พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. มหาโคสิงคสาลสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ส.ค. 2564
หมายเลข  36036
อ่าน  809

[เล่มที่ 19] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 24

๒. มหาโคสิงคสาลสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 19]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 24

๒. มหาโคสิงคสาลสูตร

[๓๖๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ป่าโคสิงคสาลวัน พร้อมด้วยพระสาวกผู้เถระซึ่งมีชื่อเสียงมากรูป คือ ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสปะ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และพระสาวกผู้เถระ ซึ่งมีชื่อเสียงอื่นๆ.

ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระมหากัสสปะ ครั้นแล้วได้กล่าวว่า มาไปกันเถิดท่านกัสสปะ เราจักเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรเพื่อฟังธรรม ท่านพระมหากัสสปะรับคําท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ลําดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสปะ และท่านพระอนุรุทธะ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตร เพื่อฟังธรรม ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสปะ และท่านพระอนุรุทธะ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรเพื่อฟังธรรม ครั้นแล้ว จึงเข้าไปหาท่านพระเรวตะ แล้วกล่าวว่าท่านเรวตะ ท่านสัตบุรุษพวกโน้น กําลังเข้าไปหาท่านพระเรวตะ เพื่อฟังธรรม มาไปกันเถิด ท่านเรวตะ เราจักเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร เพื่อฟังธรรม ท่านพระเรวตะรับคําท่านพระอานนท์แล้ว ลําดับนั้น ท่านพระเรวตะและท่านพระอานนท์ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตร เพื่อฟังธรรม.

[๓๗๐] ท่านพระสารีบุตร ได้เห็นท่านพระเรวตะและท่านพระอานนท์กําลังเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์จงมาเถิด ท่านอานนท์ผู้เป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้อยู่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า มาดีแล้ว ท่านอานนท์ ป่าโคสิงคสาลวันเป็นสถานน่ารื่นรมย์

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 25

ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละมีดอกบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านอานนท์ ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร.

ท่านพระอานน์ตอบว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงสุตะสั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใด งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น อันภิกษุนั้นสดับมากแล้ว ทรงไว้แล้ว สั่งสมด้วยวาจา ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยความเห็น ภิกษุนั้นแสดงธรรมแก่บริษัท ๔ ด้วยบทและพยัญชนะอันราบเรียบไม่ขาดสาย เพื่อถอนเสียซึ่งอนุสัย ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.

[๓๗๑] เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะท่านพระเรวตะว่า ท่านเรวตะ ปฏิภาณตามที่เป็นของตน ท่านอานนท์พยากรณ์แล้ว บัดนี้ เราขอถามท่านเรวตะในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละมีดอกบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ย่อมฟุ้งไป ท่านเรวตะ ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร.

ท่านพระเรวะตอบว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ เป็นผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น ประกอบเนืองๆ ซึ่งเจโตสมถะอันเป็นภายใน มีฌานอันไม่ห่างเหินแล้ว ประกอบด้วยวิปัสนา พอกพูนสุญญาคาร ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 26

สรรเสริญทิพยจักษุ

[๓๗๒] เมื่อท่านพระเรวตะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะท่านพระอนุรุทธะว่า ท่านอนุรุทธะปฏิภาณตามที่เป็นของตน ท่านเรวตะพยากรณ์แล้ว บัดนี้ เราขอถามท่านอนุทธะในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวันป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละมีดอกบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านอนุรุทธะ ป่าโคสิงคสาลวันจะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร.

ท่านอนุรุทธะตอบว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ ย่อมตรวจดูโลกพันหนึ่งด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีจักษุขึ้นปราสาทอันงดงามชั้นบน พึงแลดูมณฑลแห่งกงตั้งพันได้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมตรวจดูโลกพันหนึ่งด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.

[๓๗๓] เมื่อท่านพระอนุรุทธะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะท่านพระมหากัสสปะว่า ท่านกัสสปะปฏิภาณตามที่เป็นของตน ท่านอนุรุธทธะพยากรณ์แล้ว บัดนี้ เราขอถามท่านมหากัสสปะในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวันเป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละมีดอกบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ย่อมฟุ้งไป ท่านกัสสปะ ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร.

ท่านพระมหากัสสปะตอบว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ตนเองอยู่ในป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้อยู่ในป่าเป็นวัตรด้วย ตนเองเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรด้วย ตนเองถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าว

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 27

สรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ตนเองถือไตรจีวรเป็นวัตรและกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตรด้วย ตนเองเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยด้วย ตนเองเป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งสันโดษด้วย ตนเองเป็นผู้สงัดและกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดด้วย ตนเองเป็นผู้ไม่คลุกคลี และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วย ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียรด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลและกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยศีลด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมวิมุตติด้วย ตนเองเป็นผู้พร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วย ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.

[๓๗๔] เมื่อท่านพระมหากัสสปะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ท่านโมคคัลลานะ ปฏิภาณตามที่เป็นของตน ท่านมหากัสสปะพยากรณ์แล้ว บัดนี้ เราจะขอถามท่านมหาโมคคัลลานะในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละมีดอกบานสะพรั่งทั้งต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านโมคคัลลานะ ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเช่นไร.

ท่านพระมหาโมคคัลสานะตอบว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุ ๒ รูป ในพระศาสนานี้ กล่าวอภิธรรมกถา เธอทั้ง ๒ นั้น ถามกันและกัน ถามปัญหากันแล้ว ย่อมแก้กันเอง ไม่หยุดพักด้วย และธรรมกถาของเธอทั้ง ๒ นั้น

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 28

ย่อมเป็นไปด้วย ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.

สรรเสริญสมาบัติ

[๓๗๕] ลําดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ท่านสารีบุตรปฏิภาณตามที่เป็นของตน อันเราทั้งหมดพยากรณ์แล้ว บัดนี้ เราจะขอถามท่านสารีบุตร ในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวันเป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละมีดอกบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร.

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ท่านโมคคัลลานะ ภิกษุในพระศาสนานี้ ยังจิตให้เป็นไปในอํานาจและไม่เป็นไปตามอํานาจของจิต เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเช้า ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเช้า หวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเที่ยง หวังจะด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเย็น เปรียบเหมือนหีบผ้าของพระราชา หรือราชอํามาตย์ ซึ่งเต็มด้วยผ้าที่ย้อมแล้วเป็นสีต่างๆ พระราชาหรือราชมหาอํามาตย์นั้น หวังจะห่มคู่ผ้าชนิดใดในเวลาเช้า ก็ห่มคู่ผ้าชนิดนั้นได้ในเวลาเช้า หวังจะห่มคู่ผ้าชนิดใดในเวลาเที่ยง ก็ห่มคู่ผ้าชนิดนั้นได้ในเวลาเที่ยง หวังจะห่มคู่ผ้าชนิดใดในเวลาเย็น ก็ห่มคู่ผ้าชนิดนั้นได้ในเวลาเย็น ฉันใด ภิกษุยังจิตให้เป็นในอํานาจและไม่เป็นไปตามอํานาจของจิต เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเช้า ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเช้า หวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเที่ยง หวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเย็น ฉันนั้นเหมือนกันท่านโมคคัลลานะ ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 29

สรรเสริญความเป็นพหูสูต

[๓๗๖] ลําดับนั้น ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวกะท่านผู้มีอายุเหล่านั้นว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลายปฏิภาณตามที่เป็นของตนๆ พวกเราทุกรูปพยากรณ์แล้ว มาไปกันเถิด พวกเราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ ครั้นแล้วจักกราบทูลเนื้อความนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงพยากรณ์แก่พวกเราอย่างใด พวกเราจักทรงจําข้อความนั้นไว้อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุเหล่านั้นรับคําท่านพระสารีบุตรแล้ว.

ลําดับนั้น ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ เข้าไปหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่เพื่อฟังธรรม ข้าพระองค์ได้เห็นท่านพระเรวตะและท่านพระอานนท์กําลังเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์จงมาเถิด ท่านอานนท์ผู้เป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้อยู่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า มาดีแล้ว ท่านอานนท์ ป่าโคสิงคสาลวันเป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละมีดอกบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ย่อมฟุ้งไป ท่านอานนท์ ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้ตอบข้าพระองค์ว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงสุตะสั่งสมสุตะธรรมเหล่าใด งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ. ประกาศพรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น อันภิกษุนั้นสดับมากแล้ว ทรงไว้แล้ว สั่งสมด้วยวาจา ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้ว ด้วยความเห็น ภิกษุนั้นแสดงธรรมแก่บริษัท ๔

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 30

ด้วยบทและพยัญชนะอันราบเรียบไม่ขาดสายเพื่อถอนเสียซึ่งอนุสัย ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร อานนท์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ตามนั้นด้วยว่า อานนท์เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่าใด งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุดพร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น อันอานนท์นั้นสดับมากแล้ว ทรงไว้แล้ว สั่งสมด้วยวาจา ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยความเห็น อานนท์นั้นแสดงธรรมแก่บริษัท ๔ ด้วยบทและพยัญชนะอันราบเรียบไม่ขาดสายเพื่อถอนเสียซึ่งอนุสัย.

[๓๗๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกะท่านพระเรวตะว่า ท่านเรวตะ ปฏิภาณตามที่เป็นของตน ท่านอานนท์พยากรณ์แล้ว บัดนี้ เราขอถามท่านเรวตะในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละมีดอกบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านเรวตะ ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระเรวตะได้ตอบข้าพระองค์ว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ เป็นผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้นประกอบเนืองๆ ซึ่งเจโตสมถะอันเป็นภายใน มีฌานอันไม่เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนาพอกพูนสุญญาคาร ท่านสารีบุตรป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร เรวตะเมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ตามนั้น ด้วยเรวตะเป็นผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้นประกอบเนืองๆ ซึ่งเจโตสมถะอันเป็น

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 31

ภายใน มีฌานอันไม่เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๓๗๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อท่านพระเรวตะกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกะพระอนุรุทธะว่า ท่านอนุรุทธะ ปฏิภาณตามที่เป็นของตน ท่านเรวตะพยากรณ์แล้ว บัดนี้ เราขอถามท่านอนุรุทธะในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละมีดอกบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านอนุรุทธะ ป่าโคสิงคสาลวันจะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอนุรุทธะได้ตอบข้าพระองค์ว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ย่อมตรวจดูโลกพันหนึ่งด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีจักษุขึ้นปราสาทอันงดงามชั้นบน พึงแลดูมณฑลแห่งกงตั้งพันได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมตรวจดูโลกพันหนึ่งด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร อนุรุทธะ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ตามนั้น ด้วยว่า อนุรุทธะ ย่อมตรวจดูโลกตั้งพันด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.

สรรเสริญภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร

[๓๗๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อท่านพระอนุรุทธะกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกะท่านพระมหากัสสปะว่า ท่านกัสสปะ ปฏิภาณตามที่เป็นของตน ท่านพระอนุรุทธะพยากรณ์เล้ว บัดนี้ เราขอถามท่านมหากัสสปะในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละมีดอกบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านกัสสปะ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 32

ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหากัสสปะ ได้ตอบข้าพระองค์ว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ ตนเองอยู่ในป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรด้วย ตนเองถือผ้าบังสกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือผ้าบังสกุลเป็นวัตรด้วย ตนเองเป็นผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตรด้วย ตนเองเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยด้วย ตนเองเป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษด้วย ตนเองเป็นผู้สงัด และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดด้วย ตนเองเป็นผู้ไม่คลุกคลี และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วย ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียรด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยศีลด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสะด้วย ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละดีละ สารีบุตร กัสสปะ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ตามนั้นด้วยว่ากัสสปะ ตนเองเป็นผู้อยู่ในป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรด้วย ตนเองถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 33

ผ้าบังสุกุลเป็นวัตรด้วย ตนเองถือไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตรด้วย ตนเองเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยด้วย ตนเองเป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้สันโดษด้วย ตนเองเป็นผู้สงัด และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้สงัดด้วย ตนเองเป็นผู้ไม่คลุกคลี และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วย ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียรด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยศีลด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วย ตนเองผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วย.

[๓๘๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อท่านพระมหากัสสปะกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกะท่านมหาโมคคัลลานะว่า ดูก่อนท่านโมคคัลลานะ ปฏิภาณตามที่เป็นของตน ท่านพระมหากัสสปะพยากรณ์แล้ว บัดนี้ เราจะขอถามท่านมหาโมคคัลลานะในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวันเป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละมีดอกบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ย่อมฟุ้งไป ดูก่อนท่านมหาโมคคัลลานะ ป่าโคสิงคสาลวันจะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบข้าพระองค์ว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร ภิกษุ ๒ รูปในพระศาสนานี้ กล่าวอภิธรรมกถา เธอทั้ง ๒ นั้นถามกันและกัน ถามปัญหากันแล้วย่อมแก้

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 34

กันเองไม่หยุดพักด้วย และธรรมกถาของเธอทั้ง ๒ นั้น ย่อมเป็นไปด้วย ดูก่อนท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร โมคคัลลานะ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบพึงพยากรณ์ตามนั้น ด้วยว่าโมคคัลลานะเป็นธรรมกถึก

สรรเสริญสมาบัติอีก

[๓๘๑] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์เจริญ ในลําดับต่อไป ข้าพระองค์ได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนท่านสารีบุตรปฏิภาณตามที่เป็นของตน เราทั้งหมดพยากรณ์แล้ว บัดนี้ เราจะขอถามท่านสารีบุตรในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละมีดอกบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ย่อมฟุ้งไป ดูก่อนท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวันจะพึงงามด้วย ภิกษุเห็นปานไร เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ตอบข้าพระองค์ว่า ดูก่อนท่านมหาโมคคัลลานะ ภิกษุในพระศาสนานี้ ยังจิตให้เป็นไปในอํานาจ และไม่เป็นตามอํานาจของจิต เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเช้า ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเช้า เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเที่ยง เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัติในเวลาเย็น เปรียบเหมือนหีบผ้าของพระราชาหรือราชมหาอํามาตย์ ซึ่งเต็มด้วยผ้าที่ย้อมเป็นสีต่างๆ พระราชาหรือราชมหาอํามาตย์นั้น หวังจะห่มคู่ผ้าชนิดใดในเวลาเช้า ก็ห่มคู่ผ้าชนิดนั้นได้ในเวลาเช้าหวังจะห่มคู่ผ้าชนิดใดในเวลาเที่ยง ก็ห่มคู่ผ้าชนิดนั้นได้ในเวลาเที่ยง หวังจะห่มคู่ผ้าชิดในในเวลาเย็น ก็ห่มคู่ผ้าชนิดนั้นได้ในเวลาเย็น ฉันใด ภิกษุยังจิตให้เป็นไปในอํานาจและไม่เป็นไปตามอํานาจของจิต เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดใน

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 35

เวลาเช้า ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเช้า เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเที่ยง เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเย็นฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนท่านมหาโมคคัลลานะ ป่าโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ดีละ โมคคัลลานะ สารีบุตรเมื่อจะพยากรณ์โดยชอบพึงพยากรณ์ตามนั้น ด้วยว่า สารีบุตรยังจิตให้เป็นไปในอํานาจ และไม่เป็นไปตามอํานาจของจิต เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเช้า ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเช้า เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเที่ยง เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเย็น.

สรรเสริญความสิ้นอาสวะ

[๓๘๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คําของใครหนอเป็นสุภาษิต.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร คําของพวกเธอทั้งหมด เป็นสุภาษิตโดยปริยาย ก็แต่พวกเธอจงฟังคําของเรา ถามว่า ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไรนั้น เราตอบว่า ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุในศาสนานี้ กลับจากบิณฑบาตในเวลาหลังภัตแล้ว นั่งขัดสมาธิตั้งกายให้ตรง ดํารงสติมั่นเฉพาะหน้าว่า จิตของเรายังไม่หมดความถือมั่น ยังไม่

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 36

หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพียงใด เราจักไม่ทําลายบัลลังก์นี้เพียงนั้นดังนี้ ดูก่อนสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธภาษิตแล้ว ท่านผู้มีอายุเหล่านั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.

จบ มหาโคสิงคสาลสูตรที่ ๒

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 37

อรรถกถามหาโคสิงคสาลสูตร

มหาโคสิงคสาลสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเมสุตํ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โคสิงคสาลวนทาเย นี้ ท่านกล่าวเพื่อแสดงที่อยู่. ก็สูตรอื่นท่านแสดงโคจรคามอย่างนี้ก่อนว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร โคจรคามของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ประจําในมหาโคสิงคสาลสูตรนี้ แต่จักเป็นโคจรคามบางคราว เพราะฉะนั้น ท่านแสดงถึงที่อยู่อย่างเดียวว่า พระสูตรนั้นมีป่าเป็นที่ตั้ง. บทว่า สมฺพหุเลหิ คือมากมาย. บทว่า อภิฺาเตหิ อภิฺาเตหิ ได้แก่ มีชื่อเสียงปรากฏในที่ทุกแห่ง. บทว่า เถเรหิสาวเกหิ สทฺธึ ความว่า พร้อมคือร่วมด้วยผู้เป็นพระเถระ เพราะประกอบด้วยธรรม กระทําความมั่นคง มีความสํารวมในปาฏิโมกข์ เป็นต้น เป็นพระสาวก เพราะเกิดในที่สุดการฟัง.

บัดนี้ เมื่อทรงแสดงพระเถระเหล่านั้น โดยสรุปจึงตรัสว่า อายสฺมตาจ สารีปุตฺเตน ดังนี้เป็นต้น. บรรดาพระเถระเหล่านั้น ท่านพระสารีบุตรมีชื่อเสียงในพระพุทธศาสนาด้วยคุณมีศีลเป็นต้นของตน คือปรากฏแล้ว เหมือนพระอาทิตย์พระจันทร์อยู่ท่ามกลางท้องฟ้า ปรากฏแก่ผู้มีจักษุ และเหมือนสาครปรากฏแก่ผู้ยืนอยู่บนฝังแห่งสมุทร. ก็พึงทราบความที่พระเถระนั้นเป็นใหญ่ด้วยอํานาจแห่งคุณที่มาแล้วในพระสูตรนี้อย่างเดียวไม่ได้. ควรจะทราบความที่พระเถระเป็นใหญ่ด้วยอํานาจแห่งพระสูตรแม้เหล่านี้อื่นจากพระสูตรนี้คือ ธัมมทายาทสูตร อนังคณสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร จุลลสีหนาทสูตร มหาสีหนาทสูตร รถวินีตสูตร มหาหัตถิปโทปมสูตร มหาเวทัลลสูตร วัตถูปมสูตร ทีฆนขสูตร

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 38

อนุปทสูตร เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร สัจจวิภังคสูตร ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร สัมปสาทนียสูตร สังคีติสูตร ทสุตตรสุตร ปวารณาสูตร สุลิมสูตร เถรปัญหสูตร มหานิเทส ปฏิสัมภิทามรรค เถรสีหนาทสูตร การบวช เอตทัคคะ ดังนี้ จริงอยู่ ในเอตทัคคะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระสารีบุตรเป็นยอดแห่งภิกษุสาวกผู้มีปัญญาของเรา.

แม้พระมหาโมคคัลลานะเป็นผู้ใหญ่ปรากฏเหมือนพระเถระมีชื่อเสียงด้วยคุณมีศีลเป็นต้น และด้วยคุณมาแล้วในพระสูตรนี้.

อนึ่งควรทราบความที่พระเถระนั้นเป็นใหญ่ ด้วยอํานาจพระสูตรแม้เหล่านี้คือ อนุมานสูตร จุลลตัณหาสังขยสูตร มารตัชชนียสูตร การยังปราสาทให้หวั่นไหว การทรมานนันโทปนันทนาคราช ประกอบด้วยอิทธิบาททั้งสิ้น. การไปสู่เทวโลกในคราวแสดงยมกปาฏิหาริย์ วิมานวัตถุ เปตวัตถุ การบวช เอตทัคคะ ดังนี้ จริงอยู่ ในเอตทัคคะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระมหาโมคคัลลานะ เป็นยอดแห่งภิกษุสาวกผู้มีฤทธิ์ของเรา.

แม้พระมหากัสสปะเป็นใหญ่ปรากฏมาเหมือนพระเถระ มีชื่อเสียงด้วยศีลาทิคุณ และด้วยคุณมาแล้วในพระสูตรนี้. อนึ่ง ควรทราบความที่พระเถระนั้นเป็นใหญ่ด้วยอํานาจพระสูตรเหล่านี้คือ จีวรปริวัตตนสูตร จันโทปมสูตร กัสสปสังยุตต์ทั้งสิ้น มหาอริยวังสสูตร การบวชของพระเถระเอตทัคคะดังนี้ จริงอยู่ ในเอตทัคคะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระมหากัสสปะเป็นยอดแห่งภิกษุสาวกทรงธุดงค์ของเรา.

แม้พระอนุรุทธะเป็นผู้ใหญ่ปรากฏ เหมือนพระเถระมีชื่อเสียง ด้วยศีลาทิคุณ และด้วยคุณมาแล้วในพระสูตรนี้ อนึ่ง ควรทราบความที่พระเถระ

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 39

นั้นเป็นใหญ่ด้วยสามารถแห่งพระสูตรแม้เหล่านี้คือ จุลลโคสิงคสูตร นฬกปานสูตร อนุตตริยสูตร อุปักกิเลสสูตร อนุรุทธสังยุต มหาปุริสวิตักกสูตร การบวชของพระเถระ เอตทัคคะ ดังนี้ จริงอยู่ในเอตทัคคะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอนุรุทธะเป็นยอดแห่งภิกษุสาวกผู้มีทิพยจักษุของเรา.

ก็พระเรวตะมี ๒ รูปคือ ขทิรวนิยเรวตะ ๑ กังขาเรวตะ ๑ ในบทว่า อายสฺมตา จ เรวเตน นี้ ใน ๒ รูปนั้น ในที่นี้ไม่ประสงค์เอาพระขทิรวนิยเรวตะ ซึ่งเป็นน้องชายของพระธรรมเสนาบดี. ส่วนพระเถระมากด้วยความสงสัยอย่างนี้ว่า น้ำอ้อยควรไหม ถั่วเขียวควรไหม ประสงค์แล้วว่า เรวตะในที่นี้. ก็พระเรวตะนั้นเป็นผู้ใหญ่ปรากฏเหมือนพระเถระมีชื่อเสียงด้วยศีลาทิคุณ และด้วยคุณมาแล้วในพระสูตรนี้.

อนึ่ง ควรทราบความที่พระเถระนั้นเป็นใหญ่ในการบวช แม้ในเอตทัคคะนั้น. จริงอยู่ในเอตทัคคะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระกังขาเรวตะเป็นยอดแห่งภิกษุสาวกผู้มีฌานของเรา.

แม้พระอานนทเถระเป็นผู้ใหญ่ปรากฏเหมือนพระเถระมีชื่อเสียงด้วยศีลาทิคุณ และด้วยคุณมาแล้วในพระสูตรนี้ อนึ่ง ควรทราบความที่พระเถระนั้นเป็นใหญ่ด้วยอํานาจแห่งพระสูตรเหล่านี้ คือ เสลสูตร พาหิติยสูตร อเนญชสัปปายะโคปกสูตร โมคคัลลานะ พหุธาตุกะ จุลลสุญญตะ มหาสุญญตะ อัจฉริยัมภูตสูตร ภัทเทกรัตตะ มหานิทานะ มหาปรินิพพานะ สุภสูตร จุลลนิยโลกธาตุสูตร การบวช เอตทัคคะ ดังนี้ จริงอยู่ ในเอตทัคคะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอานนท์เป็นยอดแห่งภิกษุสาวกผู้พหูสูตของเรา.

บทว่า อฺเญหิ จ อภิฺาเตหิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 40

ทับอยู่ในป่าโคสิงคสาลวันพร้อมด้วยเถรสาวกเป็นอันมากผู้มีชื่อเสียงปรากฏเพราะเป็นผู้มีคุณใหญ่เหล่านี้และเหล่าอื่นก็หาไม่. จริงอยู่ ในคราวนั้นท่านพระสารีบุตรตนเองมีปัญญามาก พาพวกภิกษุผู้มีปัญญามาก แม้เหล่าอื่นเป็นอันมากไปอยู่แวดล้อมพระทศพล. ท่านมหาโมคคัลลานะ ตนเองมีฤทธิ์ ท่านมหากัสสปะตนเองเป็นธุตวาทะ ท่านอนุรุทธะตนเองได้ทิพยจักษุ ท่านเรวตะตนเองยินดีในฌาน ท่านอานนท์ตนเองเป็นพหูสูต พาพวกภิกษุผู้พหูสูตรเหล่าอื่นไปอยู่แวดล้อมพระทศพลในกาลนั้น. พระมหาเถระผู้มีชื่อเสียงเหล่านั้น และเหล่าอื่นในกาลนั้น พึงทราบว่า พวกภิกษุประมาณสามหมื่นอยู่แวดล้อมพระทศพล ด้วยประการฉะนี้แล

บทว่า ปฏิสลฺลานา วุฏิโต ความว่า ท่านมหาโมคคัลลานะออกจากวิเวกในผลสมาบัติ. บทว่า เยนายสฺมา มหากสฺสโป เตนุปสงฺกมิ ความว่าได้ยินว่า พระเถระออกจากที่หลีกเร้นแลดูโลกธาตุทางปัจฉิมทิศ ได้เห็นสุริยมณฑล ๕๐ โยชน์ถ้วนกําลังอัสดงค์ เหมือนตุ้มหูกําลังตกจากพระกรรณกษัตริย์ผู้เมาอ่อนเพลียในราวป่า เหมือนผ้ากัมพลแดงที่เขารวบใส่ไว้ในหีบ เหมือนถาดทองคํา อันมีค่าแสนหนึ่ง กําลังตกจากงาที่ประดับด้วยแก้วมณี ลําดับนั้น แลดูโลกธาตุทางปาจีนทิศ ได้เห็นจันทมณฑลขึ้นจากท้องสมุทรมีสีเหมือนเมฆ อันประดับพร้อมทั้งลักษณะมี ๔๙ โยชน์ บนยอดภูเขาจักรวาลด้านปาจีนทิศ เหมือนล้อเงินยึดที่ดุมหมุนไป เหมือนธารน้ำนมไหลจากรางเงิน และเหมือนหงส์ขาวที่กระพือปีกทั้งสองบินไปในท้องฟ้า. ต่อจากนั้นก็แลดูสาลวัน ก็ในสมัยนั้น ตั้งแต่โคนต้นสาละจนถึงปลาย ดอกบานสะพรั่ง รุ่งเรือง เหมือนคลุมด้วยผ้าปาวาร ๒ ชั้น เหมือนมัดไว้ด้วยช่อมุกดา เมื่อเกสรดอกไม้ตกไปในที่นั้นๆ พื้นแผ่นดินเป็นเหมือนเครื่องบูชาที่ดาดาษด้วยดอกไม้ เหมือนรดด้วยน้ำครั่ง ฝูงผึ้งพอเมาเกสรดอกไม้ บินไปในป่าคล้ายส่งเสียงหึ่งๆ ก็วันนั้น เป็นวันอุโบสถ ลําดับนั้น พระเถระคิดว่า

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 41

วันนี้เราจักยังเวลาให้ล่วงไปด้วยความยินดีอะไรหนอ. ก็ธรรมดาว่าพระอริยสาวกรักการฟังธรรม พระเถระได้มีความดําริว่า วันนี้เราไปยังสํานักของพระธรรมเสนาบดีเถระผู้เป็นพี่ชายของเราแล้ว จักให้เวลาล่วงไปด้วยความยินดีในธรรม. เมื่อไปก็ไม่ไปผู้เดียวคิดว่า เราจักเอาพระมหากัสสปเถระผู้เป็นเพื่อนรักของเราไปด้วย ดังนี้ ลุกจากที่นั่งสะบัดท่อนหนัง เข้าไปหาท่านมหากัสสปะ.

บทว่า เอวมาวุโสติ โข อายสฺมา มหากสฺสโป ความว่า เพราะพระเถระเป็นอริยสาวกรักการฟังธรรม ฉะนั้น ได้ฟังคําของท่านมหาโมคคัลลานะแล้วไม่อ้างเลสอะไรๆ ว่า ดูก่อนผู้มีอายุท่านไปเถิด กระผมปวดศีรษะหรือปวดหลัง กลับมีใจยินดี กล่าวคําเป็นต้นว่า เอวมาวุโส. ก็เพราะเถระรับคําแล้วลุกจากที่นั่งสะบัดท่อนหนัง ตามพระมหาโมคคัลลานะไป. สมัยนั้นพระมหาเถระ ๒ รูป รุ่งเรืองดุจดวงจันทร์ ๒ ดวง ขึ้นเรียงกัน ดุจดวงอาทิตย์ ๒ ดวง ดุจพระยาช้างฉัททันต์ ๒ เชือก ดุจราชสีห์ ๒ ตัว และดุจเสือโคร่ง ๒ ตัว. สมัยนั้นพระอนุรุทธเถระนั่งในที่พักกลางวัน เห็นพระมหาเถระ ๒ รูปไปยังสํานักของพระสารีบุตร เมื่อแลดูโลกธาตุด้านปัจฉิมทิศ ได้เห็นพระอาทิตย์กําลังลับป่า เมื่อแลดูโลกธาตุด้านปาจีนทิศ ได้เห็นดวงจันทร์กําลังขึ้นจากชายป่า และเมื่อแลดูต้นสาละ ได้เห็นต้นสาละมีดอกบานสะพรั่ง คิดว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถ และพระมหาเถระเหล่านี้เป็นพี่ชายของเรา ไปยังสํานักของพระธรรมเสนาบดี การฟังธรรมพึงมีมาก แม้เราจักเป็นผู้มีส่วนการฟังธรรมดังนี้แล้ว ลุกจากที่นั่งสะบัดท่อนหนัง เดินตามรอยเท้าพระมหาเถระไป. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล ท่านมหาโมคคัลลานะ ท่านมหากัสสปะ. และท่านอนุรุทธะ เข้าไปหาพระสารีบุตร ดังนี้. บทว่า อุปสงฺกมึสุ ความว่า พระมหาเถระทั้ง ๓ รูป ยืนเรียงกันรุ่งโรจน์ ดุจพระจันทร์ ดุจพระอาทิตย์ และดุจราชสีห์เข้าไปหา ก็ท่านอานนท์

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 42

นั่งในที่พักกลางวันของตน เห็นพระมหาเถระเข้าไปหาอย่างนี้แล้วคิดว่าการฟังธรรมเป็นอันมากจักมีในวันนี้ แม้เราก็พึงเป็นผู้มีส่วนการฟังธรรมนั้น ก็แหละเราจักไม่ไปผู้เดียว จักพาเอาพระเรวตเถระเพื่อนรักของเราไปด้วย. เรื่องทั้งหมดพึงทราบความพิสดารตามนัยที่กล่าวแล้ว ในการเข้าไปหาของพระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ พระอนุรุทธะ พระเถระทั้ง ๒ รูปนั้น ยืนเรียงกันรุ่งโรจน์ ดุจพระจันทร์ ๒ ดวง ดุจพระอาทิตย์ ๒ ดวง และดุจราชสีห์ ๒ ตัว เข้าไปหาด้วยประการฉะนี้. เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ท่านพระสารีบุตรได้เห็นแล้วแล ดังนี้เป็นต้น. บทว่า ทิสฺวาน อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ เอตทโวจ ความว่า ท่านพระสารีบุตรเห็นแต่ไกลจึงได้กล่าวคําเป็นต้นนี้ประกอบด้วยอุปจารกถา โดยลําดับว่าขอท่านจงมาเถิดดังนี้. ในบทว่า รมณียํ อาวุโส นี้ได้แก่ ป่าที่น่ารื่นรมย์ ๑ บุคคลที่น่ารื่นรมย์ ๑

ใน ๒ อย่างนั้น ชื่อว่า ป่าดาดาษ ด้วยต้นกากะทิง สาละ และจําปาเป็นต้น มีร่มเงาหนามีต้นไม้ต่างๆ เผล็ดดอกออกผลมีน้ำพร้อม นอกหมู่บ้าน ป่านี้ ชื่อว่า เป็นที่น่ารื่นรมย์ ท่านกล่าวหมายเอาว่า

ป่าทั้งหลายเป็นที่น่ารื่นรมย์ ท่านผู้มีราคะไปปราศแล้วทั้งหลาย จักยินดีในป่าอันไม่เป็นที่ยินดีของชน เพราะท่านผู้มีราคะไปปราศแล้วเหล่านั้น เป็นผู้มีปกติไม่แสวงหากามดังนี้.

ถ้าว่าป่าเป็นที่ดอน น้ำไม่มี ร่มเงาโปร่งมีหนามรก ส่วนพระอริยะ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นประทับอยู่ในป่านี้ ป่านี้ ชื่อว่า บุคคลน่ารื่นรมย์ ท่านกล่าวหมายเอาว่า พระอรหันต์ทั้งหลายอยู่ ณ ที่ใด เป็นบ้านก็ตาม เป็นป่าก็ตาม ที่ลุ่มก็ตาม ที่ดอนก็ตาม ที่นั้นเป็นภูมิสถานน่ารื่นรมย์ ดังนี้. ส่วนในที่นี้ได้ที่ทั้ง

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 43

๒ อย่างนั้น. ครั้งนั้น ป่าโคสิงคสาลวัน มีดอกบานสะพรั่ง กลิ่นดอกไม้หอมฟุ้ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุคคลเลิศในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก ประทับอยู่กับพวกภิกษุผู้มีชื่อเสียงประมาณสามหมื่นรูป. ท่านหมายเอาป่านั้น จึงกล่าวว่า ดูก่อนอานนท์ ผู้มีอายุ ป่าโคสิงคสาลวันเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ ดังนี้.

บทว่า โทสินา รตฺติ คือปราศจากโทษ มีอธิบายว่า เว้นจากความมืดมัว เหล่านี้คือ หมอกเมฆ ควัน ธุลี ราหู. บทว่า สพฺพผาลิผุลฺลา ความว่า สาละมีดอกบานในที่ทุกแห่งตั้งแต่โคนจนถึงยอด ชื่อว่าที่ยังไม่บานแล้วย่อมไม่มี. บทว่า ทิพฺพา มฺเ คนฺธา สมฺปวนฺติ ความว่ากลิ่นหอมเป็นของทิพย์ ย่อมฟุ้งตลบทั่วไปเหมือนกลิ่นหอมของดอกมณฑารพ ทองกวาว แคฝอย และผงไม้จันทน์ มีอธิบายว่า ย่อมฟุ้งไป เหมือนสถานที่ชื่นชอบของท้าวสักกะ สุยาม สันดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัดดี และท้าวมหาพรหม*. บทว่า กถํ รูเปน อาวุโส อานนฺท ความว่า พระอานนทเถระเป็นสังฆนวกะ**แห่งพระเถระ ๕ รูปนั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร พระเถระจึงถามข้อนั้นก่อน. ตอบว่า เพราะนับถือกัน.

ก็พระเถระ ๒ รูปนั้นนับถือกันและกัน. พระสารีบุตรเถระคิดว่าพระอานนทเถระอุปัฏฐากพระศาสนาซึ่งเราควรทําดังนี้ ได้นับถือพระอานนทเถระ. พระอานนทเถระคิดว่า พระสารีบุตรเถระเป็นยอดสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ ได้นับถือพระสารีบุตรเถระ. ท่านให้ทารกในตระกูลบรรพชาแล้ว ให้ถืออุปัชฌาย์ในสํานักของพระสารีบุตรเถระ. แม้พระสารีบุตรเถระก็ได้ทําอย่างนั้นเหมือนกัน. ภิกษุที่องค์หนึ่งให้บาตรและจีวรของตนให้บรรพชาแล้ว ให้อีกองค์หนึ่งเป็นอุปัชฌาย์ประมาณ ๕๐๐ รูป ท่านพระอานนท์ได้จีวรเป็นต้นที่ประณีตแล้วถวายพระเถระเท่านั้น. ได้ยินว่า พราหมณ์คนหนึ่งคิดว่า การบูชาพุทธรัตนะและสังฆรัตนะยังปรากฏ ชื่อว่าการบูชา ธัมมรัตนะ จะเป็นอย่างไรหนอ. เขาจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 44

ภาคเจ้า ทูลถามเนื้อความนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พราหมณ์ ถ้าท่านใคร่จะบูชา ธัมมรัตนะ จงบูชาภิกษุผู้พหูสูตรรูปหนึ่งเถิด. พราหมณ์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงบอกภิกษุผู้พหูสูตรเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ท่านจงถามภิกษุสงฆ์เถิด. เขาเข้าไปหาภิกษุสงฆ์กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงบอกภิกษุผู้พหูสูต. ภิกษุกล่าวว่า พระอานนทเถระซิ พราหมณ์. พราหมณ์บูชาพระเถระด้วยไตรจีวรมีค่าพันหนึ่ง. พระเถระรับไตรจีวรแล้ว ได้ไปยังสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ได้ผ้ามาแต่ไหน อานนท์. พระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พราหมณ์คนหนึ่งถวาย แต่ข้าพระองค์ใคร่จะถวายจีวรนี้แก่ท่านสารีบุตร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าถวายเถิดอานนท์.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสารีบุตรหลีกไปสู่ที่ จาริกเสียแล้ว.

พ. จงถวายเวลาเธอมาเถิด.

อา. พระองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว.

พ. ก็พระสารีบุตรจักมาเมื่อไร.

อา. ประมาณ ๑๐ วันพระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ด้วยพระดํารัสว่า ดูก่อนอานนท์ เราอนุญาตให้ภิกษุเก็บอดิเรกจีวรไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง. แม้พระสารีบุตรเถระได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ชอบใจ ถวายสิ่งนั้นแก่พระอานนทเถระอย่างนั้นเหมือนกัน. พระเถระเหล่านั้นนับถือกันและกัน อย่างนี้. พระเถระจึงถามก่อนเพราะความนับถือกัน ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง ชื่อว่าถามความเห็นนั่น พึงถามตั้งแต่สิ่งน้อยไป เพราะฉะนั้นพระเถระคิดว่า จักถามพระอานนท์ก่อน พระอานนท์จักตอบชี้แจงตามปฏิภาณของตน ต่อมา จึงจักถามพระเรวตะ อนุรุทธะ มหากัสสปะ มหาโมคคัลลานะ พระมหาโมคคัลลานะจักตอบชี้แจงตามปฏิภาณของตน จากพระ

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 45

เถระทั้ง ๕ รูป จึงจักถามเรา แม้เราจักตอบชี้แจงตามปฏิภาณของตน พระธรรมเทศนานี้จักถึงที่สุด ถึงความไพบูลย์ ด้วยคํามีประมาณเท่านี้ก็หามิได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเราทั้งหมดจักเข้าไปทูลถามพระทศพล พระศาสดาจักทรงตอบชี้แจงด้วยพระสัพพัญุตญาณ ธรรมเทศนานี้จักถึงที่สุดถึงความไพบูลย์ ด้วยคํามีประมาณเท่านี้ ก็หามิได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นพวกเราทั้งหมดจักเข้าไปทูลถามพระทศพล พระศาสดาจักทรงตอบชี้แจงด้วยพระสัพพัญุตญาณ ธรรมเทศนานี้จักถึงที่สุดถึงความไพบูลย์ด้วยคํามีประมาณเท่านี้ เหมือนอย่างว่า เมื่อคดีเกิดในชนบท คดีย่อมถึงผู้ใหญ่บ้าน เมื่อผู้ใหญ่บ้านไม่สามารถจะตัดสินได้ ย่อมถึงเจ้าเมือง เมื่อเขาไม่อาจ ย่อมถึงผู้พิพากษา เมื่อเขาไม่อาจ ย่อมถึงเสนาบดี เมื่อเสนาบดีนั้นไม่อาจ ย่อมถึงอุปราช เมื่ออุปราชนั้นไม่อาจจะตัดสินได้ ย่อมถึงพระราชา ตั้งแต่เวลาพระราชามีพระราชวินิจฉัยแล้ว คดีย่อมเด็ดขาดด้วยพระราชโองการย่อมไม่เปลี่ยนแปลง ฉันใด เราก็ฉันนั้นจักถามพระอานนท์ก่อน... เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเราทั้งหมด จักเข้าไปทูลถามพระทศพล พระศาสดาจักทรงตอบชี้แจงด้วยพระสัพพัญยุตญาณ ธรรมเทศนานี้จักถึงที่สุด ถึงความไพบูลย์ด้วยคํามีประมาณเท่านี้ ดังนี้ พระเถระเมื่อถามความเห็นอย่างนี้จึงได้ถามพระอานนทเถระก่อน.

บทว่า พหุสฺสุโต โหติ ความว่า ภิกษุนั้นฟังมาก อธิบายว่า เรียนนวังคสัตถุศาสน์ ด้วยอํานาจอักขระเบื้องต้น และเบื้องปลายแห่งบาลีและอนุสนธิ. บทว่า สุตธโร คือเป็นผู้รองรับสุตะไว้ได้. จริงอยู่พระพุทธพจน์อันก็ได้เรียนแต่บาลีประเทศนี้ เลือนหายไปแต่บาลีประเทศนี้ ไม่คงอยู่ดุจน้ำในหม้อทะลุ เธอไม่อาจจะกล่าว หรือบอกสูตร หรือชาดกข้อเดียว ในท่ามกลางบริษัทได้ ภิกษุนี้ หาชื่อว่าผู้ทรงสุตะไม่. ส่วนพระพุทธพจน์อันภิกษุใดเรียนแล้ว ย่อมเป็นอย่างเวลาที่ตนเรียนมาแล้วนั่นแหละ เมื่อเธอไม่ทําการ

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 46

สาธยายตั้ง ๑๐ ปีตั้ง ๒๐ ปี ก็ไม่เลือนหาย ภิกษุนี้ชื่อว่าผู้ทรงสุตะ. บทว่า สุตสนฺนิจโย ได้แก่ ผู้สั่งสมสุตะ ก็สุตะอันภิกษุใดสั่งสมไว้ในหีบคือหทัยคงอยู่ดุจรอยจารึกที่ศิลา และดุจมันเหลวราชสีห์ที่เข้าใส่ไว้ในหม้อทอง ภิกษุนี้ ชื่อว่า ผู้มีสุตะเป็นที่สั่งสม. บทว่า ธตา ได้แก่ ตั้งอยู่ ทรงจําไว้ ช่ําชองจริงอยู่ พระพุทธพจน์อันภิกษุบางรูปเรียนแล้ว ทรงจําไว้ช่ําชองไม่เคลื่อนคลาด ภิกษุนั้นเมื่อใครๆ พูดว่าท่านจงกล่าวสูตร หรือชาดกโน้นดังนี้ ย่อมกล่าวว่าเราท่อง เทียบเคียง ซักซ้อมแล้วจักรู้ แต่สําหรับบางรูปทรงจําไว้ ช่ําชองเป็นเช่นกับภวังคโสต. เมื่อใครๆ กล่าวว่าขอท่านจงกล่าวสูตรหรือชาดกโน้น เธอย่อมยกขึ้นกล่าวสูตรหรือชาดกนั้นได้ทันที. บทว่า ธตา ท่านหมายเอาภิกษุนั้น จึงกล่าวแล้ว. บทว่า วจสา ปริจิตา ได้แก่ เธอท่องแล้วด้วยวาจาด้วยสามารถแห่ง สุตตทสกะ วัคคทสกะ ปัณณาสทสกะ. บทว่า มนสานุเปกฺขิตา ได้แก่ เพ่งด้วยจิต. เมื่อภิกษุใด คิดอยู่ด้วยใจ ซึ่งพระพุทธพจน์ที่ตนท่องแล้วด้วยวาจา พระพุทธพจน์ย่อมปรากฏในที่นั้นๆ คือปรากฏดุจรูปปรากฏแก่บุคคลผู้ยืนตามไฟดวงใหญ่ไว้ฉะนั้น. บทว่า มนสานุเปกฺขิตา นั้น ท่านหมายเอาภิกษุนั้น จึงกล่าว. บทว่า ทิฏิยา สุปฏิวิทฺธา ได้แก่ แทงตลอดด้วยดีด้วยปัญญาโดยเหตุและผล. ในบทว่า ปริมณฺฑเลหิ ปทพฺยฺชเนหิ นี้ชื่อบทพยัญชนะ เพราะทําเนื้อความให้ปรากฏ ทําบทนั้นให้บริบูรณ์ ด้วยอักขระ กล่าวพยัญชนะ ๑๐ อย่างไม่ให้เสียไป ชื่อว่า บทพยัญชนะราบเรียบ อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุใด เมื่อจะแสดงธรรมในบริษัทอ้างสูตร หรือชาดกแล้ว เอาพระสูตรหรือชาดกอื่นมาอธิบาย กล่าวอุปมาของสูตรนั้น ให้เรื่องนั้นผ่านไป จับเรื่องนี้ วางเรื่องนั้น เลี่ยงไปอธิบายไปทางหนึ่ง ได้เวลาก็ลุกขึ้น ส่วนสูตรที่เธออ้างไว้ก็เป็นสักแต่ว่าอ้างไว้เท่านั้น. ถ้อยคําของภิกษุนั้นชื่อว่า ไม่ราบเรียบ. ส่วนภิกษุใดอ้างสูตรหรือชาดกไม่เอาบทภายในแม้บทหนึ่ง มาลบล้างอนุสนธิ และเบื้อง

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 47

ต้น ปลายแห่งบาลี ตั้งอยู่ในนัยที่อาจารย์ให้ไว้ ดําเนินไปเหมือนกําหนดด้วยตราชั่ง เหมือนส่งน้ำไปที่เหมืองลึก เหมือนสินธพอาชาไนยกระทืบเท้าถ้อยคําของภิกษุนั้น ชื่อว่าราบเรียบ ท่านหมายเอาถ้อยคําเห็นปานนี้จึงกล่าวว่า ปริมณฺฑเลหิ ปทพฺยฺชเนหิ ดังนี้.

ในบทว่า อนุปฺปพนฺเธหิ ความว่า ภิกษุใด กล่าวธรรม ตั้งแต่เวลาเริ่มสูตร หรือชาดกปรารภ รีบด่วนเหมือนคนสีไฟ เหมือนคนเคี้ยวของร้อน กระทําที่ถือเอาแล้วๆ และไม่ถือเอาแล้วๆ ในอนุสนธิเบื้องต้นเบื้องปลายแห่งบาลี อ้อมแอ้มในที่นั้นๆ จบลุกไป เหมือนคนเลี้ยงเหี้ยเที่ยวไปในระหว่างใบไม้เก่า ภิกษุใดเมื่อกล่าวธรรม บางคราวก็เร็ว บางคราวก็ช้า บางคราวทําเสียงดัง บางคราวทําเสียงค่อย ไฟเผาศพ บางคราวลุก บางคราวก็ดับฉันใด ภิกษุนั้นชื่อว่าพระธัมมกถึกเปรียบด้วยไฟเผาศพฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อบริษัทประสงค์จะลุกเริ่มขึ้นอีก. แม้ภิกษุใด เมื่อกล่าวให้พิสดารในที่นั้นได้ แต่เธอกล่าวเหมือนถอนหายใจ เหมือนคร่ําครวญ ถ้อยคําของภิกษุเหล่านี้แม้ทั้งหมดชื่อว่าไม่ติดต่อกัน. ส่วนผู้ใดเริ่มสูตร ตั้งอยู่ในนัย ที่อาจารย์ให้ไว้ ทําไม่ขาดสายให้เป็นไป เหมือนกระแสน้ำยังถ้อยคําให้เป็นไม่ขาดตอนเหมือนน้ำตกจากคงคา ถ้อยคําของเขาชื่อว่า ติดต่อกันโดยลําดับ ท่านหมายเอาถ้อยคํานั้น จึงกล่าวว่า อนุปฺปพนฺเธหิ ดังนี้. บทว่า อนุสายสมุคฺฆาตาย ได้แก่ เพื่อถอนอนุสัย ๗ อย่าง. บทว่า เอวรูเปน ความว่า ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุพหูสูตเห็นปานนี้ หรือภิกษุแสดงรูปเห็นปานนั้นนั่งแล้ว ชายสังฆาฏิกับชายสังฆาฏิจดกัน หรือเข่ากับเข่าจดกันและกัน พึงทราบเนื้อความในวาระทั้งปวงโดยนัย. ภิกษุชื่อปฏิสัลลานารามา เพราะอรรถว่า ความหลีกเร้นเป็นที่มายินดีของภิกษุนั้น. บทว่า ปฏิสลฺลานรโต คือ ยินดีแล้วในการหลีกเร้น. บทว่า สหสฺสโลกานํ คือโลกธาตุพันหนึ่ง. จริงอยู่ การเสพธุระ เนื่องด้วยการพิจารณาของพระเถระมีประมาณเท่านี้. ส่วนพระเถระเมื่อหวัง ย่อมตรวจดูได้

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 48

หลายแสนจักรวาล. บทว่า อุปริปาสาทวรคโต ได้แก่ บุรุษผู้ไปเบื้องบนปราสาท อันงาม ๗ ชั้น. หรือ ๙ ชั้น. บทว่า สหสฺสํ เนมิมณฺฑลานํ โยโลเกยฺย ความว่า พึงเปิดหน้าต่างแลดูมณฑลแห่งกงตั้งพัน ตั้งอยู่ที่ดุม ปลายกงกับปลายกงตั้งจดกัน ในบริเวณปราสาทได้ ดุมก็ดี กําก็ดี ระหว่างกําก็ดี กงก็ดี จึงปรากฏแก่บุรุษนั้น. บทว่า เอวเมวโข อาวุโส ความว่า ภิกษุผู้มีทิพยจักษุแม้นี้ ย่อมตรวจดูโลกพันหนึ่ง ด้วยทิพยจักษุ ล่วงจักษุของมนุษย์ ภูเขาสิเนรุพันหนึ่ง ในจักรวาลพันหนึ่งย่อมปรากฏ เหมือนดุมล้อปรากฏแก่บุรุษผู้ยืนอยู่บนปราสาทนั้น ทวีป ปรากฏเหมือนกํา คนที่ยืนอยู่บนทวีป ปรากฏเหมือนระหว่างกํา ภูเขาจักรวาลย่อมปรากฏเหมือนกง. บทว่า อารฺ โก คือผู้สมาทานอรัญธุดงค์. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล. บทว่า โน จ สํ สาเทนฺติ คือไม่ขัดแย้งกัน. จริงอยู่ บุคคลผู้สามารถจะถามปัญหาทําให้มีเหตุมีผล ชื่อว่าย่อมขัดแย้งกัน. อธิบายว่าพวกภิกษุย่อมไม่กล่าวอย่างนี้. บทว่า ปวตฺตินี โหติ ได้แก่ย่อมเป็นไป ดุจกระแสน้ำในแม่น้ำ. บทว่า ยาย โวหารสมาปตฺติยา ความว่า ด้วยวิหารสมาบัติเป็นโลกิยะหรือโลกุตตระใด. บทว่า สาธุ สาธุ สารีปุตฺต ความว่า สาธุการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทานแก่พระอานนทเถระ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับพระสารีบุตรเถระ. ในที่ทั้งปวงก็มีนัยนี้. บทว่า ยถาตํ อานนฺโท ความว่า ก็อานนท์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ฉันใด พยากรณ์แล้วฉันนั้น. อธิบายว่า พระอานนท์ พยากรณ์ตามสมควร คือเหมาะสมแก่อัชฌาศัยของตนนั่นแล.

จริงอยู่ พระอานนทเถระ เป็นพหูสูตด้วยตนเอง แม้อัชฌาสัยของท่าน ตั้งอยู่อย่างนี้ว่า โอหนอ เพื่อนพรหมจรรย์ ในศาสนา พึงเป็นพหูสูตดังนี้. เพราะเหตุไร เพราะว่าสิ่งที่ควรหรือไม่ควร สิ่งที่มีโทษหรือไม่มีโทษ โทษหนักหรือเบา แก้ไขได้ แก้ไขไม่ได้ ย่อมปรากฏแก่ภิกษุพหูสูต

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 49

ภิกษุผู้พหูสูตพิจารณาพระพุทธพจน์ที่ตนเรียนแล้ว คิดว่า ศีล ท่านกล่าวไว้แล้วในที่นี้ สมาธิท่านกล่าวไว้แล้วในที่นี้ วิปัสสนาท่านกล่าวไว้แล้วในที่นี้ มรรคผลนิพพานท่านกล่าวไว้แล้วในที่นี้ บําเพ็ญศีลในที่มาของศีล บําเพ็ญสมาธิในที่มาของสมาธิ ยังวิปัสสนาให้ถือเอาห้องในที่แห่งวิปัสสนา เจริญมรรคย่อม กระทําให้แจ้งซึ่งผล เพราะฉะนั้น อัชฌาสัยของพระเถระย่อมเป็นอย่างนี้ว่า โอหนอ เพื่อนพรหมจรรย์ของเรา เรียนนิกายหนึ่ง หรือสอง สามหรือสี่ หรือห้านิกายแล้ว พิจารณาอยู่ บําเพ็ญศีลเป็นต้น ในที่มาแห่งศีลเป็นต้น พึงทําให้แจ้งซึ่งมรรคผล และนิพพานโดยลําดับ. แม้ในวาระที่เหลือก็มีนัยนี้แล.

จริงอยู่ ท่านเรวตะ พอใจในฌาน ยินดีแล้วในฌาน เพราะฉะนั้นท่านมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เพื่อนพรหมจรรย์ของเรา นั่งผู้เดียว ทํากสิณบริกรรม ยังสมาบัติ ๘ ให้เกิด เจริญวิปัสสนามีฌานเป็นปทัฏฐาน พึงทําให้แจ้งซึ่งโลกุตตรธรรม เพราะฉะนั้น จึงพยากรณ์อย่างนี้.

ท่านพระอนุรุทธะมีทิพยจักษุ ท่านมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เพื่อนพรหมจรรย์ เจริญอาโลกกสิณเห็นสัตว์ทั้งหลายกําลังจุติ และอุปบัติในจักรวาลหลายพัน ด้วยทิพยจักษุ ยังจิตให้สังเวชเพราะวัฏฏภัย เจริญวิปัสสนา พึงทําให้แจ้งซึ่งโลกุตตรธรรม เพราะฉะนั้น จึงพยากรณ์แล้วอย่างนี้.

ท่านมหากัสสปะ เป็นธุตวาท ท่านมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เพื่อนพรหมจรรย์เป็นธุตวาท ยังตัณหาพร้อมทั้งปัจจัยให้เหี่ยวแห้ง ด้วยอานุภาพแห่งธุดงค์แล้ว กําจัดกิเลสมีประการต่างๆ แม้เหล่าอื่น เจริญวิปัสสนา พึงทําให้แจ้งซึ่งโลกุตตรธรรม เพราะฉะนั้น จึงพยากรณ์แล้วอย่างนี้

ท่านมหาโมคคัลลานะ ถึงที่สุดแห่งสมาธิบารมี ส่วนลําดับจิตอันสุขุม ลําดับขันธ์ ลําดับธาตุ ลําดับอายตนะ การเข้าฌาน ก้าวลงสู่

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 50

อารมณ์ การกําหนดองค์ การกําหนดอารมณ์ การตัดองค์ การตัดอารมณ์ เจริญโดยส่วนเดียว เจริญโดย ๒ ส่วน ดังนั้น จึงปรากฏแก่ผู้เรียนอภิธรรมเท่านั้น. ก็ผู้ไม่ได้เรียนอภิธรรม เมื่อจะกล่าวธรรม ย่อมไม่รู้ว่านี้เป็นสกวาทะ นี้เป็นปรวาทะ ยังแสดงปรวาทะว่าเราจักแสดงสกวาทะ ยังแสดงสกวาทะว่าเราจักแสดงปรวาทะ ย่อมกล่าวลําดับธรรมให้ผิด ส่วนผู้เรียนอภิธรรม ย่อมแสดงสกวาทะโดยสกวาทะแน่นอน หรือปรวาทะโดยปรวาทะแน่นอน ย่อมไม่กล่าวลําดับธรรมให้ผิด เพราะฉะนั้น พระเถระมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เพื่อนพรหมจรรย์ เป็นนักอภิธรรม ยังฌานให้หยั่งลงในที่อันสุขุม เจริญวิปัสสนา พึงทําให้แจ้งซึ่งโลกุตตรธรรม เพราะฉะนั้น จึงพยากรณ์แล้วอย่างนี้.

ท่านพระสารีบุตร ถึงที่สุดแห่งปัญญาบารมี ย่อมสามารถยังจิตให้เป็นไปในอํานาจของตนได้ด้วยปัญญา ผู้มีปัญญาทรามหาสามารถไม่. จริงอยู่ ผู้มีปัญญาทราม เป็นไปในอํานาจแห่งจิตที่เกิดขึ้น ดิ้นรนไปแล้วข้างนี้ และข้างโน้น ๒ - ๓ วัน ถึงความเป็นคฤหัสถ์ ประสบความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพราะฉะนั้น พระเถระมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เพื่อนพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปในอํานาจแห่งจิต ยังจิตให้เป็นไปในอํานาจของตน ปราบความเสพติดข้าศึกและความดิ้นรนทั้งหมดของจิตนั้น ไม่ให้ออกไปภายนอก แม้เล็กน้อย. เจริญวิปัสสนา พึงทําให้แจ้งซึ่งโลกุตตรธรรม เพราะฉะนั้น จึงพยากรณ์แล้วอย่างนี้.

บทว่า สพฺเพสํ โว สารีปุตฺต สุภาสิตํ ปริยาเยน ความว่า ดูก่อนสารีบุตร เหตุแห่งความงามด้วยพวกภิกษุ ผู้ยินดีในฌานบ้าง ผู้ได้ทิพยจักษุบ้าง ผู้ธุดงควาทะบ้าง ผู้นักอภิธรรมบ้าง ผู้ไม่เป็นไปในอํานาจแห่งจิตบ้าง สําหรับสังฆารามมีอยู่. เพราะฉะนั้น คําของพวกเธอทั้งหมดเป็นสุภาษิตโดยปริยาย คือเป็นสุภาษิตด้วยเหตุนั้นแล หาเป็นทุพภาษิตไม่. บท

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 51

ว่า อปิจ มมาปิ สุณาถ ความว่า อีกอย่างหนึ่ง พวกเธอจงฟังคําของเรา. บทว่า น ตาวาหํ อิมํ ปลฺลงฺกํ ภินฺทิสฺสามิ ความว่า เราตั้งความเพียรมีองค์ ๔ นี้แล้วจักไม่ทําลาย คือจักไม่เลิก นั่งขัดสมาธิเพียงนั้น. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงละสิริราชสมบัตินี้ได้ ด้วยพระญาณอันแก่กล้า ทรงออกภิเนษกรมณ์ เสด็จขึ้นโพธิมณฑล โดยลําดับ ทรงตั้งความเพียรมีองค์ ๔ ประทับนั่งขัดสมาธิ เป็นการชัยชนะ มีพระทัยมั่น ทรงทําลายล้างสมองของมารทั้ง ๓ แล้ว ทรงยังหมื่นโลกธาตุให้บันลืออยู่ ทรงแทงตลอดพระสัพพัญุตญาณ ในเวลาใกล้รุ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอามหาโพธิบัลลังก์นั้นของพระองค์ จึงตรัสอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เมื่อทรงอนุเคราะห์ชนผู้เกิดในภายหลัง ทรงแสดงข้อปฏิบัติอันเป็นสาระแก่กัลยาณปุถุชน จึงตรัสอย่างนี้. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเห็นว่า ในอนาคตกุลบุตรผู้มีอัชฌาสัยอย่างนี้ จักสําเหนียกเห็น ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสมหาโคสิงคสูตร จึงตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุในศาสนานี้ในภายหลังภัต... ดูก่อนสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล. ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวกเราจักถือเอาอัชฌาศัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ กลับจากบิณฑบาตในภายหลังภัต ตั้งความเพียรมีองค์ ๔ มีใจแน่วแน่ จักสําคัญสมณธรรม อันตนควรทําว่า พวกเรายังไม่บรรลุอรหัต จักไม่ทําลายการนั่งขัดสมาธินี้ดังนี้ ภิกษุเหล่านั้น ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ จักทําที่สุดแห่งชาติ ชรา และมรณะได้ โดยวันเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงอนุเคราะห์ชนผู้เกิดภายหลังนี้ ทรงแสดงข้อปฏิบัติอันเป็นสาระแก่กัลยาณปุถุชน จึงตรัสอย่างนี้. บทว่า เอวรูเปน โข สารีปุตฺต ภิกฺขุนา โคสิงฺคสาลวนํ โสเภยฺย ความว่า ดูก่อนสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้โดยตรงแล จบพระธรรมเทศนาด้วยอนุสนธิดังนี้แล.

จบ อรรถกถามหาโคสิงคสาลสูตร ที่ ๒