พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. อลัมพุสาชดก ว่าด้วยอิสิสิงคดาบส ถูกทำลายตบะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ส.ค. 2564
หมายเลข  35991
อ่าน  571

[เล่มที่ 61] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 632

๓. อลัมพุสาชดก

ว่าด้วยอิสิสิงคดาบส ถูกทําลายตบะ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 61]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 632

๓. อลัมพุสาชดก

ว่าด้วยอิสิสิงคดาบส ถูกทําลายตบะ

[๒๔๗๘] (พระศาสดาตรัสว่า) ครั้งนั้น พระอินทร์ ผู้เป็นใหญ่ ผู้ทรงครอบงำวัตรอสูร เป็นพระบิดา แห่งเทพบุตรผู้ชนะ ประทับนั่งอยู่ ณ สุธรรมเทวสภา รับสั่งให้เรียกนางอลัมพุสาเทพกัญญาเข้ามาเฝ้า.

[๒๔๗๙] (ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า) ดูก่อนนาง อลัมพุสา ผู้เจือปนด้วยกิเลสสามารถจะเล้าโลมฤาษีได้ เทวดาชั้นดาวดึงส์ พร้อมด้วยพระอินทร์ ขอร้องเจ้า เจ้าจงไปหาอิสิสิงคดาบสเถิด.

[๒๔๘๐] ดาบสองค์นี้ มีวัตรประพฤติพรหมจรรย์ ยินดียิ่งในนิพพานเป็นผู้เจริญ อย่าเพิ่งล่วงเลย พวกเราไปก่อนเลย เจ้าจงห้ามมรรคของเธอเสีย.

[๒๔๘๑] (นางอลัมพุสาทูลว่า) ข้าแต่พระเทวราช พระองค์ทรงทำอะไร ทรงมุ่งหมายแต่หม่อมฉัน เท่านั้น รับสั่งว่า แนะเจ้าผู้อาจจะเล้าโลมฤาษีได้ เจ้า จงไปเถิด ดังนี้ นางเทพอัปสรแม้อื่นๆ ก็มีอยู่.

นางเทพอัปสรผู้ทัดเทียมหม่อมฉัน หรือประเสริฐ กว่าหม่อมฉัน ก็มีอยู่ในนันทนวัน อันหาความเศร้าโศก มิได้ วาระคือการไป จงมีแก่นางเทพอัปสรเหล่านั้น แม้นางเทพอัปสรเหล่านั้น จงไปประเล้าประโลมเถิด.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 633

[๒๔๘๒] (ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า) เจ้าพูดจริง โดยแท้แล นางเทพอัปสรอื่นๆ ที่ทัดเทียมกับเจ้า และยิ่งกว่าเจ้า มีอยู่ในนันทนวัน อันหาความโศกมิได้.

ดูก่อนนางผู้มีอวัยวะงานทุกส่วน ก็แต่ว่า นาง เทพอัปสรเหล่านั้นไปถึงชายเข้าแล้ว ย่อมไม่รู้จักการ บำเรออย่างที่เจ้ารู้. ดูก่อนโฉมงาม เจ้านั่นแหละจงไป เพราะว่า เจ้าเป็นผู้ประเสริฐกว่าหญิงทั้งหลาย เจ้าจักนำดาบส นั้นมาสู่อำนาจได้ ด้วยผิวพรรณ และรูปร่างของเจ้าเอง.

[๒๔๘๓] (นางอลัมพุสาทูลว่า) หม่อมฉันอัน ท้าวเทวราชทรงใช้ จักไม่ไปหาได้ไม่ แต่หม่อมฉัน กลัวที่จะเบียดเบียนพระดาบสนั้น เพราะท่านเป็น พราหมณ์ มีเดชฟุ้งเฟื่อง.

ชนทั้งหลายมิใช่น้อย เบียดเบียนพระฤาษีแล้ว ต้องตกนรก ถึงสังสารวัฏฏ์เพราะความหลง เพราะเหตุ นั้น หม่อมฉันจึงต้องขนลุกขนพอง.

[๒๔๘๔] (พระศาสดาตรัสว่า) นางอลัมพุสา เทพอัปสร ผู้มีวรรณะน่ารักใคร่ ผู้เจือปนด้วยกิเลส ปรารถนาจะยังอิสิสิงคดาบสให้ผสม ครั้นกราบทูล อย่างนี้แล้ว ก็หลีกไป.

ก็นางอลัมพุสาเทพอัปสรนั้น เข้าไปยังป่าที่ อิสิสิงคดาบสรักษา อันดาดาษไปด้วยเถาตำลึงโดยรอบ ประมาณกึ่งโยชน์.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 634

นางได้เข้าไปหาอิสิสิงคดาบส ผู้กำลังปัดกวาด โรงไฟ ใกล้เวลาอาทิตย์อุทัย ก่อนเวลาอาหารเช้า

[๒๔๘๕] (อิสิสิงคดาบสกล่าวว่า) เธอเป็นใครหนอ มีรัศมีเหมือนสายฟ้า หรืองามดังดาวประกายพรึก มีเครื่องประดับแขนงามวิจิตร ล้วนแก้วมุกดา แก้วมณี และกุณฑล.

ประหนึ่งแสงพระอาทิตย์ มีกลิ่นจุรณจันทน์ ผิวพรรณดุจทองคำ ลำขางามดี มีมารยามากมาย กำลังแรกรุ่น สะคราญโฉม น่าดูน่าชม.

เท้าของเธอไม่เว้ากลาง อ่อนละมุน แสนสะอาด ตั้งลงด้วยดี การเยื้องกรายของเธอน่ารักใคร่ ทำใจ ของเราให้วาบหวามได้ทีเดียว.

อนึ่ง ลำขาของเธอเรียวงาม เปรียบเสมอด้วย งวงช้าง โดยลำดับ ตะโพกของเธอผึ่งผาย เกลี้ยงเกลา ดังแผ่นทองคำ.

นาภีของเธอตั้งลงเป็นอย่างดี เหมือนฝักดอกอุบล ย่อมปรากฏแต่ที่ไกล คล้ายเกสรดอกอัญชันเขียว.

ถันทั้งคู่เกิดที่ทรวงอก หาขั้วมิได้ ซึ่งทรงไว้ซึ่ง ขีรรสไม่หดเหี่ยว เต่งตั้งทั้งสองข้าง เสมอด้วยน้ำเต้า ครึ่งซีก.

คอของเธอประดุจเนื้อทราย ขาวคล้ายหน้าสุวรรณเภรี มีริมฝีปากเรียบงดงาม เป็นที่ตั้งแห่งมนะ ที่ ๔ คือ ชิวหา.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 635

ฟันของเธอทั้งข้างบนข้างล่าง ขัดสีแล้วด้วยไม้ ชำระฟัน เกิดสองคราวเป็นของหาโทษมิได้ ดูงามดี.

นัยน์ตาทั้งสองข้างของเธอดูดำขลับ มีสีแดงเป็น ที่สุด สีดังเม็ดมะกล่ำ ทั้งยาวทั้งกว้าง ดูงามนัก.

ผมที่งอกบนศีรษะของเธอไม่ยาวนัก เกลี้ยงเกลาดี หวีด้วยหวีทองคำ มีกลิ่นหอมฟุ้ง ด้วยกลิ่น จันทน์. กสิกรรม โครักขกรรม การค้าของพ่อค้า และ ความบากบันของฤาษีทั้งหลาย ผู้สำรวมดีด้วยตบะ มีประมาณเท่าใด เราไม่เห็นบุคคลมีประมาณเท่านั้น ในปฐพีมณฑลนี้ จะเสมอเหมือนกับเธอ เธอเป็นใคร หรือเป็นบุตรของใคร เราจะรู้จักเธอได้อย่างไร?

[๒๔๘๖] (นางอลัมพุสากล่าวว่า) ดูก่อนท่าน กัสสปะผู้เจริญ เมื่อจิตของท่านเป็นอย่างนี้แล้ว ก็ไม่ ใช่กาลที่จะเป็นปัญหา มาเถิดท่านที่รัก เราทั้งสอง จักรื่นรมย์กันในอาสนะของเรา มาเถิดท่าน ฉันจัก เคล้าคลึงท่าน ท่านจงเป็นผู้ฉลาด ในกระบวนความ ยินดี ด้วยกามคุณ.

[๒๔๘๗] (พระศาสดาตรัสว่า) นางอลัมพุสาเทพอัปสร ผู้มีผิวพรรณน่ารักใคร่ ผู้เจือปนด้วยกิเลส ปรารถนาจะให้อิสิสิงคดาบสผสม ครั้นกล่าวอย่างนี้ แล้ว ก็หลีกไป.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 636

[๒๔๘๘] ส่วนอิสิสิงคดาบสนั้น รีบเดินออกไป โดยเร็ว สลัดตัดความเฉื่อยชาล่าช้าเสีย ไปทันเข้าก็ จับที่มวยผมอันอุดมของนางไว้.

นางเทพอัปสร ผู้สะคราญโฉม ก็หมุนตัวกลับมา สวมกอดพระดาบสไว้ อิสิสิงคดาบสก็เคลื่อนจาก พรหมจรรย์ ตามที่ท้าวสักกเทวราชทรงปรารถนา ภายหลัง นางเทพอัปสรก็มีใจยินดี.

ระลึกถึงพระอินทร์ ผู้ประทับอยู่ในนันทนวัน ท้าวมฆวาฬเทพกุญชร ทรงทราบความดำริของนาง แล้ว จึงทรงส่งบัลลังก์ทอง พร้อมทั้งเครื่องบริวาร มาโดยพลัน.

ทั้งผ้าปิดทรวง ๕๐ ผืน เครื่องลาด ๑,๐๐๐ ผืน นาง อลัมพุสาเทพอัปสร กอดพระดาบสแนบทรวงอก บนบัลลังก์นั้น.

นางโอบกอดไว้ถึง ๓ ปี ดูเหมือนครู่เดียวเท่านั้น พราหมณ์ดาบสสร่างเมาแล้ว รู้สึกตัวได้ โดยล่วงไป๓ปี.

ได้เห็นหมู่ไม้เขียวชอุ่มโดยรอบเรือนไฟ ผลัด ใบใหม่ ดอกบาน อึงมี่ด้วยเสียงแห่งนกดุเหว่า.

เธอตรวจตราดูโดยรอบแล้ว ร้องไห้น้ำตาไหลริน ปริเทวนาการว่า เรามิได้บูชาไฟ มิได้ร่ายมนต์ อะไร บันดาลให้การบูชาไฟต้องเสื่อมลง.

ผู้ใดใครหนอ มาประเล้าประโลมจิตของเรา ด้วยการบำเรอในก่อน ยังฌานอันเกิดพร้อมกับเดช

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 637

ของเรา ผู้อยู่ในป่าให้พินาศ ดุจบุคคลยึดเรืออันเต็ม ไปด้วยรัตนะต่างๆ ในห้วงอรรณพฉะนั้น.

[๒๔๘๙] (นางอลัมพุสากล่าวว่า) ดิฉันอันท้าวเทวราชทรงใช้มา เพื่อบำเรอท่าน จึงได้ครอบงำจิต ของท่าน ด้วยจิตของดิฉัน ท่านไม่รู้สึกตัว เพราะ ประมาท.

[๒๔๙๐] (อิสิสิงคดาบสกล่าวว่า) เดิมทีท่านกัสสปะ ผู้บิดา ได้พร่ำสอนเราถึงสิ่งเหล่านี้ว่า ดูก่อนมาณพ สตรีอันเสมอด้วยนารีมีผลอยู่ เจ้าจงรู้จักสตรีเหล่านั้น.

บิดาเราเหมือนเอื้อเอ็นดูเรา พร่ำสอนคำนี้ว่า มาณพเอ๋ย เจ้าจงรู้จักนารีผู้มีเขาที่อก เจ้าจงรู้จัก สตรีเหล่านี้.

เรามิได้ทำตามคำสอนของบิดาผู้รู้นั้น วันนี้เรา ซบเซาอยู่แต่ผู้เดียว ในป่าอันหามนุษย์มิได้. เราจักทำอย่างที่เราเป็นผู้เช่นเดิมอีก หรือจักตาย เสีย ประโยชน์อะไรด้วยชีวิตของเราที่น่าติเตียน.

[๒๔๙๑] (พระศาสดาตรัสว่า) นางอลัมพุสา เทพกัญญา รู้จักเดช ความเพียร และปัญญาอันมั่นคง ของพระอิสิสิงคดาบสนั้นแล้ว ก็ซบศีรษะลงที่เท้าของ พระอิสิสิงคดาบส กล่าวว่า

ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านอย่าได้โกรธดิฉันเลย ข้าแต่ท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ขอท่านอย่าได้

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 638

โกรธดิฉันเลย ดิฉันได้ก่อประโยชน์อันใหญ่แล้ว เพื่อ เทวดาชั้นไตรทศ ผู้มียศ เพราะว่า เทพบุรีทั้งหมด อันท่านได้ทำให้หวั่นไหวแล้ว ในคราวนั้น.

[๒๔๙๒] (อิสิสิงคดาบสกล่าวว่า) ดูก่อนนางผู้เจริญ ขอทวยเทพชั้นดาวดึงส์ ท้าววาสวะจอมไตรทศและ เธอ จงมีความสุขเถิด ดูก่อนนางเทพกัญญา เชิญเธอ ไปตามสบายเถิด.

[๒๔๙๓] (พระศาสดาตรัสว่า) นางอลัมพุสาเทพกัญญา ซบศีรษะลงแทบเท้าแห่งอิสิสิงคดาบส และทำ ประทักษิณแล้ว ประคองอัญชลีหลีกออกไปจากที่นั้น.

นางขึ้นสู่บัลลังก์ทอง พร้อมด้วยเครื่องบริวาร เครื่องปิดทรวง ๕๐ ผืน และเครื่องลาด ๑,๐๐๐ ผืน แล้วกลับไปในสำนัก แห่งเทวดาทั้งหลาย.

ท้าวสักกะจอมเทพ. ทรงปีติโสมนัส ปลาบปลื้ม พระทัย ได้พระราชทานพรกะนางเทพกัญญานั้น ซึ่ง กำลังมาอยู่ ราวกะว่าดวงประทีปอันรุ่งเรือง ราวกะ สายฟ้าแลบฉะนั้น.

[๒๔๘๙] (นางอลัมพุสาทูลว่า) ข้าแต่ท้าวสักกะ ผู้เป็นใหญ่กว่าภูตทั้งปวง ถ้าพระองค์จะทรงประทานพร แก่หม่อมฉันไซร้ ขออย่าให้หม่อมฉันต้องไป เล้าโลมพระฤาษีอีกเลย ข้าแต่ท้าวสักกะ หม่อมฉัน ขอพรข้อนี้.

จบอลัมพุสาชาดกที่ ๓

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 639

อรรถกถาอลัมพุสาชาดก

พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภการประเล้าประโลมของนางปุราณทุติยิกาตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ เริ่มต้นว่า อถาพฺรวิ ดังนี้. เรื่องในปัจจุบัน ข้าพเจ้ากล่าวไว้อย่างพิสดาร ในอินทริยชาดกแล้วแล.

ก็พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่าเธอเป็นผู้กระสัน อยากสึกจริงหรือ? เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลรับเป็นคำสัตย์แล้ว ตรัสถามว่า ใครทำ ให้เธอกระสัน เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า นางปุราณทุติยิกา จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ หญิงนี้ก่อความฉิบหายแก่เธอ เธออาศัยหญิงนี้ ยังฌานให้พินาศ เป็นผู้หลงใหล สลบนอนอยู่สิ้น ๓ ปี ต่อเมื่อเกิดสำนึกได้ จึงเกิดปริเวทนาอย่างใหญ่หลวง แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติอยู่ในพระนคร พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ณ กาสิกรัฐ เจริญวัยแล้ว ถึงความสำเร็จในสรรพศิลปศาสตร์แล้วบวชเป็นฤๅษี มีมูลผลาผลในป่าเป็น อาหาร ยังอัตภาพให้เป็นไปในป่ากว้าง. ครั้งนั้น แม่เนื้อตัวหนึ่ง เคี้ยวกินหญ้า อันเจือด้วยน้ำเชื้อ ในสถานที่ปัสสาวะของพระดาบสนั้นแล้วดื่มน้ำ. และด้วย เหตุเพียงเท่านี้เอง มันมีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่ในพระดาบส จนตั้งครรภ์ นับแต่ นั้นมาก็ไม่ยอมไปไหน เที่ยวอยู่ใกล้ๆ อาศรมนั่นเอง. พระมหาสัตว์กำหนดดู ก็รู้เหตุนั้นทั่วถึง ต่อมา แม่เนื้อคลอดบุตรเป็นมนุษย์. พระมหาสัตว์จึงเลี้ยง ทารกนั้นไว้ด้วยความรักใคร่ว่าเป็นบุตร ตั้งชื่อให้ว่า อิสิสองคกุมาร. ในเวลา ต่อมา พระมหาสัตว์ จึงให้อิสิสิงคกุมารผู้รู้เดียงสาแล้วบวช ในเวลาตนชรา

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 640

ลงได้พาดาบสกุมารนั้นไปสู่นารีวัน กล่าวสอนว่า ลูกรัก ขึ้นชื่อว่าสตรีเช่นกับ ดอกไม้เหล่านี้ มีอยู่ในป่าหิมพานต์นี้ สตรีเหล่านั้นย่อมยังชนผู้ตกอยู่ในอำนาจ ตน ให้ถึงความพินาศอย่างใหญ่หลวงได้ ไม่ควรที่เจ้าจะไปสู่อำนาจของสตรี เหล่านั้นดังนี้แล้ว ครั้นในเวลาต่อมา ก็ทำกาลกิริยา เป็นผู้มีพรหมโลกเป็น ที่ไปในเบื้องหน้า. ฝ่ายอิสิสิงคดาบส เมื่อประลองฌานกีฬาก็พักอยู่ในหิมวันตประเทศ ได้เป็นผู้มีตบะกล้า เป็นผู้มีอินทรีย์อันชำนะแล้วอย่างยวดยิ่ง ครั้งนั้น พิภพของท้าวสักกเทวราชหวั่นไหว ด้วยเดชแห่งศีลของพระดาบส ท้าวสักกเทวราชทรงใคร่ครวญดูก็ทราบเหตุนั้น ทรงพระดำริว่า พระดาบสนี้จะพึงยัง เราให้เคลื่อนจากความเป็นท้าวสักกะ เราจักต้องส่งนางอัปสรคนหนึ่งให้ไป ทำลายศีลของเธอ ดังนี้แล้ว ทรงพิจารณาเทวโลกทั้งสิ้น ในท่ามกลางเหล่า เทพบริจาริกาจำนวนสองโกฏิครึ่งของพระองค์ มิได้ทรงเห็นใครอื่นซึ่งสามารถ ที่จะทำลายศีลของพระอิสิสิงคดาบสได้ นอกจากนางเทพอัปสร ชื่ออลัมพุสา ผู้เดียว จึงรับสั่งให้นางมาเฝ้าแล้วทรงบัญชาให้ทำลายศีลของพระอิสิสิงคดาบส นั้น.

เมื่อพระบรมศาสดาจะทรงทําเนื้อความนั้นให้แจ้งจึงตรัสพระคาถาที่ ๑ ความว่า

ครั้งนั้น พระอินทร์ผู้เป็นใหญ่ ผู้ทรงครอบงำ วัตรอสูร เป็นพระบิดาแห่งเทพบุตรผู้ชนะ ประทับ นั่งอยู่ ณ สุธรรมเทวสภา รับสั่งให้เรียกนางอลัมพุสา เทพกัญญามาเฝ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหา แปลว่า ผู้เป็นใหญ่. บทว่า วตฺรภู ความว่า ผู้ทรงครอบงำอสูรชื่อ วัตระ. บทว่า ชยตํ ปิตา ความว่า

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 641

เป็นพระบิดาแห่งเทพบุตรที่เหลือสามสิบสามองค์ ผู้ชนะคือถึงความชำนะด้วย ยังกิจแห่งบิดาให้สำเร็จ. บทว่า ปราเภตฺวา ความว่า เป็นประดุจสำรวจ ตรวจสอบกายใจ จึงรู้ว่า นางอลัมพุสานี้ เป็นกําลังต่อต้านได้. บทว่า สุธมฺมายํ ความว่า ประทับนั่งบนบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ในสุธรรมาเทวสภา รับสั่ง ให้เรียกนางอลัมพุสานั้นมาเฝ้า แล้วตรัสคาถานี้ ความว่า

ดูก่อนนางอลัมพุสา ผู้เจือปนด้วยกิเลส สามารถ จะเล้าโลมฤาษีได้ เทวดาชั้นดาวดึงส์พร้อมด้วยพระอินทร์ขอร้องเจ้า เจ้าจงไปหาอิสิสิงคดาบสเถิด.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้นดังต่อไปนี้ ท้าวสักกเทวราชตรัสทักนางอลัมพุสาเทพกัญญานั้นว่า มิสฺเส และคำนี้เป็นชื่อของนางเทพกัญญานั้น. ก็หญิงทุกจำพวกท่านเรียกว่า มิสฺสา เพราะคลุกเคล้าระคนด้วยกิเลสใน บุรุษ. เมื่อท้าวสักกเทวราชจะทรงทักทายด้วยคุณนามอันสาธารณ์นั้น จึงตรัส อย่างนี้. บทว่า อิสิปโลภิเก ความว่า ดูก่อนเจ้าผู้สามารถจะเล้าโลมพระฤาษี. บทว่า อิสิสิงฺคํ ความว่า ได้ยินว่า จุกสองจุกอันเกิดบนศีรษะของท่านอิสิสิงค ดาบสนั้น โดยอาการอย่างเนื้อเขา เพราะเหตุนั้น เขาจึงเรียกกันอย่างนี้.

ด้วยประการฉะนี้ ท้าวสักกเทวราช จึงตรัสบัญชานางอลัมพุสาว่า เจ้าจงไป จงเข้าไปหาท่านอิสิสิงคดาบส นำมาสู่อำนาจของตน แล้วทำลาย ศีลของเธอเสีย ดังนี้แล้ว ตรัสคำเป็นคาถานี้ว่า

ดาบสองค์นี้มีวัตร ประพฤติพรหมจรรย์ ยินดียิ่ง ในนิพพาน เป็นผู้เจริญ อย่าเพิ่งล่วงเลยพวกเราไป ก่อนเลย เจ้าจงห้ามมรรคของเธอเสีย.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 642

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุรายํ ความว่า พระดาบสนี้ เป็นผู้ สมบูรณ์ด้วยวัตร และประพฤติพรหมจรรย์ อนึ่ง พระดาบสนั้นแลยินดียิ่งแล้ว ในมรรคคือพระนิพพาน และเจริญแล้วด้วยคุณวุฒิ เพราะความเป็นผู้มีอายุยืน เพราะฉะนั้น ดาบสนี้จะครอบงำพวกเราไม่ได้ คือไม่ครอบงำ ทำให้พวกเรา เคลื่อนจากที่ได้เพียงใดเจ้าจงไปห้ามมรรคที่จะไปสู่เทวโลกของเธอเสียเพียงนั้น ทีเดียว อธิบายว่า เธอจงทำโดยประการที่ดาบสนั้นจะมาในที่นี้ไม่ได้.

นางอลัมพุสาเทพกัญญาได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

ข้าแต่พระเทวราช พระองค์ทรงทำอะไร ทรง มุ่งหมายแต่หม่อมฉันเท่านั้น รับสั่งว่า แนะเจ้าผู้อาจจะ เล้าโลมฤาษีได้ เจ้าจงไปเถิด ดังนี้ นางเทพอัปสรแม้ อื่นๆ มีอยู่.

นางเทพอัปสรผู้ทัดเทียมหม่อมฉันหรือประเสริฐ กว่าหม่อมฉัน ก็มีอยู่ในนันทนวัน อันหาความเศร้าโศก มิได้ วาระ คือ การไปจงมีแก่นางเทพอัปสรเหล่านั้น แม้นางเทพอัปสรเหล่านั้น จงไปประเล้าประโลมเถิด.

ในบรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า กิเมว ตฺวํ นี้ นางอลัมพุสา เทพอัปสรแสดงความว่า พระองค์ทรงกระทำสิ่งนี้ชื่ออะไรกัน. ด้วยบทว่า มเมว ตุวํ สิกฺขสิ นางอลัมพุสาเทพอัปสรกล่าวโดยมุ่งประสงค์ว่า ในเทวโลก นี้ทั้งสิ้น ไยพระองค์ทรงสําเหนียกเฉพาะหม่อมฉันผู้เดียว ไม่ทรงแลดูผู้อื่นบ้าง. ก็ อักษรในคาถานี้ ทำการเชื่อมพยัญชนะ. อธิบายว่า เพราะเหตุไรจึง ตรัสอย่างนี้ว่า แน่ะเจ้าผู้สามารถเล้าโลมพระฤๅษี เจ้าจงไปเถิดดังนี้. บทว่า ปวรา เจว ความว่า นางเทพธิดาผู้ยิ่งกว่าหม่อมฉัน ยังมีอยู่. บทว่า อโสเก

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 643

แปลว่า ผู้ปราศจากควานเศร้าโศก. บทว่า นนฺทเน ได้แก่ ในสวนอันเป็น ที่เกิดความยินดี. บทว่า ปริยาโย ได้แก่ วาระคือการไป.

ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชได้กล่าวคาถา ๓ คาถา ความว่า

เจ้าพูดจริงโดยแท้แล นางเทพอัปสรอื่นๆ ที่ ทัดเทียมกับเจ้า แลยิ่งกว่าเจ้า มีอยู่ในนันทนวันอันหา ความโศกมิได้.

ดูก่อนนางผู้มีอวัยวะงามทุกส่วน ก็แต่ว่า นาง เทพอัปสรเหล่านั้นไปถึงชายเข้าแล้ว ย่อมไม่รู้จักการ บำเรออย่างที่เจ้ารู้.

ดูก่อนโฉมงาม เจ้านั่นแหละจงไป เพราะว่าเจ้า เป็นผู้ประเสริฐกว่าหญิงทั้งหลาย เจ้าจักนำดาบสนั้น มาสู่อำนาจได้ ด้วยผิวพรรณและรูปร่างของเจ้าเอง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุมํ คตา ความว่า หญิงเหล่านั้น เมื่อเข้าไปหาชาย ก็ไม่รู้จักการบำเรอ คือ การเล้าโลมชาย. บทว่า วณฺณรูเปน ความว่า ด้วยวรรณะแห่งสรีระ และด้วยรูปสมบัติ. บทว่า วสมฺนาปยิสฺสสิ ความว่า เจ้าจักนำดาบสนั้นมาสู่อำนาจของตน.

นางอลัมพุสาเทพกัญญาได้สดับดังนั้น ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

หม่อมฉันอันท้าวเทวราชทรงใช้ จักไม่ไปหา ได้ไม่ แต่หม่อมฉันกลัวที่จะเบียดเบียนพระดาบสนั้น เพราะท่านเป็นพราหมณ์ มีเดชฟุ้งเฟื่อง.

ชนทั้งหลายมิใช่น้อย เบียดเบียนพระฤๅษีแล้ว ต้องตกนรก ถึงสังสารวัฏฏ์เพราะความหลง เพราะเหตุ นั้นหม่อมฉันจึงต้องขนลุกขนพอง.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 644

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นวาหํ ตัดบทเป็น นเว อหํ. บทว่า วิเภมิ ความว่า หม่อมฉันหวั่นเกรง. บทว่า อาสาทุํ แปลว่า ทำให้ขุ่นเคือง. ท่านกล่าวอธิบายความไว้ว่า ข้าแต่เทวะ พระองค์ทรงใช้หม่อมฉันแล้วจักไม่ไป ก็ไม่ได้ ก็แต่ว่าหม่อมฉันกลัวที่จะต้องยึดพระอิสิสิงคดาบส เพื่อทำลายศีล เพราะท่านเป็นผู้มีเดชสูงส่ง. บทว่า อาสาทิยา ความว่า เบียดเบียนพระฤาษี. บทว่า โมหสํสารํ ความว่า สัตว์ทั้งหลาย มิใช่น้อยเบียดเบียนพระฤาษีถึง สังสารวัฏฏ์ เพราะความหลง เล้าโลมพระฤาษีเพราะความหลงแล้วถึงสังสารวัฏฏ์ ตั้งอยู่ในวัฏทุกข์ นับไม่ถ้วน. บทว่า ตสฺมา ความว่า ด้วยเหตุนั้นหม่อมฉัน... บทว่า โลมานิ หํสเย ความว่า หม่อมฉันจึงขนลุกขนพอง. นางอลัมพุสา เทพกัญญาทูลว่า เมื่อหม่อมฉันคิดว่า เราจักต้องทำลายศีลของพระดาบสดังนี้ โลมชาติก็ชูชัน.

พระบรมศาสดาตรัสอภิสัมพุทธคาถาเหล่านี้ ความว่า

นางอลัมพุสาเทพอัปสร ผู้มีวรรณะน่ารักใคร่ ผู้เจือปนด้วยกิเลส ปรารถนาจะยังอิสิสิงคดาบสให้ ผสม ครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้วก็หลีกไป.

ก็นางอลัมพุสาเทพอัปสรนั้น เข้าไปยังป่าที่อิสิ- สิงคดาบสรักษา อันดาดาษไปด้วยเถาตำลึงโดยรอบ ประมาณกึ่งโยชน์.

นางได้เข้าไปหาอิสิสิงคดาบส ผู้กำลังปัดกวาด โรงไฟ ใกล้เวลาอาทิตย์อุทัย ก่อนเวลาอาหารเช้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปกฺกามิ ความว่า นางอลัมพุสาเทพ กัญญานั้น ทูลว่า ข้าแต่พระเทวราชเจ้า ถ้าเช่นนั้นพระองค์โปรดคำนึงถึง

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 645

หม่อมฉัน แล้วเข้าสู่ห้องนอนของตน ประดับตกแต่ง ปรารถนาจะยังพระอิสิสิงคดาบส ให้ผสมด้วยกิเลส จึงหลีกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นางอัปสร นั้นไปสู่อาศรมของอิสิสิงคดาบสแล้ว. บทว่า พิมฺพชาลรตฺดตสญฺฉนฺนํ ความ ว่า อันดาดาษไปด้วยป่าตำลึง. บทว่า ปาโตว ปาตราสมฺหิ ความว่า แต่ เช้าตรู่ คือก่อนเวลาอาหารเช้าทีเดียว. ก่อนเวลาเพียงไร แค่ไหน? บทว่า อุทยุสมยํ ปฏิ ความว่า ในเวลาเช้า ใกล้เวลาพระอาทิตย์ขึ้นนั่นเอง. บทว่า อคฺคิสาลํ ได้แก่ โรงไฟ. อธิบายความว่า นางอลัมพุสาเทพอัปสรนั้น เข้า ไปหาอิสิสิงคดาบสนั้น ซึ่งประกอบความเพียรในกลางคืนแล้ว สรงน้ำแต่เช้า ตรู่ ทำอุทกกิจเสร็จแล้ว ยับยั้งอยู่ด้วยฌานสุขในบรรณศาลาหน่อยหนึ่ง จึง ออกมากวาดโรงไฟอยู่ นางยืนแสดงความงาม ของหญิงอยู่ข้างหน้าของพระ อิสิสิงคดาบสนั้น.

ลำดับนั้น พระดาบสเมื่อจะถามนางจึงกล่าวว่า

เธอเป็นใครหนอ มีรัศมีเหมือนสายฟ้า หรืองาม ดังดาวประกายพรึก มีเครื่องประดับแขนงามวิจิตร ล้วนแก้วมุกดา แก้วมณี และกุณฑล.

ประหนึ่งแสงอาทิตย์ มีกลิ่นจุรณจันทน์ ผิว พรรณดุจทองคำ ลำขางามดี มีมารยาทมากมาย กำลัง แรกรุ่นสะคราญโฉม น่าดูน่าชม.

เท้าของเธอไม่เว้ากลาง อ่อนละมุน แสนสะอาด ตั้งลงด้วยดี การเยื้องกายของเธอน่ารักใคร่ ทำใจของ เราให้วาบหวามได้ทีเดียว.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 646

อนึ่ง ลำขาของเธอเรียวงาม เปรียบเสมอด้วย งวงช้าง โดยลำดับ ตะโพกของเธอผึ่งผาย เกลี้ยงเกลา ดังแผ่นทองคำ.

นาภีของเธอตั้งลงเป็นอย่างดี เหมือนฝักดอก อุบล ย่อมปรากฏแต่ที่ไกล คล้ายเกสรดอกอัญชัน เขียว.

ถันทั้งคู่เกิดที่ทรวงอก หาขั้วมิได้ ทรงไว้ซึ่ง ขีรรส ไม่หดเหี่ยว เต่งตึงทั้งสองข้าง เสมอด้วยน้ำ เต้าครึ่งซีก.

คอของเธอประดุจเนื้อทราย บางคล้ายหน้า สุวรรณเภรี มีริมฝีปากเรียบงดงาม เป็นที่ตั้งแห่งมนะ ที่ ๔ คือ ชิวหา.

ฟันของเธอทั้งข้างบน ข้างล่าง ขัดสีแล้วด้วยไม้ ชำระฟัน เกิดสองคราวเป็นของหาโทษมิได้ ดูงามดี.

นัยน์ตาทั้งสองข้างของเธอดำขลับ มีสีแดงเป็น ที่สุด สีดังเม็ดมะกล่ำ ทั้งยาวทั้งกว้าง ดูงามนัก.

ผมที่งอกบนศีรษะ ของเธอไม่ยาวนักเกลี้ยงเกลา ดี หวีด้วยหวีทองคำ มีกลิ่นหอมฟุ้งด้วยกลิ่นจันทน์.

กสิกรรม โครักขกรรม การค้าของพ่อค้า และ ความบากบั่นของฤาษีทั้งหลาย ผู้สำรวมดีด้วยตบะ มี ประมาณเท่าใด เราไม่เห็นบุคคล มีประมาณเท่านั้น

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 647

ในปฐพีมณฑลนี้ จะเสมอเหมือนกับเธอ เธอเป็นใคร หรือเป็นบุตรของใคร เราจะรู้จักเธอได้อย่างไร?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิจิตฺตหตฺถาภรณา ความว่า ถึงพร้อม ด้วยหัตถาภรณ์อันวิจิตร. บทว่า เหมจนฺทนคนฺธินี ความว่า ลูบไล้ด้วย กลิ่นจันทน์ มีสีตัวดังทอง. บทว่า สญฺตูรุ ความว่า ขาเป็นลำกลมกลึงดี คือมีลักษณะขาที่สมบูรณ์. บทว่า วิลากา แปลว่า (เท้าของเธอ) ไม่เว้า กลาง. บทว่า มุทุกา ความว่า อ่อนนุ่ม สุขุมาลชาติ. บทว่า สุทฺธา ได้แก่ ปราศจากมลทิน. บทว่า สุปติฏฺิตา ความว่า เมื่อเหยียบต้องแผ่น ดิน ก็เรียบเสมอ ประดิษฐานอยู่ด้วยดี.

บทว่า กมนา แปลว่า ผู้ก้าวเดินไป. บทว่า กามนียา ความว่า เมื่อก้าวเดิน ก็ชดช้อยน่ารัก. บทว่า หรนฺติเยว เน มโน ความว่า เท้า ทั้งสองของเจ้าผู้ก้าวเดินไป ด้วยลีลาอันงามสง่าของหญิงชั้นสูงเห็นปานนี้ เหล่านี้ ย่อมเร้าจิตของเราทีเดียว.

บทว่า วิมฏฐา แปลว่า งดงาม. บทว่า สุสฺโสณิ ได้แก่ มีตะโพกผึ่งผาย งดงาม. บทว่า อกฺขสฺส ความว่า ตะโพกของเจ้าผึ่งผายงดงาม คล้ายแผ่นกระดานทอง.

บทว่า อุปฺปลสฺเสว กิญฺชกฺขา ความว่า เหมือนกับช่อแห่งนีลอุบล. บทว่า กญฺหญฺชนสฺเสว ความว่า พระดาบสกล่าวอย่างนี้ เพราะ นางเทพอัปสรนั้น เป็นผู้มีโลมชาติดําละเอียดวิจิตร. พระดาบส เมื่อจะชมถัน ทั้งสอง จึงกล่าวคาถาว่า ทุวิธา เป็นต้น. แท้จริง ถันอันเกิดที่อกทั้งคู่นั้น ชื่อว่าหาขั้วมิได้ เพราะไม่มีขั้ว เป็นของติดอยู่ที่อกอย่างเดียว ชื่อว่าปรากฏ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 648

ด้วยดี เพราะยื่นออกมาด้วยดี ชื่อว่าทรงไว้ซึ่งน้ำนม เพราะทรงกษีรรสไว้.

บทว่า อปฺปตีตา ความว่า ไม่ย่นหย่อน คือชื่อว่าไม่ตก เพราะ ไม่เหี่ยว ไม่ลด หรือเพราะไม่หดเข้าข้างใน. ถันทั้งคู่ล้วนแล้วด้วยทองที่ตั้ง ไว้บนแผ่นทอง ชื่อว่าเสมอด้วยน้ำเต้าครึ่งซีก เพราะทัดเทียมกับน้ำเต้ากลมๆ ครึ่งซีก.

บทว่า เอเณยฺยกา ยถา ความว่า คอแห่งเนื้อทรายทั้งยาว ทั้ง กลม ย่อมงดงามฉันใด คอของเธอยาวนิดหน่อย ก็งามฉันนั้น. บทว่า กมฺพุตลาภาสา ความว่า คอของเธอเรียบงามดุจพื้นสุวรรณเภรี บทว่า ปณฺฑราวรณา ได้แก่ มีซี่ฟันสละสลวย. บทว่า จตุตฺถมนสนฺนิภา ความว่า ชิวหาอันเป็นที่ตั้งแห่งมนะที่ ๔ ท่านเรียกว่า จตุตถมนะ พระดาบสกล่าวว่า ริมฝีปากของเจ้า ก็เช่นเดียวกับชิวหา เพราะแดงระเรื่อน่ารัก.

บทว่า อุทฺธคคา ได้แก่ ฟันบน. บทว่า อธคฺคา ได้แก่ ฟัน ล่าง. บทว่า ทุมคฺคปริมชฺชิตา ความว่า (ฟันทั้งข้างบนข้างล่าง) ชำระ แล้วด้วยไม้สีฟัน จนสะอาดบริสุทธิ์. บทว่า ทุวิชา แปลว่า เกิดสองครั้ง. บทว่า เนลสมฺภูตา ความว่า ฟันเกิดเองสองครั้งในที่สุดแห่งเนื้อคาง อัน หาโทษมิได้.

บทว่า อปณฺฑรา หมายความว่า ดำ. บทว่า โลหิตนฺตา แปลว่า มีขอบแดง. บทว่า ชิญฺชุกผลสนฺนิภา ความว่า ในที่ที่ควรแดงเช่นเดียว กับผลมะกล่ำ. บทว่า สุทสฺสนา ความว่า ประกอบด้วยประสาททั้ง ๕ ชวน ดู ชวนชม ไม่รู้อิ่ม.

บทว่า นาติทีฆา ความว่า ขนาดพอเหมาะพอดี. บทว่า สุสมฏา ความว่า เกลี้ยงเกลาด้วยดี. บทว่า กนกพฺยา สโมจิตา ความว่า หวีทอง

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 649

ท่านเรียกว่า กนกัพยา เอาน้ำมันหอมมาชโลมหวีทองนั้น ตบแต่งให้งดงาม พระดาบส แสดงถึงสัตว์ผู้มีชีวิตอยู่ได้ ก็เพราะอาศัยกสิกรรม และโครักขกรรม ด้วยบทนี้ว่า อสิโครกฺขา.

บทว่า ยา คติ ความว่า ความสำเร็จมีประมาณเท่าใด. บทว่า ปรกฺกนฺตํ ความว่า ความบากบั่นของฤาษีมีประมาณเท่าใด. อธิบายว่า ฤาษี ทั้งหลายแพร่หลายอยู่ในหิมวันตประเทศนี้ มีประมาณเท่าใด.

บทว่า น เต สมสมํ ความว่า ในชนทั้งหมดเหล่านั้น เราไม่ เห็นแม้คนเดียว ที่จะทัดเทียมเจ้าได้ ด้วยรูปร่างและงดงามด้วยท่วงที ลีลา เป็นต้น เมื่อดาบสรู้ว่า นางนั้นเป็นสตรี จึงถามด้วยสามารถโวหารแห่งบุรุษ นี้ว่า โก วา ตฺวํ เป็นต้น.

เมื่อพระดาบสกล่าวชมตน ตั้งแต่เท้าจนถึงผมอย่างนี้ นางอลัมพุสา เทพกัญญานั้นก็นิ่งเสีย เมื่อสืบอนุสนธิตามลำดับ ของคำนั้นแล้ว นาง อลัมพุสาเทพกัญญา ก็รู้ว่า พระดาบสนั้นเป็นผู้หลงใหล จึงกล่าวคาถา ความว่า

ดูก่อนท่านกัสสปะผู้เจริญ เมื่อจิตของท่านเป็น อย่างนี้แล้ว ก็ไม่ใช่กาลที่จะเป็นปัญหา มาเถิดท่านที่ รัก เราทั้งสองจักรื่นรมย์กัน ในอาสนะของเรา มา เถิดท่าน ฉันจักเคล้าคลึงท่าน ท่านจงเป็นผู้ฉลาดใน กระบวนความยินดีด้วยกามคุณ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กสฺสเปวํ คเต สติ ความว่า ดูก่อน ท่านผู้กัสสปโคตร เมื่อจิตของท่านเป็นไปอย่างนี้แล้ว ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหา. บทว่า สมฺมา นี้ เป็นคำเรียนเชิญด้วยถ้อยคำที่น่ารัก. บทว่า รตีนํ ความว่า ท่านจงเป็นผู้ฉลาดกระบวนความยินดี ในเบญจกามคุณ.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 650

นางอลัมพุสาเทพกัญญา กล่าวอย่างนี้แล้ว คิดว่า เมื่อเรายืนเฉยอยู่ พระดาบสนี้ ก็จักไม่ยอมเข้าอ้อมแขนเรา เราจักเดิน ทำท่าทีเหมือนจะไปเสีย นางจึงเข้าไปหาพระดาบส เพราะตนเป็นผู้ฉลาดในมารยาหญิง จึงเดินบ่ายหน้า ไปตามทางที่มาแล้ว.

เมื่อจะประกาศเนื้อความนั้น พระบรมศาสดาจึงตรัสว่า

นางอลัมพุสาเทพอัปสร ผู้มีผิวพรรณน่ารักใคร่ ผู้เจือปนด้วยกิเลส ปรารถนาจะให้อิสิสิงคดาบสผสม ครั้น กล่าวอย่างนี้แล้ว ก็หลีกไป.

ลำดับนั้น พระดาบสเห็นนางกำลังเดินไป คิดว่า นางจะไปเสีย จึงสลัดความเฉื่อยชา ล่าช้าของตนเสียแล้ว วิ่งไปโดยเร็ว เอามือลูบคลำที่ เรือนผม.

เมื่อพระบรมศาสดาจะประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถา ความว่า

ส่วนอิสิสิงคดาบสนั้น รีบเดินออกไปโดยเร็ว สลัดตัดความเฉื่อยชาล่าช้าเสีย ไปทันเข้าก็จับที่มวยผม อันอุดมของนางไว้.

นางเทพอัปสร ผู้สะคราญโฉม ก็หมุนตัวกลับมา สวมกอดพระดาบสไว้ อิสิสิงคดาบสก็เคลื่อนจาก พรหมจรรย์ ตามที่ท้าวสักกเทวราชทรงปรารถนา ภายหลังนางเทพอัปสร ก็มีใจยินดี.

รำลึกถึงพระอินทร์ ผู้ประทับอยู่ในนันทนวัน ท้าวมฆวานเทพกุญชรทรงทราบความดำริของนางแล้ว จึงทรงส่งบัลลังก์ทอง พร้อมทั้งเครื่องบริวารมาโดย พลัน.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 651

ทั้งผ้าปิดทรวง ๕๐ ผืน เครื่องลาด ๑,๐๐๐ ผืน นาง อลัมพุสาเทพอัปสร กอดพระดาบสแนบทรวงอก บน บัลลังก์นั้น.

นางโอบกอดไว้ถึง ๓ ปี ดูเหมือนครู่เดียวเท่านั้น พราหมณ์ดาบสสร่างเมาแล้วรู้สึกตัวได้ โดยล่วงไป ๓ ปี.

ได้เห็นหมู่ไม้เขียวชอุ่มโดยรอบเรือนไฟ พลัด ใบใหม่ดอกบาน อึงคะนึงด้วยเสียงแห่งนกดุเหว่า.

เธอตรวจตราดูโดยรอบแล้ว ร้องไห้น้ำตาไหลริน ปริเทวนาการว่า เรามิได้บูชาไฟ มิได้ร่ายมนต์ อะไร บันดาลให้การบูชาไฟต้องเสื่อมลง.

ผู้ใดใครหนอ มาประเล้าประโลมจิตของเรา ด้วยการบำเรอในก่อน ยังฌานอันเกิดพร้อมกับเดช ของเรา ผู้อยู่ในป่าให้พินาศ ดุจบุคคลยึดเรืออันเต็ม ด้วยรัตนะต่างๆ ในห้วงอรรณพ ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชฺฌปฺปตฺโต ความว่า พระดาบสนั้น มาทันเข้า.

บทว่า ตมุทาวตฺต กลฺยาณี ความว่า นางอลัมพุสาเทพกัญญา ผู้งามชดช้อย พราวเสน่ห์ เอี้ยวตัวกลับมากอดพระฤาษีนั้น ซึ่งยืนลูบคลำผมอยู่. บทว่า ปลสฺสชิ แปลว่า สวมกอด. บทว่า จวิ ตมฺหิ พฺรหฺมจริยา ยถา ตํ อถ โตสิตา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทันใดนั้นเอง ฌานของ พระฤาษีนั้น ก็อันตรธานไป เมื่อเธอเคลื่อนจากฌานพรหมจรรย์นั้นแล้ว

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 652

ได้เป็นไปอย่างข้อที่ท้าวสักกเทวราชทรงปรารถนานั่นเอง. ลำดับนั้น นางเทพกัญญา ผู้อันท้าวสักกเทวราชทรงส่งมานั้น รู้ว่าความปรารถนาของท้าว สักกเทวราชสำเร็จแล้ว ก็เกิดปีติปราโมทย์ ด้วยการยังพรหมจรรย์ของ พระดาบสนั้นให้พินาศ.

บทว่า มนสา อคมา ความว่า นางยืนกอดพระดาบสนั้นอยู่ ใจ ได้ประวัติถึงพระอินทร์อย่างนี้ว่า โอ! ท้าวสักกะควรส่งบัลลังก์มา. บทว่า นนฺทเน ความว่า ท้าวสักกเทวราชผู้ประทับอยู่ ในดาวดึงส์พิภพ กล่าวคือ ที่ชื่อว่า นันทนวัน เพราะสามารถให้เกิดความยินดี. บทว่า เทวกุญฺชโร ได้แก่ เทวราชผู้ประเสริฐ.

บทว่า ปาหิณิ แปลว่า จงส่งไป. ปาฐะว่า ปหิณิ ดังนี้ก็มี. บทว่า โสปวาทนํ ได้แก่ สุวรรณบัลลังก์พร้อมทั้งบริวาร. บทว่า สอุรจฺฉทปญฺาสํ ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม พร้อมด้วยผ้า สำหรับปกปิดอก ๕๐ ผืน. บทว่า สหสฺสปฏิยตฺถตํ ได้แก่ เครื่องลาด คือ ผ้าโกเชาว์อันเป็นทิพย์พันหนึ่ง. บทว่า ตเมนํ ตตฺถ ความว่า นางนั่งบน ทิพบัลลังก์นั้น กอดพระอิสิสิงคดาบสแนบไว้ที่อก.

บทว่า ตีณิ วสฺสานิ ความว่า นางกอดพระอิสิสิงคดาบสให้นอน แนบอก นั่งอุ้มอยู่บนบัลลังก์นั้น สิ้นเวลา ๓ ปี โดยการนับเวลาแห่งมนุษย์ ประดุจครู่เดียว. บทว่า วิมโท ความว่า พระดาบสนั้นสร่างเมา คือความ เป็นผู้ปราศจากการสลบ. เพราะพระดาบสนอนสลบไสลอยู่ตลอดสามปี ภายหลังกลับได้สมปฤดีตื่นขึ้น. เมื่อพระดาบสกำลังตื่นขึ้น นางอลัมพุสาเห็น อาการกระดิกมือเป็นต้นแล้ว ทราบว่าพระดาบสกำลังจะตื่นขึ้น จึงบันดาลให้ บัลลังก์อันตรธานไป แม้ตนเองก็ได้อันตรธานไปยืนซ่อนอยู่.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 653

บทว่า อทฺทสาสิ ความว่า พระดาบสนั้นตรวจตราดูอาศรมแล้ว คิดว่า ใครกันหนอ ทำให้เราถึงสีลวิบัติ แล้วปริเทวนาการด้วยเสียงอันดัง ได้มองเห็นแล้ว. บทว่า หริตรุกฺเข ความว่า ได้เห็นต้นไม้มีใบเขียวสด ขึ้นล้อมโรงไฟ กล่าวคือกองกูณฑ์อยู่โดยรอบ. บทว่า นวปตฺตวนํ ความว่า หมู่ไม้ดาดาษไปด้วยใบไม้อ่อนๆ.

บทว่า รุทํ แปลว่า ปริเทวนาการอยู่. คาถาปริเทวนาการของพระ ดาบสนั้นอย่างนี้ว่า เรามิได้บูชาไฟ มิได้บริกรรมมนต์. บทว่า ปหาปิตํ ความว่า อะไรบันดาลให้การบูชาไฟต้องเสื่อมลง. ป อักษร เป็นเพียงอุปสรรค.

บทว่า ปาริจริยาย ความว่า พระดาบสปริเทวนาการว่า ก่อนแต่นี้ ใครหนอเล้าโลมจิตของเรา ด้วยการบำเรอด้วยกิเลส. ห อักษร ในบทว่า โย เม เตชาหสํภูตํ นี้ เป็นเพียงนิบาต ความก็ว่า อิสิสิงคดาบสปริเทวนาการว่า ผู้ใดยึดคือ ยังฌานคุณ อันเป็นเองโดยเดชแห่งสมณะของเราให้พินาศ ดุจ ยังเรือในห้วงมหรรณพ อันเต็มไปด้วยรัตนะต่างๆ ให้พินาศฉะนั้น ผู้นั้นคือ ใครกันเล่า? อลัมพุสาเทพกัญญาได้ยินดังนั้น ก็คิดว่า ถ้าเราไม่บอก ดาบส นี้จักสาบแช่งเรา เอาเถอะเราจักบอกให้ท่านทราบ จึงยืนปรากฏกายกล่าวคาถา ความว่า

ดิฉันอันท้าวเทวราช ทรงใช้มาเพื่อบำเรอท่าน จึงได้ครอบงำจิตของท่านด้วยจิตของดิฉัน ท่านไม่ รู้สึกตัว เพราะประมาท.

พระอิสิสิงคดาบสได้ฟังถ้อยคำของนางแล้ว ระลึกถึงโอวาทที่บิดาให้ไว้ ก็ปริเทวนาการว่า เพราะเรามิได้ทำตามคำบิดา จึงถึงความพินาศอย่าง ใหญ่หลวง ดังนี้แล้ว ได้กล่าวคาถา ๔ คาถา ความว่า

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 654

เดิมที ท่านกัสสปะผู้บิดา ได้พร่ำสอนเราถึงสิ่ง เหล่านี้ว่า ดูก่อนมาณพ สตรีอันเสมอด้วยนารีผลมีอยู่ เจ้าจงรู้จักสตรีเหล่านั้น.

บิดาเราเหมือนเอื้อเอ็นดูเรา พร่ำสอนคำนี้ว่า มาณพเอ๋ย เจ้าจงรู้จักนารีผลผู้มีเขาที่อก เจ้าจงรู้จัก สตรีเหล่านี้.

เรามิได้ทำตามคำสอนของบิดาผู้รู้นั้น วันนี้เรา ซบเซาอยู่แต่ผู้เดียว ในป่าอันหามนุษย์มิได้.

เราจักทำอย่างที่เราเป็นผู้เช่นเดิมอีก หรือจักตาย เสีย ประโยชน์อะไรด้วยชีวิตของเราที่น่าติเตียน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิมานิ ได้แก่ ถ้อยคำเหล่านี้. บทว่า กมลาสริสิตฺถโย ความว่า นารีผลทั้งหลายท่านเรียกว่า กมลา หญิงทั้งหลาย ก็เช่นเดียวกับดอกแห่งนารีผลเหล่านั้น. บทว่า ตาโย พุชฺฌสิ ความว่า คราวนั้นบิดาพร่ำสอนถ้อยคำเห็นปานนี้ กะเราว่า มาณพเอ๋ย เจ้าควรรู้จักหญิง เหล่านั้น ครั้นรู้แล้วอย่าไปสู่แนวทางที่จะดู ควรหนีไปเสีย นัยว่า นารีผล เหล่านั้น คือหญิงเหล่านี้.

บทว่า อุเร คณฺฑาโย ความว่า เจ้าจงรู้จักนารีผล ที่ประกอบไปแล้ว ด้วยเขาสองข้างที่น่าอก. บทว่า ตาโย พุชฺฌเส ความว่า ดูก่อนมาณพ เจ้าควรรู้ว่า หญิงเหล่านั้น ย่อมยังผู้ตกอยู่ในอำนาจตนให้พินาศ.

บทว่า นากํ ความว่า เรามิได้กระทำตามถ้อยคำของท่าน. บทว่า ฌายามิ ความว่า เราจึงต้องซบเซา คือ ปริเทวนาการอยู่.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 655

บทว่า ชิรตฺถุ ชีวิเตน เม ความว่า ชีวิตของเราน่าตำหนิ คือ น่าติเตียน ประโยชน์อะไรด้วยการที่เราจะมีชีวิตอยู่. บทว่า ปุน วา ความว่า เราจักเป็นเช่นเดิมอีก คือจักยังฌานที่เสื่อมแล้วให้เกิดขึ้น เป็นผู้ปราศจากราคะ ด้วยประการใด จักกระทำด้วยประการนั้นหรือ หรือว่าเราจักตายเสีย.

ท่านอิสิสิงคดาบสนั้น ละกามราคะแล้ว ยังฌานให้เกิดได้อีก. ลำดับนั้น นางอลัมพุสาเทพกัญญา เห็นเดชแห่งสมณะของพระดาบสนั้นด้วย และรู้ว่า ท่านบำเพ็ญฌานให้เกิดได้แล้วด้วย ก็ตกใจกลัว จึงขอให้ท่านอดโทษตน.

พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถา ความว่า

นางอลัมพุสาเทพกัญญา รู้จักเดช ความเพียร และปัญญาอันมั่นคง ของพระอิสิงคดาบสนั้นแล้ว ก็ ซบศีรษะลงที่เท้าของพระอิสิสิงคดาบส กล่าวว่า

ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านอย่าได้โกรธดิฉันเลย ข้าแต่ท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ขอท่านอย่าได้ โกรธดิฉันเลย ดิฉันได้บำเพ็ญประโยชน์อันใหญ่แล้ว เพื่อเทวดาชั้นไตรทศผู้มียศ เพราะว่า เทพบุรีทั้งหมด อันท่านได้ทำให้หวั่นไหวแล้ว ในคราวนั้น.

ลำดับนั้น พระอิสิสิงคดาบสตอบว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ เราอดโทษ ให้เธอ เธอจงไปตามสบายเถิด เมื่อจะปล่อยนางไป จึงกล่าวคาถา ความว่า

ดูก่อนนางผู้เจริญ ขอทวยเทพชั้นดาวดึงส์ ท้าว วาสวะจอมไตรทศและเธอ จงมีความสุขเถิด ดูก่อน นางเทพกัญญา เชิญเธอไปตามสบายเถิด.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 656

นางอลัมพุสาเทพกัญญา ไหว้พระดาบสแล้ว กลับไปสู่เทพบุรีพร้อม ด้วยบัลลังก์ทองนั้นแหละ.

พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ได้ตรัสพระคาถา ๓ คาถา ความว่า

นางอลัมพุสาเทพกัญญา ซบศีรษะลงแทบเท้า แห่งอิสิสิงคดาบส และทำประทักษิณแล้ว ประคองอัญชลีหลีกออกไปจากที่นั้น.

นางขึ้นสู่บัลลังก์ทอง พร้อมด้วยเครื่องบริวาร เครื่องปิดทรวง ๕๐ ผืน และเครื่องลาด ๑,๐๐๐ ผืน แล้วกลับไปในสำนักแห่งเทวดาทั้งหลาย.

ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงปีติโสมนัส ปลาบปลื้ม พระทัย ได้พระราชทานพรกะนางเทพกัญญานั้น ซึ่ง กำลังมาอยู่ ราวกะว่าดวงประทีปอันรุ่งเรือง ราวกะ สายฟ้าแลบ ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอกฺกมิว ความว่า ดุจประทีป. ด้วยบท มีอาทิว่า ปติโต ดังนี้ ท่านแสดงถึงอาการที่ท้าวสักกเทวราชทรงยินดี. บทว่า อททา วรํ ความว่า ท้าวสักกเทวราชทรงยินดี ได้ประทานพรให้แก่นาง อลัมพุสาเทพกัญญา ผู้มาถวายบังคมแล้วยืนอยู่.

นางอลัมพุสาเทพกัญญา เมื่อจะรับพรในสำนักของท้าวสักกเทวราช จึงกล่าวคาถาสุดท้าย ความว่า

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 657

ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าภูตทั้งปวง ถ้า พระองค์จะทรงประทานพรแก่หม่อมฉันไซร้ ขออย่า ให้หม่อมฉันต้องไปเล้าโลมพระฤาษีอีกเลย ข้าแต่ ท้าวสักกะหม่อนฉันขอพระข้อนี้.

คาถานั้น มีอรรถาธิบายดังนี้ ข้าแต่ท้าวสักกเทวราช ถ้าพระองค์จะ ทรงประทานพรแก่หม่อมฉันแล้ว หม่อมฉันขอพรข้อนี้ คือ อย่าให้หม่อมฉัน ต้องไปเล้าโลมพระฤาษีอีก คือพระองค์อย่าทรงใช้หม่อมฉัน เพื่อประโยชน์ ข้อนี้.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาแสดงแก่ภิกษุนั้นแล้ว ทรง ประกาศอริยสัจจธรรม แล้วทรงประชุมชาดก. ในที่สุดแห่งอริยสัจจกถา ภิกษุนั้น ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. (แล้วทรงประชุมชาดกว่า) นางอลัมพุสา ในครั้งนั้น ได้มาเป็นนางปุราณทุติยิกา อิสิสิงคดาบส ได้มาเป็นภิกษุผู้ กระสัน ส่วนมหาฤาษีผู้บิดา ได้มาเป็นเราผู้ตถาคตฉะนี้แล.

จบอรรถกถาอลัมพุสาชาดก