พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. อนุมานสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ส.ค. 2564
หมายเลข  36019
อ่าน  712

[เล่มที่ 18] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 152

๕. อนุมานสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 18]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 152

๕. อนุมานสูตร

[๒๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะพํานักอยู่ ณ เภสกฬาวัน อันเป็นสถานที่ให้อภัยแก่เนื้อ ตําบลสุงสุมารคิระ ภัคคชนบท ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้มีอายุ ภิกษุเหล่านั้นรับคําของท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว.

[๒๒๒] ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าแม้ภิกษุปวารณาไว้ว่า ขอท่านจงว่ากล่าวข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเป็นผู้ควรที่ท่านจะว่ากล่าวได้ แต่ภิกษุนั้นเป็นคนว่ายาก ประกอบด้วยธรรมที่ทําให้เป็นคนว่ายาก เป็นผู้ไม่อดทน ไม่รับคําพร่ําสอนโดยเคารพ เมื่อเป็นเช่นนี้ เพื่อนพรหมจรรย์ต่างไม่สําคัญภิกษุนั้นว่า ควรว่ากล่าว ควรพร่ําสอน ทั้งไม่สําคัญว่า ควรถึงความไว้วางใจในบุคคลนั้นได้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ทําให้เป็นคนว่ายากเป็นไฉน. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ลุอํานาจแห่งความปรารถนาลามก แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก ลุอํานาจแห่งความปรารถนาลามกนี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่ายาก.

๒. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่น แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่น นี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่ายาก.

๓. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนมักโกรธ อันความโกรธครอบงําแล้ว แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนมักโกรธ อันความโกรธครอบงําแล้ว นี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่ายาก.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 153

๔. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ นี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่ายาก.

๕. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนมักโกรธ มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนมักโกรธ มักระแวง นี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่ายาก.

๖. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนมักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนมักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ นี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่ายาก.

๗. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับโต้เถียงโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับโต้เถียงโจทก์ นี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่ายาก.

๘. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับรุกรานโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับรุกรานโจทก์ นี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่ายาก.

๙. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับปรักปรําโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับปรักปรําโจทก์ นี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่ายาก.

๑๐. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 154

ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ นี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่ายาก.

๑๑. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่พอใจตอบในความประพฤติ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่พอใจตอบในความประพฤติ นี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่ายาก.

๑๒. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนลบหลู่ ตีเสมอ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนลบหลู่ ตีเสมอ นี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่ายาก.

๑๓. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนริษยา เป็นคนตระหนี่ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนริษยา เป็นคนตระหนี่ นี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่ายาก.

๑๔. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนโอ้อวด เจ้ามายา แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนโอ้อวด เจ้ามายา นี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่ายาก.

๑๕. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนกระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนกระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น นี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่ายาก.

๑๖. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนถือแต่ความเห็นของตน ถือรั้น ถอนได้ยาก แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนถือแต่ความเห็นของตน ถือรั้น ถอนได้ยาก นี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่ายาก.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ เรียกว่าธรรมที่ทําให้เป็นคนว่ายาก.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 155

ธรรมทําความเป็นคนว่าง่าย

[๒๒๓] ถ้าแม้ภิกษุไม่ปวารณาไว้ว่า ขอท่านจงว่ากล่าวข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเป็นผู้ควรที่ท่านจะว่ากล่าวได้ แต่ภิกษุนั้นเป็นคนว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมที่ทําให้เป็นคนว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับคําพร่ําสอนโดยเคารพ เมื่อเป็นเช่นนี้ เพื่อนพรหมจรรย์ต่างสําคัญภิกษุนั้นว่า ควรว่ากล่าวได้ ควรพร่ําสอนได้ ทั้งสําคัญว่า ควรถึงความไว้วางใจในบุคคลนั้นได้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ทําให้เป็นคนว่าง่าย เป็นไฉน. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

๑. ไม่เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ไม่ลุอํานาจแห่งความปรารถนาลามก แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ไม่ลุอํานาจแห่งความปรารถนาลามก นี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่าง่าย.

๒. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นผู้ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นผู้ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น นี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่าง่าย.

๓. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ อันความโกรธไม่ครอบงําแล้ว แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ อันความโกรธไม่ครอบงําแล้ว นี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่าง่าย.

๔. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ นี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่าง่าย.

๕. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 156

มักโกรธ ไม่มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุ นี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่าง่าย.

๖. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ นี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่าง่าย.

๗. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่โต้เถียงโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่โต้เถียงโจทก์ นี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่าง่าย.

๘. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่รุกรานโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่รุกรานโจทก์ นี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่าง่าย.

๙. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่ปรักปรําโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่ปรักปรําโจทก์ นี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่าง่าย.

๑๐. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่เอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่เอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ นี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่าง่าย.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 157

๑๑. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง พอใจตอบในความประพฤติ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง พอใจตอบในความประพฤติ นี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่าง่าย.

๑๒. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนลบหลู่ ไม่ตีเสมอ แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนลบหลู่ ไม่ตีเสมอ นี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่าง่าย.

๑๓. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนริษยา ไม่เป็นคนตระหนี่ แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนริษยา ไม่เป็นคนตระหนี่ นี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่าง่าย.

๑๔. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนโอ้อวด มิใช่เจ้ามายา แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนโอ้อวด มิใช่เจ้ามายา นี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่าง่าย.

๑๕. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนกระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนกระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น นี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่าง่าย.

๑๖. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนถือแต่ความเห็นของตน ไม่ถือรั้น ถอนได้ง่าย แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนถือแต่ความเห็นของตน ไม่ถือรั้น ถอนได้ง่าย นี้ก็เป็นธรรมที่ทําให้เป็นคนว่าง่าย.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ เรียกว่าธรรมทําให้เป็นคนว่าง่าย.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 158

เอาใจเขาใส่ใจเรา

[๒๒๔] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมทั้ง ๑๖ ข้อนั้น ภิกษุพึงเทียบเคียงตน ด้วยตนเองอย่างนี้ว่า บุคคลที่มีความปรารถนาลามก ลุอํานาจแห่งความปรารถนาลามก หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนมีความปรารถนาลามก ลุอํานาจแห่งความปรารถนาลามกบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนมีความปรารถนาลามก ไม่ลุอํานาจแห่งความปรารถนาลามก ถึงบุคคลที่ยกตนข่มผู้อื่นก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนยกตนข่มผู้อื่นบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น. ถึงบุคคลที่เป็นคนมักโกรธ อันความโกรธครอบงํา ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนมักโกรธ อันความโกรธครอบงําบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า จักไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่ให้ความโกรธครอบงํา. บุคคลที่เป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุ. ถึงบุคคลที่เป็นคนมักโกรธ มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนมักโกรธ มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุบ้างเล่า. เราก็คงไม่เป็นที่

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 159

รักใคร่พอใจของคนอื่น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุ. ถึงบุคคลที่เป็นคนมักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนมักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ. ถึงบุคคลที่ถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับโต้เถียงโจทก์ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับโต้เถียงโจทก์บ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง จักไม่โต้เถียงโจทก์. ถึงบุคคลที่ถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับรุกรานโจทก์ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับรุกรานโจทก์บ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง จักไม่รุกรานโจทก์. ถึงบุคคลที่ถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับปรักปรําโจทก์ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับปรักปรําโจทก์บ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง จักไม่ปรักปรําโจทก์. ถึงบุคคลที่ถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 160

ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง จักไม่เอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ. ถึงบุคคลที่ถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่พอใจตอบในความประพฤติ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่พอใจตอบในความประพฤติ เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง พอใจตอบในความประพฤติ. ถึงบุคคลที่เป็นคนลบหลู่ ตีเสมอ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนลบหลู่ ตีเสมอบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลายภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนลบหลู่ ตีเสมอ. ถึงบุคคลที่เป็นคนริษยา เป็นคนตระหนี่ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนริษยา เป็นคนตระหนี่บ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนริษยา ไม่เป็นคนตระหนี่. ถึงบุคคลที่เป็นคนโอ้อวด เจ้ามายา ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนโอ้อวด เจ้ามายาบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนโอ้อวด ไม่มีมายา. ถึงบุคคลที่เป็นคนกระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น นี้ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนกระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่นบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนกระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 161

ถึงบุคคลที่ถือแต่ความเห็นของตน ถือรั้น ถอนได้ยาก ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนถือแต่ความเห็นของตน ถือรั้น ถอนได้ยากบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนถือแต่ความเห็นของตน ไม่ถือรั้น ถอนได้ง่ายดังนี้.

การพิจารณาตัวเอง

[๒๒๕] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมทั้ง ๑๖ ข้อนั้น ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนมีความปรารถนาลามก ลุอํานาจแห่งความปรารถนาลามกหรือไม่. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนมีความปรารถนาลามก ลุอํานาจแห่งความปรารถนาลามกจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่ใช่คนมีความปรารถนาลามก ไม่ลุอํานาจแห่งความปรารถนาลามก ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนยกตนข่มผู้อื่นหรือไม่. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนยกตนข่มผู้อื่นจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย. อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนมักโกรธ อันความโกรธครอบงําแล้วหรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนมักโกรธ อันความโกรธครอบงําแล้วจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 162

อกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนมักโกรธ อันความโกรธไม่ครอบงํา ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุหรือไม่. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนมักโกรธ มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุหรือไม่. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนมักโกรธ มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนมักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธหรือไม่. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนมักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 163

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นจําเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับโต้เถียงโจทก์หรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจําเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับโต้เถียงโจทก์จริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจําเลยถูกโจทก์ฟ้อง ไม่กลับโต้เถียงโจทก์ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นจําเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับรุกรานโจทก์หรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจําเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับรุกรานโจทก์จริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจําเลยถูกโจทก์ฟ้องไม่กลับรุกรานโจทก์ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นจําเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับปรักปรําโจทก์หรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่าเราเป็นจําเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับปรักปรําโจทก์จริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจําเลยถูกโจทก์ฟ้อง ไม่กลับปรักปรําโจทก์ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นจําเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏหรือไม่. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจําเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏจริง

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 164

ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจําเลยถูกโจทก์ฟ้อง ไม่เอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นจําเลยถูกโจทก์ฟ้อง ไม่พอใจตอบในความประพฤติหรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจําเลยถูกโจทก์ฟ้อง ไม่พอใจตอบในความประพฤติจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมที่ชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจําเลยถูกโจทก์ฟ้อง พอใจตอบในความประพฤติ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนลบหลู่ ตีเสมอหรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนลบหลู่ ตีเสมอจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนลบหลู่ ไม่ตีเสมอ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนริษยา เป็นคนตระหนี่หรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนริษยาเป็นคนตระหนี่จริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนริษยา ไม่เป็นคนตระหนี่ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 165

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนโอ้อวด เจ้ามายาหรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนโอ้อวด เจ้ามายาจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนโอ้อวด ไม่เป็นคนเจ้ามายา ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนกระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่นหรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนกระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่นจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนกระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนถือเอาแต่ความเห็นของตน ถือรั้น ถอนได้ยากหรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนถือเอาแต่ความเห็นของตน ถือรั้น ถอนได้ยากจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนถือเอาแต่ความเห็นของตน ไม่ถือรั้น ถอนได้ง่าย ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากภิกษุพิจารณาอยู่ เห็นชัดอกุศลธรรมอันชั่วช้าเหล่านี้ทั้งหมด ที่ยังละไม่ได้ในตน ภิกษุนั้นก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้าเหล่านั้นทั้งหมด หากพิจารณาอยู่ เห็นชัดอกุศลธรรม

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 166

อันชั่วช้าเหล่านี้ทั้งหมด ที่ละได้แล้วในตน ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันทั้งกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อุปมาเหมือนสตรีหรือบุรุษ รุ่นกําดัด ชอบโอ่อ่า ส่องดูเงาหน้าของตนในกระจกเงา หรือในภาชนะน้ำใสสะอาดบริสุทธิ์ ถ้าเห็นธุลีหรือสิวบนใบหน้านั้น ย่อมพยายามที่จะให้ธุลีหรือสิวนั้นหายไป หากไม่เห็นธุลีหรือสิวบนใบหน้า ก็จะรู้สึกพอใจว่า ช่างเป็นลาภของเรา ใบหน้าของเราบริสุทธิ์สะอาดดังนี้ ฉันใด แม้ภิกษุหากพิจารณาอยู่ เห็นชัดอกุศลธรรมอันชั่วช้าเหล่านี้ทั้งหมด ที่ยังละไม่ได้ในตน ภิกษุนั้นก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสียทั้งหมด แต่ถ้าเมื่อพิจารณาอยู่ เห็นชัดอกุศลธรรมอันชั่วช้าเหล่านี้ทั้งหมด ที่ละได้แล้วในตน ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย ฉันนั้น นั่นแล. ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวภาษิตดังนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้วแล.

จบ อนุมานสูตร ที่ ๕

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 167

อรรถกถาอนุมานสูตร

อนุมานสูตรมีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับดังนี้:-

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภคฺเคสุ ได้แก่ในชนบทมีชื่ออย่างนั้น. ก็เนื้อความแห่งคําพึงทราบโดยทํานองที่กล่าวแล้วในที่นี้.

บทว่า สํ สุมารคิเร ได้แก่ ในนครมีชื่ออย่างนั้น. ได้ยินว่า ในวันเป็นที่กําหนดพื้นที่สร้างนครนั้น จระเข้ในสระอันไม่ไกลได้ร้องขึ้น เปล่งเสียงว่า คิระ ครั้นสร้างนครนั้นเสร็จแล้ว ประชาชนทั้งหลายจึงตั้งชื่อนครนั้นว่า สังสุมารคิร.

บทว่า เภสกฬาวเน ได้แก่ ในป่าอันมีชื่อว่า เภสกฬา. บาลีว่า เภสกวัน ดังนี้ก็มี.

บทว่า มิคทาเย ความว่า ป่านั้นได้เกิดในที่เป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อและนกทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า มิคทายะ.

บทว่า ปวาเรติ ได้แก่ ย่อมปรารถนา.

บทว่า วทนฺตุ ความว่า จงว่ากล่าว คือจงโอวาท จงพร่ําสอน ด้วยสามารถแห่งโอวาทและอนุสาสนี.

บทว่า วจนีโยมฺหิ ความว่า เราอันท่านพึงว่ากล่าว คือ พึงพร่ําสอน พึงโอวาท.

บทว่า โส จ โหติ ทุพฺพโจ ความว่า ก็ภิกษุนั้นเป็นผู้ว่ากล่าวโดยยาก คือ กล่าวแล้วไม่อดทน.

บทว่า โทวจสฺสกรเณหิ ความว่า ด้วยธรรม ๑๖ ประการ อันมาแล้วในข้างหน้า ซึ่งเป็นธรรมทําให้เป็นผู้ว่ากล่าวโดยยาก.

บทว่า อปทกฺขิณคฺคาหี อนุสาสนิํ ความว่า ก็ภิกษุใด เมื่อถูกว่ากล่าว จึงพูดว่า ท่านทั้งหลายว่ากล่าวผมเพราะเหตุไร ผมย่อมรู้สิ่งที่ควรและไม่ควร โทษและไม่ใช่โทษ ประโยชน์และไม่ใช่ประโยชน์ของตน ภิกษุนี้ ชื่อว่าไม่รับคําพร่ําสอนโดยเบื้องขวา ย่อมรับโดยเบื้องซ้าย เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ไม่รับคําพร่ําสอนโดยเคารพ.

บทว่า ปาปกานํ อิจฺฉานํ คือ ความปรารถนาอันก่อให้เกิดความไม่สงบลามก.

บทว่า ปฏิปฺผรติ ย่อมดํารงตนเป็นผู้โต้ตอบเป็นข้าศึก.

บทว่า อปสาเทติ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 168

ความว่า ย่อมพยายามอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วแก่ท่านผู้พาล ไม่ฉลาด ธรรมดาแม้ท่านจักสําคัญคําที่พึงกล่าวมิใช่หรือ.

บทว่า ปจฺจาโรเปติ ความว่า กลับปรักปรําอย่างนี้ว่า แม้ท่านก็ต้องอาบัติชื่อนี้ ท่านจงทําคืนอาบัตินั้นก่อน.

บทว่า อฺเนฺํ ปฏิจรติ คือ ปกปิดด้วยเรื่องอื่น ด้วยคําอื่น หรือกลบเกลื่อนเรื่องอื่น คําอื่น. ครั้นภิกษุอื่นกล่าวว่า ท่านต้องอาบัติ ก็พูดว่า ใครต้อง ต้องอาบัติอะไร ต้องในที่ไหน ท่านพูดกะใคร ท่านพูดอะไร ดังนี้ ครั้นภิกษุอื่นพูดว่า ท่านได้เห็นอะไรๆ เห็นปานนี้ ก็เบือนหู ว่าเราจะไม่ฟัง ดังนี้.

บทว่า พหิทฺธา กถํ อปนาเมติ ความว่า ภิกษุนั้น ถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ ถามว่า ท่านต้องอาบัติชื่อนี้ ก็พูดว่า เราไปสู่เมืองปาตลิบุตร ครั้นภิกษุผู้โจทก์กล่าวอีกว่า พวกเราไม่ได้ถามถึงการไปเมืองปาฏลีบุตรของท่าน พวกเราถามถึงอาบัติ แต่นั้นก็กล่าวคํามีอาทิว่า ข้าพเจ้าไปสู่เมืองราชคฤห์ ท่านจงไปสู่เมืองราชคฤห์ หรือท่านต้องอาบัติในบ้านพราหมณ์ ท่านได้เนื้อสุกรในบ้านพราหมณ์นั้น ดังนี้ ชื่อว่า พูดนอกเรื่อง.

บทว่า อปทาเน คือ ในความประพฤติของตน.

บทว่า น สมฺปายติ ความว่า ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ถามถึงความประพฤติโดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ท่านอยู่ที่ไหน ท่านอาศัยใครอยู่. หรือว่าท่านพูดกะผู้ใด ผู้นั้นต้องอาบัติอันข้าพเจ้าเห็นแล้วๆ หรือว่า ในสมัยนั้น ท่านทําอะไร ข้าพเจ้าทําอะไร หรือ ท่านอยู่ที่ไหน ข้าพเจ้าอยู่ที่ไหน ดังนี้ก็ไม่อาจเพื่อให้พอใจกล่าว.

บทว่า ตตฺราวุโส ความว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ในธรรม ๑๖ ประการนั้น.

บทว่า อตฺตนาว อตฺตานํ เอวํ อนุมานิตพฺพํ ความว่า พึงอนุมาน พึงชั่ง พึงเทียบเคียง พึงพิจารณาตนด้วยตนเองเทียว อย่างนี้.

บทว่า อโหรตฺตานุสิกฺขินา ความว่า ภิกษุเมื่อศึกษาแม้ตลอดวันตลอดคืน พึงศึกษากุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางคืนและกลางวัน ยังปีติและความปราโมทย์นั้นเทียวให้

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 169

เกิดขึ้น.

บทว่า อจฺเฉ วา อุทกปตฺเต คือ ในภาชนะน้ำอันใส.

บทว่า มุขนิมิตฺตํ ได้แก่ เงาหน้า.

บทว่า รชํ ได้แก่ ธุลีที่จรมา.

บทว่า องฺคณํ ได้แก่จุดตกกระหรือต่อมที่เกิดบนใบหน้านั้น. พระเถระแสดงการละทั้งหมด ด้วยบทนี้ว่า ซึ่งอกุศลธรรมอันชั่วเหล่านี้แม้ทั้งหมดที่ยังละไม่ได้. อย่างไร. อย่างนี้คือ พระเถระแสดงปฏิสังขานปหานะแก่ภิกษุผู้ยังการพิจารณาให้เกิดขึ้นว่า อกุศลธรรมประมาณเท่านี้ ไม่สมควรแก่บรรพชิต แสดงวิกขัมภนปหานะแก่ภิกษุผู้ทําศีลให้เป็นปทัฏฐานแล้ว ปรารภกสิณบริกรรม ยังสมาบัติแปดให้เกิดขึ้น แสดงตทังคปหานะแก่ภิกษุผู้ทําสมาบัติให้เป็นปทัฏฐานแล้ว เจริญวิปัสสนา แสดงสมุจเฉทปหานะแก่ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนาแล้ว อบรมมรรคแสดงปฏิปัสสัทธิปหานะ เมื่อผลมาแล้ว เแสดงนิสสรณปหานะ เมื่อนิพพานมาแล้ว เพราะฉะนั้น ปหานะทั้งหมดเป็นอันพระเถระแสดงแล้วเทียวในสูตรนี้ด้วยประการฉะนี้. โบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ก็สูตรนี้ ชื่อว่า ภิกขุปาฏิโมกข์.

โบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ภิกษุพึงพิจารณาวันละ ๓ ครั้ง ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุเข้าไปสู่สถานที่อยู่ แต่เช้าตรู่เทียว แล้วนั่งพิจารณาว่า กิเลสมีประมาณเท่านี้ ของเรามีอยู่หรือไม่หนอแล ถ้าเห็นว่า มี พึงพยายามเพื่อละกิเลสเหล่านั้น ถ้าเห็นว่า ไม่มี พึงเป็นผู้มีใจเป็นของตนว่า เราบวชดีแล้ว ทําภัตกิจนั่งในที่พักกลางคืน หรือในที่พักกลางวันแล้ว พึงพิจารณาบ้าง นั่งในที่อยู่ในเวลาเย็น พึงพิจารณาบ้าง เมื่อไม่อาจพิจารณาถึงวันละ ๓ ครั้งก็พึงพิจารณาเพียง ๒ ครั้ง แต่เมื่อไม่อาจถึง ๒ ครั้ง ก็พึงพิจารณาเพียง ๑ ครั้ง ที่เหลือ ไม่พิจารณาเลย ไม่สมควร ดังนี้. คําที่เหลือในบททั้งปวงมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาอนุมานสูตรที่ ๕