๑๐. จูฬสาโรปมสูตร
[เล่มที่ 18] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 558
๑๐. จูฬสาโรปมสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 18]
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 558
๑๐. จูฬสาโรปมสูตร
[๓๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อปิงคลโกจฉะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม สมณพราหมณ์พวกนี้ เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์มีชื่อเสียง มียศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมาก สมมติว่าเป็นคนดีคือ ปูรณกัสสป มักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะ สัญชัยเวลัฏฐบุตร นิครนถ์นาฏบุตร พวกนั้นทั้งหมดรู้ยิ่งตามปฏิญญาของตนๆ หรือทุกคนไม่รู้ยิ่งเลย หรือว่าบางพวกรู้ยิ่งบางพวกไม่รู้ยิ่ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อย่าเลย พราหมณ์ ข้อที่ว่าพวกนั้นทั้งหมดรู้ยิ่ง ตามปฏิญญาของตนๆ หรือทุกคนไม่รู้ยิ่งเลย หรือว่าบางพวกรู้ยิ่งบางพวกไม่รู้ยิ่งนั้น จงงดไว้เถิด เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงฟังธรรมนั้น จงกระทําไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว. ปิงคลโกจฉพราหมณ์ทูลรับพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
ว่าด้วยอุปมาผู้ต้องการแก่นไม้
[๓๕๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือก ละเลยสะเก็ดไปเสีย ตัดเอากิ่งและใบถือไป สําคัญว่าแก่น บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 559
แล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือก ละเลยสะเก็ดไปเสีย ตัดเอากิ่งและใบถือไป สําคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทําด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สําเร็จประโยชน์แก่เขา. หรืออีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือกไปเสีย ถากเอาสะเก็ดถือไป สําคัญว่าแก่น บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือกไปเสีย ถากเอาสะเก็ดถือไป สําคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทําด้วยไม้แก่นของเขาจักไม่สําเร็จประโยชน์แก่เขา. หรืออีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ไปเสีย ถากเอาเปลือกถือไป สําคัญว่าแก่น บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม้รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ไปเสีย ถากเอาเปลือกถือไป สําคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทําด้วยไม้แก่นของเขาจักไม่สําเร็จประโยชน์แก่เขา. หรืออีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 560
ตั้งอยู่ ละเลยแก่นไปเสีย ถากเอากระพี้ถือไป สําคัญว่าแก่น บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่นไปเสีย ถากเอากระพี้ถือไป สําคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทําด้วยไม้แก่นของเขาจักไม่สําเร็จประโยชน์แก่เขา. หรืออีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ตัดเอาแก่นนั้นแหละถือไป รู้อยู่ว่าแก่น บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้รู้จักแก่น รู้จักกระพี้ รู้จักเปลือก รู้จักสะเก็ด รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้มีความต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ตัดเอาแก่นนั่นแหละถือไป รู้อยู่ว่าแก่น และกิจที่จะพึงทําด้วยไม้แก่นของเขา จักสําเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด.
ว่าด้วยบุคคลที่ ๑
[๓๕๕] ดูก่อนพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชด้วยศรัทธา ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส ครอบงําแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทําที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขามีความยินดี มีความดําริเต็มเปียม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น. เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีลาภสักการะและความสรรเสริญ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ไม่ปรากฏ [หรือมีคนรู้จักน้อย] มีศักดาน้อย. อนึ่ง เขาไม่ยังฉันทะให้เกิด ไม่พยายาม เพื่อทําให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่าและประณีตกว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 561
ลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อน ท้อถอย. เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้นที่มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือก ละเลยสะเก็ดไปเสีย ตัดเอากิ่งและใบถือไป สําคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทําด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สําเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด ดูก่อนพราหมณ์ เราเรียกบุคคลนี้ว่ามีอุปมาฉันนั้น.
ว่าด้วยบุคคลที่ ๒
[๓๕๖] ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชด้วยศรัทธา ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสครอบงําแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทําที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดําริยังไม่เต็มเปียม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น. เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทําให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่าและประณีตกว่าลาภสักการะและความสรรเสริญ ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย. เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สําเร็จ. เขามีความยินดี มีความดําริเต็มเปียมแล้วด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น. เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีศีลมีกัลยาณธรรม ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ เป็นผ้ทุศีลมีบาปธรรม. อนึ่ง เขาไม่ยังฉันทะให้เกิด ไม่พยายามเพื่อทําให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่าความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อน ท้อถอย. เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้นที่มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือกไปเสีย ถากเอาสะเก็ดถือไป สําคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทําด้วยไม้แก่นของเขา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 562
จักไม่สําเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด ดูก่อนพราหมณ์ เราเรียกบุคคลนี้ว่ามีอุปมาฉันนั้น.
ว่าด้วยบุคคลที่ ๓
[๓๕๗] ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทําที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภลักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดําริยังไม่เต็มเปียม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะความสรรเสริญอันนั้น อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทําให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่าและประณีตกว่าลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สําเร็จ เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดําริยังไม่เต็มเปียม เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น อนึ่งเขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทําให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่าและประณีตกว่าความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อนไม่ท้อถอย เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สําเร็จ เขามีความยินดี มีความดําริเต็มเปียม ด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิดแล้ว เขาไม่ยังฉันทะให้เกิด ไม่พยายาม เพื่อทําให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่าและประณีตกว่าความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น ทั้งเป็นผู้มีประพฤติย่อหย่อน ท้อถอย เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้นที่มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยว
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 563
เสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ไปเสีย ถากเอาเปลือกถือไปสําคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทําด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สําเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด ดูก่อนพราหมณ์ เราเรียกบุคคลนี้ว่ามีอุปมาฉันนั้น.
ว่าด้วยบุคคลที่ ๔
[๓๕๘] ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทําที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้วยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น เขาไม่มีความยินดี มีความดําริยังไม่เต็มเปียม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทําให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่าและประณีตกว่าลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม้ท้อถอย เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สําเร็จ เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดําริยังไม่เต็มเปียม เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทําให้แจ้ง ซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่าและประณีตกว่าความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สําเร็จ เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น แต่มีความดําริยังไม่เต็มเปียม เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทําให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่าและประณีตกว่าความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม้ท้อถอย เขาย่อมยังญาณทัสสนะให้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 564
สําเร็จ เขามีความยินดี มีความดําริเต็มเปียม ด้วยญาณทัสสนะอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรารู้เราเห็น ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ ไม่รู้ไม่เห็นอยู่ อนึ่ง เขาไม่ยังฉันทะให้เกิด ไม่พยายาม เพื่อทําให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อน ท้อถอย เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้นที่มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นอยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่นไปเสีย ถากเอากะพี้ถือไป สําคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทําด้วยให้เกินของเขา จักไม่สําเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด ดูก่อนพราหมณ์ เราเรียกบุคคลนี้ว่า มีอุปมาฉันนั้น.
ว่าด้วยบุคคลที่ ๕
[๓๕๙] ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทําที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้เกิดขึ้น เขาไม่มีความยินดี มีความดําริยังไม่เต็มเปียม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทําให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่าและประณีตกว่าลาภสักการะ และความสรรเสริญนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สําเร็จ เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดําริยังไม่เต็มเปียม เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น อนึ่งเขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทําให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่าความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อนไม่ท้อถอย เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สําเร็จ เขามีความยินดีด้วย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 565
ความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น แต่มีความดําริยังไม่เต็มเปียม เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิดพยายาม เพื่อทําให้แจ้งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่าและประณีตกว่าความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย เขาย่อมยังญาณทัสสนะให้สําเร็จ เขามีความยินดีด้วยญาณทัสสนะนั้น แต่มีความดําริยังไม่เต็มเปียม เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะญาณทัสสนะอันนั้น อนึ่งเขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทําให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย ดูก่อนพราหมณ์ ก็ธรรมที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า ญาณทัสสนะเป็นไฉน ภิกษุในพระศาสนานี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.
อีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.
อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขแม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.
อีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถญานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 566
อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา ภิกษุย่อมบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า อากาศหาที่สุดมิได้ แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ. อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุย่อมบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.
อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุย่อมบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่าน้อยหนึ่งไม่มี แม้ธรรมข้อนี้ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.
อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงภิกษุย่อมบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.
อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุย่อมบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพื่อเห็นด้วยปัญญาของเธออาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไป แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมเหล่านี้แล ที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.
เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้นที่มีความต้องการแก่น แสวงหาแก่น เที่ยวเสาะหาแก่นอยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ตัดเอาแก่นนั้นแหละถือไป รู้อยู่ว่าแก่น และกิจที่จะพึงทําด้วยไม้แก่นของเขา จักสําเร็จประโยชน์แก่เขาฉันใด ดูก่อนพราหมณ์ เราเรียกบุคคลนี้ว่า มีอุปมาฉันนั้น.
ว่าด้วยที่สุดของพราหมณ์
[๓๖๐] ดูก่อนพราหมณ์ ดังพรรณนามาฉะนี้ พรหมจรรย์นี้จึงมิใช่มีลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีล
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 567
เป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมสมาธิเป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ พรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุตติอันไม่กําเริบ เป็นประโยชน์ เป็นแก่น เป็นที่สุด.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ปิงคลโกจฉพราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ํา เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยประสงค์ว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉันใด ธรรมที่พระองค์ทรงประกาศแล้วโดยอเนกปริยาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระองค์กับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจําข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต จําเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบ จูฬสาโรปมสูตร ที่ ๑๐
จบ โอปัมมวรรค ที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 568
อรรถกถาจุลลสาโรปมสูตร
จุลลสาโรปมสูตร เริ่มต้นว่า ข้าเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
พึงทราบวินิจฉัยในจุลลสาโรปมสูตรนั้นดังต่อไปนี้ บทว่า ปิงฺคลโกจฺโฉ ได้แก่ พราหมณ์ผู้มีธาตุเหลือง ก็คําว่า โกจฺโฉ นี้ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น พราหมณ์นั้นท่านจึงเรียกว่า ปิงคลโกจฉะ. พึงทราบวินิจฉัยในคําว่า สํ ฆิโน เป็นต้น สมณะพราหมณ์ชื่อว่า สังฆิโน เพราะมีหมู่กล่าวคือประชุมแห่งนักบวช. ชื่อว่า คณิโน เพราะมีคณะนั้นแล. ชื่อว่า คณาจริยา เพราะเป็นอาจารย์แห่งคณะด้วยอํานาจอาจารสิกขาบท. บทว่า าตา ได้แก่ ผู้ที่รู้จักกันทั่วไป คือผู้ปรากฏ ได้แก่ ที่เขายกย่อง โดยนัยมีอาทิว่า เป็นผู้มักน้อย สันโดษ ไม่นุ่งห่มแม้กระทั่งผ้าเพราะเป็นผู้มักน้อย. ชื่อว่า ยสสฺสิโน เพราะเป็นผู้มียศ. บทว่า ติตฺถกรา แปลว่า เจ้าลัทธิ. บทว่า สาธุสมฺมตา ได้แก่ ที่เขาสมมติอย่างนี้ว่า คนเหล่านี้เป็นคนมีประโยชน์ เป็นคนดี เป็นสัตบุรุษ. บทว่า พหุชนสฺส ได้แก่ผู้ไม่ได้สดับ ผู้เป็นปุถุชนคนอันธพาล.
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงคนเหล่านั้น จึงตรัสว่า เสยฺยถีทํ ปูรโณ ดังนี้ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปูรโณ เป็นชื่อของเจ้าลัทธินั้นผู้ปฏิญญาตนว่าเป็นศาสดา. คําว่า กสฺสโป เป็นโคตร. ได้ยินว่า เจ้าลัทธิชื่อปุรณะนั้นเป็นคนครบร้อยพอดีของตระกูลหนึ่งซึ่งมีทาส ๙๙ คน. ด้วยเหตุนั้น คนทั้งหลายจึงตั้งชื่อว่า ปูรโณ. ก็เพราะเขาเป็นทาสมงคล จึงไม่มีผู้กล่าวว่าเขาทํากิจที่ทําได้ยาก หรือไม่ทํากิจที่ใครเขาไม่ทํา. เขาคิดว่า เราจะอยู่ในที่นี้ไปทําไมแล้วก็หนีไป. ลําดับนั้น พวกโจรได้ชิงเอาผ้าของเขาไป. เขาไม่รู้จักการปกปิดด้วยใบไม้หรือหญ้า ก็เข้าไปยังตําบลหนึ่ง ทั้งๆ ที่เปลือย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 569
กายนั้นเอง. พวกมนุษย์เห็นเขาแล้วคิดว่า สมณะนี้เป็นพระอรหันต์ ผู้มักน้อย ผู้ที่จะเสมอเหมือนกับสมณะนี้ไม่มี จึงถือเอาของหวานและของคาวเป็นต้นเข้าไปหา. เขาคิดว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นเพราะเราไม่นุ่งผ้า ตั้งแต่นั้นมาถึงได้ผ้าก็ไม่นุ่ง เขาได้ถือเอาการไม่นุ่งผ้านั้นนั่นแหละเป็นบรรพชา. แม้ผู้คนอื่นๆ รวม๕๐๐ คน ก็บวชในสํานักของเขา ท่านหมายเอาเจ้าลัทธิผู้นั้นจึงกล่าวว่า ปูรณกัสสปะ. คําว่า มกฺขลิ เป็นชื่อของเจ้าสัทธินั้น. คําว่า โคสาโล เป็นชื่อที่ ๒ เพราะเกิดในโรงโค. ได้ยินว่า เขาถือหม้อน้ำมันกําลังเดินไปบนพื้นดินที่มีโคลน นายบอกว่า อย่าลื่นนะพ่อ. เขาลื่นล้มลงด้วยความเผอเรอ เริ่มจะหนีไปเพราะกลัวนาย. นายวิ่งไปจับชายผ้าไว้ทัน เขาทิ้งผ้าไม่มีผ้าติดตัวหนีไป. คําที่เหลือเหมือนกับเจ้าลัทธิปุรณะนั้นแล. คําว่า อชิตะ เป็นชื่อของเจ้าลัทธินั้น. เขาชื่อว่า เกสกัมพล เพราะครองผ้าผมคน. เหตุนั้น เขาจึงรวมชื่อทั้งสองเรียกว่า อชิตะ เกสกัมพล. ในคํานั้น ผ้ากัมพลที่เขาทําด้วยผมมนุษย์ ชื่อว่า เกสกัมพล ขึ้นชื่อว่าผ้าที่เลวกว่าผ้าเกสกัมพลนั้นไม่มี. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า ผ้าที่ร้อยด้วยด้ายชนิดใดชนิดหนึ่ง ผ้ากัมพลท่านกล่าวว่า เลวกว่าผ้าเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลาย ผ้าเกสกัมพลเมื่อเย็นก็เย็น เมื่อร้อนก็ร้อน มีสีทราม มีกลิ่นเหม็น และมีสัมผัสไม่สบาย. คําว่า ปกุโธ เป็นชื่อของเจ้าลัทธินั้น. คําว่า กจฺจายโน เป็นโคตร. ท่านรวมทั้งนามและโคตร เรียกว่า ปกุธกัจจายนะ. เจ้าลัทธินั้นเป็นผู้ห้ามน้ำเย็น แม้จะถ่ายอุจจาระก็ไม่ใช้น้ำ. ได้น้ำร้อนหรือน้ำข้าวจึงใช้. เขาเดินผ่านแม่น้ำ หรือน้ำในทางก็คิดว่า เราศีลขาดแล้ว ก่อทรายทําเป็นสถูปอธิษฐานศีลเดินต่อไป ปกุธกัจจายนะผู้นี้เป็นเจ้าลัทธิที่ไม่มีศักดิ์ศรีเห็นปานนี้. คําว่า สฺชโย เป็นชื่อของเจ้าลัทธินั้น. ชื่อว่า เวลฎัฐบุตร เพราะเป็นบุตรของเวลัฏฐ. เจ้าลัทธิชื่อว่า นิคันถะ โดยได้นามเพราะพูดอย่างนี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 570
พวกเราไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด ไม่มีกิเลสเครื่องพัวพัน ว่าพวกเราเว้นจากเครื่องร้อยรัดคือกิเลส. ชื่อว่า นาฏบุตร เพราะเป็นบุตรของนาฏกะนักรํา. บทว่า อพฺภฺิํสุ ความว่า สมณพราหมณ์รู้ไม่รู้ก็โดยที่พวกเขาปฏิญญาไว้. ท่านกล่าวคําอธิบายไว้ว่า ถ้าปฏิญญานั้นของพวกเขาเป็นนิยานิกะไซร้ เขาทั้งหมดก็รู้ ถ้าไม่เป็นนิยานิกะไซร้ พวกเขาก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้น ความของปัญหานั้นจึงมีดังนี้ว่า ปฏิญญาของพวกเขาเป็นนิยานิกะ หรือเป็นอนิยานิกะ.
ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธว่า พอละเพราะไม่มีประโยชน์ด้วยการกล่าวถึงปฏิญญา ที่เป็น อนิยานิกะของเจ้าลัทธิเหล่านั้นเมื่อจะประกาศบทที่มีประโยชน์ด้วยอุปมา เพื่อจะทรงแสดงเฉพาะธรรม จึงตรัสคําว่า พราหมณ์ เราจะเแสดงธรรมแก่ท่าน ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สจฺฉิกิริยาย แปลว่า เพื่อกระทําให้แจ้ง. บทว่า น ฉนฺทํ ชเนติ ความว่า ไม่ให้เกิดความพอใจใคร่จะทํา. บทว่า น วายมติ ได้แก่ ไม่การทําความพยายาม ความบากบั่น. บทว่า โอลีนวุตฺติโก จ โหติ ได้แก่เป็นผู้มีอัธยาศัยเหยาะแหยะ. บทว่า สาถิลิโก ได้แก่ผู้ถือย่อหย่อน คือถือศาสนาย่อหย่อน ไม่ถือให้หนักแน่น. บทว่า อิธ พฺรหมฺณ ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ ถามว่า ธรรมมีปฐมฌานเป็นต้นเหล่านี้ จะยิ่งกว่าญาณทัสสนะได้อย่างไร. แก้ว่า จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายมีปฐมฌานเป็นต้น เป็นบาทของวิปัสสนา ชื่อว่าต่ํากว่า เพราะทําให้เป็นบาทแห่งนิโรธ ธรรมเหล่านี้จึงชื่อว่าเป็นบาทแห่งนิโรธ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ญาณทัสสนะนั้น ยิ่งยวดกว่า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบพระสูตรแม้นี้ ตามอนุสนธิด้วยประการฉะนี้. ในเวลาจบเทศนาพราหมณ์ก็ตั้งในสรณะแล.
จบอรรถกถา จุลลสาโรปมสูตร ที่ ๑๐
จบวัคควัณณนาที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 571
รวมพระสูตรในโอปัมมวรรค
๑. กกจูปมสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
๒. อลคัททูปมสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
๓. วัมมิกสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
๔. รถวินีตสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
๕. นิวาปสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
๖. ปาสราสิสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
๗. จูฬหัตถิปโทปมสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
๙. มหาสาโรปมสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
๑๐. จูฬสาโรปมสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา