พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ส.ค. 2564
หมายเลข  36032
อ่าน  1,654

[เล่มที่ 18] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 516

๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 18]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 516

๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร

[๓๔๐] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคําของท่านพระสารีบุตรแล้ว.

พระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย รอยเท้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งแห่งสัตว์ทั้งหลายผู้เที่ยวไปบนแผ่นดิน รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมดย่อมประชุมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างชาวโลกย่อมกล่าวว่า เป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น เพราะรอยเท้าช้างเป็นรอยใหญ่ แม้ฉันใด ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมสงเคราะห์เข้าในอริยสัจสี่ ฉันนั้นเหมือนกันแล. อริยสัจสี่เหล่าไหน. คือทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

[๓๔๑] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน. แม้ความเกิดเป็นทุกข์ แม้ความแก่เป็นทุกข์ แม้ความตายเป็นทุกข์ แม้ความโศกความรําพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์ แม้ความที่ไม่ได้สิ่งที่ตนอยากได้ก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์. ก็อุปาทานขันธ์ห้าเป็นไฉน. คือ อุปาทานขันธ์คือรูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือสังขาร อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ. ก็อุปาทานขันธ์คือรูปเป็นไฉน. คือ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 517

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มหาภูตรูป ๔ เป็นไฉน คือปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ.

ว่าด้วยปฐวีธาตุ

[๓๔๒] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ปฐวีธาตุเป็นไฉน. คือ ปฐวีธาตุที่เป็นไปภายในก็มี ปฐวีธาตุที่เป็นไปภายนอกก็มี. ก็ปฐวีธาตุที่เป็นไปภายในเป็นไฉน. คือ อุปาทินนกรูปอันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็นของหยาบ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ก็หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นอุปาทินนกรูป อันเป็นภายในเป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็นของหยาบอย่างอื่น นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุเป็นไปภายใน. ก็ปฐวีธาตุอันใดแล เป็นไปภายใน และปฐวีธาตุอันใด เป็นไปภายนอก นั่นเป็นปฐวีธาตุแล. บัณฑิตพึงเห็นปฐวีธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่เป็นตนของเรา. บัณฑิตครั้นเห็นปฐวีธาตุนั่น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ ย่อมยังจิตให้คลายกําหนัดในปฐวีธาตุ. สมัยที่ปฐวีธาตุที่เป็นไปภายนอกกําเริบ ย่อมจะมีได้แล ในสมัยนั้น ปฐวีธาตุอันเป็นภายนอกจะเป็นของอันตรธานไป. ก็ชื่อว่าความที่แห่งปฐวีธาตุอันเป็นไปภายนอกนั้น ซึ่งใหญ่ถึงเพียงนั้น เป็นของไม่เที่ยงจักปรากฏได้ ความเป็นของสิ้นไปเป็นธรรมดาจักปรากฏได้ ความเป็นของเสื่อมไปเป็นธรรมดาจักปรากฏได้ ความเป็นของแปรปรวนไปเป็นธรรมดาจักปรากฏได้. ก็ไฉนความที่แห่งกายอันตัณหาเข้าไปถือเอาแล้ว ว่าเรา ว่าของเรา ว่าเรามีอยู่อันตั้งอยู่ตลอดกาลพอประมาณนี้ เป็นของไม่เที่ยง เป็นของมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เป็นของมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็นของมีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จักไม่ปรากฏเล่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ความยึดถือด้วยสามารถตัณหา

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 518

มานะและทิฏฐิในปฐวีธาตุนั้นจะไม่มีแก่ผู้นั้นเลย. หากว่าชนเหล่าอื่นจะด่า จะตัดพ้อ จะกระทบกระเทียบ จะเบียดเบียน ภิกษุนั้นไซร้. ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ทุกขเวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัสนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่าทุกขเวทนานั้นแล อาศัยเหตุจึงมีได้ ไม่อาศัยเหตุจะมีไม่ได้ ทุกขเวทนานี้ อาศัยอะไรจึงมีได้ ทุกขเวทนาอาศัยผัสสะจึงมีได้. ภิกษุแม้นั้นแล ย่อมเห็นว่าผัสสะ เป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่าเวทนานั้นเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่าสัญญานั้นเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่าสังขารทั้งหลายนั้นเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่าวิญญาณนั้นเป็นของไม่เที่ยง จิตอันมีธาตุเป็นอารมณ์นั่นเทียวของภิกษุนั้น ย่อมแล่นไป ย่อมผ่องใส ย่อมตั้งอยู่ด้วยดี ย่อมหลุดพ้น. หากว่าชนเหล่าอื่นจะพยายามทําร้ายภิกษุนั้น ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจคือ ด้วยการประหารด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยการประหารด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยการประหารด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยการประหารด้วยศาสตราบ้าง ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายนี้เป็นสภาพเป็นที่เป็นไปด้วยการประหารด้วยฝ่ามือบ้าง เป็นที่เป็นไปด้วยการประหารด้วยก้อนดินบ้าง เป็นที่เป็นไปด้วยการประหารด้วยท่อนไม้บ้าง เป็นที่เป็นไปด้วยการประหารด้วยศาสตราบ้าง. อนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ในพระโอวาทอันเปรียบด้วยเลื่อยดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ว่าพวกโจรผู้มีความประพฤติต่ําช้า พึงตัดอวัยวะใหญ่น้อยด้วยเลื่อยอันมีด้ามสองข้างไซร้ ภิกษุผู้ที่ยังใจให้ประทุษร้าย ในพวกโจรแม้นั้น ย่อมไม่เป็นผู้ชื่อว่าทําตามคําสั่งสอนของเราด้วยเหตุนั้น ดังนี้. อนึ่ง ความเพียรอันเราปรารภแล้ว จักเป็นคุณชาติ ไม่ย่อหย่อน สติอันเราเข้าไปตั้งไว้แล้วจักเป็นคุณชาติไม่หลงลืม กายอันเราให้สงบแล้ว จักเป็นสภาพไม่กระวนกระวาย จิตอันเราให้ตั้งมั่นแล้ว จักเป็นธรรมชาติมีอารมณ์เป็นอย่างเดียว คราวนี้ การประหารด้วยฝ่ามือทั้งหลาย จะเป็นไปในกายนี้ก็ดี การประหาร

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 519

ด้วยก้อนดินทั้งหลาย จะเป็นไปในกายนี้ก็ดี การประหารด้วยท่อนไม้ทั้งหลายจะเป็นไปในกายนี้ก็ดี การประหารด้วยศาสตราทั้งหลาย จะเป็นไปในกายนี้ก็ดี ตามทีเถิด คําสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนี้ เราจะทําให้จงได้ ดังนี้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่าเมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมย่อมไม่ตั้งอยู่พร้อมได้. ภิกษุนั้นย่อมสลดใจ ย่อมถึงความสลดใจเพราะเหตุนั้นว่า ไม่เป็นลาภของเราหนอ ลาภไม่มีแก่เราหนอ เราได้ไม่ดีแล้วหนอ การได้ด้วยดีไม่มีแก่เราแล้วหนอ ที่เราระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมไม่ตั้งอยู่ได้ด้วยดี ดังนี้. เปรียบเสมือนหญิงสะใภ้เห็นพ่อผัวแล้วย่อมสลดใจ ย่อมถึงความสลดใจ แม้ฉันใด ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่าเมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมไม่ตั้งอยู่ได้ด้วยดี. ภิกษุนั้นย่อมสลดใจ ย่อมถึงความสลดใจ เพราะเหตุนั้น ฉันนั้นเหมือนกันแล. หากว่าเมื่อภิกษุนั้น ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมย่อมตั้งอยู่ได้ด้วยดีไซร้. ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้ปลื้มใจเพราะเหตุนั้น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้แล คําสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันภิกษุทําให้มากแล้ว.

ว่าด้วยอาโปธาตุ

[๓๔๓] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อาโปธาตุเป็นไฉน. คือ อาโปธาตุที่เป็นไปในภายในก็มี อาโปธาตุที่เป็นไปภายนอกก็มี. ก็อาโปธาตุที่เป็นไปภายในเป็นไฉน. คือ อุปาทินนกรูปอันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของเอิบอาบ ถึงความเอิบอาบ คือ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 520

น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร ก็หรืออุปาทินนกรูป สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของเอิบอาบ ถึงความเป็นของเอิบอาบอย่างอื่น นี้เรียกว่า อาโปธาตุเป็นไปภายใน. ก็อาโปธาตุอันใดแล เป็นไปภายใน และอาโปธาตุอันใด เป็นไปภายนอก นั่นเป็นอาโปธาตุแล. บัณฑิตพึงเห็นอาโปธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่เป็นตนของเรา. ครั้นเห็นอาโปธาตุนั่น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุ ย่อมยังจิตให้คลายกําหนัดในอาโปธาตุ. สมัยที่อาโปธาตุ ที่เป็นไปภายนอกกําเริบ ย่อมจะมีได้แล อาโปธาตุอันเป็นภายนอกนั้น ย่อมพัดเอาบ้านไปบ้าง พัดเอานิคมไปบ้าง พัดเอาเมืองไปบ้าง พัดเอาชนบทไปบ้าง ย่อมพัดเอาประเทศแห่งชนบทไปบ้าง. สมัยที่น้ำในมหาสมุทรย่อมลึกลงไปร้อยโยชน์บ้าง สองร้อยโยชน์บ้าง สามร้อยโยชน์บ้าง สี่ร้อยโยชน์บ้าง ห้าร้อยโยชน์บ้าง หกร้อยโยชน์บ้าง เจ็ดร้อยโยชน์บ้าง ย่อมมีได้แล. สมัยที่น้ำในมหาสมุทรขังอยู่เจ็ดชั่วลําตาลบ้าง หกชั่วลําตาลบ้าง ห้าชั่วลําตาลบ้าง สีชั่วลําตาลบ้าง สามชั่วลําตาลบ้าง สองชั่วลําตาลบ้าง ชั่วลําตาลหนึ่งบ้าง ย่อมมีได้แล. สมัยที่น้ำในมหาสมุทรขังอยู่ ได้เจ็ดชั่วบุรุษบ้าง หกชั่วบุรุษบ้าง ห้าชั่วบุรุษบ้าง สีชั่วบุรุษบ้าง สามชั่วบุรุษบ้าง สองชั่วบุรุษบ้าง ประมาณชั่วบุรุษหนึ่งบ้าง ย่อมมีได้แล. ก็สมัยที่น้ำในมหาสมุทรขังอยู่กึ่งชั่วบุรุษบ้าง ประมาณเพียงสะเอวบ้าง ประมาณเพียงเข่าบ้าง ประมาณเพียงข้อเท้าบ้าง ย่อมมีได้แล. สมัยที่น้ำแม้ประมาณพอเปียกข้อนิ้วมือจะไม่มีในมหาสมุทร ก็ย่อมมีได้แล. ก็ชื่อว่าความที่แห่งอาโปธาตุอันเป็นไปภายนอกนั้น ซึ่งมากถึงเพียงนั้นเป็นของไม่เที่ยงจักปรากฏได้ ความเป็นของสิ้นไปเป็นธรรมดาจักปรากฏได้ ความเป็นของเสื่อมไปเป็นธรรมดาจักปรากฏได้ ความเป็นของ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 521

แปรปรวนไปเป็นธรรมดาจักปรากฏได้. ก็ไฉนความที่แห่งกายอันตัณหาเข้าไปถือเอาแล้ว ว่าเรา ว่าของเรา ว่าเรามีอยู่ อันตั้งอยู่ตลอดกาลพอประมาณนี้เป็นของไม่เที่ยง เป็นของมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เป็นของมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็นของมีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จักไม่ปรากฏเล่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ความยึดถือด้วยสามารถตัณหามานะและทิฏฐิ ในอาโปธาตุนั้นจะไม่มีแก่ผู้นั้นเลย. หากว่าเมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมย่อมตั้งอยู่ได้ด้วยดีไซร้. ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้ปลื้มใจเพราะเหตุนั้น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้แล คําสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันภิกษุทําให้มากแล้ว.

ว่าด้วยเตโชธาตุ

[๓๔๔] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เตโชธาตุเป็นไฉน. คือ เตโชธาตุที่เป็นไปภายในก็มี เตโชธาตุที่เป็นไปภายนอกก็มี. ก็เตโชธาตุที่เป็นไปภายในเป็นไฉน. คือ อุปาทินนกรูปอันเป็นภายใน. เฉพาะตน เป็นของเร่าร้อน ถึงความเป็นของเร่าร้อน คือ เตโชธาตุที่เป็นเครื่องอบอุ่นแห่งกาย เตโชธาตุที่เป็นเครื่องทรุดโทรมแห่งกาย เตโชธาตุเป็นเครื่องเร่าร้อนแห่งกาย เตโชธาตุที่เป็นเครื่องย่อยของที่กินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว และของที่ลิ้มรสแล้ว ก็หรืออุปาทินนกรูป สิ่งหนึ่งสิ่งใด อันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของเร่าร้อน ถึงความเป็นของเร่าร้อน อย่างอื่น นี้เรียกว่า เตโชธาตุเป็นไปภายใน. ก็เตโชธาตุอันใดแล เป็นไปภายใน และเตโชธาตุอันใด เป็นภายนอก นั่นเป็นเตโชธาตุแล. บัณฑิตพึงเห็นเตโชธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่เป็นของเรา. บัณฑิตครั้นเห็นเตโชธาตุนั่น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในเตโชธาตุ ย่อมยังจิตให้คลายกําหนัดในเตโชธาตุ สมัยที่

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 522

เตโชธาตุอันเป็นไปภายนอกกําเริบ ย่อมจะมีได้แล เตโชธาตุอันเป็นภายนอกนั้น ย่อมไหม้บ้านบ้าง ย่อมไหม้เมืองบ้าง ย่อมไหม้นิคมบ้าง ย่อมไหม้ชนบทบ้าง ย่อมไหม้ประเทศแห่งชนบทบ้าง. เตโชธาตุอันเป็นภายนอกนั้นมาถึงหญ้าสด หนทาง ภูเขา น้ำ หรือ ภูมิภาค อันเป็นที่รื่นรมย์ ไม่มีเชื้อย่อมดับไปเอง. สมัยที่ชนทั้งหลายแสวงหาไฟด้วยขนไก่บ้าง ด้วยการขูดหนังย่อมมีได้แล. ก็ชื่อว่าความที่แห่งเตโชธาตุ อันเป็นไปภายนอกนั้น ซึ่งใหญ่ถึงเพียงนั้นเป็นของไม่เที่ยงจักปรากฏได้ ความเป็นของสิ้นไปเป็นธรรมดาจักปรากฏได้ ความเป็นของแปรปรวนไปเป็นธรรมดาจักปรากฏได้. ก็ไฉนความที่แห่งกายอันตัณหาเข้าไปถือเอาแล้วว่า เรา ว่าของเรา ว่าเรามีอยู่ อันตั้งอยู่ตลอดกาลพอประมาณนี้ เป็นของไม่เที่ยง เป็นของมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เป็นของมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็นของมีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาจักไม่ปรากฏเล่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ความยึดถือด้วยสามารถตัณหามานะและทิฏฐิในเตโชธาตุนั้น จะไม่มีแก่ผู้นั้นเลย. หากว่า เมื่อภิกษุนั้นระลีกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมย่อมตั้งอยู่ได้ด้วยดีไซร้ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้ปลื้มใจเพราะเหตุนั้น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้แล คําสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันภิกษุทําให้มากแล้ว.

ว่าด้วยวาโยธาตุ

[๓๔๕] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็วาโยธาตุเป็นไฉน. คือ วาโยธาตุที่เป็นไปภายในก็มี วาโยธาตุที่เป็นภายนอกก็มี. ก็วาโยธาตุที่เป็นไปภายในเป็นไฉน. คือ อุปาทินนกรูปอันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของพัดไปมา ถึงความเป็นของพัดไปมา คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ําลมอันอยู่ในท้อง ลมอันอยู่ในลําไส้ ลมอันแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ก็หรืออุปาทินนกรูป สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเป็นภายใน

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 523

เฉพาะตน เป็นของพัดไปมา ถึงความเป็นของพัดไปมา อย่างอื่น นี้เรียกว่าวาโยธาตุเป็นไปภายใน. ก็วาโยธาตุอันใดแล เป็นไปภายใน และวาโยธาตุอันใด เป็นไปภายนอกนั่นเป็นวาโยธาตุแล. บัณฑิตพึงเห็นวาโยธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่เป็นตนของเรา. บัณฑิตครั้นเห็นวาโยธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ ย่อมยังจิตให้คลายกําหนัดในวาโยธาตุ ย่อมยังจิตให้คลายกําหนัดในวาโยธาตุ. สมัยที่วาโยธาตุอันเป็นไปภายนอกกําเริบ ย่อมจะมีได้แล วาโยธาตุอันเป็นไปภายนอกนั้นย่อมพัดเอาบ้านไปบ้าง ย่อมพัดเอานิคมไปบ้าง ย่อมพัดเอานครไปบ้าง ย่อมพัดเอาประเทศแห่งชนบทไปบ้าง. สมัยที่ชนทั้งหลาย แสวงหาลมด้วยพัดใบตาลบ้าง ด้วยพัดสําหรับพัดไฟบ้าง ในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน แม้ในที่ชายคาหญ้าทั้งหลายก็ไม่ไหว ย่อมมีแล. ก็ชื่อว่าความที่แห่งวาโยธาตุอันเป็นไปภายนอกนั้น ซึ่งใหญ่ถึงเพียงนั้น เป็นของไม่เที่ยงจักปรากฏได้ ความเป็นของสิ้นไปเป็นธรรมดาจักปรากฏได้ ความเป็นของเสื่อมไปเป็นธรรมดาจักปรากฏได้ ความเป็นของแปรปรวนไปเป็นธรรมดาจักปรากฏได้. ก็ไฉนความที่แห่งกายอันตัณหายึดถือเอาแล้ว ว่าเรา ว่าของเรา ว่าเรามีอยู่ อันตั้งอยู่ตลอดกาลพอประมาณนี้ เป็นของไม่เที่ยง เป็นของมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เป็นของมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็นของมีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จักไม่ปรากฏเล่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ความยึดถือด้วยสามารถตัณหานานะและทิฏฐิในวาโยธาตุนั้นจะไม่มีแก่ผู้นั้นเลย. หากว่าชนเหล่าอื่นจะด่าจะตัดพ้อ จะกระทบกระเทียบ จะเบียดเบียนภิกษุนั้นไซร้. ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ทุกขเวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัสนี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่าทุกขเวทนานั้นแล อาศัยเหตุจึงมีได้ ไม่อาศัยเหตุจะมีไม่ได้ ทุกขเวทนานี้อาศัยอะไรจึงมีได้. ทุกข-

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 524

เวทนานี้อาศัยผัสสะ จึงมีได้. ภิกษุแม้นั้นแลย่อมเห็นว่า ผัสสะเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่าเวทนาเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่าสัญญาเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่าสังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่าวิญญาณเป็นของไม่เที่ยง จิตอันมีธาตุเป็นอารมณ์นั่นเทียวของภิกษุนั้น ย่อมแล่นไป ย่อมผ่องใส ย่อมตั้งอยู่ด้วยดี ย่อมหลุดพ้น. หากชนเหล่าอื่นจะพยายามทําร้ายภิกษุนั้นด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจคือ ด้วยการประหารด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยการประหารด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยการประหารด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยการประหารด้วยศาสตราบ้าง. ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายนี้เป็นสภาพเป็นที่เป็นไปด้วยการประหารด้วยฝ่ามือบ้าง เป็นที่เป็นไปด้วยการประหารด้วยก้อนดินบ้าง เป็นที่เป็นไปด้วยการประหารด้วยท่อนไม้บ้าง เป็นที่เป็นไปด้วยการประหารด้วยศาสตราบ้าง. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ในพระโอวาทอันเปรียบด้วยเลื่อยดังนี้ ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ว่าพวกโจรผู้มีความประพฤติต่ําช้า พึงตัดอวัยวะใหญ่น้อย ด้วยเลื่อยอันมีด้ามสองข้างไซร้ ภิกษุผู้ที่ยังใจให้ประทุษร้ายในพวกโจรแม้นั้น ย่อมไม่เป็นผู้ชื่อว่าทําตามคําสอนของเราด้วยเหตุนั้น ดังนี้. อนึ่ง ความเพียรอันเราปรารภแล้ว จักเป็นคุณชาติไม่ย่อหย่อน สติอันเราเข้าไปตั้งไว้แล้ว จักเป็นคุณชาติไม่หลงลืม กายอันเราให้สงบแล้ว จักเป็นสภาพไม่กระวนกระวาย จิตอันเราให้ตั้งมั่นแล้ว จักเป็นธรรมชาติมีอารมณ์เป็นอย่างเดียว คราวนี้ การประหารด้วยฝ่ามือทั้งหลายจะเป็นไปในกายนี้ก็ดี การประหารด้วยก้อนดินทั้งหลายจะเป็นไปในกายนี้ก็ดี การประหารด้วยท่อนไม้ทั้งหลายจะเป็นไปในกายนี้ก็ดี การประหารด้วยศาสตราจะเป็นไปในกายนี้ก็ดี ตามทีเถิด คําสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนี้เราจะทําให้จงได้ ดังนี้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่าเมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึง

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 525

พระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้. ภิกษุนั้นย่อมสลดใจ ย่อมถึงความสลดใจ เพราะเหตุนั้น ว่าไม่เป็นลาภของเราหนอ ลาภไม่มีแก่เราหนอ เราได้ไม่ดีแล้วหนอ การได้ด้วยดีไม่มีแก่เราแล้วหนอ ที่เราระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมไม่ตั้งอยู่ได้ด้วยดี ดังนี้ เปรียบเหมือนหญิงสะใภ้เห็นพ่อผัวแล้ว ย่อมสลดใจ ย่อมถึงความสลดใจ แม้ฉันใด หากว่าเมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม ตั้งอยู่ไม่ได้ด้วยดี ภิกษุนั้นย่อมสลดใจ ย่อมถึงความสลดใจ เพราะเหตุนั้นฉันนั้นเหมือนกันแล. หากว่าเมื่อภิกษุนั้น ระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอาศัยกุศลธรรม ย่อมตั้งอยู่ด้วยดีไซร้. ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้ปลื้มใจเพราะเหตุนั้น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล คําสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันภิกษุทําให้มากแล้ว.

ว่าด้วยขันธสังคหะ

[๓๔๖] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อากาศอาศัยไม้และอาศัยเถาวัลย์ ดินเหนียวและหญ้าแวดล้อมแล้ว ย่อมนับว่าเรือนฉันใด ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อากาศอาศัยกระดูกและอาศัยเอ็นเนื้อและหนังแวดล้อมแล้ว ย่อมนับว่ารูป ฉันนั้นเหมือนกันแล. หากว่าจักษุอันเป็นไปในภายใน ไม่แตกทําลายแล้ว และรูปทั้งหลายอันเป็นภายนอก ย่อมไม่ปรากฏ ทั้งความกําหนัดอันเกิดแต่จักษุและรูปนั้นก็ไม่มี ความปรากฏแห่งส่วนของวิญญาณ อันเกิดแต่การกําหนัดนั้น ก็ยังมีไม่ได้ก่อน. หากว่าจักษุอันเป็นไปในภายใน ไม่แตกทําลายแล้ว และรูปทั้งหลายอันเป็นภายนอกย่อมปรากฏ แต่ความกําหนัดอันเกิดแต่จักษุและรูปนั้นไม่มี ความปรากฏแห่งส่วนของวิญญาณอันเกิดแต่

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 526

การกําหนัดนั้น ก็ยังมีไม่ได้ก่อน. แต่ว่า ในกาลใดแลจักษุอันเป็นไปในภายในไม่แตกไม่ทําลายแล้ว และรูปทั้งหลายอันเป็นภายนอก ย่อมปรากฏ ทั้งความกําหนัดอันเกิดแต่จักษุและรูปก็ย่อมมีในกาลนั้น. ความปรากฏแห่งส่วนของวิญญาณอันเกิดแต่การกําหนัดนั้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้. รูปแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด รูปนั้นย่อมสงเคราะห์ในอุปาทานขันธ์คือรูป. เวทนาแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด เวทนานั้นย่อมสงเคราะห์ในอุปาทานขันธ์คือเวทนา. สัญญาแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด สัญญานั้นย่อมสงเคราะห์ในอุปาทานขันธ์คือสัญญา. สังขารแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นเหล่าใด สังขารเหล่านั้นย่อมสงเคราะห์ในอุปาทานขันธ์คือสังขาร. วิญญาณแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด วิญญาณนั้นย่อมสงเคราะห์ ในอุปาทานขันธ์คือวิญญาณ. ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า การสงเคราะห์ การประชุมพร้อม หมวดหมู่แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ย่อมมีได้ด้วยประการอย่างนี้. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ว่า ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท ดังนี้. ก็ธรรมที่อาศัยการเกิดขึ้นเหล่านี้คือ ปัญจุปาทานขันธ์ ความพอใจ ความอาลัย ความยินดี ความหมกมุ่น ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้อันใด อันนั้นชื่อว่าทุกขสมุทัย การกําจัดความกําหนัดด้วยสามารถความพอใจ การละความกําหนัดด้วยสามารถความพอใจ ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้อันใด อันนั้นชื่อว่าทุกขนิโรธแล. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้แล คําสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นอันภิกษุทําให้มากแล้ว.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่าโสตอันเป็นไปในภายใน ไม่แตกทําลายแล้ว ...

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 527

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่าฆานะอันเป็นไปในภายใน ไม่แตกทําลายแล้ว ...

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่าชิวหาอันเป็นไปในภายใน ไม่แตกทําลายแล้ว ...

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่ากายอันเป็นไปในภายใน ไม่แตกทําลายแล้ว ...

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่ามนะอันเป็นไปในภายใน ไม่แตกทําลายแล้ว และธรรมารมณ์ทั้งหลายอันเป็นภายนอก ย่อมไม่ปรากฏ ทั้งความกําหนัดอันเกิดแต่มนะและ ธรรมารมณ์นั้น ก็ไม่มี ความปรากฏแห่งส่วนของวิญญาณอันเกิดแต่การกําหนัดนั้น ก็ยังมีไม่ได้ก่อน. หากว่ามนะอันเป็นไปในภายใน ไม่แตกทําลายแล้ว และธรรมารมณ์ทั้งหลายอันเป็นภายนอกย่อมปรากฏ แต่ความกําหนัดอันเกิดแต่มนะและธรรมารมณ์นั้นไม่มี ความปรากฏแห่งส่วนของวิญญาณอันเกิดแต่ความกําหนัดนั้น ก็ยังมีไม่ได้ก่อน. แต่ว่าในกาลใดแล มนะอันเป็นไปในภายในไม่แตกทําลายแล้ว และธรรมารมณ์ทั้งหลายอันเป็นภายนอกย่อมปรากฏ ทั้งความกําหนัดอันเกิดแต่มนะและธรรมารมณ์นั้นก็ย่อมมี ในกาลนั้น ความปรากฏแห่งส่วนของวิญญาณอันเกิดแต่การกําหนัดนั้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ รูปแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด รูปนั้นย่อมสงเคราะห์อุปาทานขันธ์คือรูป เวทนาแห่งสภาพที่เป็นอย่างนั้นอันใด เวทนานั้นย่อมสงเคราะห์ในอุปาทานขันธ์คือเวทนา สัญญาแห่งสภาพที่เป็นไปแล้วอย่างนั้นอันใด สัญญานั้นย่อมสงเคราะห์ในอุปาทานขันธ์คือสัญญา สังขารทั้งหลายแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นเหล่าใด สังขารเหล่านั้นย่อมสงเคราะห์ในอุปาทานขันธ์คือสังขาร วิญญาณแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด วิญญาณนั้นย่อมสงเคราะห์ในอุปาทานขันธ์คือวิญญาณ.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 528

ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า การสงเคราะห์ การประชุมพร้อม หมวดหมู่แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ย่อมมีได้ด้วยประการอย่างนี้. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ว่า ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท ดังนี้. ก็ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นเหล่านี้ ก็คือ ปัญจุปาทานขันธ์ ความพอใจ ความอาลัย ความยินดี ความหมกมุ่น ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านั้นอันใด อันนั้นชื่อว่าทุกขสมุทัย การกําจัดความกําหนัดด้วยสามารถความพอใจ การละความกําหนัดด้วยสามารถความพอใจในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้อันใด อันนั้นชื่อว่าทุกขนิโรธแล. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้แล คําสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นอันภิกษุทําให้มากแล้ว.

ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดี ภาษิตของท่านพระสารีบุตรแล้ว แล.

จบ มหาหัตถิปโทปมสูตรที่ ๘

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 529

อรรถกถามหาหัตถิปโทปมสูตร

มหาหัตถิปโทปมสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ ฟังมาแล้วอย่างนี้:-

พึงทราบวินิจฉัยในมหาหัตถิปโทปมสูตรนั้น บทว่า ชงฺคลานํ แปลว่าผู้สัญจรไปบนแผ่นดิน. บทว่า ปาณานํ ได้แก่สัตว์มีเท้าและสัตว์ไม่มีเท้า. บทว่า ปทชาตานิ แปลว่ารอยเท้าทั้งหลาย. บทว่า สโมธานํคจฺฉนฺติ ได้แก่ ถึงการรวมลงคือใส่ลง. บทว่า อคฺคมกฺขายติ แปลว่าท่านกล่าวว่า ประเสริฐ. บทว่า ยทิทํ มหนฺตตฺเตน ความว่า ท่านกล่าวว่าเลิศเพราะเป็นรอยเท้าใหญ่ อธิบายว่าไม่ใช่ใหญ่โดยคุณ. บทว่า เย เกจิ กุสลา ธมฺมา ได้แก่ กุศลธรรมไม่ว่าโลกิยะ หรือ โลกุตตระ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง. สังคหะในคําว่า สงฺคหํ คจฺฉนฺติ นี้มี ๔ อย่างคือ สชาติสังคหะ ๑ สัญชาติสังคหะ ๑ กริยาสังคหะ ๑ คณนสังคหะ ๑. บรรดาสังคหะ ๔ อย่างนั้น การรวบรวมตามชาติของตนอย่างนี้ว่า ขอกษัตริย์ทั้งปวงจงมา ขอพราหมณ์ทั้งปวงจงมาดังนี้ ชื่อว่า สชาติสังคหะ. การรวบรวมตามถิ่นแห่งคนชาติเดียวกันอย่างนี้ว่า คนชาวโกศลทั้งหมด ชาวมคธทั้งหมด ชื่อว่าสัญชาติสังคหะ. การรวบรวมโดยกิริยาอย่างที่ว่า พลรถทั้งหมด พลถือธนูทั้งหมด ชื่อว่ากิริยาสังคหะ. การรวบรวมอย่างนี้ว่า จักขายตนะ รวมเข้าในขันธ์ไหน จักขายตนะรวมเข้าในรูปขันธ์ จักขายตนะ ถึงการรวมเข้าในรูปขันธ์ไหน เมื่อถูกว่ากล่าวด้วยข้อนั้น จักขายตนะท่านก็รวมเข้ากับรูปขันธ์ ชื่อว่า คณนสังคหะ. แม้ในที่นี้ท่านก็ประสงค์คณนสังคหะนี้นี่แล.

ถามว่า ก็ในการแก้ปัญหาว่า บรรดาอริยสัจ ๔ อย่างไหนเป็นกุศล อย่างไหนเป็นอกุศล อย่างไหนเป็นอัพยากฤต ดังนี้ พระมหาเถระจําแนก

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 530

กุศลจิตแม้ที่เป็นไปในภูมิ ๔ ว่าเป็นสัจจะครึ่งหนึ่งเท่านั้น เพราะมาในพระบาลีว่าสมุทยสัจจัดเป็นอกุศล มัคคสัจจัดเป็นกุศล นิโรธสัจจัดเป็นอัพยากฤต ทุกขสัจบางคราวเป็นกุศล บางคราวเป็นอกุศล บางคราวเป็นอัพยากฤตมิใช่หรือ เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไร พระมหาเถระ จึงกล่าวว่ากุศลธรรมเหล่านี้รวมลงในอริยสัจ ๔ เล่า. แก้ว่า เพราะกุศลธรรมเหล่านั้นรวมอยู่ในสัจจะทั้งหลาย. จริงอยู่ สิกขาบท ๑๕๐ สิกขาบทที่ให้สําเร็จประโยชน์ ย่อมเป็นอธิสีลสิกขา อย่างหนึ่ง ภิกษุแม้ศึกษาอธิสีลสิกขานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ชื่อว่าศึกษาสิกขา ๓ ดังในพระบาลีนี้ว่า ยถา หิ สาธิกมิทํ ภิกฺขเว ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ อนฺวฑฺฒมาสํ อุทฺเทสํ อาคจฺฉติ ยตฺถ อตฺถกามา กุลปุตฺตา สิกฺขนฺติ ติสฺโส อิมา ภิกฺขเว สิกฺขา อธิสีลสิกฺขา อธิจิตฺตสิกฺขา อธิปญฺญาสิกฺขาติ ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ สิกขาบทที่สําเร็จประโยชน์นี้ ย่อมสวดกันทุกกึ่งเดือนที่เหล่ากุลบุตรผู้หวังประโยชน์ศึกษากันอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ เหล่านี้ คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา เพราะสิกขาบท ๑๕๐ สิกขาบทนั้น รวมอยู่ในสิกขาทั้งหลาย เปรียบเหมือนรอยเท้าของสัตว์ทั้งหลาย มีสุนัขจิ้งจอก กระต่าย และเนื้อเป็นต้น ย่อมลงในส่วน ๑ ก็ดี ย่อมลงในส่วน ๒ - ๓ - ๔ ก็ดี ชื่อว่าใน ๔ ส่วนแห่งรอยเท้าช้างเชือกหนึ่ง ย่อมรวมลงในรอยเท้าช้างทั้งนั้น ไม่พ้นจากรอยเท้าช้าง เพราะรวมอยู่ในรอยเท้าช้างนั้นเท่านั้น ฉันใดธรรมทั้งหลาย ที่นับลงในสัจ ๑ ก็ดี ๒ ก็ดี ๓ ก็ดี ๔ ก็ดี ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมนับรวมในสัจจะ ๔ ทั้งนั้น เพราะธรรมทั้งหลายรวมอยู่ในสัจจะทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวถึงกุศลธรรมแม้ที่รวมเข้าในสัจจะครึ่งว่า ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดย่อมรวมลงในอริยสัจ ๔.

คําที่ควรกล่าวในบทอุทเทสว่า ทุกฺเข อริยสจฺเจ เป็นต้น และในบทนิทเทสว่า ชาติปิ ทุกฺขา เป็นต้นทั้งหมดได้กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.แต่ในที่นี้พึงทราบเฉพาะลําดับเทศนา อย่างเดียว. เหมือนอย่างว่า ช่างสานผู้ฉลาด ได้ไม้ไผ่ที่ดีมาลํา ๑ ตัดเป็น ๑ ท่อน จาก ๔ ท่อนนั้น เว้นไว ้๓

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 531

ท่อนถือเอาแต่ท่อนเดียวจึงตัด เป็น ๕ ซีก จาก ๕ ซีกนั้น เว้นไว้ ๔ ซีก ถือเอาซีกเดียว แล้วผ่าเป็น ๕ เสี้ยว จาก ๕ เสี้ยวนั้น เว้นไว้ ๔ เสี้ยว ถือเอาเสี้ยวเดียว เกรียกเป็น ๒ คือ ส่วนท้อง ส่วนหลัง เว้น ส่วนหลังไว้ ถือเอาแต่ส่วนท้อง จากนั้น กระทําให้เป็นเครื่องสานไม้ไผ่หลากชนิด มีหีบพัดวีชนีและพัดใบตาลเป็นต้น ช่างสานนั้นไม่ถูกใครกล่าวว่าไม่ใช้งานส่วนหลังอีก ๔ ชิ้นอีก ๔ ส่วนและอีก ๓ ส่วน แต่เขาไม่อาจใช้งานในคราวเดียวกันได้ แต่จักใช้งานตามลําดับ ฉันใด ฝ่ายพระมหาเถระนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เริ่มตั้ง สุตตันตะใหญ่นี้แล้ว ตั้งมาติกาโดยอริยสัจ ๔ เหมือนช่างสานได้ไม้ไผ่ที่ดีแล้ว แบ่ง ๔ ส่วนฉะนั้น. พระเถระเว้นอริยสัจ ๓ แล้วถือเอาทุกขสัจจะอย่างเดียวจําแนก ทําให้เป็นขันธ์ ๕ ส่วน เหมือนช่างสานเว้น ๓ ส่วน ถือเอาส่วนหนึ่งแล้วทําส่วนหนึ่งนั้นให้เป็น ๕ ส่วน. แต่นั้นพระเถระเว้นอรูปขันธ์ ๔ แล้วจําแนกรูปขันธ์ และทํามหาภูตรูป ๔ ให้เป็น ๕ ส่วน คือ มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูป ๑ เปรียบเหมือนช่างสานนั้น เว้น ๔ ส่วน ถือเอาส่วนหนึ่ง แล้วผ่าเป็น ๕ เสี้ยวฉะนั้น. แต่นั้น เมื่อพระเถระเว้นอุปทายรูป และธาตุ ๓ แล้วจําแนกปฐวีธาตุอย่างเดียว แสดงเป็น ๒ ส่วน คือ อัชฌัตติกรูป รูปภายใน พาหิรรูป รูปภายนอก เปรียบเหมือนช่างสานนั้น เว้น ๔ ส่วน ถือเอาส่วนหนึ่ง แล้วผ่าเป็น ๒ ส่วนคือส่วนท้อง ๑ ส่วนหลัง ๑. เพื่อจะเว้นปฐวีธาตุภายนอก แล้วแสดงจําแนกปฐวีธาตุภายในโดยอาการ ๒๐ พระเถระจึงกล่าวคําเป็นต้นว่า กตมา จ อาวุโส อชฺฌตฺติกา ปวีธาตุ เปรียบเหมือนช่างสานเว้นส่วนหลังถือเอาส่วนท้องจึงกระทําให้เป็นเครื่องสานชนิดต่างๆ ฉะนั้น. อนึ่ง เปรียบเหมือนช่างสานใช้งานส่วนหลังอีก ๔ ชิ้น อีก ๔ ส่วน และอีก ๓ ส่วน โดยลําดับ แต่ไม่อาจใช้งานในคราวเดียวกันได้โดยประการฉะนี้ ฉันใด แม้พระเถระก็ฉันนั้น จําแนกปฐวีธาตุภายนอก และอีกธาตุ ๔ อุปาทายรูป อรูปขันธ์ ๔ อริยสัจ ๓ แล้วแสดงตามลําดับ แต่ไม่อาจแสดงโดยคราวเดียวกันได้.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 532

อีกอย่างหนึ่ง พึงบรรยาย ลําดับแม้นี้ด้วยข้ออุปมาด้วยราชบุตร ให้แจ่มแจ้ง ดังต่อไปนี้. เล่ากันมาว่า มหาราชองค์หนึ่ง มีพระราชโอรสมากกว่า ๑,๐๐๐ องค์. พระองค์ทรงเก็บเครื่องประดับของพระโอรสเหล่านั้นไว้ในหีบใหญ่ ๔ ใบ ทรงมอบไว้แก่เชษฐโอรส ด้วยตรัสสั่งว่า ลูกเอย เครื่องประดับนี้เป็นของพวกน้องของเจ้า เมื่อคราวมีมหรสพ เจ้าจงให้เครื่องประดับนี้ เพราะฉะนั้น เมื่อน้องๆ ขอจึงค่อยให้. เชษฐราชโอรสนั้น ทูลรับว่าพระเจ้าข้าจึงเก็บไว้ในห้องเก็บราชสมบัติ. ในวันมหรสพเช่นนั้น เหล่าพระราชโอรสพากันไปเฝ้าพระราชากราบทูลว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ขอได้โปรดพระราชทานเครื่องประดับแก่พวกหม่อมฉันเถิด พวกหม่อมฉันจะเล่นนักษัตร. พระราชาตรัสว่า ลูกเอย พ่อได้มอบเครื่องประดับไว้ในมือพี่ชายของพวกเจ้าแล้ว พวกเจ้าจงนําเครื่องประดับนั้นไปประดับเถิด. พระราชโอรสเหล่านั้นรับพระดํารัส แล้วพากันไปหาพระเชษฐโอรสนั้น แล้วทูลขอเครื่องประดับจากเชษฐโอรส. เชษฐโอรสได้เข้าไปในห้องหมายจะนําหีบใหญ่ ๔ ใบออกเว้นไว้ ๓ ใบ เปิดใบหนึ่ง นําหีบเล็ก ๕ ใบ ออกจากหีบใหญ่นั้น เว้นไว้ ๔ ใบ เปิดใบเดียว เมื่อนําผอบ ๕ ใบออกจากหีบเล็ก เว้นไว้ ๔ ใบ เปิดใบเดียว วางฝาไว้ข้างหนึ่ง แต่นั้นจึงนําเครื่องประดับมือเครื่องประดับเท้าต่างๆ มอบให้. เชษฐโอรส มิได้แบ่งให้จาก ๔ ผอบ หีบเล็ก ๔ ใบ หีบใหญ่ ๔ ใบ ก่อนก็จริง ถึงกระนั้น ก็ให้ตามลําดับ เพราะฉะนั้น จึงไม่อาจมอบให้คราวเดียวกันได้.

ในข้ออุปมานั้น พึงเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนมหาราช. สมจริงดังคําที่ท่านกล่าวไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระธรรมราชาอันยอดเยี่ยม ตรัสว่า ดูก่อนเสลพราหมณ์ เราก็เป็นพระราชา. พึงเห็นพระสารีบุตรเหมือนเชษฐโอรส. สมจริงดังคําที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 533

บุคคลเมื่อจะเรียกโดยชอบ พึงเรียกภิกษุรูปนั้นได้ว่า สารีบุตรว่า บุตร โอรสเกิดแต่โอษฐ์ เกิดแต่ธรรม อันธรรมนิรมิต ธรรมทายาท แต่มิใช่อามิสทายาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า บุคคลเมื่อเรียกโดยชอบ พึงเรียกภิกษุนี้นั่นแลว่า บุตร ฯลฯ มิใช่เป็นอามิสทายาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า. พึงเห็นภิกษุสงฆ์เหมือนราชโอรสมากกว่า ๑,๐๐๐ องค์. สมจริงดังคําที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ภิกษุมากกว่า ๑,๐๐๐ รูป เข้าไปเฝ้าพระสุคต ผู้แสดงธรรมปราศจากธุลี ผู้ไม่มีตัณหาชื่อว่า วานะ ผู้มีไม่ภัยแต่ที่ไหนๆ .

เวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศสัจจะ ๔ วางไว้ในมือของพระธรรมเสนาบดี เปรียบเหมือนเวลาที่พระราชาทรงเก็บเครื่องประดับของพระราชโอรสเหล่านั้นไว้ในหีบใหญ่ ๔ ใบ แล้ววางไว้ในมือของเชษฐโอรสฉะนั้น. ด้วยเหตุนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตร สมควรบอกบัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จําแนก ทําให้ตื้น ซึ่งอริยสัจจ์ ๔ โดยพิสดาร. เวลาที่ภิกษุสงฆ์มาในสมัยจวนเข้าพรรษา แล้วอาราธนาให้แสดงธรรม เปรียบเหมือนเวลาที่พระราชโอรสเหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระราชาทูลขอเครื่องประดับในวันมหรสพเช่นนั้น ได้ยินว่า ในวันจวนเข้าพรรษา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรนี้. เวลาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงส่งภิกษุทั้งหลายไปยังสํานักของพระธรรมเสนาบดี ด้วยพระดํารัสอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเสพ จงคบสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นบัณฑิต อนุเคราะห์เพื่อนสพรหมจารี เปรียบเวลาที่พระราชาตรัสว่า ลูกเอย พ่อได้มอบเครื่องประดับไว้ในมือพี่ชายพวกเจ้าแล้ว จงนํามาประดับเถิด. เวลาที่ภิกษุทั้งหลายฟังพระดํารัสของพระศาสดาแล้วเข้าไปหาพระธรรมเสนาบดีแล้วอาราธนาให้แสดงธรรม เปรียบเหมือนเวลาที่เหล่า

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 534

พระราชโอรสฟังพระดํารัสของพระราชาแล้ว ไปยังสํานักของเชษฐโอรส แล้วขอเครื่องประดับ ฉะนั้น. เวลาที่พระธรรมเสนาบดีเริ่มพระสุตตันตะนี้ แล้ววางมาติกาโดยอริยสัจ ๔ เปรียบเหมือนเวลาที่พระเชษฐโอรสเปิดห้องแล้วนําหีบ ๔ ใบวางไว้ฉะนั้น. การเว้นอริยสัจ ๓ แล้วจําแนกทุกขอริยสัจแสดงปัญจขันธ์ เปรียบเหมือนการเว้นหีบ ๓ ใบแล้ว เปิดใบเดียว นําหีบเล็ก๕ ใบ ออกจากหีบใบเดียวนั้น ฉะนั้น. การที่พระเถระเว้นอรูปขันธ์ ๔ แล้วแสดงจําแนกรูปขันธ์เดียวแสดง ๕ ส่วน โดยมหาภูตรูป ๔ และอุปายรูป ๑ เปรียบเหมือนเว้นหีบเล็ก ๔ ใบ เปิดใบเดียว แล้วนําผอบ ๕ ผอบจากหีบเล็กใบเดียวนั้น ฉะนั้น. การที่พระเถระเว้นมหาภูตรูป ๓ และอุปาทายรูป แล้วจําแนกปฐวีธาตุอย่างเดียวเว้นปฐวีธาตุภายนอกเสีย เหมือนปิดไว้ เพื่อจะแสดงปฐวีธาตุภายในที่มีอาการ ๒๐ โดยสภาวะต่างๆ จึงกล่าวคํามีอาทิว่า กตมา จาวุโส อชฺฌตฺติกา ปวีธาตุ. เปรียบเหมือนเว้นหีบ ๔ ใบ เปิดใบเดียวเว้นหีบที่ปิดไว้ข้างหนึ่งแล้ว ให้เครื่องประดับมือและเครื่องประดับเท้าเป็นต้น. พึงทราบว่าแม้พระเถระจําแนก มหาภูตรูป ๓ อุปาทายรูป อรูปขันธ์ ๔ อริยสัจ ๓ แล้ว แสดงตามลําดับในภายหลัง เหมือนราชโอรสนั้นนําผอบ ๔ ใบ หีบเล็ก๔ ใบ และหีบ ๓ ใบเหล่านั้นแล้วประทานเครื่องประดับตามลําดับในภายหลัง.

ก็คํานั้นใดท่านกล่าวไว้ว่า กตมา จาวุโส อชฺฌตฺติกา ปวีธาตุ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยในคํานั้น แม้บททั้ง ๒ ว่า อชฺฌตฺตํ ปจฺจตฺตํ นี้เป็นชื่อของธรรมชาติที่มีในตน. บทว่า กกฺขลํ แปลว่า กระด้าง. บทว่า ขริคตํ แปลว่า หยาบ. บทว่า อุปาทินฺนํ ได้แก่ไม่ใช่มีธรรมเป็นสมุฏฐานเท่านั้น. แต่เมื่อว่าโดยไม่แปลกกัน คําว่า อุปาทินฺนํ นี้ เป็นชื่อของรูปที่ตั้งอยู่ในสรีระ. จริงอยู่ รูปที่ตั้งอยู่ในสรีระ ไม่ว่าเป็นอุปาทินนรูป หรืออนุปาทินนรูป ชื่อว่า เป็นอุปาทินนรูปทั้งหมดทีเดียว โดยที่ยึดถือ จับต้อง ลูบคลําได้ คือ ผม ขน ฯลฯ อาหารใหม่ อาหารเก่า. คํานี้ท่านกําหนด

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 535

จําแนกไว้ โดยเป็นปฐวีธาตุที่เป็นภายในสําหรับกุลบุตรผู้บําเพ็ญธาตุกัมมัฏฐาน. แต่ในที่นี้คําที่ผู้ใคร่จะเริ่มมนสิการเจริญวิปัสสนายึดเอาพระอรหัตต์ควรกระทําทั้งหมด ได้กล่าวไว้พิสดารแล้ว ในวิสุทธิมรรคนั่นแล. แต่คําว่ามันสมองไม่ได้ขึ้นสู่บาลีในที่นี้. แต่มันสมองแม้นั้นนํามากําหนดโดยวรรณะและสัณฐานเป็นต้น โดยนัยที่กล่าวแล้วในวิสุทธิมรรค จึงมนสิการว่า แม้ธาตุนี้ก็ไม่มีเจตนา เป็นอัพยากฤต ว่างเปล่า เป็นของแข้น จัดเป็นปฐวีธาตุ. เหมือนกัน. บทว่า ยํ วา ปนฺมฺปิ นี้ ท่านกล่าวเพื่อกําหนดถือเอาปฐวีธาตุที่อยู่ในส่วน ๓ นอกนี้. บทว่า ยา เจว โข ปน อชฺฌตฺติกา ปวีธาตุ ความว่า ปฐวีธาตุมีประการตามที่กล่าวแล้วนี้ จัดเป็นปฐวีธาตุภายใน บทว่า ยา จ พาหิรา ความว่า ปฐวีธาตุที่มาแล้วในวิภังค์โดยนัยว่า เหล็ก โลหะ ดีบุกตะกั่ว เป็นต้น จัดเป็น ปฐวีธาตุภายนอก.

ด้วยอันดับคําเพียงเท่านี้ พระเถระ. แสดงปฐวีธาตุอันเป็นภายในโดยอาการ ๒๐ โดยสภาวะต่างๆ อย่างพิสดาร แสดงธาตุภายนอกไว้โดยสังเขป. เพราะเหตุไร. เพราะในที่ใดสัตว์ทั้งหลายมีความอาลัย ใคร่ปรารถนา กลุ้มรุม ยึดมั่น ถือมั่น รุนแรง ในที่นั้นพระพุทธเจ้าทั้งหลาย หรือเหล่าพระพุทธสาวกจะกล่าวเรื่องอย่างพิสดารเพื่อถอนอาลัยเป็นต้น ของสัตว์เหล่านั้น. อนึ่ง ในที่ใด ความอาลัยเป็นต้นของเหล่าสัตว์ไม่มีกําลัง ในที่นั้นท่านจะกล่าวโดยสังเขปเพราะไม่มีกิจที่จะต้องทํา. เหมือนอย่างว่า ชาวนาเมื่อไถนาก็หยุดโคไว้ในที่ๆ ไถติด เพราะรากไม้และตอไม้แน่นหนา คุ้ยดินขึ้น ตัดรากไม้และตอไม้ยกขึ้น ต้องกระทําความพยายามมาก ในที่ใดไม่มีรากไม้และตอ ก็ไม่ต้องพยายามมากในที่นั้น คงตีหลังโคไถต่อไปฉันใด คําอุปไมยนี้ก็พึงทราบฉันนั้น.

บทว่า ปวีธาตุเรเวสา ความว่า ก็ธาตุทั้ง ๒ อย่างนี้ มีลักษณะอย่างเดียวกัน ด้วยอรรถว่า แข็ง กระด้าง และหยาบ แม้นี้ก็จัดเป็น ปฐวีธาตุ.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 536

ท่านแสดงประกอบไว้ภายในและภายนอก. ก็เพราะเหตุที่ปฐวีธาตุภายนอกปรากฏว่าไม่มีเจตนา ปฐวีธาตุภายในหาปรากฎเช่นนั้นไม่ เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรกําหนดว่า ปฐวีธาตุภายในนั้น เป็นเช่นเดียวกันกับปฐวีธาตุภายนอกไม่มีเจตนาเหมือนกัน จึงกําหนดได้สะดวก. เปรียบเหมือนอะไร. เปรียบเหมือนโคที่ไม่ได้ฝึกเทียมกับโคที่ฝึกแล้ว ย่อมตะเกียกตะกายดิ้นรน ๒ - ๓ วันเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ไม่นานนักก็ฝึกหัดได้ ฉันใด พระโยคาวจรกําหนดว่า แม้ปฐวีธาตุภายใน ก็เช่นเดียวกันกับปฐวีธาตุภายนอก ปฐวีธาตุก็จะปรากฏ ไม่มีเจตนาได้ใน ๒ - ๓ วันเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ไม่นานนักปฐวีธาตุภายในนั้น ก็ปรากฏว่าไม่มีเจตนาฉันนั้น. บทว่า ตํ เนตํ มม ความว่า ธาตุทั้ง ๒ อันบัณฑิตพึงเห็นด้วยปัญญาอันถูกต้องตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่เป็นนั้น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา. บทว่า ยถาภูตํ แปลว่า ตามสภาพเป็นจริง. อธิบายว่า จริงอยู่ ธาตุทั้ง ๒ นั้นมีสภาวะไม่เที่ยงเป็นต้น เพราะฉะนั้น พึงเห็นอย่างนี้ว่า อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา. บทว่า โหติ โข โส อาวุโส ความว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงปรารภไว้. เพราะเพื่อจะแสดงความพินาศแห่งปฐวีธาตุภายนอกโดยอํานาจอาโปธาตุภายนอก แล้วแสดงความพินาศแห่งปฐวีธาตุ ที่ตั้งอยู่ในร่างกาย ซึ่งเป็นอุปาทินนรูปพิเศษกว่านั้น. บทว่า ปกุปฺปติ ความว่า กําเริบเสิบสานด้วยอํานาจ ความย่อยยับด้วยน้ำ. บทว่า อนฺตรหิตา ตสฺมิํ สมเย พาหิรา ปวีธาตุ โหติ ความว่า สมัยนั้นปฐวีธาตุละลายด้วยน้ำด่างในแสนโกฏิจักรวาล ไหลตามน้ำไปตั้งแต่ภูเขาเป็นต้นทั้งหมดก็อันตรธานไป ละลายเป็นน้ำอย่างเดียว. บทว่า ตาว มหลฺลิกาย แปลว่า ใหญ่เพียงนั้น. ที่ชื่อว่าใหญ่ เพราะมีความหนาอย่างนี้ คือ

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 537

เทฺว จ สตสหสฺสานิ จตฺตาริ นหุตานิ จ เอตฺตกํ พหลตฺเตน สงฺขาตายํ วสุนฺธรา

แผ่นดินใหญ่นี้ ว่าโดยส่วนหนาประมาณถึงสองแสนสี่หมื่นโยชน์

แต่เมื่อว่าโดยส่วนกว้างมีประมาณแสนโกฏิจักรวาล ด้วยประการฉะนี้. บทว่า อนิจฺจตา แปลว่า มีแล้วก็ไม่มี. บทว่า ขยธมฺมตา แปลว่า มีความสิ้นไปเป็นสภาวะ. บทว่า วยธมฺมตา แปลว่า มีความเสื่อมไปเป็นสภาวะ. บทว่า วิปริณามธมฺมตา แปลว่า มีการละปกติเป็นสภาวะ. ท่านกล่าวถึงอนิจจลักษณะอย่างเดียว ไว้ทุกบทด้วยประการฉะนี้. ก็ลักษณะทั้ง ๓ ย่อมมาตามพระบาลีว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา บทว่า มตฺตฏฺกสฺส แปลว่า ตั้งอยู่ชั่วระยะกาลนิดหน่อย. ในบทนั้น พึงทราบว่ากายนี้ ดํารงอยู่ชั่วระยะกาลเล็กน้อย โดยอาการ ๒ คือตั้งอยู่นิดหน่อยและมีกิจนิดหน่อย. จริงอยู่ กายนี้ท่านกล่าวว่า ในขณะจิตที่เป็นอดีต เป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่กําลังเป็นอยู่ ไม่ใช่จักเป็นอยู่ ในขณะจิตที่เป็นอนาคต จักเป็นอยู่ไม่ใช่กําลังเป็นอยู่ ไม่ใช่เป็นอยู่แล้ว ในขณะจิตที่เป็นปัจจุบัน กําลังเป็นอยู่ ไม่ใช่เป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่จักเป็นอยู่. เพื่อแสดงว่ากายนี้นี่แลตั้งอยู่นิดหน่อยท่านจึงกล่าวคํานี้ว่า

ชีวิตํ อตฺตภาโว จ สุขทุกฺขา จ เกวลา เอกจิตฺตสมายุตฺตา ลหุโส วตฺตเต ขโณ

ชีวิต อัตภาพและสุขทุกข์ทั้งมวลล้วนประกอบด้วยจิตดวงเดียว ขณะย่อมเป็นไปฉับพลัน.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 538

พึงทราบว่า กายนี้ ตั้งอยู่ชั่วระยะกาลเล็กน้อย เพราะตั้งอยู่ชั่วระยะกาลนิดหน่อย อย่างนี้. อนึ่ง พึงทราบว่า กายนั้น มีกิจนิดหน่อย เพราะเนื่องด้วยลมอัสสาปัสสาสะเป็นต้น. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายมีชีวิต เนื่องด้วยลมอัสสาสะ เนื่องด้วยลมปัสสาสะ เนื่องด้วยลมทั้งอัสสาสะทั้งปัสสาสะ เนื่องด้วยมหาภูตรูป เนื่องด้วยกวฬิงการาหาร เนื่องด้วยวิญญาณ ทั้งนี้กล่าวไว้พิสดารแล้วในวิสุทธิมรรค.

บทว่า เอตํ ตณฺหูปาทินฺนสฺส แปลว่าถูกตัณหายึดถือ ลูบคลํา. บทว่า อหนฺติ วา มมนฺติ วา อสฺมีติ วา อถขฺวสฺส โนเตเวตฺถ โหติ ความว่าครั้งนั้นแล ภิกษุนั้น ยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์พิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีคาหะคือ ตัณหา มานะและทิฏฐิ ๓ อย่าง ในปฐวีธาตุภายในนี้ว่า นี่เป็นเราเป็นต้นอธิบายว่า ไม่มีเลย. ปฐวีธาตุภายนอก ย่อมอันตรธานไปด้วยอํานาจเตโชธาตุ วาโยธาตุ. เหมือนอันตรธานไปด้วยอํานาจอาโปธาตุ ฉะนั้น. แต่ในที่นี้ มาอย่างเดียวเท่านั้น. แม้นอกนี้ก็พึงทราบโดยความหมายเหมือนกัน. ในคําว่า ตฺเจ อาวุโส นี้ พระเถระเมื่อเริ่มทําการกําหนดอารมณ์ในโสตทวารของภิกษุผู้บําเพ็ญธาตุกัมมัฏฐานนั้น จึงแสดงกําลัง. บทว่า อกฺโกสนฺติ ได้แก่ด่าด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐. บทว่า ปริภาสนฺติ ได้แก่ ข่มด้วยวาจาว่า ท่านทําเช่นนี้ๆ เราจะลงโทษท่านอย่างนี้ๆ. บทว่า โรเสนฺติ แปลว่า ย่อมเสียดสี. บทว่า วิเหเสนฺติ แปลว่า ย่อมทําให้ลําบาก. ท่านกล่าวเฉพาะการเสียดสีด้วยวาจาไว้ทั้งหมด. บทว่า โส เอวํ ความว่า ภิกษุผู้บําเพ็ญธาตุกัมมัฏฐานนั้น ย่อมรู้อย่างนี้. บทว่า อุปฺปนฺนา โข เม อยํ ความว่า เกิดขึ้นเพราะธาตุ ๔ ที่เกิดเป็นไปในปัจจุบันและ เกิดขึ้นเพราะความกําเริบเสิบสาน. บทว่า โสตสมฺผสฺสชา ความว่า เวทนาที่แล่นไปทางโสตทวารเกิดจากโสตสัมผัส ด้วยอํานาจอุปนิสัย. ด้วยบทว่า ผสฺโส อนิจฺโจ ท่านแสดงว่าโสตสัมผัส ชื่อว่า ไม่เที่ยงเพราะอรรถว่ามีแล้วก็ไม่มี. แม้เวทนาเป็นต้น พึง

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 539

เข้าใจว่า สัมปยุตด้วยโสตสัมผัสอย่างเดียว. บทว่า ธาตารมฺมณเมว ได้แก่ อารมณ์ กล่าวคือธาตุนั่นเอง. บทว่า ปกฺขนฺทติ ได้แก่ หยั่งลง. บทว่า ปสีทติ ได้แก่ ผ่องใสในอารมณ์. อีกอย่างหนึ่ง คํานั่น เป็นสัตตมีวิภัติอย่างเดียว. เมื่อว่าด้วยอํานาจพยัญชนสนธิ ท่านกล่าวว่า ธาตารมฺมณเมว ในคํานี้มีเนื้อความดังนี้ว่า ธาตารมฺมเณเยว ในอารมณ์ คือธาตุ. เมื่อว่าด้วยอํานาจธาตุ คําว่า วิมุจฺจติ นี้ย่อมได้แก่อธิโมกข์ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย. ความจริง ภิกษุผู้บําเพ็ญธาตุกัมมัฏฐานนี้ เมื่ออารมณ์มาปรากฏในโสตทวารย่อมกําหนดว่า เป็นมูล เป็นอารมณ์ที่ควรกําหนดรู้ เป็นอารมณ์ที่จรมา เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นชั่วขณะ. เรื่องพิสดารของอารมณ์นั้น กล่าวไว้แล้วในสติสัมปชัญญบรรพ ในสติปัฏฐานสูตร. แต่เวทนานั้น กล่าวไว้แล้ว ในสติปัฏฐานสูตรนั้นด้วยอํานาจจักขุทวาร. ในที่นี้พึงทราบ ด้วยอํานาจโสตทวาร.

จริงอยู่ ภิกษุบําเพ็ญธาตุกัมมัฏฐาน ผู้ทําการกําหนดอย่างนี้แล้วเจริญวิปัสสนาอย่างแรง แม้เมื่ออารมณ์มาปรากฏในจักขุทวารเป็นต้น ย่อมเกิดอาวัชชนจิต โวฏฐัพพนจิต โดยอุบายไม่แยบคาย ถึงโวฏฐัพพนจิตแล้ว ได้อาเสวนจิต ครั้งหนึ่งหรือสองครั้ง จิตก็หยั่งลงสู่ภวังค์เหมือนเดิม ก็ไม่เกิดด้วยอํานาจราคะ เป็นต้น ภิกษุนี้ ชื่อว่า ถึงที่สุดวิปัสสนากล้าแข็ง. ภิกษุรูปหนึ่งเกิดชวนจิตครั้งเดียว ด้วยอํานาจราคะเป็นต้น แต่ในที่สุดชวนจิต เธอนึกด้วยอํานาจราคะเป็นต้นว่า ชวนจิตเกิดแก่เรา ชื่อว่ากําหนดอารมณ์ได้แล้ว ไม่เกิดเช่นนั้นอีกครั้ง. ภิกษุอีกรูปหนึ่งนึกถึงครั้งเดียวก็เกิดชวนจิตด้วยอํานาจราคะเป็นต้น เป็นครั้งที่ ๒ อีก และเมื่อจบครั้งที่ ๒ เมื่อนึกว่าชวนจิตเกิดแก่เราแล้วอย่างนี้เป็นอันกําหนดอารมณ์เหมือนกัน. ในครั้งที่ ๓ ก็ไม่เกิดอย่างนั้น. ก็บรรดาภิกษุ ๓ รูปนั้น รูปที่ ๑ กล้าแข็ง รูปที่ ๓ อ่อนแอ. แต่ว่าด้วยอํานาจ

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 540

รูปที่ ๒ พึงทราบเนื้อความนี้ในพระสูตรนี้ มีนกไส้เป็นเครื่องเปรียบโดยภาวะเป็นอินทรีย์นั้นเอง.

พระเถระครั้นแสดงกําลังของภิกษุผู้บําเพ็ญธาตุกัมมัฏฐานด้วยอํานาจกําหนดในโสตทวารอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงในกายทวาร จึงกล่าวคําว่า ตฺเจ อาวุโส เป็นต้น. จริงอยู่ ภิกษุผู้ถึงอนิฏฐารมณ์ ย่อมลําบากในทวารทั้ง ๒ คือ โสตทวาร และกายทวาร เพราะฉะนั้น พระมหาเถระคิดว่า ในอนาคตกาล กุลบุตร ผู้ต้องการศึกษาบําเพ็ญเพียร ถึงความสํารวมในทวารทั้ง ๒ เหล่านี้ จักทําที่สุดแห่งชาติชรามรณะได้ฉับพลันทีเดียว เปรียบเหมือนบุรุษเจ้าของนา ถือจอบเที่ยวเดินสํารวจนาไม่เสริมก้อนดินในที่ใดที่หนึ่ง เอาจอบฟันดินเฉพาะในที่บกพร่อง เพิ่มดินในที่มีหญ้า ฉะนั้น เมื่อจะแสดงการสํารวมในทวารทั้ง ๒ เหล่านี้แล ให้มั่นคง จึงเริ่มเทศนานี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมุทาจรนฺติ ได้แก่พยายาม. บทว่า ปาณิสมฺผสฺเสน ได้แก่ประหารด้วยฝ่ามือ. แม้ในคํานอกนี้ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.บทว่า ตถาภูโต แปลว่ามีสภาวะอย่างนั้น. บทว่า ยถาภูตสฺมิํ แปลว่าตามสภาวะ. บทว่า กมนฺติ แปลว่า เป็นไป. พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า เอวํ พุทฺธํ อนุสฺสรโต เป็นต้น ภิกษุผู้บําเพ็ญจตุธาตุกัมมัฏฐานเมื่อนึกถึงอยู่โดยนัยเป็นต้นว่า อิติปิ โส ภควา ชื่อว่าระลึกถึงพระพุทธเจ้าคือเมื่อระลึกว่า คํานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วเหมือนกัน ก็ชื่อว่าระลึกเหมือนกัน. แม้เมื่อระลึกอยู่โดยนัยมีอาทิว่า สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม ชื่อว่าระลึกถึงพระธรรม แม้ระลึกถึงกกจูปโมวาทสูตร ก็ชื่อว่าระลึกถึงเหมือนกัน. แม้ระลึกถึงโดยนัยเป็นต้นว่า สุปฏิปนฺโน ชื่อว่าระลึกถึงพระสงฆ์ แม้ระลึกถึงคุณของภิกษุผู้อดกลั้นการตัดด้วยเลื่อย ก็ชื่อว่าระลึกถึงเหมือนกัน. ในคําว่า อุเปกฺขา กุสลนิสฺสิตา สณฺาติ นี้ ท่านประสงค์เอาวิปัสสนุเบกขา. ในคําว่า อุเปกฺขา

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 541

กุสลนิสฺสิตา สณฺาติ นี้ ท่านประสงค์ฉฬังคุเบกขาอุเบกขามีองค์ ๖. ก็ฉฬังคุเบกขา นี้นั้นเป็นไปด้วยอํานาจความไม่ยินดีเป็นต้น ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ของพระขีณาสพก็จริง ถึงอย่างนั้น ภิกษุนี้ ตั้งวิปัสสนาของตนด้วยความสําเร็จแห่งภาวนาตามกําลังความเพียร ในฐานของฉฬังคุเบกขาของพระขีณาสพ เพราะฉะนั้น วิปัสสนาแล จึงชื่อว่า ฉฬังคุเบกขา.

พึงทราบวินิจฉัยในอาโปธาตุนิเทศ ดังต่อไปนี้ บทว่า อาโปคตํ ได้แก่ สิ่งที่อุปาทินนรูปซึมซาบอยู่ในอาโปธาตุทั้งหมด มีลักษณะเป็นน้ำเยื่อสด. ก็คําที่พึงกล่าว ในคําว่า ปิตฺตํ เสมฺหํ เป็นต้น ทั้งหมดพร้อมทั้งนัยแห่งภาวนาได้กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค. บทว่า ปกุปฺปติ ได้แก่ ไหลไปโดยเป็นโอฆะหรือล้นจากสมุทรไหลไปๆ. มันมีความกําเริบเป็นปกติดังนี้. ก็เมื่อเวลาที่โลกประลัยไปด้วยอาโปธาตุ แสนโกฏิจักรวาลเต็มไปด้วยน้ำทีเดียว. บทว่า โอคฺคจฺฉนฺติ ความว่า ไหลไปภายใต้ ถึงความสิ้นพินาศไป เหมือนน้ำที่ยกขึ้นบนเตาไฟ ฉะนั้น. คําที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล.

พึงทราบวินิจฉัย ในเตโชธาตุนิทเทส ดังต่อไปนี้ บทว่า เตโชคตํ ได้แก่สิ่งที่เป็นอุปาทินนรูปทั้งหมด ที่อยู่ในเตโชธาตุทั้งหมด มีลักษณะร้อน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เตโชคตํ เพราะอยู่ในภาวะที่ร้อนคือ เตโชธาตุ. ในอาโปธาตุ เบื้องต้นก็ดี ในวาโปธาตุ เบื้องหลังก็ดี ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า เยน จ ได้แก่ ด้วยเตโชธาตุอันใด เมื่อมันกําเริบ กายนี้ก็ร้อนเกิดไออุ่นโดยภาวะที่คร่ําคร่าไปชั่ววันหนึ่งเป็นต้น. บทว่า เยน จ ชิริยติ ได้แก่กายนี้ย่อมทรุดโทรมด้วยเตโชธาตุใด บุคคล ก็มีอินทรีย์บกพร่อง หมดกําลัง หนังเหี่ยว ผมหงอกเป็นต้น ด้วยเตโชธาตุนั้น. บทว่า เยน จ ปริฑยฺหติ ความว่า กายนี้ย่อมร้อนด้วยเตโชธาตุใดอันกําเริบแล้ว บุคคลนั้นร้องบ่นว่าร้อนร้อน ย่อมหวังการลูบไล้ด้วยเนยใสจันทน์เทศและจันทร์แดงผสมเนยใสร้อย

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 542

ครั้ง และลมเกิดจากพัดใบตาล. บทว่า เยน จ อสิตํ ปีตํ ขายิตํ สายิตํ สมฺมาปริณามํ คจฺฉติ ความว่า ข้าวเป็นต้นที่กินก็ดี น้ำดื่มเป็นต้นที่ดื่มแล้วก็ดี แป้งและของเคี้ยวเป็นต้นที่เคี้ยวแล้วก็ดี มะม่วงสุกน้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้นที่ลิ้มแล้วก็ดี ย่อมสุกโดยชอบคือย่อมเปลี่ยนเป็นรสเป็นต้นนั้นเอง. ในข้อนี้มีความสังเขปดังนี้. แต่คําที่จะพึงกล่าวโดยพิสดาร ทั้งหมดพร้อมด้วยภาวนานัยได้กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค. บทว่า หริตนฺตํ ได้แก่ ของเขียวสดนั้นเองอธิบายว่า เตโชธาตุ อาศัยหญ้าสดเป็นต้นก็ดับ. บทว่า ปนฺถนฺตํ ได้แก่ทางใหญ่นั้นเอง. บทว่า เสลนฺตํ ได้แก่ภูเขา. บทว่า อุทกนฺตํ ได้แก่น้ำ. บทว่า รมณียํ วา ภูมิภาคํ ได้แก่ ภูมิภาคปราศหญ้าและพุ่มไม้เป็นต้น ที่ว่างได้แก่ ภูมิภาคที่โล่ง. บทว่า อนาหารา ได้แก่ ไม่มีอาหารคือไม่มีเชื้อ. ท่านกล่าวความวิการแห่งเตโชธาตุตามปกติไว้ดังนี้. ก็เมื่อเวลาที่โลกพินาศด้วยเตโชธาตุ เตโชธาตุก็ไหม้แสนโกฏิจักรวาล แม้เพียงขี้เถ้าก็ไม่เหลืออยู่. บทว่า นหารุททฺทลฺเลน ได้แก่ ด้วยเศษของหนัง. บทว่า อคฺคิํ คเวสนฺติ ความว่า คนทั้งหลายถือเอาเชื้อละเอียดเห็นปานนี้แสวงหาไฟ มันได้ไออุ่นเพียงเล็กน้อยก็โพลงขึ้น. คําที่เหลือแม้ในที่นี้ พึงทราบโดยนัยก่อนแล.

พึงทราบวินิจฉัยในวาโยธาตุนิทเทสดังต่อไปนี้ บทว่า อุทฺธงฺคมาวาตา ได้แก่ ลมที่พัดขึ้นเบื้องบนอันเป็นไปโดยอาการมีการเรอและสะอึกเป็นต้น. บทว่า อโธคมา วาตา ได้แก่ ลมพัดลงเบื้องต่ํา มีการขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะเป็นต้น. บทว่า กุจฺฉิยา วาตา ได้แก่ ลมที่พัดออกนอกลําใส้ใหญ่เป็นต้น. บทว่า โกฏฺาสยา วาตา ได้แก่ ลมภายในลําไส้ใหญ่. บทว่า องฺคมงฺคานุสาริโน ได้แก่ ลมที่เกิดจากการคู้เข้าเหยียดออกเป็นต้น ที่ซ่านไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ในร่างกายทั้งสิ้นตามแนวเส้นเอ็น. บทว่า อสฺสาโส ได้แก่ลมหายใจเข้า. บทว่า ปสฺสาโส ได้แก่ลมหายใจออก. ในข้อนี้มี

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 543

ความย่อเท่านี้. แต่เมื่อว่าโดยพิสดาร คําที่จะพึงกล่าวนั้นทั้งหมดพร้อมทั้งภาวนานัย ได้กล่าวไว้แล้ว ในวิสุทธิมรรค. บทว่า คามมฺปิ วหติ ได้แก่ พัดพาบ้านทั้งสิ้นให้แหลกละเอียดไป. แม้ในนิคมเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. เมื่อคราวโลกย่อยยับด้วยลมนี้ ท่านแสดงการเปลี่ยนแปลงแห่งวาโยธาตุ ด้วยอํานาจการกําจัดแสนโกฏิจักรวาล. บทว่า วิธูปเนน ได้แก่ พัดพาไฟไป. บทว่า โอสฺสวเน ได้แก่ชายคา ก็น้ำไหลลงตามชายคานั้น เพราะฉะนั้น ท่านเรียกชายคานั้นว่า โอสสวนะ. คําที่เหลือแม้ในที่นี้ พึงประกอบโดยนัยก่อนนั่นแล.

ในคําว่า เสยฺยถาปิ อาวุโส นี้ท่านแสดงถึงอะไร. ท่านแสดงถึงมหาภูตรูปที่กล่าวไว้แล้วแต่หนหลังว่ามิใช่สัตว์. บทว่า กฏฺํ ได้แก่ ทัพพสัมภาระ. บทว่า วลฺลิํ ได้แก่ เถาวัลย์สําหรับผูก. บทว่า ติณํ ได้แก่ หญ้าสําหรับมุง. บทว่า มตฺติกํ ได้แก่ ดินสําหรับฉาบทา. บทว่า อากาโส ปริวาริโต ความว่า โอกาสช่องว่างที่อยู่ล้อมไม้เป็นต้นเหล่านั้นภายในภายนอก. บทว่า อคารํ ในคําว่า อคารํเตฺวว สงฺขํ คจฺฉติ เป็นเพียงบัญญัติ. แต่เมื่อไม้เป็นต้นแยกออกเป็นกองๆ กองไม้ท่านเรียกว่า กฏฺราสิ วลฺลิราสิ ทั้งนั้น. บทว่า เอวเมวโข ความว่า โอกาสที่อยู่ล้อมกระดูกเป็นต้นทั้งภายในภายนอก อาศัยกระดูกเป็นต้นเหล่านั้นจึงนับว่า รูปทั้งนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.

เรือนที่อาศัยไม้เป็นต้น ชื่อว่า เคหะ ท่านเรียกว่า ขัตติยเคหะ พราหมณเคหะ ฉันใด แม้รูปก็ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านเรียกว่า ขัตติยสรีระ พราหมณสรีระ. แท้จริงในที่นี้สภาวะไรๆ ที่ชื่อว่าสัตว์หรือชีวะ หามีไม่.

ถามว่า คําว่า อชฺฌตฺติกฺเจ อาวุโส จกฺขุ นี้ ท่านเริ่มไว้เพราะเหตุไร. ตอบว่า อุปาทายรูป อรูปขันธ์ ๔ และ อริยสัจ ๓ ท่านมิได้กล่าวไว้

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 544

ข้างต้น บัดนี้ เพื่อจะกล่าวอุปาทายรูปเป็นต้นเหล่านั้น ท่านจึงเริ่มเทศนานี้ไว้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จกฺขุ อปริภินฺนํ ได้แก่ เมื่อจักขุประสาทดับไปก็ดี ถูกอารมณ์ภายนอกมาขัดขวางก็ดี ถูกดี เสลด และเลือดพัวพันก็ดี จักขุประสาทไม่อาจเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณได้ เป็นเพียงชื่อว่าแตกไปเท่านั้น แต่สามารถเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ชื่อว่า อปริภินนะ คือไม่แตกไป. บทว่า พาหิรา จ รูปา ได้แก่รูปที่มีสมุฏฐาน ๔ ภายนอก. บทว่า ตชฺโช สมนฺนาหาโร ได้แก่ อาศัยจักขุนั้นและรูป คํานึงถึงภวังค์แล้วเกิดมนสิการ อธิบายว่า กิริยมโนธาตุจิตในจักขุทวาร สามารถคํานึงถึงภวังค์ กิริยมโนธาตุจิตนั้นไม่มีแม้แก่ผู้ที่ส่งใจไปในที่อื่น เพราะรูปารมณ์ไม่ปรากฏ. บทว่า ตชฺชสฺส ได้แก่สมควรแก่จิตนั้น. บทว่า วิฺาณภาคสฺส ได้แก่ ส่วนแห่งวิญญาณ. ท่านแสดงสัจจะ ๔ โดยอาการ ๑๒ ในคําว่า ยถาภูตสฺส เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตถาภูตสฺส ความว่า เกิดพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ คือพรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ. บทว่า รูปํ ความว่า รูปที่มีสมุฏฐาน ๓ ย่อมได้ในขณะจักขุวิญญาณ เพราะจักขุวิญญาณเป็นตัวทําให้รูปเกิด แม้รูปที่มีสมุฏฐาน ๔ ย่อมได้ในขณะจิตต่อจากนั้น. บทว่า สงฺคหํ คจฺฉติ แปลว่า ถึงการนับ. เจตสิกธรรมมีเวทนาเป็นต้น ก็สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณเหมือนกัน. วิญญาณ ก็คือจักขุวิญญาณนั่นเอง. ท่านกล่าวเจตนาว่าสังขาร ไว้ในคํานี้. บทว่า สงฺคโห แปลว่า รวมกัน. บทว่า สนฺนิปาโต แปลว่า มาพร้อมกัน. บทว่า สมวาโย ได้แก่กอง. บทว่า โย ปฏิจฺจสมุปฺปาทํ ปสฺสติ ได้แก่ ผู้ใดเห็นปัจจัยทั้งหลาย. บทว่า โส ธมฺมํ ปสฺสติ ได้แก่ผู้นั้น ชื่อว่า เห็นปฏิจจสมุปปันนธรรม. คําทั้งปวงมีฉันทะเป็นต้น เป็นไวพจน์ของตัณหานั่นเอง. จริงอยู่ ตัณหาท่านเรียกว่าฉันทะ เพราะทําความพอใจ เรียกว่าอาลัย เพราะทําความเยื่อใย เรียกว่า อนุนยะ เพราะทําความ

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 545

ยินดี เรียกว่า อัชโฌสานะ เพราะใส่ลงกลืนเก็บไว้. คําว่า ฉนฺทราควินโย ฉนฺทราคปฺปหานํ เป็นชื่อของพระนิพพานทั้งนั้น. ในพระบาลี มา ๓ สัจจะเท่านั้น ควรนํามรรคสัจมารวมไว้ด้วย ด้วยประการฉะนี้. ในฐานะ ๓ เหล่านี้ ทิฏฐิ สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ วายามะ สติ สมาธิ ภาวนาปฏิเวธ นี้ ชื่อว่ามรรค. บทว่า พหุกตํ โหติ ความว่า ด้วยแม้อธิบายเพียงเท่านี้ ก็เป็นอันทําตามคําสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันมาก. แม้ในวาระมีอาทิว่า อชฺฌตฺติกํ เจ อาวุโส โสตํ ก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วนในมโนทวารภวังคจิต ชื่อว่า ใจภายใน ภวังคจิตนั้น แม้ดับไปแล้ว ไม่สามารถเป็นปัจจัยของอาวัชชนจิตได้ ภวังคจิตที่มีกําลังอ่อนแม้เป็นไปอยู่ ก็ชื่อว่าแตกแล้ว ที่สามารถเป็นปัจจัยของอาวัชชนจิต ชื่อว่า ไม่แตก. คําว่า พาหิรา จ ธมฺมา ฯเปฯ เนว ตาว ตชฺชสฺส นี้ ท่านกล่าวไว้โดยสมัยภวังคจิตเท่านั้น. ในวาระที่ ๒ ท่านกล่าวหมายเอาภิกษุผู้ส่งใจไปในที่อื่น โดยพิจารณาฌานที่ช่ําชอง ใส่ใจกัมมัฏฐานที่คล่องแคล่ว หรือท่องบ่นพุทธพจน์ที่ชํานาญเป็นต้น. รูปแม้มีสมุฏฐาน ๔ ก็ได้ชื่อว่า รูป ในวาระนี้. เพราะนโนวิญญาณ ย่อมให้รูปเกิดขึ้น. เจตสิกธรรมมีเวทนาเป็นต้น ก็สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณ. วิญญาณก็คือมโนวิญญาณนั่นเอง. แต่ในที่นี้ สังขารทั้งหลายท่านถือด้วยผัสสเจตนาเหมือนกัน. คําที่เหลือ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล.

ดังนั้น พระมหาเถระเมื่อพิจารณาเฉพาะเอกเทศในหนหลัง จึงเอามาตั้งไว้ในที่นี้ แล้วแยกแสดงเทศนาที่ไม่สมบูรณ์ทั้งหมดในหนหลังไว้ด้วยอํานาจทวาร จบพระสูตรลง ตามลําดับอนุสนธิแล.

จบ อรรถกถามหาหัตถิปโทปมสูตร ที่ ๘