พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. มหาสีหนาทสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ส.ค. 2564
หมายเลข  36015
อ่าน  1,854

[เล่มที่ 18] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 37

๒. มหาสีหนาทสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 18]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 37

๒. มหาสีหนาทสูตร

[๑๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ราวป่าด้านตะวันตกนอกพระนคร เขตพระนครเวสาลี. ก็โดยสมัยนั้นแล สุนักขัตตลิจฉวีบุตรเป็นผู้หลีกไปแล้วจากธรรมวินัยนี้ไม่นาน. ได้กล่าววาจาในบริษัท ณ เมืองเวสาลีอย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะของพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง แต่ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงเพื่อประโยชน์อะไร ธรรมนั้นย่อมดิ่งไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งบุคคลผู้ทําตาม.

[๑๖๐] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตร เวลาเช้า นุ่งแล้ว ถือบาตร และจีวรเข้าไปในเมืองเวสาลี เพื่อบิณฑบาต. ได้สดับข่าวว่า สุนักขัตตลิจฉวีบุตรได้กล่าววาจาในบริษัท ณ เมืองเวสาลีอย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะของพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง แต่ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงเพื่อประโยชน์ใด ธรรมนั้นย่อมดิ่งไป เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งบุคคลผู้ทําตาม. ลําดับนั้น ท่านพระสารีบุตรเที่ยวไปในเมืองเวสาลี เพื่อบิณฑบาตแล้ว กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สุนักขัตตลิจฉวีบุตรเป็นผู้หลีกไปแล้วจากธรรมวินัยนี้ไม่นาน ได้กล่าว

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 38

วาจาในบริษัท ณ เมืองเวสาลีว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะของพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึกที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง แต่ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงเพื่อประโยชน์ใด ธรรมนั้นย่อมดิ่งไป เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งบุคคลผู้ทําตาม.

[๑๖๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร สุนักขัตตลิจฉวีบุตรเป็นบุรุษเปล่า มักโกรธ และวาจาที่เธอกล่าวนั้น ก็เพราะโกรธ ดูก่อนสารีบุตร สุนักขัตตะนั้นเป็นบุรุษเปล่า คิดว่าเราจักพูดติเตียน แต่กล่าวสรรเสริญคุณของตถาคต แท้จริงข้อนี้เป็นคุณของพระตถาคต ที่บุคคลใดกล่าวอย่างนี้ว่า ธรรมอันพระตถาคตแสดงเพื่อประโยชน์แก่บุคคลใด เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งบุคคลผู้ทําตามดังนี้.

[๑๖๒] ดูก่อนสารีบุตร ก็การที่สุนักขัตตะผู้เป็นบุรุษเปล่ากล่าวสรรเสริญนี้ จักไม่เป็นความรู้โดยธรรม ในเราว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะเสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จําแนกธรรม ดังนี้.

[๑๖๓] ดูก่อนสารีบุตร ก็การที่สุนักขัตตะผู้เป็นบุรุษเปล่า กล่าวสรรเสริญนี้ จักไม่เป็นความรู้โดยธรรมในเราว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทําให้ปรากฏก็ได้ ทําให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กําแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้น ดําลง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 39

แม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลําพระจันทร์ พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อํานาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.

[๑๖๔] ดูก่อนสารีบุตร ก็การที่สุนักขัตตะผู้เป็นบุรุษเปล่ากล่าวสรรเสริญนี้ จักไม่เป็นความรู้โดยธรรมในเราว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นย่อมทรงสดับเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกล และใกล้ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์.

แสดงพุทธคุณเป็นเอกเทศ

[๑๖๕] ดูก่อนสารีบุตร ก็การที่สุนักขัตตะผู้เป็นบุรุษเปล่ากล่าวสรรเสริญนี้ จักไม่เป็นความรู้โดยธรรมในเราว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นย่อมทรงกําหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่น ด้วยใจ คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ. จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ. จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ. จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน. จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต. จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า. จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ. จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 40

กําลังของตถาคต

[๑๖๖] ดูก่อนสารีบุตร ตถาคตประกอบด้วยกําลังเหล่าใด ย่อมปฏิญาณฐานะแห่งผู้เป็นโจก (ผู้นำ ผู้กล้าหาญ) ย่อมบันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป. กําลังเหล่านั้นของตถาคต ๑๐ ประการเหล่านี้แล. ๑๐ ประการเป็นไฉน. ดูก่อนสารีบุตร ตถาคตย่อมรู้ฐานะในโลกนี้โดยเป็นฐานะ และรู้เหตุมิใช่ฐานะโดยเป็นเหตุมิใช่ฐานะ ตามความเป็นจริง. ดูก่อนสารีบุตร ข้อที่ตถาคตรู้ฐานะโดยเป็นฐานะ และรู้เหตุมิใช่ฐานะโดยเป็นเหตุมิใช่ฐานะ ตามความเป็นจริงนี้ เป็นกําลังของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญาณฐานะแห่งผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป.

ดูก่อนสารีบุตรอีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วิบากของกรรมสมาทานที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุ ตามความเป็นจริง. ดูก่อนสารีบุตร ข้อที่ตถาคตรู้วิบากของกรรมสมาทานที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุ ตามความเป็นจริงนี้ เป็นกําลังของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญาณฐานะแห่งผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป.

ดูก่อนสารีบุตร อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งปฏิปทา อันจะยังสัตว์ให้ไปสู่ภูมิทั้งปวง ตามความเป็นจริง. ดูก่อนสารีบุตร ข้อที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งปฏิปทา อันจะยังสัตว์ให้ไปสู่ภูมิทั้งปวง ตามความเป็นจริงนี้ เป็นกําลังของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญาณฐานะแห่งผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 41

ดูก่อนสารีบุตร อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งโลก มีธาตุมิใช่อย่างเดียว และมีธาตุต่างๆ ตามความเป็นจริง. ดูก่อนสารีบุตร ข้อที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งโลกมีธาตุมิใช่อย่างเดียว และมีธาตุต่างๆ ตามความเป็นจริงนี้ เป็นกําลังของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญาณฐานะแห่งผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป.

ดูก่อนสารีบุตร อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งความที่สัตว์มีอธิมุตติต่างๆ กัน ดูก่อนสารีบุตร ข้อที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งความที่สัตว์มีอธิมุตติต่างๆ กัน ตามความเป็นจริงนี้ เป็นกําลังของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญาณฐานะแห่งผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป.

ดูก่อนสารีบุตร อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งความที่สัตว์และบุคคลทั้งหลายอื่นมีอินทรีย์หย่อนและยิ่ง ตามความเป็นจริง. ดูก่อนสารีบุตร ข้อที่ตถาคตรู้ชัดความที่สัตว์และบุคคลทั้งหลายอื่นมีอินทรีย์หย่อนและยิ่ง ตามความเป็นจริงนี้ เป็นกําลังของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญาณฐานะแห่งผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป.

ดูก่อนสารีบุตร อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว และความออกแห่งฌาณ วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติทั้งหลาย ตามความเป็นจริง. ดูก่อนสารีบุตร ข้อที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว และความออกแห่งฌาณ วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติทั้งหลาย ตามความเป็นจริงนี้ เป็นกําลังของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญาณฐานะแห่งผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 42

ดูก่อนสารีบุตร อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฎกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข เสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกําหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกําหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ ตถาคตย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้. ดูก่อนสารีบุตร ข้อที่ตถาคตระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ตถาคตย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ นี้เป็นกําลังของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญาณฐานะแห่งผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป.

ดูก่อนสารีบุตร อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กําลังจุติ กําลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทําด้วยอํานาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายไป เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 43

ยึดถือการกระทําด้วยอํานาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายไป เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้. ดูก่อนสารีบุตร ข้อที่ตถาคตเห็นหมู่สัตว์ ที่กําลังจุติ กําลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ ฯลฯ นี้เป็นกําลังของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญาณฐานะแห่งผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป.

ดูก่อนสารีบุตร อีกประการหนึ่ง ตถาคตกระทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่. ดูก่อนสารีบุตร ข้อที่ตถาคตกระทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ นี้เป็นกําลังของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป.

ดูก่อนสารีบุตร กําลังของตถาคต ๑๐ ประการเหล่านี้แล ที่ตถาคตประกอบแล้ว ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป.

ดูก่อนสารีบุตร ผู้ใดแล พึงว่าซึ่งเราผู้รู้อยู่อย่างนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะ ของพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง ดูก่อนสารีบุตร ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก. ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 44

ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงกระหยิ่มอรหัตตผล ในปัจจุบันทีเดียว ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ก็ฉันนั้น. ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก.

เวสารัชชธรรม ๔

[๑๖๗] ดูก่อนสารีบุตร ตถาคตประกอบด้วยเวสารัชชธรรม [ความแกล้วกล้า] เหล่าใด จึงปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป เวสารัชชธรรมของตถาคตเหล่านี้มี ๔ ประการ. ๔ ประการเป็นไฉน. ดูก่อนสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ที่จักทักท้วงเราโดยสหธรรมในข้อว่า ท่านปฎิญาณตนว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ท่านยังไม่ได้ตรัสรู้แล้วดังนี้. ดูก่อนสารีบุตร เมื่อไม่เห็นเหตุนี้ เราก็เป็นผู้ถึงความปลอดภัย ถึงความไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่. ดูก่อนสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกที่จักทักท้วงเราโดยสหธรรมในข้อว่า ท่านปฏิญาณตนว่าเป็นพระขีณาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่านยังไม่สิ้นไปแล้ว ดังนี้. ดูก่อนสารีบุตร เมื่อไม่เห็นเหตุนี้ เราก็เป็นผู้ถึงความปลอดภัย ถึงความไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่. ดูก่อนสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ที่จักทักท้วงเราโดยสหธรรม ในข้อว่า ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าทําอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่อาจทําอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง ดังนี้. ดูก่อนสารีบุตร เมื่อไม่เห็นเหตุนี้ เราก็เป็นผู้ถึงความปลอดภัย ถึงความไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่. ดูก่อนสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ที่จักทักท้วงเราโดย

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 45

สหธรรมในข้อว่า ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งคนผู้ทําตาม ดังนี้ ดูก่อนสารีบุตร เมื่อไม่เห็นเหตุนี้ เราก็เป็นผู้ถึงความปลอดภัย ถึงความไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่. ดูก่อนสารีบุตร ตถาคตประกอบด้วยเวสารัชชธรรมเหล่าใด จึงปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป เวสารัชชธรรมของตถาคต ๔ ประการเหล่านี้แล. ดูก่อนสารีบุตร ผู้ใดแล พึงว่าซึ่งเราผู้รู้อยู่อย่างนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะ ของพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง ดูก่อนสารีบุตร ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก. ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนภิกษุถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงกระหยิ่มอรหัตตผลในปัจจุบันทีเดียว ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ก็ฉันนั้น. ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก.

[๑๖๘] ดูก่อนสารีบุตร บริษัท ๘ จําพวกเหล่านี้แล ๘ จําพวกเป็นไฉน คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท สมณบริษัท จาตุมหาราชิกบริษัท ดาวดึงสบริษัท มารบริษัท และพรหมบริษัท ดูก่อนสารีบุตร บริษัท ๘ จําพวกเหล่านี้แล. ดูก่อนสารีบุตร ตถาคตประกอบด้วยเวสารัชชธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล ย่อมเข้าไปหา ย่อมหยั่งลงสู่บริษัท ๘ จําพวกเหล่านี้. ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมเข้าใจ เข้าไปหาขัตติยบริษัทหลายๆ ร้อย แม้ในขัตติยบริษัทนั้น เราเคยนั่งใกล้ เคยทักทายปราศรัย เคยสนทนากัน ดูก่อนสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า ความกลัวหรือความสะทกสะท้านจักกล้ำกลายเราในขัตติยบริษัทนั้นเลย เมื่อไม่เห็นเหตุนี้ เราก็เป็นผู้ถึงความ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 46

ปลอดภัย ถึงความไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่. ดูก่อนสารีบุตร อนึ่งเราย่อมเข้าใจ เข้าไปหาพราหมณบริษัทหลายๆ ร้อย คฤหบดีบริษัท สมณบริษัท จาตุมหาราชิกบริษัท ดาวดึงสบริษัท พรหมบริษัท จําพวกละหลายๆ ร้อย แม้ในบริษัทนั้นๆ เราเคยนั่งใกล้ เคยทักทายปราศรัย เคยสนทนากัน ดูก่อนสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า ความกลัว หรือความสะทกสะท้านจักกล้ำกลายเราในบริษัทนั้นๆ เลย เมื่อไม่เห็นเหตุนี้ เราก็เป็นผู้ถึงความปลอดภัย ถึงความไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่. ดูก่อนสารีบุตร ผู้ใดแลพึงว่าซึ่งเรา ผู้รู้อยู่อย่างนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะ ของพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง ดูก่อนสารีบุตร ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก. ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงกระหยิ่มอรหัตตผล ในปัจจุบันทีเดียว ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ก็ฉันนั้น. ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก.

กําเนิด ๔

[๑๖๙] ดูก่อนสารีบุตร กําเนิด ๔ ประการเหล่านี้แล ๔ ประการเป็นไฉน คือ อัณฑชะกําเนิด ชลาพุชะกําเนิด สังเสทชะกําเนิด โอปปาติกะกําเนิด. ดูก่อนสารีบุตร ก็อัณฑชะกําเนิดเป็นไฉน สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นใด ชําแรกเปลือกแห่งฟองเกิด นี้เราเรียกว่า อัณฑชะกําเนิด. ดูก่อนสารีบุตร ชลาพุชะกําเนิดเป็นไฉน สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นใด ชําแรกไส้ [มดลูก] เกิด

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 47

นี้เราเรียกว่า ชลาพุชะกําเนิด. ดูก่อนสารีบุตร สังเสทชะกําเนิดเป็นไฉน สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นใด ย่อมเกิดในปลาเน่า ในซากศพเน่า ในขนมบูด หรือในน้ำครํา ในเถ้าไคล [ของสกปรก] นี้เราเรียกว่าสังเสทชะกําเนิด. ดูก่อนสารีบุตร โอปปาติกะกําเนิดเป็นไฉน เทวดา สัตว์นรก มนุษย์บางจําพวก และเปรตบางจําพวก นี้เราเรียกว่าโอปปาติกะกําเนิด. ดูก่อนสารีบุตร กําเนิด ๔ ประการเหล่านี้แล. ดูก่อนสารีบุตร ผู้ใดแล พึงว่าซึ่งเราผู้รู้อยู่อย่างนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะของพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง ดูก่อนสารีบุตร ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก. ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงกระหยิ่มอรหัตตผล ในปัจจุบันทีเทียว ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ก็ฉันนั้น ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก.

[๑๗๐] ดูก่อนสารีบุตร คติ ๕ ประการเหล่านี้แล ๕ ประการเป็นไฉน คือ นรก กําเนิดดิรัจฉาน เปรตวิสัย มนุษย์ เทวดา. ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งนรก ทางยังสัตว์ให้ถึงนรก และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงนรก อนึ่ง สัตว์ผู้ดําเนินประการใด เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย. ดูก่อนสารีบุตรเราย่อมรู้ชัดซึ่งกําเนิดดิรัจฉาน ทางยังสัตว์ให้ถึงกําเนิดดิรัจฉาน ปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงกําเนิดดิรัจฉาน อนึ่ง สัตว์ผู้ดําเนินประการใด เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงกําเนิดดิรัจฉาน เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 48

ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งเปรตวิสัย ทางไปสู่เปรตวิสัย และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงเปรตวิสัย อนึ่ง สัตว์ผู้ดําเนินประการใด เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงเปรตวิสัย เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย. ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งเหล่ามนุษย์ ทางอันยังสัตว์ให้ถึงมนุษย์โลก และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงมนุษย์โลก อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมอุบัติในหมู่มนุษย์ เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย. ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งเทวดาทั้งหลาย ทางอันยังสัตว์ให้ถึงเทวโลก และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงเทวโลก อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย. ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งพระนิพพาน ทางอันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด ย่อมกระทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย.

อุปมาข้อที่ ๑

[๑๗๑] ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกําหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อนโดยส่วนเดียว ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์. ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิงลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษ เต็มไปด้วยถ่านเพลิง

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 49

ปราศจากเปลว ปราศจากควัน ลําดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา ครอบงํา เหน็ดเหนื่อย สะทกสะท้าน หิวระหาย มุ่งมาสู่หลุมถ่านเพลิงนั้นแหละ โดยมรรคาสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดําเนินอย่างนั้น ขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงหลุมถ่านเพลิงนี้ทีเดียว โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขาตกลงในหลุมถ่านเพลิงนั้น เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อนโดยส่วนเดียว แม้ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกําหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจ ฉันนั้นเหมือนกันแลว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก โดยสมัยต่อมา เราได้เห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อน โดยส่วนเดียว ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.

[๑๗๒] ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกําหนดบางคนในโลกนี้ด้วยใจว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักเข้าถึงกําเนิดดิรัจฉาน เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก โดยสมัยต่อมา เราเห็นบุคคลนั้นเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งกําเนิดดิรัจฉาน เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อน ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์. ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนหลุมคูถ ลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษ เต็มไปด้วยคูถ ลําดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา ครอบงํา เหน็ดเหนื่อย สะทกสะท้าน หิวระหาย มุ่งมาสู่หลุมคูถนั้นแหละ โดยมรรคาสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงหลุมคูถนี้ทีเดียว โดยสมัยต่อมาบุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขาตกลงในหลุมคูถนั้น เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 50

เผ็ดร้อน แม้ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกําหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ ฉันนั้นเหมือนกันแลว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงกําเนิดดิรัจฉาน โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งกําเนิดดิรัจฉาน เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อน ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.

[๑๗๓] ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกําหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนี้ ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงเปรตวิสัย โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งเปรตวิสัย เสวยทุกขเวทนาเป็นอันมาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์. ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนต้นไม้เกิดในพื้นที่อันไม่เสมอ มีใบอ่อน และใบแก่อันเบาบาง มีเงาอันโปร่ง ลําดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา ครอบงํา เหน็ดเหนื่อย สะทกสะท้าน หิวระหาย มุ่งมาสู่ต้นไม้นั้นแหละ โดยมรรคาสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงต้นไม้นี้ทีเดียว โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขานั่ง หรือนอนในเงาต้นไม้นั้น เสวยทุกขเวทนาเป็นอันมาก แม้ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกําหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจ ฉันนั้นเหมือนกันแล ว่าบุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงเปรตวิสัย โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งเปรตวิสัย เสวยทุกขเวทนาเป็นอันมาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 51

[๑๗๔] ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกําหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักอุบัติในหมู่มนุษย์ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก อุบัติแล้วในหมู่มนุษย์ เสวยสุขเวทนาเป็นอันมาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์. ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนต้นไม้เกิดในพื้นที่อันเสมอ มีใบอ่อน และใบแก่อันหนา มีเงาหนาทึบ ลําดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา ครอบงํา เหน็ดเหนื่อย สะทกสะท้าน หิวระหาย มุ่งมาสู่ต้นไม้นั้นแหละ โดยมรรคาสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนี้ จักมาถึงต้นไม้นี้ทีเดียว โดยสมัยต่อมาบุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขานั่ง หรือนอนในเงาต้นไม้นั้น เสวยสุขเวทนาเป็นอันมาก แม้ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกําหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจ ฉันนั้นเหมือนกันแล อย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักอุบัติในหมู่มนุษย์ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก อุบัติแล้วในหมู่มนุษย์ เสวยสุขเวทนาเป็นอันมาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.

อุปมาข้อที่ ๕

[๑๗๕] ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกําหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งสุคติ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 52

โลกสวรรค์ เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์. ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนปราสาท ในปราสาทนั้นมีเรือนยอด ซึ่งฉาบทาดีแล้ว มีวงกรอบอันสนิท หาช่องลมมิได้ มีบานประตู และหน้าต่างอันปิดสนิทดี ในเรือนยอดนั้น มีบัลลังก์อันลาดด้วยผ้าโกเชาว์ขนยาว ลาดด้วยขนแกะสีขาว ลาดด้วยขนเจียมเป็นแผ่นทึบ มีเครื่องลาดอย่างดี ทําด้วยหนังชะมด มีเพดานกั้นในเบื้องบน มีหมอนแดงวาง ณ ข้างทั้งสอง ลําดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา ครอบงํา เหน็ดเหนื่อย สะทกสะท้าน หิวระหาย มุ่งมาสู่ปราสาทนั้นแหละ โดยมรรคาสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเข้าแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงปราสาทนี้ทีเดียว โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขานั่ง หรือนอนบนบัลลังก์ในเรือนยอด ณ ปราสาทนั้น เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว แม้ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกําหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจฉันนั้นเหมือนกันแล อย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งสุคติโลกสวรรค์ เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.

[๑๗๖] ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกําหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จะกระทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้นกระทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสาวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญหาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เสวย

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 53

สุขเวทนาโดยส่วนเดียว. ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนสระโบกขรณี มีน้ำอันใสสะอาดเย็น ใสตลอด มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์ และในที่ไม่ไกลสระโบกขรณีนั้น มีแนวป่าอันทึบ ลําดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา ครอบงํา เหน็ดเหนื่อย สะทกสะท้าน หิวระหาย มุ่งมาสู่สระโบกขรณีนั้นแหละ โดยมรรคาสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงสระโบกขรณีนี้ทีเดียว โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขาลงสู่สระโบกขรณีนั้น อาบ และดื่มระงับความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความร้อนหมดแล้ว ขึ้นไปนั่ง หรือนอนในแนวป่านั้น เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว แม้ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกําหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจฉันนั้นเหมือนกันแล อย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดําเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักกระทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุรุษนั้น กระทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว. ดูก่อนสารีบุตร คติ ๕ ประการนี้แล. ดูก่อนสารีบุตร ผู้ใดพึงว่าซึ่งเราผู้รู้อย่างนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะของพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง ดูก่อนสารีบุตร ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก. ดูก่อนสารีบุตรเปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงกระหยิ่มอรหัตตผลในปัจจุบันทีเดียว แม้ฉันใด เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ก็

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 54

ฉันนั้น. ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก.

พรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์ ๔

[๑๗๗] ดูก่อนสารีบุตร อนึ่ง เราย่อมเข้าใจประพฤติพรหมจรรย์ ประกอบด้วยองค์ ๔ คือ เราเป็นผู้บําเพ็ญตบะ และเป็นเยี่ยมกว่าผู้บําเพ็ญตบะทั้งหลาย เราประพฤติเศร้าหมอง และเป็นเยี่ยมกว่าผู้ประพฤติเศร้าหมองทั้งหลาย เราเป็นผู้เกลียดบาป และเป็นเยี่ยมกว่าผู้เกลียดบาปทั้งหลาย เราเป็นผู้สงัด และเป็นเยี่ยมกว่าผู้สงัดทั้งหลาย.

[๑๗๘] ดูก่อนสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ นั้น วัตรต่อไปนี้เป็นพรหมจรรย์ของเรา โดยความที่เราเป็นผู้บําเพ็ญตบะ คือ เราเป็นอเจลกคนเปลือย ไร้มารยาท เลียมือ เขาเชิญให้มารับภิกษาก็ไม่มา เขาเชิญให้หยุดก็ไม่หยุด ไม่ยินดีภิกษาที่เขานํามาให้ ไม่ยินดีภิกษาที่เขาทําเฉพาะ ไม่ยินดีภิกษาที่เขานิมนต์. เรานั้นไม่รับภิกษาปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากหม้อข้าว ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมธรณีประตูให้ ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมท่อนไม้ให้ ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมสากให้ ไม่รับภิกษาที่คนสองคนผู้กําลังบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงผู้กําลังให้ลูกดูดนม ไม่รับภิกษาของหญิงผู้คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษาที่นัดแนะการทําไว้ ไม่รับภิกษาในที่ซึ่งสุนัขได้รับเลี้ยงดู ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่มๆ ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง. เรานั้นรับภิกษาที่เรือนหลังเดียว เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคําเดียวบ้าง รับภิกษาที่เรือนสองหลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๒ คําบ้าง ฯลฯ รับภิกษาที่เรือน ๗ หลังเยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๗ คําบ้าง. เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อยใบ

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 55

เดียวบ้าง ๒ ใบบ้าง ฯลฯ ๗ ใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วันหนึ่งบ้าง ๒ วันบ้าง ฯลฯ ๗ วันบ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยความขวนขวายในการบริโภคภัตตาหาร ที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้บ้าง. เรานั้นเป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มียางเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรําเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีกํายานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้า และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นเยียวยาอัตภาพ. เรานั้นทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง ผ้าเปลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้าปอบ้าง ผ้าผลไม้บ้าง ผ้ากัมพลทําด้วยผมบ้าง ผ้ากัมพลทําด้วยขนสัตว์บ้าง ผ้าทําด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผม และหนวด คือ ประกอบความขวนขวายในการถอนผม และหนวดบ้าง เป็นผู้ถือยืน คือ ห้ามอาสนะบ้าง เป็นผู้กระโหย่ง คือประกอบความเพียรในการกระโหย่ง [เดินกระโหย่งเหยียบพื้นไม่เต็มเท้า] บ้าง เป็นผู้นอนบนหนาม คือ สําเร็จการนอนบนหนามบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการลงน้ำวันละสามครั้งบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการย่าง และบ่มกายมีประการมิใช่น้อยเห็นปานนี้ ด้วยประการฉะนี้อยู่ ดูก่อนสารีบุตร นี้แหละเป็นพรหมจรรย์ของเรา โดยความที่เราเป็นผู้บําเพ็ญตบะ.

พรหมจรรย์เศร้าหมอง

[๑๗๙] ดูก่อนสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ นั้น พรหมจรรย์นี้เป็นวัตรในการประพฤติเศร้าหมองของเรา. มลทิน คือ ธุลีละอองสั่งสมในกายเรา นับด้วยปีมิใช่น้อย จนเป็นสะเก็ด เปรียบเหมือนตอตะโก มีธุลีละอองสั่งสมนับด้วยปีมิใช่น้อย จนเกิดเป็นสะเก็ด ฉันใด มลทิน คือ ธุลี

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 56

ละอองสั่งสมในกายเรานับด้วยปีมิใช่น้อย จนเกิดเป็นสะเก็ด ฉันนั้นเหมือนกัน. ดูก่อนสารีบุตร เรามิได้คิดที่จะลูบคลําปัดละอองธุลีนี้ด้วยฝ่ามือ ดูก่อนสารีบุตร ความคิดแม้อย่างนี้ไม่ได้มีแก่เราเลย ดูก่อนสารีบุตร นี้แหละ เป็นวัตรในความประพฤติเศร้าหมองของเรา.

[๑๘๐] ดูก่อนสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ เหล่านั้น พรหมจรรย์นี้เป็นวัตรในความประพฤติเกลียดบาปของเรา. เรานั้นมีสติก้าวไปข้างหน้า มีสติถอยกลับ. ความเอ็นดูของเราปรากฏเฉพาะ จนกระทั่งในหยดน้ำว่า เราอย่าได้ล้างผลาญสัตว์เล็กๆ ที่อยู่ในที่อันไม่สม่ําเสมอเลย. ดูก่อนสารีบุตร นี้แหละเป็นวัตรในความประพฤติเกลียดบาปของเรา.

[๑๘๑] ดูก่อนสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ เหล่านั้น พรหมจรรย์นี้เป็นวัตรในความสงัดของเรา. เรานั้นเข้าอาศัยชายป่าแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ ในกาลใด. เราได้พบคนเลี้ยงโค หรือคนเลี้ยงปศุสัตว์ หรือคนหาบหญ้า หรือคนหาฟืน หรือคนเที่ยวหาผลไม้ เป็นต้น ในป่า จากชัฏไปสู่ชัฏ จากที่ลุ่มไปสู่ที่ลุ่ม จากที่ดอนไปสู่ที่ดอน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเราคิดว่า คนเหล่านั้น อย่าได้เห็นเราเลย และเราก็อย่าได้เห็นคนเหล่านั้นเลย. ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนเนื้อที่เกิดในป่า เห็นมนุษย์ทั้งหลายแล้ว ก็วิ่งหนีจากป่าไปสู่ป่า จากชัฏไปสู่ชัฏ จากที่ลุ่มไปสู่ที่ลุ่ม จากที่ดอนไปสู่ที่ดอน แม้ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เราก็ฉันเหมือนกัน ในกาลใด เราได้พบคนเลี้ยงโค หรือคนเลี้ยงปศุสัตว์ หรือคนหาบหญ้า หรือคนหาฟืน หรือคนเที่ยวหาผลไม้ เป็นต้น ในป่า ในกาลนั้น เราก็เดินหนีจากป่าไปสู่ป่า จากชัฏไปสู่ชัฏ จากที่ลุ่มไปสู่ที่ลุ่ม จากที่ดอนไปสู่ที่ดอน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเราคิดว่า คนเหล่านั้นอย่าได้เห็นเราเลย และเราก็อย่าได้เห็นคนทั้งหลายเลย. ดูก่อนสารีบุตร นี้แหละเป็นวัตรในความประพฤติสงัดของเรา.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 57

ความแตกต่างในการบําเพ็ญเพียร

[๑๘๒] ดูก่อนสารีบุตร เรานั้นแล คลานเข้าไปในคอกที่เหล่าโคออกไปแล้ว และปราศจากคนเลี้ยงโค กินโคมัยของลูกโคอ่อนที่ยังไม่ทิ้งแม่. มูตร และกรีสของเรายังไม่หมดสิ้นไปเพียงไร เราก็กินมูตร และกรีสของตนเองเป็นอาหาร. ดูก่อนสารีบุตร นี้แหละเป็นวัตรในโภชนะมหาวิกัฏของเรา.

[๑๘๓] ดูก่อนสารีบุตร เรานั้นแล เข้าอาศัยแนวป่าอันน่ากลัวแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่. นี้เป็นความน่ากลัวแห่งแนวป่านั้น. บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง ยังไม่ปราศจากราคะ เข้าไปสู่ป่านั้น โดยมากขนพอง. ดูก่อนสารีบุตร เรานั้นแลในราตรีที่หนาว ฤดูเหมันต์ ตั้งอยู่ในระหว่างเดือน ๓ ต่อเดือน ๔ เป็นสมัยมีหิมะตก ในราตรีเห็นปานนั้น [เรา] อยู่ในที่แจ้งตลอดคืน กลางวันเราอยู่ในแนวป่า ในเดือนท้ายฤดูร้อน กลางวันเราอยู่ในที่แจ้ง กลางคืนเราอยู่ในแนวป่า. ดูก่อนสารีบุตร เป็นความจริง คาถาอันน่าอัศจรรย์เล็กน้อยนี้ ที่เราไม่ได้ยินมาก่อน ปรากฏแก่เราว่า

นักปราชญ์ผู้เสาะแสวงหาความหมดจด อาบแดด อาบน้ำค้าง เป็นคนเปลือย ทั้งมิได้ผิงไฟ อยู่คนเดียวในป่าอันน่ากลัว ดังนี้.

ความแตกต่างแห่งการบําเพ็ญทุกกรกิริยา

[๑๘๔] ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมสําเร็จการนอนแอบอิงกระดูกศพในป่าช้า. พวกเด็กเลี้ยงโคเข้ามาใกล้เราแล้ว ถ่มน้ำลายรดบ้าง ถ่ายปัสสาวะรดบ้าง โปรยฝุ่นรดบ้าง เอาไม้ยอนที่ช่องหูบ้าง. เราไม่รู้สึกว่า ยังจิตอันลามก

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 58

ให้เกิดขึ้นในพวกเด็กเหล่านั้นเลย. ดูก่อนสารีบุตร นี้แหละเป็นวัตรในการอยู่ด้วยอุเบกขาของเรา.

[๑๘๕] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่อมมีด้วยอาหาร. พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า พวกเราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยอาหารขนาดเท่าผลพุทรา. พวกเขาย่อมเคี้ยวกินผลพุทราบ้าง ผลพุทราป่นบ้าง ดื่มน้ำพุทราบ้าง บริโภคผลพุทราที่ทําเป็นชนิดต่างๆ บ้าง. ดูก่อนสารีบุตร เรารู้สึกว่า กินผลพุทราผลเดียวเท่านั้น. ดูก่อนสารีบุตร เธอจะพึงมีความสําคัญว่า พุทราในสมัยนั้น ชะรอยจะผลใหญ่เป็นแน่. ข้อนี้ เธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น. แม้ในกาลนั้น ผลพุทราที่เป็นขนาดใหญ่นั่นเทียวก็เหมือนในบัดนี้. ดูก่อนสารีบุตร เมื่อเรากิน [อาหารเท่า] ผลพุทราผลเดียวเท่านั้น ร่างกายก็ถึงความซูบผอมยิ่งนัก. อวัยวะน้อยใหญ่ของเราเปรียบเหมือนเถาวัลย์ที่มีข้อมาก และข้อดํา เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. ตะโพกของเราเปรียบเหมือนรอยเท้าอูฐ เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. กระดูกสันหลังของเรานูนขึ้นเป็นปุ่มๆ เหมือนเถาสะบ้า เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. กระดูกซี่โครงของเราเหลื่อมขึ้นเหลื่อมลง เห็นปรากฏเหมือนกลอนแห่งศาลาเก่าเหลื่อมกันฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. ดวงตาของเราลึกเข้าไปในเบ้าตา เหมือนเงาดวงดาวปรากฏในบ่อน้ำอันลึกฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. หนังศีรษะของเรา อันลมถูกต้องแล้ว ก็เหี่ยวแห้งเปรียบเหมือนน้ำเต้าขมที่ถูกตัดขั้วแต่ยังอ่อน อันลมแดดสัมผัสแล้ว ย่อมเป็นของเหี่ยวแห้งไป ฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. ดูก่อนสารีบุตร เรานั้นแลคิดว่าจะลูบคลําผิวหนังท้อง ก็คลําถูกกระดูกสันหลังทีเดียว คิดว่าจะลูบคลํากระดูกสันหลัง ก็คลําถูกผิวหนังท้องทีเดียว ดูก่อนสารีบุตร ผิวหนังท้องของเราติดกระดูกสันหลัง เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 59

เรานั้นคิดว่า จะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ก็ซวนล้ม ณ ที่นั้นเอง เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. เรานั้นเมื่อจะยังร่างกายให้คล่องแคล่ว ก็ลูบตัวด้วยฝ่ามือ. เมื่อเราลูบตัวด้วยฝ่ามือ ขนทั้งหลายมีรากอันเน่าก็หลุดจากกาย เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.

วาทะและทิฏฐิของสมณพราหมณ์บางพวก

[๑๘๖] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยอาหาร. พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า เราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยถั่วเขียว ฯลฯ พวกเราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยงา ฯลฯ พวกเราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยข้าวสาร ดังนี้. พวกเขาเคี้ยวกินข้าวสารบ้าง ข้าวสารป่นบ้าง ดื่มน้ำข้าวสารบ้าง ย่อมบริโภคข้าวสารที่จัดทําให้แปลกมีประการมิใช่น้อยบ้าง. ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมรู้สึกว่า กินข้าวสารเมล็ดเดียวเท่านั้น. ดูก่อนสารีบุตร เธอจะพึงมีความสําคัญว่า ข้าวสารในสมัยนั้น ชะรอยจะเมล็ดใหญ่เป็นแน่. ข้อนี้ เธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น. แม้ในกาลนั้น ข้าวสารที่เป็นขนาดใหญ่นั้นเทียว ก็มีเมล็ดเท่าข้าวสารในบัดนี้. ดูก่อนสารีบุตร เมื่อเรากินข้าวสารเมล็ดเดียวเท่านั้น ร่างกายก็ถึงความซูบผอมยิ่งนัก. อวัยวะน้อยใหญ่ของเรา เปรียบเหมือนเถาวัลย์ที่มีข้อมาก และข้อดํา เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. ตะโพกของเราเปรียบเหมือนรอยเท้าอูฐ เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. กระดูกสันหลังของเรานูนขึ้นเป็นปุ่มๆ เหมือนเถาสะบ้า เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. กระดูกซี่โครงของเราเหลื่อมขึ้นเหลื่อมลง เห็นปรากฏเหมือนกลอนแห่งศาลาเก่าเหลื่อมกันฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. ดวงตาของเราลึกเข้าไปในเบ้าตา เหมือนเงาดวงดาวปรากฏในบ่อน้ำอันลึกฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. หนัง

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 60

ศีรษะของเราอันลมถูกต้องแล้ว ก็เหี่ยวแห้ง เปรียบเหมือนน้ำเต้าขมที่ถูกตัดขั้วแต่ยังอ่อน อันลมแดดสัมผัสแล้ว ย่อมเป็นของที่เหี่ยวแห้งไปฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. ดูก่อนสารีบุตร เรานั้นแลคิดว่าจะลูบคลําผิวหนังท้อง ก็คลําถูกกระดูกสันหลังทีเดียว คิดว่าจะลูบคลํากระดูกสันหลัง ก็คลําถูกผิวหนังท้องทีเดียว. ดูก่อนสารีบุตร ผิวหนังท้องของเราติดกระดูกสันหลัง เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. เรานั้นคิดว่า จะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะก็ซวนล้ม ณ ที่นั้นเอง เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง เรานั้น เมื่อจะยังร่างกายให้คล่องแคล่ว ก็ลูบตัวด้วยฝ่ามือ เมื่อเราลูบตัวด้วยฝ่ามือ ขนทั้งหลายมีรากอันเน่าก็หลุดร่วงจากกาย เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.

ดูก่อนสารีบุตร ด้วยการปฏิบัติอย่างไม่มีใครสู้แม้นั้น ด้วยปฏิปทาแม้นั้น ด้วยความเพียรที่กระทําได้แสนยากนั้น เราก็ไม่ได้บรรลุธรรมอันยิ่งของมนุษย์ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะมิใช่ปฏิปทาที่เป็นเหตุบรรลุปัญญาอันประเสริฐ ปัญญานี้แลที่ซึ่งเราได้บรรลุแล้วเป็นของประเสริฐ นําสัตว์ออกจากทุกข์ได้ เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งบุคคลผู้กระทําอยู่ตามนั้น.

[๑๘๗] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยสังสารวัฏฏ์. ดูก่อนสารีบุตร ก็สังสารวัฏฏ์ที่เราไม่เคยท่องเที่ยวไปโดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เว้นแต่เทวโลกชั้นสุทธาวาส เป็นสิ่งที่หาไม่ได้ง่ายนัก ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเราพึงท่องเที่ยวไปในเทวโลกชั้นสุทธาวาส เราก็จะไม่พึงมาสู่โลกนี้อีก.

[๑๘๘] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยอุบัติ. ดูก่อนสารีบุตร ความอุบัติที่เราไม่เคยเข้าถึงแล้ว โดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เว้นจากเทวโลกชั้นสุทธาวาส

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 61

เป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเราพึงอุบัติในเทวโลกชั้นสุทธาวาส เราก็ไม่พึงมาสู่โลกนี้อีก.

[๑๘๙] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยอาวาส ดูก่อนสารีบุตร ก็อาวาสที่เราไม่เคยอยู่อาศัยแล้ว โดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เว้นจากเทวโลกชั้นสุทธาวาส เป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเราพึงอยู่อาศัยในเทวโลกชั้นสุทธาวาส เราก็ไม่พึงมาสู่โลกนี้อีก.

[๑๙๐] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยการบูชายัญ. ดูก่อนสารีบุตร ก็ยัญที่เราไม่เคยบูชาแล้ว โดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก แต่ยัญนั้น อันเราเป็นพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ได้มูรธาภิเษก หรือเป็นพราหมณ์ผู้มหาศาลจึงบูชา.

[๑๙๑] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยการบําเรอไฟ. ดูก่อนสารีบุตร ก็ไฟที่เราไม่เคยบําเรอแล้ว โดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก แต่ไฟนั้น อันเราเป็นพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ได้มูรธาภิเษก หรือเป็นพราหมณ์ผู้มหาศาลจึงบําเรอ.

[๑๙๒] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุรุษรุ่นหนุ่มผู้เจริญนี้ มีเกศาดําสนิท ประกอบด้วยวัยหนุ่มอันเจริญ ประกอบด้วยปัญญาเฉลียวฉลาดอย่างยิ่ง สมกับวัยต้น ต่อมา บุรุษผู้เจริญนี้เป็นคนแก่ เป็นคนเฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยโดยลําดับ คือมีอายุถึง ๘๐ ปีบ้าง ๙๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง โดยชาติ ย่อมเสื่อมจากปัญญา ความเฉลียวฉลาดนั้น ในภายหลัง. ดูก่อนสารีบุตร ข้อนี้ เธอไม่พึงเห็น

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 62

อย่างนั้น. ก็บัดนี้เราเป็นคนแก่ เป็นคนเฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยโดยลําดับ อายุของเราแปดสิบปีเข้านี่แล้ว. สาวกบริษัททั้ง ๔ ของเราในธรรมวินัยนี้มีอายุถึงร้อยปี เป็นอยู่ได้ตั้งร้อยปี ประกอบด้วย สติ คติ ฐิติ อันยอดเยี่ยม และปัญญาเฉลียวฉลาดอย่างยิ่ง ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนนักธนูมั่นคง ได้รับการฝึกหัดแล้ว ช่ําชอง ชํานิชํานาญ เคยแสดงฝีมือมาแล้ว พึงยิงงวงตาลโดยขวางให้ตกลงด้วยลูกศรขนาดเบาโดยง่ายดาย แม้ฉันใด สาวกบริษัท ๔ ของเราเป็นผู้มีสติอันยิ่ง มีคติอันยิ่ง มีปัญญาทรงจําอันยิ่ง ประกอบด้วยปัญญาเฉลียวฉลาดอย่างยิ่ง ฉันนั้น พวกเธอพึงถามปัญหาอิงสติปัฏฐาน ๔ กะเรา เราถูกถามปัญหาแล้วๆ พึงพยากรณ์แก่พวกเธอ พวกเธอพึงทรงจําคําที่เราพยากรณ์แล้ว โดยเป็นคําพยากรณ์ มิได้สอบถามเราให้ยิ่งกว่า ๒ ครั้ง เว้นจากการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม เว้นจากการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เว้นจากการหลับ และบรรเทาความเหนื่อยล้า ดูก่อนสารีบุตร ธรรมเทศนาของตถาคตนั้น ไม่รู้จักจบสิ้น บท และพยัญชนะแห่งธรรมของตถาคตนั้น ไม่รู้จักจบสิ้น ความแจ่มแจ้งแห่งปัญหาของตถาคตนั้น ไม่รู้จักจบสิ้น. เมื่อเป็นดังนั้นสาวกบริษัท ๔ ของเราเหล่านั้น จึงมีอายุตั้ง ๑๐๐ ปี เป็นอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี พึงกระทํากาละโดยล่วงไปแห่ง ๑๐๐ ปี. ดูก่อนสารีบุตร ถ้าแม้พวกเธอจะพึงหามเราไปด้วยเตียงน้อย ความเป็นอย่างอื่นแห่งปัญญาเฉลียวฉลาดของตถาคตย่อมไม่มีเลย. ดูก่อนสารีบุตร บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวคําใดว่า สัตว์ผู้มีความไม่ลุ่มหลงเป็นธรรมดาบังเกิดขึ้นในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย. บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวคํานั้นกะเราเท่านั้นว่า สัตว์ผู้มีความไม่ลุ่มหลงเป็นธรรมดาบังเกิดขึ้นในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 63

เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้.

คํานิคม

[๑๙๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระนาคสมาละ ถวายงานพัดอยู่ ณ เบื้องปฤษฎางค์ ลําดับนั้น ท่านพระนาคสมาละได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยมี อนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้ามีโลมาอันพองเพราะฟังธรรมปริยายนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมปริยายนี้ชื่ออะไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนาคสมาละ เพราะเหตุนี้แหละเธอจงทรงจําธรรมปริยายนี้ไว้ว่า ชื่อว่า โลมหังสนปริยาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระนาคสมาละมีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.

จบมหาสีหนาทสูตรที่ ๒

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 64

อรรถกถามหาสีหนาทสูตร

มหาสีหนาทสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับ ดังนี้ :-

ในมหาสีหนาทสูตรนั้น บทว่า เวสาลิยํ ความว่า ใกล้พระนครซึ่งมีชื่ออย่างนั้น. ได้ยินว่า พระนครนั้น ถึงอันนับว่า เวสาลี เพราะเป็นนครเจริญไพศาลบ่อยๆ. ในมหาสีหนาทสูตรนั้น มีการกล่าวตามลําดับดังนี้.

ได้ยินว่า พระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี ทรงพระครรภ์. พระนางทรงทราบแล้ว ทูลให้พระราชาทรงทราบ. พระราชาได้พระราชทานเครื่องบริหารพระครรภ์. พระนางเมื่อทรงได้รับการบริหารโดยชอบ ก็เสด็จเข้าสู่เรือนเป็นที่ทรงประสูติ ในกาลทรงมีพระครรภ์แก่. ในสมัยใกล้รุ่ง ผู้มีบุญทั้งหลายก็ได้คลอดออกจากพระครรภ์. ก็พระนางนอกจากพระเทวีเหล่านั้น ทรงประสูติชิ้นเนื้อเป็นเช่นกับกลีบดอกชบาที่ไม่เหี่ยวแห้งในสมัยใกล้รุ่งนั้น. พระเทวีเหล่าอื่นจากพระอัครมเหสีนั้น ทรงประสูติพระโอรสทั้งหลายเป็นเช่นกับพิมพ์ทอง. พระนางอัครมเหสีทรงรู้ว่าเป็นชิ้นเนื้อ จึงทรงดําริว่า ความอัปยศของเรา พึงเกิดขึ้นเบื้องพระพักตร์ของพระราชา ดังนี้ เพราะความทรงกลัวต่อความอัปยศนั้น จึงทรงใส่ชิ้นเนื้อนั้นในภาชนะหนึ่ง ทรงปิด ทรงประทับตราพระราชลัญจกร ทรงให้ทิ้งลงในกระแสน้ำคงคา. ครั้นเมื่อภาชนะนั้นสักว่ามนุษย์ทิ้งแล้ว เทพดาทั้งหลายก็เตรียมการรักษา. ก็มนุษย์ทั้งหลายได้จารึกแผ่นทองคําด้วยชาดสีแดง ผูกไว้ในภาชนะนั้นว่า ราชโอรสของพระอัครมเหสีแห่งพระเจ้าพาราณสี. แต่นั้น ภาชนะนั้นไม่ถูกภัยทั้งหลาย มีภัยแต่คลื่นเป็นต้น เบียดเบียนเลย ได้ลอยไปตามกระแสน้ำคงคา. ก็โดยสมัยนั้น ยังมีดาบสตนหนึ่งอาศัยตระกูลผู้เลี้ยงโคอยู่ที่ริมฝังแม่น้ำคงคา. ดาบสนั้นลงสู่แม่น้ำคงคาแต่เช้าตรู่

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 65

ได้เห็นภาชนะนั้นลอยมา จึงจับยกขึ้นด้วยสําคัญว่าเป็นบังสุกุล. ลําดับนั้นได้เห็นแผ่นอักษร และรอยพระราชลัญจกรนั้นในภาชนะนั้นแล้ว แก้ออกดูเห็นชิ้นเนื้อนั้น. ดาบสนั้นครั้นเห็นแล้ว จึงคิดว่า พึงเป็นครรภ์. แต่ทําไมครรภ์นั้นจึงไม่เหม็น และไม่เน่าเล่า จึงนํามาสู่อาศรมตั้งไว้ในโอกาสอันหมดจด. ลําดับนั้น โดยล่วงไปกึ่งเดือน ชิ้นเนื้อก็เป็นสองส่วน. ดาบสเห็นแล้วก็ตั้งไว้ในที่ดีกว่า. โดยล่วงไปอีกกึ่งเดือนจากนั้น ชิ้นเนื้อแต่ละชิ้นก็แบ่งเป็นปมอย่างละห้าปม เพื่อประโยชน์แก่มือเท้าและศีรษะ. ลําดับนั้น โดยล่วงไปกึ่งเดือนจากนั้นชิ้นเนื้อหนึ่งเป็นเด็กชายเช่นกับพิมพ์ทอง ชิ้นหนึ่งเป็นเด็กหญิง. ดาบสได้เกิดความรักดุจบุตรในเด็กเหล่านั้น. น้ำนมได้เกิดแม้แต่หัวแม่มือของดาบสนั้น. ก็จําเดิมแต่นั้น ได้น้ำนมเป็นภัต. ดาบสนั้น บริโภคภัตแล้ว หยอดน้ำนมในปากของทารกทั้งหลาย. สถานที่ซึ่งดาบสเข้าไปทั้งหมด ปรากฏแก่ทารกเหล่านั้น เหมือนอยู่ในภาชนะแก้วมณี. ทารกทั้งสองปราศจากฉวีอย่างนี้. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ทารกเหล่านั้น มีฉวีเร้นลับกันและกันดุจเย็บตั้งไว้. ด้วยประการฉะนี้ ทารกเหล่านั้นจึงปรากฏว่า ลิจฉวี เพราะความที่ทารกเหล่านั้น ปราศจากผิว หรือมีผิวเร้นลับ. ดาบสเลี้ยงดูทารกทั้งหลาย เข้าไปสู่บ้านในกลางวันเพื่อภิกษา. กลับมาเมื่อสายมาก. คนเลี้ยงโคทั้งหลายรู้ความกังวลนั้นของดาบสนั้น จึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ การเลี้ยงดูทารกย่อมเป็นกังวลแก่นักบวช ขอท่านจงให้ทารกเหล่านั้นแก่พวกผมเถิด พวกผมจักเลี้ยงดู. ท่านจงทําการงานของตนเถิด. ดาบสรับว่า ดีแล้ว. ในวันที่สองนายโคบาลทั้งหลายทําทางให้ราบเรียบ โปรยด้วยดอกไม้ทั้งหลาย ยกธงผ้ามีดุริยางค์บรรเลง มาสู่ทางอันไม่ราบเรียบ. ดาบสกล่าวว่า ทารกเป็นผู้มีบุญมาก ท่านทั้งหลายจงให้เจริญด้วยความไม่ประมาท และครั้นให้เจริญแล้ว จงทําอาวาหวิวาหะแก่กันและกัน ท่านทั้งหลายต้องให้พระราชาทรงพอพระทัยด้วย

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 66

ปัญจโครส จับจองพื้นที่สร้างนคร อภิเษกกุมารในนครนั้น ดังนี้แล้ว ได้ให้ทารกทั้งหลาย. นายโคบาลเหล่านั้นรับว่า ดีละ นําทารกทั้งหลายไปเลี้ยงดู. ทารกทั้งหลายอาศัยความเจริญ เล่นอยู่ก็ประหารเด็กนายโคบาลเหล่าอื่นด้วยมือบ้าง ด้วยเท้าบ้าง ในที่ทะเลาะกัน. ก็เด็กของนายโคบาลเหล่านั้นร้องไห้อยู่ ผู้อันบิดามารดาพูดว่า พวกเจ้าร้องไห้เพื่ออะไร จึงบอกว่า เด็กผู้ไม่มีบิดามารดาซึ่งดาบสเลี้ยงเหล่านี้ ประหารพวกผมเหลือเกิน. แต่นั้นบิดามารดาของเด็กเหล่านั้น จึงกล่าวว่า เด็กสองคนนี้ ยังเด็กพวกอื่นให้พินาศ ให้ถึงความทุกข์ พวกเราไม่พึงสงเคราะห์เด็กเหล่านี้ ควรไล่เด็กเหล่านี้ออกไปเสีย ดังนี้. ได้ยินว่า จําเดิมแต่กาลนั้น ประเทศนั้น จึงเรียกว่า วัชชี. ลําดับนั้น นายโคบาลทั้งหลายยังพระราชาทรงพอพระทัยแล้ว ได้รับประเทศนั้นโดยปริมาณหนึ่งร้อยโยชน์. และได้สร้างนครในประเทศนั้นแล้ว อภิเษกกุมาร ซึ่งมีอายุได้สิบหกปีให้เป็นพระราชา. ได้ให้พระราชานั้นทรงทําวิวาหะกับเด็กหญิงแม้นั้นแล้ว ทํากติกาว่า พวกเราไม่พึงนําเด็กหญิงมาจากภายนอก ไม่พึงให้เด็กชายจากตระกูลนี้แก่ใคร ดังนี้. ด้วยการอยู่ร่วมกันครั้งแรก เขาทั้งสองคนนั้นมีบุตรแฝดสองคน คือธิดา ๑ บุตร ๑ โดยประการฉะนี้ จึงมีบุตรแฝดถึงสิบหกครั้ง. ต่อแต่นั้น ทารกเหล่านั้นเจริญขึ้นตามลําดับ จึงขยายนครซึ่งไม่เพียงพอ เพื่อเอาเป็นอารามอุทยานสถานที่อยู่ และบริวารสมบัติ ถึง ๓ ครั้ง โดยห่างกันครั้งละหนึ่งคาวุต. นครนั้นจึงมีชื่อว่า เวสาลี เพราะความเป็นนครที่มีความเจริญกว้างขวางบ่อยๆ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เวสาลิยํ ความว่า ใกล้พระนครที่มีชื่ออย่างนั้น.

บทว่า พหินคเร ความว่า ในภายนอกแห่งพระนคร คือไม่ใช่ภายในพระนครเหมือนอัมพปาลีวัน. ก็นี้คือ ราวป่าภายนอกพระนคร เหมือนชีวกัมพวัน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ในภายนอกพระนคร.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 67

บทว่า อปรปุเร ความว่า ตรงกันข้ามกับทิศตะวันออก คือ ในทิศตะวันตก.

บทว่า วนสณฺเฑ ความว่า ได้ยินว่า ราวป่านั้นอยู่ในที่ประมาณหนึ่งคาวุต ในทิศตะวันตกแห่งพระนคร. ในราวป่านั้น มนุษย์ทั้งหลายทําพระคันธกุฏิถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ล้อมพระคันธกุฏินั้น ตั้งที่พักกลางคืน ที่พักกลางวันที่จงกรม ที่เร้น กุฏิ มณฑปเป็นต้น. ถวายแด่พระภิกษุทั้งหลาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในราวป่านั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ในราวป่าด้านตรงกันข้ามกับทิศตะวันออก. คําว่า สุนักขัตตะ นั้นเป็นชื่อของเขา ก็สุนักขัตตะนั้นเรียกว่า ลิจฉวีบุตร เพราะความที่เขาเป็นบุตรของลิจฉวีทั้งหลาย.

บทว่า อจิรปกฺกนโต ความว่า สึกออกมาเป็นคฤหัสถ์หลีกไปไม่นาน.

บทว่า ปริสติ ได้แก่ ในท่ามกลางบริษัท. กุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่ามนุษยธรรม.

ในบทนี้ว่า อุตฺตริมนุสฺสธมฺมา สุนักขัตตะไม่อาจเพื่อจะปฏิเสธกุศลกรรมบถ ๑๐ เหล่านั้น. เพราะเหตุไร. เพราะกลัวแต่คําตําหนิ. ด้วยว่า ในเมืองเวสาลี มนุษย์จํานวนมากเลื่อมใสแล้วในพระรัตนตรัย นับถือพระพุทธเจ้า นับถือพระธรรม นับถือพระสงฆ์ มนุษย์เหล่านั้น ครั้นเมื่อสุนักขัตตะกล่าวว่า แม้สักว่า กุศลกรรมบถ ๑๐ ของพระสมณโคดมไม่มี ดังนี้ก็จะกล่าวคําเป็นต้นว่า ท่านได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฆ่าสัตว์ในที่ไหน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาของที่ไม่ได้ให้ในที่ไหน แล้วพึงกล่าวว่า ท่านไม่รู้ประมาณของตน ท่านกินหิน และก้อนกรวด ด้วยคิดว่าฟันทั้งหลายของเรามีหรือ ท่านพยายามเพื่อจะจับหางงู ท่านปรารถนาเพื่อจะเล่นพวงดอกไม้ในฟันเลื่อย พวกเราจักยังฟันทั้งหลายของท่านให้หลุดร่วงจากปาก ดังนี้. เขาไม่อาจเพื่อจะกล่าวอย่างนี้ เพราะกลัวแต่การตําหนินั้น. ก็เขา เมื่อจะปฏิเสธการบรรลุคุณพิเศษนอกจากอุตตริมนุษยธรรมนั้น จึงกล่าวว่า ญาณทัสสนะพิเศษอันควรเป็นพระอริยเจ้านอกจากมนุษยธรรม ดังนี้. ในบทนั้น ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 68

อลมริยะ เพราะควรเพื่อรู้อริยะ อธิบายว่า อันสามารถเพื่อความเป็นพระอริยเจ้า. ญาณทัสสนะนั้นเทียว ชื่อว่า ญาณทัสสนะวิเศษ ญาณทัสสนวิเสสนั้นด้วย เป็นอันควรแก่พระอริยเจ้าด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อ อลมริยญาณทัสสนวิเสส ทิพยจักษุก็ดี วิปัสสนาก็ดี มรรคก็ดี ผลก็ดี ปัจจเวกขณญาณก็ดี สัพพัญุตญาณก็ดี เรียกว่า ญาณทัสสนะ. จริงอยู่ ทิพยจักษุชื่อว่า ญาณทัสสนะในบทนี้ว่า เป็นผู้ไม่ประมาทแล้วย่อมบรรลุญาณทัสสนะ. ก็วิปัสสนาญาณ ชื่อว่า ญาณทัสสนะ ในบทนี้ว่า นําไปเฉพาะ น้อมไปเฉพาะซึ่งจิต เพื่อญาณทัสสนะ. มรรค ชื่อว่า ญาณทัสสนะ ในบทนี้ว่าเขาเหล่านั้น ไม่ควรเพื่อญาณทัสสนะ เพื่อตรัสรู้อันยอดเยี่ยม. ผลญาณชื่อว่า ญาณทัสสนะ ในบทนี้ว่า ญาณทัสสนะพิเศษอันควรแก่พระอริยเจ้า นอกจากอุตริมนุษยธรรมนี้ อันเป็นการอยู่ผาสุก ได้บรรลุแล้วกระมัง. ปัจจเวกขณญาณ ชื่อว่า ญาณทัสสนะ ในบทนี้ว่า ก็ญาณทัสสนะได้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว วิมุตติของเราไม่กําเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มี. สัพพัญุตญาณ ชื่อว่า ญาณทัสสนะ ในบทนี้ว่า ก็ญาณทัสสนะของเราได้เกิดขึ้นแล้ว อาฬารดาบส กาฬามโคตร ได้ถึงแก่กรรมแล้ว ๗ วัน. ส่วนโลกุตตรมรรค ท่านประสงค์เอาในที่นี้. ก็สุนักขัตตะนั้นปฏิเสธโลกุตตรมรรค แม้นั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ห้ามอาจารย์ด้วยบทนี้ว่า ตกฺกปริยาหตํ. นัยว่า เขามีปริวิตกอย่างนี้ ธรรมดาพระสมณโคดมทรงเข้าหาอาจารย์ทั้งหลายแล้ว ถือเอาลําดับธรรมอันละเอียดไม่มี ก็พระสมณโคดม ทรงแสดงธรรมยึดความตรึก คือ ทรงตรึก ทรงตรองแล้ว แสดงธรรมยึดความตรึกว่า จักเป็นอย่างนี้ จักมีอย่างนั้น ดังนี้. ย่อมรับรู้โลกิยปัญญาของพระสมณโคดมนั้นด้วยบทนี้ว่า วีมํ สานุจริตํ. พระสมณโคดมทรงมีพระปัญญา. พระสมณโคดมนั้น ทรงยังพระวิมังสาอันเปรียบเหมือนอินทวิเชียร กล่าวคือปัญญานั้น

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 69

ให้เที่ยวไปข้างนั้น และข้างนี้ว่า จักเป็นไปอย่างนั้น จักเป็นไปอย่างนี้ ย่อมทรงแสดงธรรมคล้อยตามพระวิมังสา. ห้ามความที่พระสมณโคดมนั้น ทรงประจักษ์ในธรรมทั้งหลาย

ด้วยบทนี้ว่า สยํ ปฏิภานํ. ก็สุนักขัตตะนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า วิปัสสนา หรือมรรค หรือผล อันเป็นลําดับแห่งธรรมอันละเอียดของพระสมณโคดมนั้น ชื่อว่า ประจักษ์ย่อมไม่มี ก็สมณโคดมนี้ ทรงได้บริษัท วรรณ ๔ ย่อมแวดล้อมพระองค์เหมือนพระจักรพรรดิ ก็ไรพระทนต์ของพระองค์เรียบสนิท พระชิวหาอ่อน พระสุรเสียงอ่อนหวาน พระวาจาไม่มีโทษ พระองค์ทรงถือเอาสิ่งที่ปรากฏแก่เทพแล้ว ตรัสพระดํารัสตามไหวพริบของพระองค์ ทรงยังมหาชนให้ยินดี.

บทว่า ยสฺส จ ขฺวสฺส อตฺถายธมฺโม เทสิโต ความว่า ก็ธรรมนี้พระองค์ทรงแสดง เพื่อประโยชน์แก่บุคคลใดแล. อย่างไร. คือ อสุภกรรมฐาน เพื่อประโยชน์แก่การกําจัดราคะ เมตตาภาวนา เพื่อประโยชน์แก่การกําจัดโทสะ ธรรม ๕ ประการ เพื่อประโยชน์แก่การกําจัดโมหะ อานาปานัสสติ เพื่อตัดวิตก.

บทว่า โส นิยฺยาติ ตกฺกรสฺส สมฺมาทุกฺขกฺขยาย ความว่า สุนักขัตตะแสดงว่า ธรรมนั้นย่อมนําออกคือ ไป เพื่อความสิ้นไปแห่งวัฏฏทุกข์โดยชอบ คือ โดยเหตุ โดยนัย โดยการณ์ แก่ผู้ปฏิบัติตามธรรมที่ทรงแสดงนั้น คือ ยังประโยชน์นั้นให้สําเร็จ. แต่สุนักขัตตะไม่กล่าวถึงเนื้อความนี้นั้น ด้วยอัธยาศัยของตน. จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ก็ธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นเครื่องไม่นําออกจากทุกข์ ดังนี้. แต่ไม่สามารถจะกล่าวได้. เพราะเหตุไร. เพราะกลัวแต่การถูกตําหนิ. จริงอยู่ ในเมืองเวสาลี มีอุบาสกเป็นโสดาบัน สกทาคามี และอนาคามีจํานวนมาก. อุบาสกเหล่านั้น พึงกล่าวอย่างนี้ว่า แนะสุนักขัตตะ ท่านกล่าวว่า ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ไม่เป็นเครื่องนําออกจากทุกข์ได้ ดังนี้ ผิว่า ธรรมนี้ไม่เป็นเครื่องนําออกจากทุกข์ได้ไซร้ เพราะเหตุไร ในนครนี้

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 70

อุบาสกเหล่านี้เป็นโสดาบันประมาณเท่านี้ เป็นสกทาคามีประมาณเท่านี้ เป็นอนาคามีประมาณเท่านี้เล่า. อุบาสกเหล่านั้น พึงกระทําการคัดค้าน โดยนัยที่กล่าวแล้วในบทก่อน. สุนักขัตตะนั้น เมื่อไม่อาจเพื่อจะกล่าวว่า ธรรมนี้ไม่เป็นเครื่องนําออกจากทุกข์ได้ เพราะกลัวถูกตําหนินี้ จึงกล่าวว่า ธรรมของพระสมณโคดมนั้น ไม่เป็นโมฆะ ย่อมนําสัตว์ออกจากทุกข์ได้ เหมือนท่อนไม้ที่เขาทิ้งไว้โดยไม่ถูกเผา แต่พระสมณโคดมนั้น ไม่มีอะไรในภายในเลย ดังนี้.

บทว่า อสฺโสสิ โข ความว่า เมื่อสุนักขัตตะกล่าวอย่างนี้ ในท่ามกลางบริษัทนั้นๆ ในตระกูลทั้งหลายมีตระกูลพราหมณ์ และตระกูลเศรษฐี เป็นต้น ในพระนครเวสาลี ท่านพระสารีบุตรได้ฟังคําพูดนั้นแล้ว ไม่คัดค้าน. เพราะเหตุไร. เพราะท่านมีความกรุณา. นัยว่า ท่านพระสารีบุตรนั้น มีความดําริอย่างนี้ว่า สุนักขัตตะนี้ กระเสือกกระสนด้วยอํานาจแห่งความโกรธ เหมือนไม้ไผ่ถูกเผา และเหมือนเกลือที่ถูกใส่ในเตาไฟ ก็สุนักขัตตะถูกเราคัดค้านแล้ว จักผูกความอาฆาตแม้ในเรา เมื่อเป็นอย่างนี้ สุนักขัตตะนั้น ก็จักผูกอาฆาตเป็นภาระอย่างยิ่ง ในชนทั้งสอง คือ ในพระตถาคต และในเรา เพราะฉะนั้น จึงไม่คัดค้านเพราะท่านมีความกรุณา. อนึ่ง ท่านพระสารีบุตรนั้น มีความดําริอย่างนี้ว่า ธรรมดาการกล่าวตําหนิพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็เป็นเช่นกับโปรยโทษในพระจันทร์เต็มดวงฉะนั้น ใครเล่าจักถือเอาถ้อยคําของสุนักขัตตะนี้ เขาเองนั้นแหละ ครั้นหมดน้ำลาย ปากแห้งแล้วจักงดการกล่าวตําหนิ เพราะฉะนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงไม่คัดค้าน เพราะความกรุณานี้.

บทว่า ปิณฺฑปาตปฏิกฺกนฺโต ความว่า กลับจากการแสวงหาบิณฑบาตแล้ว.

บทว่า โกธโน คือ เป็นผู้ดุร้าย คือ เป็นผู้หยาบคาย.

บทว่า โมฆปุริโส ความว่าบุรุษเปล่า จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเรียกบุรุษผู้ไม่มีอุปนิสัยแห่งมรรค และผลในอัตภาพนั้นว่าโมฆบุรุษ. ครั้นเมื่ออุปนิสัยแม้มีอยู่ แต่มรรคหรือผล

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 71

ไม่มีในขณะนั้น ก็เรียกว่า โมฆบุรุษเหมือนกัน. แต่สุนักขัตตะนี้ ได้ตัดขาดอุปนิสัยแห่งมรรค และผลทั้งหลายแล้วในอัตภาพนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกสุนักขัตตะนั้นว่า โมฆบุรุษ. บทว่า โกธา จ ปนสฺสเอสาวาจา ภาสิตา ความว่า ก็วาจาของสุนักขัตตะนั้นนั่นแหละ ได้กล่าวแล้วด้วยความโกรธ.

ก็เพราะเหตุไร สุนักขัตตะนั้นจึงโกรธพระผู้มีพระภาคเจ้า. เพราะในกาลก่อน สุนักขัตตะนี้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลถามถึงการบริกรรมทิพยจักษุ. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแก่สุนักขัตตะนั้นแล้ว. สุนักขัตตะนั้น ยังทิพยจักษุให้เกิดขึ้น เจริญอาโลกสัญญา เมื่อมองดูเทวโลก ก็ได้เห็นเทพบุตรทั้งหลาย และเทพธิดาทั้งหลาย ซึ่งกําลังเสวยทิพยสมบัติในนันทนวัน จิตตลดาวัน ปารุสกวัน และมิสสกวัน เป็นผู้ประสงค์จะฟังเสียงของเทพบุตรและเทพธิดาเหล่านั้น ที่ดํารงอยู่ในอัตภาพสมบัติเห็นปานนั้นว่า จักมีเสียงอ่อนหวานอย่างไรหนอแล จึงเข้าไปเฝ้าพระทศพลแล้วทูลถามการบริกรรมทิพยโสตธาตุ. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ว่า สุนักขัตตะนั้น ไม่มีอุปนิสัยแห่งทิพยโสตธาตุ จึงไม่ตรัสบอกการบริกรรมแก่เขา. เพราะพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่ตรัสบริกรรมแก่ผู้เว้นจากอุปนิสัย. เขาได้ผูกอาฆาตในพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว คิดว่า เราได้ทูลถามการบริกรรมถึงทิพยจักษุครั้งแรกกะพระสมณโคดม พระองค์ได้ตรัสแก่เราว่า ทิพยจักษุบริกรรมนั้น จงสําเร็จ หรือว่าจงอย่าสําเร็จ แต่เรายังทิพยจักษุบริกรรมนั้นเกิดขึ้นด้วยการทําของบุรุษจําเพาะตนแล้ว จึงถามถึงการบริกรรมโสตธาตุ พระองค์ไม่ตรัสบอกการบริกรรมโสตธาตุนั้นแก่เรา ชะรอยพระองค์จะมีพระดําริอย่างนี้ว่า สุนักขัตตะนี้บวชจากราชตระกูล ยังทิพยจักษุญาณให้เกิดขึ้นแล้ว ยังทิพยโสตธาตุญาณให้เกิด ยังเจโตปริยญาณให้เกิด ยังญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายให้เกิดแล้ว

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 72

จักทัดเทียมเราแน่แท้ พระองค์จึงไม่ตรัสบอกแก่เราด้วยอํานาจแห่งความริษยา และความตระหนี่ ดังนี้. สุนักขัตตะผูกอาฆาตโดยประมาณยิ่งแล้ว ทิ้งผ้ากาสายะทั้งหลายแล้ว แม้ถึงความเป็นคฤหัสถ์ ก็ยังไม่นิ่ง เที่ยวไป. แต่เขากล่าวตู่พระทศพล ด้วยความเปล่าไม่เป็นจริง เที่ยวไป. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วาจานั้นเขากล่าวเพราะความโกรธ ดังนี้.

บทว่า วณฺโณ เหโส สารีปุตฺต ความว่า ดูก่อนสารีบุตร ตถาคตบําเพ็ญบารมีทั้งหลายอยู่สิ้น ๔ อสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัป ได้กระทําความพยายามเพื่อประโยชน์แห่งบารมีเหล่านั้น เทศนาธรรมของเราจักเป็นเครื่องนําสัตว์ออกจากทุกข์ได้ เพราะฉะนั้น ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ ผู้นั้นชื่อว่า กล่าวสรรเสริญตถาคตนั่นเทียว. พระองค์ทรงแสดงว่า ดูก่อนสารีบุตร ก็การสรรเสริญนั้นเป็นคุณของตถาคต. ทรงแสดงอะไรด้วยบท เป็นต้นว่า อยํ ปิ หิ นาม สารีปุตฺต ดังนี้. ทรงแสดงความที่อุตตริมนุษยธรรม ที่สุนักขัตตะปฏิเสธมีอยู่ในพระองค์. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภเทศนานี้ โดยนัยว่า อยํ ปิ หิ นาม สารีปุตฺต เป็นต้น เพื่อทรงแสดงอรรถนั้นว่า ดูก่อนสารีบุตร สุนักขัตตะนี้เป็นโมฆบุรุษ ย่อมกล่าวว่า อุตตริมนุษยธรรมของพระตถาคตไม่มี ดังนี้ ก็เรามีสัพพัญุตญาณ มีอิทธิวิธญาณ มีทิพยโสตธาตุญาณ มีเจโตปริยญาณ มีทศพลญาณ มีจตุเวสารัชชญาณ มีญาณที่ไม่ครั่นคร้ามในบริษัท ๘ มีญาณกําหนดกําเนิด ๔ มีญาณกําหนดคติ ๕ ก็ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ก็คือ อุตตริมนุษยธรรมนั้นเทียว ก็ธรรมดา แม้สักว่า ความคล้อยตามธรรมที่สามารถรู้อุตตริมนุษยธรรมแม้ข้อหนึ่ง ในบรรดาอุตตริมนุษยธรรมเห็นปานนี้ จักไม่มีแก่โมฆบุรุษนั้น ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น ชื่อว่า อันวยะ เพราะอรรถว่า คล้อยตาม อธิบายว่ารู้ คือรู้ตาม ความคล้อยตามธรรม ชื่อ ธัมมันวยะ. นั้นเป็นชื่อของปัญญา เป็นเครื่องรู้ธรรม มีสัพพัญุตญาณ เป็นต้นนั้นๆ. ทรงแสดงว่า แม้ธัมมันวยะ จักไม่มีแก่โมฆบุรุษนั้น เพื่อ

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 73

ให้รู้อุตตริมนุษยธรรม กล่าวคือ สัพพัญุตญาณแม้เห็นปานนี้ ของเรามีอยู่นั่นเทียวว่า มีอยู่ ด้วยบทว่า อิติปิ โส ภควา เป็นต้น. พึงทราบการประกอบอย่างนี้ แม้ในญาณทั้งหลายมีอิทธิวิธญาณ เป็นต้น. อนึ่ง พึงกล่าววิชชา ๓ ในลําดับแห่งเจโตปริยญาณในบทนั้นโดยแท้.

ถึงกระนั้นครั้นเมื่อวิชชา ๓ เหล่านั้นกล่าวแล้ว ธรรมดาทศพลญาณเบื้องสูง ย่อมบริบูรณ์ เพราะฉะนั้น จึงไม่ตรัสวิชชา ๓ นั้น ทรงแสดงกระทําให้บริบูรณ์ด้วยทศพลญาณของตถาคตจึงตรัสว่า ทส โข ปนิมานิ สารีปุตฺต เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตถาคตพลานิ ได้แก่พละของตถาคตเท่านั้น ไม่ทั่วไปกับบุคคลเหล่าอื่น คือ พละที่มาแล้ว โดยประการที่พละของพระพุทธเจ้าในปางก่อนทั้งหลาย ซึ่งมาด้วยบุญสมบัติ และอิสสริยสมบัติ. ในพละเหล่านั้น พละของตคถาคตมี ๒ อย่าง คือ กายพละ ๑ ญาณพละ ๑. ในพละเหล่านั้น กายพละ พึงทราบโดยทํานองแห่งตระกูลช้าง. สมดังคาถาประพันธ์ที่โบราณกาจารย์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า

ตระกูลช้าง ๑๐ ตระกูล นี้คือ กาฬาวกะ ๑ คังเคยยะ ๑ ปัณฑระ ๑ ตัมพะ ๑ ปิงคละ ๑ คันธะ ๑ มังคละ ๑ เหมะ ๑ อุโบสถ ๑ ฉัททันตะ ๑.

ก็ตระกูลแห่งช้าง ๑๐ ตระกูลเหล่านี้. ในตระกูลช้างเหล่านั้น พึงเห็นตระกูลช้างธรรมดาว่า กาฬาวกะ. กําลังกายของบุรุษ ๑๐ คน เท่ากับกําลังช้างกาฬาวกะ ๑ เชือก. กําลังของช้างกาฬาวกะ ๑๐ เชือก เท่ากับกําลังช้างคังเคยยะ ๑ เชือก. กําลังช้างคังเคยยะ ๑๐ เชือกเท่ากับกําลังช้างปัณฑระ ๑ เชือก. กําลังช้างปัณฑระ ๑๐ เชือก เท่ากับกําลังช้างตัมพะ ๑ เชือก. กําลังช้างตัมพะ ๑๐ เชือก เท่ากับกําลังช้างปิงคละ ๑ เชือก. กําลังช้างปิงคละ ๑๐ เชือก เท่ากับกําลังช้างคันธะ ๑ เชือก. กําลังช้างคันธะ ๑๐ เชือก เท่ากับกําลังช้างมังคละ ๑ เชือก.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 74

กําลังช้างมังคละ ๑๐ เชือก เท่ากับกําลังช้างเหมวัต ๑ เชือก. กําลังช้างเหมวัต ๑๐ เชือก เท่ากับกําลังช้างอุโบสถ ๑ เชือก. กําลังช้างอุโบสถ ๑๐ เชือก เท่ากับกําลังช้างฉัททันตะ ๑ เชือก. กําลังช้างฉัททันตะ ๑๐ เชือก เท่ากับกําลังพระตถาคต ๑ พระองค์. ตถาคตพละนี้นั้นเทียว เรียกว่ากําลังรวมของพระนารายณะบ้าง. กําลังนี้นั้น เป็นกําลังช้างพันโกฏิ ด้วยการนับช้างธรรมดา เป็นกําลังบุรุษสิบพันโกฏิ ด้วยการนับบุรุษ. นี้เป็นกําลังกายของพระตถาคตก่อน. ส่วนญาณพละมาแล้วในบาลีก่อนเทียว. ญาณหลายพันแม้เหล่าอื่นอย่างนี้คือ ทศพลญาณ จตุเวสารัชชญาณ ญาณในไม่ทรงครั่นคร้ามในบริษัท ๘ ญาณกําหนดกําเนิด ๔ ญาณกําหนดคติ ๕ ญาณ ๗๓ ญาณ ๗๗ ที่มาในสังยุตตนิกายนั้นชื่อ ญาณพละ. ญาณพละนั้นเทียวท่านประสงค์แล้ว แม้ในที่นี้. ก็ญาณท่านกล่าวว่า พละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหว และอรรถว่า อุดหนุน.

บทว่า เยหิ พเลหิ สมนฺนาคโต ความว่า ทรงถึง คือ ทรงถึงพร้อมด้วยญาณพละ ๑๐ ประการเหล่าใด.

บทว่า อาสภณฺ านํ คือ ฐานะซึ่งประเสริฐที่สุด คือฐานะอุดม. อธิบายว่า ฐานะแห่งพระพุทธเจ้าในปางก่อน ซึ่งเป็นผู้นําเหล่านั้น. อนึ่ง โคโจกในโคร้อยตัว ชื่อ อุสภะ โคโจกในโคพันตัว ชื่อ วสภะอีกประการหนึ่ง โคโจกในคอกโคร้อยตัว ชื่อ อุสภะ โคโจกในคอกโคพันตัว ชื่อ วสภะ โคที่เป็นโจกในโคทั้งปวง เป็นตัวนําฝูงโคทั้งหมด ขาวปลอด น่าเลื่อมใส นําภาระมาก ไม่หวั่นไหว ด้วยเสียงฟ้าผ่าร้อยครั้ง ชื่อ นิสภะ นิสภะนั้น ท่านประสงค์ว่าอุสภะในที่นี้. จริงอยู่แม้คํานี้ เป็นคําโดยทางอ้อมของอุสภะนั้น. ชื่อว่า อาสภะเพราะอรรถว่า นี้ของอุสภะ.

บทว่า านํ ความว่า ก็ฐานะที่ทําลายแผ่นดินด้วยเท้าทั้ง ๔ แล้วไม่หวั่นไหว นี้เป็นราวกะโคอุสภะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาสภะ. ก็โคอุสภะ กล่าวคือ นิสภะ ถึงพร้อมด้วยกําลังแห่งโคอุสภะ

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 75

ทําลายแผ่นดินด้วยเท้าทั้ง ๔ แล้วยืนอยู่โดยไม่หวั่นไหวฉันใด แม้พระตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงถึงพร้อมด้วยกําลังของพระตถาคต ๑๐ ประการ ทรงทําลายแผ่นดินคือ บริษัท ๘ ด้วยพระบาท คือ เวสารัชชะ ๔ ประการแล้ว ไม่พรั่นพรึงต่อข้าศึก คือ ปัจจามิตรไรๆ ในโลก พร้อมกับเทวโลก ทรงดํารงอยู่โดยไม่หวั่นไหว. ก็เมื่อทรงดํารงอยู่อย่างนั้น ชื่อว่า ทรงประกาศ คือ ทรงเข้าถึงฐานะแห่งความเป็นผู้นํานั้น คือทรงยกไว้ในพระองค์โดยไม่ประจักษ์. เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า อาสภณฺานํ ปฏิชานาติ.

บทว่า ปริสาสุ คือในบริษัท ๘.

บทว่า สีหนาทํ นทติ ความว่า ทรงบันลือถึงการบันลืออันประเสริฐที่สุด คือ ที่ไม่มีใครกลัว หรือ ทรงบันลือถึงการบันลือ อันเป็นเช่นกับการบันลือของสีหะ. เนื้อความนี้พึงแสดงโดยสีหนาทสูตร. อีกประการหนึ่ง ราชสีห์เรียกว่า สีหะ เพราะครอบงํา และเพราะฆ่าฉันใด พระตถาคตเรียกว่า สีหะ เพราะครอบงําโลกธรรมทั้งหลาย และเพราะฆ่าลัทธิของศาสดาอื่นๆ ฉันนั้น. การบันลือของสีหะตามที่กล่าวแล้วอย่างนี้ ชื่อว่า สีหนาทะ. ในบทนั้นมีอธิบายว่า สีหะถึงพร้อมด้วยกําลังของสีหะแล้ว แกล้วกล้าปราศจากขนพอง ย่อมบันลือสีหนาทในที่ทั้งปวงฉันใด แม้สีหะ คือ พระตถาคต ถึงพร้อมด้วยกําลังของพระตถาคตทั้งหลายแล้ว แกล้วกล้า ปราศจากขนพอง ทรงบันลือสีหนาท ที่ถึงพร้อมด้วยความกว้างขวางแห่งพระเทศนา มีวิธีต่างๆ โดยนัยเป็นอาทิว่า รูป ด้วยประการฉะนี้ ในบริษัท ๘ ฉันนั้น. เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า ทรงบันลือสีหนาทในบริษัททั้งหลาย ดังนี้.

ในบทว่า พฺรหมฺจกฺกํ ปวตฺเตติ นี้ บทว่า พฺรหฺมํ ได้แก่ ประเสริฐที่สุด คืออุดม สละสลวย. ก็ศัพท์แห่งจักรนี้

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 76

ย่อมปรากฏในสมบัติ ลักษณะ องค์แห่งรถ อิริยาบถ ทาน รัตนะ และในจักรทั้งหลาย มีธรรมจักรเป็นต้น ท่านประสงค์เอาในธรรมจักรนี้ ก็ธรรมจักรนั้นแบ่งเป็น ๒ อย่าง.

จริงอยู่ ศัพท์จักรนี้ ย่อมปรากฏ ในสมบัติ ในบททั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายถึงพร้อมด้วยจักรเหล่าใด จักรทั้งหลาย ๔ นี้. ในลักษณะในบทนี้ว่า จักรทั้งหลายเกิดแล้วในพื้นแห่งพระยุคลบาท ในองค์แห่งรถในบทนี้ว่า จักรเทียว ชื่อว่า เป็นบทเพราะนําไป. ในอิริยาบถในบทนี้ว่าจักร ๔ ทวาร ๙. ในทาน ในบทนี้ว่า เมื่อให้ทาน จงบริโภค และอย่าประมาท จงหมุนจักรเพื่อสัตว์มีชีวิตทั้งหลาย. ในรัตนจักร ในบทนี้ว่า จักรรัตนะอันเป็นทิพย์ได้ปรากฏแล้ว. ในธรรมจักร ในบทนี้ว่า จักรอันเราให้เป็นไปแล้ว. ในขรุจักร ในบทว่า จักรหมุนบดศีรษะของคนผู้อันริษยาครอบงําแล้ว. ในปหรจักร ในบทนี้ว่า ถ้าแม้โดยจักรอันมีคมแข็งเป็นที่สุดรอบ. ในอสนิมณฑล ในบทนี้ว่า อสนิจักร. ส่วนศัพท์จักรนี้ ท่านประสงค์ในธรรมจักรนี้. ก็ธรรมจักรนั้นมี ๒ อย่าง คือ ปฏิเวธญาณ ๑ เทสนาญาณ ๑. ในธรรมจักร ๒ อย่างนั้น ธรรมจักรที่ปัญญาอบรมแล้ว นํามาซึ่งอริยผลแก่ตนชื่อว่า ปฏิเวธญาณ. ธรรมจักรที่กรุณาอบรมแล้ว นํามาซึ่งอริยผล แก่สาวกทั้งหลาย ชื่อว่า เทสนาญาณ. ในญาณทั้ง ๒ นั้น ปฏิเวธญาณมี ๒ อย่าง คือ เกิดขึ้นอยู่ เกิดขึ้นแล้ว. ก็ปฏิเวธญาณนั้น ตั้งแต่การเสด็จออกอภิเนษกรมณ์ ถึงพระอรหัตตมรรค ชื่อว่าเกิดขึ้นอยู่. ปฏิเวธญาณในขณะแห่งผล ชื่อว่า เกิดขึ้นแล้ว. อนึ่ง ปฏิเวธญาณตั้งแต่ชั้นดุสิต จนถึงพระอรหัตตมรรคในมหาโพธิบัลลังก์ ชื่อว่า เกิดขึ้นอยู่. ปฏิเวธญาณในขณะแห่งผล ชื่อว่า เกิดขึ้นแล้ว. ปฏิเวธญาณตั้งแต่พระพุทธเจ้า

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 77

ทีปังกรจนถึงพระอรหัตตมรรค ชื่อว่า เกิดขึ้นอยู่. ในขณะแห่งผล ชื่อว่าเกิดขึ้นแล้ว. ฝ่ายเทสนาญาณก็มี ๒ อย่าง คือ เป็นไปอยู่ เป็นไปแล้ว. จริงอยู่ เทสนาญาณนั้น ตั้งแต่พระอัญญาโกญฑัญญะบรรลุพระโสดาปัตติมรรค ชื่อว่า เป็นไปอยู่. ในขณะแห่งผล ชื่อว่า เป็นไปแล้ว. ในญาณทั้ง ๒ อย่างนั้น ปฏิเวธญาณเป็นโลกุตตระ เทสนาญาณ เป็นโลกิยะ. ก็ญาณแม้ทั้งสองนั้น ไม่ทั่วไปแก่บุคคลเหล่าอื่น เป็นญาณของโอรสของพระพุทธเจ้าทั้งหลายอย่างเดียว.

พระตถาคตทรงถึงพร้อมด้วยพละเหล่าใด ทรงประกาศฐานะแห่งความเป็นผู้นํา และพละเหล่าใดที่ยกขึ้นในเบื้องต้นว่า ดูก่อนสารีบุตร ก็ตถาคตพละของตถาคต ๑๐ อย่างนี้แล บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงพละเหล่านั้นโดยพิสดารจึงตรัสว่า กตมานิ ทส อิธ สารีปุตฺต ตถาคโต านฺจ านโต ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า านฺจ านโต ความว่า ซึ่งการณ์โดยการณ์. จริงอยู่ การณ์เรียกว่า ฐานะ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งผล คือเป็นที่เกิด และเป็นที่เป็นไปแห่งผล เพราะความที่ผลเป็นไปเนื่องจากการณ์นั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงรู้ชัดฐานะนั้นว่า ธรรมเหล่าใดๆ เป็นเหตุปัจจัยแก่ธรรมเหล่าใดๆ เพราะอาศัยธรรมนั้นๆ จึงชื่อว่าฐานะ ธรรมเหล่าใดๆ ไม่เป็นเหตุปัจจัยแก่ธรรมเหล่าใดๆ เพราะอาศัยธรรมนั้นๆ จึงชื่อว่า อฐานะ ชื่อว่า ทรงรู้ชัดฐานะโดยฐานะ และอฐานะโดยอฐานะ ตามความเป็นจริง. ก็การณ์นั้นได้ให้พิสดารแล้วในอภิธรรม โดยนัยเป็นต้นว่า ในญาณเหล่านั้น การรู้ฐานะโดยฐานะ และอฐานะโดยอฐานะ ตามความเป็นจริงของตถาคตเป็นไฉนดังนี้.

บทว่า ยํ ปิ ความว่า ด้วยญาณใด.

บทว่า อิทํ ปิ สารีปุตฺต ตถาคตสฺส ความว่า ก็ฐานาฐานญาณแม้นี้ ชื่อว่า เป็นกําลังของตถาคต. พึงทราบโยชนาในบททั้งปวงอย่างนี้.

บทว่า กมฺมสมาทานานํ ความว่า แห่งกุศลกรรมและ

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 78

อกุศลกรรมที่สมาทานแล้วกระทํา หรือกรรมนั้นเทียว เป็นกรรมสมาทาน.

บทว่า านโส เหตุโส ได้แก่โดยปัจจัย และโดยเหตุ. ในบทนั้น คติ อุปธิ กาล และปโยค เป็นฐานะคือ เป็นกรรม เป็นเหตุ ของวิบาก. ก็กถาโดยพิสดารแห่งญาณนี้มาแล้วในอภิธรรม โดยนัยเป็นต้นว่า กรรมสมาทานอันเป็นบาปบางอย่างมีอยู่ อันคติสมบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผล ดังนี้.

บทว่า สพฺพตฺถคามินิํ ความว่า อันให้ไปสู่คติในที่ทั้งปวง และอันไม่ให้ไปสู่คติ.

บทว่า ปฏิปทํ ได้แก่มรรค.

บทว่า ยถาภูตํ ปชานาติ ความว่า ทรงรู้สภาพโดยไม่ผิดเพี้ยนแห่งการปฏิบัติทั้งหลาย กล่าวคือ กุศลเจตนา และอกุศลเจตนา แม้ในวัตถุหนึ่ง โดยนัยนี้ว่า ครั้นเมื่อมนุษย์ทั้งหลายแม้มาก ฆ่าสัตว์แม้ตัวหนึ่ง เจตนาของคนนี้ จักยังให้ไปสู่นรก เจตนาของคนนี้ จักยังให้ไปสู่กําเนิดดิรัจฉาน. ก็กถาโดยพิสดารแห่งญาณแม้นี้ มาแล้วในอภิธรรมนั่นเทียว โดยนัยเป็นต้นว่า ในญาณเหล่านั้น ความรู้ตามความเป็นจริง อันเป็นปฏิปทาให้ไปในที่ทั้งปวงของตถาคตเป็นไฉน ตถาคตในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดว่า นี้มรรค นี้ปฏิปทาอันยังสัตว์ให้ไปสู่นรก.

บทว่า อเนกธาตุํ ความว่า ธาตุเป็นอันมากด้วยธาตุทั้งหลาย มีจักขุธาตุเป็นต้น หรือ กามธาตุเป็นต้น.

บทว่า นานาธาตุํ ความว่า ธาตุมีประการต่างๆ เพราะความที่ธาตุเหล่านั้น มีลักษณะพิเศษ.

บทว่า โลกํ คือ โลกอันได้แก่ขันธ์ อายตนะ และธาตุ.

บทว่า ยถาภูตํ ปชานาติ ความว่า ทรงแทงตลอดสภาพโดยไม่ผิดเพี้ยนแห่งธาตุทั้งหลายเหล่านั้นๆ. ญาณแม้นี้ให้พิสดารแล้วในอภิธรรมนั่นเทียว โดยนัยมีอาทิว่า ในญาณเหล่านั้น ความรู้ตามความจริงซึ่งโลกอันเป็น อเนกธาตุ นานาธาตุของตถาคตเป็นไฉน ตถาคตในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดถึงความเป็นต่างๆ แห่งขันธ์.

บทว่า นานาธิมุตติกตํ ได้แก่ความมีอธิมุตติต่างๆ ด้วยอธิมุตติทั้งหลายมีเลวเป็นต้น. ญาณแม้นี้ก็ให้พิสดารในอภิธรรมนั่นเทียว โดยนัยมีอาทิว่า ใน

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 79

ญาณเหล่านั้น ความรู้ตามความจริง ซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายมีอธิมุตติต่างๆ ของตถาคตเป็นไฉน ตถาคตในโลกนี้ย่อมรู้ชัดว่า สัตว์ทั้งหลายที่มีอธิมุตติเลวมีอยู่.

บทว่า ปรสตฺตานํ ได้แก่ สัตว์เป็นประธานทั้งหลาย.

บทว่า ปรปุคฺคลานํ คือ สัตว์เลวทั้งหลายเหล่าอื่นจากสัตว์เป็นประธานนั้น. อนึ่งสองบทนั้นมีอรรถเป็นอย่างเดียวกัน แต่กล่าวไว้เป็น ๒ อย่าง ด้วยสามารถแห่งเวไนยสัตว์.

บทว่า อินฺทฺริยปโรปริยตฺตํ ได้แก่ ความที่อินทรีย์ทั้งหลาย มีศรัทธา เป็นต้น ยิ่ง และหย่อน ได้แก่ความเจริญ และความเสื่อม. กถาพิสดารแห่งญาณแม้นี้ มาแล้วในอภิธรรมนั่นเทียว โดยนัยมีอาทิว่า ในญาณเหล่านั้น ความรู้ตามความจริง ถึงความที่สัตว์อื่นทั้งหลาย บุคคลอื่นทั้งหลาย มีอินทรีย์หย่อน และยิ่ง ของตถาคตเป็นไฉน ตถาคตในโลกนี้ ย่อมรู้อาสัย ย่อมรู้อนุสัย ของสัตว์ทั้งหลาย.

บทว่า ฌานวิโมกฺขสมาธิสมาปตฺตีนํ ความว่า ฌาน ๔ มีปฐมฌานเป็นต้น วิโมกข์ ๘ มีอาทิว่า ผู้มีรูปย่อมเห็นรูปทั้งหลาย สมาธิ ๓ ที่มีวิตก และมีวิจาร เป็นต้น และอนุปุพพสมาบัติ ๙ มีปฐมฌานสมาบัติเป็นต้น.

บทว่า สงฺกิเลสํ ได้แก่ธรรมอันเป็นส่วนฝ่ายเสื่อม.

บทว่า โวทานํ ได้แก่ ธรรมอันเป็นส่วนฝ่ายพิเศษ.

บทว่า วุฏฺานํ ความว่า ฌานที่คล่องแคล่ว และภวังคผลสมาบัติ ที่กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า แม้ความผ่องแผ้ว ก็คือ ความออก แม้ความออกจากสมาธินั้นๆ ก็เป็นความออก. จริงอยู่ ฌานที่คล่องแคล่วอันเป็นส่วนเบื้องต่ํา ย่อมเป็นปทัฏฐานของฌานสูงๆ แม้ความผ่องแผ้วจากฌานนั้น เรียกว่า ความออก. ความออกจากฌานทั้งปวงย่อมมีโดยภวังคะ. ความออกจากนิโรธสมาบัติ ย่อมมีโดยผลสมาบัติ ท่านหมายถึงความออกนั้น จึงกล่าวว่า แม้ความออกจากสมาธินั้นๆ ว่า เป็นความออก. ญาณแม้นี้ให้พิสดารในอภิธรรม โดยนัยมีอาทิว่า ในญาณเหล่านั้น ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌานวิโมกข์

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 80

สมาธิ และสมาบัติทั้งหลาย อันเป็นยถาภูตญาณของตถาคตเป็นไฉน ผู้มีฌาน ๔ ชื่อว่า ฌายี ฌายีบางคนมีอยู่ ย่อมเสวยสมบัติที่มีอยู่นั้นเทียว. ก็การวินิจฉัยถึงสัพพัญุตญาณ ด้วยการกล่าวโดยพิสดาร ได้กล่าวแล้วในวิภังคอรรรถกถาชื่อ สัมโมหวิโนทนี. กถาว่าด้วยบุพเพนิวาสานุสสติ และทิพยจักษุญาณ ให้พิสดารแล้วในวิสุทธิมรรค. กถาว่าด้วยความสิ้นไปแห่งอาสวะ ให้พิสดารแล้ว ในภยเภรวสูตร.

บทว่า อิมานิ โข สารีปุตฺต ความว่า ย่อมทําอัปปนาว่า เราได้กล่าวว่า ดูก่อนสารีบุตร ตถาคตพละของตถาคต ๑๐ ในกาลก่อนเหล่าใด ตถาคตพละเหล่านี้นั้น.

ในบทนั้น มีปรวาทิกถา ดังนี้. ชื่อว่า ทศพลญาณ ไม่มีการแยกออกเป็นส่วนหนึ่ง สัพพัญุตญาณเท่านั้นมีการแยกประเภทอย่างนี้. ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนั้น. จริงอยู่ทศพลญาณเป็นอย่างหนึ่ง สัพพัญุตญานเป็นอย่างหนึ่ง. ก็ทศพลญาณย่อมรู้เฉพาะกิจของตนๆ เท่านั้น สัพพัญุตญาณย่อมรู้กิจของตนๆ นั้นบ้าง กิจที่เหลือจากกิจของตนๆ นั้นบ้าง. ก็ในทศพลญาณทั้งหลาย ญาณที่หนึ่ง ย่อมรู้เฉพาะเหตุ และไม่ใช่เหตุเท่านั้น. ญาณที่สองย่อมรู้ลําดับแห่งกรรม และลําดับแห่งวิบากเท่านั้น. ญาณที่สาม ย่อมรู้การกําหนดกรรมเท่านั้น. ญาณที่สี่ย่อมรู้เหตุแห่งความที่ธาตุเป็นต่างๆ กันเท่านั้น. ญาณที่ห้าย่อมรู้อัธยาศัย และอธิมุตติของสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น. ญาณที่หกย่อมรู้ความที่อินทรีย์ทั้งหลายแก่กล้าและอ่อนเท่านั้น. ญาณที่เจ็ดย่อมรู้กิจมีความเศร้าหมองเป็นต้นแห่งอินทรีย์เหล่านั้น พร้อมกับฌานเป็นต้นเท่านั้น. ญาณที่แปดย่อมรู้ความสืบต่อแห่งขันธ์ที่เคยอยู่ในชาติปางก่อนเท่านั้น. ญาณที่เก้าย่อมรู้จุติ และปฎิสนธิของสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น. ญาณที่สิบย่อมรู้การกําหนดสัจจะเท่านั้น. ส่วนสัพพัญุตญาณย่อมรู้ชัดกิจที่ควรรู้ด้วยญาณเหล่านั้น และสิ่งอันยิ่งกว่ากิจนั้น. ก็กิจแห่งญาณเหล่านั้น ย่อมไม่ทํากิจทุกอย่าง. เพราะญาณนั้นเป็นฌาน

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 81

แล้ว ย่อมไม่อาจเพื่อเป็นอัปปนา เป็นอิทธิแล้ว ย่อมไม่อาจเพื่อแสดงฤทธิ์ได้ เป็นมรรคก็ไม่อาจเพื่อยังกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไปได้. อีกประการหนึ่ง ปรวาที พึงถูกถามอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า ทศพลญาณนั้นมีวิตก หรือมีวิจาร สักแต่ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นโลกียะ เป็นโลกุตตระ ดังนี้ เมื่อรู้ก็จักตอบว่า ญาณ ๗ ตามลําดับ มีวิตก มีวิจาร. จักตอบว่า ญาณ ๒ อื่นจากญาณ ๗ นั้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร. จักตอบว่าอาสวักขยญาณพึงมีวิตก มีวิจาร พึงสักว่าไม่มีวิตก มีวิจาร. จักตอบว่า ญาณ ๗ ตามลําดับอย่างนั้น เป็นกามาวจร ญาณ ๒ จากนั้นเป็นรูปาวจร ญาณ ๑ สุดท้ายเป็นโลกุตตระ. จักตอบว่า ส่วนสัพพัญุตญาณ มีวิตก มีวิจารด้วย เป็นกามาวจรด้วย เป็นโลกิยะด้วย. บัณฑิตรู้การพรรณนาตามลําดับบทในที่นี้ ด้วยประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ พึงทราบทศพละเหล่านี้ว่า ได้กล่าวแล้วตามลําดับนี้ เพราะพระตถาคตทรงเห็นภาวะมีกิเลสเป็นเครื่องกั้น อันเป็นฐานะ และอฐานะ แห่งการบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ และการไม่บรรลุ ของเวไนยสัตว์ด้วยฐานาฐานญาณก่อนทีเดียว เพราะทรงเห็นฐานะแห่งความเห็นชอบเป็นโลกิยะ และทรงเห็นความเป็นฐานะแห่งความเห็นผิดดิ่งลงไป ลําดับนั้น ทรงเห็นภาวะมีวิบากเป็นเครื่องกั้นของเวไนยสัตว์เหล่านั้น ด้วยกรรมวิปากญาณ เพราะทรงเห็นเหตุปฏิสนธิ ๓ ทรงเห็นภาวะมีกรรมเป็นเครื่องกั้น ด้วยสัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ เพราะทรงเห็นความไม่มีแห่งอนันตริยกรรม ทรงเห็นจริยพิเศษ เพื่อทรงแสดงธรรมที่สมควรแก่เวไนยสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีความอาลัยอย่างนี้ ด้วยอเนกธาตุนานาธาตุญาณ เพราะทรงเห็นความเป็นไปต่างๆ แห่งธาตุ ลําดับนั้นทรงเห็นอธิมุตติของเวไนยสัตว์เหล่านั้น ด้วยนานาธิมุตติกตาญาณ เพื่อแม้ไม่ทรงประกอบความเพียร ก็ทรงแสดงพระธรรม ด้วยอํานาจแห่งอธิมุตติ ลําดับนั้น เพื่อทรงแสดงธรรมตามสติ ตามกําลัง แก่เวไนยสัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติ

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 82

ได้เห็นแล้วอย่างนี้ ย่อมทรงเห็นความที่สัตว์มีอินทรีย์หย่อน และยิ่ง ด้วยอินทริยปโรปริยัตติญาณ เพราะทรงเห็นความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น เป็นธรรมชาติแก่กล้า และอ่อน ก็ถ้าความที่เวไนยสัตว์เหล่านั้นมีอินทรีย์ที่กําหนดรู้แล้วอย่างนี้ หย่อน และยิ่ง ย่อมอยู่ในที่ไกล เพราะความที่เวไนยสัตว์เป็นผู้ชํานาญในฌานทั้งหลายมีปฐมฌานเป็นต้น แต่เข้าถึงได้รวดเร็ว ด้วยอิทธิพิเศษนั้นเทียว และครั้นเข้าถึงแล้ว ก็เข้าถึงชั้นบุรพชาติ ของสัตว์เหล่านั้น ด้วยปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เมื่อทรงเห็นสมบัติจิตพิเศษ ด้วยเจโตปริยญาณ อันทรงบรรลุโดยอานุภาพทิพยจักษุ ชื่อว่า ทรงแสดงธรรม เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ เพราะความที่พระองค์ทรงปราศจากความหลุ่มหลง ด้วยปฎิปทาอันยังสัตว์ให้ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ด้วยอานุภาพแห่งอาสวักขยญาณ.

ก็ในบทเป็นต้นว่า ตํ สารีปุตฺต วาจํ อปฺปหาย ดังนี้ บุคคลกล่าวว่า เราจักไม่กล่าววาจาเห็นปานนี้ ชื่อว่า ละวาจานั้น. เมื่อคิดว่า เราจักไม่ยังความคิดเห็นปานนี้เกิดขึ้นอีก ชื่อว่า สละความคิด. เมื่อสละว่า เราจักไม่ยึดถือความเห็น เห็นปานนี้อีก ชื่อว่า สลัดความเห็น. เมื่อไม่กระทําอย่างนั้น ชื่อว่า ไม่สละ ไม่สลัด. บุคคลนั้นก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก เพราะฉะนั้น พึงทราบว่าดํารงอยู่ในนรกนั้นเทียว เหมือนถูกนายนิรยบาลทั้งหลายนํามาตั้งอยู่ในนรก. บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอุปมาอันให้สําเร็จประโยชน์แก่เขา จึงตรัสว่า เสยฺยถาปิ เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น พึงทราบศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นโลกิยะ และโลกุตตระในบทเป็นต้นว่า สีลสมฺปนฺโน ดังนี้. ภิกษุย่อมควรแม้เพื่อจะให้หมุนกลับด้วยอํานาจแห่งโลกุตตระนั่นเทียว. ก็ภิกษุนี้ ถึงพร้อมด้วยศีล ด้วยวาจาชอบ การงานชอบ และการเลี้ยงชีพชอบ. ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ด้วยความเพียรชอบ ระลึกชอบ และตั้งมั่นชอบ. ถึงพร้อมด้วยปัญญา ด้วยความเห็นชอบ และความดําริชอบ. ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นต้นอย่างนี้นั้น ย่อม

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 83

กระหยิ่มอรหัต คือ ย่อมบรรลุอรหัตในทิฏฐธรรมเทียว คือในอัตภาพนี้นั้นเทียวฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกล่าวข้ออุปไมยนี้ คือการณ์แม้นี้ เห็นปานนี้ฉันนั้น. ทรงแสดงว่า ก็ผลไม่คลายในลําดับแห่งมรรค ย่อมเกิดขึ้นฉันใด ปฏิสนธิในนรก ไม่คลายในลําดับแห่งจุติของบุคคลแม้นี้ ก็ย่อมมีได้ฉันนั้นเหมือนกัน. ก็ขึ้นชื่อว่า อุปมาที่ตรัสให้หนักแน่นยิ่งขึ้น ด้วยอุปมานี้ย่อมไม่มีในพุทธพจน์ทั้งสิ้น.

ในบทว่า เวสารชฺชานิ นี้ ความปฏิปักษ์ต่อความครั่นคร้าม ชื่อว่า เวสารัชชะ นั้นเป็นชื่อของญาณอันสําเร็จแต่โสมนัส ซึ่งเกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาถึงความครั่นคร้ามในฐานะสี่.

บทว่า สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส เต ปฏิชานโต ความว่า ท่านปฎิญญาณอย่างนี้ว่า เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมทั้งหมดเราได้ตรัสรู้ยิ่งแล้ว.

บทว่า อนภิสมฺพุทฺธา ความว่า ธรรมเหล่านี้ท่านยังไม่ได้ตรัสรู้แล้ว.

บทว่า ตตฺร วต ความว่าในธรรมที่แสดงอย่างนี้ว่า ยังไม่ได้ตรัสรู้แล้ว เหล่านั้นหนอ.

บทว่า สห ธมฺเมน ความว่าโดยคําที่มีเหตุมีการณ์ เหมือนสุนักขัตตะ บ่นเพ้อไม่มีประมาณฉะนั้น. บุคคลก็ดี ธรรมก็ดี ท่านประสงค์ว่า นิมิต ในบทว่า นิมิตฺตเมตํ นี้. ในบทนั้นมีอธิบายอย่างนี้ว่า เราไม่เห็นบุคคลที่ทักท้วงว่า เราไม่เห็น ธรรมที่เขาแสดงแล้ว ทักท้วงเราว่า ธรรมชื่อนี้ ท่านยังไม่ได้ตรัสรู้แล้ว.

บทว่า เขมฺปปตฺโต ได้แก่ถึงความเกษม. ๒ บทที่เหลือเป็นไวพจน์ของบทนี้นั้นเทียว. ก็บทนั้นทั้งหมด ตรัสหมายถึงเวสารัชชญาณเท่านั้น. ก็เมื่อพระทศพลไม่เห็นบุคคลผู้ทักท้วง หรือ ธรรมอันเป็นเหตุทักท้วง ที่ยังไม่ได้ตรัสรู้แล้วว่า ธรรมชื่อนี้ ท่านยังไม่ได้ตรัสรู้แล้ว ดังนี้ หรือ เมื่อพิจารณาว่า เราเป็นพระพุทธเจ้าโดยสภาพนั้นเทียว กล่าวว่าเราเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้ ความโสมนัสอันมีกําลังยิ่ง ก็ย่อมเกิดขึ้น. ญาณที่สัมปยุตด้วยโสมนัสนั้น ชื่อว่า เวสารัชชะ. ทรงหมายถึงเวสารัชชะนั้น จึงตรัสคําเป็นอาทิว่า เขมปฺปตฺโต

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 84

ดังนี้. พึงทราบอธิบายในบททั้งปวงดังนี้. ก็ธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าอันตรายิกะ เพราะอรรถว่า ทําอันตราย ในบทนี้ว่า อนฺตรายิกา ธมฺมา ดังนี้. ธรรมเหล่านั้นโดยเนื้อความก็ได้แก่ กองอาบัติ ๗ ที่แกล้งล่วงละเมิด. จริงอยู่ กองอาบัติที่แกล้งล่วงละเมิดแล้ว โดยที่สุดแม้ทุกกฏ และทุพภาษิต ก็ทําอันตรายแก่มรรค และผลทั้งหลายได้. แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เมถุนธรรม. ก็ความปราศจากความสงสัยอย่างเดียวของภิกษุรูปใดรูปหนึ่งผู้เสพเมถุน ย่อมเป็นอันตรายแก่มรรค และผลทั้งหลายได้.

บทว่า ยสฺส โข ปน เตสุ อตฺถาย ความว่า เพื่อประโยชน์ใดในประโยชน์ทั้งหลาย มีความสิ้นไปแห่งราคะเป็นต้น.

บทว่า ธมฺโม เทสิโต ความว่า ธรรมมีการเจริญอสุภะ เป็นต้น อันท่านแสดงแล้ว.

บทว่า ตตฺร วต มํ ได้แก่ กะเราในธรรมอันเป็นเครื่องนําออกจากทุกข์นั้น. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นเทียว.

บทว่า อถโข อิเม สารีปุตฺต นี้ ทรงปรารภ เพราะเหตุอะไร. เพราะเพื่อทรงแสดงกําลังแห่งเวสารัชชญาณ. เหมือนอย่างพระธรรมกถึกหยั่งลงสู่บุรุษผู้ฉลาดแล้ว ย่อมปรากฎเป็นผู้ฉลาด ด้วยถ้อยคําที่สามารถยังจิตของวิญูชนทั้งหลายให้ยินดี ฉันใด ความที่เวสารัชชญาณเป็นธรรมชาติให้แกล้วกล้า แม้อันบริษัท ๘ เหล่านี้อาจเพื่อรู้ได้ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงกําลังแห่งเวสารัชชญาณ จึงตรัสพระดํารัสว่า อถโข อิมา สารีปุตฺต ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ขตฺติยปริสา ได้แก่ สถานที่นั่งประชุมของกษัตริย์ทั้งหลาย. ในบททั้งปวงก็มีนัยเช่นเดียวกัน. ก็สถานที่ที่หมู่มารทั้งหลายนั่งประชุม พึงทราบว่า มารบริษัท อนึ่ง บริษัทนั้นแม้ทั้งหมดของมารทั้งหลาย ไม่ได้ถือเอาด้วยสามารถแห่งการเห็นสถานที่เลิศ. เพราะมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไม่อาจเพื่อจะกล่าวแม้คําปกติว่า พระราชาประทับนั่งในที่นี้ เหงื่อทั้งหลายย่อมไหลออกจากรักแร้. ขัตติยบริษัทเลิศอย่างนี้. พราหมณ์

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 85

ทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ฉลาดในเวท ๓. คหบดีทั้งหลายย่อมเป็นผู้ฉลาดในโวหารต่างๆ และในการคิดอักษร. สมณะทั้งหลายย่อมเป็นผู้ฉลาดในวาทะของตน และวาทะของคนอื่น. ชื่อว่า การกล่าวธรรมกถาในท่ามกลางบริษัทเหล่านั้น เป็นภาระหนักอย่างยิ่ง. แม้อมนุษย์ทั้งหลายก็เป็นผู้เลิศ. เพราะครั้นแม้เพียงกล่าวว่า อมนุษย์ สรีระทั้งสิ้นย่อมสั่น. สัตว์ทั้งหลายได้เห็นรูป หรือฟังเสียงของอมนุษย์นั้น ย่อมปราศจากสัญญาได้. บริษัทของอมนุษย์เลิศอย่างนี้. ชื่อว่าการแสดงธรรมกถาในอมนุษย์บริษัทแม้เหล่านั้น ย่อมเป็นภาระหนักมาก. อมนุษย์บริษัทเหล่านั้น พึงทราบว่า ท่านถือเอาแล้ว ด้วยอํานาจแห่งการเห็นฐานะอันเลิศ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า อชฺโฌคาหติ คือ ตามเข้าไป. บทว่า อเนกสตํ ขตฺติยปริสํ คือ เช่น สมาคมพระเจ้าพิมพิสาร สมาคมพระญาติ และสมาคมเจ้าลิจฉวี. ย่อมได้ในจักรวาลแม้เหล่าอื่น.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปสู่แม้จักรวาลเหล่าอื่นหรือ. เออ เสด็จไป. เป็นเช่นไร. เขาเหล่านั้นเป็นเช่นใด พระองค์ก็เป็นเช่นนั้นเทียว. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ก็เราเข้าไปหาขัตติยบริษัทหลายร้อย ย่อมรู้เฉพาะแล ว่า ในบริษัทนั้น พวกเขามีวรรณะเช่นใด เราก็มีวรรณะเช่นนั้น พวกเขามีเสียงเช่นใด เราก็มีเสียงเช่นนั้น และเราให้เห็นแจ้งให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมมีกถา และพวกเขาไม่รู้เราผู้กล่าวอยู่ ว่า ผู้กล่าวนี้เป็นใครหนอ เป็นเทวดาหรือมนุษย์ และครั้นให้เห็นแจ้งแล้ว ให้สมาทานแล้ว ให้อาจหาญแล้ว ให้รื่นเริงแล้ว ด้วยธรรมีกถาก็หายไป และพวกเขาไม่รู้เราผู้หายไป ว่า ผู้ที่หายไปนี้เป็นใครหนอแล เป็นเทพหรือมนุษย์ ดังนี้. เหล่ากษัตริย์ทรงประดับประดาด้วยสังวาลมาลา และของหอมเป็นต้น ทรงผ้าหลากสี ทรงสวมกุณฑลแก้วมณี ทรงโมลี ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประดับพระองค์เช่นนั้นหรือ กษัตริย์แม้เหล่านั้นมีพระฉวีขาว

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 86

บ้าง ดําบ้าง คล้ำบ้าง แม้พระศาสดาทรงเป็นเช่นนั้นหรือ. พระศาสดาเสด็จไปด้วยเพศบรรพชิตของพระองค์เอง แต่ทรงปรากฏเป็นเช่นกับกษัตริย์เหล่านั้น ครั้นเสด็จไปแล้วทรงแสดงพระองค์ซึ่งประทับนั่งบนพระราชอาสน์ ย่อมเป็นเช่นกับกษัตริย์เหล่านั้นว่า ในวันนี้พระราชาของพวกเรารุ่งโรจน์ยิ่งนักดังนี้. ถ้ากษัตริย์เหล่านั้น มีพระสุรเสียงแตกพร่าบ้าง ลึกบ้าง ดุจเสียงกาบ้าง พระศาสดาก็ทรงแสดงธรรมด้วยเสียงแห่งพรหมนั้นเทียว ก็บทนี้ว่า เราก็มีเสียงเช่นนั้น ตรัสหมายถึงลําดับภาษา. ก็มนุษย์ทั้งหลายได้ฟังเสียงนั้นแล้วย่อมมีความคิดว่า วันนี้ พระราชาตรัสด้วยเสียงอันอ่อนหวาน. ก็ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วเสด็จหลีกไป เห็นพระราชาเสด็จมาอีก ก็เกิดการพิจารณาว่า บุคคลนี้ใครหนอแล. พระองค์จึงตรัสพระดํารัสนี้ว่า บุคคลนี้ใครหนอแล อยู่ในที่นี้ บัดนี้ แสดงด้วยเสียงอ่อนหวาน ด้วยภาษามคธ ด้วยภาษาสีหล หายไป เป็นเทพ หรือมนุษย์ ดังนี้. ถามว่า ทรงแสดงธรรมแก่บุคคลทั้งหลายผู้ไม่รู้อย่างนี้เพื่ออะไร. ตอบว่า เพื่อประโยชน์แก่วาสนา. พระองค์ทรงแสดงมุ่งอนาคตว่า ธรรมแม้ได้ฟังอย่างนี้ ย่อมเป็นปัจจัยในอนาคตนั้นเทียว.

บทว่า สนฺนิสินฺนปุพฺพํ ได้แก่ เคยร่วมนั่งประชุม. บทว่า สลฺลปิตปุพฺพํ คือ เคยทําการสนทนา.

บทว่า สากจฺฉา ความว่า เคยเข้าสนทนาธรรม. ก็พึงทราบการเข้าร่วมประชุม ด้วยอํานาจสมาคม มีสมาคมโสณฑัณฑพราหมณ์ เป็นต้น และด้วยสามารถแห่งจักรวาลอื่น ด้วยบทเป็นต้นว่า อเนกสตํ พฺรหฺมณปริสํ.

คําว่า โยนิ ในบทนี้ว่า จตสฺโส โข อิมา สารีปุตฺต โยนิโย เป็นชื่อของส่วนขันธ์บ้าง ของการณ์บ้าง ของทางปัสสาวะบ้าง. ส่วนของขันธ์ชื่อว่า โยนิ ในบทนี้ว่า ขันธ์ของนาค ๔ ขันธ์ ของครุฑ ๔. การณ์ ชื่อว่า โยนิ ในบทนี้ว่า ก็การณ์นั้น เป็นภูมิแห่งการบรรลุพืชผล. ทางปัสสาวะ

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 87

ชื่อว่า โยนิ ในบทนี้ว่า ก็เราไม่เรียกเปตติสมภพทางปัสสาวะว่าเป็นพราหมณ์. ก็ในที่นี้ส่วนของขันธ์ ท่านประสงค์เอาว่า โยนิ. ในกําเนิดเหล่านั้น สัตว์ที่เกิดในไข่ ชื่อว่า อัณฑชะ สัตว์ที่เกิดในครรภ์ชื่อว่า ชลามพุชะ. สัตว์ที่เกิดในเหงื่อไคล ชื่อ สังเสทชะ. สัตว์ที่เกิดขึ้นเฉพาะเว้นเหตุเหล่านั้น ดุจผุดขึ้นเกิด ชื่อว่า อุปปาติกะ.

บทว่า อภินิพฺภชฺช ชายนฺติ คือ ย่อมเกิดด้วยอํานาจแห่งการทําลายแล้วออกมา. ท่านแสดงฐานะอันไม่น่าปรารถนาทั้งหลาย ด้วยบทเป็นต้น ว่า ปูติกุณเป. สัตว์ทั้งหลายย่อมเกิดในฐานะที่น่าปรารถนามีเนยใส น้ำตาล น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย เป็นต้นเหมือนกัน. เทพชั้นสูงตั้งแต่จาตุมมหาราชิก ในบทเป็นต้นว่า เทวา จัดเป็นอุปปาติกะเหมือนกัน. ส่วนภุมมเทวดาทั้งหลาย มีกําเนิด ๔.

บทว่า เอกจฺเจ จ มนุสฺสา ความว่า ในมนุษย์ทั้งหลาย มนุษย์บางพวกเป็นอุปปาติกะเหมือนเทวดา. แต่มนุษย์เหล่านั้น โดยมากเกิดจากครรภ์. ในที่นี้ แม้ที่เกิดจากไข่ ก็เหมือนภาติยเถระ ๒ รูป ผู้เป็นบุตรของโกนตะ. แม้ที่เกิดจากเหงื่อไคล ก็มีโปกขรสาติพราหมณ์ และพระนางปทุมวดีเทวี ที่เกิดในกลีบประทุมเป็นต้น. ในวินิปาติกะทั้งหลาย นิชฌามเปรต และตัณหิกเปรต เป็นอุปปาติกะเหมือนกัน ดุจสัตว์นรกทั้งหลาย. ที่เหลือมีกําเนิด ๔. ยักษ์ทั้งหลายก็ดี สัตว์ทั้งหลายมีสัตว์ ๔ เท้า นก และงูทั้งปวงเป็นต้น ก็ดี ทั้งหมดมีกําเนิด ๔ เหมือนวินิปาติกะเหล่านั้น.

คติทั้งหลาย แม้พึงไปด้วยสามารถแห่งกรรมที่ทําไว้ดี และทําไว้ชั่ว ในบทนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร คติ ๔ อย่างนี้แล. อีกประการหนึ่ง ชื่อว่า คติ มีหลายอย่างคือ คติคติ นิพพัตติคติ อัชฌายคติ วิภวคติ และนิปผัตติคติ. ในคติเหล่านั้น คตินี้ว่า เราละไปสู่คติอะไร และว่า เทวดาคนธรรพ์ และมนุษย์ ย่อมไม่รู้คติของผู้ใด ดังนี้ ชื่อว่า คติคติ. คตินี้ว่า เราไม่รู้คติ หรืออคติของภิกษุทั้งหลาย ผู้มีศีลเหล่านี้ ดังนี้ ชื่อว่า นิพพัตติคติ. คตินี้

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 88

ว่า ดูก่อนพรหม เรารู้ชัดคติ และรู้ชัดจุติของท่านอย่างนี้แล ชื่อว่า อัชฌาสยคติ. คตินี้ว่า วิภวะเป็นคติธรรมทั้งหลาย นิพพานเป็นคติของพระอรหันต์ ชื่อว่า วิภวคติ. คตินี้ว่า คติมี ๒ อย่างเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ชื่อว่า นิปผัตติคติ. ในคติเหล่านั้นท่านประสงค์เอา คติคติในที่นี้. ชื่อว่า นิรยะ ด้วยอรรถว่า ปราศจากความยินดี ด้วยอรรถว่าไม่มีความสบายใจ

ในบทเป็นต้นว่า นิรโย. ชื่อว่า ดิรัจฉาน เพราะอรรถว่า เดินขวาง. กําเนิดของดิรัจฉานเหล่านั้น ชื่อว่า ดิรัจฉานโยนิ. ชื่อว่า เปรตวิสัย เพราะอรรถว่า เป็นวิสัยแห่งสัตว์ทั้งหลายที่ถึงความละไปแล้ว. ชื่อว่า มนุษย์ เพราะความเป็นผู้มีใจสูงแล้ว. ชื่อว่า เทพ เพราะวิเคราะห์ว่า เล่นกับกามคุณ ๕ และอานุภาพของตนๆ. ขันธ์ทั้งหลายพร้อมกับโอกาส ชื่อว่า นิรยะ ในบทเป็นต้นว่า นิรยํ จาหํ สารีปุตฺต. ในบทว่า ติรจฺฉานโยนิํ จ แม้เป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. ทรงแสดงกรรมอันเป็นไปสู่คติเท่านั้น ที่ตรัสไว้ด้วยบทแม้ทั้ง ๒ ว่า มคฺคํ ปฏิปทํ.

บทว่า ยถา จ ปฏิปนฺโน ความว่า ดําเนินไปโดยทางใด โดยปฏิปทาใด เพราะฉะนั้น แม้ทั้ง ๒ บทรวมเข้ากัน ย่อมปรากฏชื่อว่า อบาย เพราะความเป็นที่ปราศจากความงอกงาม กล่าวคือความเจริญ หรือความสุข ในบทเป็นต้นว่า อปายํ ดังนี้. ชื่อว่า ทุคคติ เพราะอรรถว่าเป็นคติ คือ เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์. ชื่อว่า วินิบาต เพราะเป็นที่ตกไปแห่งสัตว์ทั้งหลายที่ทําความชั่ว.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบทนี้ว่า นิพฺพานฺจาหํ เพื่อทรงแสดงว่า เราย่อมรู้คติคติอย่างเดียวก็หามิได้ เราย่อมรู้แม้นิพพานอันเป็นเครื่องสลัดออกจากคติด้วย. ท่านกล่าวอริยมรรคด้วยบทแม้ทั้งสอง คือ มรรค และปฏิปทาในที่นี้. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงอาการที่เป็นไปแล้วแก่ญาณของพระองค์ในฐานะทั้งหลายตามที่กล่าวแล้ว จึงตรัสว่า อิธาหํ สารีปุตฺต เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอกนฺตทุกฺขา คือ

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 89

มีทุกข์เป็นนิจ ได้แก่มีทุกข์ชั่วนิรันดร์.

บทว่า ติปฺปา คือ มาก.

บทว่า กฏกา ได้แก่กล้าแข็ง.

บทว่า เสยฺยถาปิ เป็นต้น ตรัสแล้ว เพื่อทรงแสดงข้อเปรียบเทียบ. หลุมก็ดี กองก็ดี เรียกว่า กาสุ ในบทนั้น. ก็หลุมชื่อว่า กาสุ ในคาถานี้ว่า

ดูก่อนสารถี ท่านเดือดร้อนอะไรหนอ จึงขุดหลุม ดูก่อนเพื่อน ท่านผู้อันเราถามแล้ว จงบอก จักทําอะไรในหลุม.

กองชื่อว่า กาสุในคาถานี้ว่า

คนทั้งหลายอื่นร้องไห้อยู่ มีตัวร้อนรุม ขุดหลุมถ่านอยู่.

แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาหลุม. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า สาธิกโปริสํ ลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษ. ในบทนั้น หลุมนั้น ลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษเป็นประมาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษ อธิบายว่า ลึกเกินกว่าห้าศอก.

บทว่า ปราศจากเปลว ปราศจากควัน นั้น ตรัสเพื่อทรงแสดงความที่ความเร่าร้อนเป็นธรรมชาติมีกําลัง. ครั้นเมื่อเปลวมีอยู่ หรือควันมีอยู่ ลมย่อมตั้งขึ้น เพราะเหตุนั้น ความเร่าร้อนจึงไม่มีกําลัง.

บทว่า ฆมฺมปเรโต ได้แก่ ถึงความร้อนแผดเผา.

บทว่า ตสิโต ความว่า เกิดความทะยานอยาก.

บทว่า ปิปาสิโต ได้แก่ ประสงค์จะดื่มน้ำ.

บทว่า เอกายเนน มคฺเคน ความว่าโดยทางสายเดียวซึ่งมีหนาม ต้นไม้รกชัฏชั่วนิรันดร์ในข้างทั้งสองที่จะพึงเดินตาม.

บทว่า ปณิธาย ความว่า ชื่อว่า ความปรารถนาในหลุมถ่านเพลิงไม่มี ทรงปรารภถึงหลุมถ่านเพลิงจึงตรัสอย่างนั้น เพราะความที่อิริยาบถตั้งแล้ว.

การแสดงข้ออุปมาในบทว่า เอวเมว โข นั้นมีดังนี้. ก็พึงเห็นนรกเหมือนหลุมถ่านเพลิง. พึงเห็นกรรมอันเป็นเหตุเข้า

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 90

ถึงนรก เหมือนทางไปสู่หลุมถ่านเพลิง. พึงเห็นบุคคลผู้สะพรั่งด้วยกรรม เหมือนคนขึ้นสู่หนทาง. พึงเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีทิพยจักษุ เหมือนบุรุษมีจักษุ. บุรุษนั้นเห็นบุคคลผู้ขึ้นสู่หนทางเทียว ย่อมรู้ว่า บุคคลนี้ไปโดยทางนี้ จักตกในหลุมถ่านเพลิงฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้กรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งฆ่าอายุในการฆ่าสัตว์เป็นต้น อย่างนี้ว่า บุคคลนี้ทํากรรมนี้แล้ว จักตกนรกฉันนั้นเหมือนกัน. ในกาลส่วนอื่น บุรุษนั้นเห็นบุคคลนั้นตกลงในหลุมถ่านเพลิงฉันใด ในกาลส่วนอื่น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังแสงสว่างให้เจริญแล้วว่า บุรุษนั้นทํากรรมนั้นแล้ว เกิดแล้วในที่ไหน ทรงแลดูด้วยทิพยจักษุ ย่อมเห็นบุรุษผู้เกิดแล้วในนรก ซึ่งเสวยมหาทุกข์มีการจองจํา ๕ ประการเป็นต้น ฉันนั้นเหมือนกัน. เมื่อทรงแลดูว่า ในนรกนั้น สัตว์นั้นมีวรรณะอย่างอื่นในเวลาสั่งสมกรรม สัตว์ที่เกิดในนรก มีวรรณะเป็นอย่างอื่น แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น สัตว์นั้นทํากรรมนั้นแล้ว เกิดแล้วในนรกนั้น สัตว์นี้แม้ดํารงอยู่ในท่ามกลางสัตว์หลายแสน เพราะฉะนั้น สัตว์นั้นเทียว ย่อมมาสู่ทาง เพราะเหตุนั้น อาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า นั้นชื่อว่า กําลังแห่งทิพยจักษุ.

พึงทราบอธิบายในอุปมาข้อที่ ๒ เพราะความเร่าร้อนในหลุมคูถ เหมือนในหลุมถ่านเพลิงไม่มี เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า เอกนฺตทุกฺขา ตรัสคําว่า ทุกฺขา เป็นต้น. พึงทราบการเปรียบเทียบอุปมาโดยนัยก่อนนั้นเทียว แม้ในบทนั้น. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นบุคคลแม้นี้เกิดในกําเนิดใดกําเนิดหนึ่ง ในบรรดากําเนิดทั้งหลายมีกําเนิดช้างเป็นต้น เสวยทุกข์มากด้วยการฆ่า การจองจํา การคร่ามา และการคร่าไปเป็นต้น.

พึงทราบอธิบายในอุปมาข้อที่ ๓ ก็บทว่า ตนุปตฺตปลาโส ได้แก่ ใบอ่อน ไม่เหมือนแผ่นหมอกเมฆ แต่บทนี้ ตรัสหมายถึงมีใบบางเบา.

บทว่า กพรจฺฉาโย ได้แก่มีเงาห่าง.

บทว่า ทุกฺขพหุลํ ความว่า ก็ทุกข์

 
  ข้อความที่ 55  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 91

ในเปรตวิสัยมีมาก แต่พึงเสวยสุขนิดหน่อยในบางเวลา เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนี้. พึงทราบการเปรียบเทียบข้ออุปมาโดยนัยก่อนในที่นี้นั่นเทียว.

พึงทราบอธิบายในอุปมาข้อที่ ๔ บทว่า พหลปตฺตปลาโส ได้แก่มีใบเนืองนิจ คือ ปกปิดด้วยใบ. บทว่า สณฺฑจฺฉาโย ความว่า มีเงาหนาดุจร่มหิน. บทว่า สุขพหุลา เวทนา ความว่า เวทนาในตระกูลทั้งหลายมีขัตติยตระกูลเป็นต้นในมนุษยโลกเป็นอันพึงทราบว่า เวทนามากด้วยความสุข ทรงแสดงว่า เราเห็นบุคคลนอนหรือนั่งเสวยเวทนานั้น. พึงทราบข้อเปรียบเทียบอุปมาแม้นี้โดยนัยก่อนนั้นเทียว.

พึงทราบอธิบายในอุปมาข้อที่ ๕ บทว่า ปาสาโท ได้แก่ปราสาทยาว.

บทว่า อุลฺลิตฺตาวลิตฺตํ ความว่า ฉาบทาข้างใน และฉาบทาข้างนอก.

บทว่า ผุสิตคฺคฬํ ได้แก่บานประตูหน้าต่าง ปิดสนิทดีพร้อมกับรอบวงกบ.

บทว่า โคนกตฺถโต ความว่า ลาดด้วยผ้าโกเชาว์สีดํา ขนยาวเกินกว่า ๔ นิ้ว.

บทว่า ปฏิกตฺถโต ได้แก่ลาดด้วยเครื่องลาดสีขาวอันสําเร็จแต่ขน.

บทว่า ปฏลิกตฺถโต คือ ลาดด้วยเครื่องลาดอันสําเร็จด้วยขนมีพื้นหนา.

บทว่า กทฺทลิมิคปวรปจฺจตฺถรโณ ความว่า ลาดด้วยเครื่องปูลาดชั้นสูง อันสําเร็จด้วยหนังชะมด. ได้ยินว่า ชนทั้งหลายลาดหนังชะมดเบื้องบนผ้าขาวแล้วเย็บทําเครื่องปูลาดนั้น.

บทว่า สอุตฺตรจฺฉโท ความว่า มีเพดานกั้นในเบื้องบน คือมีเพดานสีแดงกั้นไว้เบื้องบน.

บทว่า อุภโตโลหิตกูปธาโน ได้แก่มีหมอนแดงวาง ณ ข้างทั้งสองของบัลลังก์ คือ หมอนหนุนศีรษะ และหมอนวางเท้า.พึงทราบการเปรียบเทียบข้ออุปมา โดยนัยก่อนแม้ในที่นี้.

ก็โยชนาส่วนอื่นในบทนี้มีดังนี้. บุรุษนั้นย่อมรู้บุคคลที่ขึ้นสู่ทางนั้นเทียวว่า บุคคลนี้ไปโดยทางนั้น ขึ้นสู่ปราสาท เข้าไปยังกูฏาคาร จักนั่ง หรือจักนอนบนบัลลังก์ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นบุคคลผู้สั่งสมกุศลกรรม

 
  ข้อความที่ 56  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 92

อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาบุญกิริยาวัตถุ มีทานเป็นต้น ย่อมทรงรู้ว่า บุคคลนี้ทํากรรมนี้แล้ว จักเกิดในเทวโลกฉันนั้นเหมือนกัน. ในกาลส่วนอื่น บุรุษนั้นย่อมเห็นบุคคลนั้นขึ้นสู่ปราสาทนั้นแล้ว เข้าไปสู่กูฏาคาร นั่งหรือนอนบนบัลลังก์เสวยเวทนามีความสุขโดยส่วนเดียวฉันใด ในกาลส่วนอื่น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเจริญอาโลกสัญญาว่า บุคคลนั้นทํากรรมดีนั้นแล้ว เกิดในที่ไหนเมื่อทรงแลดูด้วยทิพยจักษุ ย่อมทรงเห็นบุคคลนั้นเกิดในเทวโลก อันหมู่นางฟ้าแวดล้อมในสวนทั้งหลาย มีนันทนวันเป็นต้น เสวยทิพย์สมบัติอยู่ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

พึงทราบวินิจฉัยในอาสวักขยวาร หากจะมีคําถามว่า ข้อนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสว่า ด้วยทิพยจักษุ แต่ตรัสว่า เราเห็นบุคคลนั้นนั่นเพราะเหตุไร. เพราะไม่มีการกําหนด. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า จักทรงเห็นบุคคลนี้ ด้วยทิพยจักษุบ้าง จักทรงรู้ด้วยเจโตปริยญาณบ้าง จักทรงรู้ด้วยสัพพัญุตญาณบ้าง.

คําว่า เอกนฺตสุขา เวทนา นี้ โดยพยัญชนะเป็นสุข อันเดียวกันกับสุขในเทวโลกแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น โดยอรรถเป็นสุขต่างกัน เพราะสุขในเทวโลก ไม่เป็นเอกันตสุขโดยส่วนเดียว เพราะยังมีความเร่าร้อน มีความเร่าร้อนเพราะราคะเป็นต้น. แต่สุขในนิพพาน เป็นเอกันตสุข โดยอาการทั้งปวง เพราะเข้าไปสงบความเร่าร้อนทั้งหมด. สุขใดที่กล่าวแม้ในข้ออุปมาว่า สุขโดยส่วนเดียวในปราสาท ก็สุขนั้น ชื่อว่า สุขโดยส่วนเดียวเหมือนกัน เพราะความที่ความเร่าร้อนในทาง ยังไม่สงบ เพราะยังมีความหิวแผดเผา เพราะยังมีความกระหายครอบงํา. แต่ในราวป่าก็ชื่อว่า เป็นสุขโดยส่วนเดียว โดยอาการทั้งปวง เพราะความที่มลทินคือ ธุลี อันบุคคลนั้นลงสู่สระโบกขรณี ลอยหมดแล้ว เพราะความที่ความเหน็ดเหนื่อยในทางสงบระงับแล้ว เพราะความที่หิวกระหายทั้งหลายถูกกําจัดแล้วด้วยการกินเหง้าบัว

 
  ข้อความที่ 57  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 93

และด้วยการดื่มน้ำอร่อย และเพราะความที่เขาผลัดผ้าอาบน้ำแล้ว นุ่งผ้าเนื้อละเอียด นอนหนุนถุงข้าวสาร บีบผ้าอาบน้ำ วางไว้ที่หฤทัย ถูกลมอ่อนๆ พัดนอนหลับ.

ในบทนี้ว่า เอวเมว โข มีการเปรียบเทียบข้ออุปมาดังนี้. พึงเห็นอริยมรรค เหมือนสระโบกขรณี. พึงเห็นการปฏิบัติในส่วนเบื้องต้น เหมือนทางไปสระโบกขรณี. พึงเห็นบุคคลพร้อมพรั่งด้วยการปฏิบัติ เหมือนบุคคลขึ้นสู่ทาง พึงเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีทิพยจักษุ เหมือนบุรุษผู้มีจักษุ พึงเห็นนิพพาน เหมือนราวป่า บุรุษนั้นเห็นบุคคลผู้ขึ้นสู่ทางเทียว ย่อมรู้ว่าบุคคลนี้ไปโดยทางนี้ อาบน้ำในสระโบกขรณีแล้ว จักนั่ง หรือจักนอน ที่โคนต้นไม้ในราวป่า อันน่ารื่นรมย์ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงรู้บุคคลผู้บําเพ็ญปฏิปทา กําหนดนามรูป กระทําการกําหนดปัจจัย กระทําการงานด้วยวิปัสสนาอันมีลักษณะเป็นอารมณ์ว่า บุคคลนี้บําเพ็ญปฏิปทานี้แล้ว ยังอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไป เข้าถึงผลสมาบัติที่กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้อยู่.

ในกาลส่วนอื่น บุรุษนั้น เห็นบุคคลนั้นอาบน้ำในสระโบกขรณีนั้นแล้ว เข้าไปสู่ราวป่าแล้ว นั่งหรือนอนเสวยเวทนาอันมีความสุขโดยส่วนเดียวฉันใด ในกาลส่วนอื่น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นบุคคลนั้นบําเพ็ญปฏิปทา เจริญมรรค กระทําให้แจ้งซึ่งผล บรรลุผลสมาบัติ ซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์ อันถึงการนอนที่ประเสริฐ คือนิโรธ เสวยเวทนาอันมีสุขโดยส่วนเดียวฉันนั้นเหมือนกัน.

บทนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร อนึ่ง เราย่อมเข้าใจประพฤติพรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์ ๔ ดังนี้ ทรงปรารภเพราะเหตุไร. ทรงปรารภด้วยอํานาจการต่อเนื่องเป็นขั้นตอน. ได้ยินว่า สุนักขัตตะนี้ มีลัทธิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่อมมีด้วยการบําเพ็ญทุกกรกิริยา. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภเทศนานี้ เพื่อทรงแสดงแก่สุนักขัตตะนั้นว่า เราดํารงในอัตภาพหนึ่งได้กระทํา

 
  ข้อความที่ 58  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 94

ทุกกรกิริยาอันประกอบด้วยองค์ ๔ แล้ว บุคคลที่ชื่อว่า ทําทุกกรกิริยาเช่นกับเราไม่มี เมื่อความหมดจดมีด้วยการทําทุกกรกิริยา เราเองพึงเป็นพระพุทธเจ้าดังนี้. อนึ่ง สุนักขัตตะนี้ เลื่อมใสในการทําทุกกรกิริยา ความที่เขาเป็นผู้เลื่อมใสแม้นั้น พึงทราบโดยนัยอันมาแล้วในปาฏิกสูตร มีอาทิอย่างนี้ว่าสุนักขัตตลิจฉวีบุตรได้เห็น ชีเปลือยชื่อโกรกขัตติกะ ประพฤติวัตรคลาน เคี้ยว กินภักษาที่เขาเทลงในแผ่นดินด้วยปาก เขาครั้นเห็นแล้ว ได้มีความคิดนี้ว่า สมณะผู้คลาน เคี้ยว กินภักษาที่เทลงในแผ่นดินด้วยปากนั้นเทียวนี้ดีหนอ.

ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงว่า สุนักขัตตะเลื่อมใสในทุกกรกิริยา ก็เราดํารงในอัตภาพหนึ่งได้การทําทุกกรกิริยาอันประกอบด้วยองค์ ๔ แล้ว สุนักขัตตะนี้ แม้เมื่อจะเลื่อมใสในการทําทุกกรกิริยา ก็ควรเลื่อมใสในเรา เขาหามีความเลื่อมใสในเรานั้นไม่ ดังนี้ ได้ทรงปรารภเทศนานี้. ทานก็ดี ไวยาวัจจ์ ก็ดี สิกขาบทก็ดี พรหมวิหารก็ดี ธรรมเทศนาก็ดี เมถุนวิรัติก็ดี สทารสันโดษก็ดี วิริยก็ดี อุโบสถก็ดี อริยมรรคก็ดี ศาสนาทั้งสิ้นก็ดี อัชฌาสัยก็ดี เรียกว่า พรหมจรรย์ ในที่นี้.

ก็ทาน เรียกว่า พรหมจรรย์ ในปุณณกชาดกนี้ว่า

อะไรเป็นวัตรของท่าน ก็อะไรเป็นพรหมจรรย์ ความสําเร็จ ความรุ่งเรือง พละ ความเพียร และอุบัตินี้ เป็นวิบากของผู้ประพฤติดีอะไร ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐ ขอท่านจงบอกมหาวิมานแก่ข้าพเจ้าเถิด

 
  ข้อความที่ 59  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 95

ข้าพเจ้าและภริยาทั้งสอง เป็นผู้มีศรัทธา เป็นทานบดีในมนุษยโลก ในกาลนั้น เรือนของข้าพเจ้าเป็นโรงทาน และสมณพราหมณ์ทั้งหลาย อันเราได้เลี้ยงดูให้อิ่มหนําสําราญแล้ว นั้นเป็นวัตรของข้าพเจ้า ก็นั้นเป็นพรหมจรรย์ ความสําเร็จ ความรุ่งเรือง พละ ความเพียร และอุบัตินี้ เป็นวิบากของผู้ประพฤติดีนั้น ท่านธีระ ก็นี้เป็นมหาวิมานของข้าพเจ้า.

ไวยาวัจจ์ เรียกว่า พรหมจรรย์ ในอังกุรเปตวัตถุนี้ว่า

ฝ่ามือของท่าน ให้สิ่งที่น่าปรารถนา เป็นที่ไหลออกแห่งวัตถุมีรสอร่อย ผลบุญย่อมสําเร็จที่ฝ่ามือของท่าน เพราะพรหมจรรย์อะไร

ฝ่ามือของเรา ให้สิ่งที่น่าปรารถนา เป็นที่ไหลออกแห่งวัตถุมีรสอร่อย ผลบุญย่อมสําเร็จที่ฝ่ามือของเรา เพราะพรหมจรรย์นั้น.

สิกขาบทห้า เรียกว่า พรหมจรรย์ ในติตติรชาดกนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า ติตติริยวัตร์นี้แล เป็นพรหมจรรย์ ดังนี้. พรหมวิหาร เรียกว่า พรหมจรรย์ ในมหาโควินทสูตรนี้ว่า ดูก่อนปัญจสิกขะ ก็พรหมจรรย์นั้นแล ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ย่อมไม่เป็นไปเพื่อคลายความกําหนัด ย่อมเป็นไปเพียงเพื่อความอุบัติในพรหมโลกเท่านั้น. ธรรมเทศนา เรียกว่า พรหม-

 
  ข้อความที่ 60  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 96

จรรย์ ในบทนี้ว่า ในพรหมจรรย์หนึ่ง มีผู้ละมัจจุได้พันคน. เมถุนวิรัติ เรียกว่า พรหมจรรย์ ในสัลเลขสูตรว่า พวกอื่นจักไม่ประพฤติพรหมจรรย์ พวกเราจักประพฤติพรหมจรรย์ ในที่นี้. สทารสันโดษ เรียกว่า พรหมจรรย์ ในมหาธัมมาปาลชาดกว่า

เราไม่นอกใจภริยา และภริยาก็ไม่ล่วงเกินเรา เราประพฤติพรหมจรรย์เว้นภริยาเหล่านั้น เพราะฉะนั้นแล เด็กๆ ของเรา จึงไม่พึงตาย.

อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ที่รักษาแล้วด้วยอํานาจในการฝึกตนเรียกว่า พรหมจรรย์ ในนิมิชาดก อย่างนี้ว่า

บุคคลย่อมเกิดในขัตติยะ ด้วยพรหมจรรย์ที่เลว และย่อมเกิดในเทพทั้งหลาย ด้วยพรหมจรรย์ปานกลาง ย่อมหมดจดด้วยพรหมจรรย์ชั้นสูง.

อริยมรรค เรียกว่า พรหมจรรย์ ในมหาโควินสูตรนั้นเทียวว่า ดูก่อนปัญจสิกขะ ก็พรหมจรรย์นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อความคลายกําหนัด ฯลฯ คือ มรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐนี้นั้นเทียว. ศาสนาทั้งสิ้น อันสงเคราะห์เข้ากับสิกขา ๓ อย่าง เรียกว่า พรหมจรรย์ ในปาสาทิกสูตรว่า พรหมจรรย์นี้นั้น กว้างขวาง และแพร่หลาย อันพิสดาร ชนรู้มาก เป็นปึกแผ่นจนมนุษย์ทั้งหลายประกาศดีแล้วนั้นเทียว. อัธยาศัย เรียกว่า พรหมจรรย์ในบทนี้ว่า

 
  ข้อความที่ 61  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 97

อนึ่ง ความหวังในผลเทียว ย่อมสําเร็จแก่คนผู้ไม่รีบร้อน เราเป็นผู้มีพรหมจรรย์ สุกแล้ว ดูก่อนคามิณี ท่านจงรู้อย่างนี้.

ก็ความเพียร ท่านประสงค์ว่า พรหมจรรย์ในสูตรนี้. ก็สูตรนี้นั้นเทียวเป็นสูตรแห่งพรหมจรรย์ คือ ความเพียร ความเพียรนี้นั้น ท่านกล่าวว่าประกอบด้วยองค์ ๔ เพราะความที่ทุกกรกิริยา ๔ อย่าง อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบําเพ็ญแล้วในอัตตภาพหนึ่ง.

คําว่า สุทํ ในบทว่า ตปสฺสี สุทํ โหมิ เป็นเพียงนิบาต อธิบายว่า เราเป็นผู้อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส.

บทว่า ปรมตปสฺสี ความว่ามีความเพียรเครื่องเผากิเลสยอดเยี่ยม คือ สูงสุดของบุคคลทั้งหลายผู้อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส.

บทว่า ลูโข สุทํ โหมิ ความว่า เราเป็นผู้เศร้าหมอง.

บทว่า เชคุจฺฉิ ได้แก่ ผู้เกลียดชังบาป.

บทว่า ปวิวิตฺโต สุทํ โหมิ ความว่า เราเป็นผู้สงัด.

บทว่า ตตฺรสฺส เม อิทํ สารีปุตฺต ความว่า ในพรหมจรรย์มีองค์ ๔ นั้น พรหมจรรย์นี้เป็นวัตรในความที่มีความเพียรเครื่องเผากิเลสของเรา ทรงแสดงว่า พรหมจรรย์นี้เป็นอันเรากระทําแล้วในความที่มีความเพียรเผากิเลสมีของชีเปลือยเป็นต้น ในความที่พระองค์ทรงอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อเจลโกได้แก่ ผู้ปราศจากผ้า คือ คนเปลือย.

บทว่า มุตฺตาจาโร ได้แก่ เรามีมรรยาทสละแล้ว คือ เว้นจากมรรยาทของกุลบุตรชาวโลกในกรรมทั้งหลาย มีการถ่ายอุจจาระเป็นต้น เป็นผู้ยืนถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ เคี้ยว บริโภค.

บทว่า หตฺถาวเลขโน ความว่า ทรงแสดงว่า ครั้นเมื่อก้อนข้าวอยู่ในมือ เราก็ใช้ลิ้นเลียมือ ครั้นถ่ายอุจจาระ เราก็เป็นผู้มีความสําคัญในมือนั้นเทียวว่า

 
  ข้อความที่ 62  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 98

เป็นท่อนไม้ใช้มือเช็ด ดังนี้. ได้ยินว่า พวกเขาบัญญัติท่อนไม้ว่า เป็นสัตว์ เพราะฉะนั้น พระองค์ทรงบําเพ็ญปฏิปทาของพวกเขา จึงทรงกระทําอย่างนั้น. ทรงแสดงว่า ผู้อันเขากล่าวเพื่อให้รับภิกษาว่า มาเถิด ท่านก็ไม่มา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เขาเชิญให้มารับภิกษาก็ไม่มา แม้ผู้อันเขากล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น จงหยุดๆ เถิดท่าน ก็ไม่หยุด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เขาเชิญให้หยุดก็ไม่หยุด ก็เดียรถีย์ทั้งหลาย ย่อมไม่กระทําการแม้ทั้ง ๒ อย่างนั้น ด้วยเข้าใจว่าคําของเขาจักกระทําแล้ว แม้เราก็ได้กระทําอย่างนี้.

บทว่า อภิหตํ ได้แก่ภิกษาที่เขาแบ่งไว้ก่อนแล้วนํามาให้. บทว่า อุทฺทิสฺส กตํ คือ ภิกษาที่เขาบอกอย่างนี้ว่า ได้ทําเจาะจงท่านนี้.

บทว่า นิมนฺตนํ ความว่า เราไม่ยินดี ไม่ถือ แม้ภิกษาที่เขานิมนต์อย่างนี้ว่า ท่านพึงเข้าไปสู่ตระกูล ถนนหรือบ้านชื่อโน้น.

บทว่า น กุมฺภิมุขา คือ เราไม่รับภิกษาอันเขาตักจากหม้อให้. บทว่า น กโฬปิมุขา ความว่า หม้อข้าว หรือ ปัจฉิ ชื่อว่า กโฬปิ เราไม่รับภิกษาจากหม้อข้าวนั้น เพราะเหตุไร เพราะว่า เจ้าของหม้อข้าว อาศัยเรา จะได้การประหารด้วยทัพพี.

บทว่า น เอฬกมนฺตรํ ความว่า เราไม่รับภิกษาที่เขายืนคร่อมธรณีประตูให้ เพราะเหตุไร เพราะว่าบุคคลนี้อาศัยเราแล้ว ย่อมได้กระทําในระหว่าง. แม้ในท่อนไม้ และสากทั้งหลายก็นัยนี้แหมือนกัน.

บทว่า น ทฺวินฺนํ ความว่า ครั้นเมื่อคนสองคนกําลังบริโภค คนหนึ่งลุกขึ้นให้ เราก็ไม่รับ เพราะเหตุไร เพราะว่า จะมีอันตรายจากการทะเลาะ.

ก็ในบททั้งหลาย มีบทว่า น คพฺภินิยา เป็นต้น ทารกในท้องของหญิงมีครรภ์ จะลําบาก เมื่อหญิงให้ดื่มน้ำนมอยู่ ทารกก็จะมีอันตรายแต่น้ำนม. บทว่า ปุริสนฺตรคตาย ความว่า เราไม่รับด้วยคิดว่าจะมีอันตรายแต่ความยินดี.

บทว่า น สํกิตฺตีสุ ความว่า ไม่รับภิกษาที่นัดแนะกันทําไว้ ได้ยินว่า ในเวลาข้าวยากหมากแพง สาวกของอเจลกทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 63  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 99

ก็จะชักชวนกันรวบรวมข้าวสารเป็นต้นจากที่นั้นๆ หุงภัตเพื่อประโยชน์แก่อเจลกทั้งหลาย อเจลกผู้เคร่งครัดไปแล้ว ไม่รับ.

บทว่า น ยตฺถ สา ความว่า ในที่ใด สุนัขได้รับการเลี้ยงดูว่า เราจักได้ก้อนข้าว เราไม่รับภิกษาที่เขาไม่ให้แก่สุนัขในที่นั้นแล้วนํามา เพราะเหตุไร. เพราะว่า สุนัขนั้นจะมีอันตรายจากก้อนข้าว.

บทว่า สณฺฑสณฺฑจารินี ความว่า มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่มๆ ก็ถ้ามนุษย์ทั้งหลายเห็นอเจลกแล้ว คิดว่า เราจักให้ภิกษาแก่อเจลกนี้ เข้าไปสู่โรงครัว ก็ครั้นพวกเขาเข้าโรงครัว แมลงวันทั้งหลายที่จับอยู่ที่ปากหม้อข้าวเป็นต้น ก็จะบินไต่ตอมเป็นกลุ่มๆ เราไม่รับภิกษาที่เขานํามาจากหม้อข้าวนั้น เพราะเหตุไร เพราะว่า แมลงวันทั้งหลายจะมีอันตรายจากอาหาร เพราะอาศัยเรา แม้เราก็ได้ทําอย่างนั้นแล้ว.

บทว่า น ถุโสทกํ ความว่า น้ำที่หมักเกลือที่เขาทําด้วยข้าวหมักทั้งหมด ก็ในที่นี้ การดื่มสุรานั้นเทียว มีโทษ ก็คนนี้มีความสําคัญว่ามีโทษ. ผู้ได้ภิกษาในเรือนเดียวเท่านั้นแล้ว กลับ ชื่อว่า เอกาคาริกะ. ผู้เลี้ยงชีพด้วยภิกษาคําเดียวเท่านั้นชื่อว่า เอกาโลปิกะ. แม้ในบททั้งหลายมี ทฺวาคาริกา เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า เอกิสฺสาปิ ทตฺติยา ความว่าด้วยถาดใบน้อยหนึ่ง ถาดเล็กๆ ใบหนึ่ง ซึ่งเขาใส่ภิกษาอย่างเลิศไว้ ชื่อว่า ทัตติ.

บทว่า เอกาหิกํ ได้แก่ภิกษาที่เก็บค้างในระหว่างหนึ่งวัน. บทว่า อฑฺฒมาสิกํ ได้แก่ภิกษาที่เก็บค้างในระหว่างกึ่งเดือน. บทว่า ปริยายภตฺตโภชนํ ความว่า บริโภคภัตตวาระ คือ บริโภคภัตที่เวียนมาตามวาระแห่งวันอย่างนี้ คือ วาระหนึ่งวัน วาระสองวันวาระเจ็ดวัน วาระกึ่งเดือน.

บทว่า สากภกฺโข ได้แก่ มีผักดองสดเป็นภักษา. บทว่า สามากภกฺโข ได้แก่ มีข้าวสารแห่งข้าวฟ่างเป็นภักษา. ข้าวเหนียวที่เกิดเองในป่า ชื่อว่า ลูกเดือย ในบททั้งหลายมีนีวาราเป็นต้น.

บทว่า ททฺทุลํ ได้แก่ กากข้าวซึ่งเขาขัดเอาเปลือกออกหมดแล้วทิ้ง. เปลือก

 
  ข้อความที่ 64  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 100

ไม้ก็ดี สาหร่ายก็ดี ยางไม้มีกรรณิกาเป็นต้นก็ดี เรียกว่า หฏะ.

บทว่า กณํ ได้แก่ รําข้าว. บทว่า อาจาโม ได้แก่ ข้าวที่ไหม้เกรียมติดหม้อข้าว ถือเอาข้าวดังนั้นในที่ซึ่งเขาทิ้งแล้วเคี้ยวกิน. อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า น้ำข้าวดังนี้บ้าง. วัตถุทั้งหลายมีแป้งเป็นต้น ปรากฏแล้ว.

บทว่า ปวตฺตผลโภชี ได้แก่บริโภคผลไม้ที่หล่นแล้ว.

บทว่า สาณานิ ได้แก่ผ้าเปลือกป่าน. บทว่า มสาณานิ คือ ผ้าแกมกัน.

บทว่า ฉวทุสฺสานิ ได้แก่ ผ้าที่เขาทิ้งจากศพ. หรือผ้าที่เขาถักวัตถุมีหญ้าตะไคร้น้ำเป็นต้น ทําเป็นผ้านุ่ง.

บทว่า ปํสุกูลานิ ได้แก่ ผ้าเปื้อนที่เขาทอดทิ้งในแผ่นดิน. บทว่า ติริฏานิ ได้แก่ผ้าเปลือกไม้.

บทว่า อชินํ คือ หนังเสือ. บทว่า อชินกฺขิปํ คือ หนังเสือนั้นเอง มีทาฬิกะในท่ามกลาง บางท่านกล่าวว่า มีเล็บ ดังนี้บ้าง.

บทว่า กุสจีรํ คือ ผ้าที่เขาถักหญ้าคาทําเป็นผ้า. แม้ในผ้าเปลือกปอ และผ้าที่ทําจากผลไม้ทั้งหลาย ก็มีนัยเช่นเดียวกัน.

บทว่า เกสกมฺพลํ ได้แก่ผ้ากัมพลที่ทําด้วยผมมนุษย์ทั้งหลาย. ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผ้าบางอย่างที่เขาทอแล้ว ผ้ากัมพลที่ทําด้วยผมมนุษย์ เลวกว่าผ้าเหล่านั้น ในเวลาหนาวก็จะเย็น ในเวลาร้อนก็จะร้อน มีราคาน้อย มีสัมผัสหยาบ และระเหยกลิ่นเหม็น.

บทว่า วาลกมฺพลํ คือ ผ้ากัมพลที่ทําด้วยขนม้าเป็นต้น.

บทว่า อุลูกปกฺขํ ได้แก่ ผ้าที่เขาถักขนปีกนกเค้าทําเป็นผ้านุ่ง.

บทว่า อุพฺภฏฺโก ได้แก่ เป็นผู้ยืนขึ้น.

บทว่า อุกฺกุฎิกปฺปธานมนุยุตฺโต คือ ผู้ตามประกอบความเพียรนั่งกระโหย่ง แม้เมื่อจะเดินก็เป็นผู้กระโหย่ง เหยียบพื้นไม่เต็มเท้าเดินไป.

บทว่า กณฺฏกาปสฺสยิโก ความว่า ทรงแสดงว่า เราตอกหนามเหล็ก หรือหนามปกติในแผ่นดินแล้ว ลาดหนังบนหนามนั้นแล้วทํากิจมีการยืน และการจงกรมเป็นต้น.

บทว่า เสยฺยํ ความว่า เราแม้เมื่อจะนอน ก็สําเร็จการนอนบนหนามนั้นนั่นเทียว.

บทว่า สายตติยกํ

 
  ข้อความที่ 65  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 101

คือ วันละสามครั้ง ทรงแสดงว่า เราขวนขวายการประกอบเนืองๆ ซึ่งการลงน้ำอยู่ว่า เราจักลอยบาปวันละสามครั้ง คือ เวลาเช้า เวลาเที่ยง เวลาเย็น.

บทว่า เนกวสฺสคณิกํ ได้แก่สั่งสมในการนับด้วยปีมิใช่น้อย.

บทว่า รโชชลฺลํ ได้แก่มลทิน คือ ธุลี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงกาลแห่งสมาทานรโชชัลลกวัตรของพระองค์ จึงตรัสถึงมลทินคือ ธุลีนี้.

บทว่า เชคุจฺฉิสฺมิํ คือ ในภาวะทรงเกลียดบาป.

บทว่า ยาว อุทกพินฺทุมฺหิปิ ความว่า เราได้ตั้งความเอ็นดูแม้ในหยดน้ำ ก็จะกล่าวไปใยในก้อนกรวด ก้อนดิน ท่อนไม้ และทรายเป็นต้น เหล่าอื่นเล่า. ได้ยินว่า เขาเหล่านั้นบัญญัติหยดน้ำ และวัตถุทั้งหลายมีก้อนกรวด และก้อนดินเป็นต้น เหล่านั้นว่าเป็นสัตว์เล็กๆ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า เราได้ตั้งความเอ็นดูเพียงในหยดน้ำ ดังนี้. เราไม่ฆ่าไม่ล้างผลาญแม้หยดน้ำ เพราะเหตุไร. เพราะเราอย่าได้ล้างผลาญสัตว์เล็กๆ ที่อยู่ในที่อันไม่สม่ําเสมอเลย เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่ล้างผลาญ คือ ฆ่าสัตว์เล็กๆ กล่าวคือ หยดน้ำที่อยู่ในที่เสมอดุจในเนิน บนบก ปลายหญ้า และกิ่งไม้ เป็นต้น เพราะฉะนั้น จึงทรงแสดงเนื้อความนั้นว่า เรามีสติก้าวไปข้างหน้า ดังนี้. นัยว่า ในอเจลกทั้งหลาย อเจลก ชื่อว่า เป็นผู้มีศีล จําเดิมแต่กาลแห่งตนเหยียบแผ่นดินไม่มี อเจลกทั้งหลายถึงไปสู่ภิกษาจาร ก็เป็นผู้ทุศีลไป ถึงบริโภคในเรือนอุปัฏฐากทั้งหลาย ก็เป็นผู้ทุศีลบริโภค แม้กลับมา ก็เป็นผู้ทุศีลกลับมา. แต่ในเวลาอเจลกทั้งหลายเข้าสู่กระดานโดยแววหางนกยูงอธิษฐานศีลนั่งอยู่ ในเวลานั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้มีศีล.

บทว่า วนกมฺมิกํ ได้แก่ผู้เที่ยวไปในป่า เพื่อประโยชน์แก่เหง้าราก และผลไม้เป็นต้น.

บทว่า วเนน วนํ คือจากป่าสู่ป่า. ในบททั้งปวงก็มีนัยนี้. บทว่า ปปตามิ คือเราไป.

บทว่า อารฺโก คือเนื้ออยู่ประจําในป่า ทรงหมายถึงกาลแห่งอาชีวกของพระองค์ จึงตรัสคํานี้. นัยว่า พระโพธิสัตว์บวชเป็นอาชีวกนั้น

 
  ข้อความที่ 66  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 102

เพื่อประโยชน์แก่ทรงยึดการอยู่ป่าเป็นวัตร แม้ทรงรู้ถึงความบรรพชานั้นไม่มีประโยชน์ แต่ก็ไม่ได้สึก เพราะพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ย่อมไม่เวียนกลับจากฐานะที่เข้าถึงเป็นธรรมดา แต่ครั้นบวชแล้ว ก็ทรงคิดว่า ใครๆ อย่าได้เห็นเรา แต่นั้นเทียวจึงเสด็จเข้าป่า เพราะเหตุนั้นแล จึงตรัสว่า ชนเหล่านั้นอย่าได้เห็นเรา และเราก็อย่าได้เห็นชนเหล่านั้น ดังนี้.

บทว่า โคฏฺา ได้แก่ คอกโค. บทว่า ปติฏฺิตคาโว คือ เหล่าโคออกไปแล้ว. ในบทเหล่านั้น บทว่า จตุกุณฺฑิโก ความว่า เที่ยวไป ยืนมองเห็นคนเลี้ยงโคออกไปพร้อมกับโคทั้งหลายแล้ว วางมือทั้งสองข้าง และเข่าทั้งสองลงบนแผ่นดินคลานเข้าไปอย่างนี้. บทว่า ตานิ สุทํ อาหาเรมิ ความว่า กากโคมัยของลูกโคแก่ย่อมไม่มีโอชารส เพราะฉะนั้น เว้นกากโคมัยเหล่านั้น จึงกินโคมัยที่มีรสโอชะของลูกโคอ่อนซึ่งยังดื่มน้ำนมเต็มท้องแล้ว เข้าสู่ราวป่าอีกนั้นเทียว. ทรงหมายถึงคํานี้ จึงตรัสว่า นัยว่า เรากินโคมัยเหล่านั้น ดังนี้.

บทว่า ยาว กีวฺจ เม ความว่า มูตร และกรีสของตนของเรา ยังไม่สิ้นไปตลอดกาลใด รอยเท้าที่ประตูของเรายังเป็นไปเพียงใด เราก็กินมูตร และกรีสนั้นเทียว ตลอดกาลเพียงนั้น. ก็ครั้นเมื่อกาลล่วงไปๆ เนื้อและโลหิตสิ้นไป รอยเท้าในประตูหมดไป เราก็กินโคมัยของลูกโคอ่อน. บทว่า มหาวิกฏโภชนสฺมิํ ได้แก่ในโภชนะชนิดใหญ่ อธิบายว่า ในโภชนะผิดปกติ.

คําว่า ตตฺร ในบทว่า ตตฺร สุทํ สารีปุตฺต ภิํสนกสฺส วนสณฺฑสฺส ภีสนกสฺมิํ โหติ เป็นคําบ่งถึงคําต้น. ศัพท์ว่า สุทํ เป็นนิบาตในคําสักว่าทําบทให้เต็ม. บทว่า สารีปุตฺต เป็นคําร้องเรียก. ก็อรรถโยชนาในบทนั้นมีดังนี้. บทว่า ตตฺร ความว่า เป็นความน่ากลัวแห่งราวป่าที่น่ากลัวที่ตรัสไว้ในบทว่า ในราวป่าอันน่ากลัว แห่งใดแห่งหนึ่ง อธิบายว่า เป็นการกระทําที่น่ากลัว. เป็นอย่างไร เป็นอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งยังไม่ปราศ-

 
  ข้อความที่ 67  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 103

จากราคะเข้าไปสู่ป่านั้น โดยมากขนพอง ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ตตฺร เป็นสัตตมีวิภัติลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ. คําว่า สุ เป็นนิบาต เหมือนในคําเป็นต้นว่า กิํสุ นาม โภนฺโต สมณพฺราหฺมณา.

บทว่า อิทํ เป็นคําแสดงทําเนื้อความที่ประสงค์แล้วดุจให้ประจักษ์. บทว่า สุอิทํ เป็น สุทํ พึงทราบการลบอิอักษรด้วยอํานาจสนธิ ดุจในคําเป็นต้นว่า จกฺขุนฺทฺริยํ อิตฺถินฺทฺริยํ อนฺตฺสฺสามีตินฺทฺริยํ กิํสูธ วิตฺตํ ดังนี้. ก็โยชนา ในบทนั้นดังนี้. ดูก่อนสารีบุตร นี้แลเป็นความน่ากลัวแห่งแนวป่าอันน่ากลัวนั้น.

บทว่า ภิํสนกตสฺมิํ ความว่า ในภาวะอันน่ากลัว. พึงเห็นการลบ ต อักษรตัวหนึ่ง. บาลีว่า ภิํสนกตสฺมิํเยว ดังนี้ก็มี. อีกอย่างหนึ่ง ครั้นเมื่อกล่าวว่า ภิํสนกตาย เป็นอันกระทําความคลาดเคลื่อนทางลิงค์. ก็ในบทนี้ เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถว่าเครื่องหมาย. เพราะฉะนั้น พึงทราบความสัมพันธ์อย่างนี้. นี้แลเป็นความน่ากลัว คือ มีความน่ากลัวเป็นนิมิต มีความน่ากลัวเป็นเหตุ มีความน่ากลัวเป็นปัจจัย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งยังไม่ปราศจากราคะเข้าไปสู่ป่านั้น โดยมากขนพองคือ ขนมากกว่า ย่อมพอง มีปลายตั้งขึ้นเป็นเช่นกับเข็ม และเป็นเช่นกับหนามตั้งอยู่ ที่ไม่พองมีน้อย หรือขนของสัตว์ทั้งหลายมากกว่า ย่อมพอง ขนของบุรุษผู้กล้าหาญมาก มีน้อย ย่อมไม่พองดังนี้.

บทว่า อนฺตรฏฺกา ความว่า ๘ ราตรีในระหว่าง ๒ เดือนอย่างนี้ คือ ในสุดท้ายเดือนสาม ๔ ราตรี ในต้นเดือนสี่ ๔ ราตรี. บทว่า อพฺโภกาเส ความว่า พระมหาสัตว์ประทับอยู่ในกลางแจ้ง ตลอดราตรีในสมัยหิมะตก. ลําดับนั้น หยดหิมะทั้งหลาย ปกคลุมขุมพระโลมาทุกขุมขนของพระมหาสัตว์นั้นดุจแก้วมุกดา สรีระทั้งหมดเป็นเหมือนคลุมด้วยผ้าหยาบสีขาวฉะนั้น. บทว่า ทิวา วนสณฺเฑ ความว่า ครั้นเมื่อหยดหิมะทั้งหลายไปปราศแล้ว เพราะสัมผัสแสงพระอาทิตย์ในกลางวัน แม้พระอัสสาสะพึงมี แต่พระมหาสัตว์นี้

 
  ข้อความที่ 68  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 104

ครั้นพระอาทิตย์ขึ้นอยู่ก็เสด็จเข้าไปสู่ราวป่า. แม้ในราวป่านั้น หิมะละลายเพราะแสงพระอาทิตย์ก็ตกลงในพระสรีระของพระโพธิสัตว์นั้นเทียว.

บทว่า ทิวา อพฺโภกาเส วิหรามิ รตฺติํ วนสณฺเฑ ความว่า ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์นั้นประทับในกลางแจ้งตลอดวันในคิมหกาล. ด้วยเหตุนั้น สายพระเสโทจึงไหลออกจากพระกัจฉะทั้งสองข้างของพระโพธิสัตว์นั้น พึงมีพระอัสสาสะตลอดคืน ก็พระโพธิสัตว์นี้ ครั้นพระอาทิตย์อัสดงคต ก็เสด็จเข้าไปสู่ราวป่า. ลําดับนั้น ในราวป่าที่มีไอร้อนระอุในกลางวัน อัตตภาพของพระองค์ก็เร่าร้อนเหมือนถูกใส่ในหลุมถ่านเพลิงฉะนั้น.

บทว่า อนจฺฉริยา ได้แก่อัศจรรย์น้อย.

บทว่า ปฏิภาสิ ได้แก่ปรากฏแล้ว.

บทว่า โส ตตฺโต ความว่าร้อนแผดเผาด้วยแสงแดดในกลางวัน ด้วยไอร้อนระอุในป่าใหญ่ในกลางคืน.

บทว่า โส สิโน ความว่า เปียกชุ่มด้วยดี ด้วยหิมะในกลางคืน ด้วยน้ำหิมะในกลางวัน.

บทว่า ภิสนเก ได้แก่ อันให้เกิดความกลัว.

บทว่า นคฺโค ได้แก่ปราศจากผ้า ท่านแสดงว่า ก็ครั้นเมื่อมีผ้านุ่ง และผ้าห่ม หนาว หรือร้อนไม่พึงเบียดเบียนยิ่ง ผ้านุ่ง และผ้าห่ม แม้นั้นของเราก็ไม่มี. บทว่า น จคฺคิมาสิโน คือ ไม่ได้ผิงแม้ไฟ.

บทว่า เอสนาปสุโต ได้แก่ขวนขวาย คือ ประกอบเพื่อประโยชน์แก่การแสวงหาความหมดจด.

บทว่า มุนี ความว่า ในกาลนั้นพระองค์ทรงทําพระองค์เป็นมุนีแล้วตรัส.

บทว่า ฉวฏฺิกานิ ได้แก่ กระดูกทั้งหลายที่ทอดทิ้งเรี่ยราด.

บทว่า อปณิธาย คือ ทรงแสดงว่า หมอนหนุนศีรษะ และหมอนหนุนเท้าย่อมปรากฏฉันใด พระองค์ทรงลาดแล้วสําเร็จการบรรทมบนกองกระดูกนั้นฉันนั้น.

บทว่า โคมณฺฑลา ได้แก่พวกเด็กเลี้ยงโค ได้ยินว่า เด็กเหล่านั้นไปสู่สํานักของพระโพธิสัตว์แล้วกล่าวว่า ข้าแต่สุเมธะ ท่านนั่งกล่าวอยู่ในที่นี้ เพราะเหตุไร. พระโพธิสัตว์ทรงนั่งก้มพระพักตร์ ไม่ตรัส. ลําดับนั้น เด็กเลี้ยงโคเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 69  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 105

ล้อมพระโพธิสัตว์นั้นแล้วร้องตะโกนว่า พวกเราจักไม่ให้เพื่อให้ตรัส จึงถ่มน้ำลายรดพระสรีระ. พระโพธิสัตว์ก็ไม่ตรัสแม้อย่างนั้น. ลําดับนั้น พวกเด็กเลี้ยงโคโกรธพระโพธิสัตว์ว่า ท่านไม่ยอมกล่าว จึงถ่ายปัสสาวะรดเบื้องบนพระโพธิสัตว์นั้น. แม้อย่างนั้น พระโพธิสัตว์ก็ไม่ตรัสเลย. แต่นั้นจึงโปรยฝุ่นรดพระโพธิสัตว์นั้นว่า ท่านจงพูด ท่านจงกล่าว ดังนี้. แม้อย่างนี้ พระโพธิสัตว์ก็ไม่ตรัสนั้นเทียว. ลําดับนั้น จึงกล่าวว่า ท่านไม่พูดแล้วเอาคิ้วไม้ยอนที่ช่องพระกรรณทั้งสองข้างของพระโพธิสัตว์นั้น. พระโพธิสัตว์ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อน ย่อมปรารถนาเหมือนคนตายว่า เราจักไม่กล่าวคําอะไรแก่ใครเลย. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ก็เราไม่รู้สึกว่า ยังจิตอันลามกให้เกิดขึ้นในพวกเด็กเหล่านั้นเลย ดังนี้. อธิบายว่าแม้จิตชั่วอันเราไม่ให้เกิดแล้วในพวกเด็กเหล่านั้น.

บทว่า อุเปกฺขาวิหารสฺมิํ โหติ คือเป็นผู้อยู่ด้วยอุเบกขา. ก็วิหารเทียว เรียกว่า วิหารสฺมิํ ก็ด้วยบทนั้นเทียว พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า อยํสุ เม แม้ในบทนี้ว่า อิทํสุ เม ในที่นี้. พึงทราบแม้บทเห็นปานนี้แม้เหล่าอื่นโดยนัยนี้. ทรงแสดงอุเบกขาวิหารที่ทรงบําเพ็ญแล้วตลอด ๙๑ กัปแต่นี้ ด้วยบทนี้. ทรงหมายถึงอุเบกขาวิหาร จึงตรัสว่า

เมื่อประสบสุข เราก็ไม่ยินดี เมื่อประสบทุกข์ เราก็ไม่เสียใจ เราไม่ติดในสุข และทุกข์ทั้งปวง นั่นเป็นอุเบกขาบารมีของเรา.

บทว่า อาหาเรน สุทฺธิ คือ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายอาจเพื่อหมดจดด้วยอาหารนิดหน่อยบางอย่างเช่น พุทราเป็นต้น.

บทว่า เอวมาหํสุ ได้แก่พูดอย่างนี้.

บทว่า โกเลหิ ได้แก่ พุทราทั้งหลาย.

บทว่า

 
  ข้อความที่ 70  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 106

โกโลทกํ คือ น้ำดื่มที่เขาขยําผลพุทราทั้งหลายแล้วทํา.

บทว่า โกลวิกติํ ได้แก่ ชนิดแห่งพุทรา เช่น สลัดพุทรา ขนมพุทรา และก้อนพุทราเป็นต้น.

บทว่า เอตปรโม ความว่า นั่นเป็นประมาณอย่างยิ่งของพุทรานั้น เพราะฉะนั้น พุทรานั้นจึงชื่อว่า เอตปรโม มีผลใหญ่ อธิบายว่า ก็ในกาลนั้น ในที่สุด ๙๑ กัป พุทราไม่ใหญ่เท่าผลมะตูมสุก และผลตาลสุก คงใหญ่เท่าพุทราในบัดนี้เท่านั้น.

บทว่า อธิมตฺตกสีมานํ ความว่า ทรงผอมอย่างยิ่ง.

บทว่า อสีติกปพฺพานิ วา กาฬปพฺพานิ วา คือ ทรงแสดงว่า เถาวัลย์ที่มีข้อมาก หรือเถาวัลย์มีข้อดํา ที่เหี่ยวแห้งในที่ต่อ ย่อมนูนขึ้น และแฟบลงในท่ามกลางฉันใด อวัยวะน้อยใหญ่ของเราก็เป็นฉันนั้น.

บทว่า โอฏฺปทํ ความว่า เท้าอูฐ เป็นธรรมชาติลึกในท่ามกลางฉันใด ครั้นเมื่อเนื้อ และเลือดเหือดแห้ง ตะโพกของพระโพธิสัตว์ก็ลึกในท่ามกลาง เพราะความที่วัจจทวารเข้าไปในภายในฉันนั้นเหมือนกัน. ทีนั้น สถานที่นั่งในแผ่นดินของพระโพธิสัตว์นั้น ก็จะนูนขึ้นในท่ามกลาง เหมือนประทับด้วยกระบอกลูกศร.

บทว่า วฏฺฏนาวลี ความว่า เถาสะบ้าที่เขาฟั่นทําเป็นเชือกก็จะแฟบในระหว่างๆ แห่งเถาสะบ้า จะนูนขึ้นในที่เป็นเกลียวฉันใด กระดูกสันหลังนูนขึ้นเป็นปุ่มๆ ฉันนั้น.

บทว่า ชรสาลาย โคปานสิโย ได้แก่ กลอนแห่งศาลาเก่า. กลอนเหล่านั้นหลุดจากโครงแล้วตั้งอยู่ในบริเวณ กลอนที่อยู่ในบริเวณก็จะหลุดอยู่ในที่พื้นดิน เพราะฉะนั้น ก็จะเหลื่อมขึ้นและเหลื่อมลง คือ ตัวหนึ่งอยู่บน ตัวหนึ่งอยู่ข้างล่าง ก็กระดูกซี่โครงของพระโพธิสัตว์ไม่เป็นอย่างนั้น. เพราะครั้นพระโลหิตขาด พระมังสะเหี่ยวแห้ง พระโพธิสัตว์นั้นก็มีพระจัมมะโดยระหว่างกระดูกซี่โครง เหลื่อมลง ทรงหมายถึงกระดูกซี่โครงนั้น จึงตรัสบทนี้.

บทว่า โอกฺขายิกา ได้แก่ลึกเข้าไปในเบื้องล่าง. นัยว่าครั้นเมื่อพระโลหิตขาด พระมังสะเหี่ยวแห้ง เบ้าตาของพระโพธิสัตว์นั้น

 
  ข้อความที่ 71  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 107

ก็ลึกจดมันสมอง เพราะเหตุนั้น ดวงตาของพระโพธิสัตว์นั้นจึงเป็นอย่างนั้น.

บทว่า อามกจฺฉินฺโน ได้แก่ ตัดแล้วในเวลายังอ่อน. ก็น้ำเต้าขมนั้นสัมผัสกับลมและแดดย่อมเหี่ยวแห้ง.

บทว่า ยาวสฺสุ เม สารีปุตฺต ความว่าดูก่อนสารีบุตร ผิวหนังท้องของเราเหี่ยวติดกระดูกสันหลัง. อีกประการหนึ่งพึงทราบความสัมพันธ์ในบทนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร การบําเพ็ญทุกกรกิริยาของเรา ยังเป็นภาระหนักเพียงใด ผิวหนังท้องของเราก็เหี่ยวติดกระดูกสันหลังเพียงนั้น.

บทว่า ปิฏฺิกณฺฏกฺเว ปริคฺคณฺหามิ ความว่า เราคิดว่าจะจับผิวหนังท้อง ลูบคลําผิวหนังท้องอย่างเดียว ก็คลําถูกกระดูกสันหลังทีเดียว.

บทว่า อวกุชฺโช ปปตามิ ความว่า เมื่อพระองค์นั้นนั่งเพื่อประโยชน์แก่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ปัสสาวะไม่ออกเลย แต่วัจจะมีเพียงเม็ดตุมกา ๑ - ๒ ก้อน ก็ยังทุกข์อันมีกําลังให้เกิดขึ้น เหงื่อทั้งหลายก็ไหลออกจากสรีระ. พระองค์ก็ซวนล้มลงในพื้นดินในที่นั้นเอง. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า เราซวนล้ม ดังนี้.

บทว่า ตเมว กายํ ได้แก่ กายที่สุดใน ๙๑ กัป. ก็ทรงหมายถึงกายในภพสุดท้ายในมหาสัจจกสูตร จึงตรัสว่า อิมเมว กายํ ดังนี้.

บทว่า ปูติมูลานิ ความว่า เมื่อพระมังสะ หรือพระโลหิตยังมีอยู่ พระโลมาทั้งหลายก็ตั้งอยู่ได้ แต่ในเพราะไม่มีพระมังสะพระโลหิตนั้น พระโลมาทั้งหลายดุจติดอยู่ในแผ่นหนึ่ง ก็หลุดติดพระหัตถ์ด้วย ทรงหมายถึงอาการนั้น จึงตรัสว่าขนทั้งหลายมีรากอันเน่าก็หลุดจากกายดังนี้.

บทว่า อลมริยาณทสฺสนวิเสสํ ได้แก่ โลกุตตรมรรคอันสามารถเพื่อการทําความเป็นอริยะได้.

บทว่า อิมิสสฺสาเยว อริยาย ปฺาย ความว่า เพราะไม่บรรลุวิปัสสนาปัญญา.

บทว่า ยายํ อริยา ได้แก่ บรรลุมรรคปัญญานี้ใด. ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า ชื่อว่าบรรลุมรรคปัญญา เพราะความที่วิปัสสนาปัญญาได้บรรลุแล้วในบัดนี้ ฉันใด เราไม่บรรลุโลกุตตรมรรคปัญญา เพราะความที่วิปัสสนาปัญญาไม่ได้บรรลุแล้ว

 
  ข้อความที่ 72  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 108

ในที่สุด ๙๑ กัป ฉันนั้น. ส่วนมัชฌิมภาณกเถระกล่าวว่า ปัญญาที่กล่าวว่า อิมิสฺสาเยว ก็ดี ปัญญาที่กล่าวว่า ยายํ อริยา ก็ดี คือ มรรคปัญญานั้นเทียว. ลําดับนั้น ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกะมัชฌิมภาณกเถระนั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น คําว่า เราไม่ได้บรรลุมรรค เพราะความที่มรรคได้บรรลุแล้วนี้ ท่านได้กล่าวแล้ว. พระเถระตอบว่า ดูก่อนอาวุโส เราไม่อาจเพื่อแสดงก็จริง แต่ปัญญาแม้สองอย่างนั้น คือ มรรคปัญญานั้นเทียว. ก็คํานั้นเทียวสมควรแล้วในที่นี้. ก็โดยประการนี้ นิทเทสว่า ยา อยํ ก็ไม่สมควร.

บทว่า สํ สาเรน สุทฺธิ คือ กล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายท่องเที่ยวมากย่อมหมดจด.

บทว่า อุปปตฺติยา สุทฺธิ ได้แก่กล่าวว่า เกิดขึ้นมาก ย่อมหมดจด.

บทว่า อาวาเสน สุทฺธิ คือกล่าวว่าอยู่ในที่ทั้งหลายมาก ย่อมหมดจด. ท่านกล่าวถึงขันธ์ทั้งหลายนั้นเทียวในฐานะแม้สามว่า สังสารด้วยสามารถผู้ท่องเที่ยว อุบัติด้วยสามารถผู้เกิด อาวาสด้วยสามารถผู้อยู่.

บทว่า ยฺเน ได้แก่กล่าวว่า บูชายัญมากย่อมหมดจด.

บทว่า มุทฺธาวสิตฺเตน ความว่าอภิเษกเป็นกษัตริย์ ด้วยสังข์สาม.

บทว่า อคฺคิปาริจริยาย ได้แก่กล่าวว่าย่อมหมดจดด้วยการบําเรอไฟมาก.

บทว่า ทหโร คือ หนุ่ม. บทว่า ยุวา ได้แก่ถึงพร้อมด้วยความเป็นหนุ่ม.

บทว่า สุสุกาฬเกโส คือ มีผมดําสนิท.

บทว่า ปฺาเวยฺยตฺติเยน ได้แก่ความเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม.

บทว่า ชิณฺโณ คือ ผู้อันชราครอบงํา.

บทว่า วุฑฺโฒ ได้แก่มีอวัยวะน้อยใหญ่เจริญเต็มที่แล้ว.

บทว่า มหลฺลโก คือผู้ใหญ่โดยชาติ. บทว่า อทฺธคโต ได้แก่ถึงกาลมาก คือ ผ่านกาลนาน.

บทว่า วโย อนุปฺปตฺโต ความว่า ผ่านปัจฉิมวัยอันเป็นส่วนที่สามแห่งร้อยปี.

บทว่า อสีติโก เม วโย วตฺตติ ความว่า นัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตรนี้ในปีแห่งปรินิพพาน เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนี้.

บทว่า ปรมาย คือ อุดม. ย่อมกล่าวถึงร้อยบทบ้าง

 
  ข้อความที่ 73  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 109

พันบทบ้าง

ในบทว่า สติยา เป็นต้น ความเป็นผู้สามารถเรียน ชื่อว่า สติ. ความเป็นผู้สามารถทรงไว้และผูกไว้ ชื่อว่า คติ. ความเพียรที่สามารถเพื่อทําการสาธยายที่เรียนแล้ว ทรงจําแล้วอย่างนี้ ชื่อว่า ธิติ. ความเป็นผู้สามารถเห็นเนื้อความและการณ์แห่งธิตินั้น ชื่อว่า ปัญญาเวยยัตติยะ.

บทว่า ทฬฺหธมฺโม ธนุคฺคโห ความว่า นักธนูยืนจับธนู มั่นคง. กําลังสองพันเรียกชื่อว่า ทัฬหธนู ธนูใดที่ยกขึ้นแล้ว มีสายผูก มีความหนักเท่าท่อนเหล็กเป็นต้น จับคันยกขึ้นพ้นจากดิน ประมาณคอ ธนูนั้น ชื่อว่า มีกําลังสองพัน.

บทว่า สิกฺขิโต ความว่า มีศิลปะที่เรียนแล้วในตระกูลอาจารย์ถึงสิบสองปี.

บทว่า กตหตฺโถ ความว่า บางคนเรียนเพียงศิลปะเท่านั้น ไม่ได้รับการฝึกหัด แต่นายธนูนี้ได้รับการฝึกหัดแล้วชํ่าชอง ชํานิชํานาญ เคยแสดงฝีมือมาแล้ว คือ มีศิลปะที่ได้แสดงแล้วในที่ทั้งหลายมีราชตระกูลเป็นต้น.

บทว่า ลหุเกน อสเนน ความว่า ด้วยลูกศรขนาดเบา ซึ่งบริกรรมด้วยครั่งที่ทําร่องไว้ภายในทําให้เต็มสายเป็นต้น ก็ลูกศรที่ทําอย่างนี้ ผ่านโคอสุภ ๑ ตัว ทะลุโคอสุภ ๒ ตัวได้ ศรที่ผ่านโคอสุภ ๘ ตัวทะลุโคอสุภ ๑๖ ตัวได้.

บทว่า อปฺปกสิเรน ได้แก่โดยไม่ยาก

บทว่า อติปาเตยฺย คือ พึงให้ทะลุ.

บทว่า เอวํ อธิมตฺตสติมนฺโต ความว่า นักธนูนั้นย่อมยิงเงา ๑ คืบ ๔ นิ้วได้รวดเร็วฉันใด สามารถเพื่อเรียน เพื่อทรงจํา เพื่อสาธยาย ร้อยบทบ้าง พันบทบ้าง และเพื่อใคร่ครวญเนื้อความและเหตุทั้งหลายได้ฉันนั้น.

บทว่า อฺตฺร อสิตปีตขายิตสายิตา ความว่า ก็กิจทั้งหลายมีการกินและการดื่มเป็นต้น เป็นกิจอันพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ดี ภิกษุทั้งหลายก็ดี พึงทํา เพราะฉะนั้น จึงทรงแสดงว่า เว้นเวลาสักว่าทํากิจทั้งหลายมีการกินและการดื่มเป็นต้นนั้น.

บทว่า อปริยาทินฺนาเยว ความว่า อันไม่รู้จักจบสิ้น. ก็ถ้าภิกษุรูปหนึ่งถามกายานุปัสสนา อีกรูปถามเวทนานุปัสสนา อีกรูปถาม จิตตานุ-

 
  ข้อความที่ 74  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 110

ปัสสนา อีกรูปถามธัมมานุปัสสนา ภิกษุแต่ละรูปย่อมไม่มองดูกัน ว่าเราถูกภิกษุนี้ถามแล้วก็จักถาม. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น วาระของภิกษุเหล่านั้น ย่อมปรากฏ. แต่วาระของพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกายานุปัสสนาโดย ๑๔ วิธี เวทนานุปัสสนาโดย ๙ วิธี จิตตานุปัสสนาโดย ๑๖ วิธี ธัมมานุปัสสนาโดย ๕ วิธี ก่อนกว่าการยิงเงา ๑ คืบ ๔ นิ้วอย่างรวดเร็วเสียอีก. สติปัฏฐาน ๔ นั้น จงยกไว้ก่อน. ก็ถ้าภิกษุ ๔ รูปอื่นพึงถามปัญหาในสัมมัปปธานทั้งหลาย อีกพวกหนึ่งถามปัญหาในอิทธิบาท อีกพวกหนึ่งพึงถามปัญหาในอินทรีย์ ๕ อีกพวกหนึ่งพึงถามปัญหาในพละ ๕ อีกพวกหนึ่งพึงถามปัญหาในโพชฌงค์ ๗ อีกพวกหนึ่งพึงถามปัญหาในองค์มรรค ๘ ไซร้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงตรัสปัญหาแม้นั้นได้. อนึ่ง องค์มรรค ๘ นั่นจงยกไว้. ถ้าชน ๓๗ คนอื่น พึงถามปัญหาในโพธิปักขิยธรรมทั้งหลายไซร้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงตรัสปัญหาแม้นั้นได้ก่อนทีเดียว. เพราะเหตุไร. เพราะมหาชนชาวโลกย่อมกล่าวได้บทหนึ่งโดยประมาณเท่าใด พระอานนทเถระย่อมกล่าวได้ ๘ บทโดยประมาณเท่านั้น. ก็ครั้นเมื่อพระอานนทเถระกล่าวได้บทเดียวเท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสได้ ๑๖ บท. เพราะเหตุไร. เพราะพระชิวหาของพระผู้มีพระภาคเจ้าอ่อน ไรพระทนต์เรียบสนิท พระวจนะไม่ติดขัด ภวังคปริวาสเบา. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ธรรมเทศนาของตถาคตนั้น จึงไม่รู้จักจบสิ้น ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมเทสนา ได้แก่ วางระเบียบแบบแผน.

บทว่า ธมฺมปทพฺยฺชนํ ความว่า บทพยัญชนะแห่งบาลี คืออักษรอันเป็นตัวพยัญชนะแห่งอรรถนั้นๆ.

บทว่า ปฺหปฏิภานํ ได้แก่ ปัญหาพยากรณ์. ทรงแสดงอะไรด้วยบทนี้. ทรงแสดงอย่างนี้ว่า ในกาลก่อนเวลายังหนุ่ม ตถาคตย่อมอาจเพื่อประมวลอักษรทั้งหลายกล่าวเป็นบทได้ ย่อมอาจเพื่อประมวลบท

 
  ข้อความที่ 75  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 111

ทั้งหลายกล่าวเป็นคาถาได้ ย่อมอาจเพื่อกล่าวอรรถะ ด้วยคาถาอันประกอบด้วยบท มี ๔ อักษรบ้าง มี ๑๖ อักษรบ้าง แต่ในเวลาแก่ ณ บัดนี้ ไม่อาจเพื่อประมวลอักษรทั้งหลายกล่าวเป็นบท หรือประมวลบททั้งหลาย กล่าวเป็นคาถา หรือกล่าวอรรถะด้วยคาถาได้ ดังกล่าวมานี้ย่อมไม่มี ในเวลาหนุ่ม และในเวลาแก่ ธรรมเทศนาเป็นต้นทั้งหมดนั้นของตถาคตไม่รู้จักจบสิ้น.

บทว่ามฺจเกน เจ มํ ความว่า ทรงกําหนดบทนี้แล้วตรัส เพื่อทรงแสดงกําลังของพระพุทธเจ้านั้นเอง. ก็ชื่อว่ากาลในการยกพระทศพลขึ้นสู่เตียงน้อยแล้ว บริหารทั่ว คาม นิคม และราชธานี ไม่มี. ก็พระตาถาคตทั้งหลายผู้อันลักษณะมี ฟันหลุด เป็นต้น ไม่ครอบงําแล้วในส่วนแห่งอายุที่ห้า เมื่อความเปลี่ยนแปลงทางวรรณะของสรีระอันมีวรรณะดุจทองไม่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมปรินิพพานในกาลเป็นที่รักเป็นที่ชอบของเทวดาแสะมนุษย์ทั้งหลายนั้นเทียว.

บทว่า นาคสมาโล เป็นชื่อของพระเถระนั้น. ก็ในปฐมโพธิกาลระหว่างภายใน ๒๐ ปี พระนาคสมาละแม้นี้เป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนพระอุปวานเถระ พระนาคิตเถระ และพระเมฆิยเถระ.

บทว่า วีชยมาโน คือยังความสุขในฤดูให้ตั้งขึ้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยลมจากพัดใบตาลอันอ่อน.

บทว่า เอตทโวจ ความว่า พระเถระฟังพระสูตรทั้งสิ้นจบแล้ว อาศัยการบําเพ็ญทุกกรกิริยา ซึ่งเคยบําเพ็ญแล้วในกาลก่อนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเลื่อมใสแล้ว จึงกราบทูลคําเป็นอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นอัศจรรย์ ดังนี้.

ในบทนั้น ชื่อว่า อัจฉริยะ เพราะควรแล้วเพื่อปรบมือ. ชื่อว่า อภูตะ เพราะไม่เคยมีกลับมีแล้ว. พระเถระแสดงความแปลกประหลาดของตนเทียว ด้วยบทแม้ทั้งสอง. กราบทูลคํานี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมปริยายนี้ชื่ออะไร

 
  ข้อความที่ 76  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 7 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 112

ด้วยความประสงค์ว่า ธรรมปริยายนี้ดีหนอ เอาเถิด เราจักทูลขอพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงระบุชื่อธรรมปริยายนี้. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงระบุชื่อธรรมปริยายนั้น จึงตรัสว่า ตสฺมา ติห ตฺวํ เป็นต้น. เนื้อความแห่งธรรมปริยายนั้นว่า ขนทั้งหลายของเธอพองขึ้น เพราะฟังพระสูตรนี้ เพราะเหตุนั้นแล นาคสมาละ เธอจงทรงจําธรรมปริยายนี้ว่า โลมหังสนปริยาย ดังนี้แล.

จบ อรรถกถามหาสีหนาทสูตรที่ ๒