ผู้นี้เป็น กษัตริย์ ผู้นี้เป็นพราหมณ์ ผู้นี้มั่งคั่ง ผู้นี้มีกำลัง ผู้นี้ มีเดชานุภาพ ย่อมย่ำยีทั่วทั้งหมด เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

ราชสีห์ก็ดี เสือโคร่งก็ดี เสือเหลืองก็ดี ย่อม ข่มขี่เคี้ยวกินสัตว์ที่ดิ้นรนอยู่ได้ แต่ไม่สามารถจะเคี้ยว กินมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 287

นักเล่นกลทั้งหลาย เมื่อกระทำกลมายา ณ ท่ามกลางสนาม ย่อมลวงนัยน์ตาประชาชนในที่นั้นๆ ให้หลงเชื่อได้ แต่ไม่สามารถจะลวงมัจจุราชให้หลง เชื่อได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวช ประพฤติธรรม.

อสรพิษที่มีพิษร้าย โกรธขึ้นมาแล้ว ย่อมขบกัด มนุษย์ให้ถึงตายได้ แต่ไม่สามารถจะขบกัดมัจจุราช ให้ตายได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะ บวชประพฤติธรรม.

อสรพิษทั้งหลายโกรธขึ้นแล้ว ขบกัดผู้ใด หมอ ทั้งหลายย่อมถอนพิษร้ายนั้นได้ แต่จะถอนพิษของผู้ ถูกมัจจุราชประทุษร้ายหาได้ไม่ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม. แพทย์ผู้มีชื่อเสียงเหล่านี้คือ แพทย์ธรรมมนตรี

แพทย์เวตตรุณะ แพทย์โภชะ อาจจะกำจัดพิษ พระยานาคได้ แต่แพทย์เหล่านั้น ต้องทำกาลกิริยา นอนตาย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

วิชาธรทั้งหลาย เมื่อร่ายอาคมชื่อ โฆรมนต์ ย่อมหายตัวไปได้ด้วยโอสถทั้งหลาย แต่หายตัวไม่ให้ มัจจุราชเห็นไม่ได้เลย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 288

ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธรรมที่ บุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อมนำความสุขมาให้ นี้เป็น อานิสงส์ในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ผู้มีปกติประพฤติ ธรรม ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ.

สภาพทั้งสองคือ ธรรมและอธรรม มีวิบากไม่ เสมอกัน อธรรมย่อมนำไปสู่นรก ธรรมย่อมยังสัตว์ ให้ถึงสุคติ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยเมกรตฺตึ ความว่า โดยมากสัตว์ ทั้งหลายเมื่อจะถือปฏิสนธิในท้องมารดา มักถือปฏิสนธิในเวลาราตรี เพราะ เหตุนั้น พระโพธิสัตว์เจ้าจึงตรัสอย่างนี้. ในข้อนี้มีอรรถาธิบายว่า สัตว์จะถือ ปฏิสนธิในเวลาราตรีก็ตาม ในเวลากลางวันก็ตาม ย่อมอยู่ในครรภ์คือท้อง ของมารดาก่อน. บทว่า มาณโว ความว่า สัตว์ย่อมดำรงอยู่โดยความเป็น กลละ. บทว่า อพฺภุฏฺิโตว โส ยาติ ความว่า เมฆหมอกกล่าวคือวลาหก ตั้งขึ้น เกิดขึ้น ถูกกำลังพายุพัดไปฉันใด สัตว์นั้นย่อมไปสู่ความเป็นกลละก่อน ฉันนั้นเหมือนกัน.

ข้อนี้ สมกับที่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า

แรกสัตว์ถือปฏิสนธินั้น เป็นกลละคือข้นเข้า หน่อยหนึ่ง ต่อจากกลละก็เป็นอัพพุทะ คือข้นขุ่นดัง น้ำล้างเนื้อ ต่อจากอัพพุทะ ก็เกิดเป็นเปสิ คือชิ้นเนื้อ อ่อนๆ ต่อจากเปสิก็เป็นฆนะ คือก้อนแข็ง ต่อจาก ฆนะก็เกิดเป็นสาขาอวัยวะ คือ ผมบ้าง ขนบ้าง เล็บ บ้าง มารดาของนระนั้นบริโภคโภชนะสิ่งใด ทั้งข้าว ทั้งน้ำ นระผู้อยู่ในครรภ์มารดานั้น ย่อมเลี้ยงอัตภาพ ด้วยโภชนะสิ่งนั้น อยู่ในครรภ์มารดานั้น.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 289

ในคาถานั้น พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้

นระนั้นย่อมถึงความเป็นกลละเป็นต้นในครรภ์มารดานี้ และครั้นออก จากครรภ์มารดาแล้ว ก็ถึงความเป็นมันททสกะเป็นต้น ย่อมเป็นไปติดต่อไม่ ขาดระยะ. บทว่า ส คจฺฉํ น นิวตฺตติ ความว่า และเมื่อเป็นไปอย่างนี้ นระนี้ มิได้ย้อนรอยถอยกลับเข้าไปถึงความเป็นกลละจากอัพพุทะ ถึงความเป็นอัพพุทะ เป็นต้น จากเปสิเป็นต้น เป็นมันททสกะ จากขิฑฑาทสกะ หรือถึงความเป็น ขิฑฑาทสกะเป็นต้น จากวัณณทสกะเป็นต้น เปรียบเหมือนวลาหกอันกำลัง ลมพัดให้กระจัดกระจาย ย่อมไม่ได้ที่จะคิดว่า เราตั้งขึ้น ณ ที่โน้น จักกลับไป แล้วดำรงอยู่โดยปกติภาพ ณ ที่โน้นอีกทีเดียว ที่ใดอันวลาหกนั้นไปแล้ว ที่นั้น ชื่อว่าได้ไปแล้ว ที่ใดอันตรธานไป ที่นั้นเป็นอันชื่อว่าอันตรธานไปแล้ว ฉันใด แม้สัตว์ผู้ถือปฏิสนธิในครรภ์ก็ฉันนั้น เมื่อไปโดยความเป็นกลละเป็นต้น ย่อมไปทีเดียว สังขารทั้งหลายในส่วนนั้นๆ เป็นปัจจัยแห่งภาวะมีในก่อน มิได้ถอยกลับคืนข้างหลัง ย่อมแตกทำลายไปในที่นั้นๆ ทีเดียว สังขารทั้งหลาย ในชรากาลย่อมไม่ได้สิ่งที่จะคิดว่า เมื่อก่อนนี้หนุ่มแน่นสมบูรณ์ด้วยกำลัง พวกเรากระทำได้ตามต้องการ พวกเราจักให้สังขารนั้นกลับสภาพเดิม ทำได้ เหมือนก่อนนั้นอีก ดังนี้ ย่อมจะอันตรธานไปในที่นั้นๆ นั่นแหละ.

บทว่า น ยุชฺฌมานา ความว่า นรชนทั้งหลายจะตั้งค่ายประชิดพล ทั้งสองข้าง กระทำยุทธสงคราม (กับชรามรณะหาได้ไม่). บทว่า น พเลน วสฺสิตา ความว่า นรชนทั้งหลายจะเข้าถึง คือประกอบด้วยกำลังกาย กำลัง พลโยธาก็ตาม. บัณฑิตพึงนำเอา "น" อักษรข้างหน้า ในบทว่า น ชีรนฺติ มาประกอบแล้ว ทราบเนื้อความว่า นรชนทั้งหลายแม้เห็นปานนี้ จะไม่แก่ ไม่ตายก็หามิได้. บทว่า สพฺพมฺหิ ตํ ความว่า ขอเดชะพระมหาราชเจ้า

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 290

เพราะมณฑลแห่งปาณะสัตว์ทั้งหมดนี้ ถูกชาติ และชราเบียดเบียนบีบคั้นเป็น นิตย์ ดุจลำอ้อยถูกเครื่องยนต์ขนาดใหญ่บีบคั้น ฉะนั้น. บทว่า ตํ เม มตี โหติ ความว่า แม้เพราะเหตุนั้น ความคิดของข้าพระพุทธเจ้าจึงมี คือเกิดความ คิดขึ้นว่า จะบวชประพฤติธรรม. บทว่า จาตุรงฺคินึ ความว่า ประกอบด้วย องค์ ๔ มีม้าเป็นต้น. บทว่า เสนํ สุภึสรูปํ ได้แก่ เสนาซึ่งมีรูปร่างน่ากลัว. บทว่า ชยนฺติ ความว่า บางครั้งพระราชาบางจำพวกชนะ (เสนาของศัตรู) ด้วยเสนาของตนได้. บทว่า น มจฺจุโน ความว่า แต่พระราชาแม้เหล่านั้น ไม่อาจชนะเสนาแห่งมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่ได้ คือไม่สามารถเพื่อจะย่ำยี ชรา พยาธิ และมรณะได้.

บทว่า มุจฺจเร เอกจฺจยา ความว่า พระราชาบางพวกแวดล้อม ด้วยพลช้างเป็นต้นเหล่านี้ ย่อมพ้นจากเงื้อมมือของปัจจามิตรได้ แต่ไม่สามารถ เพื่อจะพ้นจากสำนักของมัจจุราชได้. บทว่า ปภิญฺชนฺติ ความว่า พระราชา ผู้แกล้วกล้า ย่อมหักหาญตีเอาพระนครของราชศัตรูได้ ด้วยพลช้างเป็นต้น เหล่านั้น. บทว่า ปธํสยนฺติ ความว่า ย่อมกำจัดย่ำยียังมหาชนให้ถึงความตาย ได้. บทว่า น มจฺจุโน ความว่า แต่พระราชาเหล่านั้น เมื่อกาลมรณะ มาถึงแล้ว ไม่อาจที่จะหักรานมฤตยูได้. บทว่า ภินฺนคฬา ปภินฺนา ความว่า คชสารทั้งหลาย เป็นสัตว์มีมันเหลวแตกออกในที่ ๓ สถาน ก็เมามัน คือมีมันเหลวไหลออก. บทว่า น มจฺจุโน ความว่า แม้คชสารเหล่านั้น ไม่อาจย่ำยีมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่ได้.

บทว่า อิสฺสาสิโน ได้แก่ นายขมังธนูทั้งหลาย. บทว่า กตหตฺถา ความว่า ผู้ศึกษาดีแล้ว. บทว่า ทูเรปาตี ความว่า เป็นผู้สามารถยิงให้ถูกได้ ณ ที่ไกล. บทว่า อกฺขณเวธิโน ความว่า ยิงได้แม่นไม่ผิดพลาด หรือ

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 291

เป็นผู้สามารถยิงได้ด้วยสายฟ้าแลบ. บทว่า สรานิ ความว่า แม้สระใหญ่ๆ ทั้งหลาย มีสระอโนดาตเป็นต้น ย่อมเสื่อมสิ้นไปเหมือนกัน. บทว่า สเสลกานนา ความว่า แม้มหาปฐพีพร้อมทั้งบรรพต และไพรสณฑ์ก็ดี ย่อม เสื่อมสิ้นไป. บทว่า สพฺพํ หิ ตํ ความว่า ธรรมชาติอันนับว่าเป็นสังขาร ทั้งหมดนี้ แม้ตั้งอยู่ยืนนานเพียงใด ก็ย่อมจะเสื่อมสิ้นไป แม้มหาเมรุราช ถึงไฟบัลลัยกัลป์แล้ว ย่อมจะย่อยยับไปเหมือนขี้ผึ้งใกล้เตาไฟ ย่อมละลายไป ฉะนั้น ฝ่ายสังขารมีประมาณเล็กน้อย ไม่สามารถดำรงอยู่ได้. สังขารทั้งหมด ถึงกาลเป็นที่สุด คือถึงวาระกาลพินาศแล้ว ย่อมจะหักละเอียด คือแตกทำลาย ไป. เพื่อจะประกาศความนี้นั้น ควรนำสัตตสุริยสูตรมาแสดง.

บทว่า จลาจลํ ความว่า เป็นของจลาจล คือไม่สามารถดำรงอยู่ ตามสภาพของตนได้ มีอันเป็นไปต่างๆ แปลกๆ กัน. บทว่า ปาณภุโนธ ชีวิตํ ความว่า ชีวิตของปาณสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นในโลกนี้ (ก็ฉันนั้น). บทว่า ปโฏว ธุตฺตสฺส ทุโมว กูลโช ความว่า ธรรมดานักเลงสุราเห็นสุราแล้ว ย่อมเปลื้องผ้าคาดพุงแลกดื่มได้ทีเดียว ต้นไม้ที่เกิดใกล้ฝั่งแม่น้ำ เมื่อฝั่งพังลง ไป ก็ย่อมโค่นล้มไป แผ่นผ้าของนักเลงสุรา และต้นไม้ใกล้ฝั่งนี้เป็นฉันใด ขอเดชะ ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้น. บทว่า ทุมฺมปฺผลาเนว ความว่า ผลไม้ทั้งหลายที่สุกแล้วถูกลมกระทบ ย่อมหล่นจากต้นตกลงที่พื้นดิน ฉันใด มาณพทั้งหลายเหล่านี้ ถูกลมคือชรากระทบแล้ว กลืนกินชีวิตแล้ว ย่อมล่วง หล่นไปในแผ่นดินคือความตาย ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า ทหรา ความว่า มาณพทั้งหลายเหล่านี้ คือคนหนุ่ม โดยที่สุดแม้ตั้งอยู่ในความเป็นกลละก็ดี. บทว่า มชฺฌิมโปริสา ความว่า หญิงชายผู้ตั้งอยู่ในวัยกลางคน ทั้งอุภโตพยัญชนก และนปุงสกเพศ.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 292

บทว่า ตารกราชสนฺนิโภ ความว่า พระจันทร์เป็นราชาแห่ง ดวงดารา สิ้นแรงลงในกาฬปักษ์ข้างแรม แต่ก็แจ่มใสเต็มดวง ในชุณหปักษ์ ข้างขึ้นฉันใด วัยของสัตว์ทั้งหลายหาเป็นฉันนั้นไม่. เพราะวัยของสัตว์ทั้งหลาย ส่วนใดล่วงไปแล้ว เป็นอันว่าส่วนนั้นล่วงไปแล้วในบัดนี้ทีเดียว ไม่มีทางที่จะ กลับคืนไปสู่วัยนั้นได้อีก. บทว่า กุโต รติ ความว่า แม้ความยินดีในกามคุณ ทั้งหลายของคนแก่ชราย่อมไม่มี ความสุขอันเกิดขึ้น เพราะอาศัยกามคุณนั้น จะมีมาแต่ไหน. บทว่า ยกฺขา ได้แก่ ยักษ์ผู้มีมหิทธิฤทธิ์. บทว่า ปีสาจา ได้แก่ ปีศาจคลุกฝุ่น. บทว่า เปตา ได้แก่ สัตว์ผู้เข้าถึงเปตวิสัย. บทว่า อสฺสสนฺติ ความว่า เข้าไปกระทบ หรือแทรกซึมเข้าไปตามลมหายใจเข้าออก. บทว่า น มจฺจุโน ความว่า แต่แม้ยักษ์เป็นต้น แม้เหล่านั้น ไม่สามารถ จะเข้าไปกระทบทรือแทรกซึมตามลมหายใจมฤตยูได้.

บทว่า นิชฺฌาปนํ กโรนฺติ ความว่า ให้อดโทษ คือให้ยินดี ด้วยสามารถแห่งพลีกรรมได้. บทว่า อปราธเก ได้แก่ ผู้กระทำความผิด ต่อพระราชา. บทว่า ทูสเก ได้แก่ ผู้ประทุษร้ายต่อราชสมบัติ. บทว่า เหเก ได้แก่ ผู้เบียดเบียนชาวโลกด้วยการตัดช่องย่องเบาเป็นต้น. บทว่า ราชิโน ได้แก่ พระราชาทั้งหลาย. บทว่า วิทิตฺวาน โทสํ ความว่า พระราชาทั้งหลายทรงทราบโทษผิดแล้ว ย่อมลงอาชญา ตามสมควรแก่ความผิด. บทว่า น มจฺจุโน ความว่า แต่พระราชาเหล่านั้น ไม่อาจลงอาชญา แก่ มฤตยุราชได้. บทว่า นิชฺฌาเปตุํ ความว่า ย่อมได้เพื่อจะประกาศความเป็น ผู้ไร้ความผิดของตนได้ ด้วยหลักฐานพยาน. บทว่า น อฑฺฒกา พลวา เตชวาปิ ความว่า พระโพธิสัตว์เจ้าทรงแสดงว่า มัจจุราชมิได้มีความเกรงใจ แม้อย่างนี้ว่า ชนเหล่านี้ มั่งคั่ง ผู้นี้มีกำลัง ทั้งด้วยกำลังกาย และกำลังความรู้ ผู้นี้มีเดชานุภาพ คือไม่มีความเกรงใจ รักใคร่สิเนหาในสัตวนิกายแม้แต่ผู้เดียว ย่อมย่ำยีทั้งหมดทีเดียว.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 293

บทว่า ปสยฺห ความว่า ข่มขี่โดยพลการ. บทว่า น มจฺจุโน ความว่า แม้สัตว์เหล่านั้น ก็ไม่อาจเคี้ยวกินมัจจุราชได้.

บทว่า กโรนฺตา ความว่า กระทำกลมายา. บทว่า โมเหนฺติ ความว่า แสดงสิ่งที่ไม่จริง ทำให้เห็นเป็นจริง ลวงนัยน์ตาประชาชน. บทว่า อุคฺคเตชา ความว่า อสรพิษทั้งหลายที่ประกอบด้วยเดชคือพิษกล้า. บทว่า ติกิจฺฉกา ได้แก่ หมอผู้เยียวยาแก้พิษ. บทว่า ธมฺมนฺตรี เวตฺตรุโณ จ โภโช ความว่า แพทย์ผู้มีชื่ออย่างนี้ เหล่านี้. บทว่า โฆรมธียมานา ได้แก่ ผู้ทรงไว้ซึ่งวิชาชื่อโฆระ. บทว่า โอสเธภิ ความว่า วิชาธรทั้งหลาย ครั้นร่าย วิชา ชื่อโฆระหรือคันธะเป็นต้นแล้ว ถือโอสถไปสู่ที่ซึ่งข้าศึกทั้งหลายไม่อาจแล เห็นได้ด้วยโอสถเหล่านั้น. บทว่า ธมฺโม ได้แก่ สุจริตธรรม. บทว่า รกฺขติ ความว่า สุจริตธรรม อันบุคคลใดรักษาแล้ว สุจริตธรรมนั้นย่อมรักษาผู้นั้น ตอบ. บทว่า สุขํ ความว่า ธรรมอันบุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมา คือให้ถึงสุข ได้แก่ นำเข้าไปด้วยอำนาจแห่งปฏิสนธิในฉกามาวจรสวรรค์.

ครั้นพระมหาสัตว์เจ้า แสดงธรรมถวายพระราชบิดา ด้วยคาถา ๒๔ คาถา อย่างนี้แล้ว กราบทูลว่า ขอเดชะพระชนกมหาราชเจ้า ราชสมบัติของ พระราชบิดา จงเป็นของพระราชบิดาผู้เดียวเถิด ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีความ ต้องการด้วยราชสมบัตินี้ ชรา พยาธิ และมรณะ ย่อมรุกรานข้าพระพุทธเจ้า ซึ่งกําลังกราบทูลสนทนากับพระองค์อยู่ทีเดียว ขอพระองค์จงอยู่เป็นสุขเถิด ดังนี้แล้ว สละกามทั้งหลายถวายบังคมลาพระชนกชนนี เสด็จออกบรรพชา อุปมาเหมือนช้างซับมัน สลัดตัดเสียซึ่งห่วงเหล็กแล่นไป หรือดุจสีหโปดกทำลาย กรงทองไปได้ฉะนั้น. ลำดับนั้น พระราชบิดาของพระมหาสัตว์ ทรงดำริว่า ประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติแม้แก่เรา จึงสละราชสมบัติ เสด็จออกพร้อมกับ พระราชโอรสทีเดียว. เมื่อพระเจ้าพรหมทัตกำลังเสด็จออกไปนั้น ทั้งพระเทวี

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 294

ทั้งหมู่อำมาตย์ราชบริพาร ตลอดจนชาวพระนครทั้งสิ้น มีพราหมณ์และ คฤหบดีเป็นต้น ต่างพากันสละเคหสถานออกตามเสด็จพระเจ้าพรหมทัต ได้ เกิดเป็นมหาสมาคมใหญ่ มีบริษัทนับได้ประมาณ ๑๒ โยชน์ พระมหาสัตว์เจ้า พาบริษัทนั้นเข้าไปสู่หิมวันตประเทศ ท้าวสักกเทวราช ทรงทราบว่า พระมหาสัตว์เจ้าเสด็จออกแล้ว จึงส่งวิสสุกรรมเทพบุตร ไปเนรมิตอาศรมบทให้ ยาว ๑๒ โยชน์ กว้าง ๗ โยชน์ ทั้งให้จัดแจงบรรพชิตบริขารไว้ครบถ้วน. ต่อจากนี้ไป การบรรพชาของพระมหาสัตว์เจ้าก็ดี การให้โอวาทก็ดี ความ เป็นผู้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้าก็ดี ความไม่ไปสู่อบายของบริษัทก็ดี พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังทั้งหมด.

พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในชาติก่อน ตถาคตก็ออกสู่มหาภิเนษกรมณ์อย่างนี้ เหมือนกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระราชมารดาบิดาในครั้งนั้น ได้มาเป็น มหาราชสกุล บริษัทได้มาเป็นพุทธบริษัท ส่วน อโยฆรบัณฑิต ได้มาเป็น เราผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉะนี้เลย.

จบอรรถกถาอโยฆรชาดก

จบอรรถกถา วีสตินิบาต เพียงเท่านี้

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มาตังคชาดก ๒. จิตตสัมภูตชาดก ๓. สีวิราชชาดก ๔. สิริ- มันทชาดก ๕. โรหนมิคชาดก ๖. หังสชาดก ๗. สัตติคุมพชาดก ๘. ภัลลาติยชาดก ๙. โสมนัสสชาดก ๑๐. จัมเปยยชาดก ๑๑. มหาโลภนชาดก ๑๒. ปัญจบัณฑิตชาดก ๑๓. หัตถิปาลชาดก ๑๔. อโยฆรชาดก และอรรถกถา.