พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. เทวธาวิตักกสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ส.ค. 2564
หมายเลข  36023
อ่าน  752

[เล่มที่ 18] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 215

๙. เทวธาวิตักกสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 18]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 215

๙. เทวธาวิตักกสูตร

เรื่องวิตก

[๒๕๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

ทรงแยกวิตกเป็น ๒ ส่วน

[๒๕๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรายังเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ก่อนแต่ตรัสรู้ทีเดียวได้คิดอย่างนี้ว่า ถ้ากระไร เราพึงแยกวิตกให้เป็น ๒ ส่วน ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นจึงแยก กามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก นี้ออกเป็นส่วนหนึ่ง และแยกเนกขัมมวิตก อัพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตก นี้ออกเป็นส่วนที่ ๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้น ไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ กามวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า กามวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า มันย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง ทําให้ปัญญาดับ ก่อให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 216

มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันทําให้ปัญญาดับ ทําให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดังนี้บ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแล ละเสีย บรรเทาเสีย ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้วๆ ได้ทําให้มันหมดสิ้นไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ พยาบาทวิตกย่อมบังเกิดขึ้น ฯลฯ วิหิงสาวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า วิหิงสาวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง ทําให้ปัญญาดับ ทําให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันทําให้ปัญญาดับ ทําให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดังนี้บ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแล ละเสีย บรรเทาเสีย ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้วๆ ได้ทําให้มันหมดสิ้นไป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงวิตกใดๆ มาก เธอก็มีใจน้อมไปข้างวิตกนั้นๆ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คือ ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงกามวิตกมาก เธอก็ละทิ้งเนกขัมวิตกเสีย มากระทําอยู่แต่กามวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อกามวิตก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงพยาบาทวิตกมาก เธอก็ละทิ้งอัพยาบาทวิตกเสีย มากระทําอยู่แต่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 217

พยาบาทวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อพยาบาทวิตก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงวิหิงสาวิตกมาก เธอก็ละทิ้งอวิหิงสาวิตกเสีย มากระทําอยู่แต่วิหิงสาวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อวิหิงสาวิตก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนในสารทสมัยเดือนท้ายแห่งปี คนเลี้ยงโคต้องคอยระวังโคทั้งหลายในที่คับคั่งด้วยข้าวกล้า เขาต้องตีต้อนโคทั้งหลายจากที่นั้นๆ กั้นไว้ ห้ามไว้. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเลี้ยงโคมองเห็นการฆ่า การถูกจํา การเสียทรัพย์ การถูกติเตียน เพราะโคทั้งหลายเป็นต้นเหตุ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้แลเห็นโทษ ความเลวทราม ความเศร้าหมอง ของอกุศลธรรมทั้งหลาย และเห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม อันเป็นฝ่ายแห่งความผ่องแผ้ว ของกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ เนกขัมมวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า เนกขัมมวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า เนกขัมมวิตกนั้น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย เป็นทางทําให้ปัญญาเจริญ ไม่ทําให้เกิดความคับแค้นเป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้นอยู่ตลอดคืนก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัยอันจะบังเกิดแต่เนกขัมมวิตกนั้นได้เลย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถึงหากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้นอยู่ตลอดวันก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัยอันจะบังเกิดขึ้นจากเนกขัมมวิตกนั้นได้เลย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้น ตลอดทั้งกลางคืน และกลางวันก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัยอันจะบังเกิดขึ้นจากเนกขัมมวิตกนั้นได้เลย. ก็แต่ว่าเมื่อเราตรึกตรองอยู่นานเกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่าน เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ ดูก่อน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 218

ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลดํารงจิตไว้ในภายใน ทําให้สงบ ทําให้เกิดสมาธิประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะปรารถนาไว้ว่า จิตของเราอย่าฟุ้งซ่านอีกเลย ดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปแล้วอยู่อย่างนี้ อัพยาบาทวิตกย่อมบังเกิดขึ้น ฯลฯ อวิหิงสาวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า อวิหิงสาวิตกนี้บังเกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า อวิหิงสาวิตกนั้น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย [คือตนและบุคคลอื่น] เป็นทางทําให้ปัญญาเจริญ ไม่ทําให้เกิดความคับแค้น เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตกนั้นอยู่ตลอดคืนก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัยอันจะเกิดขึ้นจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถึงหากเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตกนั้นอยู่ตลอดวันก็ดีเราก็ยังมองไม่เห็นภัยอันจะเกิดขึ้นจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาตกนั้น ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัยอันจะเกิดขึ้นจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย. ก็แต่ว่าเมื่อเราตรึกตรองอยู่นานเกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อยจิตก็ฟุ้งซ่าน เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแล ดํารงจิตไว้ในภายใน ทําให้สงบ ทําให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะหมายในใจว่า จิตของเราอย่าฟุ้งซ่านอีกเลยดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงวิตกใดๆ มากเธอก็มีใจน้อมไปข้างวิตกนั้นๆ มาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คือถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงเนกขัมมวิตกมาก เธอก็จะละกามวิตกเสียได้ ทําเนกขัมมวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอนั้นก็จะน้อมไปเพื่อเนกขัมมวิตก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงอัพยาบาทวิตกมาก เธอก็จะละพยาบาทวิตกเสียได้

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 219

ทําอัพยาบาทวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอนั้นก็จะน้อมไปเพื่ออัพยาบาทวิตก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงอวิหิงสาวิตกมาก เธอก็จะละวิหิงสาวิตกเสียได้ ทําอวิหิงสาวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อวิหิงสาวิตก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน คนเลี้ยงโคจะต้องรักษาโคทั้งหลาย ในที่ใกล้บ้านในทุกด้าน เมื่อเข้าไปคู่โคนต้นไม้หรือไปสู่ที่แจ้งจะต้องทําสติอยู่เสมอว่า นั้นฝูงโค [ของเรา] ดังนี้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราก็ฉันนั้น ต้องทําสติอยู่เสมอว่า เหล่านี้เป็นธรรม [คือกุศลวิตก] ดังนี้.

ว่าด้วยวิชชา ๓

[๒๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้ปรารภความเพียร มีความเพียรไม่ย่อหย่อนแล้ว มีสติมั่นคงไม่เลอะเลือนแล้ว มีกายสงบไม่กระสับกระส่ายแล้ว มีใจตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นอันเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯลฯ บรรลุตติยฌาน... บรรลุจตุตถฌาน... เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศด้วยประการฉะนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิชชาที่หนึ่งนี้แล เราบรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี เรากําจัดอวิชชาเสียแล้ว วิชชาจึง

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 220

บังเกิดขึ้น กําจัดความมืดเสียแล้ว ความสว่างจึงบังเกิดขึ้น ก็เพราะเราไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่ ฉะนั้น. เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติ อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว เรานั้นจึงโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติ และอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เรานั้นย่อมเห็นสัตว์ที่กําลังจุติ กําลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทําด้วยอํานาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไปเขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทําด้วยอํานาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เราย่อมเห็นหมู่สัตว์กําลังจุติ กําลังอุปบัติเลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิชชาที่ ๒ นี้แล เราบรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี เรากําจัดอวิชชาเสียแล้ว วิชชาจึงบังเกิดขึ้น กําจัดความมืดเสียแล้ว ความสว่างจึงเกิดขึ้น ก็เพราะเราไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่ ฉะนั้น. เรานั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติ อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ จึงโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเรานั้นรู้เห็นอย่างนี้ จิตจึงหลุดพ้นแล้ว แม้จาก

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 221

กามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทํา ทําเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิชชาที่ ๓ นี้แล เราบรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี เรากําจัดอวิชชาเสียแล้ว วิชชาจึงบังเกิดขึ้น กําจัดความมืดเสียแล้ว ความสว่างจึงบังเกิดขึ้น ก็เพราะเราไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่ ฉะนั้น.

[๒๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีหมู่เนื้อเป็นอันมาก พากันเข้าไปอาศัยบึงใหญ่ในป่าดงอยู่ ยังมีบุรุษคนหนึ่งปรารถนาความพินาศ ประสงค์ความไม่เกื้อกูล ใคร่ความไม่ปลอดภัยเกิดขึ้นแก่หมู่เนื้อนั้น เขาปิดทางที่ปลอดภัย สะดวก ไปได้ตามชอบใจของหมู่เนื้อนั้นเสีย เปิดทางที่ไม่สะดวกไว้ วางเนื้อต่อตัวผู้ไว้ วางนางเนื้อต่อไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ โดยสมัยต่อมา หมู่เนื้อเป็นอันมากก็พากันมาตายเสีย จนเบาบาง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ยังมีบุรุษอีกคนหนึ่งปรารถนาประโยชน์ ใคร่ความเกื้อกูล ใคร่ความปลอดภัยแก่หมู่เนื้อเป็นอันมากนั้น เขาเปิดทางที่ปลอดภัย สะดวก ไปได้ตามชอบใจให้แก่หมู่เนื้อนั้น ปิดทางที่ไม่สะดวกเสีย กําจัดเนื้อต่อ เลิกนางเนื้อต่อ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ โดยสมัยต่อมา หมู่เนื้อเป็นอันมาก จึงถึงความเจริญคับคั่ง ล้นหลาม แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออุปมานี้ก็ฉันนั้นแล เราได้ทําขึ้นก็เพื่อจะให้พวกเธอรู้ความหมายของเนื้อความ ก็ในอุปมานั้น มีความหมายดังต่อไปนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คําว่า บึงใหญ่ นี้เป็นชื่อของกามคุณทั้งหลาย. คําว่า หมู่เนื้อเป็นอันมาก นี้เป็นชื่อของหมู่สัตว์ทั้งหลาย. คําว่า บุรุษผู้ปรารถนาความพินาศ ประสงค์ความไม่เกื้อกูล จํานงความไม่ปลอดภัย นี้เป็นชื่อของตัวมารผู้มีบาป. คําว่า ทางที่ไม่สะดวก นี้เป็นชื่อของทางผิด อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ มิจฉาทิฏฐิ ๑ มิจฉาสังกับปะ ๑

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 222

มิจฉาวาจา ๑ มิจฉากัมมันตะ ๑ มิจฉาอาชีวะ ๑ มิจฉาวายามะ ๑ มิจฉาสติ ๑ มิจฉาสมาธิ ๑. คําว่า เนื้อต่อตัวผู้ นี้เป็นชื่อของนันทิราคะ (ความกําหนัดด้วยความเพลิน). คําว่า นางเนื้อต่อ นี้เป็นชื่อของอวิชชา. คําว่า บุรุษคนที่ปรารถนาประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความปลอดภัย (แก่เนื้อเหล่านั้น) นี้หมายเอาตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. คําว่า ทางอันปลอดภัยสะดวกไปได้ตามชอบใจ นี้เป็นชื่อของทางอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ซึ่งเป็นทางถูกที่แท้จริง คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑.

[๒๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล เป็นอันว่าทางอันปลอดภัย ซึ่งเป็นทางสวัสดี เป็นทางที่พวกเธอควรไปได้ด้วยความปลาบปลื้ม เราได้เผยให้แล้ว ปิดทางที่ไม่สะดวกให้ด้วย เนื้อต่อก็ได้กําจัดให้แล้ว ทั้งนางเนื้อต่อก็สังหารให้เสร็จ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กิจอันใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์ เกื้อกูลเอ็นดู อาศัยความอนุเคราะห์ แก่เหล่าสาวกจะพึงทํา กิจอันนั้น เราทําแก่เธอทั้งหลายแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่างเปล่า เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลัง. นี้เป็นคําพร่ําสอนของเราแก่เธอทั้งหลาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมิใจชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.

จบ เทวธาวิตักกสูตร ที่ ๙

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 223

อรรถกถาเทวธาวิตักกสูตร

เทวธาวิตักกสูตร มีคําเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับอย่างนี้:-

ในบทเหล่านั้น บทว่า เทฺวธา กตฺวา เทฺวธา กตฺวา ความว่าทําให้เป็นสองภาค. วิตกที่ประกอบด้วยกาม ชื่อ กามวิตก. วิตกที่ประกอบด้วยความปองร้าย ชื่อ พยาบาทวิตก. วิตกที่ประกอบด้วยความเบียดเบียนชื่อ วิหิงสาวิตก.

บทว่า เอกํ ภาคํ ความว่า วิตกนี้แม้ทั้งหมด ทั้งภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด ก็เป็นฝ่ายแห่งอกุศลนั้นเทียว เพราะฉะนั้น เราจึงทํากามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก แม้ทั้งสามให้เป็นส่วนหนึ่ง. วิตกที่สลัดออกจากกามทั้งหลายแล้ว ประกอบพร้อมด้วยเนกขัมมะ ชื่อ เนกขัมมวิตก. เนกขัมมวิตกนั้น ย่อมควรถึงปฐมฌาน. วิตกที่ประกอบพร้อมด้วยความไม่ปองร้าย ชื่อ อัพยาบาทวิตก. อัพยาบาทวิตกนั้น ย่อมควรตั้งแต่เมตตาบุรพภาคจนถึงปฐมฌาน. วิตกที่ประกอบพร้อมด้วยความไม่เบียดเบียนชื่อ อวิหิงสาวิตก. อวิหิงสาวิตกนั้น ย่อมควรตั้งแต่กรุณาบุรพภาคจนถึงปฐมฌาน.

บทว่า ทุติยภาคํ ความว่า ท่านแสดงกาลเวลาในการข่มวิตกของพระโพธิสัตว์ ด้วยบทนี้ว่า วิตกนี้แม้ทั้งหมดเป็นฝ่ายกุศลทั้งนั้น เพราะฉะนั้น เราจึงทําให้เป็นส่วนที่ ๒. ก็เมื่อพระโพธิสัตว์ ทรงเริ่มตั้งความเพียรตลอด ๖ ปี วิตกทั้งหลาย มีเนกขัมมวิตกเป็นต้น ได้เป็นไปแล้ว เหมือนห้วงแม่น้ำใหญ่เต็มตลิ่งฉะนั้น ก็วิตกทั้งหลายมีกามวิตกเป็นต้นเกิดขึ้นรวดเร็ว เพราะความหลงลืมสติ ตัดรอนวาระแห่งกุศล กลายเป็นวาระแล่นไปแห่งอกุศลเองตั้งอยู่แต่นั้น พระโพธิสัตว์ทรงดําริว่า ก็วิตกทั้งหลายมีกามวิตกเป็นต้นนี้ของเราได้ตัดรอนวาระแห่งกุศลตั้งอยู่ เอาละ เราจักทําวิตกเหล่านี้ให้เป็น ๒ ส่วนอยู่

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 224

เพราะฉะนั้น เราจึงทําส่วนหนึ่งว่า วิตกมีกามวิตกเป็นต้น เป็นฝ่ายอกุศลทําส่วนหนึ่งว่า เนกขัมมวิตกเป็นต้น เป็นฝ่ายกุศล ลําดับนั้น เราจักข่มวิตกที่มาจากฝ่ายอกุศลด้วยความรู้ เหมือนบีบงูเห่าแล้วจับ และเหมือนเหยียบคอศัตรูฉะนั้น เราจักไม่ให้อกุศลวิตกนั้นเจริญ เราจักยังวิตกที่มาจากฝ่ายกุศลให้เจริญรวดเร็ว เหมือนเมฆในสมัยเมฆ และเหมือนนาดีมีพืชงอกงาม ฉะนั้น พระโพธิสัตว์นั้นทรงกระทําดังนั้นแล้ว ข่มอกุศลวิตกทั้งหลายไว้ ยังกุศลวิตกทั้งหลายให้เจริญ. กาลเวลาในการข่มวิตกของพระโพธิสัตว์ พึงทราบว่า ท่านแสดงแล้วด้วยบทนี้ ด้วยประการฉะนี้.

วิตกเหล่านั้นเกิดขึ้นแก่พระโพธิสัตว์นั้นโดยประการใด และพระโพธิสัตว์ทรงข่มวิตกเหล่านั้นโดยประการใด บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงประการนั้น จึงตรัสว่า ตสฺส มยฺหํ ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมตฺตสฺส ความว่าดํารงอยู่ในความไม่อยู่ปราศจากสติ.

บทว่า อาตาปีโน ความว่า มีความเพียรเครื่องเผากิเลส.

บทว่า ปหิตตฺตสฺส ความว่า มีจิตส่งไปแล้ว.

บทว่า อุปปชฺชติ กามวิตกฺโก ความว่า เมื่อพระโพธิสัตว์ทรงเริ่มตั้งความเพียรตลอด ๖ ปี ชื่อกามวิตก ซึ่งปรารภความสุขในการครองราชสมบัติ ปราสาท นางฟ้อนรํา ตําหนักนางสนมกํานัล หรือปรารภสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง เคยเกิดขึ้นแล้ว. ก็พระโพธิสัตว์นั้นทรงถึงการสมาทานอันยิ่งยวด ด้วยทรงอดพระกระยาหารในการบําเพ็ญทุกกรกิริยา ทรงมีพระดําริว่า บุคคลอดอาหาร ไม่อาจเพื่อยังคุณวิเศษให้เกิดขึ้นได้ อย่าเลย เราพึงนําอาหารอย่างหยาบมาเสวย ดังนี้. พระโพธิสัตว์นั้นเสด็จเข้าสู่อุรุเวลาเพื่อก้อนข้าว. มนุษย์ทั้งหลายคิดว่า ในกาลก่อน มหาบุรุษไม่ทรงรับอาหาร แม้นํามาถวาย บัดนี้ ชะรอยมโนรถของพระองค์ถึงที่สุดแล้ว เพราะฉะนั้น จึงเสด็จมาเอง ดังนี้ จึงพากันนําอาหารอันประณีตๆ ไปถวาย.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 225

อัตภาพของพระโพธิสัตว์ก็กลับเป็นปกติโดยไม่นานนัก. จริงอยู่ อัตภาพที่คร่ําคร่าเพราะชรา แม้จะได้โภชนะที่สบาย ก็ไม่กลับเป็นปกติได้. แต่พระโพธิสัตว์ยังหนุ่มแน่น เพราะเหตุนั้น เมื่อพระโพธิสัตว์นั้น เสวยพระกระยาหารที่สบาย อัตภาพจึงเป็นปกติโดยไม่นานนัก. พระอินทรีย์ทั้งหลายก็ผ่องใส พระฉวีวรรณก็บริสุทธิ์ พระสรีระซึ่งประดับประดาด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการก็บริบูรณ์ ดุจหมู่ดวงดาวขึ้นสู่ท้องฟ้าฉะนั้น. พระโพธิสัตว์นั้นทรงแลดูอัตภาพนั้นแล้ว ทรงคิดว่า อัตภาพชื่อว่า ลําบากเพียงนั้น กลับเป็นปกติอย่างนี้ ทรงถือวิตกแม้นิดหน่อยอย่างนี้ เพราะความที่พระองค์ทรงมีปัญญามาก จึงทรงกระทําด้วยดําริว่า กามวิตก. พระองค์ประทับนั่งข้างหน้าพระบรรณศาลาทรงเห็นหมู่เนื้อ มีเนื้อทราย กวาง ฟาน โค ละมั่ง เป็นต้น หมู่นก มีนกยูง ไก่ป่า เป็นต้น ซึ่งร้องเสียงไพเราะน่าจับใจ บึงทั้งหลายซึ่งดาดาษด้วยอุบลเขียว โกมุท และกมล เป็นอาทิ ราวป่าเงียบสงัดดาดาษด้วยดอกไม้นานาชนิด และแม่น้ำเนรัญชรา ซึ่งไหลพัดน้ำขุ่นเหลือแต่น้ำใสดุจก้อนแก้วมณี. พระโพธิสัตว์นั้น ทรงมีพระดําริว่า ฝูงเนื้อ หมู่นก บึง ราวป่า แม่น้ำเนรัญชราเหล่านี้ สวยงามหนอ ดังนี้. พระองค์ทรงถือวิตกนิดหน่อยอย่างนี้ แม้นั้น ทรงกระทํากามวิตก. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่ากามวิตก ย่อมเกิดขึ้น ดังนี้.

บทว่า อตฺตพฺยาพาธายปิ ความว่า เพื่อความทุกข์แก่ตนบ้าง. ในบททั้งปวง ก็มีนัยเช่นเดียวกัน. ถามว่า ก็ชื่อว่าวิตกที่เป็นไปเพื่อความทุกข์แก่ทั้ง ๒ ฝ่ายของพระมหาสัตว์ มีหรือ. ตอบว่าไม่มี. ก็เมื่อพระมหาสัตว์ดํารงอยู่ในความไม่กําหนดรู้ วิตกย่อมเป็นไปจนถึงการเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย เพราะฉะนั้น จึงได้ชื่อ ๓ อย่างนั้นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสอย่างนั้น.

บทว่า ปฺานิโรธิโก ความว่า ย่อมไม่ให้เพื่อเกิดขึ้นแห่งปัญญาอันเป็นโลกิยะและโลกุตตระ ที่ยังไม่

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 226

เกิดขึ้นแล้ว. ก็วิตกตัดโลกิยปัญญา แม้เกิดขึ้นแล้ว ด้วยอํานาจแห่งสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้สิ้นไป เพราะฉะนั้น จึงทําให้ปัญญาดับ.

บทว่า วิฆาตปกฺขิโก ความว่า เป็นส่วนแห่งทุกข์. ชื่อว่า ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน เพราะวิตกไม่ให้เพื่อกระทํา ชื่อนิพพานอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งนั้นให้ประจักษ์.

บทว่า อพฺภตฺถํ คจฺฉติ ความว่า ถึงความสิ้นไป คือ ความไม่มี คือ ดับไปดุจฟองน้ำฉะนั้น.

บทว่า ปชหเมว คือ ทิ้งแล้วนั้นเทียว.

บทว่า วิโนทนเมว คือ นําออกไปแล้วนั้นเทียว.

บทว่า พฺยนฺตเมว นํ อกาสิํ ความว่า เราทําวิตกนั้นให้ไปปราศ ไม่มีเหลือหมุนกลับ ปกปิดนั้นเทียว.

บทว่า พฺยาปาทวิตกฺโก ความว่า วิตกที่ชื่อว่าประกอบพร้อมด้วยการเบียดเบียนคนอื่น ย่อมไม่เกิดในพระหฤทัยของพระโพธิสัตว์. ลําดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงความที่พระโพธิสัตว์นั้นทรงน้อมจิตไป เพราะอาศัยเหตุทั้งหลายมีฝนจัด ร้อนจัด และหนาวจัดเป็นต้นนั้น จึงตรัสว่าพยาบาทวิตก ดังนี้.

บทว่า วิหิํสาวิตกฺโก ความว่า วิตกที่ประกอบพร้อมด้วยการยังทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่คนเหล่าอื่น ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่พระมหาสัตว์. แต่อาการแห่งความฟุ้งซ่านในพระหฤทัย เป็นอาการแห่งอารมณ์หลายประการ พระโพธิสัตว์ทรงถือเอาอาการนั้น ทําวิหิงสาวิตก. เพราะพระองค์ประทับนั่ง ณ พระทวารแห่งพระบรรณศาลา ทรงเห็นเนื้อร้าย มีสีหะ และเสือโคร่งเป็นต้น กําลังเบียดเบียนเนื้อตัวเล็กๆ มีสุกร เป็นต้น. ลําดับนั้น พระโพธิสัตว์ทรงดําริว่า ศัตรูทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์เดียรัจฉานเหล่านี้ ในป่าซึ่งไม่มีภัยแต่ไหน ชื่อแม้นี้ พวกสัตว์มีกําลังกินสัตว์มีกําลังน้อย พวกสัตว์กินสัตว์มีกําลังน้อยย่อมเป็นอยู่ได้ ดังนี้ ทรงยังพระกรุณาให้เกิดขึ้น ทรงเห็นสัตว์แม้เหล่าอื่นมีแมวเป็นต้น กําลังกินสัตว์มีไก่และหนูเป็นต้น. เสด็จเข้าสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต ทรงยังพระกรุณาให้เกิดขึ้นว่า มนุษย์ทั้งหลายถูกข้าราชการเบียดเบียน เสวย

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 227

ทุกข์ มีการฆ่าและการจองจําเป็นต้น ย่อมไม่ได้เพื่อทําการงานของตน มีการทํานา และการค้าขายเป็นต้น เลี้ยงชีพ. ทรงหมายถึงพระกรุณานั้น จึงตรัสว่าวิหิงสาวิตกย่อมเกิดขึ้น.

บทว่า ตถา ตถา ความว่า โดยเหตุนั้นๆ. ท่านอธิบายอย่างนี้ว่า ทรงตรึกวิตกใดๆ ในกามวิตกเป็นต้น และทรงยังวิตกใดๆ ให้เป็นไป พระโพธิสัตว์นั้นไม่มีพระหฤทัยด้วยความมีกามวิตกเป็นต้นนั้นเลยโดยอาการนั้นๆ.

บทว่า ปหาสิ เนกฺขมฺมวิตกฺกํ ความว่า ละเนกขัมมวิตก.

บทว่า พหุลมกาสิ ความว่าได้ทําให้มาก.

บทว่า ตสฺส ตํ กามวิตกฺกายจิตฺตํ ความว่า พระหฤทัยนั้นของพระโพธิสัตว์นั้น ย่อมน้อมไปเพื่อประโยชน์แก่กามวิตก โดยประการที่ประกอบพร้อมด้วยกามวิตกนั้นเทียว. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยเช่นเดียวกัน.

บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงอุปมาที่แสดงถึงเนื้อความ จึงตรัสว่า เสยฺยถาปิ ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า กิฏฺสมฺพาเธ ความว่า ในที่คับแคบด้วยข้าวกล้า.

บทว่า อาโกฏฺเฏยฺย ความว่า ตีหลังโดยตรง.

บทว่า ปฏิโกฏฺเฏยฺย ความว่า ตีซี่โครงโดยทางขวาง.

บทว่า สนฺนิรุทฺเธยฺย ความว่าห้ามแล้วให้หยุด.

บทว่า สนฺนิวาเรยฺย ความว่า ไม่พึงให้เพื่อไปทางนั้นและทางนี้.

บทว่า ตโตนิทานํ ความว่า โดยเหตุนั้น คือ โดยเหตุที่โคทั้งหลายที่ไม่ได้รักษาอย่างนั้น กินข้าวกล้าของคนเหล่าอื่น. ก็นายโคบาลโง่ เมื่อไม่รักษาโคทั้งหลายอย่างนี้ ย่อมถึงทุกข์มีการฆ่าเป็นต้น จากสํานักของเจ้าของโคทั้งหลายว่า คนเลี้ยงโคนี้กินข้าวและค่าจ้างของเรา ไม่สามารถแม้เพื่อรักษาโคทั้งหลายโดยตรง กลับให้เปลี่ยนเวรกับตระกูลทั้งหลายบ้าง จากเจ้าของข้าวกล้าบ้าง. แต่นายโคบาลผู้ฉลาด เมื่อเห็นภัย ๔ อย่างนี้ ย่อมรักษาโคทั้งหลายให้ผาสุก บทนั้นท่านกล่าวหมายถึงเหตุนั้น.

บทว่า อาทีนวํ ได้แก่อุปัททวะ.

บทว่า โอการํ คือ ความลามก คือความต่ําทรามในขันธ์ทั้งหลาย.

บทว่า

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 228

สงฺกิเลสํ ได้แก่ ความเป็นของเศร้าหมอง.

บทว่า เนกฺขมฺเม ความว่าในเนกขัมมะ.

บทว่า อานิสํ สํ ได้แก่ อันเป็นฝ่ายแห่งความหมดจด.

บทว่า โวทานปกฺขํ นี้เป็นไวพจน์ของอานิสงส์นั้น. อธิบายว่า ก็เราได้เห็นเนกขัมมะเป็นฝ่ายความหมดจดแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย. อนึ่ง คําว่า เนกขัมมะ คือ นิพพานนั้นเทียว เมื่อสงเคราะห์กุศลทั้งหมดซึ่งสลัดออกแล้วจากกามทั้งหลายลงในธรรมบทเดียว. ในบทนั้นมีการเปรียบเทียบดังนี้ ก็อารมณ์มีรูปเป็นต้น ดุจที่คับแคบด้วยข้าวกล้า จิตโกงดุจโคโกง พระโพธิสัตว์ดุจนายโคบาลผู้ฉลาด วิตกที่เป็นไปเพื่อความเบียดเบียนตน คนอื่น และทั้ง ๒ ฝ่าย เปรียบเหมือนภัย ๔ ชนิด การที่พระโพธิสัตว์ทรงตั้งความเพียรตลอด ๖ ปีทรงเห็นภัยแห่งการเบียดเบียนตนแล้ว รักษาพระหฤทัยในอารมณ์ทั้งหลาย มีรูปเป็นต้น โดยประการที่วิตกทั้งหลาย มีกามวิตกเป็นต้นไม่เกิดขึ้น เปรียบเหมือนการที่นายโคบาลผู้ฉลาดเห็นภัย ๔ ชนิด แล้วรักษาโคด้วยความไม่ประมาทในที่คับแคบด้วยข้าวกล้าฉะนั้น.

ในบทว่า ปฺาวุฑฺฒิโก เป็นต้น ชื่อว่าปัญญาวุฑฒิกะ เพราะเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งปัญญา ทั้งที่เป็นโลกิยะ และโลกุตตระที่ยังไม่เกิดขึ้น และเพื่อความเจริญแห่งปัญญา ทั้งที่เป็นโลกิยะ และโลกุตตระที่เกิดขึ้นแล้ว. ชื่อว่า อวิฆาตปักขิกะ เพราะไม่เป็นไปเพื่อส่วนแห่งความทุกข์. ชื่อว่า นิพพานสังวัตตนิกะ. เพราะเป็นไปเพื่อความทําให้แจ้งซึ่งนิพพานธาตุ.

บทว่า รตฺติฺเจปิ ตํ ภิกฺขเว อนุวิตกฺเกยฺยํ ความว่าแม้ถ้าเราพึงยังวิตกนั้นให้เป็นไปตลอดคืนทั้งสิ้น.

บทว่า ตโตนิทานํ ได้แก่มีวิตกนั้นเป็นมูล.

บทว่า โอหฺเยฺย ความว่า พึงฟุ้งซ่าน คือเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน.

บทว่า อารา คือ ในที่ไกล. บทว่า สมาธิมฺหา คือจากอุปจารสมาธิบ้าง จากอัปปนาสมาธิบ้าง.

บทว่า โส โข อหํ ภิกฺขเวอชฺฌตฺตเมว จิตฺตํ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นตั้งมั่นซึ่งจิตอัน

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 229

เป็นไปในภายในว่า จิตของเราอย่าอยู่ในที่ไกลจากสมาธินั้นเทียว คือ ดํารงจิตไว้ในภายในอารมณ์.

บทว่า สนฺนิสิเทมิ ความว่า เรายังจิตนั้นให้สงบอยู่ในอารมณ์นั้นเทียว.

บทว่า เอโกทิํ กโรมิ คือ ทําให้มีอารมณ์เดียว.

บทว่า สมาทหามิ ความว่าตั้งมั่นโดยชอบ คือ ยกขึ้นโดยดี.

บทว่า มา เมจิตฺตํ อุคฺฆาฏี ความว่า จิตของเราอย่าฟุ้งซ่าน คืออย่าเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน.

ในบทว่า อุปฺปชฺชติ อพฺยาปาทวิตกฺโก อวิหิํสาวิตกฺโก นั้นวิตกที่เกิดขึ้นพร้อมกับดรุณวิปัสสนาที่ได้กล่าวแล้วในหนหลังนี้นั้นใด ท่านกล่าวว่า เป็นเนกขัมมวิตก เพราะอรรถว่าเป็นข้าศึกต่อกาม วิตกนั้นแลท่านกล่าวว่า เป็นอัพยาบาทวิตก เพราะอรรถว่า เป็นข้าศึกต่อความปองร้าย และว่าเป็นอวิหิงสาวิตก เพราะอรรถว่าเป็นข้าศึกต่อความเบียดเบียน. ท่านแสดงกาลแห่งการตั้งวิปัสสนาอาศัยสมาบัติของพระโพธิสัตว์ด้วยประมาณเท่านี้.

ก็พระโพธิสัตว์นั้นมีสมาธิบ้าง ดรุณวิปัสสนาบ้าง เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นตั้งวิปัสสนาประทับนั่งนานเกินไป พระวรกายย่อมลําบาก ย่อมร้อนดุจไฟในภายใน พระเสโททั้งหลายย่อมไหลออกจากพระกัจฉะ ไออุ่นจากพระเศียรเป็นดุจเกลียวตั้งขึ้น พระหฤทัยย่อมเดือดร้อน กระสับกระส่าย เป็นจิตฟุ้งซ่าน. แต่พระโพธิสัตว์นั้นทรงเข้าสมาบัติแล้ว บริกรรมสมาบัตินั้น ทําให้อ่อน ทรงเบาพระหฤทัย ทรงตั้งวิปัสสนาอีก ก็เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นประทับนั่งนานนัก พระวรกายก็เป็นอย่างนั้น. ก็พระโพธิสัตว์นั้นทรงเข้าสมาบัติแล้ว ทรงกระทําอย่างนั้น เพราะสมาบัติมีอุปการะมากแก่วิปัสสนา. เปรียบเหมือน ธรรมดาโล่มีอุปการะมากแก่ทหาร ทหารนั้นอาศัยโล่นั้น เข้าสงคราม ครั้นเมื่ออาวุธทั้งหลายที่ใช้การรบ รวมทั้งเหล่าช้าง เหล่าม้า และเหล่าทหารในสงครามนั้น หมดไป คงมีแต่ความเป็นผู้ใคร่จะบริโภคเป็นต้นเท่านั้น กลับแล้วเข้าไปยังค่ายพักแล้ว จับอาวุธทั้งหลายบ้าง ทดลองบ้าง บริโภคบ้าง

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 230

ดื่มน้ำบ้าง ผูกสอดเกราะบ้าง ทํากิจนั้นๆ แล้ว เข้าสงครามอีก หรือ ทําการรบในสงครามนั้น เกิดปวดอุจจาระเป็นต้น เข้าไปค่ายพักด้วยกิจอันควรทําบางอย่างอีก ครั้นทําธุระเสร็จในค่ายพักนั้นแล้ว ก็เข้าสงครามอีก. สมาบัติมีอุปการะมากแก่วิปัสสนา เหมือนค่ายพักมีอุปการะมากแก่ทหารฉะนั้น. อนึ่ง วิปัสสนามีอุปการะแก่สมาบัติมากกว่าค่ายพักของทหารที่ประสงค์จะระงับสงคราม. จริงอยู่ พระโพธิสัตว์ทรงอาศัยสมาบัติ เจริญวิปัสสนาแม้ก็จริง แต่วิปัสสนามีกําลังย่อมรักษาแม้สมาบัติ กระทําสมาบัติให้เกิดกําลัง. ก็ชนทั้งหลายย่อมทําเรือในทางบกบ้าง สินค้าในเรือบ้างให้เป็นภาระของเกวียน แต่ถึงน้ำแล้ว ย่อมทําเกวียนบ้าง สินค้าในเกวียนบ้าง โคเทียมเกวียนบ้าง ให้เป็นภาระของเรือ เรือตัดกระแสทางขวางแล่นไปสู่ท่าโดยสวัสดีฉันใด วิปัสสนาอาศัยสมาบัติ ย่อมเป็นไปแม้โดยแท้ แต่วิปัสสนามีกําลัง ย่อมรักษาแม้สมาบัติ ย่อมทําสมาบัติให้เกิดกําลังฉันนั้นเหมือนกัน. ก็สมาบัติเปรียบเหมือนเกวียนถึงบก วิปัสสนาเปรียบเหมือนเรือถึงน้ำ. กาลเวลาในการอาศัยสมาบัติแล้วตั้งวิปัสสนาของพระโพธิสัตว์ ท่านแสดงแล้วด้วยประมาณเท่านี้ ด้วยประการดังนี้.

บทว่า ยฺจเทว เป็นอาทิ พึงทราบตามแนวที่กล่าวแล้วในฝ่ายดํานั้นเทียว. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เสยฺยถาปิ เป็นต้น เพื่อทรงแสดงอุปมาที่แสดงเนื้อความแม้ในพระสูตรนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า คามนฺตสมฺภเวสุ ได้แก่ นํามาใกล้บ้าน.

บทว่า สติกรณียเมว โหติ ความว่า กิจสักว่ายังสติให้เกิดขึ้นว่า เหล่านั้นโค ดังนี้เทียว พึงทํา คือกิจมีการไปทางโน้น และทางนี้แล้วตีเป็นไม่มี. กิจสักว่ายังสติให้เกิดขึ้นว่า เหล่านั้น ธรรมะเหล่านั้น สมถธรรมและวิปัสสนาธรรมนั้นเทียว เป็นกิจพึงทํา. กาลแห่งสมถและวิปัสสนาของพระโพธิสัตว์เกิดกําลังได้แสดงแล้วด้วยบทนี้. ได้ยินว่า ในกาลนั้น เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นประทับนั่ง เพื่อประโยชน์แก่สมาบัติและอัปปนา

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 231

สมาบัติ ๘ ก็มาสู่ทางด้วยการระลึกอย่างเดียว. ทรงตั้งวิปัสสนาประทับนั่งแล้วทรงขึ้นสู่อนุปัสสนาทั้ง ๗ โดยขณะเดียวกันนั้นเอง. ทรงแสดงอะไรในบทนี้ว่า เสยฺยถา ปิ. อนุสนธิเฉพาะอย่างนี้. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงอุปจาระที่เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย และสัมปทา คือ ความที่พระองค์ทรงเป็นพระศาสดา จึงทรงปรารภเทศนานี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อรฺเ ได้แก่ ในดง.

บทว่า ปวเน ได้แก่ ราวป่า. ก็ ๒ บทนี้โดยอรรถก็เป็นไวพจน์อย่างเดียวกัน.

บทว่า อโยคกฺเขมกาโม ความว่า ผู้ไม่ปรารถนาความเกษมจากโยคะ ๔ คือ สถานที่ปลอดภัย ได้แก่ประสงค์ภัยนั้นเทียว.

บทว่า โสวตฺถิโก ได้แก่ อันนํามาซึ่งความสวัสดี.

บทว่า ปิติงฺคมนีโย คือ ควรไปสู่ความยินดี. อีกประการหนึ่ง บาลีว่า ปีติคมนีโย.

บทว่า ปิทเหยฺย คือ พลางด้วยวัตถุทั้งหลายมีกิ่งไม้เป็นต้น.

บทว่า วิวเรยฺย ความว่า พึงทําปากทางให้สะดวกแล้ว ทําทางเปิดไว้.

บทว่า กุมฺมคฺคํ คือ ไม่ใช่ทางซึ่งปิดกั้นด้วยน้ำป่าและภูเขาเป็นต้น.

บทว่า โอทเหยฺย โอกจรํ ความว่า วางเนื้อเสือเหลืองตัวหนึ่งราวกะเที่ยวไปในที่อยู่ของเนื้อฝูงนั้นไว้ในที่เดียวกัน.

บทว่า โอกจาริกํ ความว่า แม่เนื้อซึ่งล่ามเชือกยาวไว้. จริงอยู่ นายพรานเนื้อไปสู่ป่า คือสถานที่เป็นที่อยู่ของเนื้อทั้งหลาย คอยสังเกตว่า ฝูงเนื้ออยู่ในที่นี้ ออกไปทางนี้ เที่ยวในที่นั้น ดื่มในที่นั้น เข้าไปทางนี้ ดังนี้แล้ว ปิดทาง เปิดทางร้ายไว้ ตั้งเนื้อตัวผู้และเนื้อตัวเมียล่อไว้ ถือหอกยืนซ่อนตัวในที่กําบัง. ลําดับนั้น ในเวลาเย็น เนื้อทั้งหลายเที่ยวในป่าที่ปลอดภัย ดื่มน้ำ เล่นกับลูกเนื้อทั้งหลาย มาสู่ถิ่นซึ่งเป็นที่อยู่ เห็นเนื้อตัวผู้และเนื้อตัวเมียที่ล่อไว้ ก็นึกว่า สหายของพวกเราจักมาแล้วไม่สงสัย เข้าไป. เนื้อเหล่านั้นเห็นทางที่ปิดแล้วก็คิดว่า นี้ไม่ใช่ทาง นี้จักเป็นทาง แล้วดําเนินไปทางร้าย. นายพรานเนื้อจะไม่ทําอะไรก่อน แต่ครั้นเมื่อ

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 232

เนื้อเหล่านั้นเข้าไปแล้วจึงค่อยๆ ตีเนื้อตัวสุดท้าย เนื้อนั้นตกใจตื่น แต่นั้นเนื้อทั้งหมดก็แตกตื่น มองดูข้างหน้าว่า ภัยเกิดขึ้นแล้ว เห็นทางที่ปิดกั้นด้วยน้ำ หรือป่า หรือภูเขา ก็ไม่อาจเพื่อจะเข้าไปสู่ป่าที่รกดุจนิ้วมือทั้งสองข้างได้ ก็วกกลับ ปรารภที่จะออกไปทางที่เข้าแล้ว. ต่อแต่นั้น นายพรานรู้ว่าฝูงเนื้อเหล่านั้นกลับมาแล้ว จึงฆ่าเนื้อ ๓๐ ตัวบ้าง ๔๐ ตัวบ้าง.

บทนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนั้นแล โดยสมัยอื่นฝูงเนื้อนั้น พึงถึงความร่อยหรอดังนี้ พระศาสดาตรัสแล้วในบทนี้ว่า นั่นเป็นชื่อของนันทิราคะ เป็นชื่อแห่งอวิชชานั้นเทียว เพราะสัตว์เหล่านี้ เป็นผู้ไม่มีญาณเพราะอวิชชา พัวพันด้วยนันทิราคะ นําเข้าสู่รูปารมณ์เป็นต้น ย่อมถูกฆ่าเพราะหอก คือ วัฏฏทุกข์ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงทำเนื้อล่อตัวผู้เป็นดุจนันทิราคะ ทําเนื้อล่อตัวเมียเป็นดุจอวิชชา. จริงอยู่แม้ในเวลาหนึ่ง นายพรานเนื้อปกปิดร่างด้วยกิ่งไม้ เพื่อเนื้อเหล่านั้นกําจัดกลิ่นมนุษย์ วางเนื้อล่อตัวผู้ในที่หนึ่ง ปล่อยเนื้อล่อตัวเมียพร้อมกับเชือก พรางตน ถือหอกแล้วยืนอยู่ในที่ใกล้เนื้อล่อตัวผู้. เนื้อล่อตัวเมียก็จะบ่ายหน้าไปยังที่เที่ยวไปแห่งหมู่เนื้อ. เนื้อทั้งหลายเห็นเนื้อล่อตัวเมียนั้นแล้ว ก็ยืนเงยหัว. ฝ่ายเนื้อล่อตัวเมียนั้น ก็ยืนเงยหัว. เนื้อเหล่านั้นก็คิดว่า แม่เนื้อนี้เป็นพวกเดียวกันกับพวกเรา จึงกินหญ้า. ฝ่ายเนื้อล่อตัวเมียแม้นั้น ก็ทําทีเหมือนกินหญ้าค่อยๆ เข้าไปหา. เนื้อจ่าฝูงที่อยู่ในป่า ได้กลิ่นเนื้อล่อตัวเมียนั้น ก็จะละฝูงของตน มุ่งหน้าต่อเนื้อล่อตัวเมียนั้น. จริงอยู่ สิ่งใหม่ๆ นั้นเทียว ย่อมเป็นที่รักของสัตว์ทั้งหลาย เนื้อล่อตัวเมียที่มุ่งหน้าต่อเนื้อป่านั้น ก็จะไม่ให้เนื้อป่าเข้าใกล้ จะหันหลังกลับไปยังที่อยู่ของเนื้อล่อตัวผู้ จะขวิดด้วยกลีบเล็บในที่ที่มีเชือกคล้องไว้ให้หนีไป. เนื้อป่าเห็นเนื้อล่อตัวผู้แล้ว ก็มัวเมากับเนื้อล่อตัวเมีย ทําความหึงในเนื้อล่อตัวผู้ น้อมหลัง ยืนส่ายหัว. ในขณะนั้น แม้เลียหอกอยู่

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 233

ก็ไม่รู้ว่า นี้อะไร. ฝ่ายเนื้อล่อตัวผู้ ถ้าเนื้อป่านั้นมีความสุข เพื่อขวิดเนื้อนั้นโดยส่วนบน ก็จะน้อมหลัง ถ้าเนื้อป่านั้นมีความสุขเพื่อขวิดโดยส่วนข้างล่าง ก็จะน้อมหัวใจขึ้น. ลําดับนั้น พรานก็จะเอาหอกแทงเนื้อป่า ฆ่าในที่นั้นเทียว แล้วถือเอาชิ้นเนื้อไป. ด้วยประการฉะนี้ เนื้อนั้นมัวเมาอยู่กับเนื้อล่อตัวเมีย ทําความหึงในเนื้อล่อตัวผู้ แม้เลียหอกอยู่ ก็ไม่รู้อะไรฉันใด สัตว์เหล่านี้ก็ฉันนั้น เป็นผู้มัวเมา มืดมนเพราะอวิชชา เมื่อไม่รู้อะไร อาศัยความกําหนัดด้วยความเพลิดเพลินในอารมณ์ทั้งหลาย มีรูปเป็นต้น ย่อมได้การฆ่าด้วยหอกคือ ทุกข์ในวัฏฏะ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงกระทําเนื้อล่อตัวผู้เป็นนันทิราคะ ทรงกระทําเนื้อล่อตัวเมียเป็นอวิชชา.

บทว่า อิติ โขภิกฺขเว วิวโฏ มย เขโม มคฺโค ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางอันประกอบด้วยองค์ ๘ อันเกษม คือ ประเสริฐ อันเราบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณด้วยการประพฤติประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์เหล่านี้ ไม่ได้เป็นผู้นั่งนิ่ง ด้วยอันคิดว่าเราเป็นพระพุทธเจ้า แสดงธรรมตั้งแต่การยังธรรมจักรให้เป็นไป ได้เปิดแล้ว ทางชั่วเราได้ปิดแล้ว ด้วยประการฉะนี้แล เนื้อล่อตัวผู้คือ นันทิราคะ อันภัพพบุคคลทั้งหลายมีพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นอันได้ละแล้ว เนื้อล่อตัวเมีย คืออวิชชา ถูกตัดเป็นสองส่วนให้พินาศแล้วจากผู้มีบาป ทั้งหมดถูกถอนหมดแล้ว เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงอุปจาระอันเกื้อกูลแก่พระองค์. คําที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาเทวธาวิตักกสูตรที่ ๙