อภิธรรมปิฏก กับ อภิธัมมัตถสังคหะ ทำไมหลายส่วนถึงได้แสดงต่างกันครับ

 
Mikas
วันที่  27 ส.ค. 2564
หมายเลข  36009
อ่าน  380

ยกตัวอย่างนะครับ

โทสมูลจิตดวงที่ 1 อภิธัมมัตถสังคหะแสดง โทสะ อิสสะ มัจฉริยะ กุกุจจะ เป็นเจตสิกในกลุ่ม โทจตุกะ ที่เข้าประกอบ

แต่ในคัมภีร์ อภิธรรมปิฏก แสดงไว้ว่า

อกุศลจิต สหรคตด้วยโทมนัส สัมปยุตด้วยปฏิฆะ มีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีเสียงเป็น อารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือ ปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ทุกข์ เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โทสะ โมหะ พยาปาทะ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น หรือนามธรรม ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น

ซึ่งไม่ได้กล่าวถึง อิสสะ มัจฉริยะ กุกุจจะ เลย แต่แสดงไว้เป็น พยาปาทะ

อยากสอบถามที่มาของเนื้อหาในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะนั้น ใช้ข้อมูลอ้างอิงจากไหน ทำไมถึงได้แตกต่าง กับคัมภีร์หลักอย่างอภิธรรมปิฏกครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 30 ส.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เนื้อหาทั้งในส่วนของพระอภิธรรมปิฎก กับ อภิธัมมัตถสังคหะ ไม่ได้ขัดแย้งกันเลย แสดงความเป็นจริงของสภาพธรรมสอดคล้องกัน แม้แต่ข้อความที่ปรากฏในคำถาม นั้น ในอัฏฐสาลินี อรรถกถาพระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณีปกรณ์ ท่านก็ได้อธิบายไว้แล้ว ว่า อิสสา มัจฉริยะ กับ กุกกุจจะ นั้น ไม่แน่นอน กล่าวคือ จะเกิดก็ได้ หรือ ไม่เกิดก็ได้ ตามเหตุตามปัจจัย ซึ่งในอภิธัมมัตถสังคหะ ก็ตรงกัน ซึ่งท่านแสดงเจตสิก ๓ ประเภทนี้ไว้ว่า เมื่อจะเกิด ก็เกิดร่วมกับโทสมูลจิต (ปฏิฆจิต) นั่นเอง โดยแยกอธิบายชัดเจน ว่า เป็นไปด้วยอำนาจการกระทบในอารมณ์นั้นๆ นั่นแล ของบุคคลผู้ริษยาสมบัติของคนอื่น (อิสสา) , ของผู้ไม่ปรารถนาให้สมบัติของตนทั่วไปกับคนอื่น (มัจฉริยะ) และ ของผู้เศร้าใจในเพราะทุจริตที่ตนทำแล้วสุจริตที่ตนมิได้ทำ (กุกกุจจะ) ซึ่งก็สามารถเข้าใจได้ ครับ

...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
lokiya
วันที่ 31 ส.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Mikas
วันที่ 31 ส.ค. 2564

ขอบพระคุณมากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 2 ก.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ