พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ภัณฑุติณฑุกชาดก ว่าด้วยพระราชาทรงสดับฟังข่าวชาวเมือง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ส.ค. 2564
หมายเลข  35987
อ่าน  537

[เล่มที่ 61] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 513

๑๐. ภัณฑุติณฑุกชาดก

ว่าด้วยพระราชาทรงสดับฟังข่าวชาวเมือง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 61]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 513

๑๐. ภัณฑุติณฑุกชาดก

ว่าด้วยพระราชาทรงสดับฟังข่าวชาวเมือง

[๒๔๑๙] ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย คนประมาทเป็นเหมือนคนตายแล้ว. เพราะมัวเมาจึงเกิดความประมาท เพราะประมาท จึงเกิดความเสื่อม และเพราะความเสื่อมจึงเกิดโทษ ดูก่อนท่าน ผู้มีภาระครอบครองรัฐ อย่าประมาทเลย. เพราะกษัตริย์เป็นอันมาก หากมีความประมาท ต้องเสื่อมประโยชน์ของแว่นแคว้น เสื่อมทั้งแว่นแคว้น อนึ่ง ชาวบ้านประมาท ก็เสื่อมจากบ้าน บรรพชิต ประมาท ก็เสื่อมจากอนาคาริยวิสัย.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 514

ดูก่อนพระองค์ ผู้เป็นมิ่งขวัญของรัฐ โภคสมบัติ ทุกอย่างในแว่นแคว้น ของกษัตริย์ ผู้ประมาทแล้ว ย่อมพินาศหมด ข้อนั้นท่านกล่าวว่า เป็นความทุกข์ ของพระราชา.

ดูก่อนพระมหาราชเจ้า ความประมาทนี้ ไม่เป็น ธรรมของโบราณกษัตริย์ โจรทั้งหลายย่อมกำจัดชนบท อันมั่งคั่ง ไพบูลย์ของพระราชา ผู้ประมาทเกินขอบ เขต.

ราชโอรส สืบสันตติวงศ์ ของพระราชานั้นจักไม่มี เงินทอง ทรัพย์สินก็จักไม่มีเหมือนกัน เมื่อแว่นแคว้น ถูกปล้น พระราชาผู้ประมาท ย่อมเสื่อมจากโภคะ ทั้งปวง.

ญาติ มิตร และสหาย ย่อมไม่นับถือขัตติยราช เสื่อมจากสรรพโภคสมบัติ ในความคิดอ่าน.

พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า ผู้พึ่ง พระโพธิสมภารเป็นอยู่ ย่อมไม่นับถือพระราชานั้น ในความคิดอ่าน.

ศรี คือ มิ่งขวัญ ย่อมละพระราชา ผู้ไม่จัดแจงการ งาน โง่เขลา มีความคิดอ่านเลวทราม ไร้ปัญญา เหมือนงูลอกคราบ อันคร่ำคร่า ฉะนั้น.

พระราชาผู้ทรงจัดการงานดี หมั่นขยันตามกาล ไม่เกียจคร้าน โภคสมบัติทั้งปวง ย่อมเจริญยิ่งขึ้น เหมือนฝูงโค ที่มีโคผู้ ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 515

ดูก่อนมหาราชเจ้า พระองค์จงเสด็จเที่ยวฟังเหตุ การณ์ในแว่นแคว้น และในชนบท ครั้นได้ทอดพระ เนตรเห็น และได้ทรงสดับแล้ว แต่นั้น ก็ปฏิบัติสิ่ง นั้นๆ เถิด.

[๒๔๒๐] ขอให้พระเจ้าปัญจาละ จงถูกศรเสียบ ในสงคราม เสวยทุกขเวทนา เหมือนเราถูกหนามแทง แล้ว เสวยทุกขเวทนาอยู่ในวันนี้.

[๒๓๒๑] ท่านเป็นคนแก่ มีจักษุมืดมัว มอง เห็นอะไรไม่ถนัด หนามแทงท่านเอง ในเรื่องนี้ พระ เจ้าพรทมทัต มีความผิดอะไรด้วย.

[๒๓๒๒] ดูก่อนพราหมณ์ เราถูกหนามแทง ใน หนทางนี้ เป็นความผิดอย่างมหันต์ ของพระเจ้า พรหมทัต เพราะชาวชนบท พระเจ้าพรหมทัต มิได้ทรงพิทักษ์รักษา ถูกพวกราชบุรุษ กดขี่ด้วยภาษี อันไม่ชอบธรรม.

กลางคืนถูกพวกโจรปล้น กลางวันถูกราชบุรุษ กดขี่ ในแว่นแคว้นของพระราชาโกง มีคนอาธรรม์ มากมาย.

แน่ะพ่อคุณ เมื่อภัยเช่นนี้เกิดขึ้น ประชาชนพา กันอึดอัด เพราะกลัว ต่างพากันหาไม้ มีหนาม ใน ป่ามาทำที่ซุกซ่อน.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 516

[๒๔๒๓] ในแคว้นของพระเจ้าพรหมทัต หญิง สาวหาผัวไม่ได้ไปจนแก่ เมื่อไรพระเจ้าพรหมทัตจัก สวรรคตเสียที.

[๒๔๒๔] เฮ้ย! หญิงชั่วไม่รู้จักเหตุผล แก พูดไม่ดีเลย พระราชาเคยหาผัวให้นางกุมาริกา มีที่ ไหนกัน?

[๒๔๒๕] พราหมณ์ เอย เราไม่ได้พูดชั่วเลย เรารู้เหตุผล ชาวชนบท พระเจ้าพรหมทัตมิได้พิทักษ์ รักษา ราษฎรถูกกดขี่ ด้วยภาษีอันไม่ชอบธรรม.

กลางคืนถูกโจรปล้น กลางวันถูกเจ้าหน้าที่กด ขี่ด้วยภาษี อันไม่ชอบธรรม ในแว่นแคว้นของพระ ราชาโกง มีคนอาธรรม์มากมาย เมื่อการครองชีพ ลำบาก การเลี้ยงดูลูกเมียก็ลำบาก หญิงสาวจักมีผัว ได้ที่ไหน.

[๒๔๒๖] ขอให้พระเจ้าปัญจาลราช จงถูกหอก แทง ต้องนอนกลิ้งอยู่ในสงคราม เหมือนโคสาลิยะ ถูกผาลแทง นอนอยู่ ดังคนกำพร้า ฉะนั้น.

[๒๔๒๗] เจ้าคนชาติชั่ว เจ้าโกรธพระเจ้าพรหม ทัต โดยไม่เป็นธรรม เจ้าทำลายโคของตนเอง ไฉน จึงมาสาปแช่ง พระราชาเล่า.

[๒๔๒๘] ดูก่อนพราหมณ์ เราโกรธพระเจ้า พรหมทัต โดยชอบธรรม เพราะชาวชนบท พระ-

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 517

เจ้าพรหมทัต มิได้ทรงพิทักษ์รักษา ถูกเจ้าหน้าที่บ้าน เมืองกดขี่ ด้วยภาษีที่ไม่เป็นธรรม.

กลางคืนถูกพวกโจรปล้น กลางวันถูกเจ้าหน้าที่ กดขี่ ด้วยภาษีอันไม่ชอบธรรม ในแคว้นของพระ ราชาโกง มีคนอาธรรม์มากมาย.

แม่ครัวคงหุงต้มใหม่อีกเป็นแน่ จึงนำข้าวมาส่ง ในเวลาสาย เรายังแลดูแม่ครัวมาส่งข้าวอยู่ โคสาลิยะ จึงถูกผาลแทงเอา.

[๒๔๒๙] ขอให้พระเจ้าปัญจาลราช จงถูกฟัน ด้วยดาบในสงคราม เดือดร้อนอยู่ เหมือนเราถูกแม่ โคนม ถีบในวันนี้ จนนมสดของเราหกไป ฉะนั้น.

[๒๔๓๐] การที่แม่โคนม ถีบเจ้าให้บาดเจ็บ น้ำ นมหกไปนั้น เป็นความผิดอะไร ของพระเจ้าพรหมทัต ท่านจึงติเตียนอยู่.

[๒๔๓๑] ดูก่อนพราหมณ์ พระเจ้าปัญจาละ ควรจะได้รับความติเตียน เพราะชาวชนบท พระเจ้า พรหมทัตมิได้พิทักษ์รักษา ถูกเจ้าหน้าที่กดขี่ด้วยภาษี อันไม่เป็นธรรม.

อนึ่ง เวลากลางคืน ก็ถูกโจรปล้น กลางวันก็ถูก กดขี่ รีดภาษีอันไม่เป็นธรรม ในแคว้นของพระราชา โกง มีคนอาธรรม์มากมาย.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 518

แม่โคเปรียว ดุร้าย เมื่อก่อนพวกเรามิได้รีดนม มัน มาวันนี้ เราถูกพวกราชบุรุษ ผู้ต้องการน้ำนม รีดนาทาเล้น จึงต้องรีดนมมันอยู่เดี๋ยวนี้.

[๒๔๓๒] ขอให้พระเจ้าปัญจาลราช จงพลัด พรากจากราชโอรส วิ่งคร่ำครวญ เหมือนแม่โคกำพร้า พลัดพรากจากลูก วิ่งคร่ำครวญอยู่ ฉะนั้น.

[๒๔๓๓] ในการที่แม่โคนม ของคนเลี้ยงโค เที่ยววิ่งไปมา หรือร่ำร้องอยู่นี้ เป็นความผิดอะไร ของพระเจ้าพรหมทัตเล่า.

[๒๔๓๔] ดูก่อนมหาพราหนณ์ ความผิดของ พระเจ้าพรหมทัตมีแน่ เพราะชาวชนบท พระเจ้า พรหมทัต มิได้พิทักษ์รักษา ถูกเจ้าหน้าที่กดขี่ ด้วย ภาษีอันไม่ชอบธรรม.

กลางคืนก็ถูกโจรปล้น กลางวันก็ถูกเจ้าหน้าที่ กดขี่ ด้วยภาษีอันไม่ชอบธรรม ในแคว้นของพระราชาโกง มีคนอาธรรม์มากมาย ลูกโคของพวกเรายัง ดื่มนมอยู่ ก็ต้องถูกฆ่าตาย เพราะต้องการฝักดาบ อย่างไรล่ะ.

[๒๔๓๕] ขอให้พระเจ้าปัญจาลราซ พร้อมด้วย พระราชโอรส จงถูกประหารในสนามรบ ให้ฝูงการุม จิกกิน เหมือนเราผู้เกิดในป่า ถูกฝูงกาชาวบ้านจิก ในวันนี้ ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 519

[๒๔๓๖] เฮ้ยกบ! พระราชาทั้งหลายในมนุษยโลก จะทรงจัดการพิทักษ์รักษาสัตว์ทั่วไปไม่ได้อยู่ เอง พระราชามิใช่เป็นอธรรมจารีบุคคล ด้วยเหตุที่ฝูง กากินสัตว์เป็น เช่นพวกเจ้าเท่านั้น.

[๒๔๓๗] ท่านเป็นพรหมจารี ชาติอาธรรม์หนอ จึงกล่าวยกย่องกษัตริย์อยู่ได้ เมื่อประชากรเป็นอันมาก ถูกปล้นอยู่ ท่านยังบูชาพระราชา ผู้น่าตำหนิอย่างยิ่ง.

ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าแว่นแคว้นนี้ พึงมีพระราชา ดี ก็จะมั่งคั่งเบิกบาน ผ่องใส ฝูงกาก็จะได้กินก้อน ข้าวที่ดีๆ เป็นพลี ไม่ต้องกินสัตว์เป็นเช่นพวกเรา.

จบภัณฑุติณฑุกชาดกที่ ๑๐

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 520

อรรถกถาภัณฑุติณฑุกชาดก

พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ ราโชวาท ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อปฺปมาโท ดังนี้. ราโชวาท มีพิสดารแล้วในหนหลัง.

ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามว่าปัญจาละ ดำรงอยู่ในอคติทรง ประมาทเสวยราชสมบัติโดยอธรรม อยู่ในอุตตรปัญจาลนคร แคว้นกปิละ. ครั้งนั้น อำมาตย์เป็นต้นของพระองค์ ก็เกิดเป็นคนอาธรรม์เสียทั้งหมด. ชาว แว่นแคว้น ถูกบีบคั้นด้วยภาษีอากร ต้องพาลลูกเมียเที่ยวหลบหนี หลีกไป ในป่า คล้ายฝูงมฤค. ในที่ที่เคยมีบ้าน ก็กลายเป็นที่มีบ้านร้าง. กลางวัน ผู้คนไม่อาจอยู่บ้านเรือนได้ เพราะเกรงกลัวเจ้าหน้าที่บ้านเมือง พากันเอา กิ่งหนามเป็นต้นล้อมเรือนไว้ เมื่ออรุณขึ้นก็หลบเข้าป่าไป. กลางวันเจ้าหน้าที่ ก็ริบยื้อแย่ง กลางคืนพวกโจรก็ปล้นก็ชิง.

คราวนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดา อยู่ที่ี่ภัณฑุติณฑุกพฤกษ์ภายนอกพระนคร. ทุกๆ ปีได้รับพลีกรรม มีราคาหนึ่งพันจากราชสำนัก. รุกขเทวดาคิดว่า พระราชานี้ทรงประมาท เสวยราชสมบัติ สกลรัฐจักฉิบหาย เว้นเราเสียแล้วไม่มีใครสามารถจะชักจูงให้พระราชาดำรงพระองค์ ในทางที่ถูก ต้องได้ อนึ่ง พระองค์ก็ทรงมีอุปการะแก่เรา บูชาด้วยพลีกรรมพันหนึ่งทุกปีมา เราจักถวายโอวาทพระองค์ท่าน. ในเวลากลางคืน รุกขเทวดาเข้าไปยังห้อง พระบรรทมของพระราชา ยืนอยู่ข้างพระเศียร เปล่งรัศมียืนอยู่บนอากาศ. พระราชาทอดพระเนตรเห็นเทวดารุ่งเรืองอยู่ คล้ายดวงอาทิตย์อ่อนๆ จึง ตรัสถามว่า ท่านเป็นใคร มาที่นี่เพราะเหตุอะไร? รุกขเทวดาได้ยินพระราช-

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 521

ดำรัสแล้วทูลว่า ดูก่อนมหาราชเจ้า ข้าพเจ้าคือภัณฑุติณฑุกเทพ คิดว่า จักถวายโอวาทแด่พระองค์ จึงมาเฝ้า. พระราชาตรัสถามว่า ท่านจักให้โอวาท อะไรหรือ? เมื่อพระราชาตรัสถามอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์จึงทูลว่า ดูก่อน มหาราชเจ้า พระองค์เป็นผู้ประมาทเสวยราชสมบัติ เพราะฉะนั้น แว่นแคว้น ทั้งสิ้นของพระองค์ จะพินาศเหมือนถูกกำจัดยื้อแย่ง ธรรมดาพระราชาเมื่อ เสวยราชสมบัติด้วยความประมาท หาใช่เป็นเจ้าของแห่งแว่นแคว้นทั้งสิ้นไม่ ถึงความพินาศในปัจจุบันแล้ว ในภพหน้าจักต้องเกิดในมหานรกอีก อนึ่ง เมื่อพระราชาถึงความประมาทแล้ว แม้ชนในราชสำนัก นอกราชสำนัก ย่อม จะพากันประมาท ด้วยเหตุนั้น พระราชาไม่ควรประมาทอย่างยิ่ง ดังนี้แล้ว เมื่อจะเริ่มตั้งธรรมเทศนา จึงกล่าวคาถา ความว่า

ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย ผู้ไม่ประมาทย่อมไม่ตาย คน ประมาทเป็นเหมือนคนตายแล้ว.

เพราะมัวเมาจึงเกิดความประมาท เพราะประมาท จึงเกิดความเสื่อม และเพราะความเสื่อมจึงเกิดโทษ ดูก่อนท่านผู้มีภาระครอบครองรัฐ อย่าประมาทเลย.

เพราะกษัตริย์เป็นอันมาก หากมีความประมาท ต้องเสื่อมประโยชน์ของแว่นแคว้น เสื่อมทั้งแว่นแคว้น อนึ่ง ชาวบ้านประมาท ก็เสื่อมจากบ้าน บรรพชิต ประมาท ก็เสื่อมจากอนาคาริยวิสัย.

ดูก่อนพระองค์ผู้เป็นมิ่งขวัญของรัฐ โภคสมบัติ ทุกอย่างในแว่นแคว้น ของกษัตริย์ผู้ประมาทแล้ว

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 522

ย่อมพินาศหมด ข้อนั้นท่านกล่าวว่า เป็นความทุกข์ ของพระราชา.

ดูก่อนพระมหาราชเจ้า ความประมาทนี้ไม่เป็น ธรรมของโบราณกษัตริย์ โจรทั้งหลายย่อมกำจัดชนบท อันมั่งคั่งไพบูลย์ ของพระราชาผู้ประมาทเกินขอบเขต.

ราชโอรสสืบสันตติวงศ์ ของพระราชานั้นจัก ไม่มี เงินทองทรัพย์สินก็จักไม่มีเหมือนกัน เมื่อ แว่นแคว้นถูกปล้น พระราชาผู้ประมาท ย่อมเสื่อม จากโภคะทั้งปวง.

ญาติมิตรและสหาย ย่อมไม่นับถือขัตติยราชผู้ เสื่อมจากสรรพโภคสมบัติ ในความคิดอ่าน.

พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า ผู้พึ่ง พระโพธิสมภารเป็นอยู่ ย่อมไม่นับถือพระราชานั้น ในความคิดอ่าน.

ศรีคือมิ่งขวัญ ย่อมละพระราชาผู้ไม่จัดแจง การงาน โง่เขลา มีความคิดอ่านเลวทราม ไร้ปัญญา เหมือนงูลอกคราบอันคร่ำคร่า ฉะนั้น.

พระราชาผู้ทรงจัดแจงการงานดี หมั่นขยันตาม กาล ไม่เกียจคร้าน โภคสมบัติทั้งปวง ย่อมเจริญยิ่งขึ้น เหมือนฝูงโคที่มีโคผู้ ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 523

ดูก่อนมหาราชเจ้า พระองค์จงเสด็จเที่ยวฟัง เหตุการณ์ในแว่นแคว้น และในชนบท ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็น และได้ทรงสดับแล้ว แต่นั้นก็ปฏิบัติ สิ่งนั้นๆ เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมาโท ได้แก่ ความไม่อยู่ปราศ แห่งสติ. บทว่า อมตํ ปทํ ความว่า เป็นทางคือเป็นเหตุแห่งอมตนิพพาน. บทว่า มจฺจุโน ปทํ ความว่า ความประมาทเป็นเหตุแห่งความตาย. เพราะ คนประมาทแล้ว เจริญวิปัสสนา เมื่อไม่อาจบรรลุอัปปฏิสนธิกภาพได้ ย่อมเกิด ย่อมตายในสงสารบ่อยๆ เหตุนั้น ความประมาทจึงชื่อว่า เป็นทางแห่งความ ตาย บทว่า น มียนฺติ ความว่า คนผู้ไม่ประมาทเจริญวิปัสสนา บรรลุ อัปปฏิสนธิกภาพแล้ว ชื่อว่าย่อมไม่ตาย เพราะไม่เกิดในสงสารอีก. บทว่า เย ปมตฺตา ความว่า ดูก่อนมหาราชเจ้า บุคคลเหล่าใดประมาทแล้ว บุคคล เหล่านั้นควรเห็นเหมือนคนตายแล้ว. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุที่ยังกิจให้ สำเร็จไม่ได้. แท้จริง สำหรับคนที่ตายแล้ว ย่อมไม่มีความคำนึง ความ ปรารถนา หรือความขวนขวายว่า เราจักให้ทาน จักรักษาศีล จักทำอุโบสถ กรรม จักบำเพ็ญคุณงามความดี เพราะเป็นผู้ปราศจากวิญญาณ. สำหรับคน ประมาทก็ไม่มี เพราะขาดความไม่ประมาท ฉะนั้น คนตายกับคนประมาท ทั้งสองนี้ จึงเสมอเหมือนเป็นบุคคลประเภทเดียวกัน.

บทว่า มทา ความว่า ดูก่อนมหาราชเจ้า ขึ้นชื่อว่า ความประมาท ย่อมเกิดเพราะความเมา ๓ ประการ คือ เมาในความไม่มีโรค เมาในวัย และเมาในชีวิต. คนเรานั้นพอเมาแล้ว ก็ถึงความประมาท กระทำบาปกรรม เช่นปาณาติบาตเป็นต้นได้. ทีนั้น พระราชาย่อมตรัสสั่งให้ตัดตีนตัดมือ ให้ ประหารชีวิต หรือให้ริบทรัพย์ของผู้นั้นทั้งหมด เพราะความประมาทของเขา

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 524

จึงเกิดความสิ้นญาติ สิ้นทรัพย์ สิ้นชีวิตอย่างนี้. เขาถึงความสิ้นทรัพย์หรือ สิ้นยศแล้ว เมื่อไม่สามารถเลี้ยงชีวิตได้อีก ก็ต้องทำกายทุจริตเป็นต้น เพื่อ เลี้ยงชีพต่อไป และเพราะความสิ้นเนื้อสิ้นตัวของเขาอย่างนี้ จึงเกิดโทษผิดขึ้น ข้าพเจ้าจึงต้องทูลเตือนพระองค์. บทว่า มา มโท ภรตูสภ ความว่า ดูก่อนพระองค์ผู้มีภาระเป็นใหญ่ในแว่นแคว้น พระองค์อย่าทรงมัวเมา อธิบายว่า อย่าทรงประมาท.

บทว่า อตฺถํ รฏฺํ ความว่า กษัตริย์เป็นอันมาก (หาก) ทรงประมาท ความเจริญของชาวชนบท และแว่นแคว้นทั้งสิ้น ก็เสื่อมโทรมลง. เพื่อความ แจ่มแจ้งแห่งความข้อนั้นๆ บัณฑิตควรแสดง ขันติวาทีชาดก มาตังคชาดก คุรุกชาดก สรภังคชาดก และเจติยชาดก. บทว่า คามิโน ความว่า แม้ นายบ้านต้องพลัดพราก เสื่อมโทรม ฉิบหายจากบ้าน ก็เพราะโทษคือความ ประมาทมาก. บทว่า อนาคารา อคาริโน ความว่า รุกขเทวดากล่าวว่า บรรพชิตเสื่อมจากข้อปฏิบัติของบรรพชิต ก็เพราะโทษคือประมาทมาก แม้ คฤหัสถ์ พลัดพราก เสื่อมโทรม จากการครองเรือน และธัญญาหารเป็นต้น มากมาย ก็เพราะโทษคือประมาทมาก. บทว่า ตํ วุจฺจเต อยํ ความว่า ดูก่อนมหาราชเจ้า ชื่อว่า ความเสื่อมยศและโภคสมบัติ ท่านกล่าวว่า นั่น เป็นทุกข์ของพระราชา เพราะไม่มีโภคสมบัติ ยศของพระราชาผู้ไร้ทรัพย์ ย่อมเสื่อม พระราชาผู้เสื่อมยศ ย่อมได้รับทุกข์อย่างมหันต์.

บทว่า เนส ธมฺโม ความว่า ดูก่อนมหาราชเจ้า ความประมาทนี้ ไม่ใช่ธรรมของโบราณกษัตริย์. บทว่า อิทฺธํ ผีตํ ความว่า (โจรทั้งหลาย ย่อมยื้อแย่ง) ชนบทอันมั่งคั่งด้วยข้าวน้ำเป็นต้น ไพบูลย์ด้วยเงินและทอง เป็นต้น. บทว่า น เต ปุตฺตา ความว่า ดูก่อนมหาราชเจ้า ราชโอรสผู้สืบ สันตติวงศ์ ของพระราชาผู้ประมาทจักไม่มี. เพราะชาวแว่นแคว้นทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 525

ย่อมไม่ถวายเศวตฉัตร ด้วยคิดว่า พระโอรสของพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมนี้ จักทำความเจริญอะไรแก่พวกเราได้ พวกเราจักไม่ถวายเศวตฉัตรแก่พระโอรส นั้น พระโอรสต้องพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมเหล่านั้น ชื่อว่าไม่มี ด้วยอาการ อย่างนี้. บทว่า ปริชิณฺณํ แปลว่า เสื่อมรอบแล้ว. บทว่า ราชา นํ วาปิ ความว่า แม้ถึงพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมนั้น จะเป็นพระราชา เมื่อเป็น เช่นนั้น.

บทว่า มนฺติยํ ความว่า ญาติ มิตรสหายย่อมไม่สำคัญที่จะทำอาการ นับถือด้วยจิตเคารพว่า ผู้นี้คือพระราชา. บทว่า อุปชีวนฺตา ความว่า ชนทั้งหลายแม้ที่เข้าไปพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ก็ย่อมไม่สำคัญอาการที่ตนควร สำคัญด้วยจิตเคารพ. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุที่พระราชาไม่ทรงตั้งอยู่ใน ธรรม. บทว่า สิรี ได้แก่ ยศและโภคสมบัติ. บทว่า ตจํ ความว่า เมื่องู รังเกียจคราบเก่าย่อมละเสีย ไม่เหลียวแลดูอีกฉันใด สิริคือยศและโภคสมบัติ ย่อมละพระราชา ผู้เช่นนั้น ฉันนั้น. บทว่า สุสํวิหิตกมฺมนฺตํ ความว่า ผู้ไม่กระทำบาปกรรมด้วยกายทวารเป็นต้น. บทว่า อภิวฑฺฒนฺติ ความว่า ย่อมเจริญก้าวหน้า. บทว่า สอุสภามิว ความว่า ดุจฝูงโค มีโคผู้เป็น หัวหน้าฝูง. แท้จริง โภคสมบัติทั้งหลายย่อมเจริญแก่พระราชาผู้ไม่ประมาท แล้ว ดุจฝูงโค มีโคผู้เป็นหัวหน้าฝูงฉะนั้น.

บทว่า อุปสฺสุตึ ความว่า พระองค์จงเสด็จจาริกไปในสกลรัฐและ ชนบทของพระองค์. บทว่า ตตฺถ ความว่า เมื่อพระองค์เสด็จไปในแว่นแคว้นนั้น จะได้ทอดพระเนตรสิ่งที่ควรทอดพระเนตร จะได้ทรงสดับสิ่งที่ ควรสดับ กระทำคุณานุคุณส่วนพระองค์ให้ประจักษ์แล้ว จักได้ทรงปฏิบัติ ข้อปฏิบัติอันเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พระองค์.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 526

พระมหาสัตว์ถวายโอวาทพระราชาด้วยคาถา ๑๑ คาถา ด้วยประการ ฉะนี้แล้ว ทูลว่า พระองค์จงรีบไปสอดส่องอย่าชักช้า อย่าให้แว่นแคว้นฉิบหาย เสียเลย ดังนี้แล้ว กลับไปยังสถานที่อยู่ของตน. ฝ่ายพระราชาทรงสดับถ้อยคำ ของเทวดาแล้ว สลดพระทัย รุ่งขึ้นโปรดให้อำมาตย์ดูแลราชสมบัติแล้วพร้อม ด้วยราชปุโรหิต เสด็จออกจากพระนคร ทางพระทวารด้านทิศปราจีน เสด็จ พระราชดำเนินไป สิ้นทางประมาณหนึ่งโยชน์ ณ สถานที่นั้น ชายแก่ชาวบ้าน ผู้หนึ่ง นำกิ่งหนามมาจากดง ล้อมกั้นปิดประตูเรือนไว้ พาบุตรภรรยาเข้าป่าไป เวลาเย็นเมื่อพวกราชบุตรหลีกไปแล้วก็กลับมาเรือนตน ถูกหนามยอกเท้าที่ ประตูเรือน จึงนั่งกระโหย่ง บ่งหนาม พลางด่าพระราชาด้วยคาถานี้ ความว่า

ขอให้พระเจ้าปัญจาลราช จึงถูกลูกศรเสียบใน สงคราม เสวยทุกขเวทนา เหมือนเราถูกหนามแทง แล้ว เสวยทุกขเวทนาอยู่ในวันนี้.

ก็คำด่านั้นได้เป็นไปด้วยอานุภาพของพระโพธิสัตว์นั้นเอง. ควรทราบ ว่า ชายแก่นั้น ถูกพระโพธิสัตว์ดลใจจึงด่า. ในเวลานั้น พระราชากับราชปุโรหิต ปลอมเพศยืนอยู่ใกล้ๆ ชายแก่นั้นเอง. พอราชปุโรหิตได้ยินคำของ ชายแก่ จึงกล่าวคาถา ความว่า

ท่านเป็นคนแก่ มีจักษุมืดมัว มองเห็นอะไร ไม่ถนัด หนามแทงท่านเอง ในเรื่องนี้ พระเจ้าพรหมทัต มีความผิดอะไรด้วย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มคฺเคยฺย แปลว่า ยอกเอา มีอธิบายว่า ถ้าท่านถูกหนามยอกเอา เพราะความซุ่มซ่ามของตนเองไซร้ ในข้อนี้ทำไมจะ เป็นความผิดของพระราชาด้วยเล่า ท่านด่าพระราชา เพราะเหตุที่ พระราชา มีหน้าที่ตรวจตราหนามแล้วบอกให้ท่านทราบหรือ?

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 527

ชายชราได้ฟังดังนั้น ได้กล่าวคาถา ๓ คาถา ความว่า

ดูก่อนพราหมณ์ เราถูกหนามแทง ในหนทางนี้ เป็นความผิดของพระเจ้าพรหมทัตมากมาย เพราะ ชาวชนบท พระเจ้าพรหมทัต มิได้พิทักษ์รักษา ถูกพวกราชบุรุษกดขี่ด้วยภาษีอันไม่ชอบธรรม.

กลางคืนถูกพวกโจรปล้น กลางวันถูกราชบุรุษ กดขี่ ในแว่นแคว้นของพระราชาโกง มีคนอาธรรม์ มากมาย.

แน่ะพ่อคุณ เมื่อภัยเช่นนี้เกิดขึ้น ประชาชนพากัน อึดอัด เพราะกลัวพากันหาไม้มีหนาม ในป่ามาทำที่ ซุกซ่อน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พเหฺวตฺถ ความว่า ดูก่อนพราหมณ์ ข้านั่งจมลงไปในทางที่มีหนาม ในเรื่องนี้พระเจ้าพรหมทัตมีความผิดมากเพราะ ความผิดของพระราชา ตลอดเวลาเท่านี้ เจ้าไม่รู้เลยว่า เราต้องดั้นด้นไปใน ทางที่มีหนาม เพราะชนบทพระราชามิได้พิทักษ์รักษาจึงมีหนาม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขาทนฺติ ได้แก่ พวกโจรรุมกันปล้น. บทว่า ตุณฺฑิยา ความว่า กลางวัน พวกราชบุรุษเบียดเบียนด้วยการฆ่า การจองจำเป็นต้น เก็บภาษีอากรโดยไม่เป็นธรรม. บทว่า กูฏราชสฺส ความว่า ในแว่นแคว้นของพระราชาผู้ลามก. บทว่า อธมฺมิโก ความว่า คนทั้งหลายต้องมีการงานอันปกปิดเป็นอันมาก. คนแก่เรียกปุโรหิตว่า พ่อพราหมณ์. บทว่า มาณวา ได้แก่ มนุษย์ทั้งหลาย. บทว่า นิลฺเลนกานิ ได้แก่ สถานที่ซุ่มซ่อน. บทว่า วเน คเหตฺวา กณฺฏกํ ความว่า (ใน เพราะภัยเช่นนี้) ประชาชนจึงนำเอาหนามมาปิดประตู ทิ้งเรือนพาลูกเมียเข้า

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 528

ป่าไป ทำสถานที่ซุ่มซ่อนของตนๆ ในป่านั้น. อนึ่ง หนามชนิดใดมีในป่า เขาก็พากันเอาหนามชนิดนั้นมาล้อมเรือนไว้ เพราะความผิดของพระราชา อย่างนี้ เราจึงถูกหนามตำเอา ท่านอย่าเป็นผู้สนับสนุนพระราชาเช่นนี้เลย.

พระราชาทรงสดับเช่นนั้น จึงตรัสเรียกราชปุโรหิตมาตรัสสั่งว่า ท่าน อาจารย์ ชายชราพูดถูก เป็นความผิดของเราแท้ๆ มาเถิด เราจักกลับไป เสวยราชสมบัติโดยธรรม. เทวดาพระโพธิสัตว์ สิงในร่างของราชปุโรหิต ทูลว่า ขอเดชะมหาราชเจ้า จงไปสอดแนมดูข้างหน้าต่อไปอีกก่อนเถิดพระเจ้าข้า. พระราชากับปุโรหิต จากบ้านนั้น ไปยังบ้านอื่น ได้ยินเสียงของหญิงชรา คนหนึ่งในระหว่างทาง. นัยว่าหญิงนั้นเป็นหญิงเข็ญใจ พิทักษ์รักษาบุตรสาว สองคนซึ่งเจริญวัยแล้ว ไม่ยอมให้ลูกสาวไปป่า ตนเองเก็บผักหักฟืนมาจากป่า บำรุงรักษาลูกสาวทั้งสอง. วันนั้นนางขึ้นพุ่มไม้แห่งหนึ่ง กำลังเก็บผักอยู่ พลัดตกลงมา เมื่อจะด่าพระราชา โดยแช่งให้ตาย กล่าวคาถา ความว่า

ในแคว้นของพระเจ้าพรหมทัต หญิงสาวหาผัว ไม่ได้ไปจนแก่ เมื่อไรพระเจ้าพรหมทัต จักสวรรคต เสียที.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปฏิกา แปลว่า หาสามีมิได้. อธิบายว่า ถ้าเขามีสามีคงจะได้เลี้ยงดูเรา ในรัชกาลของพระราชาลามก เราได้รับความทุกข์ เมื่อไรหนอ มันจักตายเสียที หญิงชราด่าพระราชาอย่างนี้ ก็ด้วยอานุภาพ ของพระโพธิสัตว์.

เมื่อราชปุโรหิตจะคัดค้านนาง จึงกล่าวคาถา ความว่า

เฮ้ย! หญิงชั่วไม่รู้จักเหตุผล แกพูดไม่ดีเลย พระราชาเคยหาผัวให้นางกุมาริกา มีที่ไหนกัน.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 529

หญิงชราได้ยินดังนั้น ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

พราหมณ์เอย เราไม่ได้พูดชั่วเลย เรารู้เหตุผล ชาวชนบท พระเจ้าพรหมทัต มิได้พิทักษ์รักษา ราษฎรถูกกดขี่ ด้วยภาษี อันไม่ชอบธรรม.

กลางคืนถูกโจรปล้น กลางวันถูกเจ้าหน้าที่กดขี่ ด้วยภาษี อันไม่ชอบธรรม ในแคว้นของพระราชาโกง มีคนอาธรรม์มากมาย เมื่อการครองชีพลำบาก การเลี้ยงดูลูกเมียก็ลำบาก หญิงสาวจักมีผัวได้ที่ไหน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกวิทตฺถปทา ความว่า เราฉลาด รู้เท่าทันในเหตุในผล ท่านอย่าสรรเสริญพระราชาลามกอย่างนี้. บทว่า ทุชฺชีเว ความว่า เมื่อแว่นแคว้นมีการครองชีพลำบาก การเลี้ยงดูลูกเมียก็เกิดลำบาก ผู้คนทั้งกลัวทั้งหวาดเสียว ก็หลบไปอยู่ในป่า. บทว่า กุโต ภตฺตา กุมาริยา ความว่า หญิงสาวๆ จักหาผัวได้ที่ไหน.

พระราชากับราชปุโรหิตฟังคำของหญิงชราแล้ว คิดว่า แกพูดถูกต้อง จึงพากันเดินทางต่อไปข้างหน้า ได้ยินเสียงของชาวนาคนหนึ่ง ได้ยินว่า เมื่อ ชาวนานั้นกำลังไถนา โคชื่อสาลิยะ ถูกผาลแทงจึงล้มลง. เมื่อชาวนาจะด่า พระราชาจึงกล่าวคาถา ความว่า

ขอให้พระเจ้าปัญจาลราช จงถูกหอกแทง ต้อง นอนกลิ้งอยู่ในสงคราม เหมือนโคสาลิยะ ถูกผาลแทง นอนอยู่ดังคนกำพร้า ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถา ความว่า โคชื่อสาลิยะนี้ ได้รับ ทุกขเวทนานอนอยู่ฉันใด ขอพระเจ้าปัญจาลราชจงนอนเป็นทุกข์ฉันนั้น.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 530

ลำดับนั้น เมื่อราชปุโรหิตจะคัดค้าน จึงกล่าวคาถา ความว่า

เจ้าคนชาติชั่ว เจ้าโกรธพระเจ้าพรหมทัต โดย ไม่เป็นธรรม เจ้าทำร้ายโคของตนเอง ไฉนจึงมาสาปแช่งพระราชาเล่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อธฺมเมน ความว่า โดยไม่มีเหตุผล คือไม่มีความจริง.

ชาวนาได้ฟังดังนั้นแล้ว ได้กล่าวคาถา ๓ คาถา ความว่า

ดูก่อนพราหมณ์ เราโกรธพระเจ้าพรหมทัตโดย ชอบธรรม เพราะชาวชนบท พระเจ้าพรหมทัตมิได้ ทรงพิทักษ์รักษา ถูกเจ้าหน้าที่บ้านเมืองกดขี่ ด้วย ภาษีที่ไม่เป็นธรรม

กลางคืนถูกพวกโจรปล้น กลางวันถูกเจ้าหน้าที่ กดขี่ ด้วยภาษีอันไม่ชอบธรรม ในแคว้นของพระ ราชาโกง มีคนอาธรรม์มากมาย.

แม่ครัวคงหุงต้มใหม่อีกเป็นแน่ จึงนำข้าวมาส่ง ในเวลาสาย เรามัวแลดูแม่ครัว มาส่งข้าวอยู่ โคสาลิยะจึงถูกผาลแทงเอา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺเมน ความว่า เราด่าโดยมีเหตุผล ท่านอย่าเข้าใจว่า ด่าโดยไม่มีเหตุผล. บทว่า สา นูน ปุน เร ปกฺกา วิกาเล ภตฺตมาหริ ความว่า พราหมณ์เอ๋ย เราคิดว่า หญิงแม่ครัวนำข้าว มาส่งเรา หุงข้าวแล้วคงนำมาส่งแต่เช้าตรู่ แต่นางถูกพวกทาสของพระเจ้า พรหมทัต พวกรีดภาษีโดยไม่เป็นธรรม เกาะกุมตัวไว้ ต้องเลี้ยงดูพวกมัน

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 531

แล้วจึงหุงข้าวเพื่อเราใหม่ เพราะเหตุนั้น จึงนำข้าวมาส่งในเวลาสาย วันนี้ นำมาสายนัก ดังนี้แล้ว ถูกความหิวบีบคั้น มัวแลดูคนส่งข้าว ดุว่าโค เอาปฏัก แทงโคไม่เป็นที่ ฉะนั้น เจ้าโคสาลิยะมันยกเท้าขึ้นกระทืบผาล จึงถูกผาลบาด เอา เหตุนั้น เจ้าอย่าเข้าใจว่า เราประหารมัน ข้อนี้ ชื่อว่า พระราชาผู้ลามก ประหารแล้วทีเดียว ท่านอย่ามัวกล่าวพรรณนาคุณของพระราชานั้นอยู่เลย.

พระราชากับราชปุโรหิต เดินทางต่อไป แล้วพักอยู่ในบ้านแห่งหนึ่ง รุ่งขึ้นเวลาเช้าตรู่ แม่โคนมโกงตัวหนึ่ง เอาเท้าดีดคนรีดนมโค ล้มไปพร้อม ด้วยนมสด เมื่อคนรีดนมโคจะด่าพระเจ้าพรหมทัต จึงกล่าวคาถา ความว่า

ขอให้พระเจ้าปัญจาลราช จงถูกฟันด้วยดาบใน สงคราม เดือดร้อนอยู่ เหมือนเราถูกแม่โคนม ถีบ ในวันนี้ จนนมสดของเขาหกไป ฉะนั้น.

ราชปุโรหิต ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า

การที่แม่โคถีบเจ้าให้บาดเจ็บ น้ำนมหกไปนั้น เป็นความผิดอะไรของพระเจ้าพรหมทัต ท่านจึงติเตียน อยู่.

ครั้นพราหมณ์ปุโรหิตกล่าวคาถาจบ คนรีดนมโคได้กล่าวคาถาอีก ๓ คาถา ความว่า

ดูก่อนพราหมณ์ พระเจ้าปัญจาละ ควรจะได้รับ ความติเตียน เพราะชาวชนบท พระเจ้าพรหมทัตมิได้ พิทักษ์รักษา ถูกเจ้าหน้าที่กดขี่ ด้วยภาษีอันไม่เป็น ธรรม.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 532

อนึ่ง เวลากลางคืนก็ถูกโจรปล้น กลางวันก็ถูก กดขี่รีดภาษีอันไม่เป็นธรรม ในแคว้นของพระราชา โกง มีคนอาธรรม์มากมาย.

แม่โคเปรี้ยว ดุร้าย เมื่อก่อนพวกเรามิได้รีดนม มัน มาวันนี้ เราถูกพวกราชบุรุษผู้ต้องการน้ำนม รีดนาทาเล้น จึงต้องรีดนมมันอยู่เดี๋ยวนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จณฺฑา แปลว่า หยาบคาย. บทว่า อกตฺถนา แปลว่า มีปกติวิ่งหนี. บทว่า ขีรกาเมหิ ความว่า พวกเรา ถูกเจ้าหน้าที่ของพระราชาอาธรรม์ ใช้ให้หานมสดมามากๆ เบียดเบียน จำ ต้องรีด ถ้าหากพระเจ้าพรหมทัตนั้น ครองราชสมบัติโดยธรรม ภัยเห็นปาน นี้คงไม่มาถึงพวกเรา.

พระราชาและพระราชปุโรหิต คิดว่า เจ้านี่พูดถูก จึงออกจากบ้าน นั้น ขึ้นสู่หนทางใหญ่ มุ่งหน้าต่อพระนครกลับไปในบ้านแห่งหนึ่ง พวกนาย อากรฆ่าลูกโคอ่อนตัวหนึ่ง เพื่อต้องการทำฝักดาบ จึงยึดเอาหนังไป แม่โค นมที่ลูกถูกฆ่า เพราะความเศร้าถึงลูก ไม่กินหญ้า ไม่ดื่มน้ำ เที่ยวร่ำร้องหา ลูกอยู่ เด็กๆ ชาวบ้านเห็นดังนั้น เมื่อจะพากันด่าพระราชา จึงกล่าวคาถา ความว่า

ขอให้พระเจ้าปัญจาลราช จงพลัดพรากจากโอรส วิ่งคร่ำครวญเหมือนแม่โคกำพร้า พลัดพรากจากลูก วิ่งคร่ำครวญอยู่ ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริธาวติ ความว่า วิ่งร่ำร้องอยู่. ลำดับนั้น ปุโรหิตกล่าวคาถานอกนี้ ความว่า

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 533

ในการที่แม่โค ของคนเลี้ยงโค เที่ยววิ่งไปมา หรือร่ำร้องอยู่นี้ เป็นความผิดอะไร ของพระเจ้า พรหมทัตเล่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺภเมยฺย รเวยฺย วา ความว่า (สัตว์เลี้ยง) ก็ต้องวิ่งไปมาได้ หรือร่ำร้องได้ อธิบายว่า พ่อเอย ธรรมดา สัตว์เลี้ยง เมื่อเจ้าของพิทักษ์รักษาอยู่ มันก็วิ่งได้ ไม่กินหญ้าได้ ในข้อนี้ จะเป็นความผิดอะไรของพระราชาเล่า.

ลำดับนั้น เด็กชาวบ้าน ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

ดูก่อนมหาพราหมณ์ ความผิดของพระเจ้าพรหม ทัต มีแน่ เพราะชาวชนบท พระเจ้าพรหมทัตมิได้ พิทักษ์รักษา ถูกเจ้าหน้าที่กดขี่ ด้วยภาษีอันไม่ชอบ ธรรม.

กลางคืนก็ถูกโจรปล้น กลางวันถูกเจ้าหน้าที่กด ขี่ ด้วยภาษาอันไม่ชอบธรรม ในแคว้นของพระราชา โกง มีคนอาธรรม์มากนาย ลูกโคของพวกเรายังดื่ม นมอยู่ ก็ต้องถูกฆ่าตาย เพราะต้องการฝักดาบอย่าง ไรล่ะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหาพฺรเหฺม ได้แก่ มหาพราหมณ์. บทว่า ราชิโน ได้แก่ ของพระราชา. บทว่า กถํ โน ความว่า อย่าง ไรเล่า คือ เพราะเหตุชื่อไร? บทว่า ขีรปา หญฺเต ปชา ความว่า เด็กทั้งหลายด่าพระราชาว่า ลูกโคที่ยังดื่มนมอยู่ ถูกพวกเจ้าหน้าที่เหล่านั้นฆ่า ด้วยอำนาจของพระราชาลามก แม่โคนมนั้นร่ำร้องหาลูกอยู่เดี๋ยวนี้ ขอพระ ราชานั้น จงปริเทวนาการ เหมือนแม่โคนมเถิด.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 534

พระราชา และราชปุโรหิต พูดว่า ดีละ พวกเจ้าพูดได้เหตุผล แล้ว หลีกไปเสีย ต่อมาในระหว่างทาง ฝูงกากำลังเอาจะงอยปากจิกกินกบทั้งหลายอยู่ ณ สระแห้งแห่งหนึ่ง เมื่อพระราชา และราชปุโรหิตมาถึงที่นั้น พระโพธิสัตว์ จึงบันดาลให้กบทั้งหลาย แช่งด่าพระราชาด้วยอานุภาพของตน (เป็นคาถา) ความว่า

ขอให้พระเจ้าปัญจาลราช พร้อมด้วยพระราช โอรส จงถูกประหารในสนามรบ ให้ฝูงการุมจิกกิน เหมือนเราผู้เกิดในป่า ถูกฝูงกาชาวบ้านจิกกินในวันนี้ ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คามเกหิ ได้แก่ กาที่อยู่ในบ้าน. ราชปุโรหิตได้ยินดังนั้น เมื่อจะสนทนากับพวกกบ จึงกล่าวคาถา ความว่า

เฮ้ย! กบ พระราชาทั้งหลายในมนุษยโลก จะ ทรงจัดการพิทักษ์รักษาสัตว์ทั่วไปไม่ได้อยู่เอง พระ ราชามิได้เป็นอธรรมจารีบุคคล ด้วยเหตุที่ฝูงกากินสัตว์ เป็นเช่นพวกเจ้า เท่านั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชีวํ ได้แก่สัตว์ที่ยังมีชีวิต. บทว่า อเทยฺยุํ แปลว่า พึงเคี้ยวกิน. บทว่า ธงฺกา ได้แก่ กาทั้งหลาย. อธิบายว่า กา ทั้งหลายพึงเคี้ยวกินสัตว์มีชีวิต ด้วยเหตุเพียงใด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระ ราชาจะชื่อว่าไม่เป็นผู้ประพฤติธรรมหาได้ไม่ พระราชาจักสามารถเข้าไปยังป่า เที่ยวรักษาเจ้าได้อย่างไร?

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 535

กบได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

ท่านเป็นพรหมจารี ชาติอาธรรม์หนอ จึงกล่าว ยกย่องกษัตริย์อยู่ได้ เมื่อประชากรเป็นอันมากถูกปล้น อยู่ ท่านยังบูชาพระราชาผู้น่าตำหนิอย่างยิ่ง.

ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าแว่นแคว้นนี้ พึงมีพระราชาดี ก็จะมั่งคั่ง เบิกบาน ผ่องใส ฝูงกาก็จะได้กินก้อนข้าว ที่ดีๆ เป็นพลี ไม่ต้องกินสัตว์เป็นเช่นพวกเรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหฺมจารี ความว่า เมื่อกบจะติเตียน ปุโรหิต จึงกล่าวว่า ท่านเป็นพรหมจารี ชาติอาธรรม์หนอ. บทว่า ขตฺติยสฺส ได้แก่ พระราชาลามกเห็นปานนี้. บทว่า วิลุมฺปมานาย ความว่า เมื่อ ประชาชนถูกรีดนาทาเล้นอยู่ อนึ่ง ปาฐะ พระบาลี ก็อย่างเดียวกันนี้แหละ. บทว่า ปุถุปฺปชาย ความว่า เมื่อประชาชนทั่วไปถูกเจ้าหน้าที่ ทำให้พินาศ อยู่. บทว่า ปูเชสิ ได้แก่ ยกย่องสรรเสริญ. บทว่า สุรชฺชกํ ความว่า ถ้าแว่นแคว้นนี้ อันพระราชาผู้ไม่ลุอำนาจฉันทาคติเป็นต้น ไม่ยังทศพิธราช ธรรมให้กำเริบรักษาอยู่ เป็นแว่นแคว้นมีจอมราชดี. บทว่า ผีตํ ความว่า มีข้าวกล้าสมบูรณ์ ในเมื่อฝนหลั่งกระแสธารอยู่โดยชอบ. บทว่า มาทิสํ ความว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ กาทั้งหลายคงไม่กินสัตว์ อย่างเราเลยทีเดียว. การ ด่าในฐานะ แม้ทั้ง ๖ อย่างนี้ มีได้ด้วยอานุภาพของพระโพธิสัตว์นั่นเอง.

พระราชากับราชปุโรหิต สดับคำนั้นแล้ว ดำริว่า ชนทั้งปวงที่สุด จนกระทั่งกบ ซึ่งเป็นสัตว์เดียรัจฉานอยู่ในป่า พากันด่าเราผู้เดียว แล้วเสด็จ จากที่นั้นไปสู่พระนคร เสวยราชย์โดยธรรม ตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ สร้างบุญกุศลมีทานเป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 536

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาแสดงแก่พระเจ้าโกศลแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมดาพระราชาควรละการลุอำนาจอคติ เสวย ราชสมบัติโดยธรรม แล้วทรงประชุมชาดกว่า ภัณฑุติณฑุกเทวดา ในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราผู้ตถาคต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาภัณฑุติณฑุกชาดก

จบอรรถกถาติงสตินิบาต

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กิงฉันทชาดก ๒. กุมภชาดก ๓. ชยทิสชาดก ๔. ฉัททันตชาดก ๕. สัมภวชาดก ๖. มหากปิชาดก ๗. ทกรักขสชาดก ๘. ปัณฑรกชาดก ๙. สัมพุลาชาดก ๑๐. ภัณฑุติณฑุกชาดก และอรรถกถา.