พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. อลคัททูปมสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ส.ค. 2564
หมายเลข  36026
อ่าน  1,038

[เล่มที่ 18] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 279

๒. อลคัททูปมสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 18]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 279

๒. อลคัททูปมสูตร

[๒๗๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ทิฏฐิอันชั่วเห็นปานนี้ บังเกิดขึ้นแก่อริฏฐภิกษุ ผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งว่า ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่าเป็นธรรมกระทําซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทําอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง ภิกษุมากหลายได้ฟังแล้วว่า ได้ยินว่า ทิฏฐิอันชั่วเห็นปานนี้ บังเกิดแก่อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งว่า ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว. โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทําซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทําอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปหาอริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้ง แล้วได้กล่าวกะเธอว่า ท่านอริฏฐะ ได้ยินว่า ทิฏฐิอันชั่วเห็นปานนี้บังเกิดขึ้นแก่ท่านว่า ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีภาคเจ้าตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทําซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทําอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง ดังนี้จริงหรือ อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งรับว่า จริง ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทําซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทําอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาจะปลดเปลื้องอริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้ง จากทิฏฐิอันชั่วเห็นปานนั้น จึงซักไซ้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 280

ไล่เลียง สอบสวนด้วยกล่าวว่า ท่านอริฏฐะ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีดอก เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสอย่างนี้ ท่านอริฏฐะ ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทําซึ่งอันตรายโดยอเนกปริยาย ก็แหละธรรมเหล่านั้นสามารถทําอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง พระผู้มีพระเจ้าตรัสกามทั้งหลายซึ่งมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลายมีอุปมาด้วยร่างกระดูกมีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลาย มีอุปมาด้วยชิ้นเนื้อ ... พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลายมีอุปมาด้วยคบหญ้า ... พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลายมีอุปมาด้วยหลุมถ่านเพลิง ... พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลายมีอุปมาด้วยความฝัน ... พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลายมีอุปมาด้วยของขอยืม ... พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลายมีอุปมาด้วยผลไม้ ... พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลายมีอุปมาด้วยเขียงหั่นเนื้อ ... พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลายมีอุปมาด้วยหอกและหลาว ... พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลายมีอุปมาด้วยศีรษะงูพิษ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้ง ถูกภิกษุเหล่านั้นซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่แม้อย่างนี้แล ก็ยังกล่าวยึดมั่นทิฏฐิอันชั่วนั้นเองด้วยกําลังทิฏฐิว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทําซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทําอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง.

[๒๗๕] กาลใดแล ภิกษุเหล่านั้น ไม่สามารถจะปลดเปลื้องอริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งจากทิฏฐิอันชั่วนั้น กาลนั้น ภิกษุเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 281

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิฏฐิอันชั่วเห็นปานนี้ บังเกิดขึ้นแก่อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งว่า ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทําซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทําอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้ฟังแล้วว่า ได้ยินว่า ทิฏฐิอันชั่วเห็นปานนี้บังเกิดขึ้นแก่อริฏฐภิกษุ ทีนั้นแล ข้าพระองค์ทั้งหลายเข้าไปหาอริฏฐภิกษุแล้ว ได้กล่าวว่า ท่านอริฏฐะได้ยินว่าทิฏฐิอันชั่วเห็นปานนี้บังเกิดขึ้นแก่ท่านว่า ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่าเป็นธรรมกระทําซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทําอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง ดังนี้ จริงหรือ เมื่อข้าพระองค์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว อริฏฐภิกษุได้กล่าวกะข้าพระองค์ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทําซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทําอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง ที่นั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายปรารถนาจะปลดเปลื้องอริฏฐภิกษุจากทิฏฐิอันชั่วนั้น จึงซักไซ้ไล่เลียง สอบสวน ด้วยกล่าวว่า ท่านอริฏฐะท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระภาคเจ้าไม่ดีดอก เพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสอย่างนี้ ท่านอริฏฐะ ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทําอันตรายโดยอเนกปริยาย ก็แหละธรรมเหล่านั้นสามารถทําอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลายซึ่งมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสกามทั้งหลายมี

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 282

อุปมาด้วยร่างกระดูก ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลาย มีอุปมาด้วยศีรษะงูพิษ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริฏฐภิกษุถูกข้าพระองค์ทั้งหลายซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่แม้อย่างนี้แล ก็ยังกล่าวยึดมั่นทิฏฐิอันชั่วนั้นเอง ด้วยกําลังทิฏฐิว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทําซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทําอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กาลใดแล ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่สามารถจะปลดเปลื้องอริฏฐภิกษุจากทิฏฐิอันชั่วนั้น กาลนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย จึงกราบทูลเนื้อความนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๒๗๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาว่า มานี่ภิกษุ เธอจงเรียกอริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งมาตามคําของเราว่า พระศาสดาเรียกท่าน. ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงเข้าไปหาอริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งถึงที่อยู่ แล้วกล่าวว่า ท่านอริฏฐะ พระศาสดาเรียกท่าน อริฏฐภิกษุรับคําภิกษุนั้น แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะอริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งว่า อริฏฐะได้ยินว่า ทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้ บังเกิดขึ้นแก่เธอว่า ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทําซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทําอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง ดังนี้ จริงหรือ. อริฏฐภิกษุกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทําซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทํา

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 283

อันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอรู้ถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ แก่ใครเล่า ธรรมทั้งหลายเรากล่าวว่าเป็นธรรมกระทําซึ่งอันตรายโดยอเนกปริยายมิใช่หรือ ก็แหละ ธรรมเหล่านั้นสามารถทําอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง เรากล่าวกามทั้งหลายซึ่งมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง เรากล่าวกามทั้งหลายมีอุปมาด้วยร่างกระดูก ... มีอุปมาด้วยชิ้นเนื้อ ... มีอุปมาด้วยคบหญ้า ... มีอุปมาด้วยหลุมถ่านเพลิง ... มีอุปมาด้วยความฝัน ... มีอุปมาด้วยของขอยืม ... มีอุปมาด้วยผลไม้ ... มีอุปมาด้วยเขียงหั่นเนื้อ ... มีอุปมาด้วยหอกและหลาว ... มีอุปมาด้วยศีรษะงูพิษ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง โมฆบุรุษ เธอกล่าวตู่เรา ขุดตนเองและประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยทิฏฐิอันชั่ว อันตนถือเอาชั่วแล้ว กรรมนั้นแลจักมีแก่เธอ เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เออ ก็อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งนี้ แม้จะกระทําญาณให้สูงขึ้นในพระธรรมวินัยนี้ได้หรือ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความสูงขึ้นแห่งญาณอะไรเล่า จะพึงมีได้ ก็ความสูงขึ้นแห่งญาณนั้นจักมีไม่ได้เลย. เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลอย่างนี้แล้ว อริฏฐภิกษุเป็นผู้นิ่งเก้อเขินนั่งคอตกก้มหน้าซบเซา หมดปฏิภาณ.

[๒๗๗] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า อริฏฐภิกษุเป็นผู้นิ่งเก้อเขินคอตกก้มหน้าซบเซาหมดปฏิภาณ จึงได้ตรัสกะอริฏฐภิกษุว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอจักปรากฏด้วยทิฏฐิอันชั่วของตนนั้นเองแล เราจักสอบถามภิกษุทั้งหลายในที่นี้ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลายรู้ถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ โดย

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 284

ประการที่อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งนี้ กล่าวตู่เรา ขุดตนเอง และประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยทิฎฐิอันชั่ว อันตนถือเอาชั่วแล้ว ดังนี้หรือ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้อนั้นไม่เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า ด้วยว่าธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย โดยอันเนกปริยายว่า เป็นธรรมกระทําซึ่งอันตราย ก็แหละ ธรรมเหล่านั้น สามารถทําอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลาย มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลาย มีอุปมาด้วยร่างกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลายมีอุปมาด้วยศีรษะงูพิษ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายรู้ถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่เรากล่าวแล้วว่า เป็นธรรมกระทําซึ่งอันตรายแก่ท่านทั้งหลายโดยอเนกปริยาย ก็แหละธรรมเหล่านั้นสามารถทําอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง เรากล่าวกามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่โดยยิ่ง เรากล่าวกามทั้งหลายมีอุปมาด้วยร่างกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง ฯลฯ เรากล่าวกามทั้งหลายมีอุปมาด้วยศีรษะงูพิษ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง เออก็แล อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งนี้ กล่าวตู่เรา ขุดตนเอง และประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยทิฏฐิอันชั่ว อันตนถือเอาชั่วแล้ว กรรมนั้นแลจักมีแก่เธอผู้เป็นโมฆบุรุษ เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน ภิกษุทั้งหลาย เธอจักเสพกามทั้งหลาย นอกจากกาม นอกจากกามสัญญา นอกจากกามวิตก ข้อนั้นไม่เป็นฐานะจะมีได้

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 285

[๒๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษ บางพวกในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ โมฆบุรุษเหล่านั้น เล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้น ย่อมไม่ควรซึ่งการเพ่งแห่งโมฆบุรุษเหล่านั้น ผู้ไม่ไตร่ตรองเนื้อความด้วยปัญญา โมฆบุรุษเหล่านั้น ข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์ หมายเปลื้องคํากล่าวร้ายของผู้อื่นเป็นอานิสงส์ จึงเล่าเรียนธรรม ก็กุลบุตรทั้งหลาย ย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์อันใด โมฆบุรุษเหล่านั้น ย่อมไม่ได้เสวยประโยชน์นั้นแห่งธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้น อันโมฆบุรุษเหล่านั้นเรียนไม่ดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน ข้อนั้นเป็นเพราะอะไร เพราะธรรมทั้งหลายอันตนเรียนไม่ดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการด้วยงูพิษ เสาะหางูพิษ เที่ยวแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่ พึงจับงูพิษนั้นที่ขนดหรือที่หาง งูพิษนั้นพึงแว้งกัดเขาที่มือ ที่แขน หรือที่อวัยวะใหญ่น้อยแห่งใดแห่งหนึ่ง เขาพึงถึงความตาย หรือความทุกข์ปางตาย มีการกัดนั้นเป็นเหตุ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะงูพิษตนจับไม่ดีแล้วแม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย พวกโมฆบุรุษบางพวกในพระธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นนั่นแล ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ... อัพภูตธรรม เวทัลละ โมฆบุรุษเหล่านั้น เล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้นย่อมไม่ควรซึ่งการเพ่งแห่งโมฆะบุรุษเหล่านั้น ผู้ไม่ไตร่ตรองเนื้อความด้วยปัญญา โมฆบุรุษเหล่านั้น หมายข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์ หมายเปลื้องคํากล่าวร้ายผู้อื่นเป็นอานิสงส์ จึงเล่าเรียนธรรม ก็กุลบุตรทั้งหลายย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์อันใด โมฆบุรุษเหล่านั้นย่อมไม่ได้เสวยประโยชน์นั้นแห่งธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้น อันโมฆบุรุษเหล่า

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 286

นั้นเรียนไม่ดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะธรรมทั้งหลายอันตนเรียนไม่ดีแล้ว.

[๒๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางพวกในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ ... อัพภูตธรรม เวทัลละ กุลบุตรเหล่านั้น เล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้น ย่อมควรซึ่งการเพ่งแห่งกุลบุตรเหล่านั้น ผู้ไตร่ตรองซึ่งเนื้อความด้วยปัญญา กุลบุตรเหล่านั้นไม่มุ่งข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์ และไม่มุ่งเปลื้องคํากล่าวร้ายผู้อื่นเป็นอานิสงส์ ย่อมเล่าเรียนธรรม และกุลบุตรเหล่านั้น ย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์ใด ย่อมได้เสวยประโยชน์นั้นแห่งธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้นอันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ข้อนี้เป็นเพราะเหตุอะไร เพราะธรรมทั้งหลายอันตนเรียนดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการงูพิษ เสาะหางูพิษ เที่ยวแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่ พึงกดงูพิษนั้นไว้มั่นด้วยไม้มีสัณฐานเหมือนเท้าแพะ ครั้นกดไว้มั่นด้วยไม้มีสัญฐานเหมือนเท้าแพะแล้ว จับที่คอไว้มั่น ถึงแม้งูพิษนั้นพึงรัดมือ แขน หรืออวัยวะใหญ่น้อยแห่งใดแห่งหนึ่ง ของบุรุษนั้นด้วยขนดก็จริง ถึงอย่างนั้น เขาไม่พึงถึงความตาย หรือความทุกข์ปางตาย ซึ่งมีการพันนั้นเป็นเหตุ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะงูพิษอันตนจับไว้มั่นแล้ว แม้ฉันใด กุลบุตรบางพวกในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นนั่นแล ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ กุลบุตรเหล่านั้นเล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้น ย่อมควรซึ่งการเพ่งแห่งกุลบุตรเหล่านั้น ผู้ไตร่ตรองซึ่งเนื้อความด้วยปัญญา กุลบุตรเหล่านั้น ไม่มุ่งข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์ และ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 287

ไม่มุ่งเปลื้องคํากล่าวร้ายของผู้อื่นเป็นอานิสงส์ จึงเล่าเรียนธรรม และกุลบุตรเหล่านั้นย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์ใด ย่อมได้เสวยประโยชน์นั้นแห่งธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้น อันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะธรรมทั้งหลายอันตนเรียนดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงรู้ถึงเนื้อความแห่งภาษิตของเราอย่างใด พึงทรงจําไว้อย่างนั้นเถิด ก็แล ท่านทั้งหลาย ไม่พึงรู้ถึงเนื้อความแห่งภาษิตของเรา พึงสอบถามเรา หรือถามภิกษุผู้ฉลาดก็ได้ เราจักแสดงธรรมมีอุปมาด้วยทุ่นแก่ท่านทั้งหลาย เพื่อต้องการสลัดออก ไม่ใช่เพื่อต้องการจะยึดถือ ท่านทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจไว้ให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

[๒๘๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้เดินทางไกล พบห้วงน้ำใหญ่ฝังข้างนี้ น่ารังเกียจ มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้าฝังข้างโน้นเกษม ไม่มีภัย ก็แหละ เรือหรือสะพานสําหรับข้ามเพื่อจะไปสู่ฝังโน้นไม่พึงมี บุรุษนั้นพึงดําริอย่างนี้ว่า ห้วงน้ำนี้ใหญ่แล ฝังข้างนี้น่ารังเกียจ มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า ฝังข้างโน้นเกษม ไม่มีภัย ก็แหละเรือ หรือสะพานสําหรับข้ามเพื่อจะไปสู่ฝังโน้นย่อมไม่มี ถ้ากระไร เราพึงรวบรวมหญ้าไม้ กิ่งไม้ และใบไม้มาผูกเป็นทุ่น แล้วอาศัยทุ่นนั้น พยายามด้วยมือและเท้า พึงข้ามถึงฝังได้โดยความสวัสดี ทีนั้นแล บุรุษนั้นรวบรวมหญ้า ไม้ กิ่งไม้และใบไม้มาผูกเป็นทุ่น อาศัยทุ่นนั้น พยายามด้วยมือและเท้า พึงข้ามถึงฝังโดยความสวัสดี บุรุษนั้นข้ามไปสู่ฝังได้แล้ว พึงดําริอย่างนี้ว่า ทุ่นนี้มีอุปการะแก่เรามากแล เราอาศัยทุ่นนี้ พยายามอยู่ด้วยมือและเท้า ข้ามถึงฝังได้โดยความสวัสดี ถ้ากระไร เรายกทุ่นนี้ขึ้นบนศีรษะ หรือแบกที่บ่า แล้วพึงหลีกไปตามความปรารถนา ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 288

บุรุษนั้นผู้กระทําอย่างนี้ จะชื่อว่าถูกหน้าที่ในทุ่นนั้นบ้างหรือหนอ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่าข้อนั้นชื่อว่าทําไม่ถูก พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษนั้นกระทําอย่างไรจึงจะชื่อว่าทําถูกหน้าที่ในทุ่นนั้น. ในข้อนี้ บุรุษนั้นข้ามไปสู่ฝังแล้ว พึงดําริอย่างนี้ว่า ทุ่นนี้มีอุปการะแก่เรามากแลเราอาศัยทุ่นนี้ พยายามอยู่ด้วยมือและเท้า จึงข้ามถึงฝังได้โดยความสวัสดี ถ้ากระไร เราพึงยกทุ่นนี้ขึ้นวางไว้บนบก หรือให้ลอยอยู่ในน้ำแล้วพึงหลีกไปตามความปรารถนา ภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นกระทําอย่างนี้แล จึงจะชื่อว่ากระทําถูกหน้าที่ในทุ่นนั้น แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรมมีอุปมาด้วยทุ่นเพื่อต้องการสลัดออก ไม่ใช่เพื่อต้องการยึดถือฉันนั้นแล เธอทั้งหลายรู้ถึงธรรมมีอุปมาด้วยทุ่นที่เราแสดงแล้วแก่ท่านทั้งหลาย พึงละแม้ซึ่งธรรมทั้งหลาย จะป่วยการกล่าวไปไยถึงอธรรมเล่า.

[๒๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งทิฏฐิ ๖ ประการเหล่านั้น ๖ ประการเป็นไฉน ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนําในธรรมของพระอริยะ ไม่เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนําแล้วในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมพิจารณาเห็นรูปว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นสัญญาว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นรูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ฟังแล้ว กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบแล้ว อารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วยใจว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นเหตุแห่งทิฏฐิว่า นั้นโลก นั้นอัตตาในปรโลก เรานั้นจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 289

อัตตาของเรา ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้สดับแล้ว ผู้เห็นพระอริยะทั้งหลายฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับแนะนําดีแล้วในธรรมของพระอริยะ เห็นสัตบุรุษฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับแนะนําดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมพิจารณาเห็นรูปว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นสัญญาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นรูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ฟังแล้ว กลิ่น รส โผฐัพพะที่ทราบแล้ว อารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วยใจว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นเหตุแห่งทิฏฐิว่า นั่นโลก นั่นตน ในปรโลก เรานั้นจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้นว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา พระอริยสาวกนั้นพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่สะดุ้ง ในเพราะสิ่งที่ไม่มีอยู่.

[๒๘๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายนอก ไม่มี ความสะดุ้งพึงมีได้หรือหนอแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พึงมีได้สิ ภิกษุ บางคนในโลกนี้มีความเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งนั้นได้มีแล้วแก่เราหนอ สิ่งนั้นย่อมไม่มีแก่เราหนอ สิ่งนั้นพึงมีแก่เราหนอ เราไม่ได้สิ่งนั้นหนอ บุคคลนั้นย่อมเศร้าโศก ลําบาก รําไร คร่ําครวญ ตีอก ถึงความลุ่มหลง ภิกษุ เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายนอกไม่มี ความสะดุ้งย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุนั้นทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อความพินาศแห่งบริขาร

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 290

ในภายนอกไม่มี ความไม่สะดุ้งพึงมีหรือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พึงมีสิ ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มีความเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งนั้นได้มีแล้วแก่เราหนอ สิ่งนั้นย่อมไม่มีแก่เราหนอ สิ่งนั้นพึงมีแก่เราหนอ เราจะไม่ได้สิ่งนั้นหนอ บุคคลนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลําบาก ไม่ร่ําไร ไม่คร่ําครวญตีอก ไม่ถึงความลุ่มหลง ดูก่อนภิกษุ เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายนอกไม่มี ความไม่สะดุ้งย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุนั้นทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายในไม่มี ความสะดุ้งพึงมีหรือ. พระผู้มีภาคเจ้าตรัสว่า พึงมีสิ ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า นั้นโลก นั้นอัตตาในปรโลก เรานั้นจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้น บุคคลนั้นย่อมฟังต่อตถาคต หรือสาวกของตถาคตผู้แสดงธรรมอยู่ เพื่อถอนขึ้นซึ่งทิฏฐิ เหตุแห่งทิฏฐิ ความตั้งมั่นแห่งทิฏฐิ ความกลุ้มรุมด้วยทิฏฐิ และเชื้อแห่งความยึดมั่นทั้งหมด เพื่อระงับสังขารทั้งหมด เพื่อสละคืนอุปธิทั้งหมด เพื่อความสิ้นแห่งตัณหา เพื่อความสํารอก เพื่อความดับ เพื่อนิพพาน บุคคลนั้นมีความเห็นอย่างนี้ว่า เราจักขาดสูญแน่แท้ จักฉิบหายแน่แท้ จักไม่มีแน่แท้ บุคคลนั้นย่อมเศร้าโศก ลําบาก ร่ําไร คร่ําครวญ ตีอก ถึงความลุ่มหลง ภิกษุ เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายในไม่มี ความสะดุ้งย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุนั้นทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายในไม่มี ความไม่สะดุ้งพึงมีได้หรือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พึงมีสิ ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่มีความเห็นอย่างนี้ว่า นั้นโลก นั้นอัตตา ในปรโลก เรานั้นจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้น บุคคลนั้นย่อมฟังต่อตถาคต หรือต่อสาวกของตถาคตผู้แสดงธรรมอยู่ เพื่อถอนขึ้นซึ่งทิฏฐิ เหตุแห่งทิฏฐิ ความตั้งมั่นแห่งทิฏฐิ ความกลุ้นรุมด้วยทิฏฐิ และ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 291

เชื้อแห่งความยึดมั่นทั้งหมด เพื่อระงับสังขารทั้งหมด เพื่อสละคืนอุปธิทั้งหมด เพื่อความสิ้นแห่งตัณหา เพื่อความสํารอก เพื่อความดับ เพื่อนิพพาน บุคคลนั้นไม่มีความเห็นอย่างนี้ว่า เราจักขาดสูญแน่แท้ จักฉิบหายแน่แท้ จักไม่มีแน่แท้ บุคคลนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลําบาก ไม่ร่ําไร ไม่คร่ําครวญตีอก ไม่ถึงความลุ่มหลง เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายในไม่มี ความไม่สะดุ้งย่อมมิได้ด้วยอาการอย่างนี้แล.

[๒๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงกําหนดถือเอาบริขารที่หวงแหน ซึ่งเป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้น เธอทั้งหลายเห็นบริขารที่หวงแหน ซึ่งเป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้นหรือไม่. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เราก็ไม่พิจารณาเห็นบริขารที่หวงแหน ซึ่งเป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้น. เธอทั้งหลายพึงเข้าไปยึดถืออัตตวาทุปาทาน ซึ่งเมื่อเธอยึดถืออยู่ จะพึงบังเกิด โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส เธอทั้งหลายเห็นอัตตวาทุปาทาน ซึ่งเมื่อเธอยึดถืออยู่จะพึงไม่บังเกิดโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส หรือไม่.

ไม่เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า.

ดีละ. ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่พิจารณาเห็นอัตตวาทุปาทาน ซึ่งเมื่อบุคคลยึดถืออยู่ จะไม่พึงบังเกิดโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส เธอทั้งหลายพึงอาศัยทิฏฐินิลัย ซึ่งเมื่อเธออาศัยยึดถืออยู่จะพึงไม่บังเกิดความโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส เธอทั้งหลายเห็นทิฏฐินิสัย ซึ่งเมื่อเธอ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 292

อาศัยยึดถือจะพึงไม่บังเกิดโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส หรือไม่.

ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่พิจารณาเห็นทิฏฐินิสัย ซึ่งเมื่อบุคคลอาศัยยึดถืออยู่จะพึงไม่บังเกิดโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส.

[๒๘๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่ออัตตามีอยู่ บริขารที่เนื่องด้วยอัตตามี ก็พึงมีว่า ของเราหรือ.

ทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ตรัสว่า อนึ่ง เมื่อบริขารเนื่องด้วยอัตตามีอยู่ อัตตาพึงมีว่า ของเราหรือ.

ทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ตรัสว่า เมื่ออัตตาและบริขารเนื่องด้วยอัตตาบุคคลถือเอาไม่ได้ โดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ คือเหตุแห่งทิฏฐิว่า นั้นโลก นั้นอัตตา แม้ตายไปแล้ว เรานั้นจักเป็นผู้เที่ยงยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้น. นี้เป็นธรรมของคนเปล่าบริบูรณ์สิ้นเชิงมิใช่หรือ.

ทูลว่า ข้อนี้ ไฉนจะไม่พึงเป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า เป็นธรรมของคนเปล่าบริบูรณ์สิ้นเชิงทีเดียว.

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 293

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา.

ข้อนั้นไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสําคัญความข้อนั้นไฉน เวทนา ... สัญญา ... สังขารทั้งหลาย ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา.

ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.

เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ รูปทั้งปวง เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ... วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ วิญญาณทั้งปวง เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา.

[๒๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ทั้งในเวทนา ทั้งในสัญญา ทั้งในสังขารทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 294

ทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกําหนัด เพราะคลายกําหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทํา ทําเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ผู้มีลิ่มคืออวิชชาอันยกขึ้นแล้วดังนี้บ้าง ว่าผู้มีเครื่องแวดล้อมคือกัมมาภิสังขารอันรื้อเสียแล้วดังนี้บ้าง ว่าผู้มีเสาระเนียดคือตัณหาอันถอนขึ้นแล้วดังนี้บ้าง ว่าผู้ไม่มีสลักประตูคือสังโยชน์ดังนี้บ้าง ว่าอริยะผู้ประเสริฐ มีธงคือมานะอันตกแล้ว มีภาระอันตกแล้ว ไม่มีมานะแล้วดังนี้บ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีลิ่มคืออวิชชาอันยกขึ้นแล้วอย่างไรเล่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ละอวิชชาที่มีรากขาดแล้ว เป็นดุจตาลยอดด้วน ไม่มีแล้ว เป็นธรรมดา อันไม่บังเกิดขึ้นต่อไป ภิกษุเป็นผู้มีลิ่มคืออวิชชาอันยกขึ้นแล้วด้วยอาการอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีเครื่องแวดล้อมคือกัมมาภิสังขารอันรื้อเสียแล้วอย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ละสังขารเครื่องปรุงแต่งชาติ อันให้เกิดในภพใหม่ ที่มีรากขาดแล้วเป็นดุจตาลยอดด้วน ไม่มีแล้ว เป็นธรรมดาอันไม่บังเกิดขึ้นต่อไป ภิกษุเป็นผู้มีเครื่องแวดล้อมคือกัมมาภิสังขารอันรื้อเสียแล้วด้วยอาการอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีเสาระเนียดคือตัณหาอันถอนขึ้นแล้วอย่างไรเล่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ละตัณหา ที่มีรากขาดแล้ว เป็นดุจตาลยอดด้วน ไม่มีแล้ว เป็นธรรมดาอันไม่บังเกิดขึ้นต่อไป ภิกษุเป็นผู้มีเสาระเนียดคือตัณหาอันถอนขึ้นแล้วด้วยอาการอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่มีสลักประตูคือสังโยชน์อย่างไรเล่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่มีรากขาดแล้ว เป็นดุจตาลยอดด้วน ไม่มีแล้ว เป็นธรรมดาอันไม่บังเกิดขึ้นต่อไป ภิกษุเป็นผู้ไม่มีสลักประตูคือสังโยชน์ด้วยอาการอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 295

ภิกษุเป็นอริยะผู้ประเสริฐมีธงคือมานะอันตกแล้ว มีภาระอันตกแล้ว ไม่มีมานะแล้วอย่างไรเล่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ละอัสมิมานะ ที่มีรากขาดแล้ว เป็นดุจตาลยอดด้วน ไม่มีแล้ว เป็นธรรมดาอันไม่บังเกิดขึ้นต่อไป ภิกษุเป็นอริยะผู้ประเสริฐ มีธงคือมานะอันตกแล้ว มีภาระอันตกแล้ว ไม่มีมานะแล้วด้วยอาการอย่างนี้แล.

[๒๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาทั้งหลาย ทั้งพระอินทร์ ทั้งพรหม ทั้งปชาบดี แสวงหาภิกษุผู้มีจิตอันหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่พบว่าวิญญาณของตถาคตอาศัยแล้วซึ่งที่นี้. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เราเรียกตถาคต [บุคคลเช่นนั้น] ในปัจจุบันว่า อันใครๆ ไม่พบคือไม่มี สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวตู่เราผู้กล่าวอย่างนี้แล ผู้บอกอย่างนี้ ด้วยมุสาวาทเปล่าๆ อันไม่มีจริง อันไม่เป็นจริงว่า พระสมณโคดมผู้ให้สัตว์พินาศ ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีภพแห่งสัตว์ผู้มีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราไม่ทําให้สัตว์พินาศด้วยเหตุใด และไม่บัญญัติความขาดสูญแห่งสัตว์ ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็ยังกล่าวตู่เราด้วยมุสาวาทเปล่าๆ อันไม่มีจริง อันไม่เป็นจริงว่า พระสมณโคดมเป็นผู้ให้สัตว์พินาศ ย่อมบัญญัติความขาดสูญความพินาศ ความไม่มีภพแห่งสัตว์ผู้มีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติทุกข์ และความดับทุกข์ ทั้งในกาลก่อนและในกาลบัดนี้ ถ้าว่าบุคคลเหล่าอื่นย่อมด่า บริภาส โกรธ เบียดเบียน กระทบกระเทียบตถาคต ในการประกาศสัจจะ ๔ ประการนั้น ตถาคตก็ไม่มีความอาฆาต ไม่มีความโทมนัส ไม่มีจิตยินร้าย ถ้าว่าชนเหล่าอื่นย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชาตถาคต ในการประกาศสัจจะ ๔ ประการนั้น ตถาคตก็ไม่มีความยินดี ไม่มีความโสมนัส ไม่มีใจเย่อหยิ่งในปัจจัยทั้งหลาย มีสักการะเป็นต้นนั้น ถ้าว่าชนเหล่าอื่น ย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชาตถาคต ในการประกาศสัจจะ ๔ ประการนั้น

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 296

ตถาคตมีความดําริ ในปัจจัยทั้งหลายมีสักการะเป็นต้นนั้นอย่างนี้ว่า สักการะเห็นปานนี้ บุคคลกระทําแก่เราในขันธปัญจกที่เรากําหนดรู้แล้วแต่กาลก่อน.

[๒๘๗] เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย แม้ถ้าว่า ชนเล่าอื่นพึงด่า บริภาส โกรธ เบียดเบียน กระทบกระเทียบท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายไม่พึงกระทําความอาฆาต ไม่พึงกระทําความโทมนัส ไม่พึงกระทําความไม่ชอบใจ ในชนเหล่าอื่นนั้น เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย แม้ถ้าว่าชนเหล่าอื่นพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายไม่พึงกระทําความยินดี ความโสมนัส ไม่พึงกระทําความเย่อหยิ่งแห่งใจในปัจจัยทั้งหลายมีสักการะเป็นต้นนั้น เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย แม้ถ้าว่าชนเหล่าอื่นสักการะ นับถือ บูชาท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงดําริ ในปัจจัยทั้งหลายมีสักการะเป็นต้นนั้นอย่างนี้ว่า สักการะเห็นปานนี้ บุคคลกระทําแก่เราทั้งหลายในขันธปัญจกที่เราทั้งหลายกําหนดรู้แล้วในกาลก่อนๆ เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นท่านทั้งหลายละได้แล้ว จักอํานวยประโยชน์ สุขสิ้นกาลนาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งอะไรเล่า ไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นท่านทั้งหลายละได้แล้ว จักอํานวยประโยชน์สุขสิ้นกาลนาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย สัญญาไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย วิญญาณไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้นเสีย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้นท่านทั้งหลายละได้แล้ว จักอํานวยประโยชน์สุข สิ้นกาลนาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ชนพึงนําไป พึงเผาหรือ พึงกระทําหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ในพระ-

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 297

วิหารเชตวันนี้ ตามความปรารถนา ท่านทั้งหลายพึงดําริอย่างนี้บ้างหรือหนอว่า ชนย่อมนําไป ย่อมเผา หรือย่อมกระทําเราทั้งหลาย ตามความปรารถนา.

ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะว่านั้นไม่ใช่อัตตา หรือบริขารที่เนื่องด้วยอัตตาของข้าพระองค์ทั้งหลาย.

อย่างนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นท่านทั้งหลายละได้แล้ว จักอํานวยประโยชน์ สุขสิ้นกาลนาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นท่านทั้งหลายละได้แล้ว จักอํานวยประโยชน์สุขสิ้นกาลนาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้นเสียเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้นท่านทั้งหลายละได้แล้ว จักอํานวยประโยชน์ สุขสิ้นกาลนาน.

[๒๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว ภิกษุเหล่าใด เป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่จําต้องทํา ทําเสร็จแล้ว มีภาระปลงลงแล้ว ลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว มีสังโยชน์ในภพหมดสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่มีวัฏฏะเพื่อจะบัญญัติต่อไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏแยกขยายแล้ว ภิกษุเหล่าใดละโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ประการได้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในโลกนั้น มีการไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 298

เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว ภิกษุเหล่าใดละสังโยชน์ชน์ ๓ ประการได้แล้ว กับมีราคะ โทสะ และโมหะบางเบา ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเป็นพระสกทาคามี มาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น จักกระทําที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว ภิกษุเหล่าใดละสังโยชน์ ๓ ประการได้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ําเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีปัญญาเครื่องตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว ภิกษุเหล่าใดผู้เป็นธัมมานุสารี เป็นสัทธานุสารี ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดมีปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ดีเป็นเบื้องหน้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว บุคคลเหล่าใดมีเพียงความเชื่อ เพียงความรักในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีสวรรค์เป็นเบื้องหน้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นมีใจชื่นชม เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้แล.

จบ อลคัททูปมสูตรที่ ๒

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 299

อรรถกถาอลคัททูปมสูตร

อลคัททูปมสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในอลคัททูปมสูตรนั้นต่อไปนี้

ชนทั้งหลายเหล่าใด เบียดเบียนแร้ง เหตุนั้นชนเหล่านั้น ชื่อว่าผู้เบียดเบียนแร้ง บรรพบุรุษผู้เบียดเบียนแร้งของผู้นั้นมีอยู่ เหตุนั้น ผู้นั้นชื่อว่ามีบรรพบุรุษผู้เบียดเบียนแร้ง. บุตรของสกุลผู้เคยฆ่าแร้งนั้น อธิบายว่า ผู้ขวนขวายแห่งสกุลผู้ฆ่าแร้ง. ชื่อว่า อันตรายิกธรรม เพราะทําอันตรายต่อสวรรค์ และนิพพาน. อันตรายิกธรรมเหล่านั้นมี ๕ อย่าง คือ กรรม กิเลส วิบาก อริยุปวาท และอาณาวีตกกมะ. ในอันตรายิกธรรมเหล่านั้น อนันตริยกรรม ๕ ชื่อว่า กัมมนตรายิกธรรม. ภิกษุณีทูสกกรรมก็เหมือนกัน. แต่ภิกษุณีทูสกกรรมนั่น กระทําอันตรายต่อพระนิพพานอย่างเดียว หากระทําอันตรายต่อสวรรค์ไม่. ธรรมคือ นิยตมิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่า อันตรายิกธรรมคือ กิเลส. ปฏิสนธิธรรมของบัณเฑาะก์ สัตว์เดรัจฉาน และอุภโตพยัญชนก ชื่อว่าอันตรายิกธรรม คือ วิบาก. ธรรม คือ การเข้าไปว่าร้ายพระอริยเจ้า ชื่อว่าอันตรายิกรรม คือ อุปวาทะ. แต่อุปวาทันตรายิกธรรมเหล่านั้น ย่อมกระทําอันตรายตลอดเวลาที่ยังไม่ให้พระอริยเจ้าทั้งหลายอดโทษ เบื้องหน้าแต่นั้น ให้พระอริยเจ้าอดโทษแล้ว หากระทําอันตรายไม่. อาบัติ ๗ กอง ที่ภิกษุจงใจล่วงละเมิดแล้ว ชื่อว่า อันตรายิกธรรมคือ อาณาวีติกกมะ. แม้อาณาวีติกกมันตรายิกธรรมเหล่านั้น ย่อมกระทําอันตรายตลอดเวลาที่ภิกษุต้องอาบัติแล้ว ยังปฏิญญาตนว่าเป็นภิกษุอยู่ก็ดี ไม่อยู่ปริวาสกรรมก็ดี ไม่แสดงอาบัติก็ดีเบื้องหน้าแต่นั้น หากระทําอันตรายไม่.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 300

ในเรื่อง อันตรายยิกธรรมนั้น ภิกษุนี้ เป็นพหูสูต เป็นพระธรรมกถึก ย่อมรู้อันตรายิกธรรมที่เหลือ แต่เพราะคนไม่ฉลาดในพระวินัย จึงไม่รู้อันตรายิกธรรม คือการล่วงละเมิดพระบัญญัติ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้อยู่ในที่ลับจึงคิดอย่างนี้ว่า คฤหัสถ์เหล่านั้น บริโภคกามคุณ ๕ เป็นพระโสดาบันก็มี พระสกทาคามีก็มี พระอนาคามีก็มี ฝ่ายพวกภิกษุพิจารณาเห็นรูปที่น่าพอใจ ที่พึงรู้สึกด้วยจักษุ ถูกต้องโผฏฐัพพารมณ์ ที่พึงรู้สึกด้วยกาย ย่อมใช้สอยเครื่องลาดและเครื่องนุ่งห่มที่อ่อนนุ่ม ข้อนั้นทั้งหมด ควร เพราะเหตุไร รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะของหญิงเท่านั้น ไม่ควร ฝ่ายรูปเป็นต้นเหล่านี้จึงควร อริฏฐภิกษุ เทียบเคียงรสกับรสอย่างนี้แล้ว รวมการบริโภคด้วยอํานาจราคะที่มีฉันทะ กับการบริโภคด้วยอํานาจราคะที่ไม่มีฉันทะ แล้วเกิดทิฏฐิลามก เหมือนเทียบด้วยผ้าที่ละเอียดอย่างยิ่งกับปอหยาบ ประหนึ่งเทียบเขาสิเนรุกับเมล็ดพันธุ์ผักกาด ขัดแย้งกับพระสัพพัญุตญาณว่า ทําไมพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติปฐมปาราชิกด้วยพระอุสาหะอย่างใหญ่ ประหนึ่งกั้นมหาสมุทร โทษในพระบัญญัตินั้นไม่มี คัดค้านพระเวสารัชชญาณ ใส่ตอและหนามเป็นต้น ลงในอริยมรรค ประหารอาณาจักรของพระชินเจ้าว่า โทษในเมถุนธรรมไม่มี. ด้วยเหตุนั้น อริฏฐภิกษุนั้นจึงกล่าวว่า ตถาหํ ภควตา ธมฺมํเทสิตํ อาชานามิ เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงแล้วอย่างนั้นเป็นต้น. บทว่า เอวํ พฺยาโข เท่ากับ เอวํ วิยโข. ในคําว่า สมนุยุฺชนติ เป็นต้น ภิกษุทั้งหลายถามว่า ท่านมีลัทธิอะไร จึงกล่าวลัทธิ ชื่อว่า สอบถาม. ยกทิฏฐิขึ้นชื่อว่ายึดถือทิฏฐิ. สอบถามเหตุว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าวอย่างนี้ ชื่อว่า สมนุภาสน์. ในคําว่า อฏฺิกงฺขลูปมา เป็นต้น อุปมาด้วยร่างกระดูก เพราะอรรถว่า มีอัสสาทะน้อย อุปมาด้วยชิ้นเนื้อ เพราะอรรถว่า เป็นของทั่วไปแก่คนเป็นอันมาก อุปมาด้วยคบเพลิงหญ้า เพราะ

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 301

อรรถว่า ตามเผา อุปมาด้วยหลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถว่า ทําให้เร่าร้อนมาก อุปมาด้วยความฝัน เพราะอรรถว่า ปรากฏนิดหน่อย อุปมาด้วยของที่ขอยืมเขามา เพราะอรรถว่า เป็นไปชั่วคราว อุปมาด้วยผลต้นไม้มีพิษ เพราะอรรถว่า ทําลายทั่วสรรพางค์ อุปมาด้วยคมดาบ เพราะอรรถว่า ตัดรอน อุปมาด้วยหอกและหลาว เพราะอรรถว่า ทิ่มแทง อุปมาด้วยหัวงู เพราะอรรถว่า น่ารังเกียจ และมีภัยเฉพาะหน้า. บทว่า ถามสา ได้แก่ ด้วยกําลังแห่งทิฏฐิ. บทว่า ปรามาสา ได้แก่ ลูบคลําด้วยทิฏฐิ. บทว่า อภินิวิสฺส โวหรติ ได้แก่มุ่งมั่นกล่าวหรือแสดง. บทว่า ยโต โข เต ภิกฺขุ ได้แก่ ครั้งใดภิกษุเหล่านั้น. อริฏฐภิกษุนี้ แม้ใคร่จะกล่าวว่า ไม่มี ดังนี้ตามอัธยาศรัยของตนก็ยอมรับคํานี้ว่า เอวํ พฺยา โข อหํ ภนฺเต ภควตา ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ได้ยินว่า ชื่อว่า ผู้สามารถจะกล่าวคํา ๒ คําต่อพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี. บทว่า กสฺส โข นาม ตฺวํ โมฆปุริส ความว่าดูก่อนโมฆบุรุษ ท่านรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงอย่างนี้แก่ใคร กษัตริย์ หรือพราหมณ์ แพศย์ หรือศูทร คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต เทวดา หรือมนุษย์.

บทว่า อถ โข ภควา ภิกฺขุ อามนฺเตสิ นี้เป็นอนุสนธิแผนกหนึ่งโดยเฉพาะ. ได้ยินว่า อริฏฐภิกษุคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกเราว่าโมฆปุริส แต่เธอจะไม่มีธรรมอันเป็นอุปนิสัยแห่งมรรคและผล ด้วยเหตุเพียงตรัสว่า โมฆปุริส หามิได้แล จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกอุปเสนวังคันตบุตรด้วยวาทะว่าโมฆปุริส ว่า ดูก่อนโมฆปุริส เธอเป็นผู้เวียนมาเพื่อความมักมากเร็วเกินไป ภายหลังพระเถระเพียรพยายามกระทําให้แจ้งซึ่งอภิญญา ๖ ด้วยคิดว่าแม้เราก็จักประคองความเพียรเห็นปานนั้นทํามรรคผลให้เกิด. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความที่อริฏฐภิกษุเป็นผู้ไม่งอกงาม

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 302

เหมือนใบไม้เหลืองที่หลุดจากขั้ว จึงเริ่มแสดงพระธรรมเทศนานี้. บทว่า อุสฺมี กโตปิ ความว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอสําคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร อริฏฐภิกษุนี้มีลัทธิอย่างนี้ ขัดแย้งกับสัพพัญุตญาณ ปฏิเสธเวสารัชชญาณ ประหารอาณาจักรพระตถาคต แม้เธอก็อบรมญาณในธรรมวินัยนี้ได้บ้าง เธออาศัยความอบรมญาณแม้มีประมาณน้อย พยายามอยู่ พึงทํามรรคผลให้เกิดขึ้นได้บ้าง เหมือนกองไฟใหญ่ที่จะพึงมีได้ เพราะอาศัยลูกไฟแม้มีประมาณเท่าหิ่งห้อยในกองไฟใหญ่แม้ที่ดับไปแล้วฉันนั้น. บทว่า โน เหตํ ภนฺเต ความว่า ภิกษุทั้งหลายกล่าวคัดค้านความที่อริฏฐภิกษุอบรมญาณ เพื่อประโยชน์แก่มรรคผลที่มีปัจจัยเสมอกันว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริฏฐภิกษุผู้มีลัทธิอย่างนี้ จะอบรมญาณเช่นนั้นได้แต่ที่ไหน. บทว่า มงฺกุภูโต ได้แก่เป็นผู้ไร้อํานาจ. บทว่า ปตฺตกฺขนฺโธ ได้แก่ คอตก. บทว่า อปฺปฏิภาโณ ได้แก่ ไม่เห็นอะไรๆ แจ่มชัด คือขาดปฎิภาณ. อริฏฐภิกษุพิจารณาความที่ตนเป็นอภัพพบุคคลว่า ได้ยินว่า เราได้คําสอนที่นําออกจากทุกข์เห็นปานนี้แล้ว ยังไม่งอกงาม เรามีปัจจัยถูกถอนเสียแล้ว ดังนี้ นั่งเอาปลายนิ้วเท้าขุดดินอยู่.

แม้บทว่า ปฺายิสฺสสิ โข นี้ ก็เป็นอนุสนธิแผนกหนึ่งโดยเฉพาะ. ได้ยินว่า อริฏฐภิกษุคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราเป็นผู้ขาดธรรมอันเป็นอุปนิสัยแห่งมรรคและผล ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายมิใช่ทรงแสดงธรรมเฉพาะผู้มีอุปนิสัยเท่านั้น ทรงแสดงธรรมแก่ผู้ไม่มีอุปนิสัยด้วย เราได้สุคโตวาทจากสํานักพระศาสดาแล้ว จักกระทํากุศลอันจะเข้าถึงสมบัติของตน. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะระงับพระโอวาท จึงตรัสว่า ปฺายิสฺสสิ เป็นต้น. คํานั้นมีความว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ท่านนั่นแล จักปรากฏในนรกเป็นต้น ด้วยทิฏฐิอันชั่วช้านี้ ขึ้นชื่อว่าสุคโตวาทของท่านย่อมไม่มีจากสํานักของเรา ท่านไม่มีประโยชน์สําหรับเรา เราจักสอบถามภิกษุทั้งหลายในที่นี้.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 303

ความว่า อถ โข ภควา นี้เป็นอนุสนธิแผนกหนึ่ง. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงชําระบริษัทในที่นี้ จึงทรงขับพระอริฏฐออกเสียจากหมู่ ก็ถ้าหากว่า บรรดาบริษัททั้งหลาย ภิกษุบางรูปจะพึงคิดอย่างนี้ว่า อริฏฐะนี้หรือจักอาจกล่าวคําที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัส เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มกถา ก็รีบตรัสในท่ามกลางสงฆ์เลยหรือ ก็คําที่ตรัสอย่างนี้ พระอริฏฐะเท่านั้นไม่ฟัง แต่จักเป็นพระดํารัสที่ภิกษุแม้อื่นฟังกันแล้ว แม้เช่นนั้นภิกษุบางรูปนั้นพึงคิดว่า พระศาสดาทรงนิคคหะภิกษุอริฏฐะฉันใด พึงทรงนิคคหะแม้เราฉันนั้น แม้ฟังแล้วก็ต้องนิ่ง จักไม่ทําการนั้นทั้งหมด คําที่แม้เราไม่กล่าว แม้คําที่คนอื่นฟังก็ไม่มี. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชําระลัทธิในบริษัทด้วยพระดํารัสว่า ตุมฺเหปิ เม ภิกฺขเว เป็นต้น พระอริฏฐะชื่อว่าเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงขับไล่จากคณะ ด้วยการชําระลัทธิในบริษัทนั่นแหละ.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงประกาศลัทธิของภิกษุอริฏฐะ จึงตรัสคํามีอาทิว่า โส วต ภิกฺขเว ดังนี้. พึงทราบวินิจฉัยในคําเป็นต้นว่า อฺตเรว กาเมหิ ในบาลีนั้น ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นใดมีลัทธิอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทําอันตรายแก่ผู้เสพได้จริง ภิกษุนั้นหนอจักเสพวัตถุกามทั้งหลาย คือจักประพฤติเมถุนสมาจาร เว้นกิเลสกามและสัญญาวิตกที่ประกอบด้วยกิเลสกาม ละธรรมเหล่านั้น คือเว้นจากธรรมเหล่านั้น. บทว่า เนตํ านํ วิชฺชติ ความว่า ชื่อว่า ชื่อเหตุนี้ไม่มี คือเหตุนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส.

ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศลัทธิของพระอริฏฐะว่า อริฏฐะนี้เปรียบเหมือนช่างย้อม ถือเอาผ้าที่หอมบ้าง เหม็นบ้าง เก่าบ้าง ใหม่บ้าง สะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง มาห่อรวมเป็นห่อเดียวกัน ฉันใด เธอก็กระทําการบริโภคจีวรประณีตเป็นต้น ที่ไม่มีฉันทราคะสําหรับภิกษุ กระทํา

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 304

การบริโภคที่มีฉันทราคะอันกระทําอันตราย สําหรับคฤหัสถ์ที่มีศีลไม่ประจํา และทําการบริโภคที่มีฉันทราคะอันกระทําป้องกัน สําหรับภิกษุมีที่ศีลประจํารวมเป็นอันเดียวกันทั้งหมด บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงโทษของปริยัติที่เรียนมาไม่ดี จึงตรัสว่า อิธ ภิกฺขเว เอกจฺเจ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริยาปุณนฺติ แปลว่าเล่าเรียน. พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า สุตํ เป็นต้น อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกะและบริวารมงคลสูตร รัตนสูตร นาฬกสูตร ตุวัฏฏกสูตร ในสุตตนิบาต และตถาคตวจนะ แม้อื่นที่มีชื่อว่าสูตร พึงทราบว่าสูตร. สูตรที่มีคาถาทั้งหมด พึงทราบว่า เคยยะ. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สคาถวรรคทั้งสิ้นในสังยุตตนิกาย พึงทราบว่า เคยยะ. อภิธรรมปิฏกทั้งสิ้น สูตรที่ไม่มีคาถา และพุทธพจน์แม้อื่นที่สงเคราะห์ด้วยองค์ ๘ พึงทราบว่า เวยยากรณะ. ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนที่ไม่ชื่อว่าสูตรในสุตตนิบาต พึงทราบว่า คาถา. พระสูตร ๘๒ สูตร ที่เกี่ยวด้วยคาถาที่สําเร็จมาแต่โสมนัสญาณ พึงทราบว่า อุทาน. พระสูตร ๑๑๐ สูตร ที่เป็นไปโดยอาทิว่า วุตฺตมิทํ ภตวตา พึงทราบว่า อิติวุตตกะ. ชาดก ๕๕๐ เรื่อง มีอปัณณกชาดกเป็นต้น พึงทราบว่า ชาดก. พระสูตรที่เกียวด้วยอัจฉริยอัพภูตธรรมแม้ทั้งหมดที่เป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า จตฺตาโรเม ภิกฺขเว อจฺฉริยา อพฺภูตธมฺมา อานนฺเท พึงทราบว่า อัพภูตธรรม. พระสูตรที่ตรัสถามแล้ว ได้ความรู้ได้ความยินดีทั้งหมด มีจุลลเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตรสักกปัญหสูตร สังขารภาชนียสูตร มหาปุณณสูตรเป็นต้น พึงทราบว่าเวทัลละ.

บทว่า อตฺถํ น อุปริกฺขนฺติ ได้แก่ ไม่เห็น และกําหนดไม่ได้ซึ่งอรรถแห่งสูตร ซึ่งอรรถแห่งเหตุ. บทว่า อนุปปริกฺขตํ ได้แก่ กําหนด

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 305

ไม่ได้. บทว่า น นิชฺฌานํ ขมนฺติ ได้แก่ ไม่ปรากฏ คือไม่มาปรากฎ. อธิบายว่า ใครๆ ไม่อาจจะรู้อย่างนี้ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา มรรค ผล วัฏฏะ หรือวิวัฏฏะ ตรัสไว้แล้วในที่นี้. บทว่า เต อุปารมฺภานิสํสา เจว ความว่ากุลบุตรเหล่านั้น เป็นผู้ไม่ยกโทษในวาทะของคนเหล่าอื่นเป็นอานิสงส์เล่าเรียน. บทว่า อิติวาทปฺปโมกฺขานิสํสา จ ได้แก่ มีการปลดเปลื้องวาทะอย่างนี้เป็นอานิสงส์ เล่าเรียน อธิบายว่า ไม่เล่าเรียนด้วยเหตุนี้ว่า เมื่อคนอื่นยกโทษวาทะของตน เราจักเปลื้องโทษนั้นอย่างนี้. บทว่า ตฺจสฺส อตฺถํ นานุโภนฺติ ความว่า กุลบุตรทั้งหลาย เล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์มรรคหรือผลอันใด เรียนไม่ดี ย่อมไม่ได้รับประโยชน์นั้นของธรรมนั้น อนึ่ง แม้เมื่อไม่อาจจะยกโทษในวาทะของผู้อื่น และปลดเปลื้องวาทะของตน ย่อมไม่ได้รับประโยชน์นั้นเหมือนกัน. บทว่า อลคทฺทตฺถิโก ได้แก่ ผู้ต้องการอสรพิษ. ก็คําว่า คทฺโท เป็นชื่อของพิษ. พิษนั้นของงูนั้น มีพอ คือบริบูรณ์ เหตุนั้น อสรพิษนั้น จึงชื่อว่าอลคัททะ มีพิษพอตัว. บทว่า โภเค ได้แก่ ตัว. ข้อว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กุลบุตรบางพวกในโลกนี้ เล่าเรียนธรรม ได้แก่เล่าเรียนด้วยอํานาจนิตถรณปริยัติ.

จริงอยู่. ปริยัติมี ๓ คือ อลคัททปริยัติ นิตถรณปริยัติ ภัณฑาคาริกปริยัติ. บรรดาปริยัติทั้ง ๓ นั้น ภิกษุใดเล่าเรียนพุทธวจนะ เหตุปรารภลาภสักการะว่า เราจักได้จีวรเป็นต้น หรือคนทั้งหลายจักรู้จักเราในท่ามกลางบริษัท ๔ อย่างนี้ ปริยัตินั้นของภิกษุนั้น ชื่อว่า อลคัททปริยัติ. จริงอยู่ การไม่เล่าเรียนพุทธวจนะ แล้วนอนหลับเสีย ยังดีกว่าการเล่าเรียนอย่างนี้. ส่วนภิกษุใด เล่าเรียนด้วยคิดว่า เล่าเรียนพุทธวจนะ บําเพ็ญศีลในฐานะที่ศีลมาถึงเข้า ให้ถือเอาห้องสมาธิในฐานะที่สมาธิมาถึงเข้า เริ่มตั้งวิปัสสนาในฐานะที่วิปัสสนามาถึงเข้า ทํามรรคให้เกิด ทําให้แจ้งผล ในฐานะที่มรรคผลมาแล้ว

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 306

ปริยัตินั้นของภิกษุนั้นชื่อว่า นิตถรณปริยัติ. ปริยัติของพระขีณาสพ ชื่อว่า ภัณฑาคาริกปริยัติ. จริงอยู่ ทุกขสัจที่ยังไม่กําหนดรู้ สมุทยสัจที่ยังละไม่ได้ มรรคสัจที่ยังไม่ได้เจริญ หรือนิโรธสัจที่ยังไม่ทําให้แจ้ง ย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพนั้น ด้วยว่า พระขีณาสพนั้น กําหนดรู้ขันธ์แล้ว ละกิเลสได้แล้ว เจริญมรรคแล้ว ทําให้แจ้งผลแล้ว เพราะฉะนั้น ท่านเล่าเรียนพุทธวจนะ จึงเล่าเรียนเป็นผู้ทรงแบบแผน รักษาประเพณี อนุรักษ์วงศ์ ดังนั้น ปริยัตินั้นของท่านจึงชื่อว่า ภัณฑาคาริกปริยัติ. ถามว่า ก็เมื่อพวกคันถธุระ ไม่สามารถจะอยู่ในที่แห่งหนึ่งในเพราะฉาตกภัยเป็นต้น ปุถุชนใดเมื่อไม่ลําบากด้วยภิกษาจารเอง เล่าเรียนด้วยคิดว่า ขอพระพุทธวจนะที่ไพเราะยิ่งอย่าสูญเสียไป เราจักดํารงแบบแผน จักรักษาประเพณีไว้ ปริยัติของปุถุชนนั้นเป็นภัณฑาคาริกปริยัติหรือไม่เป็น. ตอบว่า ไม่เป็น. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะความที่ตนมิได้ตั้งอยู่ในฐานเล่าเรียน จริงอยู่ ชื่อว่า ปริยัติของปุถุชน เป็นอลคัททะบ้าง เป็นนิตถรณะบ้าง. ปริยัติของพระเสขะทั้ง ๗ เป็นนิตถรณะอย่างเดียว ปริยัติของพระขีณาสพ เป็นภัณฑาคาริกปริยัติเท่านั้น แต่ในที่นี้ท่านประสงค์เอานิตถรณปริยัติ.

บทว่า นิชฺฌานํ ขมนฺติ ความว่า ธรรมทั้งหลายย่อมมาปรากฏในอาคตสถานแห่งธรรมมีศีลเป็นต้นว่า ศีล ตรัสไว้ในที่นี้ สมาธิในที่นี้ วิปัสสนาในที่นี้ มรรคในที่นี้ ผลในที่นี้ วัฏฏะในที่นี้ วิวัฏฏะในที่นี้. บทว่า ตฺจสฺส อตฺถํ อนุโภนฺติ ความว่า กุลบุตรทั้งหลายย่อมเล่าเรียนเพื่อมรรคผลอันใด กุลบุตรเหล่านั้นอาศัยปริยัติที่เล่าเรียนดีแล้ว ทํามรรคให้เกิด ทําผลให้แจ้ง และเสวยประโยชน์นั้นของธรรมนั้น. แม้ไม่สามารถจะยกโทษในวาทะของผู้อื่นก็ดี ไม่สามารถจะถือเอาฐานะที่ตนปรารถนาแล้วปรารถนาอีก เปลื้องโทษที่เขายกในวาทะของตนก็ดี ชื่อว่า เสวยประโยชน์เหมือนกัน. บทว่า ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย สํวตฺตนฺติ ความว่า เมื่อบําเพ็ญศีลเป็นต้นใน

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 307

ฐานะแห่งศีลเป็นต้นมาแล้วก็ดี ยกโทษในวาทะของผู้อื่นโดยชอบธรรมก็ดี เปลื้องโทษจากวาทะของตนก็ดี บรรลุอรหัตแล้วแสดงธรรม ในท่ามกลางบริษัท บริโภคปัจจัย ๔ ที่คนผู้เลื่อมใสในพระธรรมเทศนาน้อมเข้าไปถวายก็ดี ธรรมเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน.

ครั้นทรงแสดงอานิสงส์ในพระพุทธวจนะที่เรียนดีอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงประกอบบริษัทไว้ในพุทธวจนะนั้นนั่นแล จึงตรัสคําอาทิว่า ตสฺมาติห ภิกฺขเว ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺมา ความว่าเพราะเหตุที่ปริยัติที่เรียนมาไม่ดี ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่มิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน เหมือนงูพิษที่จับไม่ดีฉะนั้น ส่วนปริยัติที่เรียนมาดี ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน เหมือนงูพิษที่จับไว้ดีฉะนั้น. บทว่า ตถา นํ ธาเรยฺยาถ ความว่า พึงทรงปริยัตินั้นไว้อย่างนั้นนั่นแล คือทรงไว้โดยอรรถนั้นนั่นแล. บทว่า เย วา ปนสฺสุ พฺยตฺตาภิกฺขุ ความว่า ก็หรือว่าพึงสอบถามเหล่าภิกษุผู้ฉลาด ผู้บัณฑิต มีพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ และพระมหากัจจานะเป็นต้น แต่ภิกษุไม่พึงเป็นเหมือนอริฏฐภิกษุ ใส่เปือกตม หรือหยากไย่ลงในศาสนาของเรา. บทว่า กุลฺลูปมํ แปลว่า เหมือนทุ่น. บทว่า นิตฺถรณตฺถาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การข้ามโอฆะ ๔. บทว่า อุทกณฺณวํ ความว่า ก็น้ำใดลึกแต่ไม่กว้างหรือ กว้างแต่ไม่ลึก น้ำนั้นท่านไม่เรียกว่า อัณณพ ส่วนน้ำใดทั้งลึกทั้งกว้างน้ำนั้นท่านเรียกว่า อัณณพ เพราะฉะนั้น อรรถในบทว่า มหนฺตํอุทกณฺณวํ นี้จึงมีความดังนี้ว่า น้ำใหญ่คือกว้าง ลึก. ที่ใดมีโอกาสที่โจรอยู่ยืน นั่ง นอน ปรากฏอยู่ ที่นั้น ชื่อว่า สาลังกะ น่าสงสัย. ที่ใดมีเหล่ามนุษย์ถูกพวกโจรมาปล้น ตีชิง ปรากฏอยู่ ที่นั้น ชื่อว่า สัปปฏิภยะ มีภัยปรากฏเฉพาะหน้า. สะพานที่เขาผูกไว้เบื้องบนห้วงน้ำ ชื่อว่า อุตตรเสตุ แปลว่า สะพานข้าม. บทว่า

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 308

กุลฺลํ พนฺธิตฺวา ความว่า กอไม้เป็นต้น ที่เขามัดเป็นกําเพื่อประโยชน์แก่การข้ามน้ำ ชื่อว่า ทุ่น ส่วนกอไม้เป็นต้นที่เขามัดแผ่ๆ ท่านเรียกว่า แพ. บทว่า อุสฺสาเปตฺวา แปลว่า ตั้งไว้. บทว่า กิจฺจการี ความว่า ทํากิจที่ถึงแล้ว ทํากิจที่ควร ทํากิจที่เหมาะ. ในคําว่า ธมฺมาปิ โว ปทาตพฺพา นี้ ธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า สมถะ และวิปัสสนา. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ละฉันทราคะ ทั้งในสมถะ ทั้งในวิปัสสนา. ทรงให้ละฉันทราคะในสมถะไว้ในที่ไหน. ทรงให้ละฉันทราคะไว้ในสมถะ ในที่นี้ว่า ดูก่อนอุทายี เพราะเหตุนี้แล เรากล่าวการละ แม้เนวสัญญานาสัญายตนะ ดูก่อนอุทายี เธอไม่เห็นสังโยชน์ อันละเอียดหรือหยาบ ที่เรามิได้กล่าวการละไว้. ทรงให้ละฉันทราคะไว้ในวิปัสสนา ในที่นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากพวกเธอไม่เกาะไม่ยึด ไม่ถือทิฏฐินี้ ที่บริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้. แต่ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงให้ละฉันทราคะในสมถะ และวิปัสสนาทั้ง ๒ จึงตรัสว่า แม้ธรรมทั้งหลายพวกเธอพึงละ จะป่วยกล่าวไปไย ถึงอธรรมทั้งหลาย. ในข้อนั้นมีอธิบายดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการละฉันทราคะในธรรมทั้งหลายอันสงบ และประณีตเห็นปานนี้ ก็จะป่วยกล่าวไปไยในอัสสัทธรรมนี้ ซึ่งเป็นของชาวบ้าน เป็นของถ่อย เป็นธรรมชั่วหยาบ เป็นธรรมเหลวไหล ซึ่งอริฏฐะ โมฆบุรุษนี้ สําคัญว่าไม่มีโทษ กล่าวฉันทราคะในกามคุณทั้ง ๕ ว่าเป็นธรรมไม่อาจทําอันตรายได้ พวกเธอไม่พึงเป็นเหมือนอริฏฐภิกษุ ใส่โคลนหรือหยากเยื่อลงในศาสนาของเรา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนิคคหะอริฏฐภิกษุผู้เดียว ด้วยโอวาทแม้นี้ ด้วยประการฉะนี้ บัดนี้เมื่อทรงแสดงว่า ผู้ใดยึดว่าเรา ของเรา ด้วยอํานาจการยึดถือสามอย่างในขันธ์ ๕ ผู้นั้นชื่อว่าใส่โคลนหรือหยากเยื่อ ลงในศาสนาของเราเหมือนอริฏฐภิกษุนี้ จึงตรัสว่า ฉยิมานิ ภิกฺขเว เป็นต้น. บรรดาบท

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 309

เหล่านั้น บทว่า ทิฏฺิฏฺานานิ ความว่า แม้ทิฏฐิ ก็ชื่อว่า ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ ทั้งอารมณ์ของทิฏฐิ ทั้งปัจจัยของทิฏฐิ ก็ชื่อว่า ที่ตั้งของทิฏฐิ ในบทว่า รูปํ เอตํ มม เป็นต้น การถือว่านั่นของเรา เป็นตัณหาคาหะ การถือว่าเราเป็นนั่น เป็นมานคาหะ การถือว่านั่นเป็นตัวของเรา เป็นทิฏฐิคาหะ เป็นอันตรัส ตัณหา มานะ และทิฏฐิ ซึ่งมีรูปเป็นอารมณ์ด้วยประการฉะนี้ ส่วนรูป ไม่ควรกล่าวว่าเป็นอัตตา. แม้ในเวทนาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. รูปายตนะ ชื่อว่า ทิฏฐะ สัททายตนะ ชื่อว่า สุตะ คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะ ชื่อว่า มุตะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะนั้น ท่านกล่าวว่า มุตะ เพราะพบแล้วยึดไว้. อายตนะ ๗ ที่เหลือชื่อว่า วิญญาตะ. บทว่า ปตฺตํ ได้แก่ ที่แสวงหาก็ดี ไม่แสวงหาก็ดี พบแล้ว. บทว่า ปริเยสิตํ ได้แก่ที่พบหรือไม่พบก็แสวงหาแล้ว. บทว่า อนุวิจริตํ มนสา ได้แก่ ติดตามด้วยจิต. จริงอยู่ ในโลกของที่แสวงหาแล้วพบก็มี แสวงหาแล้วไม่พบก็มี ไม่แสวงหาแล้วพบก็มี ไม่แสวงหาแล้วไม่พบก็มี. ในที่ตั้งแห่งความเห็นนั้น ของที่แสวงหาแล้วพบ ชื่อว่า ปัตตะ ของที่แสวงหาแล้วไม่พบชื่อว่า ปริเยสิตะ ของที่ไม่แสวงหาแล้วพบ และของที่ไม่แสวงหาแล้วไม่พบ ชื่อว่า มนสานุจริต. อีกนัยหนึ่งของที่แสวงหาแล้วพบก็ดี ของที่ไม่แสวงหาไม่พบก็ดีชื่อว่า ปัตตะ เพราะอรรถว่าพบแล้ว. ของที่แสวงหาไม่พบอย่างเดียว ชื่อว่า ปริเยสิตะ ของที่ไม่แสวงหาแล้วพบ และของที่ไม่แสวงหาแล้วไม่พบ ชื่อว่า มนสานุจริตะ หรือว่าของนั้นทั้งหมด ชื่อว่า มนสานุจริตะ เพราะเป็นของติดตามด้วยใจ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ที่มีวิญญาณเป็นอารมณ์ ตรัสด้วยบทนี้ วิญญาณ ตรัสด้วยอำนาจทิฏฐิเป็นต้นเป็นอารมณ์ ในหนหลังด้วยอํานาจการยักย้ายแห่งเทศนา.

บทว่า ยํ ปิ ตํ ทิฏฺิฏฺานํ ได้แก่ ที่ตั้งแห่งทิฏฐิที่เป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า ยํ ปิ ตํ เอตํ โส โลโก. บทว่า โส โลโก โส อตฺตา ความว่า

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 310

ทิฏฐิที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า ผู้นั้นเห็นรูปโดยเป็นอัตตา ย่อมยึดถือว่า เป็นโลก เป็นอัตตา ท่านหมายเอาทิฏฐินั้น จึงกล่าวไว้ดังนี้. บทว่า โส เปจฺจ ภวิสฺสามิ ความว่า เรานั้นไปปรโลกแล้ว จักอยู่เป็นนิจ ยั่งยืนเที่ยง มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เสมอด้วยความยั่นยืน ดุจภูเขาสิเนรุมหาปฐพีและมหาสมุทรเป็นต้น ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า ตํ ปิ เอตํ มม ความว่า ย่อมตามเห็นว่าทัสสนะแม้นั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นอัตตาของเรา. ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ที่มีทิฏฐิเป็นอารมณ์ ตรัสด้วยบทนี้. เวลาถือทิฏฐิครั้งแรก มีได้ด้วยทิฏฐิครั้งหลังอย่างนี้ เหมือนเวลากับเห็นแจ้งด้วยวิปัสสนา. ในสุกกปักข์ ฝ่ายขาว ทรงคัดค้าน การยึดถือด้วยตัณหา มานะ และทิฏฐิในรูปว่า นั่นไม่ใช่รูปของเราเป็นต้น. แม้ในเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็บทนี้ว่า สมนุปสฺสติ ความว่า สมนุปัสสนามี ๔ คือ ตัณหาสมนุปัสสนา มานสมนุปัสสนา ทิฏฐิสมนุปัสสนา ญาณสมนุปัสสนา. เนื้อความแห่งสมนุปัสสนาเหล่านั้น พึงทราบด้วยอํานาจ สมนุปัสสนา ๓ อยู่ในกัณหปักข์ ญาณสมนุปัสสนา อยู่ในสุกกปักข์. บทว่า อสติ น ปริตสฺสติ ความว่า เมื่อความยึดถือไม่มี เธอย่อมไม่สะดุ้งด้วยความสะดุ้งด้วยภัย หรือด้วยความสะดุ้งด้วยตัณหา. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงถึงพระขีณาสพผู้ไม่สะดุ้ง เพราะความพินาศแห่งขันธ์ภายใน จึงทรงจบเทศนาด้วยบทนี้.

บทว่า เอวํ วุตฺเต อฺตโร ภิกฺขุ ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุผู้ฉลาดในอนุสนธิรูปหนึ่งคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงถึงพระขีณาสพผู้ไม่สะดุ้ง เพราะความพินาศแห่งขันธ์ภายใน ทรงจบเทศนาก็เมื่อพระขีณาสพไม่สะดุ้งภายในอยู่ ภิกษุผู้สะดุ้งภายใน ภิกษุผู้สะดุ้งภายนอก ภิกษุผู้สะดุ้งเพราะความพินาศในบริขาร และแม้ผู้ไม่สะดุ้งพึงมี เราจะถามปัญหานี้ ด้วยเหตุ ๔ ประการ ดังกล่าวมา แล้วจึงทําจีวรเฉวียงบ่า

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 311

ประคองอัญชลีกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้. บทว่า พหิทฺธา อสติ ได้แก่ในภายนอก คือเพราะความพินาศแห่งบริขาร. บทว่า อหุ วต เม ความว่า สิ่งของ ยาน พาหนะ เงิน ทอง ของเราได้มีแล้วหนอ. บทว่า ตํ วต เม นตฺถิ ความว่า บัดนี้ สิ่งของนั้นหนอของเราไม่มี คือ ถูกพระราชาริบเอาเสียบ้าง พวกโจรลักไปบ้าง ไฟไหม้บ้าง ถูกน้ำพัดไปเสียบ้าง คร่ําคร่าเพราะใช้สอยบ้าง. บทว่า สิยาวต เม ความว่า ยาน พาหนะ เงิน ทอง ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ของเรามีหนอ. บทว่า ตํ วตาหํ น ลภามิ ความว่า เศร้าโศกว่า เราเมื่อไม่ได้ของนั้น บัดนี้เราก็ไม่ได้เพราะไม่ทํางานที่สมควรแก่ทรัพย์นั้นนั่นเอง นี้ชื่อว่าความเศร้าโศกของผู้ครองเรือน (คฤหัสถ์). ความเศร้าโศกของผู้ไม่ครองเรือน (บรรพชิต) พึงทราบด้วยอํานาจบาตรจีวรเป็นต้น.

พึงทราบในอปริตัสสนาวาร ดังต่อไปนี้ บทว่า น เอวํ โหติ ความว่า ความสะดุ้งพึงมีอย่างนี้ เพราะกิเลสเหล่าใด ย่อมไม่มีอย่างนี้ เพราะกิเลสเหล่านั้นได้ละแล้ว. บทว่า ทิฏฺิฏฺานาธิฏฺานปริยุฏฺานาภินิเวสานุสยานํ ความว่า ซึ่งทิฏฐิ ที่ตั้งทิฏฐิ ที่ตั้งมั่นแห่งทิฏฐิ ที่กลุ้มรุมแห่งทิฏฐิ และที่นอนเนื่องแห่งความถือมั่น. บทว่า สพฺพสงฺขารสมถายได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่ความดับ. จริงอยู่ ความหวั่น ความไหว ความผันแปรแห่งสังขารทั้งปวง มาถึงพระนิพพานย่อมสงบระงับไป เพราะฉะนั้น พระนิพพานนั้นท่านจึงเรียกว่า เป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง. อนึ่ง อุปธิเหล่านี้ คือ อุปธิคือขันธ์ อุปธิคือกิเลส อุปธิคืออภิสังขาร อุปธิคือกามคุณ ๕ มาถึงพระนิพพานนั้นนั่นแล ก็สลัดคืนไป ตัณหาก็สิ้น ก็คลายก็ดับ เพราะฉะนั้น พระนิพพานนั้นท่านจึงเรียกว่า สัพพูปธิปฏินิสสัคคะ. เป็นที่สลัดคืนอุปธิทั้งปวง ตัณหักขยะ เป็นที่สิ้นตัณหา วิราคะ คายราคะ นิโรธดับ. ศัพท์ว่า นิพฺพานาย นี้เป็นนิเทสสรุปแห่งพระนิพพานนั้น. ดังนั้น ท่านแสดงความนี้ว่า เมื่อทรงแสดง

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 312

ธรรมเพื่อประโยชน์แก่การกระทําให้แจ้งพระนิพพาน ด้วยบทเหล่านั้นทั้งหมดทีเดียว. บทว่า ตสฺเสวํ โหติ ความว่า ภิกษุผู้มีทิฏฐินั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักขาดสูญ เราจักพินาศ เราจักไม่มี. จริงอยู่ ภิกษุผู้มีทิฏฐิ ฟังธรรมที่ทรงยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์แสดงให้เกี่ยวด้วยสุญญตาอยู่ เกิดความสะดุ้ง. สมจริงดังคําที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่สดับย่อมมีความสะดุ้งอย่างนี้ว่า มีเรา และไม่มีเรา.

ด้วยถ้อยคํามีประมาณเท่านี้ ตรัสสุญญตา มี ๔ เงื่อนด้วยสามารถแห่งภิกษุเหล่านี้คือ ภิกษุผู้สะดุ้ง และผู้ไม่สะดุ้งเพราะความพินาศแห่งบริขารภายนอกคู่ ๑ และภิกษุผู้สะดุ้ง และผู้ไม่สะดุ้งเพราะความพินาศแห่งขันธ์ภายในคู่ ๑.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงสุญญตา ๓ เงื่อน คือ จัดบริขารภายนอกให้ชื่อว่า ทิฏฐิปริคคหะ จัดสักกายทิฏฐิที่มีวัตถุ ๒๐ ให้ชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน จัดทิฏฐิ ๖๒ ซึ่งมีสักกายทิฏฐิเป็นหัวหน้าให้ชื่อว่า ทิฏฐินิสสยะ จึงตรัสว่า ภิกฺขเว ปริคฺคหํ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริคฺคหํ ได้แก่บริขารภายนอก. บทว่า ปริคฺคณฺเหยฺย ความว่า มนุษย์วิญูชน พึงกําหนดยึดถือ. ด้วยบทว่า อหํ ปิ โข ตํ ภิกฺขเว ทรงแสดงว่า ดูก่อนภิกษุแม้พวกเธอก็ไม่เห็น แม้เราก็ไม่เห็น ดังนั้น ความกําหนดเห็นปานนั้น ก็ไม่มี. พึงทราบความในบททั้งปวงด้วยประการฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงสุญญตา ๓ เงื่อนอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงแสดง ๒ เงื่อน คือ อัตตา ในขันธ์ภายใน และที่เนื่องด้วยตนในบริขารภายนอก จึงตรัสคําอาทิว่า อตฺตนิ วา ภิกฺขเว สติ เป็นต้น. ในคํานั้นมีความสังเขปดังนี้ว่า เมื่อตนมีอยู่ บริขารของเรานี้ก็เนื่องในตน หรือว่าเมื่อบริขารที่เนื่องกับตนมีอยู่ อัตตาของเรานี้ก็เป็นเจ้าของบริขารนี้ เราก็เหมือนกัน พึงประกอบคําว่า เมื่อวัตถุมีอยู่ ของๆ เราก็มี เราก็มี ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 313

บทว่า สจฺจโต แปลว่า โดยความเป็นจริง. บทว่า เถตโต แปลว่า โดยเป็นแท้ หรือมั่นคง.

บัดนี้ เมื่อไม่ทรงถือเบญขันธ์ด้วยปริวัฏฏ ๓ อย่างนี้คือ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เมื่อจะทรงแสดงว่า ภิกษุนี้ก็เหมือนอริฏฐภิกษุ ใส่เปือกตมหยากไย่ ลงในศาสนาของเรา จึงตรัสว่า ตํ กิํ มฺถ ภิกฺขเว รูปํ นิจฺจํวา เป็นต้น. บทว่า อนิจฺจํ ภนฺเต ความว่า พระเจ้าข้า เพราะเหตุที่รูปมี แล้วไม่มี ฉะนั้นรูปจึงไม่เที่ยง ที่ชื่อว่าไม่เที่ยงเพราะเหตุ ๔ ประการ คือ เพราะเกิดแล้วก็เสื่อมไป หรือเพราะอรรถว่าแปรปรวน เป็นไปชั่วคราว และปฏิเสธความเที่ยง. บทว่า ทุกฺขํ ภนฺเต ความว่า พระเจ้าข้า รูปชื่อว่าทุกข์โดยอาการคือ เบียดเบียน ชื่อว่าเป็นทุกข์ด้วยเหตุ ๔ อย่างคือ เพราะอรรถว่าทําให้เร่าร้อน ทนได้ยาก เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์และปฏิเสธความสุข. บทว่า วิปริณามธมฺมํ ความว่า มีอันก้าวลงและเข้าถึงภพเป็นสภาวะ คือมีอันละความเป็นปกติเป็นสภาวะ. บทว่า กลฺลํ นุ ตํ สมนุปสฺสิตุํ เอตํ มม เอโสหมสฺมิ เอโส เมอตฺตา ความว่า สมควรหรือที่จะมายึดถือรูปนั้นอย่างนี้ว่า เรา ของเรา ด้วยอํานาจแห่งการยึดถือแห่งตัณหา มานะ และทิฏฐิ ทั้ง ๓ เหล่านี้. ด้วยบทนี้ว่า โน เหตํ ภนฺเต ภิกษุเหล่านั้นย่อมปฏิญาณว่า รูปเป็นอนัตตา พระเจ้าข้าด้วยอาการไม่เป็นไปในอํานาจ รูปชื่อว่าเป็นอนัตตา ด้วยเหตุ ๔ คือ ด้วยอรรถว่าเป็นของสูญ ไม่มีเจ้าของ ไม่เป็นใหญ่ และปฏิเสธอัตตา. จริงอยู่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความเป็นอนัตตาด้วยอํานาจเป็นของไม่เที่ยง ไว้ในที่ไหน ด้วยอํานาจความเป็นทุกข์ไว้ในที่ไหน ด้วยอํานาจความเป็นของไม่เที่ยง และความเป็นทุกข์ไว้ในที่ไหน. จริงอยู่ ทรงแสดงความเป็นอนัตตาด้วยอํานาจความไม่เที่ยงไว้ในฉฉักกสูตรนี้ว่า ผู้ใดพึงกล่าวว่า จักษุเป็นอัตตา

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 314

จักษุของผู้นั้นย่อมไม่เกิด ทั้งความเกิดทั้งความเสื่อมของจักษุ ย่อมปรากฏ แต่ทั้งความเกิดทั้งความเสื่อมของจักษุใด ย่อมปรากฏ จักษุนั้น ย่อมมาอย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิด และเสื่อม เพราะฉะนั้น จักษุนั้น จึงไม่เกิด. ผู้ใดพึงกล่าวว่า จักษุเป็นอนัตตา ดังนั้น จักษุจึงเป็นอนัตตา ดังนี้. ทรงแสดงความเป็นอนัตตา ด้วยอํานาจความเป็นทุกข์ไว้ ในอนัตตลักขณสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็หากรูปนี้เป็นอัตตา รูปนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ จะพึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราอย่าเป็นอย่างนั้นเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งไม่ได้ในรูปว่า ขอรูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราอย่าเป็นอย่างนี้เลยดังนี้. ทรงแสดงความเป็นอนัตตา ด้วยอํานาจความไม่เที่ยง และเป็นทุกข์ทั้งสองไว้ในอรหัตตสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง รูปใดไม่เที่ยง รูปนั้นก็เป็นทุกข์ รูปใดเป็นทุกข์ รูปนั้นก็เป็นอนัตตา รูปใดเป็นอนัตตา รูปนั้นก็ไม่ใช่ของเรา เราก็ไม่เป็นรูปนั้น รูปนั้นก็ไม่ใช่อัตตาของเรา พึงเห็นรูปนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง ดังกล่าวมานี้. เพราะเหตุไร. เพราะ อนิจฺจํ และ ทุกฺขํ ปรากฏแล้ว อนัตตายังไม่ปรากฏ. จริงอยู่ เมื่อภาชนะใส่ของบริโภคเป็นต้นแตกไป คนทั้งหลายก็กล่าวว่า อโห อนิจฺจํ โอ ไม่เที่ยงหนอ ไม่มีคนกล่าวว่าอนัตตา. หรือเมื่อต่อมฝีทั้งหลายเกิดขึ้นที่ร่างกาย หรือคนถูกหนามแทง ก็กล่าวกันว่า อโห ทุกขํ โอ ทุกข์หนอ แต่ไม่มีคนกล่าวว่า อโห อนตฺตา โอ ไม่ใช่อัตตาหนอ. เพราะเหตุไร. เพราะชื่อว่าอนัตตลักขณะนี้ ไม่ชัด เห็นยาก รู้กันยาก ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงความเป็นอนัตตานั้น ด้วยอํานาจไม่เที่ยงบ้าง ทุกข์บ้าง ทั้งไม่เที่ยงทั้งทุกข์ทั้งสองบ้าง. รูปนี้นั้น ทรงแสดงด้วยอํานาจไม่เที่ยงเป็นทุกข์เท่านั้นในปริวัฏ ๓ แม้นี้. แม้ในเวทนาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 315

บทว่า ตสฺมา ติห ภิกฺขเว ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเพราะรูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ทั้งในบัดนี้ ทั้งในกาลอื่นๆ. คําว่า ยงฺกิฺจิ รูปํ เป็นต้น กล่าวไว้พิสดารแล้ว ในขันธนิทเทส วิสุทธิมรรค. บทว่า นิพฺพินฺทติ แปลว่า เบื่อหน่าย. ก็ในคําว่า นิพพินฺทติ ในบาลีนี้ ท่านประสงค์เอาวุฏฐานคามินีวิปัสสนา (วิปัสสนาอันให้ถึงความออกจากความยึดถือตัณหา). แท้จริง วุฏฐานคามินีวิปัสสนามีมากชื่อ บางแห่งเรียกว่า สัญญัคคะ บางแห่งว่า ธรรมฐีติญาณ บางแห่งว่า ปาริสุทธิปธานิยังคะ บางแห่งว่า ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ บางแห่งว่า ตัมมยปริยาทาน บางแห่งก็มี ๓ ชื่อ บางแห่งก็ ๒ ชื่อ. บรรดาอาคตสถานเหล่านั้น ในโปฏฐปาทสูตรก่อน ตรัสเรียกว่า สัญญัคคะ อย่างนี้ว่า ดูก่อนโปฏฐปาทะ สัญญาเกิดขึ้นก่อน. ภายหลัง ญาณจึงเกิดขึ้น ดังนี้. ในสุสิมสูตร ตรัสเรียกว่า ธรรมฐิติญาณ อย่างนี้ว่า ดูก่อนสุสิมะ ธรรมฐิติญาณมีก่อน ภายหลังญาณในนิพพานจึงมี ดังนี้. ในทสุตตรสูตร ตรัสเรียกว่า ปาริสุทธิปธานิยังคะ ว่า ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิปธานิยังคะ ดังนี้. ในรถวินีตสูตร ท่านเรียกว่า ปฎิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ อย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ หรือหนอ ดังนี้. ในสฬายตนวิภังคสูตร ท่านเรียกว่า ตัมมยปริยาทาน อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุเบกขานี้ใด พึงพาความไม่มีตัณหา อาศัยความไม่มีตัณหา มีอารมณ์อันเดียว อาศัยอารมณ์อันเดียว พวกเธอจงละอุเบกขานั้นเสีย จงก้าวล่วงอุเบกขานั้นเสีย การละอุเบกขานี้มีอย่างนี้ การก้าวล่วงอุเบกขานี้มีอย่างนี้ดังนี้. ในปฏิสัมภิทามรรค ท่านระบุไว้ ๓ ชื่ออย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้คือ มุญจิตุกัมยตา ปฏิสังขานุปัสสนา และสังขารุเปกขา มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างแต่พยัญชนะเท่านั้น. ในคัมภีร์ปัฏฐาน ท่านระบุไว้ ๒ ชื่ออย่างนี้ คือ อนุโลมญาณ เป็นปัจจัยแห่ง

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 316

โคตรภูญาณ โดยเป็นอนันตรปัจจัย อนุโลมญาณเป็นปัจจัยแห่งโวทาน (มรรคจิต-ผลจิต) โดยเป็นอนันตรปัจจัย. ส่วนในอลคัททูปรสูตรนี้ วุฏฐานคามินิวิปัสสนา มาโดยชื่อว่า นิพพิทา ในบทว่า นิพฺพินฺทติ. มรรคชื่อว่าวิราคะ ในบทนี้ว่า นิพฺพินฺทนฺโต วิรชฺชติ. ในบทว่า วิราคา วิมุจฺจติ นี้ท่านกล่าวผลว่า ย่อมหลุดพ้น เพราะวิราคะ คือ มรรค. ในที่นี้ ท่านกล่าวปัจจเวกขณญาณไว้ว่า เมื่อหลุดพ้น ก็มีญาณรู้ว่า เราหลุดพ้นแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงพระมหาขีณาสพ ผู้มีจิตหลุดพ้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงระบุชื่อของพระมหาขีณาสพนั้นโดยเหตุ ๕ ประการตามเป็นจริง จึงตรัสว่า อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว เป็นต้น. บทว่า อวิชฺชา ได้แก่ อวิชชามีวัฏฏะเป็นมูล. จริงอยู่ อวิชชานี้ท่านเรียกว่า ปลิฆะ เพราะอรรถว่า ยกขึ้นได้ยาก. ด้วยเหตุนั้น ภิกษุนี้ ท่านจึงเรียกว่า อุกขิตตปลิฆะ เพราะอวิชชานั้นถูกยกขึ้น. บทว่า ตาลาวตฺถุกตา ได้แก่ กระทําให้เป็นเหมือนหนึ่งตาลยอดด้วน อธิบายว่า หรือถอนตาลพร้อมทั้งราก ทําให้เหมือนที่ตั้งแห่งตาล คือนําไปให้ถึงความไม่มีบัญญัติอีก เหมือนต้นตาลนั้นไม่ปรากฏพื้นที่ตั้ง. บทว่า โปโนพฺภวิโก ได้แก่ ให้ภพใหม่. บทว่า ชาติสํ สาโร ได้แก่ อภิสังขารคือกรรม อันเป็นปัจจัยแห่งขันธ์ในภพใหม่ ที่ได้ชื่ออย่างนี้โดยการเกิดและท่องเที่ยวไปในชาติทั้งหลาย. จริงอยู่ อภิสังขารคือกรรมนั้น ท่านเรียกว่า ปริกขา เพราะตั้งแวดล้อมไว้โดยการกระทําให้เกิดบ่อยๆ ด้วยเหตุนั้น ภิกษุนั้น เรียกว่า สังกิณณปริกขะ เพราะอวิชชานั้นเกลื่อนกล่นไป. บทว่า ตณฺหา ได้แก่ ตัณหาที่มีวัฏฏะเป็นมูล. จริงอยู่ ตัณหานี้ท่านเรียกว่าเอสิกา เพราะอรรถว่า ตามไปโดยลึกซึ้ง. ด้วยเหตุนั้น ภิกษุนั้นท่านเรียกว่า

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 317

อัพภุฬเหสิกะ เพราะตัณหานั้นเขายกทิ้ง คือ เพราะเขาตัดทิ้ง. บทว่า โอรมฺภาคิยานิ ได้แก่ ให้เกิดต่ําลง คือเป็นปัจจัยให้เกิดในกามภพ. จริงอยู่สังโยชน์เหล่านี้ ท่านเรียกว่า อัคคฬะ เพราะตั้งปิดจิต เหมือนบานประตูปิดประตูเมือง. ด้วยเหตุนั้น ภิกษุนั้น ท่านเรียกว่า นิรัคคฬะ เพราะสังโยชน์เหล่านั้น อันเธอกระทําให้ไม่มี คือ ทําลายไป. บทว่า อริโย ได้แก่ ผู้ไม่มีกิเลส คือ หมดจด. บทว่า ปนฺนทฺธโช ได้แก่ มีธงคือมานะอันตกไปแล้ว. บทว่า ปนฺนภาโร วิเคราะห์ว่า ชื่อว่าปันนภาระ เพราะภิกษุนั้นมีภาระ คือ ขันธ์ กิเลส อภิสังขาร และกามคุณห้า ตกแล้ว คือยกลงแล้ว. อีกนัยหนึ่ง ในที่นี้ท่านประสงค์ว่าปันนภาระ เพราะปลงภาระคือมานะเท่านั้น. บทว่า วิสํยุตฺโต ได้แก่ พรากเสียแล้วจากโยคะสี่และกิเลสทั้งหมด. แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์ว่า วิสังยุตตะ เพราะพรากจากสังโยชน์คือมานะอย่างเดียว. บทว่า อสฺมิมาโน ได้แก่มีมานะว่า เรามีในรูป มีมานะว่า เรามีในเวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงกาลของพระขีณาสพ ผู้ทํากิเลสให้สิ้นไปด้วยมรรค ผู้อยู่บนที่นอนคือนิโรธอันประเสริฐ ผู้เข้าผลสมาบัติที่มีนิพพานเป็นอารมณ์อยู่. เปรียบเหมือนนคร ๒ นคร นครโจร ๑ นครเกษม ๑ เมื่อเป็นดังนั้น นักรบใหญ่ผู้หนึ่งพึงคิดอย่างนี้ว่า นครโจรนี้ตั้งอยู่ตราบใด นครเกษมก็ไม่ปลอดภัยอยู่ตราบนั้น เราจักทำนครโจรไม่ให้เป็นนครแล้ว จึงสวมเกราะถือพระขรรค์เข้าไปยังนครโจร เอาพระขรรค์ตัดเสาระเนียดที่ยกขึ้นใกล้ประตูนคร ทําลายบานประตูพร้อมกับกรอบประตู แล้วยกสลักขึ้นทําลายกําแพง รื้อค่ายคูล้มธงที่ยกขึ้นเพื่อความงามของนคร เอาไฟเผานครแล้วเข้านครเกษม ขึ้นปราสาท แวดล้อมด้วยหมู่ญาติ บริโภคโภชนะมีรสอร่อย ฉันใด ข้อนี้ก็ก็ฉันนั้น สักกายะเหมือนนครโจร นิพพานเหมือนนครเกษม พระโยคาวจร

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 318

เหมือนนักรบใหญ่ พระโยคาวจรนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ความหมุนเวียนแห่งสักกายะยังเป็นไปอยู่ตราบใด ความหลุดพ้นจากกรรมกรณ์ ๓๒ โรค ๙๘ มหาภัย ๒๕ ก็มีไม่ได้ตราบนั้น พระโยคาวจรเปรียบเหมือนนักรบใหญ่นั้น สวมเกราะคือเกราะศีล จับพระขรรค์คือปัญญา เอาพระอรหัตตมรรคตัดเสาระเนียดคือตัณหา ดุจเอาพระขรรค์ตัดเสาระเนียด พระโยคาวจรนั้นยกสลักคือ สังโยชน์เบื้องต่ํา ๕ ดุจนักรบยกบานประตูนครพร้อมทั้งกรอบประตู พระโยคาวจรนั้นยกสลักคือ อวิชชาดุจนักรบยกสลัก พระโยคาวจรทําลายอภิสังขารคือกรรม รื้อค่ายดูคือชาติสงสาร ดุจนักรบทําลายกําแพงรื้อค่ายคู พระโยคาวจรล้มธงคือมานะ. เผานครคือ สักกายะ. ดุจนักรบล้มธงที่ยกขึ้นเพื่อทํานครให้สวยงาม พระโยคาวจรเข้านครคือกิเลสนิพพาน เสวยสุขเกิดแต่ผลสมาบัติ อันมีอมตนิโรธเป็นอารมณ์ ยังกาลให้ล่วงไป เหมือนนักรบบริโภคโภชนะมีรสดีในปราสาทชั้นบนในนครเกษม.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงความที่พระขีณาสพผู้มีจิตหลุดพ้นอย่างนี้ เป็นผู้มีวิญญาณอันผู้อื่นพบไม่ได้ จึงตรัสว่า เอวํ วิมุตฺตจิตฺตํโข เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺเวสนฺตา ได้แก่ เสาะแสวงหา. บทว่า อิทํ นิสฺสิตํ ได้แก่ อาศัยชื่อสิ่งนี้. แม้สัตว์ ท่านก็ประสงค์เอาว่าตถาคตในคําว่า ตถาคตสฺส นี้. แม้พระขีณาสพก็เป็นบุคคลสูงสุด. บทว่า อนนุวชฺโช แปลว่า ผู้ไม่มี หรือผู้ที่ใครไม่พบ. จริงอยู่ เมื่อถือว่า สัตว์เป็นตถาคต ก็ควรจะมีความว่า ไม่มี. เมื่อถือว่าขีณาสพ ก็ควรจะมีความว่าใครพบไม่ได้. ในนัยทั้งสองนั้น นัยแรกมีอธิบายดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราไม่บัญญัติพระขีณาสพที่ยังดํารงซีวิตอยู่ในปัจจุบันเท่านั้นว่า ตถาคต สัตว์ บุคคล แต่เราบัญญัติพระขีณาสพผู้ปรินิพพานแล้ว ไม่มีปฏิสนธิว่า สัตว์ หรือบุคคลได้อย่างไร อธิบายว่า ตถาคตไม่มีอยู่ จริงอยู่ ว่าโดยปรมัตถ์

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 319

ชื่อว่า สัตว์ไรๆ ไม่มี เมื่อสัตว์นั้นไม่มีอยู่ เทวดาทั้งหลายแม้เสาะแสวงว่าวิญญาณอาศัยอะไร ดังนี้ จักประสบได้อย่างไร คือ จักพบได้อย่างไร. ในนัยที่สอง อธิบายดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าพระขีณาสพผู้ยังดํารงชีวิตอยู่ในปัจจุบันนี้เท่านั้น อันเทวดาทั้งหลายมีพระอินทร์เป็นต้นพบไม่ได้โดยวิญญาณ จริงอยู่ เทวดาทั้งหลายพร้อมทั้งพระอินทร์ พร้อมทั้งพระพรหม พร้อมทั้งปชาบดี แม้เสาะแสวงอยู่ ก็ไม่อาจจะรู้วิปัสสนาจิต มรรคจิต หรือผลจิต ของพระขีณาสพ ว่าอาศัยอารมณ์ชื่อนี้เป็นไป เทวดาเหล่านั้น จักรู้อะไรของพระขีณาสพผู้ปรินิพพานแล้ว ไม่มีปฏิสนธิ. บทว่า อสตา แปลว่าไม่มีอยู่. บทว่า ตุจฺฉา แปลว่า ว่างเปล่า. บทว่า มุสา แปลว่า พูดเท็จ. บทว่า อภูเตน แปลว่า ด้วยเรื่องที่ไม่มี. บทว่า อพฺภาจิกฺขนฺติ ได้แก่ ใส่ความ กล่าวตู่. บทว่า เวนยิโก ความว่า ชื่อว่า วินัย เพราะกําจัด ทําให้พินาศ วินัยนั่นแหละชื่อเวนยิกะ อธิบายว่า ผู้ทําสัตว์ให้พินาศ. บทว่า ยถา จาหํ ภิกฺขเว เน ความว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เป็นผู้ทําสัตว์ให้พินาศด้วยเหตุใด. บทว่า ยถา จาหํ น วทามิ ความว่า หรือเราไม่บัญญัติการทําสัตว์ให้พินาศด้วยเหตุใด. ท่านอธิบายไว้ว่า เราไม่ทําสัตว์ให้พินาศโดยประการใด และไม่บัญญัติการทําสัตว์ให้พินาศโดยประการใด สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นกล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นผู้กําจัด และกล่าวหาว่า พระสมณะโคดมทําสัตว์ให้พินาศว่า เราบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มี แห่งสัตว์ที่มีอยู่ ทั้งกล่าวตู่ด้วยเรื่องที่ไม่มี ว่างเปล่า เท็จ และไม่เป็นจริงว่า ตถาคตบัญญัติความพินาศแห่งสัตว์. บทว่า ปุพฺเพ จ ได้แก่ในกาลก่อน คือครั้งตรัสรู้ ณ มหาโพธิมัณฑสถาน. บทว่า เอตรหิ จ ได้แก่ ในบัดนี้ คือ ในเวลาแสดงธรรม. บทว่า ทุกฺขํ เจว ปฺเปมิทุกฺขสฺส นิโรธํ ความว่า ตถาคตอยู่ที่โพธิมัณฑสถาน ยังไม่ประกาศ

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 320

พระธรรมจักรก็ดี แสดงธรรมทั้งแต่ประกาศพระธรรมจักรก็ดี ย่อมบัญญัติสัจจะ ๔ เท่านั้น. จริงอยู่ ในสัจจะ ๔ นั้น สมุทัยอันเป็นมูลแห่งทุกข์นั้น พึงทราบว่า ทรงถือเอาด้วยทุกขศัพท์ ส่วนมรรค ที่ให้ถึงนิโรธนั้น พึงทราบว่าทรงถือเอาด้วยนิโรธศัพท์. บทว่า ตตฺร เจ ได้แก่ ในการประกาศสัจจะ ๔ นั้น. บทว่า ปเร ได้แก่ บุคคลผู้ไม่สามารถรู้แจ้งแทงตลอดสัจจะทั้งหลาย.บทว่า อกฺโกสนฺติ ได้แก่ ด่าด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐. บทว่า ปริภาสนฺติ ได้แก่ ปริภาษด้วยวาจา. บทว่า โรเสนฺติ วิเหเสนฺติ ได้แก่ ประสงค์ว่าเราจักโกรธขึ้ง จักเบียดเบียน. บทว่า ฆฏฺเฏนฺติ ได้แก่ ให้ประสบทุกข์. บทว่า ตตฺร ได้แก่ ในการด่าเป็นต้นเหล่านั้น หรือในบุคคลอื่นเหล่านั้น. บทว่า อาฆาโต ได้แก่ ความโกรธ. บทว่า อปฺปจฺจโย ได้แก่ ความเสียใจ. บทว่า อนภินนฺทิ ได้แก่ ความไม่ยินดี. บทว่า ตตฺร เจ ได้แก่ ในการประกาศสัจจะ ๔ นั้นแหละ. บทว่า ปเร ได้แก่ บุคคลผู้รู้แจ้งแทงตลอดการประกาศสัจจะ ๔. บทว่า อานนฺโท ได้แก่ ความดื่มด่ําด้วยความยินดี. บทว่า อุพฺพิลาวิตตฺตํ ได้แก่ ความดื่มด่ําด้วยอํานาจความปลาบปลื้ม. บทว่า ตตฺเร เจ ได้แก่ในการประกาศสัจจะ ๔ นั้นแหละ. บทว่า ตตฺร ได้แก่ ในสักการะเป็นต้น. บทว่า ยํ โข อิทํ ปุพฺเพ ปริฺาตํ ความว่าขันธปัญจกนี้ใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกําหนดรู้แล้วด้วยปริญญา ๓ ที่โพธิมัณฑสถานก่อน. บทว่า ตตฺถ เม แปลว่า สักการะเหล่านี้ อันเขากระทําในขันธปัญจกนั้น. ท่านอธิบายไว้อย่างไร. ท่านอธิบายไว้ว่า ความคิดว่าสักการะเหล่านี้จักมีในเรา หรือว่า เราจะเสวยสักการะเหล่านี้ไม่มีแก่พระตถาคตในขันธปัญจกแม้นั้น และมีความดําริเท่านี้ว่า ตถาคตย่อมเสวยสักการะของขันธปัญจกที่กําหนดรู้แล้วแต่ก่อนนั้น และขันธปัญจกย่อมเสวยสักการะเหล่านี้. บทว่า ตสฺมา ความว่าก็เพราะเหตุที่สมณพราหมณ์เหล่าอื่น ผู้ไม่สามารถแทงตลอด

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 321

สัจจะทั้งหลาย จึงพากันด่าซึ่งพระตถาคตฉะนั้น. คําที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวมาแล้วนั้นแล.

บทว่า ตสฺมา ติห ภิกฺขเว ยํ น ตุมฺหากํ ความว่า การละฉันทราคะ แม้ในสิ่งที่ไม่เนื่องกับตน เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน เพราะฉะนั้น พวกเธอจงละสิ่งที่ไม่ใช่ของพวกเธอเสีย. บทว่า ยถาปจฺจยํ วา กเรยฺย ความว่า เธอปรารถนาโดยประการใดๆ พึงกระทําโดยประการนั้นๆ. บทว่า น หิ โน เจตํ ภนฺเต อตฺตา วา ความว่า พระเจ้าข้า สมณพราหมณ์ทั้งหลายกล่าวหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้นั้นว่า ไม่ใช่ตัวของเรา ไม่ใช่รูปของเรา ไม่ใช่วิญญาณของเรา. บทว่า อตฺตนิยํ วา ความว่า แม้บริขารมีจีวรเป็นต้นไม่ใช่ของเรา. บทว่า เอวเมว โข ภิกฺขเว ยํ น ตุมฺหากํ ตํ ปชหถ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงขันธปัญจกนั้นแลว่า ไม่ใช่ของท่าน จึงทรงให้ละเสีย แต่ก็มิใช่ให้เพิกถอนหรือตัดขันธปัญจก แต่ให้ละมันเสียด้วยการกําจัดฉันทราคะ. พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า เอวํ สฺวากฺขาโต นี้ดังนี้ แม้จะนํามาแต่ปริวัฏฏ ๓ รอบ จึงถึงฐานะนี้ก็ควรโดยปฏิโลม จะย้อนกลับมา ตั้งแต่เปมมัตตสัคคปรายนะ จนถึงฐานะนี้ก็ควร. บทว่า สฺวากฺขาโต ความว่า ตรัสไว้ดีแล้ว คือง่าย เปิดเผย ประกาศแล้ว เพราะเป็นธรรมที่ตรัสไว้ดีแล้ว. ผ้าฉีก ผ้าขาด ที่เขาเย็บทําเป็นปมไว้ในที่นั้นๆ ผ้าคร่ําคร่า ท่านเรียกว่าผ้าเก่า ในคําว่า ฉินฺนปิโลติโก ผู้ใดไม่มีผ้าเก่านั้น ผู้นั้นนุ่งผ้าใหม่ ๘ ศอกบ้าง ๙ ศอกบ้าง ชื่อว่า ผู้ขาดผ้าเก่า. ธรรมแม้นี้ก็เป็นเช่นนั้น ก็ในคํานี้ไม่มีภาวะ อย่างผ้าที่ขาด ที่ฉีก ที่เย็บที่ทําเป็นปม โดยการล่อลวงเป็นต้น. อนึ่ง หยากไย่ ท่านก็เรียก ปิโลติกะ แต่ขึ้นชื่อว่า สมณะ หยากไย่ จะอยู่ในศาสนานี้ไม่ได้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 322

พวกเธอ จงขจัดสมณะหยากไย่ จงกวาดสมณะกองขยะ จงลอยสมณะแกลบผู้มิใช่สมณะ แต่สําคัญตัวว่าเป็นสมณะ เสียจากพระศาสนานั้น ครั้นกําจัดสมณะผู้มีความปรารถนาลามก ผู้มีอาจาระและโคจรลามก จงเป็นอยู่บริสุทธิ์ อยู่ร่วมกับผู้บริสุทธิ์ มีสติจําเพาะหน้า แต่นั้นมีความพร้อมเพรียงกัน มีปัญญารักษาตัว จะทําที่สุดแห่งทุกข์ได้.

ธรรมนี้ ย่อมชื่อว่า ขาดผ้าเก่า เพราะขาดสมณะหยากไย่ ด้วยประการฉะนี้

บทว่า วฏฺฏนฺเตสํ นตฺถิ ปฺญาปนาย ความว่า วัฏฏะของภิกษุเหล่านั้นถึงความไม่มีบัญญัติหาบัญญัติไม่ได้. พระมหาขีณาสพเห็นปานนั้นย่อมเกิดขึ้นในศาสนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วอย่างนี้เท่านั้น. ก็พระขีณาสพเป็นฉันใด พระอริยบุคคลมีพระอนาคามีเป็นต้นก็เป็นฉันนั้น. บรรดาพระอริยบุคคลเหล่านั้น พระอริยบุคคล ๒ นี้ คือ ธัมมานุสารี สัทธานุสารี ย่อมเป็นผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค. เหมือนที่ท่านกล่าวไว้ว่า ธัมมานุสารีบุคคลเป็นไฉน ปัญญินทรีย์ของบุคคลใด ผู้ปฏิบัติเพื่อทําให้แจ้งโสดาบัตติผลมีประมาณยิ่ง. ย่อมเจริญอริยมรรคมีปัญญาเป็นเครื่องนํา มีปัญญาเป็นประธาน บุคคลผู้นี้ท่านเรียกว่า ธัมมานุสารี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทําให้แจ้งโสดาปัตติผล เป็นธัมมานุสารี ผู้ตั้งอยู่ในผล ชื่อว่าทิฏฐิปัตตะ ก็สัทธานุสารีบุคคลเป็นไฉน สัทธินทร์ย์ของบุคคลใด ผู้ปฏิบัติเพื่อทําให้แจ้งโสดาปัตติผลมี

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 8 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 323

ประมาณยิ่ง เจริญอริยมรรค มีศรัทธาเป็นตัวนํา มีศรัทธาเป็นประธาน บุคคลนี้ ท่านเรียกว่า สัทธานุสารี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทําให้แจ้งโสดาปัตติผลเป็นสัทธานุสารีบุคคลผู้ตั้งอยู่ในผล ผู้น้อมไปด้วยศรัทธา. ด้วยคําว่า เยสํ มยิ สทฺธามตฺตํ เปมมตฺตํ นี้ท่านประสงค์เอาเหล่าบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาที่ไม่มีอริยธรรมอย่างอื่น แต่มีเพียงความเชื่อ เพียงความรักในพระตถาคตเท่านั้น. จริงอยู่ เหล่าภิกษุผู้นั่งเริ่มวิปัสสนาเกิดความเชื่ออย่างหนึ่ง ความรักอย่างหนึ่งในพระทศพล เธอก็เป็นเสมือนความเชื่อนั้น ความรักนั้น จับมือไปวางไว้ในสวรรค์. นัยว่า ภิกษุเหล่านั้น มีคติที่แน่นอน. ส่วนเหล่าพระเถระเก่าๆ เรียกภิกษุเหล่านั้นว่า พระจุลลโสดาบัน. คําที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาอลคัททูปสูตรที่ ๒