พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. จูฬโคสิงคสาลสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ส.ค. 2564
หมายเลข  36035
อ่าน  710

[เล่มที่ 19] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1

มหายมกวรรค

๑. จูฬโคสิงคสาลสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 19]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 1

๑. จูฬโคสิงคสาลสูตร

[๓๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่พักซึ่งสร้างด้วยอิฐในนาทิกคาม. ก็สมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ ท่านพระกิมิละอยู่ที่ป่าโคสิงคสาลวัน ครั้งนั้น เวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่หลีกเร้นแล้ว เสด็จเข้าไปยังป่าโคสิงคสาลวัน นายทายบาล (ผู้รักษาป่า) ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้กล่าวกับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่สมณะ ท่านอย่าเข้าไปยังป่านี้เลย ในที่นี้มีกุลบุตร ๓ ท่าน ซึ่งเป็นผู้ใคร่ประโยชน์ตน เป็นสภาพอยู่ ท่านอย่าได้กระทําความไม่ผาสุกแก่ท่านทั้ง ๓ นั้นเลย เมื่อนายทายบาลกล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ ท่านพระอนุรุทธะได้ยินแล้ว จึงได้บอกนายทายบาลว่า ดูก่อนนายทายบาลผู้มีอายุ ท่านอย่าได้ห้ามพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นศาสดาของพวกเราเสด็จมาถึงแล้ว ลําดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะได้เข้าไปหาท่านพระนันทิยะและท่านพระกิมิละถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้บอกว่าออกมาเถิด ท่านผู้มีอายุ ออกมาเถิด ท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นศาสดาของพวกเราเสด็จมาถึงแล้ว ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละได้ต้อนรับพระผู้มีพระภาคเจ้า องค์หนึ่งรับบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้า องค์หนึ่งปูอาสนะ องค์หนึ่งตั้งน้ำล้างพระบาท พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่ปูถวาย ครั้นแล้วทรงล้าง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 2

พระบาท ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๓๖๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกับท่านพระอนุรุทธะว่า ดูก่อนอนุรุทธะ นันทิยะ และกิมิละ พวกเธอพอจะอดทนได้ละหรือ พอจะยังชีวิตให้เป็นไปได้หรือ พวกเธอไม่ลําบากด้วยบิณฑบาตหรือ.

อ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์พอจะอดทนได้ พอจะยังชีวิตให้เป็นไปได้ พวกข้าพระองค์ไม่ลําบากด้วยบิณฑบาต.

พ. ก็พวกเธอ ยังพร้อมเพรียงกัน ชื่นบานต่อกัน ไม่วิวาทกัน ยังเป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ แลดูกันและกันด้วยจักษุอันเป็นที่รักอยู่หรือ.

อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ ยังพร้อมเพรียงกัน ชื่นบานต่อกัน ไม่วิวาทกัน ยังเป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ แลดูกันและกันด้วยจักษุอันเป็นที่รักอยู่.

พ. ก็พวกเธอเป็นอย่างนั้นได้ เพระเหตุอย่างไร.

การประพฤติในปฏิสันถาร

[๓๖๓] อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์มีความดําริอย่างนี้ว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอที่ได้อยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจรรย์เห็นปานนี้ ข้าพระองค์เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตาในท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ในที่แจ้งและที่ลับ เข้าไปตั้งวจีกรรม ประกอบด้วยเมตตา ... เข้าไปตั้งมโนกรรม ประกอบด้วยเมตตาในท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ ข้าพระองค์มีความดําริอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ เราพึงเก็บจิตของตนเสีย แล้วประพฤติตามอํานาจจิตของท่านผู้มีอายุเหล่านี้ แล้วข้าพระองค์ก็เก็บจิตของตนเสีย ประพฤติอยู่ตามอํานาจจิต

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 3

ของท่านผู้มีอายุเหล่านี้ กายขอพวกข้าพระองค์ต่างกันจริงแล แต่ว่าจิตเห็นจะเป็นอันเดียวกัน.

แม้ท่านพระนันทิยะ ... แม้ท่านพระกิมิละ ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส แม้ข้าพระองค์ก็มีความดําริอย่างนี้ว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่ได้อยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจรรย์เห็นปานนี้ ข้าพระองค์เข้าไปตั้งกายกรรม ประกอบด้วยเมตตา เข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ... เข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ ข้าพระองค์มีความดําริอย่างนี้ว่า ไฉนหนอเราพึงเก็บจิตของตนเสีย แล้วประพฤติตามอํานาจจิตของท่านผู้มีอายุเหล่านี้ แล้วข้าพระองค์ก็เก็บจิตของตนเสีย ประพฤติอยู่ตามอํานาจจิตของท่านผู้มีอายุเหล่านี้ กายของพวกข้าพระองค์ต่างกันจริงแล แต่ว่าจิตเห็นจะเป็นอันเดียวกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ยังพร้อมเพรียงกัน ชื่นบานต่อกัน ไม่วิวาทกัน ยังเป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ แลดูกันและกันด้วยจักษุอันเป็นที่รักอยู่.

[๓๖๔] พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธะ พวกเธอเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรส่งตนไปแล้วอยู่หรือ.

อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรส่งตนไปแล้วอยู่.

พ. ก็พวกเธอเป็นอย่างนั้นได้ เพราะเหตุอย่างไร.

อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส บรรดาพวกข้าพระองค์ ท่านผู้ใดกลับจากบิณฑบาตแต่บ้านก่อน ท่านผู้นั้นย่อมปูลาดอาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ไว้ ตั้งถาดสํารับไว้ ท่านผู้ใดกลับจากบิณฑบาตแต่บ้านทีหลัง ถ้ามีบิณฑบาตที่เหลือจากฉัน หากประสงค์ ก็ฉัน ถ้าไม่ประสงค์

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 4

ก็ทิ้งเสียในที่ปราศจากของเขียว หรือเทลงในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ ท่านผู้นั้นเก็บอาสนะ เก็บน้ำฉัน เก็บน้ำใช้ เก็บถาดสํารับ กวาดโรงภัตร ท่านผู้ใดเห็นหม้อน้ำฉัน น้ำใช้ หรือหม้อนําชําระว่างเปล่า ท่านผู้นั้นก็เข้าไปตั้งไว้ ถ้าเหลือวิสัยของท่านก็กวักมือเรียกรูปที่สองแล้วช่วยกันยกเข้าไปตั้งไว้ พวกข้าพระองค์ไม่เปล่งวาจาเพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย และทุกวันที่ ๕ พวกข้าพระองค์นั่งสนทนาธรรมกถาตลอดคืนยังรุ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปอยู่ด้วยประการฉะนี้แล.

ธรรมเครื่องอยู่สําราญ ๙

[๓๖๕] พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ก็เมื่อพวกเธอเป็นผู้ไม่ประมาทมีความเพียร ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทําความเป็นพระอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สําราญที่พวกเธอได้เข้าถึงแล้ว มีอยู่หรือ.

อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมีพระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า พวกข้าพระองค์สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เมื่อพวกข้าพระองค์เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรส่งตนไปอยู่คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ อันสามารถกระทําความเป็นพระอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สําราญนี้แล พวกข้าพระองค์ได้เข้าถึงแล้ว.

พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทําความเป็นพระอริยะอันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สําราญที่พวกเธอได้เข้าถึงแล้ว เพื่อความก้าวล่วง เพื่อความระงับ แห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่อันนี้ อย่างอื่นมีอยู่หรือ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 5

อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า พวกข้าพระองค์เข้าถึงทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ อันนี้ได้แก่คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถการทําความเป็นพระอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สําราญ เพื่อความก้าวล่วง เพื่อความระงับแห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่อันนี้อย่างอื่น.

พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทําความเป็นพระอริยะ ... อย่างอื่นมีอยู่หรือ.

อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า พวกข้าพระองค์มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าถึงตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข อันนี้ได้แก่คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ. อันสามารถการทําความเป็นพระอริยะ ... อย่างอื่น.

พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถการทําความเป็นพระอริยะ ... อย่างอื่นมีอยู่หรือ.

อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า พวกข้าพระองค์เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้ได้แก่คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถการทําความเป็นพระอริยะ ... อย่างอื่น.

พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ อันสามารถการทําความเป็นพระอริยะ ... อย่างอื่นมีอยู่หรือ.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 6

อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะไม่ใส่ใจซึ่งปฏิฆสัญญา พวกข้าพระองค์เข้าถึงอากาสานัญจายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ อันนี้ได้แก่คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทําความเป็นพระอริยะ ... อย่างอื่น.

พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทําความเป็นพระอริยะ ... อย่างอื่นมีอยู่หรือ.

อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง พวกข้าพระองค์เข้าถึงวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ อันนี้ได้แก่คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ อันสามารถกระทําความเป็นพระอริยะ ... อย่างอื่น.

พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทําความเป็นพระอริยะ ... อย่างอื่นมีอยู่หรือ.

อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง พวกข้าพระองค์เข้าถึงอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่าน้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้อยู่ อันนี้ได้แก่ คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ อันสามารถกระทําความเป็นพระอริยะ ... อย่างอื่น.

พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทําความเป็นพระอริยะ ... อย่างอื่นมีอยู่หรือ

อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง พวกข้าพระองค์เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ อันนี้ได้แก่คุณ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 7

วิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทําความเป็นพระอริยะ ... อย่างอื่น.

พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทําความเป็นพระอริยะอันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สําราญที่พวกเธอได้เข้าถึงแล้ว เพื่อความก้าวล่วง เพื่อความระงับ แห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่อันนี้ อย่างอื่นมีอยู่หรือ.

อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญาณนาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง พวกข้าพระองค์เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นด้วยปัญญาอาสวะของท่านผู้นั้นย่อมหมดสิ้นไป อันนี้ได้แก่คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ อันสามารถกระทําความเป็นพระอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สําราญอย่างอื่น เพื่อความก้าวล่วง เพื่อความระงับแห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่อันนี้ ได้เข้าถึงแล้วพระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง พวกข้าพระองค์ยังไม่พิจารณาเห็นธรรมเป็นเครื่องอยู่สําราญอย่างอื่น ที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าธรรมเป็นเครื่องอยู่สําราญอันนี้.

พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ธรรมเป็นเครื่องอยู่สําราญอย่างอื่น ที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่สําราญอันนี้หามีไม่.

[๓๖๖] ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ายังท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทานให้อาจหาญให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วเสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ ส่งเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นกลับจากที่นั้นแล้ว ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ ได้กล่าวกะท่านพระอนุรุทธะว่าพวกกระผมได้บอกคุณวิเศษอันนั้นแก่ท่านอนุรุทธะอย่างนี้หรือว่า พวกเราได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ด้วย. ท่านอนุรุทธะประกาศคุณวิเศษอันใดของ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 8

พวกกระผม จนกระทั่งถึงความสิ้นอาสวะในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า

อ. พวกท่านผู้มีอายุมิได้บอกแก่กระผมอย่างนี้ว่า พวกเราได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ด้วยๆ แต่ว่ากระผมกําหนดใจของพวกท่านผู้มีอายุด้วยใจแล้วรู้ได้ว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ด้วยๆ แม้พวกเทวดาก็ได้บอกเนื้อความข้อนี้แก่กระผมว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ด้วยๆ กระผมถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามปัญหาแล้ว จึงทูลถวายพยากรณ์เนื้อความนั้น.

ชื่อเสียงของพระอนุรุทธะเป็นต้น

[๓๖๗] ลําดับนั้น ทีฆปรชนยักษ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเป็นลาภของชาววัชชี ประชาชนชาววัชชีได้ดีแล้ว ในเหตุที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประทับอยู่ และกุลบุตร ๓ ท่านเหล่านี้ คือ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ มาพักอยู่.

พวกภุมมเทวดาได้ส่งเสียงของทีฆปรชนยักษ์แล้วได้ประกาศ (ต่อไป) ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายเป็นลาภของชาววัชชี ประชาชนชาววัชชีได้ดีแล้วในเหตุที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประทับอยู่ และกุลบุตร ๓ ท่าน คือ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิลิมะ มาพักอยู่.

พวกเทพชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้วได้ประกาศ (ต่อไป) ... พวกชั้นดาวดึงส์ได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นจาตุมหาราชแล้วได้ประกาศ (ต่อไป) ... พวกเทพชั้นยามาได้ส่งเสียงของพวกเทพชั้นดาว-

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 9

ดึงส์แล้วได้ประกาศ (ต่อไป) ... พวกเทพชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของพวกชั้นมายาแล้วได้ประกาศ (ต่อไป) ... พวกเทพชั้นนิมมานรดีได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นดุสิตแล้วได้ประกาศ (ต่อไป) ... พวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัดดีได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นนิมมานรดีแล้วได้ประกาศ (ต่อไป) ... พวกเทพที่นับเข้าในจําพวกพรหม ได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัดดีแล้วได้ประกาศ (ต่อไป) ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายเป็นลาภของชาววัชชีประชาชนชาววัชชี ได้ดีแล้วในเหตุที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประทับอยู่และกุลบุตร ๓ ท่าน คือ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ มาพักอยู่.

[๓๖๘] โดยขณะครู่หนึ่งนั้น เสียงได้เป็นอันรู้กันทั่วจนถึงพรหมโลกด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนทีฆะ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ดูก่อนทีฆะ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจากสกุลใด ถ้าสกุลนั้นมีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่สกุลนั้น ตลอดกาลนาน กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จากวงศ์สกุลใด ถ้าวงศ์สกุลนั้นมีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่วงศ์สกุลนั้น ตลอดกาลนาน กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จากบ้านใด ถ้าบ้านนั้นมีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่บ้านนั้นตลอดกาลนาน กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จากนิคมใด ถ้านิคมนั้นมีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่นิคมนั้น ตลอดกาลนาน กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จากนครใด ถ้านครนั้นมีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่นครนั้น ตลอด

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 10

กาลนาน กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จากชนบทใด ถ้าชนบทนั้นมีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ชนบทนั้น ตลอดกาลนาน ถ้ากษัตริย์ทั้งมวลมีจิตเลื่อมใสระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่กษัตริย์ทั้งมวล ตลอดกาลนาน ถ้าพราหมณ์ทั้งมวล ... ถ้าแพศย์ทั้งมวล ... ถ้าศูทรทั้งมวลมีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ศูทรทั้งมวล ตลอดกาลนาน ถ้าโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์มีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก แก่หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ตลอดกาลนาน ดูก่อนทีฆะ ท่านจงเห็นเถิด กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ปฏิบัติแล้วก็เพียงเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ทีฆปรชนยักษ์ชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.

จบ จูฬโคสิงคสาลสูตรที่ ๑

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 11

อรรถกถาจูฬโคสิงคสาลสูตร

จูฬโคสิงคสาลสูตรมีบทเริ่มต้น เอวมฺเม สุตํ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาทิเก วิหรติ ความว่า ในบ้านแห่งหนึ่งในบรรดาหมู่บ้านสองแห่งของบุตรของอาและของลุงทั้งสอง อาศัยสระน้ำหนึ่ง ชื่อ นาทิกา. บทว่า คิฺชกาวสเถ ได้แก่ที่พักทําด้วยอิฐ. โดยยินว่าสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทําการสงเคราะห์มหาชน เสด็จจาริกไปในแคว้นวัชชี เสด็จถึงนาทิกคาม. ชาวบ้านนาทิกคามถวายมหาทานแด่พระผู้มีพระภาคจ้า ฟังธรรมีกถา มีใจเลื่อมใส ปรึกษากันว่า เราจักสร้างที่ประทับถวายแด่พระศาสดา แสดงรูปสัตว์ร้ายเป็นต้น ที่ฝาบันไดและเสาด้วยอิฐทั้งนั้น สร้างปราสาทฉาบด้วยปูนขาว ยังมาลากรรมและลดากรรมเป็นต้นให้สําเร็จ ปูลาดเครื่องลาดพื้นเสียงและตั่งเป็นต้น มอบถวายแด่พระศาสดา. ต่อมา พวกชาวบ้านในที่นี้สร้างที่พักกลางคืน ที่พักกลางวัน มณฑป และที่จงกรมเป็นต้น ถวายแด่ภิกษุสงฆ์. วิหารนั้น ได้เป็นมหาวิหารด้วยประการฉะนี้. ท่านหมายเอาวิหารนั้น จึงกล่าวว่า คิฺชกาวสเถ ดังนี้.

ค่าคบไม้มีสัณฐานดังเขาโค ตั้งขึ้นแต่ลําต้นของต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง ในบทว่า โคสิงฺคสาลวนทาเย นั้น. ป่านั้นแม้ทั้งหมดอาศัยต้นไม้นั้น จึงชื่อว่า โคสิงคสาลวัน ดังนี้. บทว่า ทาโย นี้เป็นชื่อของป่า โดยไม่ต่างกันเพราะฉะนั้น บทว่า โคสิงฺคสาลวนทาเย มีความว่า ในป่าชื่อ โคสิงคสาลวัน.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 12

บทว่า วิหรนฺติ ได้แก่ เสวยสามัคคีรสอยู่. เวลากุลบุตรเหล่านี้เป็นปุถุชนท่านกล่าวไว้ในอุปริณณาสก็แล้ว. ในที่นี้ ท่านกล่าวเวลาเป็นพระขีณาสพ. จริงอยู่ ในเวลานั้น กุลบุตรเหล่านั้น ได้ความพอใจ ได้ที่พึ่ง บรรลุปฏิสัมภิทาเป็นพระขีณาสพ เสวยสามัคคีรสอยู่ในที่นั้น. บทว่า เยน โคสิงคสาลวนทาโยเตนุสงฺกมิ นี้ท่านกล่าวหมายถึงป่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ได้บอกอะไรๆ ในบรรดาพระธรรมเสนาบดีพระมหาโมคคัลลานเถระ หรือพระอสีติมหาสาวก โดยที่สุดแม้พระอานนทเถระ ผู้เป็นคลังธรรม ทรงถือบาตรและจีวรด้วยพระองค์เองเหมือนช้างปลีกออกจากข้าศึก เหมือนไกรสรสีหราชออกจากฝูง เหมือนเมฆถูกลมหอบ พระองค์ผู้เดียว เสด็จเข้าไปหาอย่างนี้แล. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้เสด็จไปด้วยพระองค์เองในนี้. ตอบว่า กุลบุตรทั้ง ๓ ย่อมเสวยสามัคคีรส เพราะจะทรงยกย่องกุลบุตรเหล่านั้น เพราะจะทรงอนุเคราะห์หมู่ชนเกิดในภายหลัง และเพราะความหนักในพระธรรม. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นได้ทรงดําริอย่างนี้ว่า เราจักยกย่องสรรเสริญกุลบุตรเหล่านี้ ทําปฏิสันถาร แสดงธรรมแก่กุลบุตรเหล่านั้น เพราะจะทรงยกย่องอย่างนี้เท่านั้น จึงเสด็จไป. พระองค์ได้มีพระดําริต่อไปว่าในอนาคต กุลบุตรทั้งหลาย สําคัญการควรอยู่พร้อมเพรียงกันว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จสู่สํานักของกุลบุตรผู้อยู่พร้อมเพรียงกันด้วยพระองค์เอง ทําปฏิสันถาร แสดงธรรมทรงยกย่องกุลบุตรทั้ง ๓ ใครจะไม่พึงอยู่พร้อมเพรียงกัน ดังนี้ จักทําที่สุดแห่งทุกข์ได้เร็วพลัน ดังนี้ แม้เพราะจะทรงอนุเคราะห์หมู่ชนผู้เกิดในภายหลัง จึงได้เสด็จไป. ก็ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้หนักในธรรม ก็ความหนักในธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นมาแล้วในรถวินีตสูตร เพราะเหตุนั้น พระองค์ทรงดําริว่า เราจักยกย่องธรรม แม้เพราะความหนักในธรรมนี้ ดังนี้. จึงได้เสด็จไป.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 13

บทว่า ทายปาโล แปลว่า ผู้รักษาป่า คนรักษาป่านั้น ย่อมนั่งรักษาคุ้มครองที่ประตูป่านั้น ที่เขาล้อมรั้วประกอบไว้โดยประการที่พวกมนุษย์ในประเทศที่เขาปรารถนาแล้วๆ ย่อมไม่นําดอกไม้ ผลไม้ ยางไม้ หรือทัพสัมภาระในที่นั้นออกได้ เพราะฉะนั้น ท่านกล่าวว่า ทายปาโล. บทว่า อตฺตกามรูปา ความว่า เป็นผู้ใคร่ประโยชน์ตนเป็นสภาพอยู่. จริงอยู่ ผู้ใดแม้บวชแล้วในศาสนานี้ เลี้ยงชีวิตด้วยอเนสนา ๒๑ มีเวชกรรมทูตกรรมและการส่งข่าวเป็นต้น นี้ยังไม่ชื่อว่าเป็นผู้ใคร่ประโยชน์ตน. ส่วนผู้ใดบวชแล้วในศาสนานี้ ละอเนสนา ๒๑ แล้ว ตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิศีล เรียนพระพุทธวจนะ อธิษฐานธุดงค์พอสบาย ถือกรรมฐานที่ชอบใจในอารมณ์ ๓๘ ละแวกบ้านเข้าป่า ยังสมาบัติให้เกิด เที่ยวทําวิปัสสนากรรมฐานนี้ชื่อว่า เป็นผู้ใคร่ประโยชน์ตน. กุลบุตรทั้ง ๓ แม้เหล่านั้น ได้เป็นเห็นปานนี้. เพราะเหตุนั้น ท่านกล่าวว่า อตฺตกามรูป วิหรนฺติ. เขาขอร้องพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระองค์อย่าได้กระทําความไม่ผาสุกแก่กุลบุตรเหล่านั้นเลย.

ได้ยินว่า นายทายบาลนั้นได้มีวิตกอย่างนี้ว่า กุลบุตรเหล่านี้อยู่พร้อมเพรียงกัน ความบาดหมาง ทะเลาะและวิวาท ย่อมเป็นไปในที่คนบางพวกไปแล้ว ทั้งสองไม่ไปทางเดียวกันเหมือนโคดุ เขาแหลม เที่ยวขวิดอยู่ บางครั้งพระพุทธเจ้าแม้นี้ เมื่อทรงกระทําอย่างนี้ พึงทําลายความอยู่อย่างพร้อมเพรียงของกุลบุตรเหล่านี้ ก็แหละพระองค์น่าเลื่อมใส มีพระฉวีวรรณดังทอง เห็นจะอยากในรส พึงทําลายอัปปมาทวิหารธรรมของกุลบุตรเหล่านี้ด้วยการกล่าวสรรเสริญผู้ถวายของอันประณีต และผู้อุปัฏฐากตนตั้งแต่เสด็จไปถึง แม้สถานที่อยู่ของกุลบุตรเหล่านี้ กําหนดไว้แน่นอน คือ บรรณศาลา ๓ ที่จงกรม ๓ ที่พักกลางวัน ๓ เตียงตั่ง ๓ ส่วนสมณะนี้ มีกายใหญ่เห็นจะแก่กว่า และจักไล่กุลบุตรเหล่านี้ ออกจากเสนาสนะในกาลอันไม่ควร ความ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 14

ไม่ผาสุกจักมีแก่กุลบุตรเหล่านั้น แม้ในที่ทั้งปวงด้วยประการฉะนี้ เขาไม่ปรารถนาอย่างนั้น จึงขอร้องพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระองค์อย่าได้ทําความไม่ผาสุกแก่กุลบุตรเหล่านั้นเลย.

ถามว่า ก็นายทายบาลนั้น รู้อยู่ จึงห้าม หรือไม่รู้อยู่จึงห้าม. ตอบว่าจริงอยู่ ตั้งแต่พระตถาคตถือปฏิสนธิ ปาฏิหาริย์อันยังหมื่นจักรวาลให้หวั่นไหวเป็นต้น เป็นไปแล้วแม้ก็จริง ถึงดังนั้น คนไม่มีกําลังชาวป่า ขวนขวายแต่การงาน ไม่อาจจะกําหนดรู้ปาฏิหาริย์เหล่านั้นได้. ก็ธรรมดาว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อใดมีภิกษุหลายพันเป็นบริวาร เที่ยวแสดงพุทธานุภาพด้วยพระรัศมีวาหนึ่ง ด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐ และด้วยพระสิริคือ มหาปุริสลักษณะ ๓๒ เมื่อนั้นเขาถามว่า นั่นใคร แล้วพึงจะรู้จัก. ก็ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปกปิดพุทธานุภาพนั้นทั้งหมดไว้ในกลีบจีวร ทรงถือบาตรและจีวรด้วยพระองค์เอง เสด็จไปโดยเพศที่ไม่มีใครรู้จักเหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ ที่ถูกปิดบังไว้ในกลีบเมฆ. นายทายบาลไม่รู้ข้อนั้น จึงห้ามด้วยประการฉะนี้. บทว่า เอตทโวจ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระฟังถ้อยคําของนายทายบาลว่า มา สมณ ดังนี้ จึงคิดว่า เราอยู่กัน ๓ คนในที่นี้ ไม่มีบรรพชิตอื่นเลย ก็นายทายบาลนี้พูดเหมือนกับพูดกับบรรพชิตจักเป็นใครหนอแลดังนี้แล้ว ออกจากที่พักกลางวัน ยืนอยู่ที่ประตูมองดูทาง ก็ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงเปล่งพระรัศมีจากพระวรกาย พร้อมกับที่พระเถระเห็นพระรัศมีวาหนึ่งส่องสว่างด้วยพระอนุพยัญชนะ ๘๐ รุ่งเรืองเหมือนเผ่นทองที่คลี่ออก. พระเถระคิดว่านายทายบาลนี้ พูดกับบุคคลผู้เลิศในโลก ยังไม่รู้จัก พูดคล้ายกับภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เหมือนเหยียดมือจับอสรพิษแผ่พังพานที่คอ เมื่อจะห้ามจึงได้กล่าวคําเป็นต้นนี้ว่า มา อาวุโส ทายปาล ดังนี้. บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่าเพราะเหตุอะไร ไม่ทําการต้อนรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงเข้าไปเฝ้า.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 15

ได้ยินว่าท่านพระอนุรุทธะได้มีความดําริอย่างนี้ว่า เรา ๓ คนอยู่พร้อมเพรียงกันก็จักไม่มี เราจักพาเอามิตรเป็นที่รักไปทําการต้อนรับ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่รักของเราฉันใด ก็เป็นที่รักแม้ของสหายของเราฉันนั้น ดังนี้ เป็นผู้ใคร่จะทําการต้อนรับ พร้อมด้วยปิยมิตรเหลานั้น จึงไม่ทําด้วยตนเอง เข้าไปเฝ้า ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า ทางเป็นที่เสร็จมาของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีอยู่ในที่สุดแห่งที่จงกรม ใกล้ประตูบรรณศาลาของพระเถระเหล่านั้น เพราะฉะนั้นพระเถระจึงไปให้สัญญาแก่พระเถระเหล่านั้น. บทว่า อภิกฺกมถ แปลว่า มาทางนี้เถิด. บทว่า ปาเท ปกฺขาเลสิ ความว่า พระเถระถือเอาน้ำสีแก้วมณีด้วยมือดุจตาข่ายคล้ายประทุมที่แย้ม รดน้ำที่หลังพระบาททั้ง ๒ มีสีดุจทองคํา ชําระขัดสีพระบาท ธุลีมิได้ต้องพระวรกายของพระพุทธเจ้า. ถามว่า เพราะเหตุอะไร จึงต้องล้าง. ตอบว่า เพื่อกําหนดฤดูของพระวรกายและเพื่อให้จิตของภิกษุเหล่านั้นร่าเริง จิตของภิกษุเหล่านั้น เอิบอิ่มด้วยโสมนัสอันมีกําลังว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงล้างพระบาทด้วยน้ำที่เรานํามาแล้ว ได้ทรงทําการใช้สอย ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงล้าง.

บทว่า อายสฺมนฺตํ อนุรุทฺธํ ภควา เอตทโวจ ความว่า ได้ยินว่า ท่านพระอนุรุทธะนั้น เป็นผู้แก่กว่าภิกษุเหล่านั้น เมื่อทําการสงเคราะห์แก่ท่านอนุรุทธะนั้น เป็นทําแก่ท่านที่เหลือด้วย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคําเป็นต้นนี้ว่า กจฺจิ โว อนุรุทฺธา ดังนี้ เพราะพระเถระองค์เดียว. บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า กจฺจิ เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า คําถาม. บทว่า โว เป็นฉัฏฐีวิภัติ. มีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามถึงภิกขาจารวัตรว่า ดูก่อน อนุรุทธะ นันทิยะ กิมพิละ พวกเธอพออดทนได้หรือ อิริยาบถของพวกเธอทนได้หรือ พอให้เป็นไปได้หรือ พวกเธอพอยังชีวิตให้เป็น คือสืบต่อไปหรือ ไม่ลําบากด้วยก้อนข้าว บิณฑบาตหรือ พวกเธอหาก้อนข้าวได้ง่ายหรือ พวกมนุษย์เห็นพวกเธอมาพร้อมกันแล้ว จึงสําคัญข้าวยาคูกระบวย

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 16

หนึ่งหรือ ภิกษาทัพพีหนึ่งที่ควรถวาย เพราะฉะนั้น ก็ผู้ไม่ลําบากด้วยปัจจัยสามารถบําเพ็ญสมณธรรมได้ หรือว่านี้เป็นวัตรของบรรพชิตเมื่อเป็นเช่นนั้น พระองค์ประทานคําตอบแล้ว เมื่อจะทรงถามถึงสามัคคีรสว่า ดูก่อนอนุรุทธะ นันทิยะและกิมพิละ พวกเธอเป็นราชบรรพชิต มีบุญมากพวกมนุษย์ไม่ถวายแก่พวกเธอผู้อยู่ในป่าแล้ว จักสําคัญสิ่งที่ควรให้แก่ใครอื่นเล่า ก็พวกเธอฉันของนี้แล้วอยู่ยัดเหยียดกันและกันเหมือนลูกเนื้อหรือหรือว่า พวกเธอยังมีความพร้อมเพรียงกันอยู่ จึงตรัสคําเป็นต้นว่า กจฺจิปน โว อนุรุทฺธา สมคฺคา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขีโรทกีภูตา ความว่า น้ำนมและน้ำผสมกันและกัน. ย่อมไม่แยกกัน เข้าถึงดุจเป็นอันเดียวกัน ตรัสถามว่า พวกเธออยู่ด้วยความสามัคคีอย่างนี้. เหมือนจิตตุปบาทเข้าถึงความเป็นอันเดียวกันหรือ. บทว่า ปิยจกฺขูหิ ความว่า จักษุคือการเข้าไปตั้งเมตตาจิตมองดู ชื่อว่าปิยจักษุ. ตรัสถามว่า พวกเธอแลดูกันและกันด้วยจักษุเห็นปานนั้นอยู่หรือ. บทว่า ตคฺฆ เป็นนิบาตลงในอรรถว่า ส่วนเดียว ดังท่านกล่าวว่า มยํ ภนฺเต โดยส่วนเดียว. บทว่า ยถา ในบทว่า ยถากถํ ปน นี้เป็นเพียงนิบาต. บทว่า กถํ แปลว่า ถามถึงเหตุ. มีอธิบายว่าพวกเธออยู่กันอย่างนี้ได้อย่างไร คืออยู่ด้วยเหตุไร พวกเธอจงบอกเหตุนั้นแก่เราเถิด. บทว่า เมตฺตํ กายกมฺมํ ได้แก่ กายกรรมที่เป็นไปด้วยอํานาจจิตเมตตา. บทว่า อาวิ เจว รโห จ ได้แก่ต่อหน้า และลับหลัง. แม้ในบทนอกนี้ก็มีนัยนี้แหละ.

ในบทนั้น กายกรรมและวจีกรรม ย่อมได้ในการอยู่ร่วมกันต่อหน้านอกนี้ ย่อมได้ในการอยู่แยกกัน มโนกรรมได้ในที่ทั้งหมด จริงอยู่ เมื่ออยู่ร่วมกัน เตียงตั่งก็ดี ภัณฑะไม้ก็ดี ภัณฑะดินก็ดี อันใดที่คนหนึ่งเก็บไว้ไม่ดีในภายนอก เห็นสิ่งนั้น ไม่ทําความดูหมิ่นว่า สิ่งนี้ใครใช้แล้ว ถือเอามาเก็บไว้ เหมือนที่ตนเก็บไว้ไม่ดี ก็หรือว่า ประคับประคองฐานที่ควรประดับประคอง

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 17

ชื่อว่าเมตตากายกรรมต่อหน้า. เมื่อคนหนึ่งหลีกไป เก็บเสนาสนะบริขารที่เขาเก็บไว้ไม่ดี หรือว่าเฝ้าที่ดูที่ๆ ควรเฝ้า ชื่อว่าเมตตากายกรรมลับหลัง. เมื่ออยู่ร่วมกัน ชื่อว่า เมตตาวจีกรรมต่อหน้า ย่อมมีในการทํามีอาทิอย่างนี้ว่า สัมโมทนีกถาอันไพเราะ ปฏิสันถาร สาราณียกถา ธรรมกถา สรภัญญะถามปัญหาตอบปัญหากับพระเถระทั้งหลาย. ก็เมื่อพระเถระหลีกไปกล่าวคุณมีอาทิว่า พระนันทิเถระ พระกิมพิลเถระ เป็นสหายที่รักของเรา ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้ ถึงพร้อมด้วยอาจาระอย่างนี้ ชื่อว่า เมตตาวจีกรรมลับหลัง. ก็เมื่อประมวลมาอย่างนี้ว่า ขอพระนันทิยเถระ กิมพิลเถระ ผู้เป็นปิยมิตรของเรา จงเป็นผู้ไม่มีเวร จงเป็นไม่เบียดเบียน จงเป็นผู้มีความสุขเถิด ดังนี้ชื่อว่า เมตตามโนกรรมทั้งต่อหน้า ทั้งลับหลัง

บทว่า นานา หิโข โน ภนฺเต กายา ความว่า ใครๆ ไม่อาจทํากายให้รวมกันได้ เหมือนขยําแป้ง และดินเหนียว. บทว่า อกฺจ ปน มฺเจิตฺตํ ท่านแสดงว่า ส่วนจิตของพวกข้าพระองค์ ชื่อว่าเป็นอย่างเดียวกัน เพราะอรรถว่ารวมกัน ไม่ขาดสูญ ไม่ปราศจากกัน พร้อมเพรียงกัน ถามว่าก็ภิกษุเหล่านั้น เก็บจิตของตน ประพฤติตามอํานาจจิตของท่าน นอกนี้ อย่างไร. ตอบว่า สนิมขึ้นในบาตรของภิกษุรูปหนึ่ง จีวรของภิกษุรูปหนึ่งเศร้าหมอง บริภัณฑกรรมย่อมมีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง. บรรดาภิกษุเหล่านั้นสนิมขึ้นที่บาตรของผู้ใด เมื่อผู้นั้น บอกว่า ดูก่อนผู้มีอายุ สนิมขึ้นที่บาตรของผมควรสุม ดังนี้ พวกนอกนี้ ไม่พูดว่าจีวรของผมเศร้าหมอง ควรซัก เครื่องใช้ของผมควรกระทํา ดังนี้แล้ว เข้าป่านําฟืนมาตัดเป็นท่อนไว้บนบาตรสุมบาตรแล้ว ต่อมาก็ซักจีวรบ้าง ทําของใช้บ้าง. เมื่อรูปใดรูปหนึ่งบอกก่อนว่า ดูก่อนผู้มีอายุ จีวรของผมเศร้าหมองควรซัก บรรณศาลาของผมทรุดโทรมควรซ่อมใหม่ ดังนี้ มีนัยเหมือนกัน. บทว่า สาธุ สาธุ อนุรุทฺธา ความว่า เมื่อภิกษุกราบทูลในหนหลังว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 18

ไม่ลําบากด้วยบิณฑบาต ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ประทานสาธุการ. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะชื่อว่ากวฬิงการาหารนี้ ของสัตว์เหล่านี้ ประพฤติกันมาเป็นอาจิณ ส่วนโลกสันนิวาสนี้ ขัดแย้งกันโดยมาก. สัตว์เหล่านี้ผิดใจกัน ทั้งในอบายโลก ทั้งในเทวดาและมนุษยโลก เวลาที่สัตว์เหล่านั้นพร้อมเพรียงกันหาได้ยาก มีได้บางคราวเท่านั้น เหตุดังนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทานสาธุการในที่นี้ เพราะการอยู่พร้อมเพรียงกันหาได้ยาก

บัดนี้ เมื่อตรัสถามลักษณะความไม่ประมาทของภิกษุเหล่านั้น จึงตรัสคําเป็นต้นว่า กจฺจิ ปน โว อนุรุทฺธา. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โว เป็นเพียงนิบาต อีกอย่างหนึ่ง เป็นปฐมาวิภัติ ความว่า กจฺจิ ตุมฺเห ดังนี้. บทว่า อมฺหากํ คือ ในพวกเรา ๓ คน. บทว่า ปิณฺฑาย ปฏิกฺกมติ ความว่า เที่ยวไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ภายหลัง. บทว่า อวกฺกการปาติํ ความว่า ทิ้งบิณฑบาตที่เหลือเสีย ล้างสํารับๆ หนึ่ง ตั้งไว้เพื่อเก็บไว้. บทว่า โย ปจฺฉา ความว่า ได้ยินว่า พระเถระเหล่านั้น เข้าไปภิกขาจารไม่พร้อมกัน. ก็พระเถระเหล่านั้นออกจากผลสมาบัติชําระร่างกาย แต่เช้าตรู่บําเพ็ญข้อปฏิบัติ เข้าไปยังเสนาสนะ กําหนดเวลานั่งเข้าผลสมาบัติ บรรดาพระเถระเหล่านั้น รูปใดที่นั่งก่อนลุกขึ้นก่อน ด้วย การกําหนดเวลาของตน รูปนั้นเที่ยวบิณฑบาตกลับมาที่ฉันอาหาร ย่อมรู้ว่า ภิกษุ ๒ รูปมาภายหลังเรามาก่อน เมื่อเป็นเช่นนั้น จัดบาตร ปูอาสนะเป็นต้น ถ้าในบาตรมีพอดีเธอก็นั่งฉัน ถ้ามีเหลือใส่ไว้ในถาดสํารับ ปิดถาดไว้ฉัน ทําภัตตกิจเสร็จแล้วล้างบาตร เช็ดให้น้ำหมด ใส่ไว้ในถุง เก็บอาสนะ ถือบาตรและจีวร เข้าไปสู่ที่พักของตน. แม้รูปที่ ๒ มาแล้ว ย่อมรู้ได้ว่า รูปหนึ่งมาก่อน รูปหนึ่งภายหลัง ถ้าในบาตรมีภัตพอประมาณ เธอก็ฉัน ถ้ามีน้อยถือเอาจากสํารับแล้วฉัน ถ้ามีเหลือใส่ไว้ในสํารับฉันแต่พอประมาณข้าไปสู่ที่พักเหมือนพระเถระ

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 19

รูปก่อน. แม้รูปที่ ๓ มาแล้ว ย่อมรู้ว่า สองรูปมาก่อน เรามาภายหลัง แม้เธอทําภัตตกิจเสร็จเหมือนพระเถระรูปที่ ๒ ก็ล้างบาตร เช็ดให้น้ำหมด ใส่ไว้ในถุง ยกอาสนะขึ้นเก็บไว้ เทน้ำที่เหลือในหม้อน้ำดื่มหรือในหม้อน้ำใช้แล้วคว่ําหม้อ ถ้ามีภัตเหลืออยู่ในสํารับ นําภัตนั้นไปโดยนัยอันกล่าวแล้ว ล้างถาดเก็บกวาดโรงฉัน. ต่อมาเทหยากเยื่อ ยกไม้กวาดขึ้นเก็บในสถานที่พ้นจากปลวก ถือบาตรและจีวรเข้าไปที่พัก นี้เป็นวัตรในโรงฉันในที่ทําภัตตกิจในป่า ภายนอกวิหาร ของพระเถระทั้งหลาย ทรงหมายถึงข้อนี้ จึงตรัสคําเป็นต้นว่า โย ปจฺฉา ดังนี้.

ส่วนคําเป็นต้นว่า โย ปสฺสติ พึงทราบว่า เป็นวัตร ภายในวิหารของพระเถระทั้งหลาย. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วจฺจฆฏํ แปลว่าหม้อชําระ. บทว่า ริตฺตํ คือว่างเปล่า. บทว่า ตุจฺฉกํ เป็นไวพจน์ของบทว่า ริตฺตํ นั้นแหละ. บทว่า อวิสยฺหํ ได้แก่ไม่อาจจะยกขึ้นได้ คือหมักมาก. บทว่า หตฺถวิกาเรน คือด้วยสัญญาณมือ ได้ยินว่า พระเถระเหล่านั้นถือหม้อน้ำอย่างใดอย่างหนึ่ง มีหม้อน้ำดื่มเป็นต้นไปสระโบกขรณี ล้างภายในและภายนอกแล้วกรองน้ำใส่ วางไว้ริมฝัง เรียกภิกษุรูปอื่นมาด้วยวิการแห่งมือ ไม่ส่งเสียงเจาะจงหรือไม่เจาะจง ถามว่า เพราะเหตุไรไม่ส่งเสียงเจาะจง. ตอบว่า เสียง พึงรบกวนภิกษุนั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร ส่งเสียงไม่เจาะจง ตอบว่า เมื่อให้เสียงไม่เจาะจง ภิกษุ ๒ รูปพึงออกไปด้วยเข้าใจว่า เราก่อน เราก่อนดังนี้. ต่อจากนั้น ในการงาน ๒ รูปพึงทํา รูปที่ ๓ พึงว่างงาน เธอเป็นผู้สํารวมเสียง ไปใกล้ที่พักกลางวันของภิกษุรูปหนึ่ง รู้ว่าเธอเห็นแล้วทําสัญญาณมือ ภิกษุนอกนี้ย่อมมาด้วยสัญญาณนั้น ต่อนั้นชนทั้งสองเอามือประสานกันลุกขึ้นวางบนมือทั้งสอง พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสหมายเอาข้อนั้นว่า หตฺถวิกาเรน ทุติยํ อามนฺเตตฺวา หตฺถวิลงฺฆิเกน อุฏฺเปม ดังนี้. บทว่า ปฺจาหิกํ โข ปน ความว่า คํานี้ว่า ในวัน ๑๔ ค่ําวัน ๑๕ ค่ํา ดิถีที่ ๘ ค่ํา

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 20

เป็นวันธัมมัสสวนะตามปกติก่อน พระเถระทั้ง ๒ รูปอาบน้ำในเวลายังไม่มืดมากนัก ทุกๆ วัน ทําข้อนั้นไม่ให้ขาด ย่อมไปยังที่พักของพระอนุรุทธเถระ. พระเถระแม้ทั้ง ๓ รูป นั่ง ณ ที่นั้น ถามปัญหาตอบปัญหา กันและกันในพระไตรปิฎก ปิฎกใดปิฎกหนึ่ง เมื่อพระเถระเหล่านั้นกระทําอยู่อย่างนี้จนอรุณขึ้น. บทว่า กจฺจิ ปน โว อนุรุทฺธา อปฺปมตฺตา อาตาปิโน ปหิตตฺตา วิหรถ นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงข้อนั้น.

พระเถระถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามลักษณะของความไม่ประมาทแล้วตอบลักษณะของความไม่ประมาทถวายในที่ตั้งแห่งความประมาทด้วยคํามีประมาณเท่านี้ว่า คือ เวลาเข้าไปที่ภิกขาจาร เวลาออกไป การนุ่งสบง การห่มจีวร การเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต ภายในหมู่บ้าน ธรรมกถาอนุโมทนา การออกจากหมู่บ้านแล้วทําภัตตกิจ การล้างบาตร เก็บบาตรและจีวรให้เรียบร้อย เหล่านี้เป็นที่ทําให้เนิ่นช้า สําหรับ ภิกษุเหล่าอื่น เพราะฉะนั้น พระเถระเมื่อแสดงว่า ขึ้นชื่อว่าเวลาประมาทย่อมไม่มีแก่เรา เพราะปล่อยที่ประมาณเท่านี้ได้แล้ว จึงตอบลักษณะของความไม่ประมาทถวายในที่ตั้งแห่งความประมาท

ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทานสาธุการแก่พระเถระนั้นแล้ว เมื่อจะตรัสถามปฐมฌานจึงตรัสอีกว่า อตฺถิ ปน โว ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุตฺตริมนุสสธมฺมา คือธรรมอันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์. บทว่า อลมริยาณทสฺสนวิเสโส ได้แก่คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ สามารถทําความเป็นพระอริยะ. บทว่า กิํ หิ โน สิยา ภนฺเต ความว่า เพราะเหตุไรคุณวิเศษที่บรรลุแล้วจักไม่บรรลุเล่า. บทว่า ยาวเทว คือเพียงใดนั่นเอง. เมื่อการบรรลุปฐมฌานที่พระเถระตอบชี้แจงแล้ว อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสถามทุติฌานเป็นต้น จึงตรัสว่า เอตสฺส ปน โว ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมติกฺกมาย คือเพื่อความก้าวล่วง. บทว่า ปฏิปสฺสทฺธิยา

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 21

คือ เพื่อความสงบระงับ. ที่เหลือ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในบททั้งปวง. ส่วนในปัญหาสุดท้าย เมื่อตรัสถามนิโรธสมาบัติที่ได้บรรลุ ด้วยอํานาจโลกุตตรญาณทัสสนะ จึงตรัสว่า อลมริยาณทสฺสนวิเสโส ดังนี้. พระเถระตอบชี้แจง ตามสมควรแก่การถาม. ในข้อนั้น พระเถระกล่าวว่า เพราะความสุขที่ไม่ได้เสวย สงบกว่า ประณีตกว่า ความสุขที่เสวยแล้ว ฉะนั้น พวกข้าพระองค์ยังพิจารณาไม่เห็นผาสุกวิหารอื่นที่ยิ่งกว่าประณีตกว่าเลย. บทว่า ธมฺมิยา กถาย ความว่า ภิกษุแม้ทั้งปวง สําเร็จกิจในสัจจะทั้ง ๔ ด้วยธรรมกถา ประกอบด้วยอานิสงส์แห่งสามัคคีรส ไม่มีคําอะไรที่ท่านจะพึงกล่าวเพื่อประโยชน์แก่การบรรลุสัจจะเหล่านั้น ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอานิสงส์แห่งสามัคคีรสแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า นี้เป็นอานิสงส์และนี้เป็นอานิสงส์ดังนี้ด้วยสามัคคีรส. บทว่า ภควนฺตํ อนุสาเรตฺวา คือ ตามเสด็จ. ได้ยินว่า พวกภิกษุเหล่านั้น รับบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ไปหน่อยหนึ่ง. ในเวลาที่ภิกษุเหล่านั้นไปส่งเสด็จถึงที่สุดบริเวณแห่งวิหาร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เอาบาตรและจีวรของเรามาเถิด พวกเธอจงอยู่ในที่นี้ แล้วทรงหลีกไป. บทว่า ตโต ปฏินิวตฺติตฺวา ได้แก่ กลับจากที่ไปแล้ว. บทว่า กินฺนุ โข มยํ อายสฺมโต ความว่า ภิกษุทั้งหลาย อาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้า บรรลุคุณมีบรรพชาเป็นต้นแล้ว ก็รังเกียจด้วยการกล่าวคุณของตน กล่าวแล้ว เพราะเป็นผู้ปรารถนาน้อยในมรรคผลที่บรรลุ. บทว่า อิมาสฺจ อิมาสฺจ ได้แก่ โลกิยะและโลกุตตรธรรม มีปฐมฌานเป็นต้น. บทว่า เจตสา เจโต ปริจฺจ วิทิโต ความว่า พระเถระกําหนดจิตด้วยจิตแล้วรู้อย่างนี้ว่า วันนี้ท่านผู้มีอายุ ของเรายังเวลาให้ล่วงไปด้วยโลกิจสมาบัติ วันนี้ยังเวลาให้ล่วงไปด้วยโลกุตตรสมาบัติ. บทว่า เทวตาปิ เม ความว่า แม้พวกเทพดาบอกอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญอนุรุทธะวันนี้ พระนันทิยเถระผู้เป็นเจ้า ยังเวลาให้ล่วงไปด้วยสมาบัตินี้ วันนี้ พระกิมพิลเถระผู้เป็นเจ้า

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 22

ยังเวลาให้ล่วงไปด้วยสมาบัตินี้ บทว่า ปฺหาภิปุฏฺเน ความว่า เราเตรียมปากไว้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ว่า ข้อแม้นั้นเรารู้แล้วด้วยตนเอง หรือเทพดาบอก ดังนี้. ยกถ้อยคําที่ยังไม่ถาม ก็ไม่กล่าวถาม. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าถูกถามปัญหาคือ ถูกถามปัญหาอยู่ ทรงตอบชี้แจงพระองค์จึงตรัสว่า พวกเธอยังไม่ชอบใจในข้อนั้นหรือ.

บทว่า ทีโฆ มาแล้วในคาถาอย่างนี้ว่า มณิ มานิจโร ทีโฆ อโถ เสรีสโก สห เป็นเทวราชองค์หนึ่ง ในจํานวนยักษ์เสนาบดี ๒๘ องค์ผู้ถูกถาม. บทว่า ปรชโน เป็นชื่อของยักษ์นั้น. บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า ได้ยินว่า ยักษ์นั้นถูกท้าวเวสสวัณส่งไปแล้ว เมื่อไปยังที่แห่งหนึ่ง เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือบาตรและจีวรด้วยพระองค์เอง ออกจากที่พัก สร้างด้วยอิฐระหว่างป่าโคสิงคสาลวัน คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือบาตรและจีวรด้วยพระองค์ เสด็จไปสํานักของกุลบุตรทั้ง ๓ ในป่าโคสิงคสาลวัน พระธรรมเทศนาจักมีมากในวันนี้ แม้เราพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งเทศนานั้น เดินตามรอยพระบาทของพระศาสดา ด้วยกายที่ปรากฏ ยืนฟังธรรมในที่ไม่ไกล เมื่อพระศาสดาเสด็จไป ก็ไม่ไป ยืนอยู่ ณ ที่นั้น เพื่อจะดูว่าพระเถระเหล่านั้น จักทําอะไรกัน ดังนี้ ในขณะนั้นเห็นพระเถระทั้งสองรูปนั้นห่วงใยพระอนุรุทธเถระ คิดว่า พระเถระเหล่านี้อาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้า บรรลุคุณทั้งปวงมีบรรพชาเป็นต้น ตระหนี่ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่กล้า ซ่อนเร้นเหลือเกิน ปกปิด บัดนี้เราจักไม่ให้ท่านปกปิด เราจักประกาศคุณของพระเถระเหล่านั้นแต่แผ่นดิน จนถึงพรหมโลก. จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ. บทว่า ลาภา ภนฺเต ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนชาวแคว้นวัชชี ย่อมได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า และได้เห็นกุลบุตรทั้ง ๓ เหล่านี้ ย่อมได้ถวายบังคม ถวายไทยธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเป็นลาภของชาววัชชีเหล่านั้น. บทว่า สทฺทํ สุตฺวา ความว่า ได้ยินว่า ยักษ์นั้นส่ง

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 23

เสียงดังด้วยอานุภาพแห่งยักษ์ เปล่งวาจานั้นครอบแคว้นวัชชีทั้งสิ้น. เพราะเหตุนั้น ภุมมเทวดาที่สถิตอยู่ที่ต้นไม้และภูเขาเป็นต้นเหล่านั้นๆ ได้ยินเสียงของยักษ์นั้น. ท่านหมายเอาข้อนั้น กล่าวว่า สทฺทํ สุตฺวา ดังนี้. บทว่า อนุสฺสาเวสุํ ได้แก่ ได้ยินเสียงดังแล้ว ป่าวร้องไป. ในบททั้งปวงมีนัยนี้ บทว่า ยาว พฺรหฺมโลกา ได้แก่ จนถึงอกนิฏฐพรหมโลก. บทว่า ตฺเจปิ กุลํ ความว่า พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงอย่างนี้ว่า กุลบุตรเหล่านี้ออกจากตระกูลของเราบวชแล้ว มีศีล มีคุณ ถึงพร้อมด้วยอาจาระ มีกัลยาณธรรมอย่างนี้ ถ้าตระกูลนั้น มีจิตเลื่อมใส พึงระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ เหล่านั้นอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจบพระธรรมเทศนาด้วยอนุสนธิ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาจูฬโคสิงคสาลสูตรที่ ๑