พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. จุลลสุตโสมชาดก ว่าด้วยพระเจ้าจุลลสุตโสมออกผนวช

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 ส.ค. 2564
หมายเลข  35993
อ่าน  484

[เล่มที่ 61] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 694

๕. จุลลสุตโสมชาดก

ว่าด้วยพระเจ้าจุลลสุตโสมออกผนวช


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 61]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 694

๕. จุลลสุตโสมชาดก

ว่าด้วยพระเจ้าจุลลสุตโสมออกผนวช

[๒๕๑๙] (พระมหาสัตว์ตรัสว่า) เราขอบอกชาว เมือง มิตร อำมาตย์ และข้าราชบริพาร ผมที่เศียร ของเราเกิดหงอกแล้ว บัดนี้ เราพอใจในบรรพชาเพศ.

[๒๕๑๒] (อำมาตย์กราบทูลว่า) อย่างไรหนอ พระองค์จึงรับสั่ง ความไม่เจริญ แก่ข้าพระพุทธเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์ทรงปักพระแสงศรที่อกของข้าพระพุทธเจ้า พระชายาของพระองค์มี ถึง ๗๐๐ นาง พระนางเหล่านั้นของพระองค์ จักเป็น อยู่อย่างไรหนอ?

[๒๕๒๑] (พระมหาสัตว์ตรัสว่า) นางเหล่านั้นยัง สาว จักปรากฏเอง นางเหล่านั้นจักไปพึ่งพิงพระราชา องค์อื่นก็ได้ ส่วนเราปรารถนาสวรรค์ ด้วยเหตุดังนั้น เราจึงจักบรรพชา.

[๒๕๒๒] (พระราชชนนีตรัสว่า) ดูก่อนพ่อสุตโสม แม่ผู้เป็นมารดาของเจ้า ชื่อว่าได้รับความยาก เพราะ เมื่อแม่พร่ำเพ้ออยู่เจ้าก็ไม่ห่วงใย จักบวชให้ได้.

ดูก่อนพ่อสุตโสม แม่คลอดเจ้าซึ่งเป็นผู้ที่แม่ได้ ด้วยความยากลำบาก เหตุไร เมื่อแม่พร่ำเพ้ออยู่ เจ้า ไม่ห่วงใย จักบวชให้จงได้?

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 695

[๒๕๒๓] (พระราชบิดาตรัสว่า) ดูก่อนพ่อสุตโสม ธรรมนั้นชื่ออะไร และการบวชชื่ออะไร เพราะว่า เจ้าจะละทิ้งเราสองคนผู้แก่เฒ่าแล้ว ไม่ห่วงใย จะบวช อย่างเดียว?

[๒๕๒๔] แม้บุตรธิดาทั้งหลายของเจ้า ก็มีมาก ยังเล็กนัก ยังไม่เป็นหนุ่มสาว กำลังฉอเลาะน่ารักใคร่ เมื่อไม่เห็นเจ้า น่าจะลำบากไปตามๆ กัน.

[๒๕๒๕] (พระมหาสัตว์ตรัสว่า) ความตั้งอยู่นาน แล้วพลัดพรากจากกัน จากโอรสธิดาเหล่านี้ ของ หม่อมฉัน ซึ่งกำลังเป็นเด็ก ยังไม่เจริญวัย ช่างฉอเลาะ ก็ดี จากทูลกระหม่อมทั้งสองพระองค์ และสิ่งทั้งปวง ไปก็ดี เป็นของเที่ยงแท้.

[๒๕๒๖] (พระชายาทั้งหลายทูลว่า) พระทัยของ ทูลกระหม่อม จะตัดขาดเชียวหรือ หรือจะไม่ทรง พระกรุณาหม่อมฉันทั้งหลาย ไยเล่าพระองค์จึงไม่ ทรงห่วงใย กระหม่อมฉันทั้งหลายผู้คร่ำครวญอยู่ จะ เสด็จออกผนวชเสียให้ได้ทีเดียวหรือ เพคะ.

[๒๕๒๗] (พระมหาสัตว์ตรัสว่า) ใจของเรามิได้ ตัดขาด และเราก็มีความกรุณาในเธอทั้งหลาย แต่เรา ปรารถนาสวรรค์ เพราะฉะนั้น จงจักออกบวช.

[๒๕๒๘] (พระอัครมเหสีตรัสว่า) ข้าแต่พระสุตโสม ผู้ประเสริฐ หม่อมฉันผู้เป็นอัครมเหสีของพระองค์

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 696

ได้พระองค์มาด้วยความลำบาก เหตุไร เมื่อหม่อมฉัน พร่ำเพ้ออยู่ พระองค์จึงมิได้ทรงเยื่อใย จะทรงผนวช เสีย.

ข้าแต่พระสุตโสมผู้ประเสริฐ หม่อมฉันผู้เป็น อัครมเหสีของพระองค์ ได้พระองค์มาด้วยความลำบาก เหตุไร พระองค์จึงมิได้ทรงเยื่อใยสัตว์ผู้ถือปฏิสนธิ ในครรภ์ของหม่อมฉัน จะทรงผนวชเสีย.

ครรภ์ของหม่อมฉันแก่แล้ว ขอพระองค์ทรง รออยู่ จนกระทั่งหม่อมฉันประสูติ อย่าให้หม่อมฉัน เป็นหม้ายอยู่แต่ผู้เดียว ต้องได้รับทุกข์ในภายหลังเลย.

[๒๕๒๙] (พระมหาสัตว์ตรัสว่า) ครรภ์ของเธอแก่ แล้ว ขอเชิญประสูติพระโอรส ซึ่งมีผิวพรรณไม่ทราม เถิด ฉันจักละโอรส พร้อมทั้งเธอบวชให้จงได้.

[๒๕๓๐] ดูก่อนพระน้องนางจันทา เธออย่าร้อง ไห้ไปเลย ดูก่อนนางผู้มีดวงตาเสมอด้วยดอกอัญชัน เธออย่าเศร้าโศกไปเลย จงขึ้นสู่ปราสาทอันประเสริฐ เสียเถิด เราไม่เยื่อใยจักไปบวช.

[๒๕๓๑] (พระโอรสองค์ใหญ่ทูลว่า) ข้าแต่เสด็จแม่ ใครทำให้เสด็จแม่ทรงพิโรธ เหตุไฉนเสด็จแม่จึงทรง กันแสง และจ้องมองดูหม่อมฉันยิ่งนัก บรรดาพระประยูรญาติที่เห็นอยู่ หม่อมฉันจะฆ่าใคร ที่ควรรับสั่ง ให้ฆ่า?

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 697

[๒๕๓๒] (พระนางเทวีตรัสว่า) ลูกรัก ท่านผู้ใด ทรงชนะในแผ่นดิน ท่านผู้นั้นเจ้าไม่อาจจะฆ่าได้เลย พระบิดาของเจ้าได้ตรัสกะแม่ว่า ฉันไม่มีความห่วงใย จักไปบวช.

[๒๕๓๓] (พระโอรสองค์ใหญ่ทูลว่า) เมื่อก่อนเรา เคยไปเที่ยวสวนด้วยรถ และรบกันด้วยช้างตกมัน เมื่อ พระราชบิดาสุตโสมทรงผนวชแล้ว คราวนี้เราจักทำ อย่างไร?

[๒๕๓๔] (พระโอรสองค์น้อยทูลว่า) เมื่อพระมารดา ของหม่อมฉันทรงกันแสงอยู่ และเมื่อพระเชษฐภาดา ไม่ทรงยินยอม หม่อมฉันก็จักยึดพระหัตถ์ทั้งสองของ พระบิดาไว้ เมื่อหม่อมฉันทั้งหลายไม่ยินยอม พระบิดา จะยังเสด็จไปไม่ได้.

[๒๕๓๕] (พระมหาสัตว์ตรัสว่า) แม่นมเอ๋ย เชิญ แม่ลุกขึ้นเถิด แม่จงพาพระกุมารนี้ ไปเล่นให้รื่นรมย์ เสียในที่อื่น เมื่อเรากำลังปรารถนาสวรรค์ กุมารนี้ อย่าทำอันตรายแก่เราเลย.

[๒๕๓๖] (พระพี่เลี้ยงกล่าวว่า) ไฉนหนอพระราชา จึงทรงประทานแก้วมณี อันมีแสงสว่างนี้ เราจะ ประโยชน์อะไรด้วยแก้วมณีนี้ เมื่อพระเจ้าสุตโสม ทรงผนวชแล้ว เราจักทำอะไรได้ กับแก้วมณีนี้.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 698

[๒๕๓๗] (เสนาคุตตอำมาตย์ทูลว่า) พระคลังน้อย ของพระองค์ยังไพบูลย์ และพระคลังใหญ่ของพระองค์ ก็บริบูรณ์ ปฐพีมณฑลพระองค์ก็ทรงชนะแล้ว ขอ พระองค์จงทรงยินดีเถิด อย่าทรงผนวชเลยพระเจ้าข้า.

[๒๕๓๘] (พระมหาสัตว์ตรัสว่า) คลังน้อยของเรา ก็ไพบูลย์ คลังใหญ่ของเราก็บริบูรณ์ และปฐพีมณฑล เราก็ชนะแล้ว แต่เราจักละสิ่งนั้นๆ ออกบวช.

[๒๕๓๙] (กุลพันธเศรษฐีทูลว่า) ขอเดชะ ทรัพย์ ของข้าพระพุทธเจ้ามีมากมาย ข้าพระพุทธเจ้าไม่ สามารถจะนับได้ ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายทรัพย์ ทั้งหมดนั้น แด่พระองค์ ขอพระองค์จงทรงยินดี อย่า ทรงผนวชเลย พระพุทธเจ้าข้า.

[๒๕๔๐] (พระมหาสัตว์ตรัสว่า) ดูก่อนท่าน กุลวัฒนเศรษฐี เรารู้ว่าทรัพย์ของท่านมีมาก และท่าน ก็บูชาเรา แต่เราปรารถนาสวรรค์ เพราะฉะนั้น เรา จึงจักต้องบวช.

[๒๕๔๑] ดูก่อนพ่อโสมทัต เราเป็นผู้กระสันนัก ความไม่ยินดีย่อมมาครอบงำเรา อันตรายมีมาก เราจัก บวชให้ได้ในวันนี้ทีเดียว.

[๒๕๔๒] (พระอนุชาโสมทัตทูลว่า) ข้าแต่พระเจ้า พี่สุตโสม แม้กิจนี้พระองค์ทรงพอพระทัย ขอพระองค์ ทรงผนวช ณ บัดนี้ แม้หม่อมฉันก็จักบวชในวันนี้ ทีเดียว หม่อมฉันไม่อาจอยู่ห่างพระองค์ได้.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 699

[๒๕๔๓] (พระมหาสัตว์ตรัสว่า) เธอจักบวชยัง ไม่ได้ เพราะว่าใครๆ ในพระนครและคามนิคม ชนบท จะไม่พากันหุงต้ม.

[๒๕๔๔] (มหาชนพากันร่ำไห้ว่า) เมื่อพระเจ้า สุตโสม ทรงผนวชเสียแล้ว บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย จักทำอย่างไรเล่า พระเจ้าข้า?

[๒๕๔๕] (พระมหาสัตว์ตรัสว่า) เราเข้าใจว่า ชีวิตนี้ ถูกชรานำเข้าไป เป็นของนิดหน่อย ดุจน้ำ ในโคลนฉะนั้น เมื่อชีวิตเป็นของน้อยเหลือเกินอย่างนี้ เวลานี้ไม่ใช่เวลาที่จะประมาทเลย.

เราเข้าใจว่า ชีวิตนี้ถูกชรานำเข้าไป เป็นของ นิดหน่อย ดุจน้ำในโคลนฉะนั้น เมื่อชีวิตเป็นของน้อย เหลือเกินอย่างนี้ แต่พวกคนพาล ย่อมพากันประมาท.

คนพาลเหล่านั้น อันเครื่องผูกคือตัณหาผูกไว้ แล้ว ย่อมยังนรก กำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เปรตวิสัย และอสุรกายให้เจริญ.

[๒๕๔๖] (มหาชนกล่าวว่า) กลุ่มธุลีตั้งขึ้นไม่ไกล ปุปผกปราสาท ชะรอยพระธรรมราชาผู้เรืองยศของ พวกเรา จะทรงตัดพระเกศาเสียแล้ว.

[๒๕๔๗] (ชาวพระนครปริเทวนาการว่า) พระราชา ทรงห้อมล้อมด้วยพระสนมนางใน เสด็จไปเที่ยวยัง ปราสาทใด นี่คือปราสาทของพระองค์ เกลื่อนกล่น ไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 700

พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยหมู่พระประยูรญาติ เสด็จเที่ยวไปยังปราสาทใด นี่คือปราสาทของพระองค์ แพรวพราวไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย.

พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วย พระสนมนางใน เสด็จเที่ยวไปยังกูฏาคารใด นี่คือกูฏาคารของพระองค์ เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย.

พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วย หมู่พระประยูรญาติ เสด็จเที่ยวไปยังกูฏาคารใด นี้คือกูฏาคารของ พระองค์ เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย.

พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยพระสนมนางใน เสด็จเที่ยวไปยังสวนอโศกวันใด นี่คือสวนอโศกวัน ของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ตลอด กาลทั้งปวง.

พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยพระประยูรญาติ เสด็จเที่ยวไปยังสวนอโศกวันใด นี่คือสวนอโศกวัน ของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ ตลอดกาลทั้งปวง.

พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยพระสนมนางใน เสด็จเที่ยวไปยังพระราชอุทยานใด นี่คือพระราชอุทยานของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ ตลอดกาลทั้งปวง.

พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยหมู่พระประยูรญาติ เสด็จเที่ยวไปยังพระราชอุทยานใด นี่คือพระราช

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 701

อุทยานของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ ตลอดกาลทั้งปวง.

พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยพระสนมกำนัลใน เสด็จเที่ยวไปยังสวนกรรณิการ์ใด นี่คือสวนกรรณิการ์ ของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ ตลอดกาลทั้งปวง.

พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยหมู่พระประยูรญาติ เสด็จเที่ยวไปยังสวนกรรณิการ์ใด นี่คือสวนกรรณิการ์ ของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ ตลอลกาลทั้งปวง.

พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยพระสนมนางใน เสด็จเที่ยวไปยังสวนปาฏลิวันใด นี่คือสวนปาฏลิวัน นั้นของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ ตลอดกาลทั้งปวง.

พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยหมู่พระประยูรญาติ ญาติ เสด็จเที่ยวไปยังสวนปาฏลิวันใด นี่คือสวน ปาฏลิวันของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ ตลอดกาล.

พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยพระสนมนางใน เสด็จเที่ยวไปยังสวนอัมพวันใด นี่คือสวนอัมพวัน ของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ ตลอดกาลทั้งปวง.

พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยหมู่พระประยูรญาติ เสด็จเที่ยวไปยังสวนอัมพวันใด นี่คือสวนอัมพวันของ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 702

พระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ตลอดกาล ทั้งปวง.

พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยพระสนมนางใน เสด็จเที่ยวไปยังสระโบกขรณีใด นี้คือสระโบกขรณี ของพระองค์ ดาดาษไปด้วยบุปผชาตินานาชนิด เกลื่อนกล่นไปด้วยฝูงวิหก.

พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยหมู่พระประยูรญาติ เสด็จเที่ยวไปยังสระโบกขรณีใด นี้คือสระโบกขรณี ของพระองค์ ดาดาษไปด้วยบุปผชาตินานาชนิด เกลื่อนกล่นไปด้วยฝูงวิหก.

[๒๕๔๘] (มหาชนกล่าวว่า) พระเจ้าสุตโสมทรง สละราชสมบัตินี้แล้ว เสด็จออกทรงผนวช ทรงผ้ากาสาวพัสตร์ เที่ยวไปพระองค์เดียว เหมือนช้างตัว ประเสริฐ ฉะนั้น.

[๒๕๔๙] (พระมหาสัตว์ตรัสว่า) ท่านทั้งหลายอย่า ระลึกถึงความยินดีการเล่น และการร่าเริงในกาล ก่อนเลย กามทั้งหลายอย่าทำลายท่านทั้งหลายได้เลย จริงอยู่ สุทัสนนคร น่ารื่นรมย์ยิ่งนัก ท่านทั้งหลาย จงเจริญเมตตาจิต อันหาประมาณมิได้ ทั้งกลางวัน และกลางคืนเถิด เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านทั้งหลายจะได้ ไปสู่เทพบุรี อันเป็นที่อยู่ของท่านผู้มีบุญกรรม.

จบจุลลสุตโสมชาดกที่ ๕

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 703

อรรถกถาจุลลสุตโสมชาดก

พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ เนกขัมมบารมี ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า อามนฺตยามิ นิคมํ ดังนี้.

เรื่องปัจจุบันนิทาน เช่นเดียวกับในมหานารทกัสสปชาดก. (ส่วนอดีต นิทานมีดังต่อไปนี้)

ก็ในอดีตกาล พระนครพาราณสีได้มีชื่อว่า " สุทัสน นคร " พระราชาทรงพระนามว่าพรหมทัต เสด็จประทับอยู่ในพระนครนั้น พระโพธิสัตว์ ทรงบังเกิดในพระครรภ์แห่งพระอัครมเหสีของท้าวเธอ ล่วงไปได้ ๑๐ เดือน ก็ประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา ก็พระพักตร์ของพระกุมารนั้น มีสิริ ประหนึ่งดวงจันทร์ในวันเพ็ญ ด้วยเหตุนั้น พระชนกชนนีจึงทรงขนานพระนามว่า " โสมกุมาร ". ราชกุมารนั้นพอรู้เดียงสาแล้ว เป็นผู้สนใจในสุตะ มีการฟังเป็นปกติ ด้วยเหตุนั้น ชาวประชาจึงถวายพระนามว่า " สุตโสม " ครั้นเจริญวัยแล้ว พระราชกุมาร เสด็จไปเรียนศิลปศาสตร์ในเมืองตักกศิลา เสด็จกลับมา ก็ได้เศวตฉัตรของพระชนก เสวยราชสมบัติโดยธรรม ได้มี พระอิสริยยศยิ่งใหญ่ พระองค์มีสนมกำนัลใน หมื่นหกพันนาง มีพระนางจันทาเทวีเป็นประธาน. ในเวลาต่อมา ท้าวเธอก็เจริญด้วยพระโอรสธิดาจนไม่ ทรงยินดีด้วยฆราวาสวิสัย มีพระประสงค์ที่จะเสด็จไปสู่ป่า ทรงผนวช. วันหนึ่ง จึงตรัสเรียกนายภูษามาลามาตรัสสั่งว่า แน่ะเจ้า เมื่อใด เจ้าเห็นผมที่เศียรของ เราหงอกแล้ว เจ้าพึงบอกเราเมื่อนั้น. นายภูษามาลาก็รับพระราชดำรัสของ ท้าวเธอ เวลาต่อมา ก็เห็นพระเกศาหงอกจึงกราบทูลให้ทรงทราบ เมื่อพระ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 704

ราชาตรัสสั่งว่า เจ้าภูษามาลา ถ้าเช่นนั้นเจ้าจงถอนผมนั้น มาวางไว้ในมือเรา จึงเอาแหนบทองถอนพระเกศา มาวางไว้ในพระหัตถ์. พระมหาสัตว์ทอดพระเนตรดูพระเกศาหงอกนั้น ก็ตกพระทัยว่า สรีระของเราถูกชราครอบงำแล้ว จึงทรงถือเส้นพระเกศาหงอกนั้นเสด็จลงจากปราสาท ประทับนั่งบนราชบัลลังก์ ที่แต่งตั้งไว้ ณ ที่เฝ้าของมหาชน แล้วตรัสสั่งให้เรียกอำมาตย์ประมาณแปดหมื่น มีเสนาบดีเป็นประมุข พราหมณ์หกหมื่น มีปุโรหิตเป็นประธาน และชาวแว่น แคว้นชาวนิคมเป็นต้นอื่นๆ มาเฝ้าเป็นจำนวนมาก แล้วตรัสว่า เกศาหงอกเกิด ที่เศียรของเราแล้ว เราเป็นคนแก่เฒ่า ท่านทั้งหลายจงรับรู้ความที่เราจะออก บรรพชา ดังนี้แล้ว ตรัสคาถาที่ ๑ ความว่า

เราขอบอกชาวเมือง มิตร อำมาตย์ และข้าราชบริพาร ผมที่เศียรของเรา เกิดหงอกแล้ว บัดนี้ เราพอใจบรรพชาเพศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อามนฺตยามิ ความว่า เราขอประกาศ ให้ท่านทั้งหลายรับรู้. บทว่า โรจหํ ความว่า เราพอใจ ดูก่อนท่านผู้เจริญ ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงรับรู้ว่า เรานั้นจะบรรพชา.

บรรดาชนทั้งหลายที่ได้ฟังพระราชาดำรัสเหล่านั้น อำมาตย์คนหนึ่ง เป็นคนองอาจแกล้วกล้า กราบทูลคาถา ความว่า

อย่างไรหนอพระองค์จึงรับสั่งความไม่เจริญแก่ ข้าพระพุทธเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์ ทรงปักพระแสงศรที่อกของข้าพระพุทธเจ้า พระชายา ของพระองค์มีถึง ๗๐๐นาง พระนางเหล่านั้นของ พระองค์ จักเป็นอยู่อย่างไรหนอ.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 705

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภุํ ได้แก่ สิ่งอันไม่เป็นความเจริญ บทว่า อุรสิ กปฺเปสิ ความว่า พระองค์ทรงยังพระศัสตราอันล้างแล้วด้วยดี ให้ไหวใกล้ทรวงอกของข้าพระพุทธเจ้า. บทว่า สสฺตสตา นี้ อำมาตย์นั้น กล่าวหมายถึง ขัตติยกัญญาผู้มีชาติเสมอกัน. บทว่า กถํ นุ เต ตา ภวิสฺสนฺติ ความว่า พระราชชายาของพระองค์เหล่านั้น เมื่อพระองค์ทรงผนวชเสียแล้ว จักเป็นอนาถา หาที่พึ่งมิได้ จักอยู่ได้อย่างไร การที่พระองค์ทรงทำนางเหล่านั้น ให้ไม่มีที่พึ่ง แล้วทรงผนวชนี้ ไม่สมควรเลย พระเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสคาถาที่ ๓ ความว่า

นางเหล่านั้นยังสาว จักปรากฏเอง นางเหล่านั้น จักไปพึ่งพิงพระราชาองค์อื่นก็ได้ ส่วนเราปรารถนา สวรรค์ ด้วยเหตุดังนั้น เราจึงจักบรรพชา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺายนฺติ ความว่า นารีเหล่านั้นจัก ปรากฏด้วยกิจของตนๆ เราเป็นอะไรของนางเหล่านี้ ทุกนางล้วนยังสาว พระราชาอื่นๆ ก็ยังมี นารีเหล่านี้ จักไปพึ่งพระราชาอื่นๆ นั้นได้.

อำมาตย์เป็นต้น เมื่อไม่สามารถจะทูลทัดทานพระโพธิสัตว์ได้ จึงพา กันไปยังสำนักของพระมารดาแห่งพระโพธิสัตว์ กราบทูลเนื้อความนั้นให้ ทรงทราบ. พระราชชนนี รีบเสด็จมาโดยด่วน ตรัสว่า ลูกรัก ข่าวว่า เจ้าประสงค์จะบวชจริงหรือ ดังนี้แล้ว ได้ตรัสคาถา ๒ คาถา ความว่า

ดูก่อนพ่อสุตโสม แม่ผู้เป็นมารดาของเจ้า ชื่อว่า ได้รับความยาก เพราะเมื่อแม่พร่ำเพ้ออยู่ เจ้าไม่ห่วงใย จะบวชให้ได้.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 706

ดูก่อนพ่อสุตโสม แม่คลอดเจ้าซึ่งเป็นผู้ที่แม่ได้ ด้วยความลำบาก เหตุไรเมื่อแม่พร่ำเพ้ออยู่ เจ้าไม่ ห่วงใย จะบวชให้จงได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุลฺลทฺธํ ความว่า เจ้าชื่อว่าเป็นผู้ที่ ได้มาโดยยาก เพราะเมื่อจะได้ก็ต้องผ่าความลำบาก จึงได้เจ้าผู้เป็นบุตรมา. บทว่า ยํ เม ความว่า เมื่อแม่พร่ำเพ้ออยู่โดยประการต่างๆ เจ้ายังปรารถนา จะบวชให้ได้ด้วยเหตุใด เหตุนั้นการได้บุตรเช่นกับเจ้า จึงชื่อว่าแม่ได้มาด้วย ความยากลำบาก.

พระโพธิสัตว์มิได้ตรัสอะไรกับพระราชมารดา ซึ่งทรงปริเทวนาการ อยู่อย่างนี้. พระราชชนนีทรงกันแสงร่ำไห้ ประทับยืนอยู่ส่วนข้างหนึ่งเสียเอง ทีเดียว ลำดับนั้น ประชาชนจึงพากันไปกราบทูลแด่พระราชบิดาของพระโพธิ- สัตว์. พระราชบิดาเสด็จมาแล้ว ตรัสคาถาอย่างเดียวกัน ความว่า

ดูก่อนพ่อสุตโสม ธรรมนั้นชื่ออะไร และการ บวชชื่ออะไร เพราะว่า เจ้าจะละทิ้งเราสองคนผู้ แก่เฒ่าแล้ว ไม่ห่วงใย จะบวชอย่างเดียว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ โน อมฺเห ความว่า เจ้าเป็นบุตร ของมารดาบิดา ไยจึงไม่ปฏิบัติมารดาบิดาซึ่งแก่ชรา ในเวลาที่ควรปฏิบัติ ทอดทิ้งมิได้อาลัยบวชเสีย เหมือนยังกะกลิ้งศิลาลงเหวฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น บิดาขอถามเจ้า ธรรมของเจ้านี้ชื่ออะไร?

พระมหาสัตว์ทรงสดับดังนั้นแล้วก็นิ่งเสีย. ลำดับนั้น พระราชบิดา จึงตรัสว่า สุตโสมลูกรัก ถ้าหากเจ้าไม่มีความสิเนหาอาลัยในมารดาบิดาแล้ว บุตรธิดาของเจ้ายังเล็กๆ มีมาก ไม่อาจที่จะพลัดพรากจากเจ้าได้ ในเวลาเด็ก เหล่านั้นเจริญวัยแล้ว เจ้าจึงค่อยบวชเถิด แล้วตรัสคาถาที่ ๗ ความว่า

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 707

แม้บุตรและธิดาทั้งหลายของเจ้าก็มีมาก ยังเล็ก นัก ยังไม่เป็นหนุ่มสาว กำลังฉอเลาะน่ารักใคร่ เมื่อ ไม่เห็นเจ้าน่าจะลำบากไปตามๆ กัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มญฺชู ความว่า พูดจาน่ารัก. บทว่า นิคฺจฉนฺติ ความว่า พ่อสำคัญว่า จักพากันถึงความลำบาก คือกลับได้ทุกข์ ทั้งทางกายและทางใจ.

พระมหาสัตว์ทรงสดับพระดำรัสนั้นแล้ว ตรัสพระคาถา ความว่า

ความตั้งอยู่นานแล้วพลัดพรากจากกัน จากโอรส ธิดาเหล่านี้ของหม่อมฉัน ซึ่งกำลังเป็นเด็ก ยังไม่เจริญวัย ช่างฉอเลาะก็ดี จากทูลกระหม่อมทั้งสองพระองค์และ สิ่งทั้งปวงไปก็ดี เป็นของเที่ยงแท้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺเพหิปิ ตุมฺเหหิ ความว่า ข้าแต่ พระทูลกระหม่อม ใช่ว่าข้าพระพุทธเจ้า จะจากโอรสธิดาเท่านั้นก็หามิได้ ที่แท้ แม้ทูลกระหม่อมทั้งสอง แม้สรรพสังขารอื่นๆ ถึงดำรงอยู่ได้นานคือตั้งอยู่สิ้น กาลนาน ก็เพียงที่จะพลัดพรากจากกัน คือความเป็นต่างๆ กัน เพราะในโลก สันนิวาสแม้ทั้งสิ้น สังขารแม้อย่างหนึ่ง จะชื่อว่าเป็นของเที่ยงไม่มีเลย.

พระมหาสัตว์แสดงธรรมกถาแด่พระราชบิดาอย่างนี้ สมเด็จพระราช บิดา ทรงสดับธรรมกถาของพระโพธิสัตว์แล้ว ก็ได้ทรงดุษณีภาพ ลำดับนั้น อำมาตย์ทั้งหลาย จึงไปแจ้งแก่พระชายาที่รักทั้งเจ็ดร้อยของพระมหาสัตว์ พระ ชายาเหล่านั้นจึงลงจากปราสาท ไปยังสำนักของพระมหาสัตว์เจ้า ต่างยึดข้อ พระบาท ปริเทวนาการ กล่าวคาถา ความว่า

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 708

พระทัยของทูลกระหม่อม จะตัดขาดเชียวหรือ หรือจะไม่ทรงพระกรุณาหม่อมฉันทั้งหลาย ไยเล่า พระองค์จึงไม่ห่วงใยกระหม่อมฉันทั้งหลาย ผู้คร่ำครวญอยู่ จะเสด็จออกผนวชเสียให้ได้เทียวหรือเพคะ.

คาถานั้น มีอรรถาธิบายดังนี้ ข้าแต่พระสุตโสมผู้พระสวามี พระหทัย ในพวกกระหม่อมฉัน ของทูลกระหม่อมซึ่งกระทำพวกหม่อมฉันให้เป็นหม้าย เสด็จไปบวช จะตัดขาดเชียวหรือหนอ เพราะไม่มีความสิเนหาแม้เพียงเล็กน้อย หรือชื่อว่าความการุญ ของทูลกระหม่อมไม่มี เพราะไม่มีพระกรุณาจึงละทิ้ง พวกหม่อมฉัน ซึ่งคร่ำครวญอยู่อย่างนี้ไปบรรพชา.

พระมหาสัตว์ ทรงสดับเสียงปริเทวนาการ ของเหล่าบาทบริจาริกา เหล่านั้น ผู้กลิ้งเกลือกร่ำไรรำพันอยู่แทบบาทมูล แล้วตรัสคาถาลำดับ ต่อไปว่า

ใจของเรามิได้ตัดขาด และเราก็มีความกรุณาใน เธอทั้งหลาย แต่เราปรารถนาสวรรค์ เพราะฉะนั้น เราจึงจักออกบวช. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สคฺคญฺจ ความว่า พระมหาสัตว์ทรง ปลอบใจพระชายาเหล่านั้นว่า เราปรารถนาสวรรค์ อนึ่ง ขึ้นชื่อว่าบรรพชานี้ พุทธาทิบัณฑิต สรรเสริญแล้ว เพราะเหตุนั้น เราจึงจักบวช เธอทั้งหลาย อย่าคิดเสียใจ.

ลำดับนั้น อำมาตย์ทั้งหลาย จึงกราบทูลพระมเหสีของพระโพธิสัตว์ ให้ทรงทราบ พระอัครมเหสีนั้นมีภาระหนัก ทรงครรภ์บริบูรณ์ เสด็จมา ถวายบังคมพระมหาสัตว์ ประทับยืน ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง ได้ตรัสคาถา ๓ คาถา ความว่า

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 709

ข้าแต่พระสุตโสมผู้ประเสริฐ หม่อมฉันผู้เป็น อัครมเหสีของพระองค์ ได้พระองค์มาด้วยความลำบาก เหตุไรเมื่อหม่อมฉันพร่ำเพ้ออยู่ พระองค์จึงมิได้ทรง เยื่อใย จะทรงผนวชเสีย. ข้าแต่พระสุตโสมผู้ประเสริฐ หม่อมฉันผู้เป็น พระอัครมเหสีของพระองค์ ได้พระองค์มาด้วยความ ลำบาก เหตุไร พระองค์จึงมิได้ทรงเยื่อใยสัตว์ผู้ถือ ปฏิสนธิในครรภ์ของหม่อมฉัน จะทรงผนวชเสีย. ครรภ์ของหม่อมฉันแก่แล้ว ขอพระองค์ทรง รออยู่ จนกระทั่งหม่อมฉันประสูติ อย่าให้หม่อมฉัน เป็นหม้ายอยู่แต่ผู้เดียว ต้องได้รับทุกข์ในภายหลังเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ เม ความว่า เพราะเหตุไร เมื่อ หม่อมฉันพร่ำเพ้ออยู่ พระองค์มิได้ห่วงใยจะบวชเสีย ตำแหน่งอัครมเหสี ที่หม่อมฉันได้จากสำนักของพระองค์นั้น หม่อมฉันได้มาด้วยยาก ในคาถา ที่สองมีอธิบายว่า เพราะเหตุไรพระองค์จะทรงละหม่อมฉันผู้กำลังท้อง มิได้ ห่วงใย บวชเสีย ความเป็นอัครมเหสีของพระองค์ที่หม่อมฉันได้มานั้น หม่อมฉันได้มาด้วยยาก. บทว่า ยาว นํ ความว่า ขอพระองค์จงทรงยับยั้งอยู่ จนกว่าหม่อมฉันจะประสูติก่อนเถิด.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสพระคาถา ความว่า

ครรภ์ของเธอแก่แล้ว ขอเชิญประสูติพระโอรส ซึ่งมีผิวพรรณไม่ทรามเถิด ฉันจักละโอรส พร้อมทั้ง เธอบวชให้จงได้.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 710

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุตฺตํ ความว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ เรารู้ว่า เธอครรภ์แก่ แต่เมื่อเธอประสูติจักประสูติพระโอรส หาใช่ธิดาไม่ ขอเธอจง ประสูติโอรสด้วยความสวัสดีเถิด ส่วนเราจะละบุตรกับตัวเธอ บวชให้ได้ทีเดียว.

พระนางเทวี สดับพระราชดำรัสของพระราชสวามีแล้ว ไม่สามารถ จะอดกลั้นความโศกไว้ได้ทูลว่า ข้าแต่พระทูลกระหม่อม คราวนี้นับแต่วันนี้ไป ชื่อว่าสิริของหม่อมฉันคงไม่มีเลย แล้วเอาหัตถ์ทั้งสองกุมพระหทัย หลั่งพระ อัสสุชลพลางปริเทวนาการด้วยพระสุรเสียงอันดัง ลำดับนั้น เมื่อพระมหาสัตว์ จะทรงปลอบโยนพระนาง จึงตรัสพระคาถา ความว่า

ดูก่อนพระน้องนางจันทา เธออย่าร้องไห้ไปเลย ดูก่อนพระนางผู้มีดวงตาเสมอด้วยดอกอัญชัน เธออย่า เศร้าโศกไปเลย จงขึ้นสู่ปราสาทอันประเสริฐเสียเถิด เราไม่เยื่อใยจักไปบวช.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา ตฺวํ จนฺเท รุทิ ความว่า ดูก่อน พระน้องนางจันทาเทวีผู้เจริญ เธออย่าร้องไห้เศร้าโศกไปเลย. บทว่า วนติมิรมตฺตกฺขิ แปลว่า ผู้มีพระเนตรเสมอด้วยดอกอัญชัน แต่ในพระบาลีท่านเขียน ไว้ว่า " โกวิลารตมฺพกฺขิ " ความก็ว่า เนตรของพระนางจันทาเทวีนั้น แดงเหมือนดอกหงอนไก่.

พระนางจันทาเทวี สดับพระราชดำรัสแล้ว ไม่สามารถที่จะดำรงอยู่ ได้ เสด็จขึ้นสู่ปราสาทประทับนั่ง กันแสงอยู่. ลำดับนั้น พระโอรสองค์ใหญ่ ของพระโพธิสัตว์ เห็นพระมารดาทรงกันแสง จึงดำริว่า เหตุไรหนอ พระ มารดาของเราจึงประทับนั่ง ทรงกันแสงอยู่ เมื่อจะทูลถามพระมารดาจึงตรัส พระคาถา ความว่า

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 711

ข้าแต่เสด็จแม่ ใครทำให้เสด็จแม่ทรงพิโรธ เหตุ ไฉนเสด็จแม่ จึงทรงกันแสง และจ้องมองดูหม่อม ฉันยิ่งนัก บรรดาพระประยูรญาติที่เห็นอยู่ หม่อมฉัน จะฆ่าใครที่ควรรับสั่งให้ฆ่า?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกเปสิ ความว่า ข้าแต่เสด็จแม่ ใคร คนไหน ทำให้เสด็จแม่ต้องขุ่นเคือง คือใครได้ทำสิ่งไม่เป็นที่รักแก่เสด็จแม่. บทว่า อเปกฺขสิ จ มีอธิบายว่า เมื่อเสด็จแม่จ้องหม่อมฉัน ทำไมจึงต้อง ทรงพระกันแสง. บทว่า กํ อวชฺฌํ ฆาเฏมิ ความว่า พระราชโอรส ทูลถามว่า หม่อมฉันจะฆ่าใครที่ควรจะให้ฆ่า สำหรับพระญาติของเสด็จแม่ ที่เห็นกันอยู่นั่นแหละ โปรดตรัสบอกแก่หม่อมฉัน.

ลำดับนั้น พระนางเทวี ตรัสพระคาถา ความว่า

ลูกรัก ท่านผู้ใดทรงชนะในแผ่นดิน ท่านผู้นั้น เจ้าไม่อาจจะฆ่าได้เลย พระบิดาของเจ้าได้ตรัสกะแม่ ว่า ฉันไม่มีความห่วงใย จักไปบวช.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิชิตาวี ความว่า ลูกรัก ท่านผู้ใดเป็น ผู้ชนะในแผ่นดินนี้ ทำให้แม่ขุ่นเคือง คือยังความโกรธ และความเศร้าโศก ให้เข้าไปในหทัยของแม่ ด้วยการกล่าวคำไม่เป็นที่รัก ท่านผู้นั้น ลูกไม่อาจ จะฆ่าได้ เพราะเป็นพระบิดาของลูกเอง พระองค์ทรงตรัสกะแม่ว่า เราจัก สละสิริราชสมบัติ และตัวเธอ เข้าสู่ป่าแล้วบรรพชา นี้คือเหตุแห่งการกันแสง ของแม่.

เชษฐโอรส ทรงฟังพระเสาวนีย์ของพระมารดาแล้ว ทูลว่า ข้าแต่ เสด็จแม่ เสด็จแม่ตรัสคำนี้อย่างไรกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเราก็ตกเป็นคน อนาถา หาที่พึ่งมิได้มิใช่หรือ ดังนี้แล้ว ทรงปริเทวนาการ ตรัสคาถา ความว่า

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 712

เมื่อก่อน เราเคยไปเที่ยวสวนด้วยรถ และรบกัน ด้วยช้างตกมัน เมื่อพระราชบิดาสุตโสม ทรงผนวช แล้ว คราวนี้ เราจักทำอย่างไร?

คาถานั้น มีอรรถาธิบายดังนี้ เมื่อก่อนเราเคยขึ้นรถ อันประดับแล้ว ด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง เทียมด้วยอาชาไนย ๔ ตัว ไปพระราชอุทยาน สู้รบกุญชรชาติตัวเมามัน ทั้งเล่นกีฬาอื่นๆ เช่นอัศวกีฬาเป็นต้น บัดนี้ เมื่อ พระราชบิดาสุตโสม ทรงผนวชแล้ว เราจักทำอย่างไร?

ลำดับนั้น โอรสองค์น้อย ผู้กนิษฐภาดาของเชษฐโอรส มีพระชนมายุ ได้ ๗ พรรษา เห็นกษัตริย์ทั้งสองทรงกันแสงอยู่ จึงเข้าไปเฝ้าพระมารดา ทูลถามว่า ข้าแต่เสด็จแม่ เพราะเหตุไรเสด็จแม่ กับเสด็จพี่ จึงทรงกันแสง ทรงสดับเรื่องราวนั้นแล้ว ก็ทูลปลอบโยนท่านทั้งสองว่า ถ้ากระนั้นขอเสด็จ แม่และเสด็จพี่อย่าทรงกันแสงเลย หม่อมฉันจักไม่ยอมให้พระบิดาทรงผนวช ก่อน แล้วเสด็จลงจากปราสาท พร้อมด้วยพวกพี่เลี้ยง เสด็จไปยังสำนักพระ ราชบิดา ทูลว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ข่าวว่า เสด็จพ่อตรัสสั่งว่า จะละทิ้งหม่อมฉัน ผู้ไม่ประสงค์ให้บวช ไปบวชเสีย หม่อมฉันไม่ยอมให้เสด็จพ่อบวช ทูลแล้ว ก็เข้าสวมกอดพระศอ พระราชบิดาไว้แน่น ตรัสคาถา ความว่า

เมื่อพระมารดา ของหม่อมฉัน ทรงกันแสงอยู่ และเมื่อพระเชษฐภาดา ไม่ทรงยินยอม หม่อมฉันก็ จักยึดพระหัตถ์ทั้งสองของพระบิดาไว้ เมื่อหม่อมฉัน ทั้งหลายไม่ยินยอม พระบิดาจะยังเสด็จไปไม่ได้.

พระมหาสัตว์เจ้า ทรงดำริว่า โอรสของเรานี้ จะทำอันตรายแก่เรา ด้วยอุบายอย่างไรหนอ เราจึงจะให้เธอหลีกไปเสียได้ ลำดับนั้น พระมหาสัตว์

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 713

จึงทรงแลดูพระพี่เลี้ยงตรัสว่า แน่ะพี่เลี้ยง แม่คุณเชิญเถิด นี้เป็นเครื่องประดับ คอ คือแก้วมณี ส่วนนี้จงเป็นของเจ้า เจ้าจงช่วยพาพระโอรสไปเสีย อย่า ทำอันตรายแก่เราเลย เมื่อพระองค์เองไม่ทรงสามารถ ที่จะจับพระหัตถ์พระ โอรส จึงทรงคิดติดสินบนพระพี่เลี้ยง แล้วตรัสคาถา ความว่า

แม่นมเอ๋ย เชิญแม่ลุกขึ้นเถิด แม่จงพาพระ กุมารนี้ ไปเล่นให้รื่นรมย์เสียในที่อื่น เมื่อเรากำลัง ปรารถนาสวรรค์ กุมารนี้อย่าทำอันตรายแก่เราเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิมํ กุมารํ ความว่า แม่นมเอ๋ย เจ้า จงลุกขึ้น ช่วยพาพระกุมารนี้ไป แล้วมารับเอาแก้วมณีนี้ นำพระกุมารให้ไป รื่นรมย์เสียในที่อื่น.

พระพี่เลี้ยงนั้น ได้บำเหน็จแล้ว จึงเตือนพระกุมารให้รู้สึกองค์ แล้ว พาไปในที่อื่น พลางปริเทวนาการกล่าวคาถา ความว่า

ไฉนหนอ พระราชาจึงทรงประทานแก้วมณี อัน มีแสงสว่างนี้ ประโยชน์อะไรของเราด้วยแก้วมณีนี้ เมื่อพระเจ้าสุตโสมทรงผนวชแล้ว เราจักทำอะไรได้ กับแก้วมณีนี้.

คาถานั้น มีอรรถาธิบายดังนี้ พระพี่เลี้ยงคร่ำครวญว่า ไฉนหนอ เราจึงรับเอาแก้วมณีนี้เพื่อเป็นค่าจ้าง พระราชาก็ทรงพระราชทานแก้วมณี นั้น อันกระทำซึ่งรัศมี คือส่องแสงสว่างเป็นประกาย เมื่อพระเจ้าสุตโสม บรมนรินทร์ ทรงผนวชแล้ว แก้วมณีนี้จะมีประโยชน์อะไรแก่เรา. บทว่า กึ นุ เมนํ กริสฺสามิ ความว่า เมื่อพระองค์ทรงผนวชแล้ว เราจักไม่ได้

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 714

แก้วมณีนี้ ถึงแม้จะได้ ก็จักทำอะไรกับแก้วมณีนี้ ท่านทั้งหลายจงดูการกระทำของเราเถิด.

ลำดับนั้น อำมาตย์ มหาเสนาคุตต์ คิดว่า ชะรอยพระราชานี้ จะทรง ทำความสำคัญว่า ราชทรัพย์ในคลังของเรามีน้อย เราจักทูลความที่พระราช ทรัพย์มีมากแด่พระองค์ เขาลุกขึ้นถวายบังคมแล้วกล่าวคาถา ความว่า

พระคลังน้อยของพระองค์ไพบูลย์ และพระคลัง ใหญ่ของพระองค์ก็บริบูรณ์ ปฐพีมณฑล พระองค์ ก็ทรงชนะแล้ว ขอพระองค์จงทรงยินดีเถิด อย่าทรง ผนวชเลย พระเจ้าข้า.

พระมหาสัตว์ทรงสดับเช่นนั้น จึงตรัสพระคาถา ความว่า

คลังน้อย ของเราก็ไพบูลย์ คลังใหญ่ของเราก็ บริบูรณ์ และปฐพีมณฑลเราก็ชนะแล้ว แต่เราจักละ สิ่งนั้นๆ ออกบวช.

เมื่อมหาเสนาคุตต์อำมาตย์ ได้ฟังพระดำรัสเช่นนั้น จึงถอยออกไป กุลพันธนเศรษฐี จึงลุกขึ้นถวายบังคม กล่าวคาถา ความว่า

ขอเดชะ ทรัพย์ของข้าพระพุทธเจ้า มีมากมาย ข้าพระพุทธเจ้าไม่สามารถจะนับได้ ข้าพระพุทธเจ้าขอ ถวายทรัพย์ทั้งหมดนั้น แด่พระองค์ ขอพระองค์จง ทรงยินดี อย่าทรงผนวชเลย พระพุทธเจ้าข้า.

พระมหาสัตว์ ทรงสดับเช่นนั้น จึงตรัสพระคาถา ความว่า

ดูก่อนกุลวัฑฒนเศรษฐี เรารู้ว่าทรัพย์ของท่าน มีมาก และท่านก็บูชาเรา แต่เราปรารถนาสวรรค์ เพราะฉะนั้น เราจึงจักต้องบวช.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 715

ครั้นกุลพันธนเศรษฐี ได้ฟังพระราชดำรัส ก็ถอยออกไป พระมหา สัตว์ จึงตรัสเรียกพระอนุชาพระนามว่า โสมทัต มารับสั่งว่า พ่อโสมทัต พี่กระสัน เหมือนไก่ป่าถูกขังอยู่ในกรง ความไม่ยินดี ในฆราวาสครอบงำพี่ พี่จักบวชในวันนี้ให้ได้ เธอจงครอบครองราชสมบัตินี้เถิด เมื่อจะทรงมอบ ราชสมบัติให้จึงตรัสพระคาถา ความว่า

ดูก่อนพ่อโสมทัต เราเป็นผู้กระสันนัก ความไม่ ยินดี ย่อมมาครอบงำเรา อันตรายมีมาก เราจักบวช ให้ได้ในวันนี้ทีเดียว.

แม้โสมทัต ทรงฟังพระราชดำรัสนั้นแล้ว ก็มีพระประสงค์จะทรง ผนวช เมื่อจะแสดงพระประสงค์นั้น จึงตรัสคาถาต่อไป ความว่า

ข้าแต่พระเจ้าพี่สุตโสม แม้กิจนี้พระองค์ทรงพอ พระทัย ขอพระองค์ทรงผนวช ณ บัดนี้ แม้หม่อมฉัน ก็จักบวชในวันนี้ทีเดียว หม่อมฉันไม่อาจอยู่ห่างพระ องค์ได้.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงห้ามพระอนุชา แล้วตรัสคาถากึ่งคาถา ความว่า

เธอจักบวชยังไม่ได้ เพราะว่าใครๆ ในพระ นคร และคามนิคมในชนบทจะไม่พากันหุงต้ม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น หิ ปจฺจติ ความว่า เพราะได้ทราบ ความประสงค์ ในการบรรพชาของพี่ในบัดนี้ ก่อนเก่านั้น ใครๆ ใน สุทัสนนคร อันมีอาณาเขต ๑๒ โยชน์นี้ และในชนบททั้งสิ้น ยังไม่พา กันหุงหาอาหาร คือยังไม่พากันยังไฟในเตาให้โพลง ถ้าเมื่อเราบวชเสียทั้งสอง

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 716

คน ชาวแว่นแคว้น จักว้าเหว่ไร้ที่พึ่ง เพราะเหตุนั้น เธอยังบวชไม่ได้ พี่ จักบวชผู้เดียวเท่านั้น.

มหาชนได้ฟังพระราชดำรัสแล้ว พากันกลิ้งเกลือกแทบพระยุคลบาท ของพระมหาสัตว์ ปริเทวนาการ ทูลว่า

เมื่อพระเจ้าสุตโสม ทรงผนวชเสียแล้ว บัดนี้ข้า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จักกระทำอย่างไรเล่าพระเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ตรัสว่า อย่าเลย ท่านทั้งหลายอย่าเศร้าโศก กันไปเลย ถึงเราจักดำรงอยู่ได้นาน ก็จักต้องพลัดพรากจากท่านทั้งหลาย เพราะสังขารที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่าเที่ยงไม่มี เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่มหาชน จึงตรัสว่า

เราเข้าใจว่า ชีวิตนี้ถูกชรานำเข้าไป เป็นของนิด หน่อย ดุจน้ำในโคลน ฉะนั้น เมื่อชีวิตเป็นของน้อย เหลือเกินอย่างนี้ เวลานี้ไม่ใช่เวลาที่จะประมาทเลย.

เราเข้าใจว่า ชีวิตนี้ถูกชรานำเข้าไป เป็นของ นิดหน่อย ดุจน้ำในโคลนฉะนั้น เมื่อชีวิตเป็นของ น้อยเหลือเกินอย่างนี้ แต่พวกคนพาล ย่อมพากัน ประมาท.

คนพาลเหล่านั้น อันเครื่องผูก คือ ตัณหาผูกไว้ แล้ว ย่อมยังนรก กำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เปรตวิสัย และอสุรกายให้เจริญ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปนิยฺยติทํ มญฺเ ความว่า ดูก่อน อาณาประชาราชฎร์ เราเข้าใจว่า ชีวิตนี้ถูกชรานำเข้าไป ในสัตว์ทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 717

อื่นๆ ชีวิตนี้มีอันรุกร้นเข้าไปเป็นอรรถ มีอันนำเข้าไปเป็นอรรถ แต่ในที่นี้ มีอันรวบรัดเอาเป็นอรรถ เพราะฉะนั้น ในที่นี้มีเนื้อความอย่างนี้ว่า น้ำเล็กน้อย ใส่ลงในโคลน น้ำด่างของพวกช่างย้อม ย่อมจับด่างแห้งเร็วฉันใด แม้ชีวิตก็ฉัน นั้น เมื่อชีวิตเป็นของน้อยเช่นนี้ ใช่กาลที่จะประมาทในบุญกิริยาของสัตว์ ทั้งหลาย ผู้ยึดอายุสังขาร เล็กน้อยนั้นไปมาอยู่ไม่ชอบที่จะทำความไม่ประมาท อย่างเดียว.

บทว่า อถ พาลา ปมชฺชนฺติ ความว่า คนพาลทั้งหลายเป็น เหมือนจะไม่แก่ไม่ตาย จมอยู่ในเปลือกตม คือ กามคุณ มัวเมาประมาทอยู่ ดุจสุกรจมอยู่ในโคลนคือคูถฉะนั้น. บทว่า อสุรกายํ ความว่า และย่อมยัง กำเนิดกาลกัญชิกอสุรกายให้เจริญ.

พระมหาสัตว์ทรงแสดงธรรมแก่มหาชนอย่างนี้แล้ว เสด็จขึ้นสู่ปุปผกปราสาท ประทับยืนบนชั้นที่เจ็ด ทรงเอาพระขรรค์ตัดพระเมาลีแล้ว ตรัสว่า เราไม่เป็นอะไรกันกับท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงหาพระราชาของตน แล้ว โยนพระเมาลี ทั้งเครื่องโพกไปในระหว่างมหาชน. มหาชนรับเอาพระเมาลี แล้ว ต่างกลิ้งเกลือกปริเทวนาการบนภาคพื้น. ละอองธุลีเป็นอันมากฟุ้งขึ้น ในที่นั้น มหาชนที่กลับมายืนดู ได้เห็นละอองธุลีนั้น ต่างรำพันว่า พระ เมาลีทั้งเครื่องโพกอันพระราชาทรงตัดโยนมาในระหว่างมหาชน ฉะนั้นสาย ละอองธุลีนี้ จึงฟุ้งขึ้นในที่ใกล้ปราสาท แล้วกล่าวคาถา ความว่า

กลุ่มธุลีตั้งขึ้นไม่ไกลปุปผกปราสาท ชะรอย พระธรรมราชาผู้เรืองยศของพวกเรา จะทรงตัด พระเกศาแล้ว.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 718

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อูหญฺเต แปลว่า ตั้งขึ้น. บทว่า รชคฺคํ แปลว่า กองธุลี. บทว่า อวิทฺเร ความว่า (กองธุลีเกิดขึ้น) ไม่ห่างจากที่ พวกเรายืนอยู่นี้เลย. บทว่า ปุปฺผกมฺหิ ความว่า ใกล้ๆ ปุปผกปราสาท. บทว่า มญฺเ โน ความว่า พวกเราเข้าใจว่า พระธรรมราชาของพวกเรา จักตัดพระเกศาเสียแล้ว.

ฝ่ายพระมหาสัตว์เจ้า ทรงใช้มหาดเล็กให้ไปนำบริขารของบรรพชิตมา โปรดให้นายภูษามาลาปลงพระเกศาและพระมัสสุ แล้วเปลื้องเครื่องราชอลังการ ไว้บนพระบรรจถรณ์ ตัดชายพระภูษาแดง ทรงกาสาวพัสตร์ ทรงคล้องบาตรดิน ที่จะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย จับธารพระกร เสด็จจงกรมไปมา ณ ท้องพระโรง แล้วเสด็จลงจากปราสาท ทรงดำเนินไปในละแวกถนน แต่ไม่มีใครจำพระองค์ ผู้เสด็จไปได้เลย ลำดับนั้น ขัตติยกัญญาเจ็ดร้อยนาง ของพระมหาสัตว์นั้น พากันขึ้นไปยังปราสาท ไม่พบพระมหาสัตว์ พบเฉพาะห่อเครื่องอาภรณ์ ก็กลับลงมา ตรงไปยังสำนักของนางสนม หมื่นหกพันที่เหลือ ฟังข่าวว่า พระสุตโสมมหิศร องค์ปิยราชสวามีของพวกท่าน ทรงผนวชเสียแล้ว ต่างก็ ปริเทวนาการด้วยเสียงอันดัง ออกไปภายนอก. ขณะนั้น มหาชนได้ทราบว่า พระราชาทรงผนวชแล้ว. ชาวพระนครทั้งสิ้น ก็แตกตื่นประชุมกันที่ประตู พระราชวังว่า ข่าวว่า พระราชาของพวกเราทรงผนวชแล้ว. มหาชน ต่างพา กันไปยังสถานที่ๆ เคยประทับ เช่นปราสาทเป็นต้น ด้วยคิดว่า พระราชา จักเสด็จอยู่ที่นี่ จักเสด็จอยู่ตรงนี้ แต่ก็มิได้พบพระราชา จึงพากันเที่ยว ปริเทวนาการด้วยคาถาเหล่านี้ ความว่า

พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยพระสนมนางใน เสด็จไปเที่ยวยังปราสาทใด นี่คือปราสาทของพระองค์ เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 719

พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยหมู่พระประยูรญาติ เสด็จเที่ยวไปยังปราสาทใด นี้คือปราสาทของพระองค์ แพรวพราวไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย.

พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยพระสนมนางใน เสด็จเที่ยวไปยังกูฏาคารใด นี้คือกูฏาคารของพระองค์ เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย.

พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยหมู่พระประยูรญาติ เสด็จเที่ยวไปยังกูฏาคารใด นี้คือกูฏาคารของพระองค์ เกลื่อนกล่นไปด้วยสุวรรณบุปผามาลัย.

พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยพระสนมนางใน เสด็จเที่ยวไปยังสวนอโศกวันใด นี้คือสวนอโศกวัน ของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ตลอดกาลทั้งปวง.

พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยพระประยูรญาติ เสด็จเที่ยวไปยังสวนอโศกวันใด นี้คือสวนอโศกวัน ของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ ตลอดกาลทั้งปวง.

พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยพระสนมนางใน เสด็จเที่ยวไปยังพระราชอุทยานใด นี้คือพระราชอุทยานของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ ตลอดกาลทั้งปวง.

พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยหมู่พระประยูรญาติ เสด็จเที่ยวไปยังพระราชอุทยานใด นี้คือพระราช

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 720

อุทยานของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ ตลอดกาลทั้งปวง.

พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยพระสนมกำนัลใน เสด็จเที่ยวไปยังสวนกรรณิการ์ใด นี้คือสวนกรรณิการ์ ของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ ตลอดกาลทั้งปวง.

พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยหมู่พระประยูรญาติ เสด็จเที่ยวไปยังสวนกรรณิการ์ใด นี้คือสวนกรรณิการ์ ของพระองค์ มีดอกไม้บานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ ตลอดกาลทั้งปวง.

พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยพระสนมนางใน เสด็จเที่ยวไปยังสวนปาฏลิวันใด นี้คือสวนปาฏลิวัน นั้นของพระองค์ มีดอกบานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ ตลอดกาลทั้งปวง.

พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยหมู่พระประยูรญาติ เสด็จเที่ยวไปยังสวนปาฏลิวันใด นี้คือสวนปาฏลิวัน ของพระองค์ มีดอกบานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ตลอดกาล ทั้งปวง.

พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยพระสนมนางใน เสด็จเที่ยวไปยังสวนอัมพวันใด นี้คือสวนอัมพวันของ พระองค์ มีดอกบานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ตลอดกาล ทั้งปวง.

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 721

พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยหมู่พระประยูรญาติ เสด็จเที่ยวไปยังสวนอัมพวันใด นี้คือสวนอัมพวันของ พระองค์ มีดอกบานสะพรั่ง น่ารื่นรมย์ตลอดกาล ทั้งปวง.

พระราชาทรงห้อมล้อมไปด้วยพระสนมนางใน เสด็จเที่ยวไปยังสระโบกขรณีใด นี้คือสระโบกขรณี ของพระองค์ ดาดาษไปด้วยบุปผชาตินานาชนิด เกลื่อนกล่นไปด้วยฝูงวิหก.

พระราชาทรงห้อมล้อมด้วยหมู่พระประยูรญาติ เสด็จเที่ยวไปยังสระโบกขรณีใด นี้คือสระโบกขรณี ของพระองค์ ดาดาษไปด้วยบุปผชาตินานาชนิด เกลื่อนกล่นไปด้วยฝูงวิหก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วีติกิณฺโณ ความว่า เกลื่อนกล่นไป ด้วยสุวรรณบุปผา และนานามาลัย. บทว่า ปริกิณณฺโณ แปลว่า แวดล้อม เป็นแวดวง. บทว่า อิตฺถาคาเรหิ ความว่า หญิงทั้งหลายนับแต่ทาสีไป ชื่อว่าอิตถาคาร คือสนมนางใน. แม้อำมาตย์ทั้งหลาย ก็ชื่อว่า ญาติทั้งนั้น ในบทว่า าติสงฺเฆน นี้. บทว่า กูฏาคารํ ได้แก่ พระที่บรรทม และ ห้องกูฏาคารอันวิจิตรไปด้วยรัตนะทั้งเจ็ด. บทว่า อโสกวนิกา ได้แก่ ภูมิภาค ในอโศกวัน. บทว่า สพฺพกาลิกา ความว่า ทนต่อการใช้สอยทุกเมื่อ ทั้งบาน เป็นนิตย์.

บทว่า อุยฺยานํ ได้แก่ พระราชอุทยาน เช่นเดียวกับสวนจิตรลดา ในนันทนวัน. บทว่า สพฺพกาลิกํ ความว่า ดาดาษไปด้วยไม้ดอก ไม้ผล

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 722

อันบังเกิดขึ้นในฤดูกาลแม้ทั้งหก คือ ในกรรณิการ์วันเป็นต้น ก็มีดอกไม้ ผลิตดอกบานดีตลอดกาลทั้งปวงเหมือนกัน. บทว่า สญฺฉนฺนา ความว่า ดาดาษด้วยดีด้วยดอกโกสุม อันเกิดทั้งทางน้ำทางบก มีอย่างต่างๆ. บทว่า อณฺฑเชหิ วีติกิณฺณา ความว่า เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่นก.

มหาชนปริเทวนาการในที่นั้นๆ อย่างนี้แล้ว กลับมายังพระลานหลวง อีก กล่าวคาถา ความว่า

พระเจ้าสุตโสม ทรงสละราชสมบัตินี้แล้ว เสด็จออกทรงผนวช ทรงผ้ากาสาวพัสตร์ เที่ยวไป พระองค์เดียว เหมือนช้างตัวประเสริฐ ฉะนั้น

ดังนี้แล้ว ต่างพากันสละสมบัติ ในเรือนของตนๆ จูงมือบุตรธิดา ออกไปยังสำนักของพระโพธิสัตว์นั่นเอง. พระราชมารดา ราชบิดา พระชายา พระโอรส ธิดา กับหญิงฟ้อนหมื่นหกพัน ก็ทรงปฏิบัติเช่นนั้นเหมือนกัน. พระนครทั้งสิ้น ดูเหมือนว่างเปล่า ฝ่ายชาวชนบท ก็ได้ตามไปเบื้องหลังแห่ง ชนเหล่านั้น. พระโพธิสัตว์ทรงพาบริษัทประมา ๑๒ โยชน์ เสด็จมุ่งตรงไป ยังป่าหิมพานต์.

ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราช ทรงทราบว่า พระโพธิสัตว์เสด็จออก อภิเนษกรมณ์จึงตรัสเรียกวิสสุกรรมเทพบุตรมารับสั่งว่า พ่อวิสสุกรรมเทพบุตร พระเจ้าสุตโสมมหาราช เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ ควรจะได้ที่ประทับทั้งสมาคม ก็จักใหญ่หลวง เธอจงไปเนรมิตอาศรมบท ยาว ๓ โยชน์ กว้าง ๕ โยชน์ ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคาในหิมวันตประเทศ. วิสสุกรรมเทพบุตร ก็บันดาลตาม เทวบัญชาทุกประการ จัดบรรพชิตบริขารไว้ในอาศรมบทนั้น แล้วบันดาล หนทางเดินได้คนเดียวไว้ เสร็จแล้วก็กลับไปยังเทวโลกทันที. พระมหาสัตว์

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 723

เสด็จไปตามทางนั้น เสด็จเข้าสู่อาศรมบทนั้น พระองค์ทรงผนวชเองก่อนแล้ว ให้ประชาชนที่เหลือบวชภายหลัง. ในเวลาต่อมา ชนทั้งหลายบวชมากขึ้น. สถานที่กว้างถึง ๓๐ โยชน์ ก็เต็มบริบูรณ์. ก็กำหนดที่ท้าวสักกะทรงใช้ วิสสุกรรมเทพบุตรให้เนรมิตอาศรมบทก็ดี กำหนดที่ประชาชนบวชเป็นอันมาก ก็ดี กำหนดที่พระโพธิสัตว์จัดอาศรมบทก็ดี พึงทราบโดยนัยที่มาแล้ว ใน หัตถิปาลชาดกนั่นเอง. มิจฉาวิตกมีกามวิตกเป็นต้น เกิดขึ้นแก่คนใดๆ พระมหาสัตว์เจ้าก็เสด็จเข้าไปหาคนๆ นั้น ณ ที่นั้น โดยทางอากาศ ประทับ นั่งคู้บัลลังก์ในอากาศ เมื่อจะทรงโอวาท จึงตรัสพระคาถา ๒ คาถา ความว่า

ท่านทั้งหลายอย่าระลึกถึงความยินดี การเล่น และการร่าเริงในกาลก่อนเลย กามทั้งหลายอย่าทำ ท่านทั้งหลายได้เลย จริงอยู่ สุทัสนนคร น่ารื่นรมย์ ยิ่งนัก ท่านทั้งหลายจงเจริญเมตตาจิตอันหาประมาณ มิได้ ทั้งกลางวันและกลางคืนเถิด เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านทั้งหลายจะได้ไปสู่เทพบุรี อันเป็นที่อยู่ของท่าน ผู้มีบุญกรรม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รติกีฬิตานิ ความว่า (ท่านทั้งหลาย อย่าระลึกถึง) ความยินดีในกาม และการเล่นอันเป็นไปด้วยอำนาจแห่งการ เล่นทางกาย วาจา และใจ. บทว่า มา โว กามา หนึสุ ความว่า วัตถุกาม และกิเลสกามอย่าเบียดเบียนพวกท่าน. บทว่า รมฺมญฺหิ ความว่า สุทัสนนคร น่ารื่นรมย์ยินดี ท่านทั้งหลายอย่าระลึกถึงสุทัสนนครนั้น. บทว่า เมตฺตํ นี้ เป็นเพียงหัวข้อเทศนาเท่านั้น. ก็พระโพธิสัตว์นั้น ตรัสบอกพรหมวิหาร ๔. บทว่า อปฺปมาณํ ได้แก่ เมตตาพรหมวิหารมีสัตว์หาประมาณมิได้ เป็น

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้า 724

อารมณ์. บทว่า คญฺฉิตฺถ แปลว่า จักได้ไป. บทว่า เทวปุรํ ได้แก่ พรหมโลก.

แม้หมู่ฤาษีนั้น ตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์แล้ว ได้เป็นผู้มี พรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ด้วยประการฉะนี้ เรื่องราวทั้งหมดควรกล่าว โดยนัยที่มาแล้ว ในหัตถิปาลชาดกนั่นแล.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงจบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในชาตินี้เท่านั้น แม้ในชาติปางก่อน ตถาคตก็เสด็จออก มหาภิเนษกรมณ์เหมือนกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระมารดาบิดาในครั้ง นั้น ได้มาเป็นศากยมหาราชสกุล พระนางจันทาเทวี ได้มาเป็นราหุลมารดา เชษฐโอรส ได้มาเป็นพระสารีบุตร กนิษฐโอรส ได้มาเป็นพระราหุล พระพี่เลี้ยง ได้มาเป็นนางขุชชุตตรา กุลพันธนเศรษฐี ได้มาเป็นพระกัสสป มหาเสนาคุตต์ ได้มาเป็นพระโมคคัลลานะ โสมทัตกุมาร ได้มาเป็น พระอานนท์ บริษัทที่เหลือได้มาเป็นพุทธบริษัท ส่วนพระเจ้าสุตโสม ได้มาเป็นเราผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาจุลลสุตโสมชาดกที่ ๕

จบอรรถกถาจัตตาลีสนิบาต เพียงเท่านี้

รวมชาดกที่มีในจัตตาฬีสนิบาตนี้ คือ

๑. เตสกุณชาดก ๒. สรภังคชาดก ๓. อลัมพุสาชาดก ๔. สังขปาลชาดก ๕. จุลลสุตโสมชาดก และอรรถกถา.