๔. จูฬโคปาลสูตร
[เล่มที่ 19] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 68
๔. จูฬโคปาลสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 19]
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 68
๔. จูฬโคปาลสูตร
[๓๘๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ฝังแม่น้ำคงคา จังหวัดอุกกเวลา แคว้นวัชชี. คราวนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย พระภิกษุเหล่านั้น จึงรับสนองพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าพระเจ้าข้า.
[๓๘๙] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว นายโคบาลชาวมคธผู้มีมาแล้ว นายโคบาลชาวมคธผู้มีปัญญาทราม ไม่นึกถึงฤดูสารทในเดือนท้ายฤดูฝน ไม่ตรวจตราดูฝังแม่น้ำคงคาข้างนี้ เริ่มต้อนฝูงโคข้ามไปฝังเหนือแห่งวิเทหรัฐฟากโน้น โดยไม่ถูกท่าเลย ทันใดนั้นแล ฝูงโคได้ว่ายเวียนวนในท่ามกลางกระแสแม่น้ำคงคา ถึงความวอดวายเสียที่ตรงนั้นเอง ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะค่าที่นายโคบาลชาวมคธเป็นผู้มีปัญญาทราม ไม่นึกถึงฤดูสารทในเดือนท้ายฤดูฝน ไม่ตรวจตราดูฝังแม่น้ำคงคาข้างนี้ เริ่มต้อนฝูงโคให้ข้ามไปฝังเหนือแห่งวิเทหรัฐฟากโน้นโดยไม่ถูกท่าเลย ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ที่ไม่ฉลาดต่อโลกนี้ ไม่ฉลาดต่อโลกหน้า ไม่ฉลาดต่อสิ่งใต้อํานาจมาร ไม่ฉลาดต่อสิ่งเหนืออํานาจมาร ไม่ฉลาดต่อสิ่งใต้อํานาจมฤตยู ไม่ฉลาดต่อสิ่งเหนืออํานาจมฤตยู ชนเหล่าใดจักสําคัญสิ่งที่ควรฟังควรเชื่อ ต่อสมณพราหมณ์เหล่านั้น ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อไร้ประโยชน์เละทุกข์แก่ชนเหล่านั้นสิ้นกาลนานเช่นนั้นเหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 69
[๓๙๐] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว นายโคบาลชาวมคธผู้มีปัญญา นึกฤดูสารทในเดือนท้ายฤดูฝน ตรวจตราดูฝังแม่น้ำคงคาข้างนี้แล้ว เริ่มต้อนฝูงโคให้ข้ามไปฝังเหนือแห่งวิเทหรัฐฟากโน้นโดยถูกท่าทีเดียว. เขาขับต้อนเหล่าโคอสุภ เป็นโคพ่อสูง เป็นโคนําหน้าฝูง ข้ามไปก่อน มันได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำคงคา ถึงฝังโดยสวัสดี. ต่อนั้นจึงต้อนโคอื่นอีก ที่ใช้การได้ ที่พอจะฝึกใช้ได้ มันได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำคงคา ถึงฝังโดยสวัสดี. ต่อนั้นจึงไปต้อนโคผู้และโคเมียที่รุ่นคนอง มันก็ได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำคงคา ถึงฝังโดยสวัสดี. ต่อนั้นไปจึงต้อนลูกโคและโคที่ซูบผอม มันก็ได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำคงคา ถึงฝังโดยสวัสดี.
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ลูกโคอ่อนที่เกิดในวันนั้น ว่ายไปตามเสียงร้องของแม่มันก็ได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำคงคา ถึงฝังโดยสวัสดี. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เป็นเพราะเขาฉลาด จริงอย่างนั้น นายโคบาลชาวมคธเป็นคนมีปัญญา นึกถึงฤดูสารทในเดือนท้ายฤดูฝน ตรวจตราดูฝังแม่น้ำคงคาข้างนี้แล้ว ขับต้อนฝูงโคให้ข้ามไปฝังเหนือแห่งวิเทหรัฐฟากโน้น โดยถูกท่าทีเดียว ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ที่ฉลาดต่อโลกนี้ ฉลาดต่อโลกหน้า ฉลาดต่อสิ่งใต้อํานาจมาร ฉลาดต่อสิ่งเหนืออํานาจมาร ฉลาดต่อสิ่งที่ใต้อํานาจมฤตยู ฉลาดต่อสิ่งเหนืออํานาจมฤตยู ชนเหล่าใดจักสําคัญสิ่งที่ควรฟังควรเชื่อ ต่อสมณพราหมณ์เหล่านั้น ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์และสุขแก่ชนเหล่านั้นสิ้นกาลนาน เช่นนั้นเหมือนกัน.
[๓๙๑] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาโคอุสุภ เป็นโคพ่อฝูง เป็นโคนําฝูงได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำคงคา ถึงฝังโดยสวัสดีแม้ฉันใด ภิกษุเหล่าใด เป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะ อยู่จบพรหมจรรย์เสร็จกิจที่ต้องทํา ปลงภาระ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 70
แล้ว สําเร็จประโยชน์ตน สิ้นสังโยชน์ในภพ หลุดพ้นเพราะรู้ชอบแม้ภิกษุเหล่านั้น ตัดตรงกระแสมาร ถึงฝังโดยสวัสดี ฉันนั้นและ. ภิกษุทั้งหลายโคที่ใช้การได้และที่พอจะฝึกใช้ได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำคงคาถึงฝังโดยสวัสดีแม้ฉันใด ภิกษุเหล่าใดซึ่งเกิดผุดขึ้นและปรินิพพานในชั้น (สุทธาวาส) นั้น ไม่จําต้องวกกลับมาจากโลกนั้น เพราะสิ้นสังโยชน์เบื้องต่ํา ๕.แม้ภิกษุเหล่านั้น จักตัดตรงกระแสมารแล้ว ถึงฝังโดยสวัสดี.
ภิกษุทั้งหลายโคผู้และโคเมียที่รุ่นคนองได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำคงคา ถึงฝังโดยสวัสดีแม้ฉันใด ภิกษุเหล่าใดเป็นพระสกทาคามีเพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ และทําราคะ โทสะ โมหะให้เบาบาง จักมาสู่โลกนี้อีกคราวเดียวแล้ว จักทําที่สุดทุกข์ แม้ภิกษุเหล่านั้น ก็จักตัดตรงกระแสมารถึงฝังโดยสวัสดี.
ภิกษุทั้งหลาย ลูกโค (และ) โคที่ซูบผอม ได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำคงคาถึงฝังโดยสวัสดี แม้ฉันใด ภิกษุเหล่าใดเป็นพระโสดาบัน เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ มีอันไม่ตกต่ําเป็นธรรมดาเป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ต่อไปข้างหน้า แม้ภิกษุเหล่านั้น ก็ได้ตรัสตรงกระแสมาร ถึงฝังโดยสวัสดี.
ภิกษุทั้งหลายลูกโคอ่อนที่เกิดในวันนั้น ว่ายไปตามเสียงร้องของแม่ ได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำคา ถึงฝังโดยสวัสดี แม้ฉันใด ภิกษุเหล่าใด ซึ่งหน่วงธรรมและศรัทธาเป็นหลักแม้ภิกษุเหล่านั้นก็จักตัดตรงกระแสมารถึงฝังโดยสวัสดี ฉันนั้นแหละ. ภิกษุทั้งหลายตัวเราเป็นผู้ฉลาดต่อโลกนี้ ฉลาดต่อโลกหน้า ฉลาดต่อสิ่งใต้อํานาจมาร ฉลาดสิ่งเหนืออํานาจมาร ฉลาดต่อสิ่งใต้อํานาจมฤตยู ฉลาดต่อสิ่งเหนืออํานาจมฤตยู ชนเหล่าใดจักสําคัญสิ่งที่ควรฟังควรเชื่อต่อเรานั้น ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์และสุขแก่ชนพวกนั้นตลอดกาลนาน ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 71
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเวยยากรณพจน์นี้แล้ว ภายหลังจึงได้ตรัสคาถาประพันธ์นี้ต่อไปว่า
โลกนี้ โลกหน้า เรารู้อยู่ประกาศไว้ดีแล้ว เราผู้เป็นสัมพุทธะ ทราบชัดโลกทั้งปวงซึ่งแออัดด้วยมาร และอ้างว้างจากมฤตยูด้วยปัญญาอันยิ่ง เปิดประตูอมฤตอันปลอดโปร่ง เพื่อบรรลุพระนิพพาน กั้นกระแสมารผู้ลามก ขจัด (กิเลส) และกระทําให้หมดมานะ พวกเธอจงเป็นผู้มากไปด้วยปราโมทย์ ปรารถนาพระนิพพาน ซึ่งเป็นที่เกษมเถิดภิกษุทั้งหลาย.
จบ จูฬโคปาลสูตร ที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 72
อรรถกถาจูฬโคปาสสูตร
จูฬโคปาสสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ
บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า อุกฺกเจลายํ คือในเมืองมีชื่ออย่างนั้น.ได้ยินว่า เมื่อเขากําลังสร้างเมืองนั้น ปลาจากกระแสแม่น้ำคงคาขึ้นบกในเวลากลางคืน พวกมนุษย์ชุบผ้าในถาดน้ำมันให้เปียกทําเป็นคบเพลิงจับปลา. เมื่อเมืองนั้นสร้างเสร็จแล้ว พวกเขาเมื่อจะตั้งชื่อเมืองนั้น จึงได้ตั้งชื่อเมืองนั้นว่าอุกกเจลา ด้วยคิดว่าในวันสร้างเมืองพวกเราจับปลาได้ด้วยคบเพลิงผ้า. บทว่า ภิกฺขูอามนฺเตสิความว่าแม่น้ำคงคาทั้งหมด ย่อมปรากฏแก่ผู้นั่งในสถานที่ใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุสงฆ์เป็นอันมากห้อมล้อม ประทับนั่งในสถานที่เช่นนั้นเป็นหาดทรายฝังแม่น้ำคงคา เวลาเย็นกําลังทอดพระเนตรแม่น้ำมหาคงคาเต็มเปียมกําลังไหล ทรงใคร่ครวญว่ามีใครๆ หนออาศัยแม่น้ำคงคานี้แล้วได้รับความเจริญและความเสื่อมในกาลก่อน ได้ทรงเห็นว่าฝูงโคหลายพันอาศัยนายโคบาลโง่คนหนึ่ง ตกที่วนแม่น้ำคงคานี้เข้าไปสู่สมุทร ส่วนฝูงโคหลายแสนได้มีความสวัสดีความเจริญความไม่มีโรคเพราะอาศัยนายโคบาลผู้ฉลาดอีกคนหนึ่ง. ครั้นทรงเห็นแล้ว ทรงดําริว่า เราจักอาศัยเหตุนี้ แสดงธรรมแก่พวกภิกษุนี้ดังนี้จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย.
บทว่า มาคธโก คือชาวมคธรัฐ บทว่า ทุปฺปฺชาติโก ได้แก่มหาชนพวกไม่มีปัญญาเป็นสภาพ. บทว่า อสมเวกฺขิตฺวาได้แก่ไม่กําหนด คือไม่ใคร่ครวญ. บทว่า ปตาเรสิ เริ่มเพื่อจะให้ข้าม บทว่าอุตฺตรํ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 73
ตีรํ สุวิเทหานํ ความว่า ให้โคข้ามไปสู่ฝังเหนือด้วยคิดว่า เราจักนําชาวมคธรัฐที่ฝังนี้แห่งแม่น้ำคงคาไปยังวิเทหรัฐที่ฝังโน้น นําโคจากมคธรัฐไปยังวิเทหรัฐแล้วรักษา พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอานายโคบาลนั้น จึงตรัสว่า อุตฺตรํ ตีรํ สุวิเทหานํ ดังนี้. บทว่า อามณฺฑลิกํ กริตฺวา ได้แก่ทําให้วน. บทว่า อนฺยพฺยสนํ อาปชฺชชึสุ ได้แก่ ถึงความพินาศ คือไม่เจริญ คือเข้าไปสู่มหาสมุทร. ก็นายโคบาลนั้น เมื่อให้โคข้าม พึงตรวจดูท่าทีเสมอ และไม่เสมอที่ฝังนี้แห่งแม่น้ำคงคา พึงกําหนด เนินทรายไว้ ๒ - ๓แห่ง เพื่อเป็นสถานที่พักโคกลางแม่น้ำคงคา อนึ่งพึงกําหนดท่าไว้ ๓ - ๔ท่า ที่ฝังโน้นว่าโคลงแล้วจากท่านนี้จักไปขึ้นเท่านี้ ลงจากท่านี้จักไม่ขึ้นท่านี้ดังนี้. ส่วนนายโคบาลโง่นี้ ไม่ตรวจดูท่าสําหรับโคที่ฝังนี้ เรียบหรือไม่เรียบไม่กําหนดเนินทรายไว้ ๒ - ๓ แห่ง เพื่อเป็นสถานที่พักโคกลางแม่น้ำคงคา ไม่พิจารณาหาที่เป็นที่ขึ้นไว้ ๔ - ๕ แห่งที่อีกฝังหนึ่ง ให้โคข้ามไปโดยสถานที่มิใช่ท่า. ครั้งนั้นโคใหญ่ของเขาว่ายตัดกระแส แม่น้ำคงคาขวางไปถึงฝังโน้น เพราะถึงพร้อมด้วยความเร็ว และเพราะถึงพร้อมด้วยกําลัง เห็นเขาขาด และหนามพุ่งไม่หนาแน่น แล้วรู้ว่านั่น ออกไปได้ยากดังนี้ ไม่ได้ที่ว่างสําหรับยืนข้างบนก็ว่ายกลับ. โคทั้งหลายคิดว่า โคใหญ่ว่ายกลับแล้วแม่พวกเราจักว่ายกลับดังนี้ ก็ว่ายกลับด้วยกัน. ในที่ฝูงโคจํานวนมากกลับ น้ำวนตัดน้ำตั้งขึ้นกลางแม่น้ำคงคา ฝูงโคเข้าไปในน้ำวนถึงสมุทร โคตัวหนึ่งชื่อว่าไม่มีอันตราย มิได้มีแล้วแล. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าโคทั้งหลายถึงแล้วซึ่งความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ในที่นั้นแล บทว่าอกุสลา อิมสฺส โลกสฺส ได้แก่ สมณพราหมณ์ เป็นผู้ไม่ฉลาด คือเฉียบแหลมในโลกนี้ คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ. แม้ในปรโลกก็มีนัยนี้แล. บ่วงมารท่านเรียก เตภูมิกธรรม มิใช่บ่วงมารท่านเรียกว่า โลกุตตรธรรม แม้ที่ตั้งมัจจุท่านเรียกเตภูมิกธรรม แม้ที่ตั้งอมัจจุท่านเรียกนวโลกุตตรธรรม สมณ-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 74
พราหมณ์ผู้ไม่ฉลาดคือเฉียบแหลมในธรรมเหล่านั้น ส่วนโดยเนื้อความของคําบ่วงมาร ชื่อว่า มารเธยฺยา โคจรอันเป็นฐานะที่อยู่และที่อาศัย ชื่อเธยฺยา แม้ในมัจจุเธยยา ก็มีนัยนี้แล. บทว่า เตสํ ได้แก่ สมณพราหมณ์เหล่านั้น คือเห็นปานนั้น. พึงทราบว่า ครูทั้ง ๖ ท่านแสดงไว้แล้วด้วยบทนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงจบกัณหปักษ์อย่างนี้แล้วจึงทรงแสดงสุกกปักษ์ตรัสคําเป็นต้นว่า ภูตปุพฺพํ ภิกฺขเว ดังนี้ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พลวคาเวคือโคที่ฝึกแล้ว และแม่โคนม. บทว่า ทมฺมคาเว คือโคที่ควรฝึกและโคสาวบทว่า วจฺฉตเรได้แก่ ลูกโคมีกําลังที่ผ่านความเป็นลูกโค. บทว่าวจฺฉเกคือ ลูกโคหนุ่มยังดื่มนม. บทว่า กีสพลิเก คือมีเนื้อและเลือดน้อย กําลังน้อย. บทว่า ตาวเทว ชาตโก คือ ลูกโคที่เกิดในวันนั้น. บทว่า มาตุ โครวเกนวุยฺหมาโน ความว่า แม่โคส่งเสียงโค ข้างหน้าว่า หุง หุง ให้สัญญาณว่ายตัดน้ำไป. ลูกโคว่ายไปตามน้ำตามแม่โคนั้นแลโดยเสียงร้องของแม่โคนั้น ท่านเรียกว่าลอยตามเสียงร้องของแม่. บทว่า มารสฺส โสตํ เฉตฺวา ความว่า ตัดกระแสแห่งตัณหาของมาร ด้วยอรหัตตมรรค. บทว่า ปารํ คตา ได้แก่ ภิกษุถึงฝังสงสาร คือนิพพาน เหมือนโคใหญ่ว่ายไปถึงฝังแม่น้ำฉะนั้น. บทว่า ปารํ อคมํ สุ ความว่า ในขณะที่โคใหญ่ถึงฝังโคทั้งหลายว่ายล่วง ๓ ส่วนกระแสะน้ำคงคาแล้วเห็นโคใหญ่ถึงฝังจึงไปตามทางที่โคใหญ่เหล่านั้นไปแล้ว. บทว่า ปารํ คมิสฺสนฺติ ความว่าผู้ยังกิเลสที่มรรค ๔ พึงฆ่า ๓ ส่วนให้สิ้นแล้วตั้งอยู่ บัดนี้ พึงทราบเนื้อความในวาระทั้งปวงโดยนัยนี้ว่า ภิกษุผู้ตัดกระแสตัณหาหมดสิ้นไป ด้วยอรหัตตมรรคแล้ว จักถึงฝังสงสารคือ นิพพานเหมือนโคที่กําลังว่ายตัดกระแสแม่น้ำคงคา ถึงฝังแม่น้ำฉะนั้น. ภิกษุ ๒ รูปเหล่านี้คือ ที่เป็นธัมมานุสารี สัทธานุสารีเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรคชั้นต้น. บทว่า ชานตา คือพระพุทธเจ้าทรงรู้อยู่ซึ่งธรรมทั้งปวง. บทว่า สุปกาสิโต แปลว่า กล่าวไว้ดีแล้ว บทว่า วิวกํ แปลว่าเปิด
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 75
แล้ว. บท อมตทฺวารํ ได้แก่ อริยมรรค.บทว่า นิพพานปตฺติยาคือเปิดเพื่อประโยชน์เก่นิพพานนั้น. บทว่า วินฬีกตํ คือ ทํามานะดุจไม้อ้อให้ปราศจากไป. บทว่า เขมํ ปตฺเถถ ความว่า พวกเธอเป็นผู้ปรารถนาพระอรหัตคือเป็นผู้ต้องการให้พระอรหัตเกิดขึ้นด้วยกัตตุกัมยตาฉันทะ. บาลีว่า ปตฺตตฺถดังนี้ก็มี. มีอธิบายว่า พวกเธอได้พระศาสนาเห็นปานนี้ ชื่อว่า บรรลุแล้วเหมือนกัน. คําที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบการแสดงธรรมตามอนุสนธิด้วยประการฉะนี้.
จบ อรรถกถาจูฬโคปาลสูตรที่ ๔