พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. สังขปาลชาดก ว่าด้วยสังขปาลนาคราชบําเพ็ญตบะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ส.ค. 2564
หมายเลข  35992
อ่าน  537

[เล่มที่ 61] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 658

๔. สังขปาลชาดก

ว่าด้วยสังขปาลนาคราชบําเพ็ญตบะ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 61]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 658

๔. สังขปาลชาดก

ว่าด้วยสังขปาลนาคราชบำเพ็ญตบะ

[๒๔๙๕] (พระเจ้าพาราณสี ตรัสว่า) ท่านเป็นผู้มี รูปร่างงดงาม มีดวงตาแจ่มใส ข้าพเจ้าสำคัญว่าท่าน ผู้เจริญคงบวชจากสกุล ไฉนหนอ ท่านผู้มีปัญญาจึง สละทรัพย์ และโภคสมบัติ ออกบวชเป็นบรรพชิต เสียเล่า?

[๒๔๙๖] (อาฬารดาบส ทูลว่า) ดูก่อนมหาบพิตรผู้เป็นจอมนรชน อาตมาภาพได้เห็นวิมานของ พญาสังขปาลนาคราช ผู้มีอานุภาพมาก ด้วยตนเอง ครั้นเห็นแล้ว จึงออกบวชโดยเชื่อมหาวิบากของบุญ ทั้งหลาย.

[๒๔๙๗] (พระเจ้าพาราณสี ตรัสว่า) บรรพชิต ทั้งหลาย ย่อมไม่กล่าวคำเท็จ เพราะความรัก เพราะ ความกลัว เพราะความชัง ข้าพเจ้าถามท่านแล้ว ขอท่านได้โปรดบอกเนื้อความนั้น แก่ข้าพเจ้า เพราะ ข้าพเจ้าได้ฟังแล้ว จักเกิดความเลื่อมใส.

[๒๔๙๘] (อาฬารดาบส ทูลว่า) ดูก่อนมหาบพิตร ผู้เป็นอธิบดีในรัฐมณฑล อาตมาภาพเดินทางไปค้าขาย ได้เห็นบุตรนายพรานช่วยกันหามนาคตัวมีร่างกายใหญ่- โต เดินร่าเริงไปในหนทาง.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 659

ดูก่อนพระจอมประชานิกร อาตมาภาพมาประจวบเข้ากับลูกนายพรานเหล่านั้น ก็กลัวจนขนลุกขน พอง ได้ถามเขาว่า ดูก่อนพ่อบุตรนายพราน ท่าน ทั้งหลายจะนำงูซึ่งมีร่างกายน่ากลัวไปไหน ท่านทั้งหลายจักทำอะไรกับงูนี้?

(พวกบุตรนายพรานกล่าวว่า) งูใหญ่มีกายอันเจริญ พวกเรานำไปเพื่อจะกิน เนื้อของมันมีรสอร่อย มัน และอ่อนนุ่ม ดูก่อนท่านผู้เป็นบุตรชาววิเทหรัฐ ท่าน ยังมิได้เคยลิ้มรส.

เราทั้งหลายไปจากที่นี่ ถึงบ้านของตนแล้ว จะ เอามีดสับกินเนื้อกันให้สำราญใจ เพราะว่าเราทั้งหลาย เป็นศัตรูของพวกงู.

อาตมาภาพจึงพูดว่า

ถ้าท่านทั้งหลาย จะนำงูใหญ่มีกายอันเจริญนี้ไป เพื่อกิน เราจะให้โค ๑๖ ตัว แก่ท่านทั้งหลาย ขอให้ ปล่อยงูนี้เสียจากเครื่องผูกเถิด.

พวกเขาตอบว่า

ความจริงงูตัวนี้เป็นอาหาร ที่ชอบใจของเรา ทั้งหลายโดยแท้และเราทั้งหลายเคยกินงูมามาก ดูก่อน นายอาฬาระผู้เป็นบุตรชาววิเทหรัฐ เราทั้งหลายจักทำ ตามคำของท่าน ดูก่อนท่านผู้เป็นบุตรของชาววิเทหะ แต่ว่าท่านจงเป็นมิตรของเราทั้งหลาย.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 660

ชนเหล่านั้นแก้นาคราชออกจากเครื่องผูก นาคราชได้พ้นจากเครื่องผูก ซึ่งเขาร้อยไว้ที่จมูกกับบ่วง นั้น แล้วบ่ายหน้าตรงไปทิศปราจีน หลีกไปได้ครู่หนึ่ง

ครั้นบ่ายหน้าตรงไปทิศปราจีน ได้สักครู่หนึ่ง มีดวงตาเต็มไปด้วยน้ำตา เหลียวมาดูอาตมาภาพ อาตมาภาพได้ตามไปข้างหลังของนาคราชในคราวนั้น ประคองอัญชลี ทั้ง ๑๐ นิ้ว เตือนว่า

ท่านจงรีบไปเสียโดยเร็ว ขอพวกศัตรูอย่าจับได้ อีกเลย เพราะว่าการสมาคมกับพวกพรานบ่อยๆ เป็น ทุกข์ ท่านจงไปสถานที่ๆ พวกบุตรนายพรานจะไม่เห็น.

นาคราชนั้นได้ไปสู่ห้วงน้ำใส มีสีเขียวน่ารื่นรมย์ มีท่าราบเรียบ ปกคลุมไปด้วยไม้หว้า และย่างทราย เป็นผู้ปลอดภัย มีปีติ เข้าไปยังนาคพิภพ.

ดูก่อนพระจอมประชานิกร นาคราชนั้น ครั้น ข้าไปสู่นาคพิภพแล้ว ไม่ช้าก็มีบริวารทิพย์มาปรากฏ แก่อาตมาภาพ บำรุงอาตมาภาพเหมือนบุตรบำรุงบิดา ฉะนั้น พูดจารื่นหู จับใจว่า

ท่านอาฬาระ ท่านเป็นเหมือนมารดาบิดาของ ข้าพเจ้า เป็นดังดวงใจเป็นผู้ให้ชีวิต เป็นสหาย ข้าพเจ้าจึงกลับได้อิทธิฤทธิ์ของตน ข้าแต่ท่านอาฬาระ ขอเชิญท่านไปเยี่ยมนาคพิภพของข้าพเจ้า ซึ่งมีภักษา-

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 661

หารมาก มีข้าวและน้ำมากมาย ดังเทพนครของท้าว วาสวะฉะนั้น.

[๒๔๙๙] (พญานาคราช กล่าวว่า) นาคพิภพนั้น สมบูรณ์ด้วยภูมิภาค ภาคพื้นไม่มีกรวด อ่อนนุ่ม งดงาม มีหญ้าเตี้ยๆ ไม่มีละอองธุลี นำมาซึ่งความ เลื่อมใส ระงับความโศก ของผู้ที่เข้าไป.

ในนาคพิภพนั้น มีสระโบกขรณี อันไม่อากูล เขียวชอุ่มดังแก้วไพฑูรย์ มีต้นมะม่วง น่ารื่นรมย์ ทั้ง ๔ ทิศ มีผลสุกกึ่งหนึ่ง ผลอ่อนถึงหนึ่ง เผล็ดผล เป็นนิตย์.

[๒๕๐๐] (อาฬารดาบส กล่าวว่า) ดูก่อนมหาบพิตรผู้ประเสริฐกว่านรชน ในท่ามกลางสวน เหล่านั้น มีนิเวศน์เลื่อมประภัสสร ล้วนแล้วไปด้วย ทองคำ มีบานประตูแล้วไปด้วยเงิน งามรุ่งเรืองยิ่ง ประหนึ่งสายฟ้ารุ่งเรืองอยู่ในกลางหาว ฉะนั้น.

ขอถวายพระพร ในท่ามกลางสวนเหล่านั้น เรือนยอดและห้อง แล้วไปด้วยแก้วมณี แล้วไปด้วย ทองคำ โอฬาร วิจิตร เป็นอเนกประการเนรมิตด้วยดี ติดต่อกันเต็มไปด้วยนางนาคกัญญาทั้งหลาย ผู้ประดับ แล้ว ล้วนทรงสายสร้อยทองคำ.

สังขปาลนาคราชนั้น มีผิวพรรณไม่ทราม ว่องไว ขึ้นสู่ปราสาท มีเสาประมาณพันต้น มีอานุภาพ ชั่งไม่ได้ เป็นที่อยู่แห่งมเหสี ของสังปาลนาคราชนั้น.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 662

นารีหนึ่งว่องไว ไม่ต้องเตือน ยกอาสนะล้วน ด้วยแก้วไพฑูรย์ มีค่ามาก งดงาม สมบูรณ์ด้วย แก้วมีชาติดังแก้วมณี มาปูลาด.

ลำดับนั้น นาคราชจูงมืออาตมาภาพ ให้นั่งบน อาสนะอันเป็นประธาน กล่าวว่า นี่อาสนะ เชิญท่าน นั่งบนอาสนะนี้ เพราะว่าท่านเป็นที่เคารพคนหนึ่ง ของข้าพเจ้า ในจำนวนท่านที่เคารพทั้งหลาย.

ดูก่อนพระจอมประชานิกร นารีอีกนางหนึ่งก็ ว่องไว ตักเอาน้ำมาล้างเท้าของอาตมาภาพ ดุจภรรยา ล้างเท้าสามีที่รักฉะนั้น.

มีนารีอีกนางหนึ่งว่องไว ประคองภาชนะทองคำ เต็มไปด้วยภัตตาหารน่าบริโภค มีสูปะหลายอย่าง มีพยัญชนะต่างๆ นำมาให้อาตมา.

ขอถวายพระพร นารีเหล่านั้นรู้จักใจสามี พา กันบำรุงอาตมาภาพ ผู้บริโภคแล้ว ด้วยดนตรีทั้งหลาย นาคราชนั้น ก็เข้ามาหาอาตมาภาพพร้อม ด้วยกามคุณ อันเป็นทิพย์ มิใช่น้อย ใหญ่ยิ่งกว่าการฟ้อนรำนั้น.

[๒๕๐๑] (พญานาคราช กล่าวว่า) ข้าแต่ท่านอาฬาระ ภรรยาของข้าพเจ้าทั้ง ๓๐๐ นางนี้ ล้วนมีเอว อ้อนแอ้น มีรัศมีรุ่งเรืองดังกลีบประทุม นางเหล่านี้ จักเป็นผู้บำรุงบำเรอท่าน ข้าพเจ้าขอยกนางเหล่านี้ให้ ท่าน ท่านจงให้นางเหล่านี้ บำเรอท่านเถิด.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 663

[๒๕๐๒] (อาฬารดาบส กล่าวว่า) อาตมาภาพได้ เสวยรสอันเป็นทิพย์อยู่ปีหนึ่ง คราวนั้นอาตมาภาพ ได้ ไต่ถามถึงสมบัติอันยิ่งว่า ท่านพญานาคได้สมบัตินี้ ด้วยอุบายอย่างไร ได้วิมานอันประเสริฐอย่างไร ได้ โดยมีเหตุ หรือเกิดเพราะใครน้อมมาให้แก่ท่าน ท่าน กระทำเอง หรือเทวดาให้ ดูก่อนพญานาคราช ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนั้นกะท่าน ท่านได้วิมานอันประ เสริฐอย่างไร?

[๒๕๐๓] (สังขปาลนาคราช กล่าวว่า) ข้าพเจ้าได้ วิมานนี้ มิใช่โดยไม่มีเหตุ และมิใช่เกิดเพราะใครน้อม มาให้ข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามิได้ทำเอง แม้เทวดาก็มิได้ให้ ข้าพเจ้าได้วิมานนี้ ด้วยบุญกรรมอันไม่เป็นบาปของ ตน.

[๒๕๐๔] (อาฬารกุฎุมพี ถามว่า) พรตของท่าน เป็นอย่างไร และพรหมจรรย์ของท่านเป็นไฉน นี้เป็น วิบากแห่งกรรมอะไรที่ท่านประพฤติดีแล้ว ดูก่อนพญา นาคราช ขอท่านจงบอกเนื้อความนี้แก่ข้าพเจ้า ท่าน ได้วิมานนี้มาอย่างไรหนอ?

[๒๕๐๕] (สังขปาลนาคราช ตอบว่า) ข้าพเจ้าได้ เป็นพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ กว่าชนชาวมคธ มีนามว่า " ทุยโยชนะ " มีอานุภาพมากได้เห็นชัดว่า ชีวิตเป็น

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 664

ของนิดหน่อยไม่เที่ยง มีความแปรปรวนไปเป็น ธรรมดา.

จึงเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส ได้ให้ข้าวและน้ำ เป็นทาน อันไพบูลย์ โดยเคารพ วังของข้าพเจ้าในครั้งนั้น เป็น ดุจบ่อน้ำ สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ก็อิ่มหนำสำราญ ในที่นั้น.

ข้าพเจ้าได้ให้ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ประทีป ยวดยาน ที่พัก ผ้านุ่งห่ม ที่นอน และข้าว น้ำ เป็นทานโดยเคารพ ในที่นั้น.

นั่นเป็นพรต และพรหมจรรย์ของข้าพเจ้า นี้เป็น วิบากแห่งกรรมนั้น ที่ข้าพเจ้าประพฤติดีแล้ว ข้าพเจ้า ได้วิมานอันมีภักษาหารเพียงพอ มีข้าวน้ำมากมาย เพราะวัตร และพรหมจรรย์นั้นแล.

[๒๕๐๖] วิมานนี้บริบูรณ์ ด้วยการฟ้อนรำ ขับ ร้องตั้งอยู่ช้านาน แต่เป็นของไม่เที่ยง อาตมาภาพ จึง ถามว่า บุตรนายพรานทั้งหลาย ผู้มีอานุภาพน้อย ไม่ มีเดช ไยจึงเบียดเบียนท่านผู้มีอานุภาพมาก มีเดชได้ ดูก่อนท่านผู้มีเขี้ยวเป็นอาวุธ เพราะอาศัยอะไรหรือ ท่านจึงถึงความเศร้าหมอง ในสำนักของบุตรนายพรานทั้งหลาย?

ความกลัวใหญ่ ตามถึงท่าน หรือว่า พิษของท่าน ไม่แล่นไปยังรากเขี้ยว ดูก่อนท่านผู้มีเขี้ยวเป็นอาวุธ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 665

เพราะอาศัยอะไรหรือ ท่านจึงถึงความเศร้าหมอง ใน สำนักของบุตรนายพรานทั้งหลาย?

[๒๕๐๗] มหันตภัยมิได้ตามถึงข้าพเจ้าเลย ชน พวกนั้น ไม่อาจทำลายเดชของข้าพเจ้าได้ แต่ว่าธรรม ของสัตบุรุษทั้งหลาย ท่านประกาศไว้ดีแล้ว ยากที่จะ ล่วงได้ เหมือนเขตแดนแห่งสมุทร ฉะนั้น.

ข้าแต่ท่านอาฬาระ ข้าพเจ้าเข้าจำอุโบสถ ในวัน จาตุททสี ปัณณรสีเป็นนิตย์ ต่อมาพวกบุตรนายพราน ๑๖ คน เป็นคนหยาบช้า ถือเอาเชือกและบ่วงอัน มั่นคงมา.

พรานทั้งหลาย ช่วยกันแทงจมูก เอาเชือกร้อย แล้วหามข้าพเจ้าไป ข้าพเจ้าอดทนต่อทุกข์เช่นนั้น ไม่ ทำอุโบสถให้กำเริบ.

[๒๕๐๘] (อาฬารกุฎุมพีกล่าวว่า) บุตรนายพราน เหล่านั้น ได้พบท่านผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง และผิวพรรณ ที่ทางเดินคนเดียว ดูก่อนท่านนาคราช ท่านเป็นผู้ เจริญด้วยสิริ และปัญญา จะบำเพ็ญตบะเพื่อประโยชน์ อะไรอีกเล่า?

[๒๕๐๙] (สังขปาลนาคราชตอบว่า) ข้าแต่ท่าน อาฬาระ ข้าพเจ้าบำเพ็ญตบะ มิใช่เพราะเหตุแห่งบุตร มิใช่เพราะเหตุแห่งทรัพย์ และมิใช่เพราะเหตุแห่งอายุ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 666

เพราะข้าพเจ้าปรารถนากำเนิดมนุษย์ จึงบากบั่น บำเพ็ญตบะ.

[๒๕๑๐] (อาตมาภาพถามว่า) ท่านเป็นผู้มีนัยน์ตา แดง มีรัศมีรุ่งเรือง ประดับตกแต่งแล้ว ปลงผมและ หนวด ชโลมทาด้วยจุรณจันทน์แดง ส่องสว่างไป ทั่วทิศ ดุจคนธรรพราชา ฉะนั้น.

ท่านเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก พรั่งพร้อมไปด้วยกามารมณ์ทั้งปวง ดูก่อนพญานาคราช ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนี้กะท่าน เหตุไรมนุษยโลก จึงประเสริฐกว่านาคพิภพนี้?

[๒๕๑๑] (สังขปาลนาคราชตอบว่า) ข้าแต่ท่าน อาฬาระ นอกจากมนุษยโลก ความบริสุทธิ์หรือความ สำรวมย่อมไม่มี ถ้าข้าพเจ้าได้กำเนิดมนุษย์แล้ว จัก กระทำที่สุดแห่งชาติและมรณะ.

[๒๕๑๒] (อาฬารกุฏุมพีกล่าวว่า) ข้าพเจ้าอยู่ใน สำนักของท่านปีหนึ่งแล้ว เป็นผู้ที่ท่านบำรุงด้วยข้าว ด้วยน้ำ ข้าพเจ้าขอลาท่าน ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมนาค ข้าพเจ้าจากมนุษยโลกมาเสียนาน.

[๒๕๑๓] (สังขปาลนาคราชตอบว่า) ข้าแต่ท่าน อาฬาระ บุตร ภรรยา และชนบริวาร ข้าพเจ้าพร่ำสอน เป็นนิตย์ให้บำรุงท่าน ใครมิได้แช่งด่าท่านแลหรือ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 667

เพราะว่าการที่ได้พบท่าน นับว่าเป็นที่พอใจของ ข้าพเจ้า.

[๒๕๑๔] (อาฬารกุฏุมพีตอบว่า) ดูก่อนพญานาคราช บุตรที่รักปฏิบัติบำรุงมารดาบิดาในเรือน เป็นผู้ประเสริฐ แม้ด้วยประการใด ท่านบำรุงข้าพเจ้า อยู่ในที่นี้ เป็นผู้ประเสริฐ แม้กว่าประการนั้น เพราะว่า จิตของท่านเลื่อมใสข้าพเจ้า.

[๒๕๑๕] (สังขปาลนาคราชกล่าวว่า) แก้วมณีอัน จะนำทรัพย์มาได้ตามประสงค์ ของข้าพเจ้ามีอยู่ ท่าน จงถือเอามณีรัตน์อันโอฬารนั้นไป ยังที่อยู่ของตน ได้ ทรัพย์แล้วจงเก็บแก้วมณีนั้นไว้.

[๒๕๑๖] (อาฬาดาบสทูลว่า) ขอถวายพระพร แม้กามคุณเป็นของมนุษย์ อาตมาภาพได้เห็นแล้ว เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา อาตมาภาพเห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย จึงออกบวช ด้วยศรัทธา.

ขอถวายพระพร ทั้งคนหนุ่มคนแก่ ย่อมมีสรีระ ทำลายร่วงหล่นไป เปรียบเหมือนผลไม้ ฉะนั้น อาตมาภาพเห็นคุณข้อนี้ว่า สามัญผลเป็นข้อปฏิบัติอัน ไม่ผิด ประเสริฐจึงออกบวช.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 668

[๒๕๑๗] (พระเจ้าพาราณสีตรัสว่า) ชนเหล่าใด เป็นพหูสูต ค้นคิดเหตุผลได้มาก ชนเหล่านั้นเป็น คนมีปัญญา บุคคลควรคบหาโดยแท้ทีเดียว ข้าแต่ท่าน อาฬาระ ข้าพเจ้าได้ฟังคำของพญานาคราช และของ ท่านแล้ว จักทำบุญมิใช่น้อย.

[๒๕๑๘] (อาฬารดาบสทูลว่า) ขอถวายพระพร ชนทั้งหลายเป็นพหูสูต ค้นคิดเหตุผลได้มาก ชน เหล่านั้นเป็นคนมีปัญญา บุคคลควรคบหาโดยแท้ ทีเดียว ดูก่อนราชันย์ เพราะทรงสดับเรื่องราวของ พญานาคราช และของอาตมาภาพแล้ว ขอพระองค์ โปรดทรงบำเพ็ญกุศลให้มาก.

จบสังขปาลชาดกที่ ๔

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 669

อรรถกถาสังขปาลชาดก

พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระ ปรารภอุโบสถกรรม ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อริยาวกาโสสิ ดังนี้.

ความพิสดารว่า คราวนั้น พระบรมศาสดาทรงยังอุบาสกทั้งหลาย ผู้รักษาอุโบสถให้ร่าเริงแล้วตรัสว่า โบราณบัณฑิตทั้งหลาย ละนาคสมบัติอัน ใหญ่แล้ว เข้าจำอุโบสถเหมือนกัน อุบาสกเหล่านั้น ทูลอาราธนาแล้ว จึงทรง นำอดีตนิทานมาตรัสดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล พระเจ้าแผ่นดินมคธ เสวยราชสมบัติในพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงบังเกิดในพระครรภ์ แห่งพระอัครมเหสีของ พระราชานั้น. พระชนกชนนีทรงขนานพระนามว่า ทุยโยธนกุมาร เธอ เจริญวัยแล้ว ไปเรียนสรรพศิลปศาสตร์ในเมืองตักกศิลา กลับมาแสดงศิลปะ ถวายพระราชบิดา ต่อมาพระราชบิดาจึงอภิเษกพระกุมารไว้ในราชสมบัติ แล้ว ผนวชเป็นพระฤาษีอยู่ในพระราชอุทยาน พระโพธิสัตว์ได้เสด็จไปยังสำนักของ พระราชบิดาวันละ ๓ ครั้ง. ลาภสักการะใหญ่เกิดขึ้นแก่พระราชฤาษี. พระราช ฤาษีไม่สามารถจะทำแม้เพียงกสิณบริกรรมได้ด้วยความกังวลนั้น จึงทรงดำริว่า ลาภสักการะของเรามากมาย เราอยู่ที่นี่ไม่สามารถจะตัดรกชัฏนี้ได้ เราจักไม่ บอกลาพระโอรส ไปเสียในที่อื่น. พระราชฤาษีไม่บอกให้ใครๆ รู้ เสด็จ ออกจากสวน ดำเนินล่วงมคธรัฐเข้าไปอาศัยจันทกบรรพต ทำบรรณศาลาอยู่ ณ ที่นั้น ในสถานที่พอไปมาได้ แต่แม่น้ำกัณณเวณณาอันไหลออกจากลำน้ำ ชื่อสังขปาละ เขตมหิสกรัฐ กระทำกสิณบริกรรม ยังฌานและอภิญญาให้

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 670

บังเกิดแล้ว ดำรงชีพด้วยการเที่ยวขอเลี้ยงชีพ. นาคราชชื่อสังขปาละออกจาก กัณณเวณณานทีพร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก เข้าไปหาพระราชฤาษีนั้นเป็นครั้ง คราวพระราชฤาษีก็แสดงธรรม แก่พญาสังขปาลนาคราชนั้น. ต่อมาพระราชโอรสของพระราชฤาษีนั้น อยากจะทรงพบพระชนก แต่ไม่ทราบสถานที่เสด็จไป จึงโปรดให้เที่ยวติดตาม ทรงทราบว่าประทับอยู่ในสถานที่ชื่อโน้น ก็เสด็จไป ณ ที่นั้น พร้อมด้วยข้าราชบริพารมากมาย เพื่อทรงเยี่ยมเยียนพระราชฤาษี รับสั่งให้ตั้งค่าย ณ ที่ส่วนหนึ่ง พร้อมด้วยอำมาตย์สองสามคน เสด็จมุ่งหน้า ต่ออาศรมสถาน ขณะนั้น สังขปาลนาคราช กำลังนั่งฟังธรรมอยู่กับบริวาร จำนวนมาก เหลือบเห็นพระราชาเสด็จมา จึงไหว้พระฤาษีลุกขึ้นจากอาสนะ หลีกไป พระราชาถวายบังคมพระบิดาทรงทำปฏิสันถาร ประทับนั่งแล้ว ทูลถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ นั่นพระราชาที่ไหนเสด็จมายังสำนักของ พระคุณท่าน ตรัสตอบว่า ลูกรัก นั่นคือพญาสังขปาลนาคราช ทรงเกิดความ โลภในนาคพิภพ เพราะอาศัยสมบัติของพญานาคราชนั้น ประทับอยู่สองสามวัน โปรดให้จัดภิกษาหารถวายพระราชบิดาเป็นประจำ แล้วเสด็จกลับยังพระนคร ของพระองค์ทีเดียว โปรดให้สร้างโรงทานไว้ในทิศทั้ง ๔ ยังสกลชมพูทวีปให้ เอิกเกริก ทรงบริจาคทาน รักษาศีล ทำการรักษาอุโบสถกรรม ปรารถนา นาคพิภพ ในที่สุดแห่งพระชนมายุ ก็ได้ไปบังเกิดเป็นพญาสังขปาลนาคราช ในนาคพิภพ เมื่อล่วงผ่านเลยไป เธอเป็นผู้เดือดร้อนรำคาญในสมบัตินั้น นับแต่นั้นมา ก็ปรารถนากำเนิดมนุษย์อยู่รักษาอุโบสถกรรม เมื่อพญาสังขปาล นาคราชอยู่ในนาคพิภพคราวนั้น การอยู่รักษาอุโบสถ ไม่สำเร็จผล ย่อมถึง ศีลพินาศ. จำเดิมแต่นั้น ท้าวเธอจึงออกจากนาคพิภพไปขดวงล้อมจอมปลวก แห่งหนึ่ง ในระหว่างทางใหญ่ และทางเดินเฉพาะคนๆ เดียว ไม่ห่างแม่น้ำ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 671

กัณณเวณณานที อธิษฐานอุโบสถ เป็นผู้มีศีลอันสมาทานแล้ว สละตนใน ทานมุขว่า ชนทั้งหลายผู้มีความต้องการด้วยหนังและเนื้อเป็นต้นของเรา จงนำ หนังและเนื้อเป็นต้นไปเถิด แล้วนอนอยู่บนยอดจอมปลวก บำเพ็ญสมณธรรม อยู่รักษาอุโบสถในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ แล้วไปสู่นาคพิภพในวันปาฏิบท.

วันหนึ่ง เมื่อพญานาคราช สมาทานศีลนอนอยู่อย่างนี้ มีชาวปัจจันตคาม ๑๖ คน คิดกันว่า พวกเราจักไปหาเนื้อมา มีอาวุธครบมือ เที่ยวไปในป่า เมื่อไม่ได้อะไร ก็กลับออกมา พบพญานาคราชนั้นนอนอยู่บนจอมปลวก คิดกันว่า วันนี้พวกเราไม่ได้แม้แต่ลูกเหี้ย พวกเราจักฆ่าพญานาคราชนี้ รับประทาน แล้วคิดต่อไปว่า นาคราชนี้ใหญ่โต เมื่อถูกจับ คงจะหนีไปเสีย จักต้องเอาหลาวแทงที่ขนดทั้งๆ ที่ยังนอนทีเดียว ทำให้หมดกำลังแล้วคงจับ เอาได้ ต่างถือหลาวเป็นต้นเข้าไปใกล้ร่างกายแม้ของพระโพธิสัตว์ขนาดเท่า เรือโกลนลำใหญ่ลำหนึ่ง เช่นเดียวกับพวงมะลิอันบุคคลวงตั้งไว้ นาคราชนั้น ประกอบด้วยนัยน์ตาคล้ายเมล็ดมะกล่ำ ศีรษะเช่นกับดอกชัยพฤกษ์และดอกมะลิ ย่อมงามเกินที่เปรียบได้. ด้วยเสียงฝีเท้าของคนทั้ง ๑๖ คน พญานาคจึง โผล่ศรีษะออกจากวงขนด ลืมดวงตาอันแดงมองเห็นคนเหล่านั้น มีมือถือหลาว เดินมา จึงคิดว่า วันนี้มโนรถของเราจักถึงที่สุด เรามอบตนในทานมุขแล้ว จึงนอนอธิษฐานความเพียร เราจักไม่ลืมตาดูคนเหล่านี้ เอาหอกทิ่มแทงสรีระ ของเรา ทําให้เป็นช่องน้อยช่องใหญ่ ด้วยอํานาจความโกรธ เพราะกลัวศีล ของตนจะทำลายจึงอธิษฐานมั่นคง สอดศีรษะเข้าไปในวงขนดนอนอยู่อย่างเดิม. ครั้นคนเหล่านั้นเข้ามาใกล้แล้ว จึงจับหางพญานาค กระชากให้ตกลงภาคพื้น เอาหลาวอันคมแทงที่ขนดแปดแห่ง สอดหวายดำมีหนามเข้าไปตามช่องที่แทง เอาคานสอดในที่ทั้งแปดแล้ว พากันเดินทางกลับหนทางใหญ่ พระมหาสัตว์

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 672

นับแต่ถูกแทงด้วยหลาว ก็มิได้ลืมตาดูคนเหล่านั้น ด้วยอำนาจความโกรธ แม้ในที่แห่งเดียว เมื่อถูกเขาเอาคานทั้งแปดหามไป ศีรษะก็ห้อยลงกระทบพื้น ลำดับนั้น คนเหล่านั้น พูดกันว่า ศีรษะของพญานาคห้อยลง จึงให้นอนใน ทางใหญ่ เอาหลาวเล็กแทงที่ช่องจมูก แล้วเอาเชือกร้อย แล้วยกศีรษะพาดที่ ปลายคาน ช่วยกันยกขึ้น เดินทางต่อไปอีก.

ขณะนั้น กุฏุมพีชื่ออาฬาระ ชาวเมืองมิถิลา เขตวิเทหรัฐ นั่งบน ยานอันสบาย พาเกวียน ๕๐๐ เล่ม เดินทางผ่านไป เห็นลูกบ้านชาวปัจจันตคามกำลังหามพระโพธิสัตว์เดินไปอย่างนั้น จึงให้มาสกทองคนละซองมือ กับ โคพาหนะ ๑๖ ตัว แก่คนทั้ง ๑๖ คน และให้ผ้านุ่ง ผ้าห่ม แก่คนเหล่านั้น ทุกคน ทั้งให้ผ้าผ่อน และเครื่องประดับ แม้แก่ภรรยาของคนเหล่านั้น ขอร้อง ให้ปล่อยพญานาคไป. พญานาคไปยังนาคพิภพ มิได้มัวโอ้เอ้อยู่ในนาคพิภพ เลย ออกไปหาอาฬารกุฎุมพีพร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก กล่าวคุณของนาคพิภพแล้ว เชิญกุฎุมพีนั้นไปยังนาคพิภพ ประทานยศใหญ่พร้อมด้วยนางนาค กัญญาสามร้อยแก่กุฎุมพีนั้น ให้อิ่มหนำสำราญด้วยกามคุณอันเป็นทิพย์ อาฬาร กุฏุมพีอยู่บริโภคกามอันเป็นทิพย์ ในนาคพิภพสิ้นเวลาประมาณหนึ่งปีแล้วบอก พญานาคว่า สหาย เราปรารถนาจะบวช รับเอาบริขารบรรพชิตแล้วไปจาก นาคพิภพ บวชอยู่ในหิมวันตประเทศสิ้นกาลนาน ต่อมาจึงเที่ยวจาริกไปจนถึง เมืองพาราณสี พักอยู่ในพระราชอุทยาน รุ่งขึ้นเข้าไปยังพระนครเพื่อภิกษาจาร ได้ไปสู่ประตูพระราชวัง ครั้งนั้นพระเจ้าพาราณสี ทอดพระเนตรเห็นอาฬาร ดาบสนั้นแล้ว ทรงเลื่อมใสในอิริยาบถ จึงรับสั่งให้นิมนต์มา ให้นั่งเหนือ ปัญญัตตาอาสน์ ให้ฉันโภชนะมีรสเลิศต่างๆ แล้วประทับนั่งบนอาสนะตำแหน่ง หนึ่ง ทรงนมัสการ เมื่อจะทรงปราศัยกับดาบสนั้น ตรัสคาถาที่ ๑ ความว่า

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 673

ท่านเป็นผู้มีรูปร่างงดงาม มีดวงตาแจ่มใส ข้าพเจ้าสำคัญว่า ท่านผู้เจริญคงบวชจากสกุล ไฉนหนอ ท่านผู้มีปัญญาจึงสละทรัพย์ และโภคสมบัติออกบวช เป็นบรรพชิตเสียเล่า?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อริยาวกาโสสิ ความว่า พระเจ้า พาราณสีตรัสถามว่า ท่านเป็นผู้มีโอกาส คือสรีระงามหาโทษมิได้ ได้แก่ เป็นผู้มีรูปงามยิ่ง. บทว่า ปสนฺนเปตฺโต ความว่า มีดวงเนตรประกอบด้วย ประสาททั้ง ๕. บทว่า กุลมฺหา ความว่า ข้าพเจ้าสำคัญว่า ท่านคงเป็น ผู้บวชจากตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ หรือตระกูลเศรษฐี. บทว่า กถํ นุ ความว่า เพราะเหตุไรหรือท่านผู้เป็นบัณฑิต ทำอะไรเป็นอารมณ์ จึงได้สละทรัพย์และโภคสมบัติออกจากเรือนบวชเสีย. บทว่า สปญฺโ ได้แก่ บุรุษผู้เป็นบัณฑิต.

ถัดจากนั้นไป ควรทราบความเกี่ยวโยงแห่งคาถา ด้วยสามารถแห่ง คำโต้ตอบ ระหว่างดาบส และพระราชาดังต่อไปนี้

อาฬารดาบส ทูลว่า

ดูก่อนมหาบพิตรผู้เป็นจอมนรชน อาตมาภาพ ได้เห็นวิมานของพญาสังขปาลนาคราช ผู้มีอานุภาพ มากด้วยตนเอง ครั้นเห็นแล้ว จึงออกบวชโดยเชื่อ มหาวิบากของบุญทั้งหลาย.

พระราชาตรัสว่า

บรรพชิตทั้งหลายย่อมไม่กล่าวคำเท็จ เพราะ ความรัก เพราะความกลัว เพราะความชัง ข้าพเจ้า

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 674

ถามท่านแล้ว ขอท่านได้โปรดบอกเนื้อความนั้นแก่ ข้าพเจ้า เพราะข้าพเจ้าได้ฟังแล้ว จักเกิดความเลื่อมใส.

อาฬารดาบส ทูลว่า

ดูก่อนมหาบพิตร ผู้เป็นอธิบดีในรัฐมณฑล อาตมาภาพเดินทางไปค้าขาย ได้เห็นบุตรนายพราน ช่วยกันหามนาคผู้มีร่างกายใหญ่โต เดินร่าเริงไปใน หนทาง.

ดูก่อนพระจอมประชานิกร อาตมาภาพมาประจวบเข้ากับลูกนายพรานเหล่านั้น ก็กลัวจนขนลุกขน พอง ได้ถามเขาว่า ดูก่อนพ่อบุตรนายพราน ท่านทั้ง หลายจะนำงูซึ่งมีร่างกายน่ากลัวไปไหน ท่านทั้งหลาย จักทำอะไรกับงูนี้.

เขาพากันตอบว่า

งูใหญ่มีกายอันเจริญ พวกเรานำไปเพื่อจะกิน เนื้อของมันมีรสอร่อยมัน และอ่อนนุ่ม ดูก่อนท่านผู้ เป็นบุตรชาววิเทหรัฐ ท่านยังมิได้เคยลิ้มรส. เราทั้งหลายไปจากที่นี่ ถึงบ้านของตนแล้ว จะ เอามีดสับกินเนื้อกันให้สำราญใจ เพราะว่าเราทั้งหลาย เป็นศัตรูของพวกงู.

อาตมาภาพจึงพูดว่า

ถ้าท่านทั้งหลาย จะนำงูใหญ่มีกายอันเจริญนี้ไป เพื่อกิน เราจะให้โค ๑๖ ตัว แก่ท่านทั้งหลาย ขอให้ ปล่อยงูนี้เสียจากเครื่องผูกเถิด.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 675

พวกเขาตอบว่า

ความจริง งูตัวนี้เป็นอาหารที่ชอบใจของเรา ทั้งหลายโดยแท้และเราทั้งหลายเคยกินงูมามาก ดูก่อน นายอาฬาระผู้เป็นบุตรชาววิเทหรัฐ เราทั้งหลายจักทำ ตามคำของท่าน ดูก่อนท่านผู้เป็นบุตรของชาววิเทหะ แต่ว่าท่านจงเป็นมิตรของเราทั้งหลาย.

ชนเหล่านั้นแก้นาคราชออกจากเครื่องผูก นาคราชได้พ้นจากเครื่องผูกซึ่งเขาร้อยไว้ที่จมูกกับบ่วงนั้น แล้วบ่ายหน้าตรงไปทิศปราจีน หลีกไปได้ครู่หนึ่ง.

ครั้นบ่ายหน้าตรงไปทิศปราจีน ได้สักครู่หนึ่ง มีดวงตาเต็มไปด้วยน้ำตา เหลียวมาดูอาตมาภาพ อาตมาภาพได้ตามไปข้างหลังของนาคราชในคราวนั้น ประคองอัญชลีทั้ง ๑๐ นิ้ว เตือนว่า

ท่านจงรีบไปเสียโดยเร็ว ขอพวกศัตรูอย่าจับได้ อีกเลย เพราะว่าการสมาคมกับพวกพรานบ่อยๆ เป็น ทุกข์ ท่านจงไปสถานที่ๆ พวกบุตรนายพรานจะไม่ เห็น.

นาคราชนั้นได้ไปสู่ห้วงน้ำใส มีสีเขียว น่ารื่นรมย์ มีท่าราบเรียบปกคลุมไปด้วยไม้หว้าและย่างทราย เป็นผู้ปลอดภัย มีปีติ เข้าไปยังนาคพิภพ.

ดูก่อนพระจอมประชานิกร นาคราชนั้นครั้น เข้าไปสู่นาคพิภพแล้ว ไม่ช้าก็มีบริวารทิพย์มาปรากฏ

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 676

แก่อาตมาภาพ บำรุงอาตมาภาพเหมือนบุตรบำรุงบิดา ฉะนั้น พูดจารื่นหู จับใจว่า

ท่านอาฬาระ ท่านเป็นเหมือนมารดาบิดาของ ข้าพเจ้า เป็นดังดวงใจ เป็นผู้ให้ชีวิต เป็นสหาย ข้าพเจ้าจึงกลับได้อิทธิฤทธิ์ของตน ข้าแต่ท่านอาฬาระ ขอเชิญท่านไปเยี่ยมนาคพิภพของข้าพเจ้า ซึ่งมีภักษา หารมาก มีข้าวและน้ำมากมาย ดังเทพนครของท้าววาสวะ ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิมานํ ความว่า อาตมาภาพเห็นวิมาน กาญจนมณี เพรียบพร้อมด้วยนาฏกิตถีสมบัติร้อยเศษของพญาสังขปาลนาคราช. บทว่า ปุญฺานํ ความว่า ครั้นเห็นมหาวิบากแห่งบุญที่นาคราชนั้นมา ข้าพเจ้าจึงออกบวชด้วยศรัทธาอันเป็นไป เพราะเชื่อกรรม เชื่อผลแห่งกรรม และเชื่อปรโลก.

บทว่า น กามกามา ความว่า ราชาตรัสว่า บรรพชิตทั้งหลาย ย่อมไม่พูดเท็จ เพราะวัตถุกามบ้าง เพราะกลัวบ้าง เพราะโทสะบ้าง. บทว่า ชายิหีติ ความว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความเลื่อมใส โสมนัส จักเกิดแก่ ข้าพเจ้าบ้าง เพราะได้ฟังถ้อยคำของท่าน.

บทว่า วาณิชฺชํ ความว่า ดาบสทูลว่า เมื่ออาตมาภาพเดินทางไป ด้วยคิดว่าจักทำการค้าขาย. บทว่า ปเถ อทฺทสาสิมฺหิ ความว่า อาตมา นั่งไปบทยานน้อยข้างหน้าเกวียน ๕๐๐ เล่ม ได้เห็นมนุษย์ชาวชนบทในหนทาง ใหญ่. บทว่า ปวฑฺฒกายํ ความว่า ผู้มีร่างกายอ้วนพี. บทว่า อาทาย ความว่า หาบไปด้วยคานแปดอัน.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 677

บทว่า อวจสฺมิ แปลว่า ได้กล่าวแล้ว. บทว่า ภีมกาโย แปลว่า ผู้มีร่างกายอันน่ากลัว. อาฬารกุฏุมพี ร้องเรียกบุตรนายพราน ด้วยถ้อยคำที่ น่ารักว่า " พ่อบุตรพรานไพร ". พวกบุตรนายพราน พากันกล่าวตอบอาฬารกุฏุมพีว่า " แน่ะเจ้าลูกชาววิเทหะ " ดังนี้ เพราะความที่อาฬารกุฎุมพีอยู่ในวิเทหรัฐ.

บทว่า วิโกฏยิตฺวา ได้แก่ สับ (หรือตัด). บทว่า มยญฺหิ โว สตฺตโว ความว่า ก็พวกเราเป็นศัตรูของนาคทั้งหลาย. บทว่า โภชนตฺถํ ความว่า เพื่อจะบริโภค. บทว่า มิตฺตญฺจ โน โหหิ ความว่า ขอท่านจง เป็นมิตรของพวกเรา รู้คุณที่พวกเรากระทำแล้ว. บทว่า ตทสฺสุ เต ความว่า ดูก่อนมหาราชเจ้า ครั้นบุตรนายพรานเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว อาตมาภาพ ได้ให้โคมีกำลัง ๑๖ ตัว เครื่องนุ่งห่ม ทรัพย์คนละร้อยๆ ทองคำหนึ่งมาสก แก่บุตรนายพรานเหล่านั้น และผ้ากับเครื่องประดับแก่ภรรยาทั้งหลาย ของ บุตรนายพรานเหล่านั้น.

ลำดับนั้น บุตรนายพรานเหล่านั้นให้พญาสังขปาลนาคราชนอนลงบน ภาคพื้น เพราะความกักขฬะของตน พากันเอาเถาหวายดำซึ่งพราวไปด้วย หนามเกี่ยว เริ่มฉุดลากปลายหางมา ที่นั้นอาตมาภาพเห็นนาคราชลำบาก เมื่อ จะไม่ให้ลำบาก จึงเอาดาบตัดเถาวัลย์เหล่านั้นค่อยๆ นำออกมิให้ลำบาก โดย ทำนองที่เด็กๆ คลายเกลียวจากผ้าโพกที่มุมในเวลานั้น บุตรนายพรานเหล่านั้น สอดเครื่องผูกผ่านช่องจมูก แล้วร้อยเข้าในบ่วง เพราะฉะนั้น จึงพากันแก้ พญานาคจากเครื่องผูกนั้น. ดาบสหมายความว่า นำเชือกนั้นออกจากจมูก ของนาคราชนั้น พร้อมกับบ่วง. บุตรนายพรานเหล่านั้น ครั้นปล่อยนาคราช อย่างนี้แล้ว เดินไปได้หน่อยหนึ่ง ก็พากันแอบเสียด้วยคิดว่า นาคนี้ทุรพลภาพ ในเวลามันตายแล้ว เราจักหามเอาไป.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 678

บทว่า ปุณฺเณหิ ความว่า ฝ่ายนาคราชนั้น บ่ายหน้าสู่ทิศปราจีน ไปได้หน่อยหนึ่ง มีดวงตาเต็มไปด้วยน้ำตา มองดูอาตมาภาพ. บทว่า ตทสฺ- สาหํ ตัดบทออกเป็น ตทา อสฺส อหํ ความว่า ครั้งนั้นอาตมาภาพ ตามหลังนาคราชไป.

บทว่า คจฺเฉว ความว่า อาฬารดาบสกล่าวว่า อาตมาได้กล่าวอย่างนี้ กะพญานาคราชนั้น. บทว่า รหทํ ความว่า นาคราชนั้นได้ไปสู่ห้วงน้ำ กัณณเวณณานที. บทว่า สมฺโมนตํ ความว่า อันโน้มน้อมไปด้วยต้นชมพู่ และต้นอโศก ที่ฝั่งทั้งสอง. บทว่า นิตฺติณฺณภโย ปตีโต ความว่า ได้ยินว่า นาคราชนั้นกำลังดูห้วงน้ำอยู่ ได้แสดงความเคารพแต่อาฬารกุฏุมพี โผขึ้นมา จนกระทั่งถึงหาง. สถานที่ซึ่งพญานาคนั้นดำไปๆ ในน้ำนั่นเอง เป็นที่ปลอดภัย เพราะเหตุนั้น นาคราชนั้นจึงเป็นผู้ปลอดภัย พ้นภัย ได้ความร่าเริงยินดีเข้าไป.

บทว่า ปวิสฺส ความว่า ครั้นเข้าไปแล้ว. บทว่า ทิพฺเพน เม ความว่า มิได้ถึงความประมาทในนาคพิภพ เมื่ออาตมาภาพยังไม่เลยฝั่ง กัณณเวณณานทีไป พญานาคราชได้มาปรากฏข้างหน้าอาตมาภาพ พร้อมด้วย ทิพยบริวาร. บทว่า อุปฏฺหิ แปลว่า เข้ามาใกล้.

บทว่า อพฺภนฺตโร ความว่า ท่านเป็นเช่นกับเนื้อหัวใจ. ท่านมี อุปการคุณแก่ข้าพเจ้าเป็นอันมาก ข้าพเจ้าจักทำสักการะแก่ท่าน. บทว่า ปสฺส เม นิเวสนานิ ความว่า เชิญท่านไปชมนาคพิภพของข้าพเจ้า. บทว่า มสกฺกสารํ วิย ความว่า ขุนเขาสิเนรุบรรพต ท่านเรียกว่า มสักกสาระ เพราะมีแก่นเป็นแท่งทึบ โดยหาความยุบถอน ย่อหย่อนมิได้ นาคราชหมาย เอาดาวดึงส์พิภพ อันตนสร้างไว้ในนาคพิภพนั่นเอง จึงกล่าวข้อนี้.

ดูก่อนมหาราช นาคราชนั้นครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เมื่อจะพรรณนา นาคพิภพของตนให้ยิ่งขึ้นไป จึงกล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 679

นาคพิภพนั้น สมบูรณ์ด้วยภูมิภาค ภาคพื้นไม่มี กรวด อ่อนนุ่ม งดงาม มีหญ้าเตี้ยๆ ไม่มีละอองธุลี นำมาซึ่งความเลื่อมใส ระงับความโศกของผู้ที่เข้าไป.

ในนาคพิภพนั้น มีสระโบกขรณีอันไม่อากูล เขียวชอุ่มดังแก้วไพฑูรย์ มีต้นมะม่วง น่ารื่นรมย์ทั้ง ๔ ทิศ มีผลสุกกึ่งหนึ่ง ผลอ่อนกึ่งหนึ่ง เผล็ดผล เป็นนิตย์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสกฺขรา ความว่า ภูมิภาคในนาคพิภพ นั้น ปราศจากหินและกรวด ภูมิภาคนั้นอ่อนนุ่ม งดงาม ล้วนแล้วไปด้วย ทองเงินและแก้วมณี เกลื่อนกล่นไปด้วยทรายคือรัตนะเจ็ด. บทว่า นีจติณา ความว่า ประกอบไปด้วยหญ้าอันต่ำ มีสีเช่นกับหลังแมลงค่อมทอง. บทว่า อปฺปรชา ความว่า ปราศจากฝุ่นละออง. บทว่า ยตฺถ ชหนฺติ โสกํ ความว่า เป็นภูมิภาคที่เข้าไปแล้วหายเศร้าโศก.

บทว่า อนาวกุลา ความว่า ไม่อากูล คือไม่มีตอ. อีกนัยหนึ่ง หมายความว่า ข้างบนตั้งเรียบเสมอ ปราศจากความขรุขระ. บทว่า เวฬุริยู- ปนีลา ความว่า เขียวขจีด้วยแก้วไพฑูรย์. อธิบายว่า ในนาคพิภพนั้นมี สระโบกขรณี ล้วนแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ สมบูรณ์ด้วยน้ำ มีสีเขียว ดาดาษ ไปด้วยดอกบัว และอุบลหลากสี. บทว่า จตุทฺทิสํ ได้แก่ ในทิศทั้งสี่แห่ง สระโบกขรณี. บทว่า ปกฺกา จ ความว่า ในสวนอัมพวันนั้น มีต้นมะม่วง ที่มีผลสุกแล้วบ้าง สุกครึ่งผลบ้าง มีผลอ่อนบ้าง บานสะพรั่งอยู่ทีเดียว. บทว่า นิจฺโจตุกา ความว่า ประกอบไปด้วยดอกและผล อันเหมาะสมแก่ฤดูแม้ทั้ง ๖.

อาฬารดาบส ทูลพระเจ้าพาราณสีต่อไปว่า

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 680

ดูก่อนมหาบพิตรผู้ประเสริฐกว่านรชน ใน ท่ามกลางสวนเหล่านั้น มีนิเวศน์เลื่อมประภัสสร ล้วนแล้วไปด้วยทองคำ มีบานประตูแล้วไปด้วยเงิน งามรุ่งเรืองยิ่ง ประหนึ่งสายฟ้ารุ่งเรืองอยู่ในกลางหาว ฉะนั้น.

ขอถวายพระพร ในท่ามกลางสวนเหล่านั้น เรือนยอดและห้อง แล้วไปด้วยแก้วมณี แล้วไปด้วย ทองคำโอฬารวิจิตร เป็นอเนกประการ เนรมิตด้วยดี ติดต่อกันเต็มไปด้วยนางนาคกัญญาทั้งหลาย ผู้ประดับ แล้ว ล้วนทรงสายสร้อยทองคำ.

สังขปาลนาคราชนั้น มีผิวพรรณไม่ทราม ว่องไว ขึ้นสู่ปราสาท มีเสาประมาณพันต้น มีอานุภาพ ชั่งไม่ได้เป็นที่อยู่ของมเหสีแห่งสังขปาลนาคราชนั้น.

นารีนางหนึ่งว่องไว ไม่ต้องเตือน ยกอาสนะ ล้วนแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ มีค่ามาก งดงาม สมบูรณ์ ด้วยแก้ว มีชาติดังแก้วมณีมาปูลาด.

ลำดับนั้น นาคราชจูงมืออาตมาภาพให้นั่งบน อาสนะอันเป็นประธาน กล่าวว่า นี่อาสนะ เชิญท่าน นั่งบนอาสนะนี้ เพราะว่าท่านเป็นที่เคารพคนหนึ่ง ของข้าพเจ้า ในจำนวนท่านที่เคารพทั้งหลาย.

ดูก่อนพระจอมประชานิกร นารีอีกนางหนึ่งก็ ว่องไว ตักเอาน้ำมาล้างเท้าของอาตมาภาพ ดุจภรรยา ล้างเท้าสามีที่รัก ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 681

มีนารีอีกนางหนึ่งว่องไว ประคองภาชนะทองคำ เต็มไปด้วยภัตตาหารน่าบริโภค มีสูปะหลายอย่าง มี พยัญชนะต่างๆ นำมาให้อาตมาภาพ.

ขอถวายพระพร นารีเหล่านั้นรู้จักใจสามี พากัน บำรุงอาตมาภาพผู้บริโภคแล้ว ด้วยดนตรีทั้งหลาย นาคราชนั้นก็เข้ามาหาอาตมาภาพ พร้อมด้วยกามคุณ อันเป็นทิพย์มิใช่น้อย ใหญ่ยิ่งกว่าการฟ้อนรำนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิเวสนํ ได้แก่ ปราสาท. บทว่า ภสฺสรสนฺนิกาสํ แปลว่า ดูเลื่อมประภัสสร. บทว่า รชตคฺคฬํ ความว่า มีบานประตูหน้าต่างเป็นเงิน.

บทว่า มณิยา ความว่า เรือนยอด และห้องในสงบนั้นเห็นปานนี้. บทว่า ปริปูรา แปลว่า สมบูรณ์.

บทว่า โส สงฺขปาโล ความว่า ดูก่อนมหาราช เมื่อนาคราชนั้น สรรเสริญนาคพิภพนั้นอยู่อย่างนี้ อาตมาภาพใคร่จะดูนาคพิภพนั้น ลำดับนั้น สังขปาลนาคราชจึงนำอาตมาภาพไปในที่นั้น จับมือรีบด่วนขึ้นสู่ปราสาท มี เสาพันหนึ่ง ล้วนด้วยเสาแก้วไพฑูรย์ นำไปยังสถานที่ซึ่งมเหสีของเธออยู่.

บทว่า เอกา จ ความว่า เมื่ออาตมาขึ้นสู่ปราสาทแล้ว สตรีนางหนึ่ง นำอาสนะแก้วไพฑูรย์อันงามเข้าถึงชาติแก้วมณีแม้อื่นๆ มาปูลาด โดยนาคราช นั้น ไม่ได้สั่งเลย. บทว่า อพฺภิหาสิ ความว่า แปลว่า นำมา อธิบายว่า ปูลาดแล้ว.

บทว่า ปมุขอาสนสฺมึ แปลว่า บนอาสนะอันเป็นประมุข. อธิบายว่า เชื้อเชิญให้นั่งบนอาสนะอันสูงสุด. บทว่า ครูนํ ความว่า นาคราชนั้นกล่าว เชิญให้นั่งอย่างนี้ว่า ท่านเป็นเหมือนมารดาบิดาของเราคนใดคนหนึ่ง.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 682

บทว่า วิวิธํ วิยญฺชนํ ได้แก่ กับข้าวมีอย่างต่างๆ. บทว่า ภตฺต มนญฺรูปํ ได้แก่ ภัตตาหารอันน่าบริโภค สังขปาลดาบสเรียกพระราชาว่า " ภารตะ ".

บทว่า ภุตฺตภตฺตํ แปลว่า บริโภคเสร็จแล้ว. บทว่า อุปฏฺหุํ ความว่า นารีทั้งหลาย ทำการฟ้อนรำ บำรุงอาตมาภาพผู้บริโภคเสร็จแล้ว ด้วยดนตรีร้อยเศษ. บทว่า ภตฺตุ มโน วิทิตฺวา ความว่า นารีทั้งหลาย ต่างรู้จิตใจแห่งภัสดาตน. บทว่า ตตุตฺตรึ ความว่า ยิ่งกว่าการฟ้อนรำนั้น. บทว่า มํ นิปติ ความว่า นาคราชนั้น เข้ามาหาอาตมาภาพ. บทว่า มหนฺตํ ทิพฺเพหิ ความว่า ด้วยกามอันเป็นทิพย์ มโหฬาร. บทว่า กาเมหิ ความว่า ด้วยกามอันเป็นทิพย์เหล่านั้น มิใช่น้อย คือมิใช่นิดหน่อย.

ก็แลครั้นนาคราชนั้น เข้ามาหาอย่างนี้แล้วกล่าวคาถา ความว่า

ข้าแต่ท่านอาฬาระ ภรรยาของข้าพเจ้าทั้ง ๓๐๐ นี้ ล้วนมีเอวอ้อนแอ้น มีรัศมีรุ่งเรือง ดังกลีบปทุม นางเหล่านี้ จักเป็นผู้บำรุงบำเรอท่าน ข้าพเจ้าขอยก นางเหล่านี้ให้ท่าน ท่านจงให้นางเหล่านี้บำเรอท่าน เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพตฺตมชฺฌา ความว่า ภรรยาของ ข้าพเจ้าทั้งหมด มีรูปร่างอ้อนแอ้น อธิบายว่า เอวกลม ขนาดวัดได้ด้วยฝ่า มือ แต่บาลีในอรรถกถาว่า " สุมชฺณา ". บทว่า ปทุมุตฺราภา ได้แก่ มีผิวผุดผาดดังสีแห่งดอกปทุม. อธิบายว่า มีฉวีวรรณดั่งกลีบปทุม. บทว่า ปริจารยสฺสุ ความว่า นาคราชนั้นกล่าวว่า ท่านจงทำนางเหล่านั้น ให้ เป็นบาทบริจาริกาของตน แล้วมอบมหาสมบัติ พร้อมด้วยสตรี ๓๐๐ นาง แก่อาตมาภาพ.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 683

อาฬารดาบสนั้น ทูลต่อไปว่า

อาตมาภาพ ได้เสวยรสอันเป็นทิพย์อยู่ปีหนึ่ง คราวนั้นอาตมาภาพ ได้ไต่ถามถึงสมบัติอันยิ่งว่า ท่าน พญานาคได้สมบัตินี้ ด้วยอุบายอย่างไร ได้วิมานอัน ประเสริฐอย่างไร ได้โดยไม่มีเหตุ หรือเกิดเพราะใคร น้อมมาให้แก่ท่าน ท่านกระทำเอง หรือว่าเทวดาให้ ดูก่อนพญานาคราช ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนั้นกะ ท่าน ท่านได้วิมานอันประเสริฐอย่างไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิพฺพรสานุภุตฺวา ความว่า อาตมาภาพ เสวยรสแห่งกามคุณอันเป็นทิพย์แล้ว. บทว่า ตทาสฺสุหํ ตัดบทเป็น ตทา อสฺสุ อหํ. บทว่า นาคสฺสิทํ ความว่า ข้าพเจ้าได้ถามนาคราชนั้น ดังนี้ ว่า สมบัติอันเกิดแล้วนี้ ของท่านสังขปาลนาคราช ผู้มีพักตร์อันเจริญ ท่าน ทำกรรมชื่ออะไรจึงได้ ท่านได้ครอบครองวิมานอันประเสริฐนี้อย่างไรกัน?

บทว่า อธิจฺจ ลทฺธํ ความว่า ท่านได้โดยหาเหตุมิได้. บทว่า ปริณามชนฺเต ความว่า หรือชื่อว่าเกิดแล้ว โดยการน้อมมา เพราะเป็น ของที่ใครๆ น้อมมาเพื่อประโยชน์แก่ท่าน. บทว่า สยํ กตํ ความว่า สั่ง ให้เรียกช่างมา แล้วมอบรัตนะให้กระทำ.

ลำดับต่อไป เป็นคาถากล่าวโต้ตอบระหว่างชนทั้งสอง พึงทราบดัง ต่อไปนี้.

สังขปาลนาคราช ตอบว่า

ข้าพเจ้าได้วิมานนี้ มิใช่โดยไม่มีเหตุ และมิใช่ เกิดเพราะใคร น้อมมาให้ข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามิได้ทำเอง

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 684

แม้เทวดาก็มิได้ให้ ข้าพเจ้าได้วิมานนี้ ด้วยบุญกรรม อันไม่เป็นบาปของตน.

อาตมาภาพ ถามว่า

พรตของท่านเป็นอย่างไร และพรหมจรรย์ของ ท่านเป็นไฉน นี้เป็นวิบากแห่งกรรมอะไร ที่ท่าน ประพฤติดีแล้ว ดูก่อนพญานาคราช ขอท่านจงบอก เนื้อความนี้ แก่ข้าพเจ้า ท่านได้วิมานนี้มาอย่างไร หนอ?

พญานาคราช ตอบว่า

ข้าพเจ้าได้เป็นพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ กว่าชนชาว มคธ มีนามว่า ทุยโยธนะ มีอานุภาพมาก ได้เห็น ชัดว่า ชีวิตเป็นของนิดหน่อยไม่เที่ยง มีความแปร ปรวนไปเป็นธรรมดา.

จึงเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส ได้ให้ข้าวและน้ำเป็นทาน อันไพบูลย์โดยเคารพ วังของข้าพเจ้าในครั้งนั้น เป็น ดุจบ่อน้ำ สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ก็อิ่มหนำสำราญ ในที่นั้น.

ข้าพเจ้าได้ให้ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ประทีป ยวดยาน ที่พัก ผ้านุ่งห่ม ที่นอน และข้าว น้ำ เป็นทานโดยเคารพ ในที่นั้น.

นั่นเป็นพรต และเป็นพรหมจรรย์ของข้าพเจ้า นี้เป็นวิบากแห่งกรรมนั้น ที่ข้าพเจ้าประพฤติดีแล้ว

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 685

ข้าพเจ้าได้วิมานอันมีภักษาหารเพียงพอ มีข้าวน้ำมาก มาย เพราะวัตร และพรหมจรรย์นั้นแล.

วิมานนี้บริบูรณ์ ด้วยการฟ้อนรำขับร้อง ตั้งอยู่ ช้านาน แต่เป็นของไม่เที่ยง อาตมาภาพจึงถามว่า บุตรนายพรานทั้งหลาย ผู้มีอานุภาพน้อย ไม่มีเดช ไยจึงเบียดเบียนท่านผู้มีอานุภาพมาก มีเดชได้ ดู ก่อนท่านผู้มีเขี้ยวเป็นอาวุธ เพราะอาศัยอะไรหรือ ท่านจึงถึงความเศร้าหมอง ในสำนักของบุตรนาย พรานทั้งหลาย.

ความกลัวใหญ่ ตามถึงท่าน หรือว่าพิษของท่าน ไม่แล่นไปยังรากเขี้ยว ดูก่อนท่านผู้มีเขี้ยวเป็นอาวุธ เพราะอาศัยอะไรหรือ ท่านจึงถึงความเศร้า ในสำนัก ของบุตรนายพรานทั้งหลาย. สังขปาลนาคราช ตอบว่า

มหันตภัย มิได้ตามถึงข้าพเจ้าเลย ชนพวกนั้น ไม่อาจทำลายเดชของข้าพเจ้าได้ แต่ว่าธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย ท่านประกาศไว้ดีแล้ว ยากที่จะล่วงได้ เหมือนเขตแดนแห่งสมุทร ฉะนั้น.

ข้าแต่ท่านอาฬาระ ข้าพเจ้าเข้าจำอุโบสถ ในวัน จาตุททสี ปัณณรสีเป็นนิตย์ ต่อมาพวกบุตรนายพราน ๑๖ คน เป็นคนหยาบช้า ถือเอาเชือกและบ่วงอันมั่น คงมา.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 686

พรานทั้งหลาย ช่วยกันแทงจมูก เอาเชือกร้อย แล้วหามข้าพเจ้าไป ข้าพเจ้าอดทนต่อทุกข์เช่นนั้น ไม่ ทำอุโบสถให้กำเริบ.

อาตมาภาพ ถามว่า

บุตรนายพรานเหล่านั้น ได้พบท่านผู้สมบูรณ์ ด้วยกำลัง และผิวพรรณ ที่ทางเดินคนเดียว ดูก่อน ท่านนาคราช ท่านเป็นผู้เจริญด้วยสิริและปัญญา จะ บำเพ็ญตบะเพื่อประโยชน์อะไรอีกเล่า?

สังขปาลนาคราช ตอบว่า

ข้าแต่ท่านอาฬาระ ข้าพเจ้าบำเพ็ญตบะ มิใช่ เพราะเหตุแห่งทรัพย์ และมิใช่เพราะเหตุแห่งอายุ เพราะข้าพเจ้า ปรารถนากำเนิดมนุษย์ จึงบากบั่น บำเพ็ญตบะ.

อาตมาภาพ ถามว่า

ท่านเป็นผู้มีนัยน์ตาแดง มีรัศมีรุ่งเรือง ประดับ ตกแต่งแล้ว ปลงผมและหนวด ชโลมทาด้วยจุรณจันทน์แดง ส่องสว่างไปทั่วทิศ ดุจคนธรรพราชา ฉะนั้น.

ท่านเป็นผู้ถึงแล้ว ซึ่งเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก พร้อมพรั่งไปด้วยกามารมย์ทั้งปวง ดูก่อนพญานาคราช ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนี้กะท่าน เหตุไรมนุษยโลก จึงประเสริฐกว่านาคพิภพนี้.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 687

สังขปาลนาคราช ตอบว่า

ข้าแต่ท่านอาฬาระ นอกจากมนุษยโลก ความ บริสุทธิ์ หรือความสำรวมย่อมไม่มี ถ้าข้าพเจ้าได้กำเนิดมนุษย์แล้ว จักกระทำที่สุดแห่งชาติและมรณะ.

อาตมาภาพ กล่าวว่า

ข้าพเจ้าอยู่ในสำนักของท่านปีหนึ่งแล้ว เป็นผู้ที่ ท่านบํารุงด้วยข้าวด้วยน้ำ ข้าพเจ้าขอลาท่าน ดูก่อน ท่านผู้เป็นจอมนาถะ ข้าพเจ้าจากมนุษยโลกมาเสียนาน.

สังขปาลนาคราช ตอบว่า

ข้าแต่ท่านอาฬาระ บุตร ภรรยาและชนบริวาร ข้าพเจ้าพร่ำสอนเป็นนิตย์ให้บำรุงท่าน ใครมิได้แช่ง ด่าท่านแลหรือ เพราะว่าการที่ได้พบท่าน นับว่าเป็น ที่พอใจของข้าพเจ้า.

อาตมาภาพ ตอบว่า

ดูก่อนพญานาคราช บุตรที่รักปฏิบัติบำรุงมารดา บิดาในเรือน เป็นผู้ประเสริฐแม้ด้วยประการใด ท่าน บำรุงข้าพเจ้าอยู่ในที่นี้ เป็นผู้ประเสริฐ แม้กว่าประการ นั้น เพราะว่าจิตของท่านเลื่อมใสข้าพเจ้า.

สังขปาลนาคราช กล่าวว่า

แก้วมณี อันจะนำทรัพย์มาได้ตามประสงค์ของ ข้าพเจ้ามีอยู่ ท่านจงถือเอามณีรัตน์อันโอฬารนั้นไป ยังที่อยู่ของตน ได้ทรัพย์แล้วจงเก็บแก้วมณีนั้นไว้.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 688

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กินฺเต วตํ ความว่า อาตมาภาพถามว่า อะไรเป็นวัตรสมาทานของท่าน. บทว่า พฺรหฺมจริยํ ความว่า อะไรเป็น จรรยาอันประเสริฐของท่าน?

บทว่า โอปานภูตํ ความว่า (นาคราชตอบว่า) คราวนั้นเรือนของ ข้าพเจ้า เป็นเหมือนสระโบกขรณี ที่ขุดไว้ในหนทางใหญ่ ๔ แพร่ง มีสมบัติ อันสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม พึงบริโภคได้ ตามสบาย.

บทว่า น จ สสฺสตายํ ความว่า นาคราชนั้นกล่าวแก่อาตมาภาพว่า ความจริง วิมานนี้ แม้จะเป็นของตั้งอยู่ได้นาน ก็มิใช่เป็นของเที่ยง. อาฬารดาบส กล่าวหมายถึงบุตรพรานไพรว่า ผู้มีอานุภาพน้อย. บทว่า หนฺติ ความว่า (อาฬาร กุฎุมพี ถามว่า) เพราะเหตุไร บุตรพรานไพรจึงเอาหลาว แทง เบียดเบียนได้ในที่ทั้งแปดแห่ง. บทว่า กึ ปฏิจฺจ ความว่า ท่าน ย่อมมาสู่เงื้อมมือ คือเข้าถึงอำนาจของเหล่าวณิพกในครั้งนั้น เพราะมุ่งหมาย อะไร? บทว่า วนิพฺพกานํ ความว่า บุตรพรานไพรทั้งหลาย ท่านเรียกว่า วณิพกในที่นี้.

บทว่า เตโช นุ เต อนฺวคตํ ทนฺตมูลํ ความว่า เดชของท่าน เป็นอย่างไรหรือ เพราะเห็นพวกบุตรพรานในคราวนั้น ภัยใหญ่ไปตามท่านหรือ ว่าพิษอันมีเขี้ยวเป็นมูลไม่ไปตามท่าน. บทว่า กิเลสํ ได้แก่ ทุกข์. บทว่า วณิพฺพกานํ ความว่า เพราะอาศัยอะไร ท่านจึงถึงทุกข์ในสำนักของบุตรพราน ทั้งหลาย คือ เพราะอาศัยพวกบุตรนายพราน.

บทว่า เตโช น สกฺกา มม เตภิ หนฺตุํ ความว่า นาคราช ตอบว่า เดชคือพิษของเราไม่สามารถที่เบียดเบียนโดยเดชของผู้อื่น คือชน เหล่านั้นได้. บทว่า สตํ ได้แก่ สัตบุรุษทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 689

บทว่า ธมฺมานิ ได้แก่ ธรรม กล่าวคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ขันติ ความเอ็นดู และเมตตาภาวนา. บทว่า สุกิตฺติตานิ ความว่า ท่านพรรณนาไว้ดีแล้ว คือกล่าวไว้ดีแล้ว. บทว่า กึ ความว่า ท่านทำอย่างไร?

บทว่า สมุทฺทเวลาว ทุรจฺจยานิ ความว่า สังขปาลนาคราชกล่าวว่า สัตบุรุษเหล่านั้น พรรณนาไว้ว่า บุคคลล่วงได้ยากแม้เพื่อชีวิต ดุจฝั่งมหาสมุทร อันล่วงได้ยากฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้ประกอบด้วยขันติ และ เมตตา เพราะกลัวศีลจะขาด เมื่อข้าพเจ้าขุ่นเคือง ก็มิได้ให้เพื่อจะล่วงละเมิด ที่สุดขอบเขตของศีล. ก็ด้วยธรรมเทศนาของสังขปาลนาคราชนี้ ย่อมได้บารมี ครบ ๑๐ ทัศ คือ

๑. ความที่มหาสัตว์สละสรีระในคราวนั้นจัดเป็นทานบารมี.

๒. ความที่ศีลมิได้ทำลาย ด้วยเดชคือพิษเห็นปานนั้น จัดเป็น สีลบารมี.

๓. การออกจากนาคพิภพ บำเพ็ญสมณธรรม จัดเป็นเนกขัมมบารมี.

๔. การจัดแจงว่า ควรทำสิ่งนี้ๆ จัดเป็นปัญญาบารมี.

๕. ความเพียรด้วยสามารถแห่งความอดกลั้น จัดเป็นวิริยบารมี.

๖. ความอดทน ด้วยสามารถแห่งความอดกลั้น จัดเป็นขันติบารมี.

๗. การสมาทานความสัตย์ จัดเป็นสัจจบารมี.

๘. การอธิษฐานในใจว่า เราจักไม่ทำลายศีลของเรา จัดเป็นอธิฏ- ฐานบารมี.

๙. ความเป็นผู้มีความเอ็นดู จัดเป็นเมตตาบารมี.

๑๐. ความเป็นผู้วางตนเป็นกลางในเวทนา จัดเป็นอุเบกขาบารมี.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 690

บทว่า อลาคมุํ ความว่า ดูก่อนท่านอาฬาระ วันหนึ่ง บุตรพรานไพร ๑๖ คน เห็นข้าพเจ้านอนอยู่บนยอดจอมปลวก พากันถือเชือกแข็ง บ่วงอัน เหนียว และหลาว มายังสำนักของข้าพเจ้า.

บทว่า เภตฺวาน ความว่า เขาเหล่านั้นแทงสรีระของข้าพเจ้า ในที่ ทั้งแปด แล้วสอดหวายหนามเข้าไป. บทว่า นาสํ อติกสฺส รชฺชุํ ความว่า เดินไปได้หน่อยหนึ่ง เห็นศีรษะของข้าพเจ้าห้อยลง จึงได้ให้นอน ณ หนทาง ใหญ่ แล้วแทงจมูกของข้าพเจ้าอีก ร้อยเชือกเกลียวคล้องที่ปลายคาง ควบคุม รอบข้าง นำข้าพเจ้าไป.

บทว่า อทฺทสํสุ ความว่า อาตมาภาพพูดว่า ดูก่อนสหายสังขปาละ บุตรนายพรานเหล่านั้น เห็นท่านสมบูรณ์ด้วยกำลังและผิวพรรณ ในทางเท้า ที่ไปมาได้คนเดียว แต่ท่านเจริญงอกงามด้วยสิริคืออิสริยยศและความงามเลิศ และเจริญด้วยปัญญา ท่านเป็นผู้ (รุ่งโรจน์) เห็นปานนี้ บำเพ็ญตบะเพื่ออะไร ท่านปรารถนาอะไร จึงเข้าจำอุโบสถ คือรักษาศีล. ปาฐะว่า อทฺทสาสึ แปลว่า ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า ข้าพเจ้าได้เห็นท่านในหนทาง ใหญ่ ที่ไปมาได้คนเดียว.

บทว่า อภิปตฺถยมาโน แปลว่า ปรารถนาอยู่. บทว่า ตสฺมา ความว่า นาคราชตอบว่าข้าพเจ้าปรารถนากำเนิดมนุษย์ เพราะฉะนั้นจึงบากบั่น กระทำตบกรรมด้วยความเพียร.

บทว่า สุโรสิโต ความว่า ท่านเป็นผู้ไล้ทาแล้วด้วยดี. บทว่า อิโต ความว่า มนุษยโลกจะมีอะไรยิ่งไปกว่านาคพิภพนี้.

บทว่า สุทฺธิ ได้แก่ วิสุทธิ กล่าวคือ มรรคผล และพระนิพพาน. บทว่า สํยโม ได้แก่ ศีล. พญานาคราชนั้น หมายเอาความบังเกิดขึ้นแห่ง พระพุทธเจ้า และปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงกล่าวคำนี้.

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 691

บทว่า กาหามิ ความว่า พญานาคราชกล่าวต่อไปว่า เมื่อข้าพเจ้า กระทำความไม่มีแห่งปฏิสนธิของตน จักกระทำที่สุด แห่งชาติ ชรา และ มรณะได้. ดูก่อนมหาราชเจ้า สังขปาลนาคราชนั้น ชมเชยมนุษยโลกอย่างนี้.

บทว่า สํวจฺฉโร เม ความว่า ขอถวายพระพร เมื่อนาคราชนั้น สรรเสริญมนุษยโลกอยู่อย่างนี้ อาตมาภาพทำความเยื่อใยในบรรพชา จึงกล่าว คำนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปฏฺิโตสฺมิ ความว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ อันท่านปรนปรือต้อนรับแล้วด้วยข้าวน้ำและกามคุณอันเป็นทิพย์. บทว่า ปเลมิ ความว่า ยังระลึกถึงอยู่. (แต่) จะต้องจากไป. บทว่า จิรปฺปวุฏโสฺมิ ความว่า ข้าพเจ้าจากมนุษยโลกมานานแล้ว.

บทว่า นาภิสํสิตฺถ ความว่า พญานาคราชถามว่า ในบุตรเป็นต้น ของข้าพเจ้า ใครๆ มิได้ด่า มิได้บริภาษท่านมิใช่หรือ. ปาฐะว่า นาภิสชฺเชถ แปลว่า มิได้สาปแช่งดังนี้ก็มี อธิบายว่า มิได้ให้ขุ่นเคือง. บทว่า ปฏิวิหิโต แปลว่า บำรุงแล้ว.

บทว่า มณิ มมํ ความว่า พญานาคราชกล่าวว่า ท่านสหายอาฬาระ ถ้าท่านจะไปให้ได้ เมื่อเป็นอย่างนี้ แก้วมณีสีแดง นำทรัพย์มาให้ ให้ซึ่ง สมบัติที่น่าใคร่ทั้งปวง ของข้าพเจ้ามีอยู่ ท่านอาฬาระท่านจงถือเอามณีรัตนะนั้น ไปยังเรือนของท่าน ท่านได้ทรัพย์ตามปรารถนา ด้วยอานุภาพแห่งมณีรัตนะ นี้แล้ว จงเก็บมณีรัตนะนี้เสียในเรือนนั้น และเมื่อจะเก็บ อย่าเก็บไว้ในที่อื่น ควรเก็บไว้ในตุ่มน้ำของตน ครั้นนาคราชกล่าวดังนี้แล้ว ก็น้อมมณีรัตนะมาให้ อาตมาภาพ.

ครั้นอาฬารดาบสกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงกล่าวต่อไปว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร ครั้งนั้นอาตมาภาพได้กล่าวคำนี้ กะพญานาคราชว่า แน่ะสหาย

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 692

เรามิได้มีความต้องการด้วยทรัพย์ แต่เราปรารถนาจะบวชดังนี้แล้ว ร้องขอ บริขารแห่งบรรพชิต ออกจากนาคพิภพพร้อมด้วยนาคราชนั้น เชิญให้พญานาคราชกลับแล้ว จึงเข้าสู่หิมวันตประเทศบรรพชา ดังนี้แล้ว เมื่อจะกล่าว ธรรมกถาถวายพระราชา จึงกล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

ขอถวายพระพร แม้กามคุณเป็นของมนุษย์ อาตมาภาพได้เห็นแล้ว เป็นของไม่เที่ยง มีความ แปรปรวนเป็นธรรมดา อาตมาภาพเห็นโทษในกามคุณ ทั้งหลาย จึงออกบวชด้วยศรัทธา.

ขอถวายพระพร ทั้งคนหนุ่มคนแก่ ย่อมมีสรีระ ทำลายร่วงหล่นไป เปรียบเหมือนผลไม้ฉะนั้น อาตมาภาพเห็นคุณข้อนี้ว่า สามัญผลเป็นข้อปฏิบัติอันไม่ผิด ประเสริฐ จึงออกบวช.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺธาย ความว่า อาตมาภาพบวช เพราะเชื่อกรรม เชื่อผลแห่งกรรม และเชื่อพระนิพพาน. บทว่า ทุมปฺผลาเนว ความว่า ผลไม้ทั้งหลายสุกแล้วก็ดี ยังไม่สุกก็ดี ย่อมร่วงหล่นไปฉันใด คน ทั้งหลาย ทั้งหนุ่มทั้งแก่ ก็ย่อมร่วงหล่นไปแม้ฉันนั้น. บทว่า อปณฺณกํ ได้แก่ สามัญผลอันไม่ผิด คือเป็นนิยยานิกธรรม. บทว่า สามญฺเมว เสยฺโย ความว่า ดูก่อนพระมหาราชเจ้า อาตมาภาพเห็นคุณแห่งบรรพชาว่า บรรพชา นั่นเทียวเป็นของสูงสุด จึงได้บวชดังนี้

พระราชาทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถาเป็นอันดับต่อไป ความว่า

ชนเหล่าใดเป็นพหูสูต ค้นคิดเหตุผลได้มาก ชนเหล่านั้นเป็นคนมีปัญญา บุคคลควรคบหาโดยแท้ ทีเดียว ข้าแต่ท่านอาฬาระ ข้าพเจ้าได้ฟังคำของนาคราชและของท่านแล้ว จักทำบุญมิใช่น้อย.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 693

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย พหุานจินฺติโน ความว่า ชน เหล่าใด รู้เหตุการณ์ได้ยาก. บทว่า นาคญฺจ ความว่า เพราะได้ฟังถ้อยคำ พญานาคราช และของท่านผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างนั้น (ข้าพเจ้า จักสร้างบุญกุศลนานัปการ).

ลำดับนั้น เมื่อดาบสจะยังพระอุตสาหะให้เกิดแก่พระราชา จึง กล่าวคาถาสุดท้าย ความว่า

ขอถวายพระพร ชนทั้งหลายเป็นพหูสูต ค้นคิด เหตุผลได้มาก ชนเหล่านั้น เป็นคนมีปัญญา บุคคล ควรคบหาโดยแท้ทีเดียว ดูก่อนราชันย์ เพราะทรงสดับ เรื่องราวของนาคราช และของอาตมาภาพแล้ว ขอ พระองค์โปรดทรงบำเพ็ญกุศลให้มาก.

ดาบสนั้น แสดงธรรมถวายพระราชาอย่างนี้แล้ว อยู่ในพระราช อุทยานนั้นแล ตลอด ๔ เดือนฤดูฝน แล้วกลับไปยังหิมวันตประเทศอีก เจริญพรหมวิหาร ๔ ตราบเท่าชีวิต ได้เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกแล้ว. ฝ่ายสังขปาลนาคราชอยู่รักษาอุโบสถตลอดชีวิต ส่วนพระเจ้าพาราณสี ก็ทรงบำเพ็ญ บุญมีทานเป็นต้น แล้วต่างไปตามยถากรรมของตนๆ.

พระบรมศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงจบแล้ว ตรัสว่า โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ละนาคสมบัติอยู่รักษาอุโบสถกรรมอย่างนี้ แล้วทรง ประชุมชาดกว่าพระดาบสผู้พระราชบิดาในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระกัสสปะ พระเจ้าพาราณสีได้มาเป็น พระอานนท์ อาฬารดาบส ได้มาเป็นพระสารีบุตร ส่วนสังขปาลนาคราช ได้มาเป็นเราผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาสังขปาลชาดก