พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. เตสกุณชาดก ว่าด้วยนกตอบปัญหาพระราชา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ส.ค. 2564
หมายเลข  35989
อ่าน  497

[เล่มที่ 61] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 537

จัตตาฬีสนิบาตชาดก

๑. เตสกุณชาดก

ว่าด้วยนกตอบปัญหาพระราชา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 61]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 537

จัตตาฬีสนิบาตชาดก

๑. เตสกุณชาดก

ว่าด้วยนกตอบปัญหาพระราชา

[๒๔๓๘] (พระราชาตรัสว่า) เราขอถามเจ้าเวสสันดร นกเอ๋ย ขอความเจริญจงมีแก่เจ้า กิจอะไรที่ บุคคลผู้ประสงค์เสวยราชสมบัติกระทำแล้ว เป็นกิจ ประเสริฐ.

[๒๔๓๙] (นกเวสสันดรทูลว่า) นานนักหนอ พระเจ้ากังสราช พระราชบิดาของเรา ผู้ทรงสงเคราะห์ ชาวเมืองพาราณสี เป็นผู้ประมาท ได้ตรัสถามเราผู้ บุตร ซึ่งหาความประมาทมิได้.

[๒๔๔๐] ข้าแต่บรมกษัตริย์ ธรรมดาพระราชา ควรห้ามมุสาวาท ความโกรธ และความร่าเริงก่อนที เดียว แต่นั้น พึงตรัสสั่งให้กระทำกิจทั้งหลาย คำที่ข้า พระพุทธเจ้ากล่าวมานั้น นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า เป็นกิจของพระราชา.

ข้าแต่พระบิดา เมื่อก่อนพระองค์ทรงรักใคร่ และเกลียดชังแล้ว พึงทรงทำกรรมใด กรรมนั้นที่ พระองค์ทรงทำแล้ว พึงยังพระองค์ให้เดือดร้อนโดย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 538

ไม่ต้องสงสัย แต่นั้นพระองค์ไม่ควรทรงกระทำกรรม นั้นอีก.

ข้าแต่พระองค์ ผู้ทรงบำรุงรัฐ เมื่อกษัตริย์ประมาทแล้ว โภคสมบัติทุกอย่างในแว่นแคว้นย่อมพินาศ ข้อนั้นนักปราชญ์ กล่าวว่า เป็นความทุกข์ของพระราชา.

ข้าแต่พระบิดา เทพธิดาชื่อสิริ และชื่อลักขี ถูกสุจิปริวารเศรษฐีถาม ได้ตอบว่า ข้าพเจ้าย่อมยินดี ในบุรุษผู้มีความขยันหมั่นเพียร ไม่มีความริษยา.

ข้าแต่มหาราชเจ้า กาลกรรณี ผู้ทำลายจักร ย่อม ยินดีในบุรุษผู้ริษยา ผู้มีใจชั่ว ผู้ประทุษร้ายการงาน.

ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์จงทรงเป็นผู้มีพระทัยดีต่อคนทั้งปวง จงทรงพิทักษ์รักษาคนทั้งปวง จงทรงบรรเทาเสียซึ่งคนไม่มีราศี จงมีคนที่มีราศี เป็นที่พำนักเถิด.

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่แห่งชนชาวกาสี บุรุษ ผู้มีราศี สมบูรณ์ด้วยความเพียร มีอัธยาศัยใหญ่ ย่อม ตัดโคนและยอดของศัตรูทั้งหลายได้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ของประชาชน ความ จริง แม้ท้าวสักกะก็ไม่ทรงประมาทในความหมั่นเพียร ท้าวเธอทรงกระทำความเพียร ในกัลยาณธรรม ตั้ง พระทัยมั่น ในความขยันหมั่นเพียร.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 539

คนธรรพ์ พรหม เทวดา เป็นผู้เป็นอยู่ อาศัย พระราชาเช่นนั้น เมื่อพระราชาทรงอุตสาหะ ไม่ทรง ประมาท เทวดาทั้งหลายย่อมคุ้มครองป้องกัน.

ข้าแต่พระบิดา พระองค์จงทรงเป็นผู้ไม่ประมาท ไม่ทรงพระพิโรธ แล้วตรัสสั่งให้ทำกิจทั้งหลาย จงทรง พยายามในกิจทั้งหลาย เพราะคนเกียจคร้าน ย่อมไม่ พบความสุข.

ข้อความที่ข้าพระองค์ กล่าวแก้แล้ว ในปัญหา ของพระองค์นั้น ข้อนี้เป็นอนุสาสนี สามารถยังผู้เป็น มิตรให้ถึงความสุข และยังคนผู้เป็นศัตรูให้ถึงความ ทุกข์ได้.

[๒๔๔๑] (พระราชาตรัสว่า) ดูก่อนนางนกกุณฑ- ลินี ตัวเป็นเผ่าพันธุ์ของนก มีบรรดาศักดิ์ เจ้าสามารถ ละหรือ เจ้าจะเข้าใจได้หรือ กิจอะไรเล่า ที่ผู้มุ่งจะ ครอบครองสมบัติกระทำแล้ว เป็นกิจประเสริฐ.

[๒๔๔๒] (นกกุณฑลินีทูลว่า) ข้าแต่เสด็จพ่อ ประโยชน์ตั้งมั่นอยู่ในเหตุ ๒ ประการเท่านั้น คือ ความได้ลาภที่ยังไม่ได้ ๑ การตามรักษาลาภที่ได้ แล้ว ๑.

ข้าแต่เสด็จพ่อ พระองค์จงทรงทราบอำมาตย์ทั้ง หลาย ผู้เป็นนักปราชญ์ฉลาดในประโยชน์ ไม่แพร่ง พรายความลับ ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่ทำให้เสื่อมเสีย.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 540

ข้าแต่เสด็จพ่อ ก็อำมาตย์คนใดพึงรักษาพระราช ทรัพย์ของพระองค์ ให้มีคงที่อยู่ได้ ดุจนายสารถียึด รถไว้ พระองค์ควรทรงใช้อำมาตย์ผู้นั้น ให้กระทำ กิจทั้งหลาย ของพระองค์.

พระราชา พึงโปรดสงเคราะห์ชนฝ่ายในด้วยดี ตรวจตราพระราชทรัพย์ด้วยพระองค์เอง ไม่ควรจัด การทรัพย์และการกู้หนี้ โดยทรงไว้วางพระทัยในคน อื่น.

พระราชาควรทราบรายได้ รายจ่ายด้วยพระองค์ เอง ควรทรงทราบกิจที่ทำแล้ว และยังไม่ได้ทำด้วย พระองค์เอง ควรข่มคนที่ควรข่ม ควรยกย่องคนที่ ควรยกย่อง.

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมพลรถ พระองค์จงทรง พร่ำสอนเหตุผล แก่ชาวชนบทเอง เจ้าหน้าที่ผู้เก็บ ภาษีอากร ผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม อย่ายังพระราช ทรัพย์ และรัฐสีมา ของพระองค์ให้พินาศ.

อนึ่ง พระองค์อย่าทรงทำเอง หรืออย่าทรงใช้ให้ คนอื่นทำกิจทั้งหลายโดยฉับพลัน เพราะว่าการงาน ที่ทำลงไปโดยฉับพลัน ไม่ดีเลย คนเขลาย่อมเดือด ร้อนในภายหลัง.

พระองค์อย่าทรงล่วงเลยกุศล อย่าทรงปล่อย พระทัยให้เกรี้ยวกราดนัก เพราะว่า สกุลที่มั่นคงเป็น อันมาก ได้ถึงความไม่เป็นสกุล เพราะความโกรธ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 541

ข้าแต่เสด็จพ่อ พระองค์อย่าทรงนึกว่า เราเป็น ใหญ่แล้ว ยังมหาชนให้หยั่งลงเพื่อความฉิบหาย กำไร คือความทุกข์ อย่าได้มีแก่สตรีและบุรุษของพระองค์ เลย.

โภคสมบัติทั้งปวง ของพระราชาผู้ปราศจาก ความหวาดเสียว แส่หากามารมณ์ย่อมพินาศหมด ข้อ นั้นนักปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวว่าเป็นความทุกข์ ของ พระราชา.

ข้อความที่หม่อมฉันกราบทูล ในปัญหาของ พระองค์นั้น เป็นวัตรบท นี่แหละเป็นอนุสาสนี ข้าแต่ พระมหาราชา บัดนี้ พระองค์โปรดทรงบำเพ็ญบุญ อย่าเป็นนักเลง อย่าทรงราชทรัพย์ให้พินาศ จงทรง ศีล เพราะว่าคนทุศีล ย่อมตกต่ำ. [๒๔๔๓] (พระราชาตรัสว่า) พ่อชัมพุกะ พ่อได้ ถามปัญหากะเจ้าโกสิยโคตร และเจ้ากุณฑลินี มาเช่น เดียวกันแล้ว ชัมพุละลูกรัก คราวนี้ เจ้าจงบอกกำลัง อันสูงสุดกว่ากำลังทั้งหลาย บ้างเถิด.

[๒๔๔๔] (นกชัมพุกะทูลว่า) กำลังในบุรุษผู้มี อัธยาศัยใหญ่ในโลกนี้ มี ๕ ประการ ในกำลัง ๕ ประการนั้น กำลังแขนบัณฑิตกล่าวว่า เป็นกำลังต่ำ ทราม ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเจริญพระชนม์ กำลังโภค ทรัพย์บัณฑิตกล่าวว่า เป็นกำลังที่สอง.

ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเจริญพระชนม์ กำลังอำมาตย์ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นกำลังที่สาม กำลังคือการ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 542

มีชาติยิ่งใหญ่ เป็นกำลังที่สี่โดยแท้ บัณฑิตย่อมยึด เอากำลังทั้งหมดไว้ได้.

กำลังปัญญา บัณฑิตกล่าวว่า เป็นกำลังประเสริฐ ยอดเยี่ยมกว่ากำลังทั้งหลาย เพราะว่า บัณฑิตอันกำลัง ปัญญาสนับสนุนแล้ว ย่อมได้ซึ่งประโยชน์.

ถ้าบุคคลมีปัญญาทราม แม้ได้แผ่นดินอันสมบูรณ์ เมื่อไม่ประสงค์ คนอื่นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ก็ ข่มขี่แย่งเอาแผ่นดินนั้นเสีย.

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมชนชาวกาสี ถ้าบุคคล แม้เป็นผู้มีชาติสูง ได้ราชสมบัติแล้วเป็นกษัตริย์ แต่ มีปัญญาทราม หาเป็นอยู่ด้วยราชสมบัติทุกอย่างได้ไม่.

ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยเรื่องที่ได้สดับ ปัญญา เป็นเครื่องยังเกียรติยศ และลาภสักการะให้เจริญ คน ในโลกนี้ ประกอบด้วยปัญญาแล้ว แม้เมื่อทุกข์เกิด ขึ้น ก็ย่อมได้รับความสุข.

ก็คนบางคนไม่ได้ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่อาศัยผู้เป็น พหูสูต ซึ่งตั้งอยู่ในธรรม ไม่พิจารณาเหตุผล ย่อมไม่ ได้บรรลุปัญญา.

อนึ่ง ผู้ใดรู้จักจำแนกธรรม ลุกขึ้นในเวลาเช้า ไม่เกียจคร้าน ย่อมบากบั่นตามกาล ผลแห่งการงาน ของบุคคลนั้น ย่อมสำเร็จ.

ประโยชน์แห่งการงาน ของบุคคลผู้มีศีลมิใช่บ่อ เกิด ผู้คบหาบุคคลที่มิใช่บ่อเกิด ผู้มีปกติเบื่อหน่าย ทำการงาน ย่อมไม่เผล็ดผลโดยชอบ.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 543

ส่วนประโยชน์แห่งการงานของบุคคล ผู้ประกอบธรรม อันเป็นภายใน คบหาบุคคลที่เป็นบ่อเกิด อย่างนั้น ไม่มีปกติเบื่อหน่ายทำการงาน ย่อมเผล็ด ผลโดยชอบ.

ข้าแต่เสด็จพ่อ ขอพระองค์จงทรงเสวนปัญหา อันเป็นส่วนแห่งการประกอบความเพียร เป็นเครื่อง ตามรักษาทรัพย์ ที่รวบรวมไว้ และเหตุสองประการ ข้างต้น ที่ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลแล้วนั้นเถิด อย่า ได้ทรงทำลายทรัพย์สินเสีย ด้วยการงานอันไม่สมควร เพราะคนมีปัญญาทราม ย่อมล่มจม ด้วยการงานอัน ไม่สมควร ดังเรือนไม้อ้อ ฉะนั้น.

ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรม ในพระราชมารดา พระราชบิดา ครั้นทรง ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.

ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติ ธรรม ในพระราชโอรสและพระอัครมเหสี ครั้นทรง ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.

ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติ ธรรม ในมิตร และอำมาตย์ ครั้นทรงประพฤติธรรม ในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.

ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติ ธรรม ในพาหนะและพลนิกาย ครั้นทรงประพฤติ ธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 544

ข้าแต่พระมหาราชา ของพระองค์จงทรงประพฤติ ธรรม ในชาวบ้าน และชาวนิคม ครั้นทรงประพฤติ ธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.

ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรง ประพฤติธรรม ในสมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย ครั้น ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.

ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติ ธรรม ในเนื้อและนก ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลก นี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรง ประพฤติธรรม เพราะความที่ธรรมอันบุคคลประพฤติ แล้ว ย่อมนำความสุขมาให้ ครั้นพระองค์ทรงประพฤติ ธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.

ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติ ธรรม เพราะว่าพระอินทร์ทวยเทพพร้อมทั้งพรหม ถึงทิพยสถานได้ด้วยธรรมอันตนประพฤติดีแล้ว ข้าแต่พระกษัตริย์ ขอพระองค์อย่าทรงประมาทธรรมเลย.

ข้อความที่ข้าพระองค์กราบทูลแล้ว ในปัญหา ของพระองค์นั้น เป็นวัตรบท ข้อนี้แล เป็นอนุสาสนี ขอพระองค์จงทรงคบหาสมาคม กับผู้มีปัญญา จงเป็น ผู้มีกัลยาณธรรม พระองค์ทรงทราบความข้อนั้น ด้วย พระองค์เองแล้ว จงทรงปฏิบัติให้ครบถ้วนเถิด.

จบเตสกุณชาดกที่ ๑

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 545

อรรถกถาจัตตาฬีสนิบาต

อรรถกถาเตสกุณชาดก

พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ตรัส พระธรรมเทศนานี้ ด้วยสามารถโอวาทแก่พระเจ้าโกศล มีคำเริ่มต้นว่า เวสฺสนฺตรํ ตํ ปุจฺฉามิ ดังนี้.

ความพิสดารว่า พระศาสดาตรัสเชิญพระราชานั้น ซึ่งเสด็จมาทรง ธรรม มารับสั่งว่า ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมดาพระราชาควรครองราชย์โดย ธรรม เพราะสมัยใด พระราชาเป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม สมัยนั้น แม้ข้าราชการ ทั้งหลาย ก็เป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ดังนี้แล้ว ทรงโอวาทโดยนัยแห่งพระสูตรที่ มาในจตุกนิบาต และตรัสพรรณนาโทษและอานิสงส์ในการลุอำนาจอคติและ ไม่ลุอำนาจอคติ ทรงยังโทษในกามทั้งหลายให้พิสดาร โดยนัยเป็นต้นว่า กามทั้งหลายเปรียบได้กับความฝันแล้วตรัสว่า

ดูก่อนมหาบพิตร ความผัดเพี้ยนกับมฤตยูย่อม ไม่มีแก่สัตว์เหล่านี้ การรับสินบนก็ไม่มี การยุทธ์ ก็ไม่มี ชัยชนะก็ไม่มี สัตว์ทั้งมวลล้วนมีความตายเป็น เบื้องหน้า.

เมื่อสัตว์เหล่านั้นไปสู่ปรโลก เว้นกัลยาณธรรมที่ตนกระทำไว้แล้ว ชื่อว่าที่พึ่งอย่างอื่นไม่มีเลย จําต้องละสิ่งที่ปรากฏเล็กๆ น้อยๆ อย่างนี้ไป แน่นอน ไม่ควรที่จะอาศัยยศทำความประมาท ชอบที่จะเป็นผู้ไม่ประมาท เสวยราชย์โดยธรรมอย่างเดียว แม้เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่ได้เสด็จอุบัติ โบราณ-

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 546

กษัตริย์ทั้งหลายตั้งอยู่ในโอวาทของบัณฑิต เสวยราชย์โดยธรรม เสด็จไปยัง เทพนครให้เต็มบริบูรณ์ อันพระเจ้าโกศลทรงทูลอาราธนาจึงทรงนำอดีตนิทาน มาตรัส ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติ ในพระนคร พาราณสี ไม่มีพระราชโอรส ถึงทรงปรารถนาอยู่ก็ไม่ได้พระโอรส หรือพระ ธิดา วันหนึ่ง พระองค์เสด็จประพาสพระราชอุทยาน กับข้าราชบริพารจำนวน มาก ทรงเล่นในพระราชอุทยานตลอดวัน ลาดพระที่บรรทม ณ โคนต้นมงคล สาลพฤกษ์ บรรทมหลับไปหน่อยหนึ่ง ตื่นบรรทมแล้ว ทรงแลดูต้นรัง ทอดพระเนตรเห็นรังนกอยู่บนต้นไม้นั้น พอทอดพระเนตรเห็นเท่านั้น ก็เกิด พระเสน่หา จึงดำรัสเรียกมหาดเล็กคนหนึ่ง มาตรัสสั่งว่าเจ้าขึ้นต้นไม้นี้จงดู ให้รู้ว่า ในรังนกนั้นมีอะไรอยู่หรือไม่มี. มหาดเล็กขึ้นไป เห็นฟองไข่อยู่ในรัง นกนั้น ๓ ฟอง จึงกราบทูลให้ทรงทราบ พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เจ้า อย่าปล่อยลมหายใจลงบนไข่เหล่านั้น จงแผ่สำลีลงในผอบ วางฟองนกเหล่านั้น ไว้ในผอบแล้วค่อยๆ ลงมา ครั้นตรัสสั่งให้มหาดเล็กลงมาแล้ว ทรงรับผอบ ด้วยพระหัตถ์ ตรัสถามพวกอำมาตย์ว่า นี่เป็นไข่นกจำพวกไหน? อำมาตย์ ทั้งหลาย พากันกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าไม่ทราบ พวกนายพรานคงจักรู้ พระราชาจึงตรัสสั่งให้พวกนายพรานเข้าเฝ้าแล้วตรัสถาม พวกนายพรานกราบทูลว่า ขอเดชะ ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ฟองนกเหล่านี้ ใบหนึ่งเป็นฟองนกฮูก ใบหนึ่งเป็นฟองนกสาลิกา ใบหนึ่งเป็นฟองนกแขกเต้า ตรัสถามว่า ฟองนกทั้งสามอยู่รวมรังเดียวกันได้หรือ? กราบทูลว่า ได้พระพุทธเจ้าข้า เมื่อไม่มีอันตราย ฟองนกที่แม่กกไว้ดีแล้ว ย่อมไม่ฉิบหาย พระราชาทรงดีพระทัย ดำริว่า นกเหล่านี้จักเป็นลูกของเรา โปรดให้อำมาตย์สามคน

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 547

รับฟองนกไว้คนละฟอง ตรัสสั่งว่า นกเหล่านี้จักเป็นลูกของเรา พวกท่านช่วย ประคับประคองให้ดี เวลาลูกนกออกมาจากกระเปาะฟองจงบอกเรา.

อำมาตย์ทั้งสามต่างรักษาฟองนกเหล่านั้นเป็นอันดี ในจำนวนฟองไข่ เหล่านั้น ฟองนกฮูกแตกออกก่อน อำมาตย์จึงเรียกนายพรานคนหนึ่งมาถามว่า แกรู้ไหมว่าตัวเมียหรือตัวผู้? เมื่อนายพรานนั้นพิจารณาดูแน่แล้ว บอกว่าตัวผู้ จึงเข้าไปเฝ้าพระราชากราบทูลว่า ขอเดชะ โอรสของพระองค์เกิดแล้ว พระพุทธ เจ้าข้า. พระราชาทรงปลาบปลื้ม พระราชทานทรัพย์แก่อำมาตย์นั้นเป็นอันมาก ตรัสกำชับส่งไปว่า เจ้าจงประคับประคองลูกเราให้ดี จงตั้งชื่อว่า " เวสสันดร " อำมาตย์นั้นได้กระทำตามพระบรมราชโองการ ล่วงมาอีกสองสามวัน ฟองนก สาลิกาก็แตกออก อำมาตย์คนนั้น จึงให้นายพรานพิสูจน์ดู รู้ว่าเป็นตัวเมีย จึงไปยังราชสำนักกราบทูลว่า ขอเดชะ ราชธิดาของพระองค์เกิดแล้ว พระพุทธเจ้าข้า พระราชาทรงดีพระทัย พระราชทานทรัพย์แก่อำมาตย์แม้คนนั้น มากมาย แล้วตรัสกำชับส่งไปว่า เจ้าจงประคับประคองธิดาของเราให้ดี และ จงตั้งชื่อว่า " กุณฑลินี " แม้อำมาตย์นั้นก็กระทำตามกระแสพระราชดำรัส ล่วงมาอีกสองสามวัน ฟองนกแขกเต้าก็แตก แม้อำมาตย์นั้นก็ให้นายพราน พิสูจน์ดู เมื่อเขาบอกว่า ตัวผู้ จึงไปยังราชสำนัก กราบทูลว่า ขอเดชะ โอรสของพระองค์เกิดแล้วพระพุทธเจ้าข้า. พระราชาทรงดีพระทัย พระราชทานทรัพย์แก่อำมาตย์แม้นั้นเป็นอันมาก แล้วตรัสกำชับส่งไปว่า เจ้าจงจัดการ ทำมงคลแก่ลูกของเราด้วยบริวารเป็นอันมาก แล้วตั้งชื่อเขาว่า " ชัมพุกะ " อำมาตย์นั้นก็กระทำตามพระราชดำรัส แม้นกทั้งสาม ก็เจริญมาในเรือนของ อำมาตย์ทั้งสามคนด้วยการบริหารอย่างราชกุมาร.

พระราชามักตรัสเรียกว่าบุตรของเรา ธิดาของเรา ดังนี้เนืองๆ ครั้งนั้น พวกอำมาตย์ ของพระองค์พากันยิ้มเยาะกันว่า ท่านทั้งหลายจงดู การกระทำของ

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 548

พระราชา เที่ยวตรัสเรียกกระทั่งสัตว์เดียรัจฉานว่า บุตรของเรา ธิดาของเรา พระราชาทรงสดับดังนั้น จึงทรงดำริว่า อำมาตย์พวกนี้ยังไม่รู้ปัญญาสัมปทาแห่ง ลูกทั้งสามของเราจักต้องทำให้ปรากฏแก่เขา จึงตรัสใช้อำมาตย์คนหนึ่งไปหาเจ้า เวสสันดรให้แจ้งว่า พระบิดาของท่านอยากจะตรัสถามปัญหา จะเสด็จมาถามได้ เมื่อไร? อำมาตย์ไปไหว้เจ้าเวสสันดรแล้ว แจ้งพระกระแสรับสั่งให้ทราบ. เจ้า เวสสันดรจึงเชิญอำมาตย์ผู้เลี้ยงดูตนมาถามว่า เขาบอกว่า พระราชบิดาของฉัน ใคร่จะตรัสถามปัญหากะฉัน เมื่อพระองค์เสด็จมาที่นี่ ควรที่เราจะทำสักการะ จะ ให้พระองค์เสด็จมาเมื่อไรเล่าพ่อ? อำมาตย์ตอบว่า จากนี้ไปอีกเจ็ดวัน จึงเชิญ เสด็จ. เจ้าเวสสันดรได้ฟังดังนั้น จึงส่งข่าวกราบทูลว่า พระราชบิดาของฉัน เสด็จมาได้ในวันที่เจ็ดนับแต่นี้ไป. อำมาตย์นั้นกลับมาทูลแด่พระราชา. ถึงวัน ที่เจ็ด พระราชาตรัสสั่งให้เที่ยวตีกลองประกาศ ในพระนครแล้วเสด็จไปยังที่อยู่ ของบุตร เจ้าเวสสันดรสั่งให้ทำมหาสักการะแด่พระราชา โดยที่แม้ทาสและ กรรมกรก็ให้ทำสักการะด้วย พระราชาเสวยในเรือนของนกเวสสันดรทรงรับ การต้อนรับสมพระเกียรติ แล้วเสด็จกลับไปพระราชนิเวศน์ ตรัสสั่งให้ทำ มหามณฑปที่พระลานหลวง ให้เที่ยวตีกลองประกาศในพระนครแล้วประทับนั่ง ในมณฑปอลงกต แวดล้อมไปด้วยมหาชน ทรงส่งพระราชสาสน์ไปยังสำนัก ของอำมาตย์ว่า จงนำเจ้าเวสสันดรมาเถิด. อำมาตย์ให้เจ้าเวสสันดรจับบนตั่ง ทองนำมาถวาย นกเวสสันดรจับบนพระเพลาพระราชบิดา เล่นหัวกับพระราช บิดา แล้วบินไปจับบนตั่งทองนั้นตามเดิม.

ลำดับนั้น พระราชา เมื่อจะตรัสถามราชธรรมกะเจ้าเวสสันดร ใน ท่ามกลางมหาชน จึงตรัสปฐมคาถา ความว่า

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 549

เราขอถามเจ้าเวสสันดร นกเอ๋ย ขอความเจริญ จงมีแก่เจ้า กิจอะไรที่บุคคลผู้ประสงค์เสวยราชสมบัติ กระทำแล้วเป็นกิจประเสริฐ.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้นดังต่อไปนี้ พระราชาทรงทักทายเจ้าเวสสันดรนั้นว่า นกเอ๋ย.

บทว่า กึสุ ความว่า กิจอะไรที่ผู้ใคร่ครองราชย์กระทำแล้ว เป็น ของดี คือสูงสุด พ่อเอ๋ย เจ้าจงบอกราชธรรมทั้งมวลแก่ข้าเถิด. นัยว่า พระราชา นั้น ดำรัสถามเจ้าเวสสันดรนั้นอย่างนี้.

นกเวสสันดร ได้ฟังพระราชดำรัสแล้ว ยังไม่ทูลแก้ปัญหา เมื่อจะ ทูลท้วงพระราชาด้วยความประมาท จึงกล่าวคาถาที่สอง ความว่า

นานนักหนอ พระเจ้ากังสราช พระราชบิดาเรา ผู้ทรงสงเคราะห์ชาวเมืองพาราณสี เป็นผู้ประมาท ได้ตรัสถามเราผู้บุตร ซึ่งหาความประมาทมิได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตาตา ได้แก่ พระราชบิดา. บทว่า กํโส นี้ เป็นชื่อของพระราชานั้น. บทว่า พาราณสิคฺคโท ความว่า ทรงประพฤติสงเคราะห์ชาวเมืองพาราณสี ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการ. บทว่า ปมตฺโต ความว่า เสด็จอยู่ในสำนักแห่งบัณฑิตเห็นปานนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ประมาท แล้ว เพราะมิได้ตรัสถามปัญหา. บทว่า อปฺปมตฺตํ ความว่า พอกพูน เลี้ยงเราผู้ชื่อว่าไม่ประมาทแล้ว เพราะประกอบด้วยคุณความดีมีศีลเป็นต้น. บทว่า ปิตา ได้แก่ พระราชบิดาผู้พอกเลี้ยง. บทว่า อโจทยิ ความว่า นกเวสสันดรกล่าวว่า พระราชบิดาถูกพวกอำมาตย์ล้อเลียนว่า ตรัสเรียกสัตว์

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 550

เดียรัจฉานว่าเป็นบุตร ทรงถึงความประมาทแล้ว เพิ่งโจทย์ คือตรัสถาม ปัญหาในวันนี้ สิ้นกาลนานนัก.

เจ้าเวสสันดรทูลท้วงด้วยคาถาอย่างนี้แล้ว ทูลว่า ขอเดชะ พระชนก มหาราช ขึ้นชื่อว่า พระราชาควรดำรงอยู่ในธรรม ๓ ประการ เสวยราชสมบัติโดยธรรม เมื่อจะแสดงราชธรรม จึงกล่าวคาถา ความว่า

ข้าแต่บรมกษัตริย์ ธรรมดาพระราชาควรห้าม มุสาวาท ความโกรธและความร่าเริงก่อนทีเดียว แต่ นั้นพึงตรัสสั่งให้กระทำกิจทั้งหลาย คำที่ข้าพระพุทธเจ้า กล่าวมานั้น นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า เป็นกิจของ พระราชา.

ข้าแต่พระบิดา เมื่อก่อนพระองค์ทรงรักใคร่ และเกลียดชังแล้วพึงทรงทำกรรมใด กรรมนั้นที่พระองค์ทรงทำแล้ว พึงยังพระองค์ให้เดือดร้อน โดยไม่ ต้องสงสัย แต่นั้นพระองค์ไม่ควรทรงกระทำกรรม นั้นอีก.

ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงบำรุงรัฐ เมื่อกษัตริย์ประมาทแล้ว โภคสมบัติทุกอย่าง ในแว่นแคว้นย่อมพินาศ ข้อนั้นนักปราชญ์กล่าวว่าเป็นความทุกข์ของพระราชา.

ข้าแต่พระบิดา เทพธิดาชื่อ สิริ และชื่อ ลักขี ถูกสุจิปริวารเศรษฐีถาม ได้ตอบว่า ข้าพเจ้าย่อมยินดี ในบุรุษผู้มีความขยันหมั่นเพียร ไม่มีความริษยา.

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า กาลกรรณีผู้ทำลายจักร ย่อมยินดีในบุรุษผู้ริษยา ผู้มีใจชั่ว ผู้ประทุษร้ายการงาน.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 551

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์จงทรงเป็นผู้มี พระทัยดี ต่อคนทั้งปวง จงทรงพิทักษ์รักษาคนทั้งปวง จงทรงบรรเทาเสียซึ่งคนไม่มีราศี จงมีคนมีราศีเป็น ที่พำนักเถิด.

ข้าแต่พระองค์ ผู้เป็นใหญ่แห่งชนชาวกาสี บุรุษ ผู้มีราศี สมบูรณ์ด้วยความเพียร มีอัธยาศัยใหญ่ย่อม ตัดโคนและยอดของศัตรูทั้งหลายได้.

ข้าแต่พระองค์ ผู้เป็นใหญ่ของประชาชน ความ จริง แม้ท้าวสักกะก็ไม่ทรงประมาทในความหมั่นเพียร ท้าวเธอทรงกระทำความเพียรในกัลยาณธรรม ตั้ง พระทัยมั่น ในความขยันหมั่นเพียร.

คนธรรพ์ พรหม เทวดา เป็นผู้เป็นอยู่อาศัย พระราชาเช่นนั้น เมื่อพระราชาทรงอุตสาหะ ไม่ทรง ประมาท เทวดาทั้งหลายย่อมคุ้มครองป้องกัน.

ข้าแต่พระบิดา พระองค์จงทรงเป็นผู้ไม่ประมาท ไม่ทรงพระพิโรธ แล้วตรัสสั่งให้ทำกิจทั้งหลาย จงทรง พยายามในกิจทั้งหลาย เพราะคนเกียจคร้าน ย่อมไม่ พบความสุข.

ข้อความที่ข้าพระองค์กล่าวแก้แล้ว ในปัญหา ของพระองค์นั้น ข้อนี้เป็นอนุสาสนี สามารถยังผู้ เป็นมิตรให้ถึงความสุข และยังคนผู้เป็นศัตรูให้ถึง ความทุกข์ได้.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 552

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปเมเนว วิตถํ ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ธรรมดาพระราชา ควรห้ามมุสาวาทเสียแต่ตอนต้น. อธิบายว่า แว่นแคว้น ของพระราชาผู้ตรัสมุสา ย่อมไม่มีโอชา. สิ่งสักว่า รัตนะเจ็ด ย่อมเข้าไป ภายใต้สถานที่กระทำโอชาในแผ่นดิน. แต่นั้น ในอาหาร ในน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยเป็นต้น หรือในโอสถทั้งหลาย ย่อมหาโอชามิได้. ประชาชนบริโภค อาหารขาดโอชา ย่อมเกิดเจ็บป่วยไข้มาก. รายได้ทั้งทางบกทางน้ำ ย่อมไม่ เกิดขึ้นในแว่นแคว้น เมื่อรายได้ไม่เกิด พระราชาก็ต้องถึงความยากลำบาก. พระองค์ย่อมไม่ทรงสามารถสงเคราะห์เสวกามาตย์ได้. เหล่าเสวกามาตย์ มิได้ รับสงเคราะห์ ต่างก็จะไม่มองดูพระราชา ด้วยจิตเคารพยำเกรง. ข้าแต่เสด็จพ่อ ขึ้นชื่อว่ามุสาวาทนี้ ขาดโอชาอย่างนี้. ฉะนั้น จึงไม่ควรกล่าวมุสาวาทนั้น แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต. แต่ควรกำหนดถือเอาสุภาษิตข้อที่ว่า ความสัตย์ดีกว่า รสทั้งหลาย ดังนี้เท่านั้น. อนึ่ง ขึ้นชื่อว่า มุสาวาทเป็นเครื่องกำจัดคุณความดี มีความวิบัติเป็นที่สุด กระทำให้มีอเวจีเป็นเบื้องหน้าในวารจิตที่สอง. อนึ่ง ในเนื้อความนี้ ควรแสดงเจติยชาดก มีอาทิว่า ธรรมแลอันบุคคลกำจัดแล้ว ย่อมกำจัดเขา ดังนี้.

บทว่า โกธํ ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ธรรมดาพระราชาควรห้าม แม้ความโกรธอันมีความขัดเคืองเป็นลักษณะก่อนเหมือนกัน. ข้าแต่เสด็จพ่อ เพราะว่า ความโกรธของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่ถึงจุดเดือดรวดเร็ว แต่ของ พระราชาย่อมถึง. ธรรมดาพระราชาทั้งหลาย มีวาจาเป็นอาวุธ กริ้วแล้ว ย่อมยังคนอื่นให้พินาศได้ แม้ด้วยอาการเพียงทรงชำเลืองดู เพราะฉะนั้น พระราชาอย่ามีความโกรธเกินกว่าคนอื่นๆ ควรเพรียบพร้อมด้วยขันติคุณ เมตตาคุณ และความเอื้อเอ็นดู แลดูพสกนิกรเหมือนโอรสที่รักของตน. ข้าแต่

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 553

เสด็จพ่อ ก็พระราชผู้ยิ่งด้วยความโกรธเป็นเจ้าเรือน ย่อมไม่สามารถรักษา พระเกียรติยศที่เกิดขึ้นได้ อนึ่ง เพื่อแสดงเนื้อความนี้ ควรแสดงขันติวาทีชาดก แลจุลลธัมมปาลชาดก. แท้จริง ในจุลลธัมมปาลชาดก พระเจ้ามหาปตาปนราช ตรัสสั่งให้ปลงพระชนม์พระราชโอรส เมื่อพระเทวีมีพระหทัยแตกสิ้นพระชนมชีพ เพราะเศร้าโศกถึงพระโอรสแล้ว แม้พระองค์เองก็เศร้าโศกถึงพระเทวี มี พระหทัยแตกสวรรคตไปเหมือนกัน. ครั้งนั้น อำมาตย์ทั้งหลายต้องถวาย พระเพลิง ณ พระเมรุมาศแห่งเดียวกัน ถึง ๓ พระศพ. เพราะฉะนั้น พระราชาควรเว้นมุสาวาทเป็นอันดับแรก อันดับที่สองควรเว้นความโกรธ.

บทว่า หาสํ ได้แก่ ความรื่นเริง. อนึ่ง ปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. อธิบายว่า พระราชาควรหักห้ามความเป็นคนขี้เล่น ในราชกิจต่างๆ ด้วย ความมีพระหฤทัยฮึกเหิม คือห้ามความสนุกสนานเสีย. ข้าแต่พระราชบิดา ธรรมดาพระราชาไม่ควรจะเป็นคนขี้เล่น ไม่ควรจะเชื่อถือผู้อื่น ต้องจัดการ ราชกิจทุกอย่าง โดยประจักษ์แจ้งแก่พระองค์เองเท่านั้น เพราะพระราชามี พระหฤทัยฮึกเหิมแล้ว เมื่อทรงกระทำราชกิจจะไม่พินิจพิจารณา ย่อมยัง พระอิสริยยศที่ได้แล้วให้พินาศ. อนึ่ง เนื้อความในอธิการนี้ ควรแสดงความ ที่พระเจ้าทัณฑกีราชในสรภังคชาดก ทรงเชื่อถ้อยคำของปุโรหิต แล้วผิดใน ท่านกีสวัจฉดาบส ขาดสูญพร้อมด้วยรัฐมณฑลบังเกิดในกุกกุลนรก ควร แสดงความที่พระเจ้าเมชฌราช ในมาตังคชาดก ทรงเชื่อถ้อยคำของพวก พราหมณ์ ผิดในท่านมาตังคดาบส แล้วขาดสูญไปพร้อมกับรัฐมณฑล บังเกิด ในนรก และควรแสดงความที่ตระกูลวาสุเทพ เชื่อถือถ้อยคำของราชทารก พี่น้องสิบคนผู้หลงงมงาย แล้วผิดในท่านกัณหทีปายนดาบส ถึงความพินาศ ฉิบหายไปในฆฏปัณฑิตชาดก.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 554

บทว่า ตโต กิจฺจานิ กาเรยฺย ความว่า ข้าแต่พระราชบิดา พระราชาเว้นมุสาวาทเป็นอันดับแรก ความโกรธเป็นอันดับที่สอง ความ สนุกสนานไม่เป็นธรรม เป็นอันดับที่สามแล้ว ต่อแต่นั้น จึงควรตรัสสั่งให้ กระทำราชกิจที่ควรทำต่อชาวแว่นแคว้น ในภายหลัง. บทว่า ตํ วตํ อาหุ ขตฺติย ความว่า ข้าแต่พระขัตติยมหาราช คำใดที่ข้าพเจ้าทูลแล้ว โปราณก บัณฑิตกล่าวคำนั้นว่า เป็นวัตรสมาทานของพระราชา. บทว่า น ตํ กยิรา ความว่า ข้าแต่พระราชบิดา กรรมใดอันเป็นเครื่องทำความร้อนใจในภายหลัง ด้วยสามารถแห่งกิเลสมีราคะเป็นต้น ซึ่งเป็นของที่พระองค์ทรงกระทำไว้แล้ว ต่อกรรมที่ทำไว้ก่อนนั้นมา พระองค์ไม่ควรทำ คืออย่าทรงทำกรรมเช่นนั้นอีก. บทว่า วุจฺจเต ความว่า นั้นท่านกล่าวว่า เป็นความทุกข์ของพระราชา. โปราณกบัณฑิตทั้งหลายกล่าวไว้อย่างนี้.

บทว่า สิรี จ ความว่า นกเวสสันดรนำเหตุการณ์ที่เป็นไปในเมือง พาราณสีเมื่อก่อน มากล่าวแสดงเช่นนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อพฺรวุํ ความว่า สิริเทพยเจ้าถูกสุจิปริวารเศรษฐีถาม บอกแล้ว. บทว่า อุฏฺาเน วิริเย ความว่า สิริเทพยเจ้ากล่าวว่า คนใดตั้งมั่นอยู่ในความหมั่นขยัน และ ให้ความเพียร ทั้งเห็นสมบัติของผู้อื่นแล้วไม่ริษยา ข้าพเจ้ารื่นรมย์ในคนผู้นั้น. นกเวสสันดรกล่าวถึงสิริเทพยเจ้าก่อนอย่างนี้. บทว่า อุสฺสุยฺยเก ความว่า ข้าแต่พระราชบิดา * ส่วนอลักขีเทพยเจ้าถูกถามแล้วกล่าวว่า ข้าพเจ้ายินดีในคน ที่ริษยาสมบัติของคนอื่น.

บทว่า ทูหทเย ได้แก่ คนมีจิตทราม. บทว่า กมฺมทูสเก ได้แก่ คนที่ประทุษร้ายกัลยาณกรรม. อลักขีเทพยเจ้ากล่าวว่า คนใดประทุษร้าย ไม่รักใคร่เกลียดชัง ไม่ทำกัลยาณกรรม ข้าพเจ้ายินดีในคนๆ นั้น. ข้าแต่


* บาลีเป็น ลักขี

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 555

มหาราชเจ้า กาลกรรณีผู้หักเสียซึ่งกุศลจักร มีการอยู่ในประเทศอันสมควร เป็นต้น ย่อมยินดีอย่างนี้. บทว่า สุหทโย ความว่า ขอพระองค์จงมี พระทัยงาม คือมีพระทัยคิดประโยชน์เกื้อกูล บทว่า นูท แปลว่า จงถอดถอน. บทว่า นิเวสนํ ความว่า แต่จงเอาบุญญาธิการเป็นที่อยู่ที่พำนักเถิด.

บทว่า สลกฺขี ธิติสมฺปนฺโน ความว่า ข้าแต่มหาราชจอมชาวกาสี บุรุษผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาและความเพียรนั้น. บทว่า มหคฺคโต ความว่า นกเวสสันดรกล่าวว่า บุรุษผู้มีอัธยาศัยใหญ่ เมื่อจับโจรผู้เป็นปัจจัยแห่งโจร ชื่อว่า จับโจรที่เป็นรากเหง้าของอมิตร ย่อมตัดยอดของปวงอมิตรได้.

บทว่า สกฺโก ได้แก่ พระอินทร์. นกเวสสันดรเรียกพระราชาว่า ภูตปติ ผู้เป็นเจ้าแห่งพสกนิกร. บทว่า อุฏฺาเน ได้แก่ ผู้มีความขยัน หมั่นเพียร. บทว่า นปฺปมชฺชติ ความว่า กระทํากิจทั้งปวง.

บทว่า ส กลฺยาเณ ความว่า ท้าวเทวราชนั้น เอาพระทัยใส่ใน ความหมั่นขยัน และความพากเพียร ไม่กระทำบาปกรรม ทำความเพียรใน กัลยาณกรรม คือบุญกรรมอย่างเดียวไม่ประมาท ใส่ใจในความหมั่นขยัน. อนึ่ง เพื่อแสดงภาวะแห่งการกระทำความเพียรของท้าวสักกะนั้น ควรแสดง เรื่องเป็นต้นว่า ความที่ท้าวสักกะนั้นมาสู่กปิฏฐาราม พร้อมกับเทวดาใน เทวโลกทั้งสอง แล้วถามปัญหาสดับธรรมในสรภังคชาดก และความที่คำสั่งสอนเสื่อมถอย อันท้าวสักกะยังมหาชนให้ยินดีแล้ว บันดาลให้เป็นไปด้วย อานุภาพของตน ในมหากัณหชาดก.

บทว่า คนฺธพฺพา ความว่า ได้ยินว่า เทวดาผู้มีกำเนิด ๔ เกิด ภายใต้ท้าวจาตุมมหาราช ชื่อว่า คนธรรพ์. บทว่า ปิตโร ได้แก่ ท้าวมหาพรหม. บทว่า เทวา ได้แก่ เทวดาชั้นฉกามาวจร ด้วยสามารถแห่ง

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 556

อุปัตติเทพ. บทว่า ตาทิโน ความว่า ท่านเหล่านั้นต่างมีชีพ มีชีวิตสม่ำเสมอ หล่อเลี้ยงชีวิตไว้ เพื่อพระราชาผู้ทรงยินดีในกุศลอย่างนั้น เพราะพระราชา เช่นนั้น เมื่อทรงกระทำบุญทานเป็นต้น ย่อมทรงอุทิศส่วนบุญแก่เทวดา ทั้งหลาย เทวดาเหล่านั้น รับอนุโมทนาส่วนบุญนั้นแล้ว ย่อมเจริญด้วย ทิพยยศ. บทว่า อนุติฏฺนฺติ ความว่า เมื่อพระราชาเช่นนั้นทรงทำความเพียร ถึงความไม่ประมาทอยู่ เทวดาทังหลายย่อมพากันพิทักษ์รักษา ตามไปจัดแจง อารักขา อันชอบธรรม.

บทว่า โส ได้แก่ โส ตฺวํ แปลว่า ท่านนั้น. บทว่า วายมสฺสุ จ ความว่า เมื่อพระองค์จะทรงการทำรัฐกิจนั้น โปรดกระทำความเพียรในรัฐกิจ นั้นๆ ด้วยอำนาจการเทียบเคียง การหยั่งดู การกระทำอันประจักษ์เถิด.

บทว่า ตตฺเถว เต วตฺตปทา ความว่า ข้าแต่พระราชบิดา พระองค์ตรัสถามปัญหาใด กะข้าพระพุทธเจ้าว่า ควรจะทำกิจอะไรดี ใน ปัญหาของพระองค์นั่นเอง ข้าพระพุทธเจ้าได้ทูลคำเป็นต้นว่า ควรห้าม มุสาวาทก่อนดังนี้แล้ว ข้อความเหล่านั้น เป็นวัตรบท เป็นวัตรโกฏฐาส พระองค์โปรดทรงประพฤติในวัตรบทนั้น อย่างข้อความที่ข้าพระองค์ทูลแล้ว. บทว่า เอสา ความว่า ข้อความที่ข้าพระองค์ทูลแล้ว นี้แหละเป็นอนุสาสนี สำหรับพระองค์. บทว่า อลํ ความว่า เพราะว่าเมื่อพระราชาประพฤติอยู่ อย่างนี้ย่อมองอาจ สามารถเพื่อยังมวลมิตรให้มีความสุข และก่อทุกข์แก่มวล อมิตรได้.

เมื่อนกเวสสันดร ท้วงถึงความประมาทของพระราชา ด้วยคาถาบท หนึ่ง แล้วกล่าวธรรมด้วยคาถาสิบเจ็ดคาถาอย่างนี้ มหาชนบังเกิดความคิด เป็นอัศจรรย์ขึ้นว่า นกเวสสันดรแก้ปัญหาด้วยลีลาแห่งพระพุทธเจ้า ดังนี้แล้ว

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 557

ยังสาธุการร้อยหนึ่งให้เป็นไป พระราชาทรงโสมนัส ตรัสเรียกเหล่าอำมาตย์ มาตรัสสั่งว่า ดูก่อนอำมาตย์ผู้เจริญทั้งหลาย เพราะเจ้าเวสสันดร บุตรของเรา กล่าวแก้ปัญหากิจเสร็จแล้วอย่างนี้ เราควรจะจัดการอย่างไร?

พวกอำมาตย์ทูลว่า ควรจัดการโดยมอบตำแหน่งผู้บัญชาการมหาเสนา ให้ พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เราจะให้ตำแหน่งผู้บัญชาการมหาเสนา แก่เจ้าเวสสันดรนั้น แล้วทรงสถาปนาเจ้าเวสสันดร ไว้ในฐานันดรศักดิ์ นับ แต่นั้นมา นกเวสสันดรนั้น ก็ดำรงอยู่ในตำแหน่งผู้บัญชาการมหาเสนา สนอง ราชกิจพระราชบิดา ด้วยประการฉะนี้.

จบเวสสันดรปัญหา

ล่วงไปอีกสอง - สามวัน พระราชาส่งทูตไป ยังสำนักของเจ้านก กุณฑลินี โดยทำนองเดิมนั่นเอง แล้วเสด็จไป ณ ที่นั้นในวันที่เจ็ด เสด็จ กลับมาประทับ ณ ท่ามกลางมณฑปนั้น ตรัสสั่งให้นำเจ้านกกุณฑลินีมา เมื่อ จะตรัสถามราชธรรม กะนางนกตัวจับอยู่บนตั่งทอง จึงตรัสคาถา ความว่า

ดูก่อนนางนกกุณฑลินี ตัวเป็นเผ่าพันธุ์ของนก มีบรรดาศักดิ์ เจ้าสามารถละหรือ เจ้าจะเข้าใจได้หรือ กิจอะไรเล่าที่ผู้มุ่งจะครอบครองสมบัติ กระทำแล้ว เป็นกิจประเสริฐ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกฺขิ ความว่า พระราชาตรัสถามว่า เจ้าจักสามารถแก้ปัญหาที่พ่อถามได้หรือ? พระราชาทรงทักทาย โดยชื่อที่มา โดยเพศของนางนกนั้นว่า แน่ะนางกุณฑลินี ได้ยินว่า ที่หลังหูทั้งสองของนาง นกนั้น มีรอยสองแห่งสัณฐานคล้ายต่างหู ด้วยเหตุนั้น พระราชาจึงโปรด

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 558

ให้ตั้งชื่อว่า " กุณฑลินี ". บทว่า มญฺสิ ความว่า พระราชาตรัสถามว่า เจ้าจักแก้เนื้อความแห่งปัญหาที่พ่อถามได้หรือ? พระราชาทรงทักทายนางนก นั้นอย่างนี้ว่า " แน่ะเจ้าตัวมีเผ่าพันธุ์แห่งนกมีบรรดาศักดิ์ " ดังนี้ เพราะเป็น น้องสาวของผู้บัญชาการมหาเสนา ผู้มีบรรดาศักดิ์.

เหตุไร พระราชาจึงไม่ตรัสถามนกเวสสันดรอย่างนี้ ตรัสถามแต่เจ้า กุณฑลินี นี้แต่ตัวเดียว? เพราะนางนกนี้ เป็น อิตถีเพศ. พระราชาทรงพระ ดำริว่า ธรรมดาสตรีมีปัญญานิดหน่อย ถ้านางนกนี้สามารถก็จักถาม ถ้าไม่ สามารถก็จักไม่ถาม ดังนี้ จึงได้ตรัสถามอย่างนี้ ด้วยจะทดลองดู แล้วตรัส ถามปัญหาเช่นนั้นเหมือนกัน.

เมื่อพระราชาตรัสถามราชธรรมอย่างนี้แล้ว นางนกกุณฑลินี จึงทูลว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ชะรอยพระบิดาจะทดลองหม่อมฉัน ด้วยเข้าพระทัย ว่า ขึ้นชื่อว่า สตรีแล้วจะแก้อย่างไรได้ หม่อมฉันจักกล่าวราชธรรมทั้งสิ้น แด่พระบิดา รวมไว้ในสองบททีเดียว ดังนี้แล้ว จึงกล่าวคาถา ความว่า

ข้าแต่เสด็จพ่อ ประโยชน์ตั้งมั่นอยู่ในเหตุ ๒ ประการเท่านั้น คือความได้ลาภที่ยังไม่ได้ ๑ การ ตามรักษาลาภที่ได้แล้ว ๑.

ข้าแต่เสด็จพ่อ พระองค์จงทรงทราบ อำมาตย์ ทั้งหลายผู้เป็นนักปราชญ์ ฉลาดในประโยชน์ ไม่ แพร่งพรายความลับ ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่ทำให้ เสื่อมเสีย.

ข้าแต่เสด็จพ่อ ก็อำมาตย์คนใด พึงรักษาพระ ราชทรัพย์ของพระองค์ ให้มีคงที่อยู่ได้ ดุจนายสารถี ยึดรถไว้ พระองค์ควรทรงใช้อำมาตย์ผู้นั้น ให้กระทำ กิจทั้งหลายของพระองค์.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 559

พระราชาพึงโปรดสงเคราะห์ชนฝ่ายใน ด้วยดี ตรวจตราพระราชทรัพย์ด้วยพระองค์เอง ไม่ควรจัด การทรัพย์และการกู้หนี้ โดยทรงไว้วางพระทัย ใน คนอื่น.

พระราชาควรทราบรายได้-รายจ่าย ด้วยพระองค์เอง ควรทรงทราบกิจที่ทำแล้ว และยังไม่ได้ทำ ด้วยพระองค์เอง ควรข่มคนที่ควรข่ม ควรยกย่องคน ที่ควรยกย่อง.

ข้าแต่พระองค์ ผู้จอมพลรถ พระองค์จงทรง พร่ำสอนเหตุผลแก่ชาวชนบทเอง เจ้าหน้าที่ผู้เก็บภาษี อากร ผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม อย่ายังพระราชทรัพย์ และรัฐสีมาของพระองค์ให้พินาศ.

อนึ่ง พระองค์อย่าทรงทำเอง หรืออย่าทรงใช้ คนอื่นให้ทำกิจทั้งหลายโดยฉับพลัน เพราะว่าการงาน ที่ทำลงไปโดยฉับพลัน ไม่ดีเลย คนเขลาย่อมเดือด ร้อนในภายหลัง.

พระองค์อย่าทรงล่วงเลยกุศล อย่าทรงปล่อย พระทัยให้เกรี้ยวกราดนัก เพราะว่า สกุล ที่มั่นคงเป็น อันมาก ได้ถึงความไม่เป็นสกุล เพราะความโกรธ.

ข้าแต่เสด็จพ่อ พระองค์อย่าทรงนึกว่าเราเป็น ใหญ่ แล้วยังมหาชนให้หยั่งลงเพื่อความฉิบหาย กำไร คือความทุกข์ อย่าได้มีแก่สตรีและบุรุษของพระองค์ เลย.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 560

โภคสมบัติทั้งปวงของพระราชา ผู้ปราศจาก ความหวาดเสียว แส่หากามารมณ์ ย่อมพินาศหมด ข้อนั้นนักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า เป็นความทุกข์ของ พระราชา.

ข้อความที่หม่อมฉันกราบทูล ในปัญหาของ พระองค์นั้น เป็นวัตรบท นี่แหละเป็นอนุสาสนี ข้าแต่ พระมหาราชา บัดนี้ พระองค์โปรดทรงบำเพ็ญบุญ อย่าเป็นนักเลง อย่าทรงราชทรัพย์ให้พินาศ จงทรง ศีล เพราะว่าคนทุศีลย่อมตกต่ำ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปทกานิ เป็นบทระบุเหตุ. บทว่า ยตฺถ ความว่า หิตสุขอันเป็นผลเกิดแล้วทั้งหมด ตั้งมั่นอยู่ในบททั้งสองเหล่าใด. บทว่า อลทฺธสฺส ความว่า ความได้ลาภที่ยังไม่ได้แล้วในก่อน ๑ การตาม รักษาลาภที่ได้แล้ว ๑. อธิบายว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ขึ้นชื่อว่าการยังลาภที่ยังไม่ เกิดให้เกิดขึ้น ก็เป็นภาระ ส่วนการตามรักษาลาภที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นภาระ เหมือนกัน เพราะว่า คนบางคน แม้ยังยศให้เกิดขึ้นแล้ว มัวเมาในยศ เกิด ความประมาท ทำความชั่ว มีปาณาติบาตเป็นต้น เป็นมหาโจร เที่ยวปล้น แว่นแคว้นอยู่ ถ้าพระราชาตรัสสั่งให้จับมาได้ ต้องลงพระอาชญาให้ถึงมหา พินาศ.

อีกอย่างหนึ่ง คนบางคน มัวเมาในกามคุณ มีรูปที่เกิดแล้ว เป็นต้น ผลาญทรัพย์สินโดยไม่แยบคาย เมื่อสิ้นเนื้อประดาตัว ก็ต้องเป็น คนกำพร้า นุ่งผ้าเปลือกไม้ ถือกระเบื้องเที่ยวขอทาน หรืออีกนัยหนึ่ง บรรพชิต ยังลาภสักการะให้เกิดด้วยอำนาจคันถธุระเป็นต้น แล้วมัวเมาเวียน

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 561

มาเพื่อหินเพศ บางรูปแม้เจริญปฐมฌานเป็นต้นให้เกิดแล้ว ติดอยู่ในอารมณ์ เช่นนั้น เพราะความเป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน ย่อมเสื่อมจากฌานการรักษายศ หรือรักษาตามได้ฌานเป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นแล้วเป็นของยากอย่างยิ่ง อนึ่ง เพื่อ จะแสดงความข้อนั้น ควรแสดงเรื่องของพระเทวทัต และควรแสดงเรื่องมุทุ ลักขณชาดก โลมกัสสปชาดก หาริตชาดก และสังกัปปชาดก.

ส่วนคนบางคน ยังลาภสักการะให้เกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ในความไม่ ประมาท กระทำกรรมอันงาม ยศของบุคคลนั้นย่อมเจริญ เหมือนพระจันทร์ ในศุกลปักษ์ ฉะนั้น ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เพราะฉะนั้น พระองค์อย่าประมาท ดำรงอยู่ในปโยคสมบัติ ดำรงราชย์โดยธรรม ตามรักษาพระเกียรติยศ ของพระองค์ที่บังเกิดขึ้นแล้วเถิด.

บทว่า ชานาหิ ความว่า เพื่อกระทำการงานมีหน้าที่ขุนคลังเป็นต้น พระองค์จงทรงใคร่ครวญ. บทว่า อนกฺขากิตเว ความว่า โปรดตรวจดู หมู่อำมาตย์ ที่ไม่ใช่คนเล่นเบี้ย ไม่ใช่คนโกง คือไม่ใช่นักเลงการพนัน และ ไม่เป็นคนหลอกลวง. บทว่า อโสณฺเฑ ความว่า เป็นคนเว้นจากความเป็น นักเลงเหล้า และนักเลงทางของหอมและระเบียบ. บทว่า อวินาสเก ความว่า มิใช่ผู้ที่จะยังธนสาร และธัญญาหารเป็นต้น อันเป็นราชทรัพย์ให้ฉิบหาย.

บทว่า โย ได้แก่ อำมาตย์คนใด. บทว่า ยญฺเจว ความว่า อำมาตย์ใดพึงรักษาราชทรัพย์ อันมีอยู่ในพระราชวังของพระองค์ได้. บทว่า สูโตว ความว่า ดุจสารถีขับรถ อธิบายว่า นายสารถี เมื่อยึดม้าไว้เพื่อห้าม ทางที่ไม่เรียบ พึงยึดรถไว้ฉันใด อำมาตย์ใดเป็นฉันนั้น สามารถเพื่อจะ รักษาพระองค์ พร้อมด้วยโภคสมบัติได้ อำมาตย์นั้นชื่อว่าเป็นอำมาตย์ของพระองค์ พระองค์ควรยึดอำมาตย์เช่นนั้นไว้ ตรัสสั่งให้กระทำราชกิจ เช่นหน้าที่ ขุนคลังเป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 562

บทว่า สุสงฺคหีตนฺตชโน ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ เพราะว่า อันใดชน และปริชนที่ใช้สอยในราชสำนักส่วนพระองค์ ของพระราชาใด มิได้รับความสงเคราะห์ด้วยทานเป็นต้น พระราชทรัพย์เช่นเงินทองเป็นต้น ภายในพระราชฐานของพระราชานั้น ย่อมจะพินาศลง ด้วยอำนาจแห่งมนุษย์ ที่ไม่ได้รับการสงเคราะห์เหล่านั้น ต่างก็จะพากันไปเสียภายนอก เพราะเหตุนั้น พระองค์โปรดทรงสงเคราะห์อันโตชนด้วยดี ควรตรวจตราพระราชทรัพย์ของ พระองค์เองให้รู้ว่า ทรัพย์ของเรามีจำนวนเท่านี้แล้ว ไม่ควรจัดการแม้กิจ ทั้งสองอย่างว่า เราจะฝังขุมทรัพย์ไว้ในที่โน้น เราจะใช้หนี้แก่คนโน้น.

บทว่า ปรปตฺติยา ความว่า นางนกกุณฑลินีกล่าวว่า พระองค์ อย่าได้ทรงทำแม้ด้วยความไว้วางใจผู้อื่น ควรจัดการราชกิจทั้งหมด ที่ประจักษ์ แก่พระองค์เท่านั้น.

บทว่า อายํ วยํ ความว่า พระองค์ควรจะทราบรายได้ที่เกิดจาก ทางนั้นๆ และควรทราบรายจ่ายที่ควรพระราชทานแก่คนต่างๆ ด้วยพระองค์ เองทีเดียว. บทว่า กตากตํ ความว่า ในสงคราม ในนวกรรม หรือใน ราชกิจอื่นๆ พระองค์ควรจะทราบแม้ข้อราชการนี้ด้วยพระองค์เองทีเดียวว่า กิจนี้เราต้องทำด้วยราชทรัพย์ส่วนนี้ กิจนี้ไม่ต้องทำด้วยราชทรัพย์ โปรดอย่าได้ ไว้วางใจผู้อื่น. บทว่า นิคฺคณฺเห ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ธรรมดาพระราชา ต้องทรงพิจารณา ชำระซึ่งคนผู้ทำการตัดที่ต่อเป็นต้น อันเป็นผู้ควรข่ม ที่เขา นำมาแสดง ควรตรวจสอบดูตัวบทกฎหมายที่พระราชาก่อนๆ ตราไว้ แล้วจึง ทรงลงพระราชอาชญาตามสมควรแก่โทษ. บทว่า ปคฺคณฺเห ความว่า อนึ่ง บุคคลใดเป็นคนควรยกย่อง จะเป็นคนทำลายกำลังของปรปักษ์ที่ใครๆ ทำลาย ไม่ได้ก็ตาม จะเป็นคนที่ปลุกปลอบกำลังฝ่ายตนที่แตกแล้วก็ตาม จะเป็นคนที่

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 563

นำราชสมบัติที่ยังไม่ได้มาถวายก็ตาม คนที่ทำราชสมบัติอันได้มาแล้วให้ถาวร ก็ตาม หรือว่าผู้ใดช่วยพระชนมชีพไว้ได้ พระราชาทรงยกย่องบุคคลเช่นนี้ ซึ่งเป็นคนควรยกย่องแล้ว ควรตรัสสั่งให้กระทำ สักการะ สัมมานะอย่างใหญ่ เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้คนอื่นๆ ก็จักถวายชีวิตกระทำซึ่งกิจที่ควรทำในราชกิจของ พระราชานั้น.

บทว่า ชานปทํ ทามว่า พระองค์จงทรงอนุศาสน์พร่ำสอนอรรถธรรมแก่ชาวชนบทด้วยพระองค์เอง โดยเงื่อนไขอันประจักษ์แก่พระองค์นั่นเอง. บทว่า อธมฺมิกา ยุตฺตา ความว่า พนักงานข้าราชการผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม รับสินบนในที่นั้นๆ แล้วกลับคำพิพากษา อย่ายังพระราชทรัพย์ และแว่นแคว้น ของพระองค์ให้พินาศไปเลย ด้วยเหตุนี้ พระองค์อย่าประมาท จงอนุศาสน์ พร่ำสอนด้วยพระองค์เองทีเดียว.

บทว่า เวเคน ความว่า พระองค์ยังไม่ได้ทรงสอบสวน ยังไม่ได้ ทรงพิจารณา อย่าทรงกระทำหรือรับสั่งให้ทำโดยผลุนผลัน. บทว่า เวคสา ความว่า เพราะกรรมที่มิได้พิจารณา ทำไปโดยผลุนผลัน ด้วยอำนาจฉันทาคติ เป็นต้น ไม่ดีไม่งามเลย. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า คนโง่ทำกรรมเช่นนั้น ภายหลังย่อมเดือดร้อนในโลกนี้ ด้วยอำนาจความวิปฏิสารและเมื่อเสวยทุกข์ ในอบายย่อมเดือดร้อนในโลกเบื้องหน้า. ก็ความข้อนี้ บัณฑิตพึงแสดงด้วย กุรุชาดกซึ่งมีใจความ มีอาทิว่า เราได้ยินว่า พระเจ้ากุรุราชทรงทำความผิด ต่อพระฤาษีทั้งหลายดังนี้.

บทว่า มา เต อธิสเร มุจฺจ สุพาฬฺหมธิโกปิตํ ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ พระองค์อย่าทรงปล่อยพระหฤทัยให้ขุ่นเคืองโกรธกริ้วเกินไป ในเพราะอกุศลกรรมของผู้อื่น อันล่วงเลยกุศลเป็นไป คืออย่าให้ดำรงอยู่ได้.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 564

ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ เมื่อใด พวกราชบุรุษกราบทูลแสดงโจร ต่อพระองค์ผู้สถิตอยู่ ณ ที่วินิจฉัยว่า เจ้านี่ฆ่าคน หรือว่าเจ้านี่ตัดที่ต่อ เมื่อนั้น โปรดอย่าปล่อยพระทัย แม้ที่ทรงขุ่นเคืองเต็มที่ ด้วยถ้อยคำของผู้อื่น ด้วยอำนาจทรงพระพิโรธ ยังมิได้ทรงสอบสวน แล้วอย่าได้ทรงลงพระอาญา. เพราะเหตุไร? เพราะว่า เขาจับคนที่มิใช่โจร หาว่าเป็นโจรนำมาก็ได้ ฉะนั้น อย่าทรงพิโรธโปรดสดับถ้อยคำของผู้ที่เป็นโจทก์และจำเลยทั้งสองฝ่าย ทรงชำระ ด้วยดี รู้ว่าเขาเป็นโจรโดยประจักษ์ด้วยพระองค์แล้ว จึงโปรดกระทำสิ่งที่ควร กระทำ ด้วยสามารถแห่งอาชญา ที่ตราไว้ตามพระราชประเพณี ก็ถึงแม้เมื่อ เกิดความโกรธขึ้นแล้ว พระราชายังมิได้กระทำพระทัยให้เย็นก่อน ไม่ควรทำ การวินิจฉัย ต่อเมื่อใดพระหทัยเยือกเย็น ดับร้อน อ่อนโยน เมื่อนั้นจึงควร ทำการวินิจฉัย เพราะเมื่อจิตหยาบคาย เหตุผลย่อมไม่ปรากฏ เหมือนเมื่อ น้ำเดือดพล่าน เงาหน้าก็ไม่ปรากฏฉะนั้น. บทว่า โกธสา หิ ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ราชตระกูลทังหลาย ที่มั่งคั่งมากมาย ถึงความไม่เป็นตระกูล คือถึงความมหาพินาศทีเดียว ก็เพราะความโกรธ เพราะเหตุนั้น ก็เพื่อจะ แสดงเนื้อความนี้ ควรกล่าวถึงขันติวาทีชาดก เรื่องพระเจ้านาฬิกีรราช และ เรื่องท้าวอรชุนผู้มีกรพันหนึ่งเป็นต้น.

บทว่า ปตารยิ ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ พระองค์อย่าทรงยังมหาชน ให้หมกมุ่น หยั่งลงสู่กายทุจริตเป็นต้น เพื่อความฉิบหาย โดยทรงนึกว่าเรา เป็นใหญ่ในแผ่นดิน บุคคลถือเอาทุจริตอันเป็นความฉิบหาย ประพฤติฉันใด พระองค์อย่าได้ทรงกระทำฉันนั้น. บทว่า มา เต อาสิ ความว่า ข้าแต่ เสด็จพ่อ ในแว่นแคว้นของพระองค์ ขอการได้รับทุกข์ คือความถึงซึ่งทุกข์ อย่าได้มีแก่หญิงชายเลย ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชายก็ตามที. อธิบายว่า ประชาชน

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 565

ในแว่นแคว้นของพระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม พากันกระทำกายทุจริตเป็นต้น ย่อมเกิดในนรกฉันใด สำหรับชาวแว่นแคว้นของพระองค์อย่าได้มีฉันนั้นเลย คือความทุกข์เช่นนั้น จะไม่มีแก่ชาวแว่นแคว้นของพระองค์โดยวิธีใด โปรด ทรงกระทำโดยวิธีนั้นเถิด.

บทว่า อเปตโลมหํสสฺส ความว่า ผู้ปราศจากภัย เพราะภัยมี การติเตียนตนเป็นต้น. ด้วยบทนี้ นางนกกุณฑลินีแสดงความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ พระราชาใด ทรงทำความหวังในอารมณ์อะไรแล้ว ทรงระลึกถึงแต่ความใคร่ ของพระองค์อย่างเดียว ทรงปรารถนาสิ่งใด ก็ทำสิ่งนั้นด้วยอำนาจฉันทะ ความพอใจ เป็นเหมือนคนตาบอดทิ้งไม้เท้า และเหมือนช้างดุไม่มีขอสับ โภคสมบัติทั้งปวงของพระราชานั้น ผู้ปราศจากภัยเช่นการติเตียนเป็นต้น ย่อม ฉิบหายไป ความฉิบหายของโภคะนั้น ท่านกล่าวว่า เป็นทุกข์ของพระราชา พระองค์นั้น. คำว่า ในปัญหานั้น เนื้อความที่กราบทูลมานั้นเป็นวัตรบทดังนี้ ควรประกอบโดยนัยก่อนนั้นเถิด.

บทว่า ทุกฺขสฺสุทาทานิ ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ พระองค์ทรงสดับ อนุสาสนีนี้แล้ว บัดนี้ พึงเป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้าน ทรงสร้างบุญกุศล เหตุ บำเพ็ญบุญกุศล อย่าเป็นนักเลงสุรา เหตุบริหารด้วยสุราเป็นต้น อย่ายังพระองค์ ให้พินาศ เหตุยังประโยชน์ปัจจุบันและสัมปรายิกภพให้ฉิบหาย. บทว่า สีลวสฺสุ ความว่า พระองค์จงเป็นผู้ทรงศีลสมบูรณ์ด้วยอาจารมรรยาท ดำรงอยู่ใน ทศพิธราชธรรมเสวยราชสมบัติ. บทว่า ทุสฺสีโล วินิปาติโก ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เพราะคนทุศีล เมื่อยังตนให้ตกไปในนรกย่อมเป็นผู้ ชื่อว่า ทำตนให้ตกไปในที่ชั่ว.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 566

แม้เจ้านกกุณฑลินี แสดงธรรมด้วยคาถา ๑๑ คาถาด้วยประการอย่างนี้ พระราชาทรงดีพระทัย ตรัสเรียกอำมาตย์มารับสั่งถามว่า ดูก่อนท่านอำมาตย์ ผู้เจริญทั้งหลาย เราควรทำกิจอันใดแก่เจ้ากุณฑลินี ราชธิดาของเราผู้กล่าวธรรมอยู่ อย่างนี้?

พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ควรกระทำโดยการมอบตำแหน่งขุนคลังให้ พระเจ้าข้า. ตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นเราจะให้หน้าที่การงานตำแหน่งขุนคลังแก่ธิดา ของเรา แล้วทรงแต่งตั้งนางนกกุณฑลินีไว้ในฐานันดรศักดิ์. นับแต่นั้นมา นางนกกุณฑลินี ก็ดำรงอยู่ในตำแหน่งขุนคลัง ได้ทำการสนองราชกิจของ พระราชบิดา.

จบกุณฑลินีปัญหา

ล่วงมาอีกสองสามวัน พระราชาส่งทูตไปยังสำนักของเจ้าชัมพุกบัณฑิต โดยนัยก่อนนั้นเอง แล้วเสด็จไปในสำนักของนกชัมพุกบัณฑิตนั้น ในวันที่เจ็ด ทรงเสวยสมบัติแล้วเสด็จกลับมา ประทับ ณ ที่ท่ามกลางมณฑปนั้นเอง. ครั้งนั้น อำมาตย์เชิญเจ้าชัมพุกบัณฑิต จับบนตั่งทอง แล้วเอาศีรษะทูลตั่งทองมาเฝ้า พระราชา. เจ้าชัมพุกบัณฑิตจับบนพระเพลาของพระราชบิดา เล่นหัวแล้วจับ ที่ตั่งทองดังเดิม.

ลำดับนั้น เมื่อพระราชาจะตรัสถามปัญหากะเจ้าชัมพุกบัณฑิต จึงตรัส พระคาถาความว่า

พ่อชัมพุกะ พ่อได้ถามปัญหากะเจ้าโกสิยโคตร และเจ้ากุณฑลินีมาเช่นเดียวกันแล้ว ชัมพุกลูกรัก คราวนี้ เจ้าจงบอกกำลัง อันสูงสุดกว่ากำลังทั้งหลาย บ้างเถิด.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 567

พระคาถานั้น มีอรรถาธิบายดังนี้ แน่ะพ่อชัมพุกะ พ่อได้ถามราชธรรม กะเจ้าเวสสันดรโกสิยโคตรผู้พี่ชายของเจ้า และนางกุณฑลินีผู้พี่สาวของเจ้า แล้ว ทั้งสองต่างก็ตอบตามกำลังปัญญาของตนๆ อนึ่ง พ่อถามพี่ชายและ พี่สาวของเจ้าอย่างใด ชัมพุกะลูกรัก บัดนี้พ่อจะถามเจ้าอย่างนั้นเหมือนกัน เจ้าจงบอกราชธรรมนั้น กับกำลังอันสูงสุดกว่ากำลังทั้งหลายด้วยเถิด.

พระราชา เมื่อตรัสถามปัญหากะพระมหาสัตว์อย่างนี้ หาได้ตรัสถาม โดยทำนองที่ตรัสถามนกอื่นๆ ไม่ ดำรัสถามให้พิเศษขึ้นไป. ลำดับนั้น นก ชัมพุกบัณฑิตทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ถ้ากระนั้น ขอพระองค์จงเงี่ย พระโสตลงสดับ ข้าพระพุทธเจ้าจักกล่าวปัญหาทั้งปวงถวายแด่พระองค์ ดังนี้ แล้วเป็นประดุจว่า บอกถุงทรัพย์พันหนึ่ง กะฝูงชนที่เหยียดมือออกรับฉะนั้น เริ่มแสดงธรรมเป็นคาถา ความว่า

กำลังในบุรุษผู้มีอัธยาศัยใหญ่ในโลกนี้ มี ๕ ประการ ในกำลัง ๕ ประการนั้น กำลังแขน บัณฑิต กล่าวว่า เป็นกำลังต่ำทราม ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเจริญ พระชนม์ กำลังโภคทรัพย์ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นกำลัง ที่สอง.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญชนม์ กำลังอำมาตย์บัณฑิต กล่าวว่า เป็นกำลังที่สาม กำลังคือมีชาติยิ่งใหญ่ เป็น กำลังที่สี่โดยแท้ บัณฑิตย่อมยึดเอากำลังทั้งหมดนี้ไว้- ได้.

กำลังปัญา บัณฑิตกล่าวว่าเป็นกำลังประเสริฐ ยอดเยี่ยมกว่ากำลังทั้งหลาย เพราะว่าบัณฑิตอันกำลัง ปัญญาสนับสนุนแล้ว ย่อมได้ซึ่งประโยชน์.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 568

ถ้าบุคคลมีปัญญาทราม แม้ได้แผ่นดินอัน สมบูรณ์ เมื่อไม่ประสงค์ คนอื่นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ก็ข่มแข่งเอาแผ่นดินนั้นเสีย.

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมชนชาวกาสี ถ้าบุคคล แม้เป็นผู้มีชาติสูง ได้ราชสมบัติแล้วเป็นกษัตริย์ แต่ มีปัญญาทราม หาเป็นอยู่ด้วยราชสมบัติทุกอย่างได้ไม่. ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยเรื่องที่ได้สดับ ปัญญาเป็น เครื่องยังเกียรติยศ และลาภสักการะให้เจริญ คนใน โลกนี้ประกอบด้วยปัญญาแล้ว แม้เมื่อทุกข์เกิดขึ้น ก็ย่อมได้รับความสุข.

ก็คนบางคนไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่อาศัยผู้เป็น พหูสูต ซึ่งตั้งอยู่ในธรรม ไม่พิจารณาเหตุผล ย่อม ไม่ได้บรรลุปัญญา.

อนึ่ง ผู้ใดรู้จักจำแนกธรรม ลุกขึ้นในเวลาเช้า ไม่เกียจคร้าน ย่อมบากบั่นตามกาล ผลแห่งการงาน ของบุคคลนั้น ย่อมสำเร็จ.

ประโยชน์แห่งการงานของบุคคลผู้มีศีลมิใช่บ่อ เกิด ผู้คบหาบุคคลที่มิใช่บ่อเกิด ผู้มีปกติเบื่อหน่าย ทำการงาน ย่อมไม่เผล็ดผลโดยชอบ.

ส่วนประโยชน์แห่งการงานของบุคคล ผู้ประกอบธรรมอันเป็นภายใน คบหาบุคคลที่เป็นบ่อเกิด อย่างนั้น ไม่มีปกติเบื่อหน่ายทำการงาน ย่อมเผล็ดผล โดยชอบ.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 569

ข้าแต่เสด็จพ่อ ขอพระองค์จงทรงเสวนปัญญา อันเป็นส่วนแห่งการประกอบความเพียร เป็นเครื่อง ตามรักษาทรัพย์ที่รวบรวมไว้ และเหตุสองประการ ข้างต้น ที่ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลแล้วนั้นเถิด อย่าได้ ทรงทำลายทรัพย์สินเสีย ด้วยการงานอันไม่สมควร เพราะคนมีปัญญาทราม ย่อมล่มจมด้วยการงานอันไม่ สมควร ดังเรือนไม้อ้อฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหคฺคเต ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า กำลังในบุรุษผู้มีอัธยาศัยใหญ่ ในสัตว์โลกนี้ มี ๕ อย่าง. บทว่า พาหุพลํ ได้แก่ กำลังกาย. บทว่า จริมํ ความว่า กำลังกายนั้น แม้เป็นของยิ่งใหญ่ ก็เป็นของเลวทรามอยู่นั่นเอง. เพราะเหตุไร? เพราะเป็นกำลังของอันธพาล. อธิบายว่า ถ้าหากกำลังกายจะชื่อว่าเป็นใหญ่จริง กำลังของนางนกไส้ก็ย่อม เยากว่ากำลังของช้าง แต่กำลังของช้างเป็นปัจจัยแห่งความตาย เพราะเป็น กำลังอันธพาล นางนกไส้ยังช้างให้ถึงความสิ้นชีวิตได้ เพราะมันเป็นสัตว์ ฉลาดในความรู้. แต่ในความข้อนี้ กิจด้วยกำลังในที่ทุกสถานไม่มีเลย. ควรนำ พระสูตรที่ว่า พลํ หิ พาลสฺส วธาย โหติ แปลว่า แท้จริงกำลังย่อมมีไว้ เพื่อฆ่าคนโง่ ดังนี้เป็นต้นมาแสดง.

บทว่า โภคพลํ ความว่า กำลังอันเกิดแต่เครื่องอุปโภคเช่นเงินทอง เป็นต้นทั้งหมด ชื่อว่ากำลังคือโภคสมบัติ กำลังโภคสมบัตินั้น ใหญ่กว่ากำลัง กาย ด้วยอำนาจเป็นเครื่องค้ำจุน. ความมีชมรมอำมาตย์ อันมีมนต์ไม่ทำลาย มีความแกล้วกล้า มีหทัยดี ชื่อว่ากำลังคืออำมาตย์. กำลังคืออำมาตย์นั้น เป็นกำลังใหญ่กว่ากำลังสองอย่างข้างต้น เพราะความที่อำมาตย์เป็นผู้แกล้วกล้า

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 570

ในสงคราม. ความถึงพร้อมแห่งชาติ ด้วยสามารถแห่งตระกูลกษัตริย์ ก้าวล่วง เสียซึ่งตระกูลทั้งสาม ชื่อว่า กำลังคือความเป็นผู้มีชาติสูง. กำลังคือความเป็นผู้ มีชาติสูงนั้นใหญ่กว่ากำลังนอกนี้ เพราะว่า ชนผู้ถึงพร้อมด้วยชาติเท่านั้น ย่อมบริสุทธิ์ ชนนอกนี้หาบริสุทธิ์ไม่.

บทว่า ยานิ เจตานิ ความว่า บัณฑิตย่อมยึดคือย่อมครอบงำ กำลังแม้ทั้ง ๔ อย่างเหล่านี้ ได้ด้วยอานุภาพแห่งกำลังใด กำลังนั้นได้แก่ กำลังปัญญา ท่านกล่าวว่าเป็นของประเสริฐ ว่าเป็นยอดแห่งกำลังทั้งปวง. เพราะ เหตุไร เพราะบัณฑิตอันกำลังชนิดนั้นค้ำจุน ย่อมได้ซึ่งประโยชน์ คือย่อมถึง ซึ่งความเจริญ. เพื่อจะยังเนื้อความนั้นให้สว่างแจ่มแจ้ง ควรแสดงปุณณนที ชาดก ที่ว่า ปุณฺณนทึ เยน จ เปยฺยนาหุ แปลว่า ก็ชนทั้งหลายกล่าว ถึงแม่น้ำที่เต็มฝั่งว่า อันสัตว์ใดพึงดื่มได้ดังนี้เป็นต้น และพึงแสดงสิริกาฬ- กัณณปัญหา ปัญจบัณฑิตปัญหา สัตตุภัสตชาดก สัมภวชาดก และสรภังคชาดก เป็นต้น.

บทว่า มนฺโท ได้แก่ คนมีปัญญาทรามคือคนโง่. บทว่า ผีตํ ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ บุคคลผู้มีปัญญาทราม แม้หากได้ธรณีอันอุดม สมบูรณ์ไปด้วยรัตนะ ๗ ไซร้ เมื่อไม่ปรารถนาเลยทีเดียว บุคคลอื่นผู้สมบูรณ์ ด้วยปัญญา กระทำการข่มขู่แล้วครอบครองธรณีนั้นได้ เพราะคนมีปัญญาทราม ย่อมไม่สามารถเพื่อจะรักษายศที่ได้แล้ว หรือว่าไม่สามารถเพื่อจะได้ราชสมบัติ อันเป็นมรดกของตระกูล หรือที่มาถึงแล้วโดยประเพณี อันมั่งคั่งสมบูรณ์. เพื่อจะขยายความนั้นให้แจ่มแจ้ง บัณฑิตควรแสดงปาทัญชลิชาดก ที่ว่า อทฺธา ปาทญฺชลี สพฺเพ ปญฺาย อติโรจติ แปลว่า ปาทัญชลีราชกุมารย่อม ไพโรจน์ล่วงเราทั้งปวง ด้วยปัญญาแน่นอน ดังนี้เป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 571

บทว่า ลทฺธาน ความว่า บุคคลอาศัยชาติสมบัติแล้ว แม้จะได้ ราชสมบัติอันเป็นของตระกูล. บทว่า สพฺเพนปิ ความว่า คนมีปัญญาทราม ย่อมเป็นอยู่ด้วยราชสมบัติทั้งสิ้นไม่ได้ คือย่อมเป็นผู้ถึงความลำบาก เพราะ ความเป็นผู้ไม่ฉลาดในอุบาย. พระมหาสัตว์กล่าวโทษของชนผู้มีใช่บัณฑิต โดยฐานะเท่านี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะสรรเสริญปัญญา จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปญฺา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุตํ ได้แก่ สุตปริยัติ การเล่าเรียนด้วย การฟัง. แท้จริงปัญญานั่นเอง ย่อมวินิจฉัยสิ่งที่ได้ยินได้ฟังนั้น. บทว่า กิตฺติสิโลกวฑฺฒนี ได้แก่ เป็นเครื่องเจริญแห่งเกียรติยศชื่อเสียง และลาภ สักการะ. บทว่า ทุกฺเข สุขานิ วินฺทติ ความว่า บุคคลผู้ประกอบด้วยปัญญา แม้เมื่อทุกข์เกิดขึ้น ย่อมเป็นผู้ปลอดภัยกลับได้ความสุข เพราะเป็นผู้ฉลาดใน อุบาย. เพื่อจะแสดงความนั้น ควรแสดงชาดก ซึ่งเป็นคาถามีใจความมีอาทิว่า

ดูก่อนพญาวานร ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ ของ บุคคลใด เหมือนของท่านเพียงพอ ด้วยมะม่วง ชมพู่ และขนุนเหล่านี้.

บทว่า อสุสฺสาสํ ความว่า ไม่เข้าไปใกล้ ไม่ฟังบุคคลผู้เป็นบัณฑิต. บทว่า พหุสฺสุตํ อนาคมฺม ความว่า ไม่เชื่อถ้อยคำของเขา. บทว่า ธมฺมฏฺํ ความว่า ตั้งอยู่ในสภาพเหตุผล. บทว่า อวินิพฺภชํ ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ใครๆ ไม่หยั่งดู คือไม่พิจารณาดูว่า เป็นประโยชน์หรือไม่เป็น มีเหตุผล หรือไม่มี ย่อมไม่ได้ซึ่งปัญญา.

บทว่า ธมฺมวิภงฺคญฺญู ความว่า เป็นผู้ฉลาดในกุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า กาลุฏฺายี ความว่า กระทำความเพียรในกาลอันควรกระทำความเพียร.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 572

บทว่า อนุฏฺหติ ความว่า ย่อมกระทำซึ่งกิจนั้นๆ ในกาลนั้นๆ. บทว่า ตสฺส ความว่า ผลแห่งกรรมของบุคคลนั้นย่อมสำเร็จ คือย่อมเผล็ดผล.

บทว่า อนายตนสีลสฺส ความว่า กรรมคือความเป็นผู้ทุศีล มิใช่ บ่อเกิดแห่งลาภยศและความสุข ท่านเรียกว่ากรรมมิใช่บ่อเกิด เมื่อบุคคลผู้มี ปกติอย่างนั้น คือบุคคลผู้ประกอบด้วยกรรม คือความเป็นผู้ทุศีลนั้น คบหา อยู่ซึ่งบุคคลผู้ทุศีล ซึ่งเป็นผู้มิใช่บ่อเกิดอย่างเดียว ในกาลเป็นที่กระทำกุศล กรรม. บทว่า นิพฺพินฺทิยการิสฺส ความว่า ผู้เบื่อหน่าย เอือมระอาใจ กระทำการ. อธิบายว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ประโยชน์แห่งการงานของบุคคลเห็น ปานนี้ ย่อมไม่เผล็ดผล คือไม่สำเร็จโดยชอบ ได้แก่ไม่นำไปสู่ฉกามาวจร สวรรค์ อันเป็นยอดแห่งสกุลทั้งสาม.

บทว่า อชฺฌตฺตญฺจ ความว่า เมื่อบุคคลประกอบซึ่งนิยกัชฌตธรรม ของตน ด้วยสามารถแห่งความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น. บทว่า ตถายตนเสวิโน ความว่า คบหาบุคคลผู้มีปกติเช่นนั้นอย่างเดียว. บทว่า วิปจฺจติ ความว่า ประโยชน์ของเขาย่อมสำเร็จโดยชอบ คือย่อมให้ซึ่งยศอันยิ่งใหญ่.

บทว่า โยคปฺปโยคสงฺขาตํ ได้แก่ ปัญญาอันเป็นส่วนแห่งการ ประกอบ ในเหตุการณ์อันสมควรประกอบ ในเพราะความเพียร. บทว่า สมฺภุตสฺส ความว่า จงเสพการตามรักษาทรัพย์ ที่ทำการรวบรวมไว้. บทว่า ตานิ ตฺวํ ความว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ขอพระองค์จงเสพการตามรักษาทรัพย์ ที่ทำการรวบรวมไว้ โปรดเสพคำสอนสองข้อข้างต้นนี้ และเหตุผลทั้งหมด ดังที่ข้าพระพุทธเจ้าได้ทูลแล้ว จงกระทำโอวาทที่ทูลมาแล้วไว้ในพระหฤทัย แล้วทรงรักษาพระราชทรัพย์ ในพระคลังของพระองค์เถิด. บทว่า มา อกฺมฺมาย รนฺธยิ ความว่า พระองค์อย่าทรงทำลาย โดยทางอันไม่สมควร

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 573

ไม่มีเหตุผล คืออย่าเผาผลาญพระราชทรัพย์นั้น ได้แก่ อย่าทรงยังพระราช ทรัพย์นั้นให้พินาศ. เพราะเหตุไร? บทว่า อกมฺมุนา ความว่า เพราะ กระทำกรรมอันไม่สมควร บุคคลผู้มีปัญญาทราม ผลาญทรัพย์ของตนพินาศ แล้ว ภายหลังตกทุกข์ได้ยาก. บทว่า นฬาคารํว สีทติ ความว่า เรือนไม้อ้อ อันเก่าคร่ำคร่า ตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมล้มทลายไปตั้งแต่โคน ฉันใด คนมี ปัญญาทราม ผลาญทรัพย์ให้พินาศโดยไม่มีเหตุผล ย่อมบังเกิดในอบายฉันนั้น.

พระโพธิสัตว์ พรรณนากำลัง ๕ อย่าง โดยฐานะมีประมาณเท่านี้ อย่างนี้แล้ว ยกกำลังคือปัญญาขึ้นกล่าว เหมือนบุคคลนำมณฑลแห่งพระจันทร์ ไป เมื่อจะถวายโอวาทแก่พระราชา ด้วยคาถาทั้ง ๑๐ ในบัดนี้ จึงกล่าวคาถา ความว่า

ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติ ธรรม ในพระราชมารดา พระราชบิดา ครั้นทรง ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.

ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติ ธรรม ในพระราชโอรสและพระอัครมเหสี ครั้นทรง ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.

ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติ ธรรม ในมิตรและอำมาตย์ ครั้นทรงประพฤติธรรม ในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.

ข้าแต่พระมหาราช ขอพระองค์จงทรงประพฤติ ธรรม ในพาหนะและพลนิกาย ครั้นทรงประพฤติ ธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 574

ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติ ธรรม ในชาวบ้านและชาวนิคม ครั้นทรงประพฤติ ธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.

ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติ ธรรม ในสมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย ครั้นทรง ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.

ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติ ธรรม ในเนื้อและนก ครั้นทรงประพฤติธรรมใน โลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงประพฤติธรรม เพราะธรรมที่บุคคลประพฤติแล้ว ย่อม นำความสุขมาให้ ครั้นพระองค์ทรงประพฤติธรรมใน โลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.

ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติ ธรรม เพราะว่า พระอินทร์ ทวยเทพพร้อมทั้งพรหม ถึงทิพยสถานได้ด้วยธรรมอันตนประพฤติดีแล้ว ข้าแต่ บรมกษัตริย์ ขอพระองค์อย่าทรงประมาทธรรมเลย.

ในคาถาทั้ง ๑๐ นั้น พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑ ก่อน. บทว่า อิธ ธมฺมํ ความว่า ขอพระองค์จงทรงประพฤติมาตาปิตุอุปัฏฐานธรรม. พระ มหาสัตว์กล่าวว่า พระองค์โปรดเสด็จลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ แล้วจัดแจงน้ำบ้วนปาก และไม้สีฟันเป็นต้น กระทำการบริหารสรีรกิจทุกอย่าง ยังมาตาปิตุอุปัฏฐาน ธรรมให้เต็มบริบูรณ์.

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 575

บทว่า ปุตฺตทาเรสุ ความว่า บิดาห้ามบุตรธิดาจากความชั่วก่อน ให้ตั้งอยู่ในกรรมอันงาม ให้เล่าเรียนศิลปวิทยา ในเวลาเจริญวัย จัดการทำ อาวาหมงคล และวิวาหมงคล ด้วยตระกูลและวัยอันคู่ควรกัน มอบทรัพย์ให้ ในสมัย ชื่อว่าประพฤติธรรมในบุตรธิดา. สามียกย่องนับถือภรรยา ไม่ประพฤติ นอกใจ มอบความเป็นใหญ่ให้ ให้เครื่องประดับ ชื่อว่าประพฤติธรรมใน ภรรยา.

บทว่า มิตฺตามจฺเจสุ ความว่า พระราชาสงเคราะห์มิตรและอำมาตย์ ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความจริง ชื่อว่าประพฤติธรรม ในมิตรและอำมาตย์เหล่านั้น.

บทว่า พาหเนสุ พเลสุ จ ความว่า พระราชาพระราชทานสิ่งที่ ควรพระราชทาน แก่พาหนะเช่นช้างม้าเป็นต้น และแก่พลนิกาย ทำการเชิดชู ไม่ใช้ช้างม้าเป็นต้น ในการงาน ในเวลาแก่ ชื่อว่าประพฤติธรรมในพาหนะ และพลนิกายเหล่านั้น.

บทว่า คาเมสุ นิคเมสุ จ ความว่า พระราชาเมื่อไม่เบียดเบียน บีบคั้นชาวบ้านและชาวนิคม ด้วยอาชญาและส่วยสาอากร ชื่อว่าประพฤติธรรม ในชาวบ้านและชาวนิคมเหล่านั้น.

บทว่า รฏฺเสุ ชนปเทสุ จ ความว่า พระราชาเบียดเบียนชาว แว่นแคว้น และชาวชนบทให้ลำบาก โดยใช่เหตุ ไม่เข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเกื้อกูล ชื่อว่าประพฤติอธรรมในแว่นแคว้นและชนบทนั้น ถ้าไม่เบียดเบียนบีบคั้น แผ่ (เมตตา) ไปด้วยจิตเกื้อกูล ชื่อว่าประพฤติธรรมในแว่นแคว้นและชนบท นั้น.

บทว่า สมเณ พฺราหฺมเณสุ จ ความว่า พระราชาเมื่อพระราชทาน จตุปัจจัยแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ชื่อว่าประพฤติธรรมในสมณะและพราหมณ์.

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 576

บทว่า มิคปกฺเขสุ จ ความว่า พระราชาเมื่อพระราชทานอภัยแก่ สัตว์สี่เท้าและนกทั้งปวง ชื่อว่าประพฤติธรรมในมฤคชาติและหมู่ปักษีเหล่านั้น.

บทว่า ธมฺโม สุจิณฺโณ ความว่า ธรรมที่ประพฤติสม่ำเสมอ อันพระราชาประพฤติแล้ว คือ นิสัมมจริยธรรมอันพระราชาทรงประพฤติแล้ว. บทว่า สุขาวโห ความว่า ย่อมนำมาซึ่งความสุขในกุลสมบัติ ๓ และฉกามาวจรสวรรค์.

บทว่า สุจิณฺเณน ความว่า เพราะกายสุจริตเป็นต้น ที่พระองค์ทรง ประพฤติแล้วในโลกนี้ อันพระองค์ทรงประพฤติดีแล้ว. บทว่า ทิวํ ปตฺตา ความว่า พระอินทร์ เทพยดาพร้อมทั้งพรหม ไปสู่ทิพยสถาน กล่าวคือ เทวโลก และพรหมโลก ได้แก่เกิดเป็นผู้ได้ทิพยสมบัติ ในทิพยสถานนั้น. บทว่า มา ธมฺมํ ราช ปมาโท ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เพราะฉะนั้น พระองค์แม้ถึงจะต้องสละพระชนมชีพ ก็อย่าทรงประมาทซึ่งธรรม.

พระมหาสัตว์กล่าวคาถา แสดงธรรมจรรยาสิบอย่างดังนี้แล้ว เมื่อจะ โอวาทให้ยิ่งขึ้นไป จึงกล่าวคาถาสุดท้ายความว่า

ข้อความที่ข้าพระองค์กราบทูลแล้วในปัญหาของ พระองค์นั้น เป็นวัตรบท ข้อนี้แลเป็นอนุสาสนี ขอ พระองค์จงทรงคบหาสมาคม กับผู้มีปัญญา จงเป็นผู้ มีกัลยาณธรรม พระองค์ทรงทราบความข้อนั้นด้วย พระองค์เองแล้ว จงทรงปฏิบัติให้ครบถ้วนเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺเถว เต วตฺตปทา นี้ พึงประกอบ โดยนัยก่อนนั้นเทอญ. บทว่า สปฺปญฺเสวิ กลฺยาณี สมตฺตํ สาม ตํ วิทู ความว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์โปรดคบหาบุคคลที่มีปัญญาเป็นนิตยกาล

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 577

จงประกอบด้วยคุณอันงาม ทรงรู้แจ้งเองเต็มที่บริบูรณ์ คือทรงทราบชัด โดย ประจักษ์ด้วยพระองค์เองแล้ว โปรดปฏิบัติโอวาทตามที่ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูล แล้ว ตามที่ทูลพร่ำสอนเถิด.

พระมหาสัตว์แสดงธรรมด้วยพุทธลีลาอย่างนี้ ประหนึ่งเทพยเจ้าผู้วิเศษ ยังอากาศคงคาให้ตกลงมาฉะนั้น มหาชน ได้กระทำมหาสักการะ แล้วให้สาธุการ นับเป็นพัน. พระราชา ทรงดีพระทัย ตรัสเรียกอำมาตย์มาดำรัสถามว่า ดูก่อน อำมาตย์ผู้เจริญทังหลาย เจ้าชัมพุกบัณฑิตผู้มีจะงอยปากเสมอด้วยผลชมพู่อ่อน ซึ่งเป็นบุตรของเรา ผู้กล่าวอยู่อย่างนี้ เราควรทำการตอบแทนด้วยสิ่งใด? อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ขอเดชะ ควรทำการตอบแทนด้วยตำแหน่งเสนาบดี พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เราจักพระราชทานตำแหน่งเสนาบดี แก่เจ้าชัมพุกะนั้น แล้วทรงแต่งตั้งนกชัมพุกโพธิสัตว์ไว้ในฐานันดรศักดิ์ นับแต่ นั้นมา นกชัมพุกโพธิสัตว์ ดำรงอยู่ในตำแหน่งเสนาบดี ได้ทำการสนอง ราชกิจของพระราชบิดา. สักการะมากมายได้มีแก่นกทั้งสาม แม้นกทั้งสาม ก็พากันอนุศาสน์พร่ำสอนอรรถและธรรมถวายแด่พระราชา พระราชาทรงตั้ง อยู่ในโอวาทของมหาสัตว์ ทรงบำเพ็ญบุญกุศลมีทานเป็นต้น แล้วเป็นผู้มี สวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า. อำมาตย์ทั้งหลายพากันจัดการถวายพระเพลิง พระบรมศพของพระราชา แล้วแจ้งแก่นกทั้งสามกล่าวว่า ข้าแต่ท่านชัมพุกะ พระราชาได้ทรงทำราชพินัยกรรมให้ยกเศวตฉัตรแก่ท่าน. พระมหาสัตว์ตอบว่า เราไม่ต้องการด้วยราชสมบัติ ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาท ปกครองเถิด แล้วยังมหาชนให้ตั้งมั่นอยู่ในศีล แนะนำว่าพวกท่านพึงยังการวินิจฉัยธรรมให้ เป็นไปอย่างนี้ แล้วให้จารึกหลักการวินิจฉัยข้อธรรมลงในสุพรรณบัฏ แล้ว กลับเข้าสู่ป่า โอวาทของมหาสัตว์นั้นเป็นไปชั่วสี่หมื่นปี.

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 578

พระศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนานี้ ด้วยสามารถแห่งโอวาทแต่ พระราชา แล้วทรงประชุมชาดกว่าพระราชาในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอานนท์ นางนกกุณฑลินี ได้มาเป็นนางอุบลวรรณา นกเวสสันดร ได้มาเป็น พระสารีบุตร ราชอำมาตย์ได้มาเป็นพุทธบริษัท ส่วนนกชัมพุกะ ได้มาเป็น เราผู้ตถาคต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาเตสกุณชาดก