พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. รถวินีตสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ส.ค. 2564
หมายเลข  36028
อ่าน  913

[เล่มที่ 18] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 347

๔. รถวินีตสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 18]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 347

๔. รถวินีตสูตร

[๒๙๒] ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์. ครั้งนั้นภิกษุชาวชาติภูมิจํานวนมาก จําพรรษาแล้วในชาติภูมิ พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทแล้ว นั่งอยู่ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในชาติภูมิ ภิกษุรูปไหนหนอ ที่พวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ชาวชาติภูมิยกย่องอย่างนี้ว่า ตนเองเป็นผู้มักน้อย สันโดษ สงัดเงียบ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร สมบูรณ์ด้วยศีล ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ แล้วยังกล่าวความมักน้อย ความสันโดษ ความสงัดเงียบ ความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ความปรารภความเพียร ความสมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ แก่ภิกษุทั้งหลายอีกด้วย เป็นผู้สอน แนะให้เข้าใจ ชี้ชวนพวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง.

ภิกษุชาวชาติภูมิเหล่านั้น กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในชาติภูมิ ท่านพระปุณณมันตานีบุตร เป็นผู้ที่พวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ชาวชาติภูมิประเทศยกย่องว่า ตนเองเป็นผู้มักน้อย สันโดษ สงัดเงียบ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร สมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะแล้ว ยังกล่าวเรื่องความมักน้อย ความสันโดษ ความสงัดเงียบ ความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ความปรารภความเพียร ความสมบูรณ์ด้วยศีล

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 348

สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ แก่ภิกษุทั้งหลายอีกด้วย เป็นผู้สอน แนะให้เข้าใจ ชี้ชวนพวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง.

[๒๙๓] สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ ณ ที่ใกล้จึงดําริว่า เป็นลาภของท่านปุณณมันตานีบุตร ความเป็นมนุษย์อันท่านปุณณมันตานีบุตรได้ดีแล้ว ที่พวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญูชน กล่าวยกย่องพรรณนาคุณเฉพาะพระพักตร์พระศาสดา และพระศาสดาก็ทรงอนุโมทนาการกระทํานั้น บางทีเราคงได้พบกับท่านปุณณมันตานีบุตรแล้ว สนทนาปราศรัยกันสักครั้งหนึ่ง.

[๒๙๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่สําราญพระอัธยาศัย ณ กรุงราชคฤห์ เสด็จจาริกไปโดยลําดับ ถึงกรุงสาวัตถี ประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ท่านพระปุณณมันตานีบุตรได้ข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงสาวัตถี ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ท่านจึงเก็บงําเสนาสนะ ถือบาตรและจีวร จาริกไปโดยลําดับตามทางที่จะไปยังกรุงสาวัตถี ถึงพระวิหารเชตวันแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับแล้ว ถวายอภิวาทนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงยังพระปุณณมันตานีบุตรให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมิกถา.

ครั้งนั้น ท่านพระปุณณมันตานีบุตร เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมิกถาแล้ว ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะถวายอภิวาท ทําประทักษิณ แล้วเข้าไปสู่ป่าอันธวัน เพื่อพักกลางวัน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 349

[๒๙๕] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรแล้วแจ้งข่าวว่า ข้าแต่ท่านสารีบุตร ท่านพระปุณณมันตานีบุตร ที่ท่านได้สรรเสริญอยู่เนืองๆ นั้น บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้ท่านเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมิกถาแล้ว ท่านก็ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ทําประทักษิณหลีกไปสู่ป่าอันธวัน เพื่อพักในกลางวัน.

ลําดับนั้น ท่านพระสารีบุตรรีบถือผ้านิสีทนะ แล้วติดตามท่านพระปุณณมันตานีบุตรไปข้างหลังๆ พอเห็นศีรษะกัน. ครั้งนั้นท่านพระปุณณมันตานีบุตรเข้าไปในป่าอันธวันแล้ว นั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง แม้ท่านพระสารีบุตรเข้าไปสู่ป่าอันธวันแล้ว ก็นั่งพักกลางวัน อยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่งเหมือนกัน.

ปัญหาว่าด้วยการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

[๒๙๖] เวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักผ่อนแล้ว เข้าไปหาท่านพระปุณณมันตานีบุตร ให้ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงถามท่านพระปุณณมันตานีบุตรว่า ผู้มีอายุ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราหรือ.

ท่านพระปุณณมันตานีบุตรตอบว่า อย่างนั้นสิผู้มีอายุ.

สา. ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อสีลวิสุทธิหรือ.

ปุ. ไม่ใช่.

สา. ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจิตตวิสุทธิหรือ.

ปุ. ไม่ใช่

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 350

สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทิฏฐิวิสุทธิหรือ.

ปุ. ไม่ใช่.

สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อกังขาวิตรณวิสุทธิหรือ.

ปุ. ไม่ใช่.

สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือ.

ปุ. ไม่ใช่.

สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือ.

ปุ. ไม่ใช่.

สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อญาณทัสสนวิสุทธิหรือ.

ปุ. ไม่ใช่.

สา. ท่านผู้มีอายุ ผมถามท่านว่า ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อสีลวิสุทธิหรือ ท่านตอบว่า ไม่ใช่ เมื่อผมถามว่า ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจิตตวิสุทธิหรือ เพื่อทิฏฐิวิสุทธิหรือ เพื่อกังขาวิตรณวิสุทธิหรือ เพื่อมัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เพื่อปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เพื่อญาณทัสสนวิสุทธิหรือ ท่านก็ตอบว่า ไม่ใช่ทั้งนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่ออะไรเล่า.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 351

ปุ. ผู้มีอายุ ผมประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน.

สา. สีลวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน.

ปุ. ไม่ใช่.

สา. จิตตวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน.

ปุ. ไม่ใช่.

สา. ทิฏฐิวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน.

ปุ. ไม่ใช่.

สา. กังขาวิตรณวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน.

ป. ไม่ใช่.

สา. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน.

ปุ. ไม่ใช่.

สา. ปฎิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน.

ปุ. ไม่ใช่.

สา. ท่านผู้มีอายุ ญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน.

ปุ. ไม่ใช่.

สา. ที่นอกไปจากธรรมเหล่านี้หรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน.

ปุ. ไม่ใช่.

สา. ผู้มีอายุผมถามว่า สีลวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน จิตตวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ทิฏฐิวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน กังขาวิตรณวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน มัคคมัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ญาณทัสสนวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ที่นอกไปจากธรรมเหล่านี้หรือ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 352

เป็นอนุปาทาปรินิพพาน ท่านก็ตอบว่า ไม่ใช่ทั้งนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ จะพึงเห็นเนื้อความของถ้อยคําที่ท่านกล่าวนี้อย่างไรเล่า.

[๒๙๗] ปุ. ผู้มีอายุ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงบัญญัติสีลวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพานแล้ว ก็ชื่อว่าทรงบัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทาน ว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ถ้าจักทรงบัญญัติจิตตวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพานแล้ว ก็ชื่อว่าทรงบัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทาน ว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ถ้าหากว่าธรรมนอกจากธรรมเหล่านี้ จักเป็นอนุปาทาปรินิพพานแล้ว ปุถุชนจะชื่อว่าปรินิพพาน เพราะว่าปุถุชนไม่มีธรรมเหล่านี้ ผู้มีอายุ ผมจะอุปมาให้ท่านฟัง บุรุษผู้เป็นวิญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมรู้เนื้อความแห่งคําที่กล่าวแล้วด้วยอุปมา.

อุปมาด้วยรถ ๗ ผลัด

[๒๙๘] ผู้มีอายุ เปรียบเหมือนพระเจ้าปเสนทิโกศล กําลังประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี มีพระราชกรณียะด่วนบางอย่างเกิดขึ้นในเมืองสาเกต และในระหว่างกรุงสาวัตถีกับเมืองสาเกตนั้น จะต้องใช้รถถึง ๗ ผลัด ลําดับนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จออกจากกรุงสาวัตถี ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่งที่ประตูพระราชวัง ไปถึงรถพระที่นั่งผลัดที่สองด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่ง จึงปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่ง ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สอง เสด็จไปถึงรถพระที่นั่งผลัดที่สาม ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่สอง ทรงปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่สอง ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สาม เสด็จถึงรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่สาม ปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่สาม ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ เสด็จถึงรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า เสด็จ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 353

ไปถึงรถพระที่นั่งผลัดที่หก ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า ปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่หก เสด็จไปถึงรถพระที่นั่งผลัดที่เจ็ด ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่หก ปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่หก ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่เจ็ด เสด็จไปถึงเมืองสาเกตที่ประตูพระราชวัง ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่เจ็ด ถ้าพวกมิตรอํามาตย์ หรือพระญาติสาโลหิตจะพึงทูลถามพระองค์ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้าพระองค์เสด็จมาจากกรุงสาวัตถีถึงเมืองสาเกตที่ประตูพระราชวัง ด้วยรถพระที่นั่งผลัดนี้ผลัดเดียวหรือ ผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะตรัสตอบอย่างไรจึงจะเป็นอันตรัสตอบถูกต้อง.

สา. ผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะต้องตรัสตอบอย่างนี้ จึงจะเป็นอันตรัสตอบถูกต้อง คือ เมื่อเรากําลังอยู่ในกรุงสาวัตถีนั้น มีกรณียะด่วนบางอย่างเกิดขึ้นในเมืองสาเกต ก็ในระหว่างกรุงสาวัตถีกับเมืองสาเกตนั้น จะต้องใช้รถถึง ๗ ผลัด เมื่อเช่นนั้นเราจึงออกจากกรุงสาวัตถีขึ้นรถผลัดที่หนึ่งที่ประตูวังไปถึงรถผลัดที่สอง ด้วยรถผลัดที่หนึ่ง ปล่อยรถผลัดที่หนึ่ง ขึ้นรถผลัดที่สอง ไปถึงรถผลัดที่สามด้วยรถผลัดที่สอง ปล่อยรถผลัดที่สอง ขึ้นรถผลัดที่สาม ไปถึงรถผลัดที่สี่ด้วยรถผลัดที่สาม ปล่อยรถผลัดที่สาม ขึ้นรถผลัดที่สี่ ไปถึงรถผลัดที่ห้าด้วยรถผลัดที่สี่ ปล่อยรถผลัดที่สี่ ขึ้นรถผลัดที่ห้าไปถึงรถผลัดที่หกด้วยรถผลัดที่ห้า ปล่อยรถผลัดที่ห้า ขึ้นรถผลัดที่หก ไปถึงรถผลัดที่เจ็ดด้วยรถผลัดที่หก ปล่อยรถผลัดที่หก ขึ้นรถผลัดที่เจ็ด ไปถึงเมืองสาเกตที่ประตูวังด้วยรถผลัดที่เจ็ด ผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศล จะต้องตรัสตอบอย่างนี้จึงจะเป็นอันตรัสตอบถูกต้อง.

ปุ. ผู้มีอายุ ข้อนี้ก็ฉันนั้น สีลวิสุทธิเป็นประโยชน์แก่จิตตวิสุทธิ จิตตวิสุทธิเป็นประโยชน์แก่ทิฏฐิวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิเป็นประโยชน์แก่กังขาวิตรณวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิเป็นประโยชน์แก่มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ มัคคา-

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 354

มัคคญาณทัสสนวิสุทธิเป็นประโยชน์แก่ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิเป็นประโยชน์แก่ญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิเป็นประโยชน์แก่อนุปาทาปรินิพพาน ผู้มีอายุ ผมประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน.

[๒๙๙] เมื่อท่านพระปุณณมันตานีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงถามว่า ผู้มีอายุ ท่านชื่ออะไร และพวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์รู้จักท่านว่าอย่างไร.

ท่านพระปุณณมันตานีบุตรตอบว่า ผู้มีอายุ ผมชื่อปุณณะ แต่พวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์รู้จักผมว่ามันตานีบุตร ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมาแล้ว ธรรมอันลึกซึ้ง อันท่านพระปุณณมันตานีบุตรเลือกเฟ้นมากล่าวแก้ด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง ตามเยี่ยงพระสาวกผู้ได้สดับแล้ว รู้ทั่วถึงคําสอนของพระศาสดาโดยถ่องแท้ จะพึงกล่าวแก้ ฉะนั้น เป็นลาภมากของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ความเป็นมนุษย์อันเพื่อนพรหมจรรย์ได้ดีแล้ว ที่ได้พบเห็นนั่งใกล้ท่านพระปุณณมันตานีบุตร แม้หากว่าเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จะเทิดท่านพระปุณณมันตานีบุตรไว้บนศีรษะด้วยเซิดผ้าจึงจะได้พบเห็นนั่งใกล้ แม้ข้อนั้นก็นับว่าเป็นลาภมากของเธอเหล่านั้น ความเป็นมนุษย์อันเธอเหล่านั้นได้ดีแล้ว อนึ่ง นับว่าเป็นลาภมากของผมด้วยเป็นการได้ดีของผมด้วย ที่ได้พบเห็นนั่งใกล้ท่านพระปุณณมันตานีบุตร.

[๓๐๐] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระปุณณมันตานีบุตรจึงถามว่า ผู้มีอายุ ท่านชื่ออะไร และเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายรู้จักท่านว่าอย่างไร ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ผู้มีอายุ ผมชื่ออุปติสสะ แต่พวกเพื่อนพรหมจรรย์รู้จักผมว่า สารีบุตร ท่านพระปุณณมันตานีบุตรกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ผมกําลังพูดอยู่กับท่านผู้เป็นสาวกทรงคุณคล้ายกับพระศาสดา มิได้ทราบ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 355

เลยว่า ท่านชื่อสารีบุตรแล้ว คําที่พูดไปเพียงเท่านี้ คงไม่แจ่มแจ้งแก่ผมได้ เป็นการน่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมาแล้ว ธรรมอันลึกซึ้งอันท่านพระสารีบุตรเลือกเฟ้นมาถามแล้วด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง ตามเยี่ยงพระสาวกผู้ได้สดับแล้ว รู้ทั่วถึงคําสอนของพระศาสดาโดยถ่องแท้ จะพึงถาม ฉะนั้น เป็นลาภมากของเพื่อนพรหมจรรย์ ความเป็นมนุษย์นับว่าเพื่อนพรหมจรรย์ได้ดีแล้ว ที่ได้พบเห็นนั่งใกล้ท่านพระสารีบุตร แม้หากว่าเพื่อนพรหมจรรย์จะเทิดท่านพระสารีบุตรไว้บนศีรษะด้วยเซิดผ้า จึงจะได้พบเห็นนั่งใกล้ แม้ข้อนั้นก็เป็นลาภมากของเธอเหล่านั้น ความเป็นมนุษย์นับว่าอันเธอเหล่านั้นได้ดีแล้ว อนึ่งนับว่าเป็นลาภมากของผมด้วย เป็นการได้ดีของผมด้วย ที่ได้พบเห็นนั่งใกล้ท่านพระสารีบุตร.

พระมหานาคทั้งสองนั้น ต่างชื่นชมสุภาษิตของกันและกันด้วยประการฉะนี้แล

จบ รถวินีตสูตรที่ ๔

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 356

อรรถกถารถวินีตสูตร

รถวินีตสูตรเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้:-

พึงทราบวินิจฉัยในรถวินีตสูตรนั้น บทว่า ราชคเห ได้แก่นครมีชื่ออย่างนี้. จริงอยู่ นครนั้น ท่านเรียกว่า ราชคฤห์ เพราะพระเจ้ามนธาตุราชและมหาโควินทศาสดาเป็นต้น คุ้มครองรักษาไว้. แต่ท่านอาจารย์พวกอื่นพรรณนาไว้หลายประการในคํานี้. ท่านพรรณนาไว้อย่างไร ท่านพรรณนาไว้ว่า คํานี้เป็นชื่อของนครนั้น ก็กรุงราชคฤห์นั้น เป็นนครทั้งในกาลแห่งพระพุทธเจ้า ทั้งในกาลแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ ในเวลานอกนั้น ก็เป็นนครร้างมีแต่ผีเฝ้าแหนไว้ กลายเป็นป่าที่อยู่ของผีพวกนั้นไป. คําว่า เวฬุวัน ในคําว่า เวฬุวเน กลนฺทกนิวาเป เป็นชื่อของอุทยานนั้น. นัยว่า อุทยานนั้น มีไม้ไผ่ล้อมไว้รอบ มีกําแพงสูง ๑๘ ศอก ประกอบด้วยซุ้มประตูและป้อม มีสีเขียวสดใสน่ารื่นรมย์ ท่านจึงเรียกว่า เวฬุวัน. อนึ่งคนทั้งหลายได้ให้เหยื่อแก่เหล่ากระแตในเวฬุวันนั้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า กลันทกนิวาปะ เป็นที่ให้เหยื่อแก่กระแต.

เล่ากันว่า แต่ก่อน พระราชาพระองค์หนึ่ง เสด็จมาเพื่อทรงกีฬาในพระราชอุทยานนั้น แต่ทรงเมาด้วยน้ำจัณฑ์ ก็บรรทมหลับไปเวลากลางวัน. แม้ชนที่อยู่ข้างเคียงท้าวเธอ รู้ว่าพระราชาบรรทมหลับแล้ว ก็หยิบฉวยดอกไม้ ผลไม้เป็นต้น ต่างแยกย้ายกันไป. คราวนั้น งูเห่าตัวหนึ่งได้กลิ่นสุราก็เลื้อยออกมาจากโพรงไม้ต้นหนึ่ง บ่ายหน้ามาทางพระราชา. รุกขเทวดาเห็นงูเห่านั้นแล้ว ก็แปลงเพศเป็นกระแต หมายจะช่วยชีวิตพระราชา มากระทําเสียงที่

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 357

ใกล้พระกรรณ. พระราชาก็ทรงตื่นบรรทม. งูเห่าก็เลื้อยกลับไป. ท้าวเธอทอดพระเนตรเห็นกระแตนั้น ก็ทรงทราบว่า กระแตนี้ช่วยชีวิตเราไว้ ก็ทรงวางเหยื่อไว้ในพระราชอุทยานนั้น เพื่อกระแตทั้งหลาย และโปรดให้ประกาศประทานอภัยแก่กระแตทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ตั้งแต่นั้นมา พระราชอุทยานนั้นจึงนับได้ว่า กลันทกนิวาปะ. เป็นที่ประทานเหยื่อแก่กระแต. ด้วยว่า คําว่า กลนฺทก เป็นชื่อของกระแตทั้งหลาย.

บทว่า ชาติภูมิ ๓ ได้แก่ ชาวชาติภูมิ. ในคําว่า ชาติภูมิ ๓ นั้นบทว่า ชาติภูมิ แปลว่าที่เกิด. ก็ที่เกิดนั้น ไม่ใช่ที่เกิดของพระเจ้าโกศลมหาราชเป็นต้น ไม่ใช่ที่เกิดของจังกีพราหมณ์เป็นต้น ไม่ใช่ที่เกิดของท้าวสักกะ ท้าวสุยาม และท้าวสันดุสิต เป็นต้น ไม่ใช่ที่เกิดของพระอสีติมหาสาวกเป็นต้น ไม่ใช่ที่เกิดของสัตว์เหล่าอื่น ที่เรียกว่า ชาติภูมิ. แต่ในวันที่พระสัพพัญูโพธิสัตว์เจ้าพระองค์ใดเกิดแล้ว หมื่นโลกธาตุ เกลื่อนกล่นด้วยธง และดอกไม้เป็นอันเดียวกัน หอมตระหลบด้วยกลิ่นดอกไม้และจุณอบ รุ่งเรืองดังนันทนวันที่มีดอกไม้บานสะพรั่งไปทั่ว ได้ไหวดุจหยาดน้ำบนใบบัว ปาฏิหาริย์เป็นอันมาก เช่น คนตาบอดเห็นรูปเป็นต้น เป็นไปแล้ว ที่เกิดแห่งพระสัพพัญูพระโพธิสัตว์เจ้าพระองค์นั้น คือ กรุงกบิลพัสดุ์ สักกชนบทนั้นแล เรียกว่าชาติภูมิ. บทว่า วสฺสํ วุฏฺา ได้แก่ อยู่จําพรรษา ๓ เดือน ปวารณาแล้ว. บทว่า ภควา เอตทโว จ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์ว่า โก นุ โข ภิกฺขเว ดังนี้ เป็นต้นนั้น ทรงกระทําปฏิสันถารต้อนรับอาคันตุกะด้วยพระดํารัสเป็นต้นว่า กิจฺจิ ภิกฺขเว ขมนียํ. ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามโดยการปฏิสันถารว่า ภิกษุทั้งหลาย พอทนได้ไหม พอเป็นไปได้ไหม พวกเธอมาไกลไม่ลําบากหรือ ไม่ลําบากด้วยบิณฑบาตหรือ พวกเธอมาแต่ไหน จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 358

พวกข้าพระองค์มาจากชาติภูมิ คือ กบิลพัสดุ์สักกชนบท. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามิตรัสถามถึงความไม่มีโรค ของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ของเจ้าสุกโกทนะ ของเจ้าสักโกทนะ ของเจ้าโธโตทนะ ของเจ้าอมิโตทนะ ของพระนางอมิตาเทวี ของพระนางมหาปชาบดี ของวงศ์เจ้าศากยะทั้งสิ้นเลย ที่แท้เมื่อตรัสถามภิกษุผู้ได้กถาวัตถุ ๑๐ ด้วยตนเอง และผู้อื่นผู้ชักชวนในข้อปฏิบัตินั้น ผู้สมบูรณ์ด้วยข้อปฏิบัติ จึงตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า โก นุ โข ภิกฺขเว เป็นต้น.

ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่ตรัสถามความไม่มีโรคของพระเจ้าสุทโธทนะเป็นต้น ตรัสถามเฉพาะภิกษุเห็นปานนั้นเท่านั้น. เพราะเป็นที่รัก. จริงอยู่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกาผู้ปฏิบัติ ย่อมเป็นที่รักที่ชอบพอพระทัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เพราะเหตุไร. เพราะทรงเป็นผู้หนักในธรรม. จริงอยู่ พระตถาคตทั้งหลายเป็นผู้หนักในธรรม. ก็ภาวะที่พระตถาคตทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้หนักในธรรมนั้น พึงทราบ โดยอัธยาศัยที่เกิด ณ โคนแห่งต้นอชปาลนิโครธนี้ว่า ผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยําเกรงอยู่เป็นทุกข์. จริงอยู่ เพราะความเป็นผู้หนักในธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทําการต้อนรับในวันออกบวชของพระมหากัสสปเถระ ได้เสด็จไปตลอดหนทางประมาณ ๓ คาวุต. เสด็จเดินทางเกิน ๓๐๐ โยชน์แสดงธรรมที่ฝังแม่น้ำคงคา สถาปนาพระเจ้ามหากัปปินะ พร้อมบริษัทไว้ในพระอรหัต. ภายหลังภัตรครั้งหนึ่ง เสด็จเดินทาง ๔๕ โยชน์ ตรัสธรรมตลอด ๓ ยาม ณ ที่อยู่ของช่างหม้อ ทรงสถาปนา ปุกกุสาติกุลบุตร ไว้ในอนาคามีผล. เสด็จไปตลอดทาง ๒,๐๐๐ โยชน์ทรงอนุเคราะห์สามเณรที่อยู่ป่า. เสด็จไปตลอดทาง ๖๐ โยชน์ แสดงธรรมโปรดพระขทิวรนิยเถระ. ทรงทราบว่า พระอนุรุทธเถระนั่งอยู่ ที่ปาจีนวังสทายวัน ตรึกถึงมหาปุริสวิตก แล้วเหาะไปในที่นั้น และเสด็จลงข้างหน้าของพระเถระประทานสาธุการ. ให้ปูเสนาสนะที่คันธกุฏีเดียวกัน

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 359

สําหรับพระกุฏิกัณณโสณเถระ ในเวลาใกล้รุ่ง เชื้อเชิญแสดงธรรม ในเวลาจบสรภัญญะได้ประทานสาธุการ. เสด็จเดินทาง ๓ คาวุต ตรัสอานิสงส์สามัคคีรส ณ โคสิงคสาลวันที่อยู่ของกุลบุตร ๓ คน. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ เกิดความสนิทสนมว่าพระอริยสาวกผู้นี้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล เสด็จไปที่อยู่ของนายช่างหม้อ ชื่อว่า ฆฎิการะ รับอามิสด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เสวย. พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย เมื่อจวนเข้าพรรษา ภิกษุสงฆ์แวดล้อมเสด็จออกจาริกจากพระเชตวัน. พระเจ้าโกศลมหาราช และอนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นต้น ไม่อาจจะทําให้เสด็จกลับได้. ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กลับมาบ้าน แล้วก็นั่งเสียใจ. ทาสีชื่อว่า ปุณณา กล่าวกะอนาถบิณฑิกเศรษฐีว่านายเสียใจหรือ. อนาถบิณฑิกเศรษฐีตอบว่า เออว่า ข้าไม่อาจจะทําให้พระศาสดาเสด็จกลับได้ เมื่อเป็นอย่างนั้น ข้าก็คิดว่า ข้าก็คงไม่ได้ฟังธรรมถวายทานตามประสงค์ ตลอด ๓ เดือนนี้. นางปุณณาทาสี กล่าวว่า นายฉันจะนําพระศาสดากลับมาเอง. เศรษฐีพูดว่าถ้าเจ้าสามารถนําพระศาสดากลับมาได้ เจ้าก็จะเป็นไทแก่ตัว. นางไปหมอบแทบเบื้องพระยุคลบาทของพระทศพล ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์โปรดเสด็จกลับเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ปุณณา เจ้าเป็นคนอาศัยเขาเลี้ยงชีพ จักทําอะไรแก่เราได้. นางกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ไม่มีไทยธรรมดอก แม้พระองค์ก็ทรงทราบ แต่เพราะพระองค์เสด็จกลับ เป็นเหตุข้าพระองค์จักตั้งอยู่ในสรณะ ๓ ศีล ๕. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสาธุการว่าดีละ ปุณณา แล้วเสด็จกลับเข้าสู่พระเชตวันนั้นแล. เรื่องนี้ปรากฏจริงขึ้นแล้ว. เศรษฐีฟังแล้วคิดว่า เขาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จกลับเพราะนางปุณณา แล้วให้นางปุณณาเป็นไท แล้วตั้งไว้ในฐานะเป็นธิดา. นางขอบวชแล้วก็บวช ครั้นแล้วก็เริ่มวิปัสสนา. ลําดับนั้น พระศาสดาทรงทราบว่า นางเริ่มวิปัสสนาแล้ว ทรงเปล่งโอภาสและตรัสคาถานี้ว่า

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 360

ปุณฺเณ ปูเรสิ สทฺธมฺมํ จนฺโท ปณฺณรโส ยถา ปริปุณฺณาย ปฺาย ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสสิ

ดูก่อนปุณณา เจ้าบําเพ็ญพระสัทธรรมให้เต็ม เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ จักกระทําที่สุดทุกข์ด้วยปัญญาที่บริบูรณ์ได้.

เมื่อจบคาถา นางก็บรรลุพระอรหัตได้เป็นพระสาวิกา ผู้มีชื่อเสียง. พระตถาคตทั้งหลายเป็นผู้หนักในธรรมด้วยประการฉะนี้.

เมื่อพระนันทเถระ แสดงธรรมอยู่ในโรงฉัน พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่นําอะไรไป ประทับยืนฟังธรรมกถาตลอด ๓ ยาม เมื่อจบเทศนา ได้ประทานสาธุการ. พระเถระ มาถวายบังคม ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์มาเวลาไร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เมื่อเธอพอเริ่มสูตร. ทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงทํากิจที่ทําได้ยาก ทรงเป็นพระพุทธเจ้าสุขุมาลชาติ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นันทะ ถ้าเธอพึงอาจแสดงอยู่ได้ถึงกัปป เราก็จะยืนฟังอยู่ตลอดกัปป. พระตถาคตทั้งหลายหนักในธรรมอย่างนี้ ผู้ปฏิบัติทั้งหลาย ย่อมเป็นที่รักของพระตถาคตเหล่านั้น เพราะเป็นผู้หนักในธรรม เพราะฉะนั้น จึงตรัสถามผู้ปฏิบัติทั้งหลาย.

ขึ้นชื่อว่า ผู้ปฏิบัติ มี ๔ ประเภท คือ ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑ ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ๑ ผู้ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑ ไม่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑. บรรดาผู้ปฏิบัติเหล่านั้น ผู้ใดได้กถาวัตถุ ๑๐ เอง ไม่กล่าวไม่สอนผู้อื่นในกถาวัตถุ ๑๐ นั้นเหมือนอย่างท่านพากุละ ผู้นี้ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อ

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 361

ประโยชน์ผู้อื่น. พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ถามภิกษุเช่นนี้. เพราะเหตุไร. เพราะภิกษุนั้นไม่ตั้งอยู่ในฝ่ายเจริญแห่งศาสนาของเรา. ส่วนผู้ไม่ได้กถาวัตถุ ๑๐ สอนภิกษุอื่นด้วยกถาวัตถุ ๑๐ นั้น เพื่อยินดีข้อวัตรที่ภิกษุนั้นการทําแล้ว เหมือนท่านอุปนันทสักยบุตรผู้นี้ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน. พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสถามแม้ภิกษุเช่นนั้น. เพราะเหตุไร. เพราะภิกษุนั้นละตัณหาไม่ได้เหมือนกระเช้าใหญ่. ผู้ใดไม่ได้กถาวัตถุ ๑๐ แม้ด้วยตนเองไม่ชักชวน ไม่สอนผู้อื่นด้วยกถาวัตถุ ๑๐ นั้น เหมือนพระโลฬุทายีผู้นี้ชื่อว่าไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น. ไม่ตรัสถามภิกษุเห็นปานนั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะกิเลสทั้งหลายในภายในของเธอมีมากเหมือนจะต้องตัดทิ้งด้วยขวาน. ส่วนภิกษุใด ตนเองได้กถาวัตถุ ๑๐ ทั้งสอนผู้อื่นด้วยกถาวัตถุ ๑๐ นั้น ภิกษุนี้ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่นเหมือนพระอสีติมหาเถระ มีพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ และพระมหากัสสปะเป็นต้น. ตรัสถามภิกษุเห็นปานนั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร.ตอบว่า เพราะภิกษุนั้นตั้งอยู่ในฝ่ายเจริญแห่งศาสนาของเรา. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสถามเฉพาะภิกษุเห็นปานนั้น แม้ในที่นี้ จึงตรัสว่า โก นุ โข ภิกฺขเว เป็นต้น.

ก็เมื่อภิกษุเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุผู้ได้กถาวัตถุ ๑๐ ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ทั้งสองฝ่ายในชาติภูมิของตน. ได้มีความคิดหรือปรึกษากันและกันว่า ในภิกษุเหล่านั้นรูปไหนจะเป็นเช่นนั้น. เพราะเหตุไร. เพราะท่านมันตานีบุตรปรากฏมีชื่อเสียงในชนบทนั้น เหมือนพระจันทร์ และพระอาทิตย์ลอยเด่นอยู่ในท่ามกลางอากาศ. เพราะฉะนั้น ภิกษุเหล่านั้นเป็นประดุจฝูงนกยูง ได้ฟังเสียงเมฆก็เกาะกลุ่มประชุมกัน และเป็นดุจภิกษุผู้เริ่มทําคณะสาธยาย เมื่อจะกราบทูลถึง

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 362

พระปุณณเถระผู้เป็นอาจารย์ของตนแด่พระผู้มีพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงจะมีปากก็ไม่พอที่จะกล่าวสรรเสริญคุณของพระเถระ จึงได้กล่าวเป็นเสียงเดียวกัน ว่า ปุณฺโณ นาม ภนฺเต อายสฺมา เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น คําว่า ปุณฺโณ เป็นชื่อของพระเถระนั้น ก็เพราะท่านเป็นบุตรของมันตานีพราหมณี ฉะนั้นจึงเรียกกันว่า มันตานีบุตร. บทว่า สมฺภาวิโต ได้แก่ยกย่องโดยกล่าวสรรเสริญคุณ. บทว่า อปฺปิจฺโฉ ได้แก่ปราศจากความปรารถนา หมดความอยาก หมดตัณหา. ก็ในคํานี้เหมือนจะเหลือแต่พยัญชนะ ส่วนเนื้อความไม่มีเหลือเลย. ก็ท่านปุณณมันตานีบุตรนั้นไม่มีปรารถนาเหลืออยู่เลยแม้น้อยนิด เพราะท่านเป็นพระขีณาสพ ละตัณหาได้โดยประการทั้งปวง.

อีกอย่างหนึ่ง ในคําว่า อปฺปิจฺโฉ นี้ พึงทราบความแตกต่างกันดังนี้ว่า ความเป็นผู้ปรารถนาไม่มีขอบเขต ความเป็นผู้ปรารถนาลามก ความเป็นผู้มักมาก ความเป็นผู้มักน้อย. ใน ๔ ประเภทนั้น ผู้ไม่อิ่มในลาภของตน มุ่งลาภของผู้อื่น ชื่อว่า ความเป็นผู้ปรารถนาไม่มีขอบเขต. ผู้ที่ประกอบด้วยความปรารถนาไม่มีขอบเขต ย่อมมองเห็นขนมที่สุกแล้วในภาชนะเดียวกันที่ตกลงในบาตรของตนว่า เป็นเหมือนยังไม่สุก และเป็นของเล็กน้อย ของอย่างเดียวกันนั่นแหละ ที่เขาใส่ลงในบาตรของผู้อื่น ย่อมมองเห็นว่าเป็นเหมือนของสุกดีและเป็นของมาก. อนึ่ง ความอวดอ้างคุณที่ไม่มีอยู่ และความไม่รู้จักประมาณในการรับ ชื่อว่า ความเป็นผู้มีความปรารถนาลามก. ข้อนั้นมาแล้วในพระอภิธรรม โดยนัยเป็นต้นว่า บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้ว่าเรามีศรัทธา. บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้ปรารถนาลามกนั้น ย่อมตั้งอยู่ในฐานะเป็นคนล่อลวง. ส่วนการกล่าวสรรเสริญคุณที่มีอยู่ก็ดี และการไม่รู้จักประมาณในการรับก็ดี ชื่อว่า ความเป็นผู้มักมาก. แม้ความเป็นผู้มักมากนั้นก็มาแล้ว โดยนัยเป็นต้นว่า บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศรัทธา ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้ว่าเรามีศรัทธา เป็นผู้มีศีลย่อมปรารถนา

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 363

ว่า ขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้มีศีล. บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มักมากนั้น ย่อมเป็นที่รักของคนชั่ว. แม้มารดาผู้บังเกิดเกล้าก็ไม่สามารถจะเอาใจเขาได้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจงกล่าวคํานี้ไว้ว่า

อคฺคิกฺขนฺโธ สมุทฺโท จ มหิจฺโฉ จาปิ ปุคฺคโล สกเฎน ปจฺจยํ เหตุ ตโย เจเต อตปฺปิยา

กองไฟ ๑ ทะเล ๑ คนมักมาก ๑ ทั้ง ๓ ประเภทนี้ ถึงจะให้ของจนเต็มเล่มเกวียนก็ไม่ทําให้อิ่มได้.

ส่วนการปกปิดคุณที่มีอยู่ และความเป็นผู้รู้จักประมาณในการรับ ชื่อว่าความเป็นผู้มักน้อย. บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มักน้อยนั้น เพราะประสงค์จะปกปิดคุณ แม้ที่มีอยู่ในตน ถึงจะสมบูรณ์ด้วยศรัทธา ก็ไม่ปรารถนาจะให้คนรู้ว่าเรามีศรัทธา เป็นผู้มีศีล เป็นผู้สงัด เป็นพหูสูต เป็นผู้ปรารภความเพียร สมบูรณ์ด้วยสมาธิ มีปัญญา เป็นพระขีณาสพ ก็ไม่ปรารถนาจะให้คนรู้ว่าเราเป็นพระขีณาสพ เหมือนอย่างพระมัชฌันติกเถระฉะนั้น.

เล่ากันว่า พระเถระเป็นพระมหาขีณาสพ. ก็บาตรจีวรของท่านมีราคาเพียงบาทเดียวเท่านั้น. ท่านได้เป็นประธานสงฆ์ในวันฉลองวิหารของพระเจ้าธรรมาโศกราช. ครั้งนั้น มนุษย์ทั้งหลายเห็นท่านมีจีวรเศร้าหมองเกินไป จึงกล่าวว่า ขอท่านจงรออยู่ข้างนอกสักหน่อยเถิดเจ้าข้า. พระเถระคิดว่า เมื่อพระขีณาสพเช่นเราไม่สงเคราะห์พระราชา ผู้อื่นใดใครเล่าจักสงเคราะห์ได้ จึงดําลงไปในแผ่นดิน รับอาหารที่เขาจัดไว้สําหรับพระเถระผู้เป็นประธานสงฆ์แล้วโผล่ขึ้น. ขนาดท่านเป็นพระขีณาสพอย่างนี้ ยังไม่ปรารถนาว่า ขอประชาชนจงรู้จักเราว่าเป็นพระขีณาสพ. ส่วนภิกษุผู้มักน้อย ย่อมยังลาภที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ย่อมทําลาภที่เกิดขึ้นแล้วให้มั่นคง ทําจิตของเหล่าทายกให้ยินดีด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ ภิกษุผู้มีความมักน้อยนั้น ย่อมรับเอาแต่น้อย

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 364

เพราะตนเป็นผู้มักน้อย โดยประการใดๆ เหล่ามนุษย์ผู้เลื่อมใสในวัตรของท่านย่อมถวายมากโดยประการนั้นๆ.

อีกนัยหนึ่ง ภิกษุผู้มักน้อย มี ๔ ประเภท คือ ภิกษุผู้มักน้อยในปัจจัย ๑ ผู้มักน้อยในธุดงค์ ๑ ผู้มักน้อยในปริยัติ ๑ ผู้มักน้อยในอธิคม ๑. ใน ๔ ประเภทนั้น ภิกษุผู้มักน้อยในปัจจัย ๔ ชื่อว่า ผู้มักน้อยในปัจจัย. ภิกษุผู้มักน้อยในปัจจัยนั้น ย่อมรู้ความสามารถของทายก ย่อมรู้ความสามารถของไทยธรรม ย่อมรู้กําลังของตน. ก็ผิว่า ไทยธรรมมีมาก แต่ทายกต้องการถวายน้อย ก็รับเอาแต่น้อยตามความสามารถของทายก ไทยธรรมมีน้อย ทายกต้องการจะถวายมาก ก็รับเอาแต่น้อย ตามความสามารถของไทยธรรม ทั้งไทยธรรมก็มีมาก ทั้งทายกก็ต้องการจะถวายมาก ก็รู้กําลังของตน รับเอาแต่พอประมาณ. ภิกษุผู้มีความปรารถนาน้อย ไม่ต้องการจะให้เขารู้ความที่ธุดงค์สมาทานมีอยู่ในตน ชื่อว่าผู้มักน้อยในธุดงค์. เพื่อจะทําความในข้อนั้นให้แจ่มแจ้ง มีเรื่องเหล่านี้เป็นตัวอย่าง.

เล่ากันมาว่า พระมหาสุมเถระ ผู้ถือโสสานิกังคธุดงค์อยู่ป่าช้ามา ๖๐ ปีแม้แต่ภิกษุสักรูปหนึ่งอื่นๆ ก็ไม่รู้. ด้วยเหตุนั้นแล ท่านจีงกล่าวว่า

สุสาเน สฏฺิวสฺสานิ อพฺโพกิณฺโณ วสามหํ ทุติโย มํ น ชาเนยฺย อโห โสสานิกุตฺตโม

เราอยู่ลําพังคนเดียว ในป่าช้ามา ๖๐ ปี เพื่อนก็ไม่รู้เรา โอ ยอดของผู้รักษาโสสานิกังคธุดงค์.

พระเถระ ๒ พี่น้องอยู่ในเจติยบรรพต. พระเถระองค์น้องรับท่อนอ้อยที่อุปฐากเขาส่งมา ได้ไปยังสํานักของพระเถระผู้พี่พูดว่า หลวงพี่ฉันเสียซิ. เป็นเวลาที่พระเถระฉันแล้วบ้วนปาก. พระเถระผู้พี่กล่าวว่า พอละเธอ. พระผู้น้องชายถามว่า หลวงพี่ถือเอกาสนิกังคธุดงค์หรือ. พระเถระผู้พี่กล่าวว่า เธอนําท่อน

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 365

อ้อยมา แม้เป็นผู้ถือเอกาสนิกังคธุดงค์มาถึง ๕๐ ปี ก็ปกปิดธุดงค์ไว้ ฉันแล้วบ้วนปาก อธิษฐานธุดงค์ใหม่แล้วไป. ส่วนภิกษุผู้มักน้อยรูปใด ไม่ประสงค์จะให้เขารู้ ความที่ตนเป็นพหูสูต เหมือนพระสาเกตกติสสเถระ ภิกษุนี้ชื่อว่าผู้มักน้อยในพระปริยัติ. เล่ากันมาว่า พระเถระ ไม่ทําโอกาสในอุเทศและปริปุจฉาว่า ไม่มีเวลา ถูกเตือนว่า ท่านคงจะมีแต่เวลาตาย ละหมู่แล้วไปวิหารใกล้สมุทรที่มีทรายดังดอกกัณณิกา เป็นผู้อุปการะเหล่าภิกษุชั้นเถระนวกะ และมัชฌิมะ ตลอดพรรษา ยังชุมชนให้เสทือนด้วยธรรมกถาในวันมหาปวารณา วันอุโบสถแล้วไป. ส่วนภิกษุผู้มักน้อยรูปใด เป็นพระอริยบุคคลองค์หนึ่ง ในบรรดาพระอริยบุคคลผู้โสดาบันเป็นต้น ย่อมไม่ปรารถนาให้รู้ความเป็นพระโสดาบันเป็นต้น ภิกษุผู้มักน้อยรูปนี้ ชื่อว่าผู้มักน้อยในอธิคมเหมือนกุลบุตร ๓ คน และเหมือนช่างหม้อ ชื่อว่า ฆฎิการ. ส่วนท่านปุณณะละความปรารถนาเกินขอบเขต ความปรารถนาลามกและความมักมาก ได้ชื่อว่าเป็นผู้มักน้อย เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยความมักน้อยอันบริสุทธิ์ กล่าวคือความไม่โลภอันเป็นปฏิปักษ์ต่อความปรารถนาโดยประการทั้งปวง. ท่านปุณณะแสดงโทษในธรรมเหล่านั้นว่า ผู้มีอายุ ธรรมเหล่านี้คือ ความปรารถนาเกินขอบเขต ความปรารถนาลามก ความเป็นผู้มักมาก อันภิกษุควรละ ดังนี้แล้วจึงกล่าวอัปปิจฉกถาแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุควรสมาทาน ประพฤติ ความเป็นผู้มักน้อย เห็นปานนี้. ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุผู้มักน้อยด้วยตนเอง และสอนเรื่องเป็นผู้มักน้อย แก่ภิกษุทั้งหลาย.

บัดนี้ ข้าพเจ้าจักแสดงอรรถอันพิเศษในคําว่า อตฺตนาว สนฺตุฏฺโ เป็นต้น. แต่พึงทราบการประกอบความโดยนัยดังกล่าวมาแล้ว. บทว่า สนฺตุฏฺโ ได้แก่ผู้ประกอบด้วยความสันโดษในปัจจัยตามมีตามได้. ก็สันโดษนี้นั้นมี ๑๒ อย่าง คืออะไรบ้าง อันดับแรกในจีวร มี ๓ อย่าง คือ ยถาลาภสันโดษ

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 366

ยถาพลสันโดษ ยถาสารุปปสันโดษ. ในบิณฑบาตเป็นต้น ก็เหมือนกัน. การพรรณนาประเภทปัจจัย คือจีวรนั้นดังนี้ ภิกษุในศาสนานี้ได้จีวร ไม่ว่าดี หรือไม่ดี ก็ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยจีวรนั้นเท่านั้น ไม่ปรารถนาจีวรอื่นถึงได้ก็ไม่รับ นี้ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษ ในจีวรของภิกษุนั้น. อนึ่ง ภิกษุใดทุพพลภาพโดยปกติ หรือถูกความเจ็บป่วยและชราครอบงํา ครองจีวรหนักก็ลําบาก ภิกษุนั้น เปลี่ยนจีวรกับภิกษุผู้ชอบพอกัน แม้ยังอัตตภาพให้เป็นไปด้วยจีวรเบา ก็เป็นผู้สันโดษเหมือนกัน นี้ชื่อยถาพลสันโดษในจีวรของภิกษุนั้น. ภิกษุอีกรูปหนึ่ง เป็นผู้ได้ปัจจัยอันประณีต เธอได้จีวรมีค่ามากผืนหนึ่ง บรรดาจีวรแพรเป็นต้น ก็หรือว่าได้จีวรเป็นอันมาก คิดว่า จีวรนี้เหมาะแก่พระเถระผู้บวชนาน ผืนนี้เหมาะแก่ภิกษุผู้พหูสูต ผืนนี้เหมาะแก่ภิกษุผู้เป็นไข้ ผืนนี้เหมาะแก่ภิกษุผู้มีลาภน้อย ถวายแล้วเลือกจีวรเก่าๆ บรรดาผ้าเหล่านั้นหรือชิ้นผ้าจากกองขยะเป็นต้น กระทําสังฆาฏิด้วยผ้าเหล่านั้น แม้ครองอยู่ก็เป็นผู้สันโดษอยู่นั่นแล นี้ชื่อว่า ยถาสารุปปสันโดษ ในจีวรของภิกษุนั้น.

อนึ่ง ภิกษุในพระศาสนานี้ ได้บิณฑบาตไม่ว่าปอนหรือประณีต เธอยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยบิณฑบาตนั้นเท่านั้น ไม่ปรารถนาบิณฑบาตอื่น ถึงได้ก็ไม่รับ นี้ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษในบิณฑบาตของภิกษุนั้น. แต่ภิกษุใดได้บิณฑบาตที่แสลงแก่ปกติของตน หรือแสลงแก่โรค ซึ่งเธอฉันแล้วไม่ผาสุก ภิกษุนั้นถวายบิณฑบาตนั้นแก่ภิกษุที่ชอบกัน ฉันโภชนะที่สบายจากมือของภิกษุนั้น แม้กระทําสมณธรรมอยู่ ก็ยังชื่อว่า ผู้สันโดษ นี้ชื่อว่า ยถาพลสันโดษในบิณฑบาตของภิกษุนั้น. ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ได้บิณฑบาตประณีตเป็นอันมาก เธอถวายบิณฑบาตนั้นแก่เหล่าภิกษุผู้บวชนาน ผู้เป็นพหูสูต ผู้มีลาภน้อย และภิกษุไข้เหมือนจีวร แม้ฉันบิณฑบาตที่เหลือของภิกษุเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 367

หรือเที่ยวบิณฑบาตแล้วฉันอาหารคละกัน ก็ยังชื่อว่า ผู้สันโดษ นี้ชื่อว่า ยถาสารุปปสันโดษในบิณฑบาตของภิกษุนั้น.

อนึ่ง ภิกษุในพระศาสนานี้ ได้เสนาสนะไม่ว่าน่าพอใจ หรือไม่น่าพอใจ เธอไม่เกิดโสมนัส ไม่เกิดปฏิฆะ ด้วยเสนาสนะนั้น ยินดีด้วยเสนาสนะตามที่ได้โดยที่สุด แม้เครื่องปูลาดทําด้วยหญ้า นี้ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษในเสนาสนะของภิกษุนั้น. อนึ่ง ภิกษุใดได้เสนาสนะที่แสลงแก่ปกติของตน หรือแสลงแก่โรค เมื่ออยู่ก็ไม่มีความผาสุก ภิกษุนั้นถวายเสนาสนะนั้นแก่ภิกษุที่ชอบกัน แม้อยู่ในเสนาสนะอันเป็นสัปปายะอันเป็นส่วนของเธอ ก็ยังชื่อว่าผู้สันโดษ นี้ชื่อว่า ยถาพลสันโดษในเสนาสนะของภิกษุนั้น. ภิกษุอีกรูปหนึ่งมีบุญมาก ได้เสนาสนะมาก มีที่เร้น มณฑป และเรือนยอดเป็นต้น เธอถวายเสนาสนะเหล่านั้นแก่ภิกษุผู้บวชนาน ผู้พหูสูต ผู้มีลาภน้อย และภิกษุไข้เหมือนจีวรเป็นต้น แม้อยู่ที่ใดที่หนึ่งก็ยังชื่อว่าผู้สันโดษ นี้ชื่อว่า ยถาสารุปปสันโดษในเสนาสนะของภิกษุนั้น. แม้ภิกษุใด พิจารณาว่า เสนาสนะอันอุดมเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เมื่อนั่งในที่นั้น ย่อมง่วงเหงาหาวนอน เมื่อหลับแล้วตื่นขึ้น ความวิตกอันลามกก็ปรากฏ แล้วไม่รับเสนาสนะเช่นนั้นแม้มาถึงแล้ว เธอปฏิเสธแล้วแม้อยู่กลางแจ้งโคนไม้เป็นต้น ก็ยังชื่อว่าผู้สันโดษ นี้ชื่อว่ายถาสารุปปสันโดษในเสนาสนะ.

อนึ่ง ภิกษุในพระศาสนานี้ได้เภสัชไม่ว่าปอนหรือประณีต เธอยินดีด้วยเภสัชที่ได้ ไม่ปรารถนาเภสัชแม้อย่างอื่น ถึงได้ก็ไม่รับ นี้ชื่อว่ายถาลาภสันโดษในคิลานปัจจัยของเธอ. อนึ่ง ภิกษุใดต้องการน้ำมัน แต่ได้น้ำอ้อย เธอถวายน้ำอ้อยนั้นแก่ภิกษุผู้ชอบกัน ถือเอาน้ำมันจากมือของภิกษุนั้น หรือแสวงหาอย่างอื่น แม้กระทําเภสัชด้วยปัจจัยเหล่านั้นก็ยังชื่อว่า เป็นผู้สันโดษ นี้ชื่อว่า ยถาพลสันโดษในคิลานปัจจัยของเธอ. ภิกษุอีกรูปหนึ่ง มีบุญมาก ได้เภสัชประณีต มีน้ำมันน้ำผึ้งน้ำอ้อย

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 368

เป็นต้น เป็นอันมาก เธอถวายเภสัชนั้นแก่ภิกษุบวชนาน พหูสูต มีลาภน้อย และภิกษุไข้เหมือนจีวร แม้ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยเภสัชอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ได้มาจากคิลานปัจจัยเหล่านั้น ก็ยังชื่อว่า เป็นผู้สันโดษ. อนึ่ง ภิกษุใดอันภิกษุทั้งหลายวางสมอดองไว้ในภาชนะหนึ่ง วางของมีรสอร่อย ๔ อย่างไว้ในภาชนะหนึ่ง แล้วกล่าวว่า นิมนต์ถือเอาสิ่งที่ต้องการเถิดขอรับ ถ้าว่าโรคของเธอจะระงับไปด้วยของอย่างใดอย่างหนึ่งในของเหล่านั้น เมื่อเป็นดังนั้นเธอก็ห้ามว่า ขึ้นชื่อสมอดองอันพระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงสรรเสริญแล้ว กระทําเภสัชด้วยสมอดองเท่านั้น ชื่อว่า เป็นผู้สันโดษอย่างยิ่ง นี้ชื่อว่า ยถสารุปปสันโดษในคิลานปัจจัย. ก็ยถาสารุปปสันโดษเป็นยอดของสันโดษแต่ละสามๆ ในปัจจัยแต่ละอย่างๆ เหล่านี้ ท่านพระปุณณะได้เป็นผู้สันโดษด้วยสันโดษแม้ทั้งสามเหล่านี้ ในปัจจัยแต่ละอย่าง.

บทว่า สนฺตฎฺิกถฺจ ได้แก่ สั่งสอนเรื่องสันโดษนี้แก่ภิกษุทั้งหลาย. บทว่า ปวิวิตฺโต ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยวิเวก ๓ เหล่านี้ คือ กายวิเวก จิตตวิเวก อุปธิวิเวก. ในวิเวก ๓ นั้น ภิกษุเดินรูปเดียว ยืนรูปเดียว นั่งรูปเดียว นอนรูปเดียว บิณฑบาตรูปเดียว กลับรูปเดียว จงกรมรูปเดียว เที่ยวรูปเดียว อยู่รูปเดียว นี้ชื่อว่า กายวิเวก. ส่วนสมาบัติ ๘ ชื่อว่า จิตตวิเวก. นิพพานชื่อว่า อุปธิวิเวก. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า กายวิเวกสําหรับบุคคลผู้ปลีกกายยินดีในเนกขัมมะ จิตตวิเวกสําหรับบุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ มีจิตผ่องแผ้วอย่างยิ่ง และอุปธิวิเวกสําหรับบุคคลผู้ปราศจากอุปธิผู้ถึงวิสังขาร. บทว่า ปวิเวกกถํ ได้แก่ สั่งสอนเรื่องวิเวกนี้แก่ภิกษุทั้งหลาย. บทว่า อสํสฏฺโ ได้แก่ เว้นการคลุกคลี ๕ อย่าง.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 369

การคลุกคลี ๕ อย่าง คือ

๑. สวนสังสัคคะ

๒. ทัสสนสังสัคคะ

๓. สมุลลาปสังสัคคะ

๔. สัมโภคสังสัคคะ

๕. กายสังสัคคะ.

ในการคลุกคลี ๕ อย่างนั้น ภิกษุในธรรมวินัยนี้ฟังว่า ผู้หญิง หรือหญิงสาวในบ้าน หรือตําบลนั่นงาม น่าชม สดใส มีผิวพรรณงามอย่างยิ่ง ฟังเรื่องนั้นแล้ว สยบซึมเซา ไม่อาจสืบพรหมจรรย์ต่อไปได้ ไม่ลาสิกขา สึกเลย เมื่อเธอฟังคนอื่นเขาพูดถึงรูปสมบัติเป็นต้น หรือเสียงหัวเราะด้วยตน เกิดราคะด้วยโสตวิญญาณวิถี ชื่อว่า สวนสังสัคคะ. สวนสังสัคคะนั้น พึงทราบโดยอํานาจพระโพธิสัตว์ผู้ไม่เคยได้กลิ่นหญิง และพระติสสะหนุ่มผู้อยู่ในถ้ำปัญจัคคฬะ. เขาว่า ภิกษุหนุ่มเหาะไป ได้ยินเสียงลูกสาวช่างทองชาวบ้านคิริคามไปสระปทุมกับหญิงสาว ๕ คน อาบน้ำประดับดอกปทุม ขับร้องด้วยเสียงอันไพเราะ ถูกกามราคะเสียบเอา เสื่อมฌานถึงความพินาศ.

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ได้ยินเสียงเลย แต่ตนเองเห็นผู้หญิง หรือหญิงสาวที่สวย น่าชม สดใส มีผิวพรรณงามอย่างยิ่ง เธอเห็นแล้ว สยบ ซึมเซา ไม่อาจสืบพรหมจรรย์ต่อไปได้ ไม่ลาสิกขา สึกเลย เมื่อเธอแลดูรูปที่เป็นข้าศึกอย่างนี้ เกิดราคะด้วยจักขุวิญญาณวิถี ชื่อว่า ทัสสนสังสัคคะ. ทัสสนสังสัคคะนั้นพึงทราบดังนี้.

เขาว่า ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งไปยังทูรวิหารใกล้บึงกาลทีฆะ เพื่อเรียนอุทเทส. อาจารย์เห็นอันตรายของท่าน ก็ไม่ให้โอกาส. เธอก็พยายามติดตาม

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 370

ไป. อาจารย์กล่าวว่า ถ้าเธอไม่เที่ยวไปในบ้าน เราก็จักสอนอุทเทสแก่เธอ. เธอรับคําแล้ว เมื่อเรียนอุทเทสจบ ก็ไหว้อาจารย์ไป คิดว่า อาจารย์ไม่ให้เราเที่ยวไปในบ้านนี้ ทําไมหนอ ห่มจีวรเข้าบ้าน. กุลธิดาคนหนึ่งนุ่งผ้าสีเหลืองยืนที่เรือน เห็นภิกษุหนุ่มก็เกิดราคะ เอากระบวยนํายาคูมาใส่ลงในบาตรแล้วกลับไปนอนเตียง. ครั้งนั้น มารดาบิดาจึงถามว่าอะไรกันลูก. กุลธิดานั้นตอบว่า เมื่อฉันได้ภิกษุหนุ่มที่ไปทางประตู จึงจักมีชีวิตอยู่ได้ เมื่อไม่ได้ ฉันจักตาย. มารดาบิดารีบไปพบภิกษุหนุ่มที่ประตูบ้าน ไหว้ แล้วบอกว่า กลับมาเถิดท่าน โปรดรับภิกษา. ภิกษุหนุ่มบอกว่า พอละโยม จะไปละ. มารดาบิดาอ้อนวอนว่า เรื่องมันเป็นอย่างนี้ท่าน ในเรือนของเรามีทรัพย์อยู่เท่านี้ เรามีลูกสาวอยู่คนเดียวเท่านั้น ท่านมาเป็นลูกชายคนโตของเราเถิด สามารถอยู่ได้อย่างสบาย. ภิกษุหนุ่มตอบว่า ฉันไม่ต้องการกังวลอย่างนี้ ไม่ใยดี แล้วผละไป. มารดาบิดาไปบอกลูกสาวว่า ลูก พ่อแม่ไม่อาจจะนําภิกษุหนุ่มกลับมาได้ เลือกสามีอื่นที่เจ้าต้องการเถิด จงลุกขึ้นมากินข้าวกินน้ำเถิด. กุลธิดานั้นก็ไม่ปรารถนา นางอดข้าว ๗ วัน ตาย. มารดาบิดาทําการฌาปนกิจนางแล้วถวายผ้าสีเหลืองผืนนั้นแก่ภิกษุสงฆ์ในทูรวิหาร. ภิกษุทั้งหลายก็ฉีกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแบ่งกัน. ภิกษุแก่รูปหนึ่งรับส่วนของตนไป มายังกัลยาณวิหาร. ภิกษุหนุ่มแม้นั้นคิดจะไปไหว้พระเจดีย์ ก็ไปที่กัลยาณวิหารนั้น นั่งในที่พักกลางวัน. ภิกษุแก่หยิบชิ้นผ้านั้นมาแล้วบอกภิกษุหนุ่มว่า ท่านขอรับ โปรดใช้ผ้าผืนนี้ของผมเป็นผ้ากรองน้ำ. ภิกษุหนุ่มเรียนว่า ท่านมหาเถระได้มาแต่ไหนขอรับ. ภิกษุแก่ก็เล่าเรื่องนั้นทั้งหมด. ภิกษุหนุ่มฟังเรื่องนั้นแล้ว คิดว่าเราไม่ได้อยู่ร่วมกับหญิงคนนี้ ถูกไฟราคะเผา มรณภาพในที่นั้นเอง.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 371

ส่วนราคะที่เกิดโดยการสนทนาปราศรัยกะกันและกัน ชื่อ สมุลลาปสังสัคคะ. ราคะที่เกิดโดยภิกษุรับของของภิกษุณี หรือภิกษุณีรับของของภิกษุแล้วบริโภค ชื่อ สัมโภคสังสัคคะ. สัมโภคสังสัคคะนั้นพึงทราบดังนี้.

เล่าว่า ครั้งฉลองมริจิวัตติยวิหาร มีภิกษุแสนรูป ภิกษุณีเก้าหมื่นรูป. สามเณรรูปหนึ่งรับข้าวยาคูร้อนไปพักไว้ที่ชายจีวรครั้งหนึ่ง ที่พื้นดินครั้งหนึ่ง.สามเณรีรูปหนึ่งเห็น ถวายถลกบาตร ด้วยกล่าวว่า วางบาตรไว้ในนี้แล้วค่อยไป. ภายหลังต่อมา เมื่อเกิดภัยขึ้น ทั้งสองก็ไปยังปรสมุททวิหาร. ทั้งสองรูปนั้น ภิกษุณีไปก่อน. ภิกษุณีนั้นได้ยินว่า ภิกษุชาวสิงหลรูปหนึ่งมา ก็ไปยังสํานักพระเถระ กระทําปฏิสันถารแล้วนั่งถามว่า ท่านเจ้าข้า เมื่อครั้งฉลองมริจิวัตติยวิหาร ท่านพรรษาเท่าไร. พระเถระตอบว่า ครั้งนั้น ฉันเป็นสามเณรอายุ ๗ ขวบ ท่านเล่า พรรษาเท่าไร. ภิกษุณีตอบว่า ครั้งนั้น ดิฉันก็เป็นสามเณรอายุ๗ ขวบเหมือนกัน ดิฉันได้ถวายถลกบาตรแก่สามเณรรูปหนึ่งซึ่งรับข้าวยาคูร้อนไปเพื่อพักบาตร. พระเถระบอกว่า สามเณรองค์นั้นคือฉัน นําถลกบาตรออกมาแสดง. ด้วยสังสัคคะอันนี้นี่เอง แม้ทั้งสองท่านก็ไม่อาจจะสืบพรหมจรรย์ต่อไปได้ สึกในเวลามีอายุ ๖๐.

ก็ราคะที่เกิดขึ้นโดยการจับมือเป็นต้น ชื่อว่า กายสังสัคคะ. ในข้อนั้นมีเรื่องนี้เป็นตัวอย่าง. เขาว่า ที่มหาเจติยังคณะ พวกภิกษุหนุ่มทําการสาธยาย พวกภิกษุณีสาวฟังธรรมอยู่ข้างหลังของพวกภิกษุหนุ่มเหล่านั้น. ในภิกษุหนุ่มเหล่านั้น ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งเหยียดแขนออกไปถูกกายภิกษุณีสาวรูปหนึ่ง. ภิกษุณีสาวจับมือมาทาบไว้ที่อกของตน. ด้วยสังสัคคะอันนั้น แม้ทั้งสองก็สึกเป็นคฤหัสถ์.

ก็ในสังสัคคะ ๕ อย่างเหล่านี้ การฟัง การเห็น การเจรจา การร่วม การถูกต้องกายของภิกษุกับภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีเป็นนิจทีเดียว เว้นกาย

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 372

สังสัคคะ สังสัคคะที่เหลือกับภิกษุณีทั้งหลาย ย่อมมีได้เป็นครั้งคราว. สังสัคคะแม้ทั้งหมดกับอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ก็มีได้เป็นครั้งคราวเหมือนกัน. ก็พึงรักษาจิตจากการเกิดกิเลสในสังสัคคะเหล่านั้น. ภิกษุรูปหนึ่งเป็นคาหคาหกะ รูปหนึ่งเป็นคาหมุตตกะ รูปหนึ่งเป็นมุตตคาหกะ รูปหนึ่งเป็นมุตตมุตตกะ. ในภิกษุเหล่านั้น พวกมนุษย์เข้าไปหาภิกษุด้วยการเอาเหยื่อล่อจับไว้ก็ดี ภิกษุเข้าไปหามนุษย์ด้วยการเอาดอกไม้ผลไม้เป็นต้น ล่อจับไว้ก็ดี นี้ชื่อว่าคาหคาหกะต่างคนต่างจับ. ส่วนมนุษย์เข้าไปหาภิกษุโดยนัยที่กล่าวแล้ว ภิกษุเข้าไปหาโดยเป็นทักขิเณยยบุคคล นี้ชื่อว่า คาหมุตตกะ พ้นจากผู้จับ. มนุษย์ทั้งหลายถวายปัจจัยสี่โดยเป็นทักขิเณยยบุคคล ฝ่ายภิกษุเข้าไปหาโดยเอาดอกไม้ผลไม้เป็นต้นล่อจับไว้ นี้ชื่อว่า มุตตคาหกะ จับผู้ปล่อย. มนุษย์ทั้งหลายถวายปัจจัยสี่โดยเป็นทักขิเณยยบุคคลก็ดี ภิกษุบริโภคโดยเป็นทักขิเณยยบุคคลเหมือนพระจุลลปิณฑปาติยติสสเถระก็ดี นี้ชื่อว่า มุตตมุตตกะ ต่างคนต่างปล่อย. เขาว่าอุบาสิกาคนหนึ่ง อุปัฏฐากพระเถระมา ๑๒ ปี. วันหนึ่งไฟไหม้เรือนที่หมู่บ้านนั้น. ภิกษุประจําตระกูลของคนอื่นๆ ก็มาถามว่า อุบาสิกา ไฟสามารถทําสิ่งของอะไรๆ ให้ไม่เสียหายมีบ้างหรือ. คนทั้งหลายกล่าวว่า พระเถระประจําตระกูลมารดาของเราจักมาเวลาฉันเท่านั้น. วันรุ่งขึ้นแม้พระเถระกําหนดเวลาภิกษาจารแล้วก็มา. อุบาสิกานิมนต์ให้นั่งที่ร่มยุ้ง จัดภิกษาถวาย. เมื่อพระเถระฉันเสร็จแล้วไป คนทั้งหลายก็พูดว่า พระเถระประจําตระกูลมารดาของเรามาเวลาฉันเท่านั้น. อุบาสิกากล่าวว่า พระประจําตระกูลของพวกท่านก็เหมาะแก่พวกท่านเท่านั้น พระเถระของเราก็เหมาะแก่เราเท่านั้น. ก็ท่านพระมันตานีบุตรไม่คลุกคลีกับบริษัทสี่ ด้วยสังสัคคะ ๕ เหล่านี้ จึงเป็นทั้งคาหมุตตกะทั้งมุตตมุตตกะ ท่านไม่คลุกคลีเองฉันใด ก็ได้สั่งสอนเรื่องการไม่คลุกคลีนั้นแม้แก่ภิกษุทั้งหลายฉันนั้น.

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 373

บทว่า อารทฺธวิริโย ได้แก่ ประคองความเพียร อธิบายว่า มีความเพียรทางกายและทางใจ บริบูรณ์. จริงอยู่ ภิกษุใด กิเลสเกิดขึ้นในขณะเดิน ก็ไม่ยอมยืน (หยุด) กิเลสเกิดขึ้นในขณะยืน ก็ไม่ยอมนั่ง กิเลสเกิดขึ้นในขณะนั่ง ก็ไม่ยอมนอน ย่อมเที่ยวไป เหมือนร่ายมนต์บังคับงูเห่า จับไว้ และเหมือนเหยียบคอศัตรู ภิกษุนี้ชื่อว่า ผู้ปรารภความเพียร. พระเถระก็เป็นเช่นนั้น สอนเรื่องปรารภความเพียรแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนั้นเหมือนกัน. จตุปาริสุทธิศีล ชื่อว่า ศีล ในคําว่า สีลสมฺปนฺโน เป็นต้น. สมาบัติ ๘ เป็นบาทของวิปัสสนา ชื่อว่า สมาธิ. ญาณที่เป็นโลกิยะ และโลกุตตระ ชื่อว่า ปัญญา. วิมุตติที่เป็นอริยผล ชื่อว่า วิมุตติ. ปัจจเวกขณญาณ ๑๙ ชื่อว่า ญาณทัสสนะ. พระเถระสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นต้น สอนเรื่องศีลเป็นต้น แม้แก่ภิกษุทั้งหลาย. พระมันตานีบุตรนี้นั้น ชื่อว่า โอวาทกะ เพราะโอวาทด้วยกถาวัตถุ ๑๐ ภิกษุรูปหนึ่งย่อมสอนตนได้อย่างเดียว ไม่สามารถจะยักเยื้องข้อความที่ละเอียดให้คนอื่นรู้ได้อย่างใด พระเถระไม่เป็นอย่างนั้น. แต่พระเถระชื่อว่า วิญญาปกะ เพราะทําผู้อื่นให้รู้กถาวัตถุ ๑๐ เหล่านั้นด้วย. ภิกษุรูปหนึ่งสามารถทําผู้อื่นให้รู้ ไม่สามารถจะแสดงเหตุได้. พระเถระชื่อว่า สันทัสสกะ เพราะแสดงเหตุได้ด้วย. ภิกษุรูปหนึ่งแสดงเหตุที่มีอยู่ แต่ไม่สามารถจะให้เขาเชื่อถือได้. พระเถระชื่อว่า สมาทปกะ เพราะสามารถให้เขาเชื่อถือได้. ก็พระเถระชื่อว่า สมุตเตชกะ เพราะครั้นชวนเขาอย่างนั้นแล้ว ทําภิกษุทั้งหลายให้อาจหาญ โดยทําให้เกิดอุตสาหะในกถาวัตถุเหล่านั้น. ชื่อว่า สัมปหังสกะ เพราะสรรเสริญภิกษุที่เกิดอุตสาหะแล้วทําให้ร่าเริง. บทว่า สุลทฺธลาภา ได้แก่ย่อมชื่อว่า ได้คุณมีอัตภาพเป็นมนุษย์และบรรพชาเป็นต้น ของภิกษุแม้เหล่าอื่น อธิบายว่า คุณธรรมเหล่านี้เป็นลาภอย่างดีของท่านปุณณะผู้ซึ่งมีชื่อเสียงขจรไปอย่างนี้ ต่อพระพักตร์ของพระศาสดา. อนึ่ง การกล่าวสรรเสริญโดยผู้มิใช่บัณฑิต

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 374

ไม่เป็นลาภอย่างนั้น ส่วนการสรรเสริญโดยบัณฑิต เป็นลาภ อีกอย่างหนึ่ง การสรรเสริญโดยคฤหัสถ์ก็ไม่เป็นลาภอย่างนั้น. ก็คฤหัสถ์คิดว่า เราจักสรรเสริญ กําลังกล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าของเราเป็นผู้มีวาจาละเอียดอ่อน มีวาจาน่าคบเป็นสหาย มีวาจาไพเราะ สงเคราะห์ผู้ที่มาวิหารด้วยข้าวต้มข้าวสวย และน้ำอ้อยเป็นต้น เท่ากับพูดติเตียนนั่นเอง. คฤหัสถ์คิดว่าเราจักติเตียน พูดว่า พระเถระนี้เป็นเหมือนคนปัญญาอ่อน เป็นเหมือนคนไม่มีเรี่ยวแรง เป็นเหมือนคนหน้านิ่วคิ้วขมวด ไม่มีความคุ้นเคยกับพระเถระนี้ เท่ากับสรรเสริญนั่นเอง. แม้เพื่อนพรหมจารีพูดสรรเสริญลับหลังพระศาสดา ก็ไม่เป็นลาภอย่างนั้น ส่วนผู้สรรเสริญเฉพาะพระพักตร์พระศาสดา เป็นลาภอย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยอํานาจประโยชน์แม้ดังกล่าวมาฉะนี้ จึงตรัสว่า สุลทฺธลาโภ ดังนี้.บทว่า อนุมสฺส อนุมสฺส ได้แก่ กําหนดเจาะจงกถาวัตถุ ๑๐. บทว่า ตฺจ สตฺถา อพฺภนุโมทติ ความว่า พระศาสดาทรงอนุโมทนาคุณของภิกษุนั้นนั้น คือ คุณนั้นอย่างนี้ว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้มักน้อย และเป็นผู้สันโดษ. ท่านหมายเอาลาภ ๕ อย่างนี้ คือ การที่ผู้รู้สรรเสริญเป็นลาภอย่างหนึ่ง การที่เพื่อนพรหมจารีสรรเสริญ เป็นลาภอย่างหนึ่ง การที่เพื่อนพรหมจารีสรรเสริญเฉพาะพระพักตร์พระศาสดาเป็นลาภอย่างหนึ่ง การกําหนดเจาะจงกถาวัตถุ ๑๐ เป็นลาภอย่างหนึ่ง การที่พระศาสดาทรงอนุโมทนาอย่างยิ่ง เป็นลาภอันหนึ่ง จึงกล่าวว่า สุลทฺธลาภา ดังนี้ด้วยประการฉะนี้. บทว่า กทาจิ คือในกาลบางคราว. บทว่า กรหจิ เป็นไวพจน์ของบทว่า กทาจิ นั่นเอง. บทว่า อปฺเปว นาม สิยา โกจิเทว กถาสลฺลาโป ได้แก่ ไฉนหนอ แม้การเจรจาอวดอ้างบางอย่างจะพึงมี. เขาว่า พระเถระไม่เคยเห็นท่านพระปุณณะมาเลย ไม่เคยสดับธรรมกถาของท่าน ดังนั้น ท่านจึงปรารถนาจะเห็นท่านพระปุณณะบ้าง การกล่าวธรรมของท่านบ้าง จึงกล่าวอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 375

บทว่า ยถาภิรนฺตํ ได้แก่ประทับอยู่ตามพระอัธยาศัย. จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อประทับอยู่ในที่แห่งหนึ่ง ชื่อว่า ไม่มีความไม่ยินดี เพราะอาศัยความวิบัติแห่งร่มเงาและน้ำเป็นต้น เสนาสนะอันไม่ผาสุก หรือความไม่ศรัทธาเป็นต้นของเหล่าผู้คน ไม่มีแม้ความยินดีว่า เราจะอยู่เป็นผาสุกในที่นี้แล้วอยู่นานๆ ด้วยเหตุสิ่งเหล่านั้นมีพรั่งพร้อม. แต่เมื่อตถาคตประทับอยู่ในที่ใด สัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่ในสรณะ สมาทานศีล หรือบรรพชา ก็หรือว่าแต่นั้น สัตว์เหล่านั้น มีอุปนิสสัยแห่งโสดาปัตติมรรคเป็นต้น. พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมประทับอยู่ในที่นั้น ตามอัธยาศัยที่จะทรงสถาปนาสัตว์เหล่านั้นไว้ในสมบัติเหล่านั้น เพราะไม่มีสัตว์เหล่านั้นจึงเสด็จหลีกไป. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ยถาอชฺฌาสยํ วิหริตฺวา.

บทว่า จาริกฺจรมาโน ความว่า เสด็จพุทธดําเนินทางไกล. ก็ชื่อว่าการจาริกของพระผู้มีพระภาคเจ้า นี้มี ๒ อย่างคือรีบจาริก ๑ ไม่รีบจาริก ๑.

บรรดาจาริกทั้ง ๒ นั้น การที่ทรงเห็นบุคคลผู้ควรตรัสรู้แม้ในที่ไกลแล้วรีบเสด็จไปเพื่อโปรดให้เขาตรัสรู้ ชื่อว่ารีบจาริก. การรีบจาริกนั้น พึงเห็น เช่น เสด็จออกต้อนรับท่านมหากัสสปะเป็นต้น. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อเสด็จต้อนรับพระมหากัสสปะ เสด็จไปตลอดหนทาง ๓ คาวุต โดยครู่เดียว. เสด็จไป ๓๐ โยชน์ เพื่อโปรดอาฬวกยักษ์ โปรดองคุลิมาลก็เหมือนกัน แต่โปรดปุกกุสาติ ๔๕ โยชน์ โปรดพระเจ้ามหากัปปิน ๒,๐๐๐ โยชน์ โปรดขทิรวนิยเถระ ๗๐๐ โยชน์ โปรดวนวาสีติสสสามเณร สัทธิวิหาริกของพระธรรมเสนาบดี ๒,๐๐๐ โยชน์ ๓ คาวุต. ได้ยินว่า วันหนึ่งพระเถระทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จะไปสํานักติสสสามเณร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถึงเราก็จักไป แล้วตรัสสั่งท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ เธอจงบอกภิกษุผู้ได้อภิญญาหก ๒๐,๐๐๐ รูป ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า จักเสด็จไปสํานักของวนวาสีติสสสามเณร.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 376

รุ่งขึ้นจากวันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระขีณาสพ ๒๐,๐๐๐ รูปแวดล้อม เหาะไปทางอากาศ เสด็จลงใกล้ประตูโคจรคามของติสสสามเณรนั้น สุดทาง ๒,๐๐๐โยชน์ ทรงห่มจีวร. พวกผู้คนไปทํางานเห็นเข้า ก็กล่าวกันว่า ท่านผู้เจริญ พระศาสดาเสด็จมา พวกท่านมาทํางานกัน แล้วช่วยกันปูอาสนะ ถวายข้าวยาคู ทําทานวัตร แล้วถามภิกษุหนุ่มทั้งหลายว่า ท่านขอรับ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จไปไหน. อุบาสกทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่เสด็จในที่อื่นดอก เสด็จมาเยี่ยมติสสสามเณรในที่นี้นี่แหละ. ผู้คนเหล่านั้นเกิดโสมนัสว่า ได้ยินว่า พระศาสดาเสด็จมาเยี่ยมพระเถระประจําตระกูลของพวกเรา พระเถระของพวกเรา ไม่ใช่ต่ําต้อยเลยหนอ. ลําดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทําภัตกิจเสร็จ สามเณรก็เข้าบ้านบิณฑบาต ถามว่า มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่หรือ. ครั้งหนึ่ง อุบาสกเหล่านั้นบอกแก่สามเณรว่า ท่านเจ้าข้า พระศาสดาเสด็จมาแล้ว. สามเณรนั้นเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เอื้อเฟื้อด้วยอาหารบิณฑบาต. พระศาสดาเอาพระหัตถ์จับบาตรของสามเณร แล้วตรัสว่า พอละสามเณร เราเสร็จภัตตกิจแล้ว. แต่นั้น สามเณรก็กราบเรียนพระอุปัชฌายะ นั่งเหนืออาสนะที่ถึงแก่ตน แล้วกระทําภัตกิจ. ครั้นสามเณรเสร็จภัตกิจแล้วพระศาสดาตรัสมงคลแล้ว เสด็จออกไปประทับยืนใกล้ประตูบ้าน ตรัสถามว่า ติสสะ ทางไปที่อยู่ของเธอทางไหน. สามเณรกราบทูลว่า ทางนี้พระเจ้าข้า. ตรัสว่า ติสสะ เธอจงชี้ทางเดินไปข้างหน้า. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้แสดงทางแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก แต่ทรงกระทําสามเณรนั้นให้เป็นมัคคุเทสก์ ด้วยพุทธประสงค์ว่า จักได้เห็นสามเณรตลอดทางสิ้น ๓ คาวุต. สามเณรไปยังที่อยู่ของตน ได้กระทําวัตรแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามสามเณรนั้นว่า ติสสะ ที่จงกรมตรงไหน แล้วเสด็จไปที่จงกรมนั้น ประทับนั่งบนหินสําหรับนั่งของสามเณรแล้วตรัสถามว่า ติสสะ เธออยู่

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 377

เป็นสุขในที่นี้หรือ. สามเณรนั้นทูลว่า พระเจ้าข้าขอรับ ข้าพระองค์อยู่ในที่นี้ ได้ยินเสียงราชสีห์ เสือ ช้าง เนื้อ และนกยูงเป็นต้น ก็เกิดอรัญญสัญญาว่าเราจะอยู่เป็นสุขด้วยสัญญานั้น. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสั่งสามเณรนั้นว่า ติสสะ เธอจงให้ภิกษุสงฆ์ประชุมกัน เราจะให้ตําแหน่งพุทธทายาทแก่เธอ ทรงให้ภิกษุสงฆ์ประชุมกันกึ่งโยชน์ ให้สามเณรอุปสมบทแล้วได้เสด็จไปยังที่อยู่ของพระองค์นั้นแล เหตุนั้น จาริกนี้จึงชื่อว่ารีบจาริก.

ส่วนการเสด็จของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงอนุเคราะห์โลก ด้วยการเสด็จบิณฑบาตเป็นต้น โดยทางโยชน์หนึ่ง และกึ่งโยชน์ ทุกๆ วัน ตามลําดับคามนิคาม ชื่อว่า ไม่รีบจาริก. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกอย่างนี้ ย่อมเสด็จจาริกไปในมณฑล ๓ มณฑลใดมณฑลหนึ่งอย่างนี้คือ มหามณฑล มัชฌิมมณฑล อันติมมณฑล. ในมณฑลทั้ง ๓ นั้น ที่ ๙๐๐ โยชน์ จัดเป็นมหามณฑล ที่ ๖๐๐ โยชน์ จัดเป็นมัชฌิมมณฑล ที่ ๓๐๐ โยชน์จัดเป็นอันติมมณฑล. ครั้งใดมีพระพุทธประสงค์จะเสด็จจาริกไปในมหามณฑล ทรงปวารณาในวันมหาปวารณาแล้ว ในวันปาฎิบท มีภิกษุหมู่ใหญ่เป็นบริวารเสด็จออกไป ได้เกิดโกลาหลเป็นอันเดียวกัน ตลอดเนื้อที่ ๑๐๐ โยชน์ โดยรอบ. พวกที่มาก่อนๆ ได้นิมนต์ให้กลับ. ในมณฑล ๒ นอกนี้ สักการะย่อมรวมลงในมหามณฑล. ถ้าในที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่วันสองวันในคามนิคมนั้นๆ ทรงอนุเคราะห์มหาชนด้วยการทรงรับอามิสทาน และทรงเจริญกุศลส่วนที่อาศัยวิวัฏฏะ ด้วยการประทานธรรมแก่มหาชนนั้น ๙ เดือน จึงเสร็จการจาริก. ก็ถ้าภายในพรรษาภิกษุทั้งหลายมีสมถวิปัสสนายังอ่อน ก็ไม่ทรงปวารณาในวันมหาปวารณา แต่จะทรงเลื่อนปวารณาออกไปปวารณา ในวันปวารณากลางเดือนกัตติกา (เดือน ๑๒) วันแรกของเดือนมิคสิระ (เดือน ๑) มีภิกษุหมู่ใหญ่เป็นบริวาร เสด็จออกเที่ยวไปตลอดมัชฌิมมณฑล. เมื่อทรงมีพระพุทธ

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 378

ประสงค์จะเสด็จจาริกในมัชฌิมมณฑล ด้วยเหตุแม้อย่างอื่น ก็ประทับอยู่ ๔ เดือน แล้วจึงเสด็จออกไป. ในมณฑลทั้งสองนอกนี้ ลาภสักการะย่อมรวมลงในมัชฌิมมณฑลโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุเคราะห์โลกด้วยนัยข้างต้น ๘ เดือน จึงเสร็จการจาริก. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ประจํา ๔ เดือนแล้ว เหล่าเวไนยสัตว์มีอินทรีย์ยังไม่แก่กล้า ก็จะทรงคอยอินทรีย์ของเวไนยสัตว์เหล่านั้นแก่กล้า จะประทับอยู่ในที่นั้นนั่นแหละ เดือน ๑ บ้าง ๒ - ๓ เดือนบ้าง แล้วทรงมีภิกษุหมู่ใหญ่เป็นบริวาร เสด็จออกไปในมณฑลสองนอกนี้ ลาภสักการะย่อมรวมลงในอันติมมณฑล โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงอนุเคราะห์โลก โดยนัยข้างต้น ๗ เดือนบ้าง ๖ เดือนบ้าง ๕ เดือนบ้าง ๔ เดือนบ้าง จึงเสร็จการจาริก. ดังนั้นเมื่อทรงจาริกไปในมณฑล ๓ มณฑลใดมณฑลหนึ่ง จึงไม่ใช่จาริกไปเพราะเหตุแห่งปัจจัยมีจีวรเป็นต้น. โดยที่แท้ เสด็จจาริกไปเพื่อทรงอนุเคราะห์ ด้วยพระพุทธประสงค์อย่างนี้ว่า คนเหล่าใด เป็นทุคคตะ เป็นพาล เป็นคนแก่ เป็นคนเจ็บป่วย ครั้งไร คนเหล่านั้น จักมาเห็นตถาคต ก็เมื่อเราจาริกไป มหาชนก็จักได้เห็นตถาคต ในที่นั้น คนบางพวกก็จักทําจิตให้เลื่อมใส บางพวกก็จักบูชาด้วยดอกไม้เป็นต้น บางพวกจักถวายภิกษา สักทัพพีหนึ่ง บางพวกก็จักละความเห็นผิดเป็นสัมมาทิฏฐิ ข้อนั้นก็จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่คนเหล่านั้นตลอดกาลนาน.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ย่อมเสด็จจาริกด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ เพื่อประโยชน์แก่ความสุขของสรีระ โดยการยึดพักแข้งขา ๑ เพื่อประโยชน์คือคอยการเกิดอัตถุปปัตติ (เกิดเรื่องเป็นเหตุให้ตรัสธรรมเทศนา) ๑ เพื่อประโยชน์แก่การทรงบัญญัติสิกขาบทสําหรับภิกษุทั้งหลาย ๑ เพื่อประโยชน์โปรดสัตว์ที่ควรตรัสรู้ ผู้มีอินทรีย์แก่กล้าแล้วในที่นั้นๆ ให้ตรัสรู้ ๑

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 379

พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ย่อมเสด็จจาริกด้วยเหตุ ๔ ประการ อย่างอื่นอีกคือ สัตว์ทั้งหลายจักถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะบ้าง จักถึงพระธรรมเป็นสรณะบ้าง จักถึงพระสงฆ์เป็นสรณะบ้าง เราจักทําบริษัท ๔ ให้เอิบอิ่มด้วยการฟังธรรมครั้งใหญ่บ้าง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ย่อมเสด็จจาริกด้วยเหตุ ๕ ประการ อย่างอื่น คือ เหล่าสัตว์จักเว้นจากปาณาติบาตบ้าง จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร จากมุสาวาท จากสุราเมรัยมัชชปมาทัฏฐานบ้าง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ย่อมเสด็จจาริกไปด้วยเหตุ ๘ ประการอย่างอื่น คือ เขาจักได้ปฐมฌานบ้าง ทุติยฌานบ้าง ฯลฯ เนวสัญญานาลัญญายตนสมาบัติบ้าง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ย่อมเสด็จจาริกไปด้วยเหตุ ๘ ประการอย่างอื่นอีก คือ เขาจักบรรลุโสดาปัตติมรรคบ้าง โสดาปัตติผลบ้าง ฯลฯ จักกระทําให้แจ้งพระอรหัตตผลบ้าง. นี้ชื่อว่า อตุริตจาริก ไม่รีบจาริก ท่านประสงค์ในที่นี้. จาริกนั้นมี ๒ อย่าง คือ นิพันธจาริก การจาริกโดยมีข้อผูกพัน ๑ อนิพันธจาริก การจาริกโดยไม่มีข้อผูกพัน ๑. ในจาริก ๒ อย่างนี้ การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปโปรดสัตว์ผู้ควรตรัสรู้ ผู้เดียวเท่านั้น ชื่อว่า นิพันธจาริก. การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไป ตามลําดับคามนิคมนครชื่อว่า อนิพันธจาริก. อนิพันธจาริกนี้ ท่านประสงค์เอาในที่นี้.

บทว่า เสนาสนํ สํ สาเมตฺวา แปลว่า เก็บงําเสนาสนะ. พระเถระเมื่อเก็บเสนาสนะนั้น ก็เอาบาตรเล็กบาตรใหญ่ ถลกเล็กถลกใหญ่ จีวรแพรและจีวรผ้าเปลือกไม้เป็นต้น ทําเป็นห่อ บรรจุเนยใสและน้ำมันเป็นต้น เต็มหม้อเก็บไว้ในห้อง ปิดประตู ให้ประกอบกุญแจ (ลูกดาล) ตีตรา เก็บงําโดยเพียงอาปุจฉา บอกกล่าวภิกษุเจ้าถิ่น ตามพระบาลีว่า ถ้าไม่มี ภิกษุหรือสามเณร คนวัด หรือเจ้าของวิหาร ก็เอาเตียงซ้อนเตียง เอาตั่งซ้อนตั่ง วางไว้บนหิน ๔

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 380

แผ่น กองสายระเดียงจีวร หรือเชือกห้อยจีวรวางไว้ข้างบน ปิดประตูหน้าต่างแล้ว พึงหลีกไป.

บทว่า เยน สาวตฺถี เตน จาริกํ ปกฺกามิ ความว่า ท่านพระปุณณมันตานีบุตร ประสงค์จะเฝ้าพระศาสดา จึงหลีกไปโดยทิศทางที่กรุงสาวัตถี ตั้งอยู่. ก็เมื่อหลีกไป ท่านก็ให้กราบทูลแด่พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ให้ทรงรับเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย เป็นต้นไปแล้ว เมื่อหลีกไปก็นําเพียงบาตร จีวร หลีกไปลําพังผู้เดียว เหมือนช้างตกมันละโขลงหลีกไป เหมือนราชสีห์ไม่มีกิจด้วยเพื่อน. ถามว่าก็เพราะเหตุไร ท่านมากรุงราชคฤห์พร้อมด้วยอันเตวาสิกของตน ๕๐๐ รูป แต่บัดนี้ หลีกไปผู้เดียว. ตอบว่ากรุงราชคฤห์ไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์ ๖๐ โยชน์ ส่วนกรุงสาวัตถีไกล ๕๐ โยชน์พระศาสดาเสด็จมาจากกรุงราชคฤห์ ๔๕ โยชน์ ประทับอยู่กรุงสาวัตถี ท่านฟังมาว่า บัดนี้ใกล้เข้ามาแล้ว เราจักหลีกไปผู้เดียว ดังนั้น ข้อนี้จึงไม่เป็นเหตุ. แท้จริงท่านเมื่อไปยังสํานักพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงไปสิ้นทางแม้ ๑,๐๐๐ โยชน์ แต่ในครั้งนั้น ท่านไม่อาจได้กายวิเวก ฉะนั้น เพราะต้องการจะไปกับคนมาก เมื่อกล่าวว่า เราจะไปคนเดียว ก็กล่าวเสียว่า เราจะอยู่ในที่นี้ลําพังคนเดียว เมื่อพูดว่า เราจะอยู่คนเดียว ก็พูดเสียว่า เราจะไปคนเดียว เพราะฉะนั้น ท่านไม่อาจจะนั่งเข้าสมาบัติ ในขณะที่ปรารถนาแล้วปรารถนาเล่า หรือได้กายวิเวก ในเสนาสนะที่ผาสุก แต่เมื่ออยู่ลําพังผู้เดียว ก็จะได้สิ่งนั้นทั้งหมดโดยง่าย ดังนั้น ท่านจึงไม่ไปในครั้งนั้นหลีกไป ณ บัดนี้.

ในคําว่า จาริกํ จรมาโน นี้ ชื่อว่า จาริกนี้ย่อมได้แก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น เพื่อสงเคราะห์มหาชนก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ได้แม้แก่สาวกทั้งหลายด้วย ศัพท์ขยายกินความถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เหมือนพัดใบตาลที่เขาทําด้วยเสื่อลําแพนเป็นต้น. บทว่า เยน ภควา ความว่า พระปุณณมันตานี-

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 381

บุตร เที่ยวบิณฑบาตไปในบ้านแห่งหนึ่ง ไม่ไกลกรุงสาวัตถี ทําภัจกิจแล้ว เข้าไปสู่พระเชตวันไปยังที่อยู่ของพระสารีบุตรเถระ หรือของพระมหาโมคคัลลานเถระ ล้างเท้าแล้วทาน้ำมัน ฉันน้ำดื่มหรือน้ำปานะ พักหน่อยหนึ่ง ไม่เกิดจิตคิดว่าจะเฝ้าพระศาสดา แล้วเดินตรงแน่วไปยังบริเวณพระคันธกุฏี. ด้วยว่าพระเถระประสงค์จะเฝ้าพระศาสดา แต่ไม่มีกิจกับภิกษุอื่น เพราะฉะนั้นท่านจึงไม่เกิดจิตคิดแม้อย่างนี้ว่า เราจักพาพระราหุลหรือพระอานนท์ให้ทําโอกาสเฝ้าพระศาสดา. จริงอยู่ พระเถระเป็นผู้สนิทสนมในพระพุทธศาสนาเองทีเดียว เหมือนนักรบใหญ่ผู้มีชัยชนะในสงครามของพระราชา. เหมือนอย่างว่า นักรบเช่นนั้นประสงค์จะเฝ้าพระราชา ชื่อว่า ไม่มีกิจที่จะคบคนอื่น เฝ้าพระราชาย่อมเฝ้าได้เอาทีเดียว เพราะเป็นผู้สนิทสนมฉันใด แม้พระเถระก็ฉันนั้น เป็นผู้คุ้นเคยในพระพุทธศาสนา ท่านก็ไม่มีกิจที่จะคบภิกษุอื่นแล้ว เฝ้าพระศาสดา เพราะฉะนั้น ท่านล้างเท้าแล้วก็เช็ดที่เช็ดเท้าเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเล็งเห็นว่าเวลารุ่งเช้า มันตานีบุตร จักมา เพราะฉะนั้น จึงเสด็จเข้าไปยังพระคันธกุฏีไม่ใส่กลอน ระงับความกระวนกระวาย ลุกขึ้นประทับนั่ง. พระเถระผลักบานประตูเข้าไปยังพระคันธกุฏี ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. บทว่า ธมฺมิยา กถาย ความว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสธรรมีกถา ตรัสอานิสงส์สามัคคีรสแก่กุลบุตร ๓ คนในจุลลโคสิงคสูตร ตรัสอานิสงส์ถวายที่พักในเสขสูตร ตรัสกถาที่เกี่ยวด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณ อันทําให้ได้สติในฆฏิการสูตร ตรัสธัมมุทเทส ๔ ในรัฏฐปาลสูตร ตรัสเรื่องอานิสงส์ถวายน้ำดื่มในเสลสูตร เมื่อตรัสธรรมกถา ตรัสอานิสงส์ในความเป็นผู้อยู่ผู้เดียว แก่พระภคุเถระในอุปักกิเลสสูตร. แต่ในรถวินีตสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่ท่านพระปุณณะ ทรงแสดงเรื่องกถาชื่ออนันตนัย อันเป็นที่อาศัยกถาวัตถุ ๑๐ ว่า ดูก่อนปุณณะ แม้นี้ก็ชื่อว่า

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 382

อัปปิจฉกถา สันโตสกถาเหมือนกัน ประหนึ่งประทับยืนอยู่ที่สุดเขต เหยียดพระหัตถ์ไปในมหาสมุทรแก่พระสาวกผู้บรรลุปฏิสัมภิทา. บทว่า เยนนฺธวํ ความว่า ได้ยินว่า ครั้งนั้น เวลาหลังอาหาร พระเชตวันพลุกพล่าน คนเป็นอันมากมีกษัตริย์ พราหมณ์ เป็นต้น หลั่งไหลมาสู่พระเชตวัน เหมือนสถานค่ายของพระเจ้าจักรพรรดิ ภิกษุไม่อาจเพื่อได้ความสงัด ส่วนอันธวัน สงัดเสมือนเรือนทําความเพียร เพราะฉะนั้น ท่านปุณณมันตานีบุตร จึงเข้าไปยังอันธวัน. ก็เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่เห็นเหล่าพระมหาเถระ. เขาว่าเพราะท่านคิดอย่างนี้ว่า เรามาเวลาเย็นจักเห็นเหล่าพระมหาเถระ แล้วจักเฝ้าพระทศพลอีก การปรนนิบัติพระมหาเถระอย่างนี้ก็จะมีครั้งเดียว สําหรับพระศาสดาจักมี ๒ ครั้ง แต่นั้นเราถวายบังคมพระศาสดาแล้วก็จักกลับที่อยู่ของเราเลย.

บทว่า อภิณฺหํ กิตฺตยมาโน อโหสิ ได้แก่ สรรเสริญบ่อยๆ อยู่. ได้ยินว่า พระเถระคิดว่า เขาว่า บุตรนางมันตานี ชื่อปุณณะ ไม่คลุกคลีกับบริษัท ๔ ท่านจักมาเฝ้าพระทศพล ท่านไม่ทันพบเราก็จักไปแล้วหรือหนอ แล้วสรรเสริญท่านพระปุณณะท่ามกลางสงฆ์ ทุกๆ วันตั้งแต่นั้นมา เพื่อเตือนสติแก่เหล่าพระเถระ พระนวกะและพระมัชฌิมะ. ได้ยินว่า ท่านมีความคิดอย่างนี้ว่า ธรรมดาว่า ภิกษุแก่ๆ ไม่อยู่ภายในวิหารทุกเวลา แม้เมื่อเรากล่าวคุณของท่าน ก็ผู้ใดจักเห็นภิกษุนั้น ผู้นั้นก็จักมาบอก. ครั้งนั้น สัทธิวิหาริกของพระเถระผู้นั้น ได้เห็นท่านพระปุณณมันตานีบุตร กําลังถือบาตรจีวรเข้าไปยังพระคันธกุฎี. ถามว่า ก็ท่านได้รู้จักท่านพระปุณณมันตานีบุตรนั้นอย่างไร. ตอบว่า ภิกษุรูปนั้นได้รู้ทั่วถึงพระธรรมกถาของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้ ชื่อ ปุณณะ ปุณณะว่า พระเถระที่พระอุปัชฌาย์ของเราสรรเสริญอยู่บ่อยๆ รูปนี้นี่เอง ดังนั้น ภิกษุรูปนั้นจึงมาบอกแก่พระเถระ. บทว่า นิสีทนํ อาทาย ได้แก่ทอผ้าที่มีชาย ท่านเรียก ชื่อว่า นิสีทนะ. ก็พระ

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 383

เถระถือท่อนหนังไป. บทว่า ปิฏฺิโต ปิฏฺิโต แปลว่า ข้างหลังๆ. บทว่า สีสานุโลกิ ความว่า ภิกษุใดเดินไปเห็นหลังในที่ดอน เห็นศีรษะในที่ลุ่มภิกษุนี้เรียกว่า มองเห็นศีรษะ คือ ภิกษุเป็นเช่นนั้นติดตามไป. ก็พระเถระแม้เดินไปใกล้ชิดเพราะมีเสียงฝีเท้าที่ย่างไปก็ไม่ลําบากเพราะเสียงเท้า แต่ท่านรู้ว่า นี้ไม่ใช่เวลาที่จะแสดงความบันเทิงกัน จึงไม่ไปใกล้ชิด ธรรมดาอันธวันเป็นป่าใหญ่ คนที่มองไม่เห็นคนที่นั่งอยู่ในที่แห่งหนึ่ง ต้องกระทําเสียงอันไม่ผาสุก (ตะโกน) ว่าผู้มีอายุ ปุณณะ ปุณณะ เพราะฉะนั้นพระเถระ จึงอยู่ไม่ไกลนัก เพื่อจะรู้สถานที่ท่านนั่ง จึงเดินไปพอมองเห็นศีรษะ. บทว่า ทิวาวิหารํ นิสีทิ ได้แก่ นั่ง เพื่อประโยชน์แก่การพักกลางวัน. ทั้ง ๒ ท่านนั้น ทั้งท่านปุณณะ ทั้งพระสารีบุตรเถระก็เป็นชาติแห่งอุทิจจพราหมณ์ ทั้งพระปุณณะเถระ ทั้งพระสารีบุตรเถระ ก็มีวรรณะเหมือนทอง ทั้งพระปุณณะเถระ ทั้งพระสารีบุตร ก็ถึงพร้อมด้วยสมาบัติ สัมปยุตด้วยพระอรหัตตผล ทั้งพระปุณณะเถระ ก็ถึงพร้อมด้วยอภินิหารแสนกัปป ทั้งพระสารีบุตรเถระ ก็ถึงพร้อมด้วยอภินิหารหนึ่งอสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัปป ทั้งพระปุณณะเถระ ทั้งพระสารีบุตรเถระ ก็เป็นพระมหาขีณาสพผู้บรรลุปฏิสัมภิทา. ดังนั้น จึงเป็นเหมือนราชสีห์สองตัวเข้าไปยังถ้ำทองถ้ำเดียวกัน เหมือนเสือโคร่งสองตัวลงสู่ที่สะบัดแข้ง สะบัดขาแห่งเดียวกัน เหมือนพญาช้างฉัททันต์สองเชือกเข้าสู่สาลวันที่มีดอกบานดีแล้วแห่งเดียวกัน เหมือนพญาสุบรรณสองตัวเข้าสู่ฉิมพลีวันแห่งเดียวกัน เหมือนท้าวเวสสวัณ สององค์ประทับยานนรพาหนอันเดียวกัน เหมือนท้าวสักกะสององค์ ประทับร่วมปัณฑุกัมพลแท่นเดียวกัน เหมือนท้าวหาริตมหาพรหมสององค์ ประทับอยู่ภายในวิมานเดียวกัน พระมหาเถระนั้นเป็นชาติพราหมณ์ทั้งสองรูป มีวรรณะเหมือนทองทั้งสองรูป ได้สมาบัติทั้งสองรูป ถึงพร้อมด้วยอภินิหารทั้งสอง

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 384

รูป เป็นพระมหาขีณาสพ ผู้บรรลุปฎิสัมภิทาทั้งสองรูป เข้าไปไพรสณฑ์แห่งเดียวกัน ทําไพรสณฑ์นั้นให้สง่างาม.

บทว่า ภควติ โน อาวุโส พฺรหฺมจริยํ วุสฺสติ ความว่า ท่านพระสารีบุตรทั้งที่รู้อยู่ว่า ท่านพระปุณณะมันตานีบุตรนั้น อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ถามเพื่อตั้งเรื่องขึ้นดังนี้ว่า ผู้มีอายุ ท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเราหรือ. จริงอยู่ เมื่อกถาแรกยังไม่ตั้งขึ้น กถาหลังก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้น พระเถระจึงถามอย่างนี้. พระเถระก็กล่าวคล้อยตามว่า อย่างนั้นซิ ผู้มีอายุ. ครั้งนั้นท่านพระสารีบุตรใคร่จะฟังคําตอบปัญหาของท่านพระปุณณมันตานีบุตรนั้น จึงถามวิสุทธิ ๗ ตามลําดับว่า ผู้มีอายุ ท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อสีลวิสุทธิ หรือหนอ. เรื่องพิสดารของวิสุทธิ ๗ นั้น กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. ก็เพราะเหตุที่การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ของผู้ที่แม้ตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิศีลเป็นต้น ยังไม่ถึงที่สุด ฉะนั้น ท่านพระปุณณะจึงปฏิเสธทั้งหมดว่าไม่ใช่อย่างนี้ดอก ผู้มีอายุ. บทว่า กิมตฺถํ จรหาวุโส ความว่า ท่านพระสารีบุตรถามว่า ผิว่า ท่านไม่อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อประโยชน์แก่สีลวิสุทธิเป็นต้น เมื่อเป็นดังนั้น ท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่ออันใดเล่า. ปรินิพพานที่หาปัจจัยมิได้ ชื่อว่า อนุปาทาปรินิพพาน ในคําว่า อนุปาทาปรินิพฺพานตฺถํ โข อาวุโส นี้. อุปาทานมี ๒ ส่วน คือ คหณุปาทาน ๑ ปัจจยุปาทาน ๑. อุปาทาน ๔ อย่าง มีกามุปาทานเป็นต้น ชื่อว่า คหณุปาทาน. ปัจจัยที่กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า สังขารเกิดมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ชื่อว่า ปัจจยุปาทาน. บรรดาอุปาทานเหล่านั้น อาจารย์ทั้งหลายผู้ถือคหณุปาทาน เรียกอรหัตตผลที่ไม่ยึดถือธรรมอะไรๆ แม้ด้วยอุปาทาน ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นไปว่า อนุปาทาปรินิพพาน ในคํานี้ ว่า อนุปาทาปรินิพพานํ จริงอยู่

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 385

พระอรหัตตผลนั้น หาประกอบด้วยอุปาทาน ยึดธรรมอะไรไม่ และท่านกล่าวว่าปรินิพพาน เพราะเกิดในที่สุดแห่งกิเลสปรินิพพาน. ส่วนอาจารย์ผู้ถือปัจจยุปาทาน เรียกปรินิพพานที่หาปัจจัยมิได้ ที่ไม่เกิดขึ้นโดยปัจจัย ที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ได้แก่อมตธาตุนั่นเอง ว่าอนุปาทาปรินิพพาน ในคําว่า อนุปาทาปรินิพพาน. นี้เป็นที่สุด นี้เป็นเงื่อนปลาย นี้เป็นที่จบ ด้วยว่า การอยู่จบพรหมจรรย์ ของผู้ถืออปัจจยปรินิพพานย่อมชื่อว่า ถึงที่สุด เพราะฉะนั้นพระเถระจึงกล่าวว่า อนุปาทาปรินิพพาน.

ลําดับนั้น ท่านพระสารีบุตรผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งอนุปาทาปรินิพพานนั้น เริ่มถามอีกว่า ผู้มีอายุ สีลวิสุทธิ หรือชื่อว่า อนุปาทาปรินิพพาน. ฝ่ายพระเถระปฎิเสธคํานั้นทั้งหมดในปริวัฏ คือรอบทั้งหลายอย่างนั้นเหมือนกันเมื่อแสดงโทษในที่สุด จึงกล่าวคํามีอาทิว่า สีลวิสุทฺธิฺเจ อาวุโส. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฺเปยฺย แปลว่าถ้าพึงบัญญัติไซร้. บทว่า สอุปาทานํ เยว สมานํ อนุปาทาปรินิพพานํ ปฺเปยฺย ความว่า พึงบัญญัติเฉพาะสคหณธรรมว่า นิคคหณธรรม พึงบัญญัติ เฉพาะสปัจจยธรรม ว่าอปัจจยธรรม พึงบัญญัติ เฉพาะสังขตธรรมว่า อสังขตธรรม. ก็พึงถือเนื้อความในญาณทัสสนวิสุทธิ์อย่างนี้ว่า พึงบัญญัติเฉพาะสัปปัจจัยธรรมว่า อปัจจัยธรรม พึงบัญญัติเฉพาะสังขตธรรมว่า อสังขตธรรม. พึงเห็นโลกิยพาลปุถุชน ผู้เดินไปตามวัฏฏะ ในคําว่า ปุถุชฺชโน หาวุโส นี้. จริงอยู่ ปุถุชนนั้นเว้นธรรมเหล่านี้โดยประการทั้งปวง เพราะแม้เพียง จตุปาริสุทธิศีลก็ไม่มี. บทว่า เตนหิ ความว่า บัณฑิตบางพวกย่อมรู้ทั่วถึงอรรถได้โดยอุปมา ด้วยเหตุใด ด้วยเหตุนั้นเราจึงอุปมาแก่ท่าน. บทว่า สตฺต รถวินีตานิ ได้แก่รถ ๗ ผลัด ที่เทียมด้วยม้าอาชาไนย ที่ฝืกแล้ว. บทว่า ยาวเทว จิตฺตวิสุทฺธตฺถา ความว่าท่านผู้มีอายุ ชื่อว่า สีลวิสุทธินี้ ย่อมมีเพียงเพื่อประโยชน์แห่งจิตตวิสุทธิ. บทว่า จิตฺตวิสุทฺธตฺถา นี้เป็นปัญจมีวิภัตติ. ก็ในข้อนี้ มีใจความดังต่อไปนี้

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 386

ประโยชน์กล่าวคือ จิตตวิสุทธิ มีอยู่เพียงใด ชื่อว่า สีลวิสุทธินี้ ก็พึงปรารถนาเพียงนั้น ก็จิตตวิสุทธินี้นั้น เป็นประโยชน์ของสีลวิสุทธิ นี้เป็นที่สุด นี้เป็นเบื้องปลาย จริงอยู่ ผู้ตั้งอยู่ในจิตตวิสุทธิย่อมชื่อว่า ทํากิจแห่งสีลวิสุทธิ. ในบททั้งปวงก็นัยนี้.

ในข้อนี้มีการเทียบเคียงด้วยข้ออุปมาดังต่อไปนี้ พระโยคาวจรผู้ขลาดกลัวต่อชรา และมรณะ พึงเห็นเหมือนพระเจ้าปเสนทิโกศล สักกายนคร พึงเห็นเหมือนสาวัตถีนคร นครคือพระนิพพาน พึงเห็นเหมือนนครสาเกต เวลาที่พระโยคีเกิด คือการตรัสรู้อริยสัจจ์ ๔ ที่ยังไม่รู้ พึงเห็นเหมือนเวลาพระราชาผู้นําความเจริญ กิจรีบด่วนที่จะพึงรีบไปถึงเมืองสาเกต วิสุทธิ ๗ พึงเห็น เหมือนรถ ๗ ผลัด เวลาที่ตั้งอยู่ในสีลวิสุทธิ พึงเห็นเหมือนเวลาขึ้นรถผลัดที่หนึ่ง เวลาที่ตั้งอยู่ในจิตตวิสุทธิเป็นต้น โดยสีลวิสุทธิเป็นต้น พึงเห็นเหมือนเวลาที่ขึ้นสู่รถผลัดที่ ๒ โดยรถผลัดที่ ๑ เป็นต้น เวลาที่พระโยคาวจรทํากิเลสทั้งปวงให้สิ้นไปด้วยญาณทัสสนวิสุทธิ แล้วขึ้นไปบนปราสาท คือธรรมประเสริฐ ผู้มีกุศลธรรม ๕๐ เป็นเบื้องหน้าเป็นบริวาร เข้าผลสมาบัติอันมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ แล้วนั่งในที่นอนคือ นิโรธ พึงเห็นเหมือนเวลาที่เสวยโภชนะมีรสดีของพระราชาผู้เสด็จลงที่ภายในประตูเมืองสาเกตด้วยรถผลัดที่ ๗ แล้วแวดล้อมไปด้วยหมู่ญาติมิตร ณ เบื้องบนปราสาท.

พระธรรมเสนาบดี สารีบุตร ถามถึงวิสุทธิ ๗ กะท่านพระปุณณะผู้ได้กถาวัตถุ ๑๐ ประการ ด้วยประการฉะนี้. ท่านพระปุณณะก็วิสัชชนากถาวัตถุ ๑๐ ประการ.

ก็พระธรรมเสนาบดีเมื่อถามอย่างนี้ รู้หรือไม่รู้จึงถาม ก็หรือว่าท่านเป็นผู้ฉลาดในลัทธิ จึงถามในวิสัย หรือไม่ฉลาดในลัทธิ จึงถามในอวิสัย ฝ่ายพระปุณณเถระ รู้หรือไม่รู้จึงวิสัชชนา ก็หรือว่า ท่านเป็นผู้ฉลาดในลัทธิจึงวิสัชชนาในวิสัย หรือไม่ฉลาดในลัทธิ จึงวิสัชชนาในอวิสัย. ก็ท่านพระธรรม

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 387

เสนาบดีสารีบุตรรู้ เป็นผู้ฉลาดในลัทธิ จึงถามในวิสัย เพราะฉะนั้น ท่านพระปุณณะเมื่อกล่าว จึงกล่าวกะพระธรรมเสนาบดีเท่านั้น ท่านพระปุณณะรู้ เป็นผู้ฉลาดในลัทธิจึงแก้ในวิสัย เพราะฉะนั้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเมื่อกล่าว พึงกล่าวกะท่านพระปุณณะเท่านั้น. ก็ข้อที่ท่านย่อไว้ในวิสุทธิทั้งหลาย ท่านก็ให้พิสดารแล้วในกถาวัตถุทั้งหลาย ข้อที่ท่านย่อไว้ในกถาวัตถุทั้งหลายท่านก็ให้พิสดารแล้วในวิสุทธิทั้งหลาย ข้อนั้นพึงทราบโดยนัยนี้. จริงอยู่ ในวิสุทธิทั้งหลาย สีลวิสุทธิอย่างเดียวก็มาเป็นกถาวัตถุ ๔ คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา อสังสัคคกถา สีลกถา. จิตตวิสุทธิอย่างเดียวก็มาเป็นกถาวัตถุ ๓ คือ ปวิเวกกถา วิริยารัมภกถา สมาธิกถา. อันดับแรก ข้อที่ท่านย่อไว้ในวิสุทธิทั้งหลาย ท่านก็ให้พิสดารแล้วในกถาวัตถุทั้งหลายด้วยประการฉะนี้. ส่วนบรรดากถาวัตถุทั้งหลาย ปัญญากถาอย่างเดียวมาเป็นวิสุทธิ ๕ คือ ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิ. ข้อที่ท่านย่อไว้ในกถาวัตถุ ท่านให้พิสดารแล้วในวิสุทธิทั้งหลายด้วยประการฉะนี้. เพราะฉะนั้น พระสารีบุตรเถระ เมื่อถามวิสุทธิ ๗ ไม่ถามอย่างอื่น ถามเฉพาะกถาวัตถุ ๑๐ เท่านั้น. ฝ่ายพระปุณณเถระ เมื่อจะวิสัชชนาวิสุทธิ ๗ ก็ไม่วิสัชชนาอย่างอื่น วิสัชชนาเฉพาะกถาวัตถุ ๑๐ เท่านั้น. แม้ท่านทั้ง ๒ นั้น รู้แล้ว เป็นผู้ฉลาดในลัทธิ พึงทราบว่า ถามและวิสัชชนาปัญหาในวิสัย เท่านั้น.

บทว่า โก นาม อายสฺมา ความว่า พระเถระไม่รู้ชื่อของท่าน ก็หามิได้ แต่เมื่อรู้ก็ถาม ด้วยหมายจะได้ความบันเทิง. ก็พระเถระเมื่อจะบันเทิง จึงกล่าวคํานี้ว่า กถฺจ ปน อายสฺมนฺตํ. บทว่า มนฺตานีปุตฺโต ได้แก่ เป็นบุตรของนางพรหมณี ชื่อว่า มันตานี. บทว่า ตํ ในคําว่า ยถาตํ นี้ เป็นเพียงนิบาต. ความสังเขปในข้อนี้มีดังนี้ว่า ท่านพยากรณ์แล้ว เหมือนอย่างพระสาวกผู้สดับพยากรณ์. บทว่า อนุมสฺส อนุมสฺส คือยังกําหนดกถาวัตถุ ๑๐.

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 388

ผ้าโพกคือ เทริด เรียกว่า เวละ ในคําว่า เวลฺฑุเกน นี้ ถ้าหากเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายให้ท่านนั่งในที่นั้น บริหารผ้าโพกอยู่บนศีรษะ ก็จะพึงได้เห็น แม้การเห็นที่ได้แล้วอย่างนี้ก็เป็นลาภของเพื่อนพรหมจารีทีเดียว เพราะเหตุนั้น ท่านจึงแสดงอุบายแห่งการเห็นเนืองๆ ด้วยการกําหนดที่อันไม่ใช่ฐานะ. ก็พระเถระเมื่อไม่บริหารอย่างนี้ ต้องการจะถามปัญหา หรือต้องการจะฟังธรรม แสวงหาอยู่ว่า พระเถระยืนที่ไหน นั่งที่ไหน จะพึงประพฤติ. แต่เมื่อบริหารอย่างนี้ ก้มศีรษะลงในขณะที่ต้องการให้พระเถระนั่งบนอาสนะที่สมควรอย่างใหญ่ จึงอาจถามปัญหา หรือฟังธรรมได้. ท่านจึงแสดงอุบายแห่งการเห็นเนืองๆ ด้วยการกําหนดสิ่งซึ่งมิใช่ฐานะด้วยประการฉะนี้. บทว่า สารีปุตฺโตติ จ ปน มํ ความว่า ก็แลเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายรู้จักเราอย่างนี้ว่า เป็นบุตรของนางพราหมณี ชื่อว่าสารี. บทว่า สตฺถุกปฺเปน ได้แก่ เสมือนพระศาสดา. ท่านพระปุณณะยกพระสารีบุตรเถระ ประดุจตั้งไว้จรดจันทรมณฑลด้วยบทเดียวเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ ความที่พระเถระเป็นพระธรรมกถึก โดยส่วนเดียวปรากฏแล้วในที่นี้ ก็เมื่อเรียกอมาตย์ว่าผู้ใหญ่ พึงเรียกว่า เสมือนพระราชา เรียกโคว่าขนาดเท่าช้าง เรียกบึงว่าขนาดเท่ามหาสมุทร เรียกแสงสว่างว่าขนาดเท่าแสงสว่างของดวงจันทร์ดวงอาทิตย์. ต่อแต่นั้น ก็ไม่มีการเรียกเพื่อนพรหมจารีเหล่านั้นว่าใหญ่. เมื่อจะเรียกแม้พระสาวกว่าใหญ่ก็พึงเรียกว่าเทียบเท่าพระพุทธเจ้า. ต่อแต่นั้น ก็ไม่มีพระเถระนั้นเป็นใหญ่. ท่านพระปุณณะ ยกพระเถระเหมือนตั้งไว้จรดจันทรมณฑล ด้วยบทเดียวเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

ในคําว่า เอตฺตกํปิ โน นปฺปฏิภาเสยฺย นี้ มีอธิบายอย่างนี้ว่า ไม่มีความไม่มีไหวพริบสําหรับพระเถระ ผู้ไม่ประมาท ซึ่งบรรลุปฏิสัมภิทา ก็ข้ออุปมานี้อันใด ท่านนํามาแล้ว ไม่ควรนําข้ออุปมานั้นมา ควรกล่าวแต่ใจ

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 389

ความเท่านั้น แต่จะนําข้ออุปมามาได้ ก็สําหรับผู้ไม่รู้ด้วยอุปมาทั้งหลาย แต่ในอรรถกถา ท่านปฏิเสธข้อนี้กล่าวว่า ขึ้นชื่อว่า ข้ออุปมา นํามาได้แม้ในสํานักของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ท่านยําเกรงพระเถระ จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า อนุมสฺส อนุมสฺส ปุจฺฉิตา ได้แก่กําหนดไว้ถนัดถนี่ ถามกถาวัตถุ ๑๐. ถามว่า ก็การปุจฉาหรือวิสัชชนาปัญหา เป็นของหนัก. ตอบว่า การเล่าเรียนแล้วปุจฉา ไม่หนัก ส่วนการวิสัชชนาหนัก ทั้งปุจฉา ทั้งวิสัชชนา มีเหตุหรือมีการณ์ ก็หนักทั้งนั้น. บทว่า สมฺโมทิํสุ ได้แก่มีจิตเสมอกัน บันเทิง. เทศนาจบลงตามลําดับ อนุสนธิ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาวินีตสูตรที่ ๔