พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. จูฬตัณหาสังขยสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ส.ค. 2564
หมายเลข  36041
อ่าน  909

[เล่มที่ 19] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 147

๗. จูฬตัณหาสังขยสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 19]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 147

๗. จูฬตัณหาสังขยสูตร

[๔๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ประทับอยู่ที่ปราสาทแห่งมิคารมารดาในวิหารบุพพารามใกล้นคราวัตถี ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กล่าวโดยย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา มีความสําเร็จล่วงส่วน มีความปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

[๔๓๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนจอมเทพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ถ้าข้อนี้ ภิกษุได้สดับแล้ว ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่ง ครั้นทราบชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วย่อมกําหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกําหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้วเธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดีเธอย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความหน่าย พิจารณาเห็นความดับ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึดมั่นสิ่งอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น เมื่อไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้เฉพาะตัวและทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้วกิจที่ควรทําทําเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีดังนี้ ดูก่อนจอมเทพ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเท่านั้นแล ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา มีความสําเร็จล่วง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 148

ส่วนมีความปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

ลําดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ทําประทักษิณและหายไปในที่นั้นนั่นเอง.

ท้าวสักกะเข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานะ

[๔๓๕] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ นั่งอยู่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า มีความดําริว่า ท้าวสักกะนั้นทราบความพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจึงยินดีหรือว่าไม่ทราบก็ยินดีถ้ากระไรเราพึงรู้เรื่องท้าวสักกะทราบความพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจึงยินดีหรือว่าไม่ทราบแล้วก็ยินดีลําดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้หายไปในปราสาทของมิคารมารดา ในวิหารบุพพารามปรากฏในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ ประหนึ่ง บุรุษที่มีกําลังเหยียดแขนที่งอออกไป หรืองอแขนที่เหยียดเข้ามาฉะนั้น สมัยนั้นท้าวสักกะจอมเทพ กําลังอิ่มเอิบ พร้อมพรั่งบําเรออยู่ด้วยทิพยดนตรีห้าร้อยในสวนดอกบุณฑริกล้วน ท้าวเธอได้เห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะมาอยู่แต่ไกลจึงให้หยุดเสียงทิพยดนตรีห้าร้อยไว้เสด็จเข้าไปหาแล้วรับสั่งว่า นิมนต์มาเถิด ท่านมาดีแล้ว นานแล้วท่านได้ทําปริยายเพื่อจะมาในที่นี้นิมนต์นั่งเถิด อาสนะนี้แต่งตั้งไว้แล้ว. ส่วนท้าวสักกะจอมเทพก็ถืออาสนะต่ําแห่งหนึ่ง นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

[๔๓๖] ท่านพระโมคคัลลานะได้ถามท้าวสักกะผู้นั่งอยู่ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูก่อนท้าวโกสีย์พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถึงความน้อมไปใน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 149

ธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหาโดยย่อแก่ท่านอย่างไร ขอโอกาสเถิด แม้ข้าพเจ้า จักขอมีส่วนเพื่อจักฟังกถานั้น.

ท้าวสักกะตรัสว่า ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะ ข้าพเจ้ามีกิจมาก มีธุระที่จะต้องทํามาก ทั้งธุระส่วนตัว ทั้งธุระของพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ พระภาษิตใดที่ข้าพเจ้าฟังแล้วลืมเสียเร็วพลัน พระภาษิตนั้น ท่านฟังดี เรียนดีทําไว้ในใจดี ทรงไว้ดีแล้ว ข้าแต่พระโมคคัลลานะ เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทวดาและอสูรได้ประชิดกันแล้ว ในสงครามนั้น พวกเทวดาชนะพวกอสูรแพ้ ข้าพเจ้าชนะเทวาสุรสงครามเสร็จสิ้นแล้ว กลับจากสงครามนั้นแล้ว ให้สร้างเวชยันตปราสาท เวชยันตปราสาทมีร้อยชั้น ในชั้นหนึ่งๆ มีกูฏาคารเจ็ดร้อยๆ ในกูฏาคารแห่งหนึ่งๆ มีนางอัปสรเจ็ดร้อยๆ นางอัปสรผู้หนึ่งๆ มีเทพธิดาผู้บําเรอเจ็ดร้อยๆ ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะ ท่านปรารถนาเพื่อจะชมสถานที่น่ารื่นรมย์ แห่งเวชยันตปราสาทหรือไม่.

ท่านมหาโมคคัลลานะรับด้วยดุษฏีภาพ.

[๔๓๗] ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ และท้าวเวสวัณมหาราช นิมนต์ท่านมหาโมคคัลลานะออกหน้าแล้ว ก็เข้าไปยังเวชยันตปราสาท พวกเทพธิดาผู้บําเรอของท้าวสักกะ เห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะมาอยู่แต่ที่ไกล เกรงกลัวละอายอยู่ ก็เข้าสู่ห้องเล็ก ของตนๆ คล้ายกะว่าหญิงสะใภ้เห็นพ่อผัวเข้าก็เกรงกลัวละอายอยู่ ฉะนั้น ครั้นนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ และท้าวเวสวัณมหาราช เมื่อให้ท่านมหาโมคคัลลานะเที่ยวเดินไปในเวชยันตปราสาทได้ตรัสว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะ ขอท่านจงดูสถานที่น่ารื่นรมย์แห่งเวชยันตปราสาทแม้นี้ ขอท่านจงดูสถานที่น่ารื่นรมย์แห่งเวชยันตปราสาทแม้นี้.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 150

ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า สถานที่น่ารื่นรมย์ของท่านท้าวโกสีย์นี้ย่อมงดงามเหมือนสถานที่ของผู้ที่ได้ทําบุญไว้ในปางก่อน แม้มนุษย์ทั้งหลายเห็นสถานที่น่ารื่นรมย์ไหนๆ เข้าแล้วก็กล่าวกันว่างามจริง ดุจสถานที่น่ารื่นรมย์ของพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์.

ในขณะนั้น ท่านมหาโมคคัลลานะ มีความดําริว่า ท้าวสักกะนี้เป็นผู้ประมาทอยู่มากนัก ถ้ากระไร เราพึงให้ท้าวสักกะนี้สังเวชเถิด จึงบันดาลอิทธาภิสังขาร เอาหัวแม่เท้ากดเวชยันตปราสาทเขย่าให้สั่นสะท้านหวั่นไหว ทันใดนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ ท้าวเวสวัณมหาราช และพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ มีความประหลาดอัศจรรย์จิต กล่าวกันว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย นี่เป็นความประหลาดอัศจรรย์ พระสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากเอาหัวแม่เท้ากดทิพยพิภพ เขย่าให้สั่นสะท้านหวั่นไหวได้.

วิมุตติกถา

[๔๓๘] ครั้นนั้น ท่านมหาโมคคัลลานะทราบว่า ท้าวสักกะจอมเทพมีความสลดจิตขนลุกแล้ว จึงถามว่า ดูก่อนท้าวโกสีย์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสความพ้นเพราะสิ้นแห่งตัณหาโดยย่นย่ออย่างไร ขอโอกาสเถิด แม้ข้าพเจ้าจักขอมีส่วนเพื่อจะฟังกถานั้น.

ท้าวสักกะจึงตรัสว่า ข้าแต่ท่านพระมหาโมคคัลลานะผู้นฤทุกข์ข้าพเจ้าจะเล่าถวาย ข้าพเจ้าเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทแล้วจึงได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในความพ้นเพราะสิ้นแห่งตัณหา มีความสําเร็จล่วงส่วนมีความปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 151

ส่วน เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้าพเจ้าทูลถามอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนจอมเทพภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่าธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ถ้าข้อนั้นภิกษุได้สดับแล้ว ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่ง ครั้นทราบชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญา อันยิ่งแล้ว ย่อมกําหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกําหนดรู้ธรรมทั้งปวงดังนั้นแล้ว เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี เธอย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความหน่าย พิจารณาเห็นความดับ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ก็ไม่ยึดมั่นสิ่งอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น เมื่อไม่สุดสะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้เฉพาะตัว และทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทําทําเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ดูก่อนจอมเทพ กล่าวโดยย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่า พ้นแล้วเพราะความสิ้นแห่งตัณหามีความสําเร็จล่วงส่วน มีความปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วนมีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายข้าแต่ท่านพระมหาโมคคัลลานะ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสความพ้นเพราะความสิ้นแห่งตัณหาโดยย่อแก่ข้าพเจ้าอย่างนี้แล.

ครั้นนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ชื่นชมยินดีภาษิตของท้าวสักกะ แล้วได้หายไปในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ มาปรากฏที่ปราสาทของมิคารมารดา ในวิหารบุพพาราม ประหนึ่งว่าบุรุษผู้มีกําลังเหยียดแขนที่ออกไป หรืองอแขนที่เหยียดเข้ามา ฉะนั้น.

ครั้งนั้น พวกเทพธิดาผู้บําเรอของท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อท่านพระมหาโมคคัลลานะหลีกไปแล้วไม่นาน ได้ทูลถามท้าวสักกะว่า ข้าแต่พระองค์

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 152

ผู้นฤทุกข์ พระสมณะนั้น เป็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ศาสดาของพระองค์หรือหนอ

ท้าวสักกะตรัสบอกว่า ดูก่อนเหล่าเทพธิดาผู้นฤทุกข์ พระสมณะนั้น ไม่ใช่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระศาสดาของเรา เป็นท่านพระมหาโมคคัลลานะผู้เป็นสพรหมจารีของเรา

พวกเทพธิดานั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นฤทุกข์ เป็นลาภของพระองค์ๆ ได้ดีแล้วที่ได้สมณะที่มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ เป็นสพรหมจารีของพระองค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระศาสดาของพระองค์ คงมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากเป็นอัศจรรย์เป็นแน่.

[๔๓๙] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบว่า พระองค์เป็นผู้ตรัสความน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหาโดยย่อ แก่เทพผู้มีศักดิ์มากผู้ใดผู้หนึ่งบ้างหรือหนอ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ เรารู้เฉพาะอยู่จะเล่าให้ฟัง ท้าวสักกะจอมเทพเข้ามาหาเรา อภิวาทเราแล้ว ได้ไปยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญกล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงไร ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา มีความสําเร็จล่วงส่วน มีความปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูก่อนโมคคัลลานะ เมื่อท้าวสักกะนั้นถามอย่างนี้แล้ว เราบอกว่า ดูก่อนจอมเทพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ถ้าข้อนั้นภิกษุได้สดับแล้ว ภิกษุนั้นย่อมทราบ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 153

ชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่ง ครั้นทราบชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันนี้แล้วย่อมกําหนดรู้ธรรมทั้งปวงครั้นกําหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุกก็ดี เธอย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความหน่าย พิจารณาเห็นความดับ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึดมั่นสิ่งอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น เมื่อไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้เฉพาะตน ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทําทําเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ดูก่อนจอมเทพ กล่าวโดยย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าพ้นไปแล้วเพราะสิ้นไปแห่งตัณหา มีความสําเร็จล่วงส่วนมีความปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงสวน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูก่อนโมคคัลลานะเราจําได้อยู่ว่า เราเป็นผู้กล่าวความพ้นเพราะสิ้นแห่งตัณหาโดยย่อ แก่ท้าวสักกะจอมเทพอย่างนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์นี้จบแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.

จบ จูฬตัณหาสังขยสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 154

อรรถกถาจูฬตัณหาสังขยสูตร

จูฬตัณหาสังขยสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ.

พึงทราบวินิจฉัยในบทเหล่านั้น ในข้อว่า ปุพฺพาราเม มิคารมาตุปาสาเท ได้แก่ปราสาทของมิคารมารดาในวิหาร ชื่อว่า บุพพาราม. ในข้อนั้น มีการพรรณนาความตามลําดับดังต่อไปนี้. -

ครั้งอดีตกาลในที่สุดแห่งแสนกัปป มีอุบาสิกาคนหนึ่ง นิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระแล้ว ถวายทานแสนหนึ่งแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วหมอบลงใกล้พระยุคลบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ทําการปรารถนาว่า ในอนาคตกาลขอให้ข้าพเจ้าเป็นอัคคอุปัฏฐายิกาของพระพุทธเจ้าเช่นกับพระองค์ ดังนี้. เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายสิ้นแสนแห่งกัปปแล้วถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางสุมนทวีในเรือนเศรษฐีผู้เป็นบุตรของเมณฑกะในภัททิยนคร ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ของเราทั้งหลาย. ในเวลาคลอด พวกญาติได้ตั้งชื่อเขาว่าวิสาขา. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไปยังภัททิยนคร นางวิสาขานั้นพร้อมด้วยเหล่าทาริกา ๕๐๐ ได้ทําการต้อนรับพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้เป็นพระโสดาบันในการเห็นครั้งแรกทีเดียว. ในกาลอื่นอีกนางไปสู่เรือนของปุณณวัฑฒนกุมาร บุตรมิคารเศรษฐีในพระนครสาวัตถี ในที่นั้น มิคารเศรษฐีได้ตั้งนางไว้ในตําแหน่งแห่งมารดา เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า มิคารมารดา.ก็เมื่อนางจะไปสู่ตระกูลสามี บิดาของนางได้ให้ทําเครื่องประดับชื่อว่ามหาลดาให้. เครื่องประดับนั้นประกอบไว้ด้วยเพชร ๔ ทะนาน แก้วมุกดา ๑๑ทะนาน แก้วประพาฬ ๒๒ ทะนาน แก้วมณี ๓๓ ทะนาน เครื่องประดับนั้นสําเร็จแล้วด้วยรัตนะเหล่านี้ และด้วยรัตนะอื่นมีวรรณะ ๗ ด้วยประการฉะนี้. เครื่องประดับนั้นสวมศีรษะยาวพาดไปถึงหลังเท้า. ก็หญิงผู้มีกําลังถึง

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 155

ช้างพลาย ๕ เชือก จึงสามารถประดับได้ ครั้นต่อมา นางได้เป็นอัคคอุปัฏฐายิกาของพระทศพล สละเครื่องประดับนั้นสร้างวิหารเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยทรัพย์ ๙ โกฏิ ให้ทําปราสาทพื้นที่ประมาณหนึ่งกรีส. ประดับด้วยห้องพันหนึ่ง คือ ชั้นบนของปราสาทนั้น มี ๕๐๐ ห้อง ชั้นล่างมี ๕๐๐ ห้อง. นางวิสาขานั้นคิดว่า ปราสาทล้วนๆ อย่างเดียวย่อมไม่งาม จึงให้สร้างเรือนทวิกูฏะ๕๐๐ จุลลปราสาท ๕๐๐ ห้อง. ศาลาทีปฆระ ๕๐๐ แวดล้อมปราสาทใหญ่นั้น ได้ทําการฉลองวิหาร ๔ เดือน.

ชื่อว่า การบริจาคทรัพย์ในพระพุทธศาสดาของหญิงอื่นเหมือนนางวิสาขา ผู้ดํารงอยู่ในอัตตภาพแห่งมาตุคาม มิได้มี. ชื่อว่า การบริจาคทรัพย์ไว้ในพระพุทธศาสนาของบุคคลอื่นเหมือนอนาถบิณฑิกเศรษฐีผู้ตั้งอยู่ในอัตตภาพแห่งบุรุษ ก็ไม่มี. จริงอยู่ อนาถบิณฑิกเศรษฐีนั้นสละทรัพย์ ๕๔ โกฏิสร้างมหาวิหารชื่อว่า เชตวัน เช่นกับมหาวิหารของอนุราธบุรี ในที่ส่วนอันมีในทิศทักษิณแห่งพระนครสาวัตถี. นางวิสาขา สร้างวิหารชื่อว่าบุพพาราม ในที่เช่นกับเทววิมานอันยอดเยี่ยม ในส่วนแห่งทิศปาจีน แห่งพระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้า อาศัยพระนครสาวัตถีประทับอยู่เพื่ออนุเคราะห์ตระกูลทั้งสองเหล่านี้ จึงได้ประทับอยู่ในปราสาททั้งสองเหล่านี้เนืองนิตย์. คือว่า ภายในพรรษาหนึ่ง ประทับอยู่ในพระเชตวัน พรรษาหนึ่ง ประทับอยู่ในบุพพาราม. แต่ในสมัยนั้น ประทับอยู่ในบุพพาราม.ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปุพฺพาราเม มิคารมาตุ ปาสาเท ดังนี้.

บทว่า กิตฺตาวตา นุโข ภนฺเต ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร. บทว่า สงฺขิตฺเตน ตณฺหาสงฺขยวิมุตฺโต โหติ ความว่า ว่าโดยย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ชื่อว่า น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาเพราะความที่ภิกษุนั้นมีจิตน้อมไปกระทําข้อปฏิบัตินั้นเป็นไปในอารมณ์นิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหานั้น คือว่า ท้าวสักกะจอมเทพทูล

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 156

ว่า ขอพระองค์จงแสดงปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นของภิกษุผู้มีอาสวะนั้นแล้ว ด้วยข้อปฏิบัติโดยย่อที่น้อมไปเพื่อความสิ้นตัณหา. บทว่า อจฺจนฺตนิฏ-โ ความว่าล่วงส่วนกล่าวคือสิ้นและเสื่อม ชื่อว่า อัจจันตนิฏฐะ เพราะมีความสําเร็จล่วงส่วนๆ อธิบายว่า สําเร็จล่วงส่วน คือสําเร็จเนืองๆ.บทว่า อจฺจนฺตโยคกฺเขมีความว่า มีความปลอดโปร่งจากิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วนเนื่องๆ. บทว่า อจฺจนฺตพฺรหฺมจารี ได้แก่ เป็นพรหมจารีเป็นนิตย์.ชื่อว่าอัจจันตปริโยสาน โดยนัยก่อนเพราะมีจบลงล่วงส่วน. บทว่า เสฏ-โเทวมนุสฺสานํ ได้แก่ ประเสริฐสุดคือ สูงสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. อธิบายว่า ท้าวสักกะจอมเทพย่อมทูลขอพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าภิกษุเห็นปานนี้ย่อมเป็นผู้มีข้อปฏิบัติด้วยข้อปฏิบัติเท่าไร. ขอพระองค์ตรัสบอกข้อปฏิบัติโดยย่อของภิกษุนั้นเร็วพลันเถิด. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ท้าวสักกะจอมเทพนั้น จึงปรารถนาความรีบเร่งอย่างนั้น. ตอบว่า เพราะทรงประสงค์จะไปเล่นกีฬา. ได้ยินว่า ท้าวสักกะจอมเทพนั้น รับสั่งการเล่นกีฬาในอุทยานแล้วให้มหาราชทั้ง ๔ อารักขาใน ๔ ทิศ ผู้อันหมู่แห่งทวยเทพแวดล้อมแล้ว เทวโลกทั้งสอง ทรงช้างเอราวัณกับนางฟ้อน ๒ โกฏิครึ่งประทับอยู่ที่ประอุทยาน กําหนดปัญหานี้ว่า ปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นที่บุคคลพึงบรรลุของพระขีณาสพผู้น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาโดยย่อมีเท่าไรหนอ. ทีนั้น ท้าวเธอได้มีความดําริว่า ปัญหานี้เป็นไปกับด้วยศิริยิ่งนักถ้าเราไม่ได้เรียนเอาปัญหานี้แล้ว จักเข้าไปยังอุทยานไซร้ ถูกอารมณ์อันเป็นไปในทวารทั้ง ๖ ย่ํายีแล้วจักกําหนดปัญหานี้อีกไม่ได้ การเล่นกีฬาในอุทยานงดไว้ก่อนเถิด เราจะไปสํานักของพระศาสดาทูลถามปัญหานี้ เราเรียนปัญหานี้แล้วจักเล่นกีฬาในอุทยานดังนี้ แล้วหายไปในที่คอแห่งช้างได้ปรากฏในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ท้าวมหาราชทั้ง ๔ แม้เหล่านั้นก็อารักขายืนอยู่ในที่ประทับตรงนั้นแหละ หมู่ทวยเทพผู้บําเรอก็ดี นางฟ้อนทั้ง

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 157

หลายก็ดี ช้างเอราวัณก็ดี นาคราชก็ดีได้ยืนอยู่ที่ประตูทวารนั้นนั่นแหละ.ท้าวสักกะจอมเทพนั้น เมื่อมีความปรารถนาโดยเร็ว เพื่อประสงค์จะเล่นกีฬาด้วยอาการอย่างนี้ จึงตรัสแล้วอย่างนั้น.

บทว่า สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย นี้ อธิบายว่า ขันธ์ ๕ อายตนะ๑๒ ธาตุ ๑๘ ชื่อว่า ธรรมทั้งปวง ธรรมแม้ทั้งหมดเหล่านั้น ไม่ควร คือไม่เรียน ไม่ปรารถนา ไม่ประกอบได้ด้วยความยึดมั่นด้วยอํานาจแห่งตัณหาและทิฏฐิ เพราะเหตุไรเพราะไม่ดํารงอยู่โดยอาการที่บุคคลจะถือเอาได้. จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายมีขันธ์ ๕ เป็นต้นนั้น แม้จะถือว่าเป็นของเที่ยง ความไม่เที่ยงเท่านั้นย่อมเกิดขึ้น แม้จะถือว่าเป็นสุข ความทุกข์เท่านั้น ย่อมถึงพร้อม แม้จะถือว่าเป็นอัตตา อนัตตาเท่านั้นย่อมปรากฏ เพราะฉะนั้น บุคคลจึงไม่ควรเพื่อยึดมั่น. บทว่า อภิชานาติ ได้แก่ ย่อมทราบชัดด้วยญาตปริญญาว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. บทว่า ปริชานาติได้แก่ ย่อมกําหนดรู้ด้วยตีรณปริญญา เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. บทว่ายํ กิฺจิ เวทน ได้แก่ เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้มีประมาณน้อย โดยที่สุดแม้สัมปยุตด้วยปัญจวิญญาณ. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมแสดงการกําหนดอรูปธรรม อันเกิดขึ้นด้วยอํานาจแห่งเวทนาแก่ท้าวสักกะจอมเทพด้วยบทนี้. ก็ถ้าว่า เวทนากัมมัฏฐานเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสไว้ในหนหลังไซร้ ก็ไม่ควรกล่าวไว้ในที่นี้. แต่ว่ากัมมัฏฐานนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในหนหลัง ฉะนั้น พึงทราบเวทนากัมมัฏฐานโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในสติปัฏฐาน.

ในบทว่า อนิจฺจานุปสฺสี นี้พึงทราบว่า เป็นอนิจจัง เป็นอนิจจานุปัสสนา และอนิจจานุปัสสี. ในที่นี้มีอธิบายว่า ในบรรดาบทเหล่านั้น ได้แก่เบญจขันธ์ ชื่อว่า อนิจจัง จริงอยู่ เบญจขันธ์เหล่านั้น ชื่อว่า เป็นของไม่เที่ยง เพราะอรรถว่า มีความเกิดขึ้น และมีความเสื่อมไป. ความเห็นความรู

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 158

เบญจขันธ์ทั้งหลายโดยความสิ้น ไปเสื่อมไป ชื่อว่า อนิจจานุปัสสนา. บุคคลผู้ประกอบด้วยญาณนั้น ชื่อว่าอนิจจานุปัสสี. เพราะฉะนั้น บทว่า อนิจฺจานุปสฺสี วิหรติ ได้แก่ เมื่อบุคคลตามเห็นอยู่ โดยความเป็นของไม่เที่ยง.

ในบทว่า วิราคานุปสฺสี ได้แก่ วิราคะ ๒ อย่างคือ ขยวิราคะ อัจจันตวิราคะ.. ในสองบทนั้น วิปัสสนาเป็นเครื่องเห็นสังขารทั้งหลายโดยความสิ้นไป เสื่อมไป ชื่อว่าขยะวิราคะ. ฝ่ายมรรคญาณเป็นเครื่องเห็นพระนิพพานอันเป็นอัจจันตวิราคะโดยวิราคะ ชื่อว่าวิราคานุปัสสนา บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวิราคะทั้งสองนั้น ชื่อว่าวิราคานุปัสสี. บทว่าวิราคานุปสสฺสี ท่านกล่าวหมายถึงบุคคลนั้น อธิบายว่า บุคคลผู้ตามเห็นอยู่โดยความเป็นวิราคะ. แม้ในบทว่า นิโรธานุปสฺสี ก็นัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่ แม้นิโรธก็มี๒ อย่างเหมือนกันคือขยนิโรธะและอัจจันตนิโรธะ.

โวสัคคะ (การสละแล้ว) ท่านเรียกว่าการสละคืน ในบทว่า ปฏิ-นิสฺสคฺคานุปสฺสีนี้. ก็โวสสัคคะ มี ๒ คือ ปริจจาคโวสสัคคะ ปักขันทนโวสสัคคะ. ในสองอย่างนั้น วิปัสสนา ชื่อว่า ปริจจาคโวสสัคคะเพราะว่าวิปัสสนานั้น ย่อมสละกิเลสและขันธ์ทั้งหลายด้วยสามารถแห่งตทังคะ.มรรคชื่อว่า ปักขันทนโวสสัคคะเพราะมรรคนั้นย่อมแล่นไปสู่นิพพานโดยอารมณ์. อีกอย่างหนึ่ง การสละด้วยเหตุแม้ทั้งสองคือเพราะการสละขันธ์ทั้งหลายกิเลสทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งสมุจเฉทะและเพราะการแล่นไปในนิพพาน ฉะนั้นชื่อว่า ปริจจาคโวสสัคคะเพราะอรรถว่าสละกิเลสทั้งหลายและขันธ์ทั้งหลาย นิโรธชื่อว่า ปักขันทนโวสสัคคะ เพราะอรรถว่า จิตย่อมแล่นไปในนิพพานธาตุ. ทั้งสองนั้นย่อมเสมอกันในมรรค บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยโวสสัคคะ. แม้ทั้งสองนั้นชื่อว่า ปฏินิสสัคคานุปัสสี เพราะความที่บุคคลนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยความเห็น โดยการสละคืนนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาคําที่กล่าวนั้น จึงตรัสว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 159

บทว่า น กิฺจิ โลเก อุปาทิยติ ได้แก่ ย่อมไม่ยึดมั่น ไม่ยึดถือ ไม่ลูบคลําธรรมแม้อย่างใดอย่างหนึ่ง อันถึงความเป็นสังขาร ด้วยอํานาจแห่งตัณหาย่อมไม่สะดุ้งเพราะความไม่ยึดมั่น เมื่อไม่ยึดถือ จึงไม่สะดุ้งเพราะความสะดุ้งด้วยตัณหาทั้งหลาย ย่อมดับไปเฉพาะตัวเท่านั้น ดังนั้นจึงชื่อว่า ย่อมดับด้วยการดับกิเลสเองทีเดียว. ปัจจเวกขณะของพระขีณาสพนั้นแหละ ท่านแสดงไว้ด้วย บทว่า ขีณา ชาติ เป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อันท้าวสักกะจอมเทพทูลถามข้อปฏิบัติอันเป็นส่วนเบื้องต้นของพระขีณาสพโดยย่อทรงกระทําให้เบาพระทัยพร้อมตรัสตอบปัญหาโดยย่อเร็วพลัน ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า อวิทูเร นิสินฺโน โหติ ความว่า พระมหาโมคคัลลานะนั่งอยู่ในกูฏาคารถัดไป. บทว่า อภิสเมจฺจ ได้แก่ มาถึงพร้อมด้วยญาณ อธิบายว่ารู้แล้ว. มีอธิบายว่า ท้าวสักกะจอมเทพนั้นรู้ปัญหาแล้วจึงยินดีหรือ หรือว่าไม่รู้แล้วสั่นศีรษะเพราะเหตุไร พระเถระจึงได้มีความคิดอย่างนี้ได้ยินว่า พระเถระไม่ได้ยินเสียงแก้ปัญหาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแต่ได้ยินเสียงอนุโมทนาของท้าวสักกะจอมเทพว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนั้นเป็นอย่างนั้นๆ ดังนี้. นัยว่า ท้าวสักกะเทวราชทรงอนุโมทนาด้วยเสียงอันดัง. ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรจึงไม่ได้ยินเสียงพระผู้มีพระภาคเจ้า. ตอบว่า เพราะยังบริษัทให้รู้. จริงอยู่ เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงแสดงธรรมอยู่ อันบริษัทในที่สุดแห่งจักรวาล ย่อมได้ยินพระสุรเสียงเป็นอันเดียวกัน. แต่เลยที่สุดแห่งบริษัทแล้ว พระสุรเสียงจะไม่แผ่ไปในภายนอกแม้สักองคุลีเพราะเหตุไร มธุรกถาเห็นปานนี้ จึงไม่มีประโยชน์.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งในห้องอันเป็นศิริ ในกูฏาคารอันสําเร็จแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ บนปราสาทของมิคารมารดากูฏาคารอันเป็นที่อยู่ของพระสารีบุตรเถระอยู่ข้างขวา ของพระมหาโมคคัลลานะ

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 160

เถระ อยู่ข้างซ้าย ไม่มีช่องว่างติดต่อในภายใน เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงไม่ได้ยินเสียงของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ยินแต่เสียงของท้าวสักกะจอมเทพเท่านั้น.

บทว่า ปฺจหิ ตุริยสเตหิ ได้แก่ดนตรีประกอบด้วยองค์ ๕ มีประมาณห้าร้อย. เครื่องดนตรีประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้คืออาตตํ กลองหุ้มหนังหน้าเดียว, วิตตํ คือตะโพน, อาตตวิตตํ คือ บัณเฑาะว์. สุสิรํ คือ ปีหรือสังข์เป็นต้น และฆนํ คือ ฉิ่งเป็นต้น ชื่อว่า ดนตรีประกอบด้วยองค์ ๕. ในเครื่องดนตรีเหล่านั้น ในบรรดากลองทั้งหลายมีกลองที่หุ้มหนังหน้าเดียว ชื่อว่าอาตตะ.. กลองที่หุ้มหนังสองหน้า ชื่อว่าวิตตะ...กลองที่หุ้มด้วยหนังทั้งหมดมีบัณเฑาะว์เป็นต้น ชื่อว่า อาตตวิตตะ. เครื่องเป่ามีปีเป็นต้น ชื่อว่า สุสิระ. ฉิ่งเป็นต้น ชื่อว่า ฆน.

บทว่า สมปฺปิโต ได้แก่ เข้าถึงแล้ว. บทว่า สมงฺคีภูโต เป็นคําไวพจน์ของ สมปฺปิโตนั้นนั่นแหละ. บทว่า ปริจาเรติ ได้แก่ เสวยอยู่ซึ่งสมบัติ ให้บําเรออินทรีย์ทั้งหลายจากสมาบัตินั้นๆ อธิบายว่า ประกอบด้วยดนตรีห้าร้อยบํารุงบําเรออยู่ เสวยอยู่ซึ่งทิพยสมบัติ. บทว่า ปฏิปณาเมตฺวาได้แก่ให้หยุดเสียคือทําไม่ให้มีเสียงดนตรี. เหมือนอย่างว่า ในบัดนี้พระราชาทั้งหลายผู้มีศรัทธาทอดพระเนตรเห็นภิกษุผู้ควรแก่การเคารพยกย่อง จึงตรัสว่าพระผู้เป็นเจ้าชื่อโน้นมา พวกเธอทั้งหลายอย่าให้ขับร้อง อย่าประโคมดนตรีอย่าฟ้อนรํา แล้วให้งดการแสดงเสีย ฉันใด แม้ท้าวสักกะทอดพระเนตรเห็นพระเถระก็ได้กระทํา ฉันนั้น.

บทเห็นปานนี้ว่า จิรสฺสํ ข มาริส โมคฺคลฺลาน อิมํ ปริยายมกาสิเป็นคําร้องเรียกด้วยวาจาเป็นที่รักโดยปกติในโลก. จริงอยู่ชาวโลกเห็นผู้ที่มานานแล้วบ้างไม่เคยมาบ้าง มาในชาติของผู้เป็นที่รักที่ชอบใจ พากันถามเป็นต้นว่า ท่านมาจากไหนขอรับ มานานแล้วหรือ ท่านรู้ทางมาที่นี้ได้อย่าง

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 161

ไร ท่านหลงทางมาหรือเปล่า. แต่ท้าวสักกะ ก็ตรัสอย่างนี้กะท่านพระมหาโมคคัลลานะเถระ เพราะเคยมาแล้ว. จริงอยู่ พระเถระย่อมเที่ยวจาริกไปในเทวโลกตลอดกาลทีเดียว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริยายมกาสิ แปลว่าได้กระทําวาระ. บทว่า ยทิทํ อิธาคมนาย มีอธิบายว่าวาระเพื่ออันมาในที่นี้ อันใด ได้ทําวาระนั้นสิ้นกาลนาน. บทว่า อิทมาสนํ ปฺตฺตํ ความว่า ท้าวสักกะปูบัลลังก์แก้วมณีโยชน์หนึ่ง จึงตรัสอย่างนี้ดังนี้.

บทใน พหุกิจฺจา พหุกรณียา นี้ ความว่า กิจทั้งหลายของชนเหล่าใดมาก ชนเหล่านั้น ชื่อว่า มีกิจมาก. บทว่า พหุกรณียา นี้ เป็นคําไวพจน์ของบทว่า พหุกิจฺจา นั้นนั่นเอง. บทว่าอุปฺเปว สเกน กรณีเยน ได้แก่ กรณียกิจของตนนั่นแหละ. ก็กรณียกิจของสักกะนั้นน้อยไม่มาก แต่กรณียกิจของเทวดาทั้งหลายมีมากจริงอยู่ คดีความตั้งแต่พื้นดินไป เพื่อต้องการต้นกัลปพฤกษ์ และมาตุคามเป็นต้น ย่อมตัดสินในสํานักของท้าวสักกะ เพราะฉะนั้น เมื่อท้าวเธอกําหนดอยู่ จึงตรัสว่า มีกรณียกิจของเทวดาทั้งหลายชั้นดาวดึงส์อีก ดังนี้. แท้จริง ธิดาและบุตรย่อมเกิดขึ้นที่ตักของเทวดาทั้งหลายหญิงผู้เป็นบาทบริจาริกาย่อมเกิดขึ้นในที่นอน ผู้ประดับตกแต่งเทวดาเหล่านั้น ก็เกิดแวดล้อมที่ตนของเทพธิดา ผู้ช่วยเหลือกิจการงานทั้งหลายเกิดขึ้นภายในวิมาน จึงไม่มีคดีความเพื่อต้องการสิ่งเหล่านั้น แต่ว่า มาตุคามเหล่านั้นใดย่อมเกิดขึ้นในระหว่างเขตแดน เขาไม่สามารถตัดสินว่า มาตุคามเหล่านั้นเป็นสมบัติของเราหรือว่าของท่าน เมื่อจะทําคดีจึงทูลถามท้าวสักกะเทวราช. ท้าวสักกะเทวราชนั้นย่อมตรัสว่าวิมานของผู้ใดอยู่ใกล้กว่าก็เป็นสมบัติของผู้นั้น. ถ้าว่าวิมานแม้ทั้งสองมีอยู่ในระหว่างเท่ากัน ท้าวสักกะก็จะตรัสว่าผู้ที่เกิดมานั้นยืนแลดูวิมานของผู้ใดก็เป็นสมบัติของผู้นั้น. ถ้าไม่แลดูแม้สักวิมานเดียวเพื่อต้องการตัดการวิวาทของเทวดาทั้งหลายนั้น ก็กระทํามาตุคามนั้นให้เป็นสมบัติของพระองค์เอง. ท้าวสักกะจอมเทพตรัสคําว่า มี

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 162

กรณียกิจของเทวดาทั้งหลายชั้นดาวดึงส์นี้ หมายเอาคําที่กล่าวแล้วนั้น อีกอย่างหนึ่ง แม้กิจคือการเล่นในอุทยานเห็นปานนี้ก็เป็นกรณียกิจของท้าวสักกะเหมือนกัน.

บทว่า ยนฺโน ขิปฺปเมวอนฺตรธายติ ความว่าคําใดที่ข้าพเจ้าฟังแล้วคํานั้นหายไปแล้วเร็วพลัน เหมือนรูปไม่ปรากฏในที่มืด คือว่า ท้าวสักกะจอมเทพนั้น ย่อมแสดงว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าย่อมกําหนดไม่ได้ถึงการแก้ปัญหานั้น ด้วยบทว่ายนฺโน ขิปฺปเมวอนุตรธายตินี้. พระเถระพิจารณาอยู่ว่า เพราะเหตุไรหนอ ท้าวสักกะนี้จักแสดงถึงความที่ตนเป็นผู้กําหนดไม่ได้ ทราบว่าจะรักษาประโยชน์อันเป็นส่วนข้างตนไว้ขึ้นชื่อว่าพวกเทพย่อมเป็นผู้หลงลืม ถูกอารมณ์อันเป็นไปในทวารทั้ง ๖ บีบคั้นอยู่ ย่อมไม่รู้แม้ความที่ตนเป็นผู้บริโภคแล้วหรือยังไม่บริโภค ย่อมไม่รู้แม้ความที่ตนเป็นผู้ดื่มแล้วหรือยังไม่ได้ดื่ม จักหลงลืมกิจอันตนกระทําแล้วในที่นี้ ดังนี้.

ก็อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระเถระเป็นผู้ควรเคารพ ควรยกย่องของท้าวสักกะเพราะฉะนั้น ท้าวเธอจึงตรัสอย่างนั้น ด้วยเกรงกลัวพระเถระจะพึงคุกคามเราอย่างนี้ว่า บัดนี้ท้าวสักกะเรียนปัญหาในสํานักของบุคคลผู้เลิศในโลกมาแล้ว บัดนี้ก็เข้าไปสู่ระหว่างนางฟ้อนรําทั้งหลายดังนี้. ก็ขึ้นชื่อว่าความพิศวงอย่างนี้มีอยู่. ชื่อว่าความพิศวง เห็นปานนี้ของพระอริยสาวกย่อมไม่มี. เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ท้าวสักกะจอมเทพนั้น กําหนดไม่ได้สลัวด้วยความเป็นผู้หลงลืม. ถามว่า เพราะเหตุไรในภายหลังจึงกําหนดได้เล่า. ตอบว่า เพราะพระเถระได้ยังความโสมนัส และความสังเวชให้เกิดแก่ท้าวเธอแล้วนําควานมืดออกไป จึงกําหนดได้.

บัดนี้ ท้าวสักกะเพื่อจะบอกเหตุอันน่าพิศวงอย่างหนึ่งของตนในกาลก่อนแก่พระเถระจึงตรัสคําว่า ภูตปุพพํ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บท

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 163

ว่า สมุปพฺยฺฬโห แปลว่า ประชิดกันแล้วคือเป็นกองทัพ. บทว่าอสุราปรายึสุ ได้แก่พวกอสูรถึงความปราชัย. ถามว่าก็พวกอสูรเหล่านั้น ถึงความปราชัยในกาลไร. ตอบว่า ในกาลที่ท้าวสักกะทรงอุบัติขึ้น.

ได้ยินว่า ท้าวสักกะได้เป็นมาณพ เป็นบัณฑิต เป็นผู้เฉียบแหลมชื่อว่า มาฆะในบ้าน อจลคาม ในมคธรัฐ ในอัตตภาพถัดไป ความประพฤติของเขาได้เหมือนความประพฤติของพระโพธิสัตว์. นายมฆะมาณพนั้นพาเอาบุรุษ ๓๓ คนให้สร้างความดี. วันหนึ่งเขาใคร่ครวญด้วยปัญญาของตนแล้วขนขยะทั้งสองข้างในที่มหาชนประชุมกัน ในท่ามกลางบ้านออกไป ได้กระทําที่นั้นให้เป็นที่รื่นรมย์ ได้สร้างมณฑปในที่นั้นนั่นแหละอีก เมื่อกาลผ่านไปก็สร้างศาลาอีกเขาออกจากบ้านเที่ยวไปพร้อมกับสหายเหล่านั้น ได้กระทําที่อันไม่เสมอกันให้เสมอกัน มีประมาณคาวุตหนึ่งบ้างครึ่งโยชน์บ้าง สามคาวุตบ้าง หนึ่งโยชน์บ้าง ชนทั้งหมดแม้เหล่านั้น มีฉันทะเป็นอันเดียวกัน เมื่อจะสร้างสะพานในที่ควรสร้างสะพานสร้างมณฑปเป็นต้น ในที่ควรแก่มณฑป ศาลา สระโบกขรณีและปลูกไม้ดอกไม้กอเป็นต้น ได้กระทําบุญเป็นอันมาก. นายมฆะมาณพได้บําเพ็ญวัตตบท ๗ ประการ ครั้นถึงแก่กรรมย่อมไปบังเกิดในภพดาวดึงส์พร้อมกับสหาย. ในกาลนั้น พวกอสูรอาศัยอยู่ในดาวดึงส์เทวโลก. พวกอสูรเหล่านั้นทั้งหมดมีอายุและวรรณะเสมอเทพทั้งหลาย พวกเขาเห็นท้าวสักกะพร้อมทั้งบริษัทเพิ่งเกิดขึ้น จึงคิดว่า พวกเทวบุตรใหม่มาแล้วจึงจัดแจงน้ำมหาปานะมาต้อนรับ. ท้าวสักกะได้ให้สัญญาคือบอกอุบายแก่เทวบุตรทั้งหลายว่าพวกเรากระทํากุศล แต่ไม่ได้กระทํากุศลทั่วไปร่วมกับชนเหล่าอื่น พวกท่านอย่าดื่มน้ำคัณฑบาน จงทําเพียงดื่มเท่านั้นดังนี้. พวกเขาได้กระทําเหมือนอย่างนั้น พวกอสูรโง่พากันดื่มน้ำคัณฑบานเมาแล้วหลับไป. ท้าวสักกะให้สัญญาแก่พวกเทพแล้วพากันจับเท้าพวกอสูรขว้างไปยังเชิงเขาสิเนรุ. เพราะ

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 164

ว่า พิภพของอสูรมีอยู่ณ พื้นภายใต้แห่งเขาสิเนรุ มีประมาณเท่าดาวดึงส์เทวโลกทีเดียว. พวกอสูรอยู่ในที่นั้น มีต้นไม้ของพวกอสูร ชื่อว่าจิตตปาฏลิ (ต้นไม้ประจําอสูรพิภพ). พวกอสูรเหล่านั้น ย่อมรู้ได้ในเวลาที่ต้นจิตตปาฏลิบานว่า ต้นไม้นี้ไม่ใช่ต้นไม้ประจําภพดาวดึงส์พวกเราถูกท้าวสักกะลวงแล้ว. พวกเขากล่าว่า พวกท่านจงจับท้าวสักกะนั้น ดังนี้แล้วคุ้มครองรักษาเขาสิเนรุอยู่ ครั้นเมื่อฝนตกแล้ว ก็พากันขึ้นไปเหมือนตัวปลวกออกไปจากจอมปลวก. ในการรบกันนั้น บางคราวพวกเทพชนะ บางคราวพวกอสูรชนะ. เมื่อใดพวกเทพชนะ พวกเขาก็จะติดตามพวกอสูรไปจนถึงหลังสมุทร. เมื่อใด พวกอสูรชนะ พวกเขาก็จะติดตามพวกเทพไปจนถึงชานชาลา (คือนอกกําแพงเมือง).แต่ว่าในการรบนั้น พวกเทพชนะ.พวกเทพจึงตามพวกอสูรไปจนถึงหลังสมุทร. ท้าวสักกะยังพวกอสูรให้หนีไปแล้วจึงตั้งอารักขาไว้ในที่๕ แห่ง. ได้ให้อารักขาอย่างนี้ ทรงตั้งรูปเหมือนพระอินทร์มีมือถือวชิระ ณ เชิงชาน. อสูรทั้งหลายยกกันมาทีไรก็เห็นรูปเปรียบพระอินทร์นั้น จึงพากันกลับแต่ที่นั้นนั่นแหละ. ด้วยสําคัญว่า ท้าวสักกะ.ไม่ประมาทประทับยืนอยู่ดังนี้.

บทว่า ตโต ปฏินิวตฺติตฺวา ได้แก่ กลับจากที่อันท้าวสักกะนั้นชนะแล้ว. บทว่า ปริจาริกาโย แปลว่า นางอัปสรทั้งหลาย ได้แก่นางผู้ทํากิจการงานทั้งหลาย มีการทําพวงดอกไม้และของหอมเป็นต้น. บทว่า เวสฺสวโณจ มหาราช ความว่า ได้ยินว่า ท้าวเวสสวัณนั้นเป็นที่โปรดปราน เป็นผู้คุ้นเคยมากของท้าวสักกะ. เพราะฉะนั้น จึงได้ไปกับท้าวสักกะ.

บทว่า ปุรกฺขตฺวาคือกระทําไว้ข้างหน้า. บทว่า ปวิสึสุ ความว่าก็เทพธิดาผู้บําเรอท้าวสักกะเหล่านั้น เข้าไปสู่ห้องแล้วปิดประตูไว้ครึ่งหนึ่ง ยืนแลดูอยู่. บทว่า อิทมฺปิ มาริส โมคฺคลฺลาน ปสฺส เวชยนฺตปาสาทสฺส รามเณยฺยกํ ความว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ขอท่าน

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 165

จงดูสถานที่เป็นที่น่ารื่นรมย์แห่งเวชยันตปราสาทแม้นี้ คือว่า จงดูรูปสัตว์ร้ายที่เสาทอง เสาเงิน เสาแก้วมณี เสาแก้วประพาฬ เสาแก้วทับทิม เสาแก้วลาย เสาแก้วมุกดา เสารัตนะ ๗ ประการเป็นแท่งอันสําเร็จด้วยทองเป็นต้น ของเสาเหล่านั้นทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อจะแสดงสถานที่อันเป็นที่น่ารื่นรมย์กระทําถ่องแถวแห่งเสาด้วยอาการอย่างนี้ให้เป็นต้น จึงตรัสอย่างนั้น.

บทว่า ยถาตํ ปุพฺเพ กตปุฺสฺส อธิบายว่า สถานที่ของบุคคลผู้มีบุญอันกระทําไว้ในกาลก่อน พึงงามด้วยการตั้งไว้ซึ่งเครื่องอุปโภค ฉันใดของท้าวสักกะก็ย่อมงามฉันนั้นเหมือนกัน.บทว่า อติพาฬฺหํ โข อยํยกฺโข ปมตฺโต วิหรติ ความว่า ท้าวสักกะนี้ มัวเมายิ่งนักด้วยปราสาทด้วยนักฟ้อนเป็นบริวาร ด้วยสมบัติ ด้วยยศของตน. บทว่า อิทฺธาภิสํ ขารํอภิสํ ขาเรติ คือว่า ได้กระทําอิทธิ. อธิบายว่า พระมหาโมคคัลลานะเถระเข้าอาโปกสิณแล้วอธิฐานว่า ขอโอกาสอันเป็นที่ตั้งเฉพาะปราสาท จงเป็นน้ำแล้วเอาหัวแม่เท้ากดลงที่ช่อฟ้าปราสาท. ปราสาทนั้น สั่นสะท้านหวั่นไหวไปมา เหมือนบาตรตั้งไว้บนหลังน้ำ เอานิ้วเคาะที่ขอบบาตรก็หวั่นไหวไปมา ตั้งอยู่ไม่ได้ ฉะนั้น. วัตถุทั้งหลาย มีหลังเสาเขื่อน ช่อฟ้า จันทันเป็นต้นส่งเสียงดังกระกระ ราวกะเริ่มเพื่อจะตกไป. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าสํกมฺเปสิ สมฺปกมฺเปสิ สมฺปเวเธสิ ดังนี้.

บทว่า อจฺฉริยพฺภูตจิตฺตชาตา ได้แก่ มีความอัศจรรย์ไม่เคยมี เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมา และมีความยินดี คือมีโสมนัสที่มีกําลังเกิดขึ้นแล้ว. บทว่า สํวิคฺคํ ได้แก่ ตกใจกลัวแล้ว คือหวั่นไหวแล้ว. บทว่า โลมหฏชาตํ ได้แก่ ขนชูชันขึ้น คือ มีสรีระสะพรั่งด้วยขนทั้งหลายตั้งขึ้นไปเบื้องบน เหมือนขอแขวนแก้วมณีที่เขาติดตั้งไว้ที่ฝาเรือน

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 166

ทอง. อนึ่ง ชื่อว่า ขนชูชันนี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยโสมนัสบ้าง ด้วยโทมนัสบ้าง.แต่ในที่นี้ เกิดขึ้นด้วยความโสมนัส. นัยว่า พระเถระได้ทําปาฏิหาริย์นั้นเพื่อให้ท้าวสักกะเกิดความสังเวชด้วยความโสมนัสและความสลดใจ.เพราะฉะนั้น พึงทราบอรรถว่า พระมหาโมคคัลลานเถระนั้นรู้ว่าท้าวสักกะจอมเทพนั้น มีความสลดจิตขนลุกแล้ว ด้วยความโสมนัสและความสลดใจดังนี้.

บทว่า อิธาหํ มาริส ความว่า บัดนี้ พระเถระยังโสมนัสและความสลดจิตของท้าวสักกะให้เกิดขึ้น ทําลายความมืดได้แล้ว เพราะฉะนั้นกําหนดได้แล้ว จึงกล่าวอย่างนี้.

บทว่า เอโส นุ เต มาริส โส ภควา สตฺถา ความว่า เมื่อนางเทพอัปสรทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์เสด็จไปไหน ท้าวสักกะตรัสตอบว่า ไปสํานักของพระศาสนาของเรา พระองค์ตรัสอย่างนี้ราวกะที่นั้นตั้งอยู่พื้นเดียวกันกับเทวโลกนี้. ทูลถามอีกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์พระสมณะนั้นเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ศาสนาของพระองค์หรือหนอ. ในบทว่า สพฺรหฺมจารีเม เอโส นี้ ความว่า พระเถระเป็นบรรพชิต เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอภินิหารเป็นพระอัครสาวก แต่ท้าวสักกะเป็นผู้ครองเรือน แม้ก็จริงถึงอย่างนั้น ท่านทั้งสองก็เป็นพรหมจารีด้วยอํานาจแห่งมรรคพรหมจรรย์เพราะฉะนั้น ท้าวสักกะจึงตรัสอย่างนั้น. บทว่าอโห นูน เต โส ภควา สตฺถา ความว่า สพรหมจารีของพระองค์มีฤทธิ์มากถึงอย่างนี้. พวกนางปริจาริกา ได้กล่าวถึงการเกิดขึ้นในการเห็นอิทธิปาฏิหาริย์ของพระศาสดาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ก็พระเถระนั้นเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ศาสดาของพระองค์ น่าจะมีฤทธิ์มากแน่. บทว่า าตฺตรสฺส ความว่า ผู้ใดผู้หนึ่งที่ปรากฏ จริงอยู่บรรดาผู้ที่ปรากฏมีชื่อเสียงทั้งหลาย ท้าวสัก-

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 167

กะเป็นผู้หนึ่ง. คําที่เหลือในที่ทั้งปวง ปรากฏชัดเจนแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังเทศนาให้จบลงตามอนุสนธิ ดังนี้แล.

จบ อรรถกถาจูฬตัณหาสังขยสูตรที่ ๗