พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. นิวาปสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ส.ค. 2564
หมายเลข  36029
อ่าน  517

[เล่มที่ 18] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 390

๕. นิวาปสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 18]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 390

๕. นิวาปสูตร

[๓๐๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้น พระองค์ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรานเนื้อมิได้ปลูกหญ้าไว้สําหรับฝูงเนื้อด้วยคิดว่า เมื่อฝูงเนื้อกินหญ้าที่เราปลูกไว้นี้ จะมีอายุยั่งยืน มีผิวพรรณ มีชีวิตอยู่ยืนนาน โดยที่แท้ พรานเนื้อปลูกหญ้าไว้สําหรับฝูงเนื้อ ด้วยมีความประสงค์ว่า ฝูงเนื้อเข้ามาสู่ป่าหญ้าที่เราปลูกไว้นี้แล้ว จักลืมตัวกินหญ้า เมื่อเข้ามาแล้วลืมตัวกินหญ้าก็จักมัวเมา เมื่อมัวเมา ก็จักประมาท เมื่อประมาท ก็จักถูกเราทําเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านี้.

[๓๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาฝูงเนื้อเหล่านั้น ฝูงเนื้อฝูงแรกเข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อ ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้ว ลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกพรานเนื้อทําเอาได้ตามซอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝูงเนื้อฝูงแรกนั้นก็ไม่รอดพ้นอํานาจของพรานเนื้อได้.

[๓๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฝูงเนื้อฝูงที่สอง คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า ฝูงเนื้อฝูงแรกเข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อ ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาทก็ถูกพรานเนื้อทําเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝูงเนื้อฝูงแรกก็ไม่รอดพ้นอํานาจของพรานเนื้อไปได้ ถ้ากระไร เราต้องเว้นจากการกินหญ้าเสียทั้งสิ้น เมื่อเว้นจากการกินหญ้าที่เป็นภัยแล้ว ต้องเข้าไปอยู่ตามราวป่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 391

ครั้นคิดดังนี้แล้วจึงเว้นจากการกินหญ้าเสียทั้งสิ้น เมื่อเว้นจากการกินหญ้าที่เป็นภัยแล้ว ก็เข้าไปอยู่ตามราวป่า. ครั้นถึงเดือนท้ายฤดูคิมหันต์ เป็นเวลาที่สิ้นหญ้าและน้ำ ฝูงเนื้อเหล่านั้นก็มีร่างกายซูบผอม เมื่อมีร่างกายซูบผอม กําลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกําลังเรี่ยวแรงหมดไป จึงพากันกลับมาสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้นอีก ฝูงเนื้อเหล่านั้นพากันเข้าไปในป่าหญ้านั้น ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาทเมื่อประมาท ก็ถูกพรานเนื้อทําเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้แม้ฝูงเนื้อฝูงที่สองนั้น ก็ไม่รอดพ้นอํานาจของพรานเนื้อได้.

อุปมาฝูงเนื้อฝูงที่สาม

[๓๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฝูงเนื้อฝูงที่สาม คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า ฝูงเนื้อฝูงแรกเข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อ ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกพรานเนื้อทําเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้เนื้อฝูงแรกนั้นก็ไม่รอดพ้นอํานาจของพรานเนื้อไปได้ อนึ่ง ฝูงเนื้อฝูงที่สองก็คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า ฝูงเนื้อฝูงแรกเข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อ ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกพรานเนื้อ ทําเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงแรกนั้นก็ไม่รอดพ้นอํานาจของพรานไปได้. ถ้ากระไร เราต้องเว้นจากการกินหญ้าเสียทั้งสิ้น เมื่อเว้นจากการกินหญ้าที่เป็นภัยแล้ว ต้องเข้าไปอยู่ตามราวป่า ครั้นคิดดังนี้แล้ว จึงเว้นจากการกินหญ้าเสียทั้งสิ้น เมื่อเว้นจากการกินหญ้าที่เป็นภัยแล้ว ก็เข้าไปอยู่ตามราวป่า ครั้นถึงเดือนท้ายฤดูคิมหันต์ เป็นเวลาที่สิ้นหญ้าและน้ำ ฝูงเนื้อเหล่านั้นก็มีร่างกายซูบผอม เมื่อมีร่างกายซูบผอม กําลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกําลังเรี่ยวแรงหมดไปจึงพากันกลับมาสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้นอีก ฝูงเนื้อ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 392

เหล่านั้นพากันเข้าไปในป่าหญ้านั้น ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกพรานเนื้อทําเอาได้ตามใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝูงเนื้อฝูงที่สองนั้น ก็ไม่รอดพ้นอํานาจของพรานเนื้อไปได้ถ้ากระไรเราต้องซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ๆ ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้น ครั้นซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ๆ ป่าหญ้านั้นแล้ว เราจะไม่เข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้น จักไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อไม่เข้าไปแล้ว ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็จักไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมา ก็จักไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาท ก็จักไม่ถูกพรานเนื้อทําได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น. ครั้นคิดดังนี้แล้วฝูงเนื้อเหล่านั้น ก็เข้าไปซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ๆ ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้น ครั้นเข้าไปซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ๆ ป่าหญ้านั้นแล้ว ก็ไม่เข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้น ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อไม่เข้าไปในป่าหญ้านั้น ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็ไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมา ก็ไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทก็ไม่ถูกพรานเนื้อทําเอาตามชอบใจในป่าหญ้านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทีนั้นพรานเนื้อกับบริวารได้คิดว่า ฝูงเนื้อฝูงที่สามนี้คงเป็นสัตว์แกมโกงคล้ายกับมีฤทธิ์ ไม่ใช่สัตว์ธรรมดา จึงกินหญ้าที่ปลูกไว้นี้ได้ เราไม่ทราบทางมาทางไปของพวกมัน อย่ากระนั้นเลย เราต้องเอาตาข่ายขัดไม้หลายๆ อัน ล้อมป่าหญ้าที่ปลูกไว้นี้ให้รอบไปทั้งป่า บางทีเราจะพบที่อยู่ของฝูงเนื้อฝูงที่สามในที่ซึ่งเราจะไปจับเอาได้. ครั้นคิดฉะนี้แล้ว พวกเขาก็ช่วยกันเอาตาข่ายขัดไม้เป็นอันมาก ล้อมป่าหญ้าที่ปลูกไว้นั้นรอบไปทั้งป่า. พรานเนื้อกับบริวารก็ได้พบที่อยู่ของฝูงเนื้อฝูงที่สามในที่ซึ่งเขาไปจับเอาได้แล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้ฝูงเนื้อฝูงที่สามนั้นก็ไม่รอดพ้นอํานาจของพรานเนื้อไปได้.

อุปมาฝูงเนื้อฝูงที่สี่

[๓๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฝูงเนื้อฝูงที่สี่ คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่าฝูงเนื้อฝูงแรกเข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อ ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 393

ลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกพรานเนื้อทําเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงแรกก็ไม่รอดพ้นอํานาจของพรานเนื้อได้ อนึ่ง ฝูงเนื้อฝูงที่สอง ก็คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า ฝูงเนื้อฝูงแรกเข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อ ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาทก็ถูกพรานเนื้อทําเอาตามชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงแรกนั้นก็ไม่รอดพ้นอํานาจของพรานเนื้อไปได้ ถ้ากระไรเราต้องเว้นจากการกินหญ้าเสียทั้งสิ้น เมื่อเว้นจากการกินหญ้าที่เป็นภัยแล้ว ต้องเข้าไปอยู่ตามราวป่า ครั้นคิดดังนี้แล้ว จึงเว้นจากการกินหญ้าเสียทั้งสิ้น เมื่อเว้นจากการกินหญ้าที่เป็นภัยแล้ว ก็เข้าไปอยู่ตามราวป่า ครั้นถึงเดือนท้ายฤดูคิมหันต์ เป็นเวลาสิ้นหญ้าและน้ำ ฝูงเนื้อเหล่านั้นก็มีร่างกายซูบผอม เมื่อมีร่างกายซูบผอมกําลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกําลังเรี่ยวแรงหมดไป จึงพากันกลับมาสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้นอีก ฝูงเนื้อเหล่านั้นพากันเข้าไปในป่าหญ้านั้น ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกพรานเนื้อทําเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝูงเนื้อฝูงที่สองนั้น ก็ไม่รอดพ้นอํานาจของพรานเนื้อไปได้ อนึ่งฝูงเนื้อฝูงที่สาม ก็คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า ฝูงเนื้อฝูงแรกเข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อ ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกพรานเนื้อทําเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงแรกนั้นก็ไม่รอดพ้นอํานาจของพรานเนื้อไปได้ อนึ่ง ฝูงเนื้อฝูงที่สอง ก็คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า เนื้อฝูงแรกเข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกพรานเนื้อ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 394

ทําเอาตามชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝูงเนื้อฝูงแรกไม่รอดพ้นอํานาจของพรานเนื้อไปได้ อนึ่ง ฝูงเนื้อฝูงที่สอง ก็คิดร่วมกันอย่างนี้ว่า ฝูงเนื้อฝูงแรกเข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อ ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกพรานเนื้อทําเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝูงเนื้อฝูงแรกก็ไม่รอดพ้นอํานาจของพรานเนื้อไปได้ ถ้ากระไร เราต้องเว้นจากการกินหญ้าเสียทั้งสิ้น เมื่อเว้นจากการกินหญ้าที่เป็นภัยแล้ว ต้องเข้าไปอยู่ตามราวป่า ครั้นคิดดังนี้แล้วจึงเว้นจากการกินหญ้าเสียทั้งสิ้น เมื่อเว้นจากการกินหญ้าที่เป็นภัยแล้ว ก็เข้าไปอยู่ตามราวป่า ครั้นถึงเดือนท้ายฤดูคิมหันต์ เป็นเวลาที่สิ้นหญ้าและน้ำ ฝูงเนื้อเหล่านั้น ก็มีร่างกายซูบผอม เมื่อมีร่างกายซูบผอม กําลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกําลังเรี่ยวแรงหมดไป จึงพากันกลับมาสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้นอีก ฝูงเนื้อเหล่านั้นพากันเข้าไปสู่ป่าหญ้านั้น ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาทเมื่อประมาท ก็ถูกพรานเนื้อทําเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ฝูงเนื้อฝูงที่สองนั้น ก็ไม่รอดพ้นอํานาจของพรานเนื้อไปได้ ถ้ากระไร เราต้องซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ๆ ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้น ครั้นซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ๆ ป่าหญ้านั้นแล้ว เราจะไม่เข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้น จะไม่ลืมตัวกินหญ้า เมื่อไม่เข้าไปแล้ว ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็จักไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมา ก็จักไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาท ก็จักไม่ถูกพรานเนื้อทําเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น ครั้นคิดดังนี้แล้ว ฝูงเนื้อเหล่านั้น ก็เข้าไปซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ๆ ป่าหญ้านั้นแล้ว ก็ไม่เข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้น ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อไม่เข้าไปในป่านั้น ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็ไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมา ก็ไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาท ก็ไม่ถูกพรานเนื้อทําเอา

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 395

ได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทีนั้น พรานเนื้อและบริวารได้คิดว่า ฝูงเนื้อฝูงที่สามนี้คงเป็นสัตว์แกมโกง คล้ายกับมีฤทธิ์ ไม่ใช่สัตว์ธรรมดา จึงกินหญ้าที่ปลูกไว้นี้ได้ เราไม่ทราบทางมาทางไปของพวกมัน อย่ากระนั้นเลย เราต้องเอาตาข่ายขัดไม้หลายๆ อันล้อมป่าหญ้าที่ปลูกไว้นี้ให้รอบไปทั้งป่า บางทีเราจะพบที่อยู่ของฝูงเนื้อฝูงที่สามในที่ซึ่งเราจะไปจับเอาได้ ครั้นคิดดังนี้แล้ว พวกเขาก็ช่วยกันเอาตาข่ายขัดไม้เป็นอันมากล้อมป่าหญ้าที่ปลูกไว้นั้นรอบไปทั้งป่า พรานเนื้อกับบริวารก็ได้พบที่อยู่ของฝูงเนื้อฝูงที่สาม ในที่ซึ่งเขาจะไปจับเอาได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้ฝูงเนื้อฝูงที่สามนั้นก็ไม่รอดพ้นอํานาจของพรานเนื้อไปได้ ถ้ากระไร เราต้องอาศัยอยู่ในที่ซึ่งพรานเนื้อกับบริวารไปไม่ถึงครั้นอาศัยอยู่ในที่นั้นแล้ว ต้องไม่เข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้น เมื่อไม่ลืมตัวกินหญ้า ก็จะไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมาก็จะไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาท ก็จะไม่ถูกพรานเนื้อทําเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น. ครั้นคิดดังนี้แล้ว ฝูงเนื้อเหล่านั้น ก็พากันอาศัยอยู่ในที่ซึ่งพรานเนื้อกับบริวารไปไม่ถึง ครั้นอาศัยอยู่ในที่นั้นแล้ว ก็ไม่เข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้น ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อไม่เข้าไปในป่าหญ้านั้น ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็ไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมา ก็ไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทก็ไม่ถูกพรานเนื้อทําเอาตามชอบใจในป่าหญ้านั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทีนั้น พรานเนื้อกับบริวารคิดเห็นว่า ฝูงเนื้อฝูงที่สี่นี้คงจะเป็นสัตว์แกมโกง คล้ายกับมีฤทธิ์ ไม่ใช่สัตว์ธรรมดา จึงกินหญ้าที่ปลูกไว้นี้ได้ อนึ่ง เราก็ไม่ทราบทางมาทางไปของพวกมัน อย่ากระนั้นเลย เราต้องเอาตาข่ายขัดไม้หลายๆ อันล้อมป่าหญ้าที่ปลูกนี้ไว้ให้รอบไปทั้งป่า บางทีเราจะพบที่อยู่ของฝูงเนื้อฝูงที่สี่ในที่ซึ่งเราจะไปจับเอาได้ ครั้นคิดดังนี้แล้ว พวกเขาจึงเอาตาข่ายขัดไม้เป็นอันมาก ล้อมป่าหญ้าที่ปลูกไว้นั้นรอบไปทั้งป่า แต่ก็หาได้พบที่อยู่ของฝูงเนื้อ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 396

ฝูงที่สี่ในที่ซึ่งตนจะไปจับเอาได้ไม่ ทีนั้น พรานเนื้อกับบริวารจึงคิดตกลงใจว่าถ้าเราขืนรบกวนฝูงเนื้อฝูงที่สี่ให้ตกใจแล้ว ก็จะพลอยทําให้ฝูงเนื้ออื่นๆ ตกใจไปด้วย ฝูงเนื้อทั้งหลายคงไปจากป่าหญ้าปลูกไว้นี้หมดสิ้น อย่ากระนั้นเลยเราเพิกเฉยฝูงเนื้อฝูงที่สี่เสียเถิด ครั้นคิดดังนี้แล้ว พรานเนื้อกับบริวารก็เพิกเฉยฝูงเนื้อฝูงที่สี่เสีย เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝูงเนื้อฝูงที่สี่ก็รอดพ้นอํานาจของพรานเนื้อไปได้.

[๓๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอุปมาให้ฟัง เพื่อให้เข้าใจเนื้อความได้ชัดขึ้น. ในคําอุปมานั้น มีอธิบายดังนี้. คําว่าป่าหญ้าเป็นชื่อของปัญจกามคุณ. คําว่าพรานเนื้อเป็นชื่อของมารผู้มีบาปธรรม. คําว่าบริวารของพรานเนื้อ เป็นชื่อของบริวารของมาร. คําว่าฝูงเนื้อเป็นชื่อของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย.

[๓๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่ง เข้าไปสู่ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสแล้ว ลืมตัวบริโภคปัญจกามคุณ เมื่อเธอเหล่านั้นเข้าไปในปัญจกามคุณนั้น ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณก็มัวเมา เมื่อมัวเมาก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกมารทําเอาได้ตามใจชอบในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งนั้นก็ไม่พ้นอํานาจของมารไปได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งนี้ว่า เปรียบเหมือนเนื้อฝูงที่หนึ่งนั้น.

สมณพราหมณ์พวกที่สอง

[๓๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกที่สองคิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งเข้าไปสู่ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสแล้ว ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ เมื่อเธอเหล่านั้นเข้าไปในปัญจกามคุณนั้นลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาทเมื่อประมาท ก็ถูกมารทําเอาได้ตามความชอบใจในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งนั้น ก็ไม่หลุดพ้นอํานาจของมารไปได้

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 397

ถ้ากระไร เราต้องงดเว้นจากการบริโภคปัญจกามคุณอันเป็นโลกามิสเสียทั้งสิ้น เมื่องดเว้นจากการบริโภคที่เป็นภัยแล้ว ต้องเข้าไปอาศัยอยู่ตามราวป่า ครั้นคิดดังนี้แล้ว จึงงดเว้นจากการบริโภคปัญจกามคุณอันเป็นโลกามิสเสียทั้งสิ้น เมื่องดเว้นจากการบริโภคปัญจกามคุณอันเป็นโลกามิสเสียทั้งสิ้น งดเว้นจากการบริโภคที่เป็นภัยแล้ว ก็เข้าไปอาศัยอยู่ตามราวป่า เธอเหล่านั้นมีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรําเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีกํายานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้าไม้ และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่น เยียวยาอัตตภาพอยู่ในราวป่านั้น ครั้นถึงเดือนท้ายฤดูคิมหันต์ เป็นเวลาที่สิ้นหญ้าและน้ำ เธอเหล่านั้นก็มีร่างกายซูบผอม เมื่อมีร่างการซูบผอม กําลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกําลังเรี่ยวแรงหมดไป เจโตวิมุตติก็เสื่อม เมื่อเจโตวิมุตติเสื่อมแล้ว พวกเธอก็หันกลับเข้าสู่ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสนั้นอีก เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกมารทําเอาได้ตามชอบใจในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้สมณพราหมณ์พวกที่สองนั้นก็ไม่หลุดพ้นอํานาจของมารไปได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรากล่าวสมณพราหมณ์พวกที่สองนี้ว่าเปรียบเหมือนฝูงเนื้อฝูงที่สองนั้น.

สมณพราหมณ์พวกที่สาม

[๓๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกที่สามคิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งเข้าไปสู่ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสแล้ว ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ เมื่อเธอเหล่านั้นเข้าไปในปัญจกามคุณนั้นลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาทเมื่อประมาท ก็ถูกมารทําเอาตามความชอบใจในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งนั้น ก็ไม่หลุดพ้นอํานาจของมารไปได้ ส่วน

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 398

สมณพราหมณ์พวกที่สองคิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งเข้าไปสู่ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสแล้ว ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ เมื่อเธอเหล่านั้นเข้าไปในปัญจกามคุณนั้น ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกมารทําเอาได้ตามความชอบใจในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งนั้น ก็ไม่หลุดพ้นอํานาจของมารไปได้ ถ้ากระไร เราต้องงดเว้นจากการบริโภคปัญจกามคุณอันเป็นโลกามิสเสียทั้งสิ้น เมื่องดเว้นจากการบริโภคที่เป็นภัยแล้ว ต้องเข้าไปอาศัยอยู่ตามราวป่า ครั้นคิดดังนี้แล้ว จึงงดเว้นจากการบริโภคปัญจกามคุณอันเป็นโลกามิสเสียทั้งสิ้น เมื่องดเว้นจากการบริโภคที่เป็นภัยแล้วก็เข้าไปอยู่ตามราวป่า เธอเหล่านั้นมีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรําเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีกํายานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้าไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหารบ้าง บริโภคผลไม้หล่น เยียวยาอัตภาพอยู่ในราวป่านั้น ครั้นถึงเดือนท้ายฤดูคิมหันต์ เป็นเวลาที่สิ้นหญ้าและน้ำ เธอเหล่านั้นก็มีร่างกายซูบผอม กําลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อเรี่ยวแรงหมดไป เจโตวิมุตติก็เสื่อม เมื่อเจโตวิมุตติเสื่อมแล้ว พวกเธอก็กลับหันเข้าสู่ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสนั้นอีก เมื่อเข้าไปแล้ว ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาทเมื่อประมาท ก็ถูกมารทําเอาได้ตามชอบใจในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้แม้สมณพราหมณ์พวกที่สองนั้น ก็ไม่หลุดพ้นอํานาจของมารไปได้ ถ้ากระไรเราจะต้องอาศัยอยู่ใกล้ๆ ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสนั้น ครั้นอาศัยอยู่ในที่นั้นแล้ว ก็ไม่เข้าไปหาปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิส เมื่อไม่ลืมตัวบริโภคปัญจกามคุณ ก็จะไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมา ก็จะไม่ประมาทเมื่อไม่ประมาท ก็จะไม่ถูกมารทําเอาได้ตามชอบใจ ในปัญจกามคุณนั้น

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 399

ครั้นคิดฉะนี้แล้ว สมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็อาศัยอยู่ใกล้ๆ ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสนั้น. ครั้นอาศัยอยู่ในที่นั้นแล้ว ก็ไม่เข้าไปหาปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิส เมื่อไม่ลืมตัวบริโภคปัญจกามคุณ ก็ไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมา ก็ไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาท ก็ไม่ถูกมารทําเอาได้ตามชอบใจในปัญจกามคุณนั้น. แต่ว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีความเห็นอย่างนี้ว่าโลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง สัตว์ตายแล้วเกิด สัตว์ตายแล้วไม่เกิด สัตว์ตายแล้วเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี สัตว์ตายแล้ว เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ เมื่อเป็นเช่นนี้สมณพราหมณ์พวกที่สามนั้น ก็ไม่หลุดพ้นอํานาจของมารไปได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวพวกสมณพราหมณ์พวกที่สามนี้ว่า เปรียบเหมือนฝูงเนื้อฝูงที่สามนั้น.

สมณพราหมณ์พวกที่สี่

[๓๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกที่สี่คิดเห็นรวมกันอย่างนี้ว่า สมณพราหม์พวกที่หนึ่งเข้าไปสู่ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสแล้ว ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ เมื่อเธอเหล่านั้นเข้าไปในปัญจกามคุณนั้นลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาทก็ถูกมารทําเอาได้ตามชอบใจในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งนั้นก็ไม่หลุดพ้นอํานาจของมารไปได้ ส่วนสมณพราหมณ์พวกที่สองคิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่าสมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งเข้าไปสู่ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสแล้ว ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกมารทําเอาได้ตามชอบใจในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งนั้น ก็ไม่หลุดพ้นอํานาจของมารไปได้ ถ้ากระไร เราต้องงดเว้นจากการบริโภคปัญจกามคุณอันเป็นโลกามิสเสียทั้งสิ้น เมื่องดเว้นจากการบริโภคที่เป็นภัยแล้ว ต้องเข้าไปอาศัยอยู่ตาม

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 400

ราวป่า ฯลฯ เธอเหล่านั้นมีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรําเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีกํายานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้าไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่น เยียวยาอัตตภาพอยู่ในราวป่านั้น ครั้นถึงเดือนท้ายฤดูคิมหันต์เป็นเวลาที่สิ้นหญ้าและน้ำ เธอเหล่านั้นก็มีร่างกายซูบผอม เมื่อมีร่างกายซูบผอม กําลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกําลังเรี่ยวแรงหมดไป เจโตวิมุตติก็เสื่อม เมื่อเจโตวิมุตติเสื่อมแล้ว พวกเธอกลับหันเข้าสู่ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสนั้นอีก เมื่อเข้าไปแล้ว ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกมารทําเอาได้ตามชอบใจในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้สมณพราหมณ์พวกที่สองนั้น ก็ไม่หลุดพ้นอํานาจของมารไปได้ ส่วนสมณพราหมณ์พวกที่สามคิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งเข้าไปสู่ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสแล้ว ลืมตัวบริโภคปัญจกามคุณ เมื่อเธอเหล่านั้นเข้าไปในปัญจกามคุณนั้น ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาทก็ถูกมารทําเอาได้ตามชอบใจในกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งนั้นก็ไม่หลุดพ้นอํานาจของมารไปได้ ส่วนพราหมณ์พวกที่สองคิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า สมณพราหมณ์พวกหนึ่งเข้าไปสู่ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสแล้วลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ เมื่อเธอเหล่านั้นเข้าไปในปัญจกามคุณนั้น ลืมตัวบริโภคปัญจกามคุณ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมาก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกมารทําเอาได้ตามชอบใจในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งนั้นก็ไม่หลุดพ้นอํานาจของมารไปได้ ถ้ากระไร เราต้องงดเว้นจากการบริโภคปัญจกามคุณอันเป็นโลกามิสเสียทั้งสิ้น เมื่องดเว้นจากการบริโภคที่เป็นภัย

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 401

แล้ว ต้องเข้าไปอาศัยอยู่ตามราวป่า ฯลฯ เธอเหล่านั้นมีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรําเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีกํายานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้าไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่น เยียวยาอัตภาพอยู่ในราวป่านั้น ครั้นถึงเดือนท้ายฤดูคิมหันต์ เป็นเวลาที่สิ้นหญ้าและน้ำ เธอเหล่านั้นก็มีร่างกายซูบผอม เมื่อมีร่างกายซูบผอม กําลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกําลังเรี่ยวแรงหมดไป เจโตวิมุตติก็เสื่อม เมื่อเจโตวิมุตติเสื่อมแล้ว พวกเธอก็กลับหันเข้าสู่ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสนั้นอีก เมื่อเข้าไปแล้ว ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาทเมื่อประมาท ก็ถูกมารทําเอาได้ตามชอบใจในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้แม้สมณพราหมณ์พวกที่สองนั้น ก็ไม่หลุดพ้นอํานาจของมารไปได้ ถ้ากระไรเราจะต้องอาศัยอยู่ใกล้ๆ ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสนั้น ครั้นอาศัยอยู่ในที่นั้นแล้ว ก็ไม่เข้าไปหาปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิส เมื่อไม่ลืมตัวบริโภคปัญจกามคุณ ก็จะไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมา ก็จะไม่ประมาทเมื่อไม่ประมาท ก็จะไม่ถูกมารทําเอาได้ตามชอบใจในปัญจกามคุณนั้น ครั้นคิดดังนี้แล้วสมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็อาศัยอยู่ใกล้ๆ ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสนั้น ครั้นอาศัยอยู่ในที่นั้นแล้ว ก็ไม่เข้าไปหาปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิส เมื่อไม่ลืมตัวบริโภคปัญจกามคุณ ก็ไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมา ก็ไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาท ก็ไม่ถูกมารทําเอาได้ตามใจชอบในปัญจกามคุณนั้น. แต่ว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นมีความเห็นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง สัตว์ตายแล้วเกิด สัตว์ตายแล้วไม่เกิด สัตว์ตายแล้วเกิดก็มี ไม่เกิด

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 402

ก็มี สัตว์ตายแล้ว เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่สามนั้น ก็ไม่หลุดพ้นอํานาจของมารไปได้ อย่ากระนั้นเลยเราต้องอาศัยอยู่ในที่ซึ่งมาร และบริวารของมารไปไม่ถึง ครั้นอาศัยอยู่ในที่นั้นแล้ว ก็ไม่เข้าไปหาปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสนั้น จะไม่ลืมตัวบริโภคปัญจกามคุณ เมื่อไม่เข้าไปหา ไม่ลืมตัวบริโภคปัญจกามคุณ ก็จะไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมา ก็จะไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาท ก็จะไม่ถูกมารทําเอาได้ตามชอบใจในปัญจกามคุณนั้น ครั้นคิดดังนี้แล้ว สมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็อาศัยอยู่ในที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึง เมื่ออาศัยอยู่ในที่นั้นแล้ว ก็ไม่เข้าไปหาปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสนั้น ไม่ลืมตัวบริโภคปัญจกามคุณ ก็ไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมา ก็ไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาท ก็ไม่ถูกมารทําเอาได้ตามชอบใจในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่สี่นั้นก็หลุดพ้นอํานาจของมารไปได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสมณพราหมณ์พวกที่สี่นี้ว่า เปรียบเหมือนฝูงเนื้อฝูงที่สี่นั้น.

มารและบริวารของมารไปไม่ถึง

[๓๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึงเป็นอย่างไร.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทํามารให้ตาบอด คือทําลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอยถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่งคือ ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 403

ภิกษุได้ทํามารให้ตาบอด คือทําลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่งคือ ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาณที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทํามารให้ตาบอด คือทําลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอยถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทํามารให้ตาบอด คือทําลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุได้บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ซึ่งมีบริกรรมว่า อากาศหาที่สุดมิได้อยู่ เพราะเพิกรูปสัญญาเสียทั้งสิ้น เพราะปฏิฆสัญญาไม่ตั้งอยู่ เพราะไม่มีมนสิการนานัตตสัญญาอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทํามารให้ตาบอด คือทําลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอยถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว ได้บรรลุวิญญาณัญจายตนญาน ซึ่งมีบริกรรมว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทํามารให้ตาบอด คือ ทําลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 404

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว ได้บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ซึ่งมีบริกรรมว่า อะไรๆ ไม่มีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทํามารให้ตาบอด คือทําลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว ได้บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทํามารให้ตาบอด คือทําลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่งคือ ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว ได้บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ก็และเพราะเห็นด้วยปัญญา เธอย่อมมีอาสวะสิ้นไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่าภิกษุได้ทํามารให้ตาบอด คือทําลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม เป็นผู้ข้ามพ้นตัณหาอันข้องอยู่ในอารมณ์ต่างๆ ในโลกเสียได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์นี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีความยินดีชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.

จบ นิวาปสูตรที่ ๕

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 405

อรรถกถานิวาปสูตร

นิวาปสูตรเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้:-

พึงทราบวินิจฉัยในนิวาปสูตรนั้น ดังต่อไปนี้ ผู้ใดย่อมปลูกพืชคือหญ้าไว้ในป่าเพื่อต้องการจะจับเนื้อด้วยตั้งใจว่า เราจะจับพวกเนื้อที่มากินหญ้านี้ได้สะดวก ผู้นั้น ชื่อว่า เนวาปิกะ. บทว่า นิวาปํ ได้แก่ พืชที่พึงปลูก. บทว่า นิวุตฺตํ ได้แก่ปลูก. บทว่า มิคชาตา ได้แก่ ชุมเนื้อ. บทว่า อนุปขชฺช แปลว่า ไม่เข้าไปเบียดเบียน. บทว่า มุจฺฉิตาได้แก่สยบด้วยอํานาจตัณหา อธิบายว่า หยั่งเข้าไปสู่หทัยด้วยตัณหาแล้วให้ถึงอาการสยบ. บทว่า มทํ อาปชฺชิสฺสนฺติ ได้แก่ จักถึงความมัวเมาด้วยอํานาจมานะ. บทว่า ปมาทํ ได้แก่ภาวะ คือความเป็นผู้มีสติหลงลืม. บทว่า ยถากามกรณียา ภวิสฺสนฺติ ความว่า เราปรารถนาโดยประการใด จักต้องกระทําโดยประการนั้น. บทว่า อิมสฺมิํ นิวาเป ได้แก่ ในที่เป็นที่เพาะปลูกนี้. ได้ยินว่าขึ้นชื่อว่าหญ้าที่เพาะปลูกไว้นี้ มีความงอกงามในฤดูแล้งก็มี. ฤดูแล้งย่อมมีโดยประการใดๆ หญ้านั้นย่อมเป็นกลุ่มทึบอันเดียวกันเหมือนหญ้าละมาน และเหมือนกลุ่มเมฆโดยประการนั้นๆ. พวกพรานไถในที่สําราญด้วยน้ำแห่งหนึ่งแล้วปลูกหญ้านั้น กั้นรั้วประกอบประตูรักษาไว้. ครั้นเมื่อใดในเวลาแล้งจัด หญ้าทุกชนิดย่อมขาว น้ำเพียงชุ่มลิ้นก็หาได้ยาก ในเวลานั้นเนื้อทั้งหลายพากันกินหญ้าขาวและใบไม้เก่าๆ เที่ยวไปอย่างหวาดกลัวอยู่ ดมกลิ่นหญ้าที่เพาะปลูกไว้ ไม่คํานึงถึงการฆ่าและการจับเป็นต้น ข้ามรั้วเข้าไป. จริงอยู่หญ้าที่เพาะปลูกไว้ย่อมเป็นที่รัก ที่ชอบใจอย่างยิ่งของพวกเนื้อเหล่านั้น. เจ้าของหญ้าเห็นพวกเนื้อเหล่านั้น ทําเป็นเหมือนเผลอไป ๒ - ๓ วัน เปิดประตูไว้ใน

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 406

ภายในที่เพาะปลูก แม้บ่อน้ำก็มีในที่นั้นๆ พวกเนื้อเข้าไปทางประตูที่เปิดไว้ กินและดื่มเท่านั้นก็หลีกไป. ในวันรุ่งขึ้นก็ไม่มีใครทําอะไรๆ เพราะฉะนั้นจึงกระดิกหูกินดื่มแล้วไม่รีบไป. วันรุ่งขึ้นไม่มีใครทําอะไร กิน ดื่มตามพอใจเข้าไปนอนยังสุมทุมพุ่มไม้. พวกพรานรู้ว่าเนื้อเผลอ ก็ปิดประตูล้อมไว้ทุบตีตั้งแต่ชายป่าไป. เนื้อเหล่านั้นถูกเจ้าของหญ้ากระทําได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้นด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ตตฺร ภิกฺขเว ได้แก่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เนื้อเหล่านั้น. บทว่า ปฐมา มิคชาตา ได้แก่ ขึ้นชื่อว่าหมู่เนื้อที่หนึ่ง และที่สองย่อมไม่มี. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกําหนดตามลําดับหมู่เนื้อที่มาถึง แสดงระบุชื่อว่า เนื้อที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่. บทว่า อิทฺธานุภาวา ได้แก่เพราะจะต้องกระทําตามประสงค์. จริงอยู่ ความเป็นผู้เชี่ยวชาญนั่นแล ท่านประสงค์เอาว่าฤทธิ์ และว่าอํานาจในที่นี้. บทว่า ภยโภคา ได้แก่ จากการบริโภคด้วยความกลัว. บทว่า พลวิริยํ ได้แก่วาโยธาตุที่พัดไปมา อธิบายว่าวาโยธาตุ นั้นหายไป. บทว่า อุปนิสฺสาย อาสยํ กปฺเปยฺยาม ความว่า เมื่อพวกเนื้อนอนกินในภายในก็ดี มาแต่ภายนอกเคี้ยวกินก็ดี ย่อมมีแต่ความกลัวเท่านั้น เนื้อเหล่านั้นคิดว่า ก็พวกเราอาศัยที่เพาะปลูกโน้น จึงอยู่อาศัย ณ ที่แห่งหนึ่ง. บทว่า อุปนิสฺสาย อาสยํ กปฺปยิํสุ ความว่า ขึ้นชื่อว่าพวกพรานย่อมไม่มีความพลั้งเผลอทุกๆ เวลา พวกเนื้ออาศัยที่เพาะปลูก (ไร่ผักหญ้า) ด้วยตั้งใจว่า พวกเรานอนในสุมทุมพุ่มไม้ และเชิงรั้วในที่นั้นๆ เมื่อพรานเหล่านั้นหลีกไปล้างหน้า หรือไปกินอาหาร จึงเข้าไปสู่ที่เพาะปลูก พอกิน ดื่มเสร็จแล้วก็เข้าไปสู่ที่อยู่ของตน แล้วอาศัยอยู่ในที่รกชัฏมีพุ่มไม้และเชิงรั้วเป็นต้น. บทว่า ภุฺชิํสุ ได้แก่รู้เวลาที่พวกพรานพลั้งเผลอโดยนัยดังกล่าวแล้ว ตะลีตะลานเข้าไปกิน. บทว่า เกฏภิโน ได้แก่ เกราฏิกศาสตร์

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 407

ที่ศึกษามา. บทว่า อิทฺธิมนฺตา แปลว่า เหมือนผู้มีฤทธิ์. บทว่า ปรชนา ได้แก่ ยักษ์ ยักษ์เหล่านี้ไม่ใช่เนื้อ. บทว่า อาคติํ วา คติํ วา ได้แก่พวกเราไม่รู้ความคิดของพรานเหล่านั้นดังนี้ว่า พวกเนื้อเหล่านี้ย่อมมาทางที่ชื่อนี้ ไปในที่โน้น. บทว่า ทณฺฑวาคุราหิ ได้แก่ ข่าย คือท่อนไม้และไม้ค้อน. บทว่า สมนฺตาสปฺปเทสมนุปริวาเรสุํ ความว่า คนปลูกฝักมีมายามาก คิดว่า เนื้อเหล่านี้ จักไม่ไปไกล จักนอนอยู่ในที่ใกล้นี่แหละ จึงล้อมถิ่นที่ของตนคือโอกาสที่ใหญ่รอบไร่ผัก บทว่า อทฺทสาสุํ ความว่าล้อมอย่างนี้แล้วก็เขย่าข่ายโดยรอบจ้องดู. บทว่า ยตฺถ เต ได้แก่ พวกพรานเหล่านั้นได้ไปจับในที่ใด ได้เห็นที่นั้น. บทว่า ยนฺนูน มยํ ยตฺถ อคติ ความว่า ได้ยินว่า พรานเหล่านั้นคิดอย่างนี้ว่า พวกเนื้อที่นอนกินอยู่ภายในก็ดี มาจากภายนอกกินอยู่ก็ดี อยู่ในที่ใกล้กินอยู่ก็ดี ย่อมมีความกลัวทั้งนั้น จริงอยู่ แม้เนื้อเหล่านั้นถูกล้อมจับด้วยข่าย เพราะฉะนั้น เนื้อเหล่านั้นจึงคิดดังนี้ว่า ถ้ากระไร เราจะพึงนอนในที่ที่พวกทําไร่และคนของพวกทําไร่ไม่ไปไม่อยู่. บทว่า อฺเ ฆฏฺเฏสฺสนฺติ ได้แก่ เบียดเนื้ออื่นๆ ที่อยู่ไกลแต่ที่นั้นๆ. บทว่า เต ฆฏฺฏิตา อฺเ ได้แก่ เนื้อที่ถูกเบียดเหล่านั้นก็จะถูกเบียดตัวอื่นๆ ที่อยู่ไกลกว่านั้น. บทว่า เอวํ อิมํ นิวาปํ นิวุตฺตํ สพฺพโส มิคชาตา ริฺจิสฺสนฺติ ได้แก่ชุมเนื้อหมู่เนื้อทั้งหมดจักละทิ้งไร่ผักที่พวกเราปลูกไว้. บทว่า อชฺฌุเปกฺเขยฺยาม ได้แก่ พึงขวนขวายจับเนื้อเหล่านั้น. ก็เมื่อเนื้อทั้งหลายพากันมาด้วยอาการอย่างไรก็ตาม พวกเราก็จะได้ลูกเนื้อบ้าง เนื้อแก่บ้าง เนื้อกําลังน้อยบ้าง เนื้อพลัดฝูงบ้าง เมื่อไม่มาย่อมไม่ได้อะไรๆ. บทว่า อชฺฌุเปกฺขิํสุ โข ภิกฺขเว ได้แก่ คิดอย่างนี้แล้วจึงได้ขวนขวาย.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 408

ในคําว่า อมุํ นิวาปํ นิวุตฺตํ มารสฺส อมูนิ จ โลกามิสานิ นี้ คําว่า นิวาปะก็ดี คําว่า โลกามิสานิก็ดี เป็นชื่อของกามคุณ ๕ ที่เป็นเหยื่อของวัฏฏะ. ก็มารมิได้เที่ยวหว่านกามคุณเหมือนพืช แต่แผ่อํานาจคลุมผู้ที่ยินดีในกามคุณ. ฉะนั้น กามคุณจึงชื่อว่า เป็นเหยื่อล่อของมาร. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อมุํ นิวาปํ นิวุตฺตํ มารสฺส ดังนี้. บทว่า น ปริมุจฺจิํสุ มารสฺส อิทฺธานุภาวา ได้แก่ เป็นผู้ตกอยู่ในอํานาจของมาร ถูกมารกระทําได้ตามชอบใจ. นี้เป็นการเปรียบเทียบด้วยการบรรพชาพร้อมด้วยบุตรและภรรยา. ชื่อว่า เจโตวิมุตติ ในคําว่า เจโตวิมุตติ ปริหายิ นั้น ได้แก่อัธยาศัยที่เกิดขึ้นว่า พวกเราจักอยู่ในป่า อธิบายว่า อัธยาศัยนั้นเสื่อมแล้ว. ข้อว่า ตถูปเม อหํ ภิกฺขเว อิเม ทุติเย นี้เป็นการเปรียบเทียบด้วยการบรรพชาประกอบด้วยธรรมของพราหมณ์. จริงอยู่ พราหมณ์ทั้งหลายประพฤติโกมารพรหมจรรย์ ๔๘ ปี คิดว่าจักสืบประเพณีเพราะกลัววัฏฏะขาด แสวงหาทรัพย์ ได้ภรรยา ครองเรือน เมื่อเกิดบุตรคนหนึ่ง คิดว่า เรามีบุตรแล้ว วัฏฏะไม่ขาดแล้ว สืบประเพณีแล้ว จึงออกบวชอีก หรือมีเมียตามเดิม. บทว่า เอวํหิ เต ภิกฺขเว ตติยา สมณพฺรหฺมณา น ปริมุจฺจิํสุ ความว่า สมณพราหมณ์แม้เหล่านั้นไม่พ้นจากฤทธิ์ และอํานาจของมารเหมือนก่อน ได้เป็นผู้ถูกมารกระทําตามชอบใจ. ถามว่า ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้นทําอย่างไร. ตอบว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นไปยังบ้านนิคมและราชธานี ให้สร้างอาศรมอยู่ในอารามและสวนนั้นๆ ให้เด็กในตระกูลทั้งหลายศึกษาศิลปะมีประการต่างๆ เช่น ศิลปะช้าง ม้า และรถเป็นต้น. ดังนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถูกข่าย คือทิฏฐิของมารผู้มีบาปรวบรัด ถูกมารกระทําได้ตามชอบใจ เหมือนฝูงเนื้อที่สามที่ถูกล้อมด้วยตาข่าย.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 409

ข้อว่า ตถูปเม อหํ ภิกฺขเว อิเม จตุตฺเถ นี้ เป็นเครื่องนํามาเปรียบเทียบศาสนานี้. บทว่า อนฺธมกาสิ มารํ ความว่า ไม่ทําลายนัยน์ตาของมาร แต่จิตของภิกษุผู้เข้าฌานซึ่งเป็นบาทของวิปัสสนา ย่อมอาศัยอารมณ์นี้เป็นไปฉะนั้น มารจึงไม่สามารถจะเห็นได้ ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อนฺธมกาสิ มารํ ดังนี้. บทว่า อปทํ วธิตฺวา มารจกฺขุํ ความว่า โดยปริยายนี้เอง เธอจึงฆ่าโดยประการที่จักษุของมารไม่มีทางหมดหนทาง ไม่มีที่พึ่ง ปราศจากอารมณ์. บทว่า อทสฺสนํ ตโต ปาปิมโต ได้แก่โดยปริยายนั้นเอง มารผู้มีบาปจึงมองไม่เห็น. จริงอยู่ มารนั้นไม่สามารถจะมองเห็นร่าง คือญาณของภิกษุผู้เข้าฌานซึ่งเป็นบาทของวิปัสสนานั้น ด้วยมังสจักษุของตนได้. บทว่า ปฺาย จสฺส ทิสฺวา อาสวา ปริกฺขีณา โหนฺติ ความว่า เพราะเห็นอริยสัจ ๔ ด้วยมรรคปัญญา อาสวะ ๔ จึงสิ้นไป. บทว่า ติณฺโณ โลเก วิสตฺติกํ ได้แก่ ถึงการนับอย่างนี้ว่า วิสตฺติกา เพราะข้องอยู่และซ่านไปในโลก. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า วิสตฺติกา ความว่า ที่ชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่าอะไร ชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่า ซ่านไป แผ่ไป ขยายไปไพบูลย์ กว้างขวาง ปราศจากความสามารถ นําสิ่งที่เป็นพิษมา มีวาทะเป็นพิษ มีรากเป็นพิษ มีผลเป็นพิษ มีเครื่องบริโภคเป็นพิษ ก็หรือว่าตัณหานั้นกว้างขวาง ในรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า วิสตฺติกา. ผู้ข้าม ข้ามออก ข้ามขึ้นซึ่งตัณหา ซึ่งนับว่า วิสตฺติกา ด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ติณฺโณ โลเก วิสตฺติกํ ดังนี้.

จบ อรรถกถานิวาปสูตรที่ ๕