๘. มหาตัณหาสังขยสูตร
[เล่มที่ 19] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 168
๘. มหาตัณหาสังขยสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 19]
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 168
๘. มหาตัณหาสังขยสูตร
[๔๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุชื่อสาติผู้เกวัฏฏบุตร (บุตรชาวประมง) มีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น.
ภิกษุมากด้วยกันได้ฟังว่า ภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร มีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละย่อมท่องเที่ยว แล่นไปไม่ใช่อื่น จึงเข้าไปหาสาติภิกษุแล้วถามว่า ดูก่อนท่านสาติ ได้ยินว่าท่านมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่าวิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ.
เธอตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้จริง.
ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาจะปลดเปลื้องภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตรจากทิฏฐินั้น จึงซักไซ้ ไล่เลียงสอบสวนว่า ดูก่อนท่านสาติ ท่านอย่ากล่าวอย่างนี้ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสอย่างนี้เลย ดูก่อนท่านสาติวิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยาย เป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัยมิได้มี.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 169
ภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร อันภิกษุเหล่านั้น ซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่อย่างนี้ ก็ยังยึดมั่นถือทิฏฐิอันลามกนั้นรุนแรง และกล่าวอยู่ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยวแล่นไปไม่ใช่อื่น ดังนี้.
ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก
[๔๔๑] เมื่อภิกษุเหล่านั้น ไม่อาจปลดเปลื้องสาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตรจากทิฏฐิลามกนั้นได้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาติภิกษุมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้ เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่าวิญญาณนี้นั่นแหละย่อมท่องเที่ยวแล่นไป ไม่ใช่อื่น ครั้งนั้นพวกข้าพระองค์เข้าไปหาสาติภิกษุ แล้วถามว่า ดูก่อนท่านสาติ ได้ยินว่า ท่านมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่าวิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยวไป แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ เมื่อพวกข้าพระองค์ถามอย่างนี้ สาติภิกษุได้บอกพวกข้าพระองค์ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่าวิญญาณนี้นั่นแหละย่อมท่องเที่ยวแล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้จริง ในลําดับนั้น พวกข้าพระองค์ปรารถนาจะปลดเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิอันลามกนั้น จึงซักไซ้ไล่เลียง สอบสวนว่า ดูก่อนท่านสาติ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสอย่างนี้เลย ดูก่อนท่านสาติ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณเว้นจากปัจจัยมิได้มี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาติภิกษุอันพวกข้าพระองค์ซัก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 170
ไซ้ไล่เลียงสอบสวน อยู่แม้อย่างนี้ก็ยังยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอันลามกนั้นรุนแรงและกล่าวอยู่ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลายข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละย่อมท่องเที่ยวแล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริงข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพวกข้าพระองค์ไม่อาจปลดเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิอันลามกนั้น จึงมากราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
[๔๔๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่ง มาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุเธอจงมา เธอจงเรียกสาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร ตามคําของเราว่า ดูก่อนท่านสาติ พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจึงเข้าไปหาสาติภิกษุแล้วบอกว่าดูก่อนท่านสาติพระศาสดารับสั่งให้หาท่าน.
สาติภิกษุรับคําภิกษุนั้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วจึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่าดูก่อนสาติ ได้ยินว่า เธอมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่าวิญญาณนี้นั่นแหละย่อมท่องเที่ยวแล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ.
สาติภิกษุทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยวแล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่าดูก่อนสาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 171
สาติภิกษุทูลว่า สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนดีทั้งส่วนชั่วในที่นั้นๆ นั่นเป็นวิญญาณ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ที่เราแสดงแก่ใครเล่า ดูก่อนโมฆบุรุษ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ ความเกิดแห่งวิญญาณเว้นจากปัจจัย มิได้มี ดูก่อนโมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่เราด้วยขุดตนเสียด้วยจะประสบบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้วดูก่อนโมฆบุรุษ ก็ความเห็นนั้นของเธอจักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.
ตรัสสอบถามเรื่องสาติภิกษุผู้มีความเห็นผิดนั้น
[๔๔๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสําคัญความนั้นเป็นไฉน สาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตร จะเป็นผู้ทําความเจริญในพระธรรมวินัยนี้บ้างหรือไม่.
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้มีได้อย่างไร ข้อนี้มีไม่ได้เลยพระพุทธเจ้าข้า.
เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลอย่างนี้แล้ว สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร นั่งนิ่งกระดาก คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ.
ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร มีความเป็นดังนั้นแล้วจึงตรัสกะเธอว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอจักปรากฏด้วยทิฏฐิอันลามกของตนนั้น เราจักสอบถามภิกษุทั้งหลายในที่นี้ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเหมือนสาติภิกษุ กล่าวตู่เรา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 172
ด้วยขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วยเพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ดังนี้หรือ.
ภิกษุเหล่านั้น ทูลว่าข้อนี้ไม่มีเลยพระพุทธเจ้าข้า เพราะวิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วแก่พวกข้าพระองค์โดยอเนกปริยาย ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัยมิได้มี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายดีละ พวกเธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงอย่างนี้ถูกแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลายวิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น เรากล่าวแล้วโดยอเนกปริยาย ความเกิดแห่งวิญญาณเว้นจากปัจจัยมิได้มี ก็แต่สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตรนี้ กล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วยจะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วยเพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ความเห็นนั้นของโมฆบุรุษนั้น จักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.
ปัจจัยเป็นเหตุเกิดแห่งวิญญาณ
[๔๔๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้นก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ วิญญาณอาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าจักษุวิญญาณ วิญญาณอาศัยโสตและเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าโสตวิญญาณ วิญญาณอาศัยฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าฆานวิญญาณ วิญญาณอาศัยชิวหาและ.รสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าชิวหาวิญญาณ วิญญาณอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ากายวิญญาณวิญญาณอาศัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ามโนวิญญาณ เปรียบเหมือนไฟอาศัยเชื้อใดๆ ติดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยเชื้อนั้นๆ ไฟอาศัยไม่ติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟฟืน ไฟอาศัยสะเก็ดไม่ติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟสะเก็ด
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 173
ไม้ ไฟอาศัยหญ้าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟหญ้า ไฟอาศัยโคมัยติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟโคมัย ไฟอาศัยแกลบติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟแกลบ ไฟอาศัยหยากเหยื่อติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟหยากเหยื่อ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลายฉันนั้นเหมือนกันแล วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ วิญญาณอาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าจักษุวิญญาณ วิญญาณอาศัยโสตและเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าโสตวิญญาณ วิญญาณอาศัยฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าฆานวิญญาณ วิญญาณอาศัยชิวหาและรสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ชิวหาวิญญาณ วิญญาณอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ากายวิญญาณ วิญญาณอาศัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้นก็ถึงความนับว่ามโนวิญญาณ.
[๔๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายย่อมเห็นขันธปัญจกที่เกิดแล้วหรือไม่?
ภ. เห็นพระพุทธเจ้าข้า.
พ. เธอทั้งหลายย่อมเห็นว่า ขันธปัญจกนั้นเกิดเพราะอาหารหรือ?
ภ. เห็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. เธอทั้งหลายย่อมเห็นว่า ขันธปัญจกนั้นมีความดับเป็นธรรมดาเพราะความดับแห่งอาหารนั้นหรือ?
ภ. เห็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ความสงสัยย่อมเกิดขึ้นเพราะความเคลือบแคลงว่าขันธปัญจกนี้มีหรือหนอ?
ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 174
พ. ความสงสัยย่อมเกิดขึ้น เพราะความเคลือบแคลงว่า ขันธปัญจกเกิดเพราะอาหารนั้นหรือหนอ
ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ความสงสัยย่อมเกิดขึ้น เพราะความเคลือบแคลงว่าขันธปัญจกมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้นหรือหนอ?
ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้เกิดแล้วย่อมละความสงสัยที่เกิดขึ้นเสียได้หรือ.
ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกเกิดเพราะอาหารนั้น ย่อมละความสงสัยที่เกิดขึ้นเสียได้หรือ?
ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้น ย่อมละความสงสัยที่เกิดขึ้นเสียได้หรือ
ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. เธอทั้งหลายหมดความสงสัยในข้อว่า ขันธปัญจกเกิดเพราะอาหารนั้นแม้ดังนี้หรือ
ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. เธอทั้งหลายหมดความสงสัยในข้อว่า ขันธปัญจกนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้น แม้ดังนี้หรือ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 175
ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. เธอทั้งหลายเห็นดีแล้ว ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่าขันธปัญจกนี้เกิดแล้วดังนี้หรือ.
ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. เธอทั้งหลายเห็นดีแล้ว ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่าขันธปัญจกเกิดเพราะอาหารนั้น ดังนี้หรือ?
ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. เธอทั้งหลายเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่าขันธปัญจกนั้น มีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้น ดังนี้หรือ.
ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. หากว่าเธอทั้งหลาย พึงติดอยู่ เพลินอยู่ ปรารถนาอยู่ ยึดถือเป็นของเราอยู่ ซึ่งทิฏฐินี้อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ (ด้วยตัณหาและทิฏฐิ) เธอทั้งหลายพึงรู้ทั่วถึงธรรมที่เปรียบด้วยทุ่นอันเราแสดงแล้วเพื่อประโยชน์ในอันสลัดออก มิใช่แสดงแล้วเพื่อประโยชน์ในอันถือไว้ บ้างหรือหนอ?
ภ. ข้อนี้ไม่เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. หากว่า เธอทั้งหลายไม่ติดอยู่ ไม่เพลินอยู่ ไม่ปรารถนาอยู่ ไม่ยึดถือเป็นของเราอยู่ ซึ่งทิฏฐิอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้เธอทั้งหลายพึงรู้ธรรมที่เปรียบด้วยทุ่นอันเราแสดงแล้วเพื่อประโยชน์ในอันสลัดออกไม่ใช่แสดงแล้วเพื่อประโยชน์ในอันถือไว้บ้างหรือหนอ?
ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 176
อาหาร ๔
[๔๔๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาร๔ อย่างเหล่านี้ เพื่อความตั้งอยู่แห่งเหล่าสัตว์ที่เกิดแล้วบ้าง เพื่อความอนุเคราะห์เหล่าสัตว์ที่แสวงหาภพที่เกิดบ้างอาหาร ๔ อย่าง เป็นไฉน?อาหาร ๔ อย่าง คือ กวฬิงการาหาร อันหยาบหรือละเอียดเป็นที่ ๑ผัสสาหารเป็นที่ ๒ มโนสัญเจตนาหารเป็นที่ ๓ วิญญาณาหารเป็นที่๔ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัยมีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด อาหาร ๔ เหล่านี้ มีตัณหาเป็นเหตุมีตัณหาเป็นสมุทัย มีตัณหาเป็นชาติมีตัณหาเป็นแดนเกิดดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็ตัณหานี้มีอะไรเป็นเหตุมีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติมีอะไรเป็นแดนเกิด ตัณหา มีเวทนาเป็นสมุทัย มีเวทนาเป็นชาติมีเวทนาเป็นแดนเกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็เวทนานี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัยมีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นสมุทัยมีผัสสะเป็นชาติ มีผัสสะเป็นแดนเกิดดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็ผัสสะนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดผัสสะ มีสฬายตนะเป็นเหตุมีสฬายตนะเป็นสมุทัย มีสฬายตนะเป็นชาติมีสฬายตนะเป็นแดนเกิดดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็สฬายตนะนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด สฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุมีนามรูปเป็นสมุทัย มีนามรูปเป็นชาติมีนามรูปเป็นแดนเกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นามรูปนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด นามรูป มีวิญญาณเป็นเหตุมีวิญญาณเป็นสมุทัย มีวิญญาณเป็นชาติ มีวิญญาณเป็นแดนเกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็วิญญาณนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติมีอะไรเป็นแดนเกิดวิญญาณมีสังขารเป็นเหตุมีสังขารเป็นสมุทัย มีสังขารเป็นชาติ มีสังขาร
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 177
เป็นแดนเกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารทั้งหลายนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด สังขารทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นสมุทัย มีอวิชชาเป็นชาติ มีอวิชชาเป็นแดนเกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย นามรูปมีเพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย สฬายตนะมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะมีเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เวทนามีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหามี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปทานมีเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพมีเพราะอุปทานเป็นปัจจัย ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ชรามรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส มีเพราะชาติเป็นปัจจัย ด้วยประการฉะนี้แล ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้.
นัยอันเป็นปัจจัย
[๔๔๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ก็ข้อว่า ชราและมรณะมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชาติเป็นปัจจัยนั่นแล ชราและมรณะจึงมีในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร?
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะชาติเป็นปัจจัยชราและมรณะจึงมีในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล.
พ. ก็ข้อว่า ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะภพเป็นปัจจัยนั่นแล ชาติจึงมี ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 178
พ. ก็ข้อว่า ภพมีเพราะอุปาทานเป็นปัจจัยดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายเพราะอุปาทานเป็นปัจจัยนั่นแล ภพจึงมี ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมีในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล.
พ. ก็ข้อว่าอุปาทานมีเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายเพราะตัณหาเป็นปัจจัยนั่นแลอุปาทานจึงมี ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมีในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล.
พ. ก็ข้อว่า ตัณหามีเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายเพราะเวทนาเป็นปัจจัยนั่นแล ตัณหาจึงมีในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมีในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล.
พ. ก็ข้อว่า เวทนามีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายเพราะผัสสะเป็นปัจจัยนั่นแล เวทนาจึงมีในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยเวทนาจึงมีในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล.
พ. ก็ข้อว่าผัสสะมีเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยนั่นแลผัสสะจึงมีในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 179
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมีในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล.
พ. ก็ข้อว่า สฬายตนะมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายเพราะนามรูปเป็นปัจจัยนั่นแล สฬายตนะจึงมี ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมีในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล.
พ. ก็ข้อว่า นามรูปมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัยดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยนั่นแล นามรูปจึงมีในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมีในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล.
พ. ก็ข้อว่า วิญญาณมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเพราะสังขารเป็นปัจจัยนั่นแล วิญญาณจึงมีในข้อนี้ เป็นอย่าง นี้หรือๆ เป็นอย่างไร
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสังขารเป็นปัจจัยวิญญาณจึงมีในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล.
พ. ก็ข้อว่า สังขารมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นแล สังขารจึงมีในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 180
[๔๔๘] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนั้น แม้เราก็กล่าวอย่างนั้น เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้นสิ่งนี้ก็เกิดขึ้น คือ เพราะอวิชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพระสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปานทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้นย่อมมีได้อย่างนี้ เพราะอวิชชาดับหมดมิได้เหลือ สังขารก็ดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับเพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปทานจึงดับ เพราะอุปทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้.
นัยแห่งความดับ
[๔๔๙] ก็ข้อว่า เพราะชาติดับ ชรา มรณะก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชาติดับนั่นแล ชรา มรณะ จึงดับ ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือ เป็นอย่างไร
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะชาติดับ ชรา มรณะก็ดับ ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 181
พ. ก็ข้อว่า เพราะภพดับ ชาติก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะภพดับนั่นแล ชาติจึงดับ ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือเป็นอย่างไร.
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล.
พ. ก็ข้อว่า เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอุปาทานดับนั่นแล ภพจึงดับ ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร.
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอุปทานดับ ภพก็ดับ ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล.
พ. ก็ข้อว่า เพราะตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะตัณหาดับนั่นแล อุปาทานจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร.
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล.
พ. ก็ข้อว่า เพราะผัสสะดับ เวทนาก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะผัสสะดับนั่นแล เวทนาจึงดับ ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร.
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะผัสสะดับ เวทนาก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล
พ. ก็ข้อว่า เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะสฬายตนะดับนั่นแล ผัสสะจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 182
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล.
พ. ก็ข้อว่า เพราะนามรูปดับ สฬายตนะก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายเพราะนามรูปดับนั่นแล สฬายตนะจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร.
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล.
พ. ก็ข้อว่า เพราะวิญญาณดับ นามรูปก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายเพราะวิญญาณดับนั่นแล นามรูปจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร.
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะวิญญาณดับ นามรูปก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล.
พ. ก็ข้อว่า เพราะสังขารดับ วิญญาณก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายเพราะสังขารดับนั่นแลวิญญาณจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร.
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสังขารดับ วิญญาณก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล.
พ. ก็ข้อว่า เพราะอวิชชาดับ สังขารก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายเพราะอวิชชาดับนั่นแล สังขารจึงดับ ในข้อนี้เป็นอย่างนั้นหรือๆ เป็นอย่างไร.
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอวิชชาดับ สังขารก็ดับ ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 183
[๔๕๐] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนี้ แม้เราก็กล่าวอย่างนี้ เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ ดือ เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้.
กถาว่าด้วยธรรมคุณ
[๔๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอย่างนี้ พึงแล่นไปสู่ส่วนเบื้องต้นว่า ในอดีตกาลเราได้มีแล้ว หรือว่าไม่ได้มีแล้ว เราได้เป็นอะไรแล้ว หรือว่าเราได้เป็นแล้วอย่างไร หรือเราได้เป็นอะไรแล้ว จึงเป็นอะไรดังนี้บ้างหรือไม่.
ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ พึงแล่นไปสู่ส่วนเบื้องปลายว่า ในอนาคตกาล เราจักมี หรือว่าจักไม่มี เราจักเป็นอะไรหรือว่าเราจักเป็นอย่างไร หรือเราจักเป็นอะไรแล้วจึงจักเป็นอะไรดังนี้บ้างหรือไม่.
ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ปรารภถึงปัจจุบันกาลในบัดนี้ ยังสงสัยขันธ์เป็นภายในว่า เราย่อมมีหรือว่าเราย่อมไม่มี
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 184
เราย่อมเป็นอะไร หรือว่าเราย่อมเป็นอย่างไร สัตว์นี้มาแล้วจากไหน สัตว์นั้นจักไป ณ ที่ไหน ดังนี้บ้างหรือไม่.
ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระศาสดาเป็นครูของพวกเรา พวกเราต้องกล่าวอย่างนี้ ด้วยความเคารพต่อพระศาสดาเท่านั้น ดังนี้บ้างหรือไม่.
ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ พึงกล่าวว่า พระสมณะตรัสอย่างนี้ พระสมณะทั้งหลายและพวกเรา ย่อมไม่กล่าวอย่างนี้ดังนี้บ้างหรือไม่.
ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จะพึงยกย่องศาสดาอื่นดังนี้บ้างหรือไม่.
ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ พึงเชื่อถือสมาทานวัตรความตื่นเพราะทิฏฐิและทิฏฐาทิมงคล ของพวกสมณะและพราหมณ์เป็นอันมากดังนี้บ้างหรือไม่.
ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่พวกเธอรู้เห็นทราบเองแล้วพวกเธอพึงกล่าวถึงสิ่งนั้นมิใช่หรือ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 185
ภ. อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายข้อที่กล่าวนั้นถูกละ พวกเธออันเรานําเข้าไปแล้วด้วยธรรมนี้ อันเห็นได้ด้วยตนเอง ซึ่งให้ผลไม่มีกาล ควรเรียกให้มาชม ควรน้อมเข้ามาอันวิญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน คําที่เรากล่าวว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ อันเห็นได้ด้วยตนเอง ให้ผลไม่มีกาลควรเรียกให้มาชม ควรน้อมเข้ามาอันวิญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.
การก้าวลงสู่ครรภ์
[๔๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย๓ ประการความเกิดแห่งทารกก็มีในสัตว์โลกนี้ มารดา บิดา อยู่ร่วมกัน แต่มารดายังไม่มีระดู และสัตว์ที่จะมาเกิดยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารกก็ยังไม่มีก่อน ในสัตว์โลกนี้ มารดา บิดาอยู่ร่วมกัน มารดามีระดูแต่สัตว์ที่จะมาเกิดยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารกก็ยังไม่มีก่อน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดมารดา บิดาอยู่ร่วมกันด้วย มารดามีระดูด้วย สัตว์ที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วยเพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการอย่างนี้ ความเกิดแห่งสัตว์จึงมี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดาย่อมรักษาทารกนั้นด้วยท้องเก้าเดือนบ้าง สิบเดือนบ้าง เมื่อล่วงไปเก้าเดือน หรือสิบเดือนมารดาก็คลอดทารกผู้เป็นภาระหนักนั้น ด้วยความสงสัยใหญ่ และเลี้ยงทารกผู้เป็นภาระหนักนั้นซึ่งเกิดแล้วด้วยโลหิตของตนด้วยความสงสัยใหญ่.
[๔๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย น้ำนมของมารดานับเป็นโลหิตในอริยวินัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลายกุมารนั้นอาศัยความเจริญ และความเติบโตแห่งอินทรีย์ทั้งหลายย่อมเล่นด้วยเครื่องเล่นสําหรับกุมารคือไถเล็ก ตีไม้หึ่งหกขะเมน จังหัน ตวงทราย รถเล็ก ธนูเล็ก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุมารนั่นนั้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 186
อาศัยความเจริญและความเติบโตแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย พรั่งพร้อมบําเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ คือรูปที่รู้แจ้งด้วยจัก อันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกําหนัดและความรัก เสียงที่รู้แจ้งด้วยโสต... กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ...รสที่รู้แจ้งด้วยลิ้น...โผฏฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยกายอันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกําหนัดและความรัก กุมารนั้น เห็นรูปด้วยจักษุแล้วย่อมกําหนัดในรูปที่น่ารักย่อมขัดเคืองในรูปที่น่าชัง ย่อมเป็นผู้มีสติในกายไม่ตั้งมั่นและมีจิตเป็นกุศลอยู่ ย่อมไม่ทราบชัดเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งเหล่าอกุศลธรรมอันลามก ตามความเป็นจริง เขาเป็นผู้ถึงพร้อมซึ่งความยินดียินร้ายอย่างนี้ เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดีดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขอย่างนี้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็เพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินก็เกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพเพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส และอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้ กุมารนั้น ได้ยินเสียงด้วยโสต...ดมกลิ่นด้วยฆานะ....ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วย่อมกําหนัดในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมขัดเคืองในธรรมารมณ์ที่น่าชัง ย่อมเป็นผู้มีสติในกายไม่ตั้งมั่น และมีจิตเป็นอกุศลอยู่ย่อมไม่ทราบชัดเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งเหล่าอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง เขาเป็นผู้ถึงพร้อมซึ่งความยินดียินร้ายอย่างนี้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ย่อมเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจเวทนานั้นอยู่ความเพลิดเพลินก็เกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 187
เป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะโสกะ ปริเทวะทุกข์โทมนัส และอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้.
กถาว่าด้วยพุทธคุณ
[๔๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ ไปดีแล้ว รู้แจ้งโลกเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จําแนกธรรม ตถาคตนั้น ทําโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้วสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม แสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงคฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้เกิดภายหลัง ในสกุลใดสกุลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังธรรมแล้วได้ศรัทธาในตถาคต เมื่อได้ศรัทธานั้นแล้วย่อมตระหนักว่า ฆราวาสคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลีบรรพชาเป็นทางปลอดโปร่งการที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ที่เขาขัด ไม่ใช่ทําได้ง่ายถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต.
ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพ
[๔๕๕] เมื่อเขาบวชแล้วถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพของภิกษุทั้งหลายละการฆ่าสัตว์เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์วางไม้วางมีดแล้ว มีความ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 188
ละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่.
ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เข้าให้ต้องการแต่ของที่เขาให้ไม่ประพฤติตนเป็นขโมยเป็นสะอาดอยู่.
ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ประพฤติพรหมจรรย์ประพฤติห่างไกลเว้นขาดจากเมถุน อันเป็นกิจของชาวบ้าน.
ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คําจริง ดํารงคําสัตย์ เป็นหลักฐานควรเชื่อได้ไม่พูดลวงโลก.
ละคําส่อเสียดเว้นขาดจากคําส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อทําลายข้างนี้หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อทําลายข้างโน้น สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสรินคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คําที่ทําให้คนพร้อมเพรียงกัน
ละคําหยาบ เว้นขาดคําหยาบ กล่าวแต่คําที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รักจับใจเป็นของชาวเมือง อันคนส่วนมากใคร่พอใจ.
ละคําเพ้อเจ้อเว้นขาดจากคําเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล แต่คําที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คํามีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กําหนด ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาลอันควร.
เว้นขาดจากการพรากพืชคาม และภูตคาม.
ฉันหนเดียวเว้นจากการฉันในราตรีเว้นจากการฉันในเวลาวิกาล.
เว้นขาดจากการฟ้อนรําขับร้อง ประโคมดนตรีและดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 189
เว้นขาดจากการทัดทรงประดับเละตกแต่งร่างกาย ด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว.
เว้นขาดจากการนอนบนที่นอนอันสูงและใหญ่.
เว้นขาดจากการรับทองและเงิน.
เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ.
เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.
เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี.
เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส.
เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน.
เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ.
เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร.
เว้นขาดจากการรับช้างโค ม้าและลา.
เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรม และการรับใช้.
เว้นขาดจากการซื้อและการขาย.
เว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่งการโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด.
เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวงและการตลบตะแลง.
เว้นขาดจากการตัดการฆ่าการจองจําการตีชิงการปล้น และการกรรโชก.
ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง จะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง นกมีปีกจะบิน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 190
ไปทางทิศาภาคใดๆ ก็มีแต่ปีกของตัวเป็นภาระบินไป ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกายด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง.
ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะเช่นนี้ย่อมเสวยสุขอันไม่มีโทษในภายใน.
ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะเธอย่อมปฏิบัติเพื่อสํารวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สํารวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงํานั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ชื่อว่าถึงความสํารวมในจักขุนทรีย์ ได้ยินเสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะย่อมปฏิบัติเพื่อสํารวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สํารวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงํานั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ชื่อว่าถึงความสํารวมในมนินทรีย์.
ภิกษุนั้นประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมเสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน.
ภิกษุนั้นย่อมทําความรู้สึกตัวในการก้าวในการถอยในการแลในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิบาตรและจีวรในการฉัน การดื่ม การเคี้ยวการลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทําความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับการตื่น การพูดการนิ่ง.
การชําระจิต
[๔๕๖] ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์อินทรีย์สังวรและสติสัมปชัญญะอันเป็นอริยะเช่นนี้แล้วย่อมเสพเสนาสนะอันสงัดคือ ป่าโคนไม้ภูเขา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 191
ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาตในกาลภายหลังภัตแล้ว นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดํารงสติไว้เฉพาะหน้าเธอละความเพ่งเล็งในโลกแล้ว มีใจปราศจากความเพ่งเล็งอยู่ ย่อมชําระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้ ละความประทุษร้ายคือพยาบาทแล้วไม่คิดพยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชําระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือ พยาบาทได้ ละถิ่นมิทธะได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากถิ่นมิทธะ มีความกําหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ย่อมชําระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชําระจิตให้บริสุทธิ์ จากอุทธัจกุกกุจะได้ ละวิจีกิจฉาได้แล้วเป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉาไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชําระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้.
[๔๕๗] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต อันเป็นเครื่องทําปัญญาให้ถอยกําลังได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปิติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เข้าถึงทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้นเพราะวิตกและวิจารสงบไป ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีปิติ และสุขเกิด แต่สมาธิอยู่ เข้าถึงตติยฌาน เข้าถึงจตุตถฌานอยู่.
[๔๕๘] ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่กําหนัดในรูปที่น่ารักย่อมไม่ขัดเคืองในรูปที่น่าชัง เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมทราบชัดเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติอันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้วเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดีเป็นทุกข์ก็ดีไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ดี ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึงไม่ติดใจเวทนานั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิด
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 192
เพลิน ไม่บ่นถึงไม่ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายก็ดับไป เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปทานก็ดับ เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะทุกข์โทมนัส และอุปายาสของภิกษุนั้นก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้ ภิกษุนั้น ได้ยินเสียงด้วยโสต... ดมกลิ่นด้วยฆานะ...ลิ้มรสด้วยลิ้น... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วย่อมไม่กําหนัดในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์ที่น่าชัง เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมทราบชัดเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติอันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึงไม่ติดใจเวทนานั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึงไม่ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายก็ดับไป เพราะความเพลิดเพลินดับอุปาทานก็ดับ เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส และอุปายาสของภิกษุนั้นก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงทรงจําตัณหาสังขยวิมุติ โดยย่อของเรานี้ อนึ่ง พวกเธอจงทรงจําสาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตรว่า เป็นผู้สวมอยู่ในข่ายตัณหาและกองตัณหาใหญ่ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทูพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.
จบ มหาตัณหาสังขยสูตรที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 193
อรรถกถามหาตัณหาสังขยสูตร
มหาตัณหาสังขยสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ
พึงทราบวินิจฉัยในบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺิคตํ นี้ ในอลคัททสูตรกล่าวบทว่า ทิฏฐิว่าเป็นลัทธิ. ในที่นี้ ท่านกล่าวว่า เป็นสัสสตทิฏฐิ. ก็ภิกษุนั้นเป็นผู้สดับมาก แต่ภิกษุที่สดับน้อยกว่าชาดก ฟังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสประชุมเรื่องชาดกว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น เราได้เป็นเวสสันดร ได้เป็นมโหสถ ได้เป็นวิธูรบัณฑิต ได้เป็นเสนกบัณฑิต ได้เป็นพระเจ้ามหาชนกดังนี้. ทีนั้น เธอได้มีความคิดว่า รูป เวทนา สัญญา สังขารเหล่านี้ ย่อมดับไปในที่นั้นๆ นั่นแหละ แต่วิญญาณย่อมท่องเที่ยว ย่อมแล่นไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ ดังนี้ จึงเกิดสัสสตทิฏฐิ. เพราะเหตุนั้น เธอจึงกล่าวว่า วิญญาณนี้นั่นแหละย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมแล่นไป ไม่ใช่อย่างอื่น ดังนี้. ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เมื่อปัจจัยมีอยู่ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณจึงมี เว้นจากปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณย่อมไม่มี ดังนี้. เพราะฉะนั้น ภิกษุนี้ชื่อว่า ย่อมกล่าวคําที่พระพุทธเจ้ามิได้ตรัสไว้ ย่อมให้การประหารชินจักร ย่อมคัดค้านเวสารัชชญาณ ย่อมกล่าวกะชนผู้ใคร่เพื่อจะฟังให้ผิดพลาด ทั้งกีดขวางทางอริยะเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์แก่มหาชน มหาโจรเมื่อเกิดในราชสมบัติของพระราชา ย่อมเกิดขึ้นเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์แก่มหาชนชื่อฉันใด บัณฑิตพึงทราบว่า โจรในคําสั่งของพระชินเจ้า เกิดขึ้นแล้วเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์แก่มหาชน ฉันนั้น.
บทว่า สมฺพหุลา ภิกฺขู ได้แก่ ภิกษุผู้บิณฑบาตเป็นวัตรผู้มีปกติอยู่ในชนบท. บทว่า เตนุปสงฺกมึสุ ความว่า ภิกษุเหล่านั้นคิดว่า ภิกษุสาตินี
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 194
ได้พวกแล้วจะพึงยังพระศาสนาให้อันตรธานไป เธอยังไม่ได้พวกเพียงใด พวกเราจักปลดเปลื้องเธอจากความเห็นผิดเพียงนั้น ดังนี้จึงไม่ยืนไม่นั่ง เข้าไปหาจากที่ที่ตนฟังแล้วๆ นั่นแหละ.
บทว่า ยํ กตมนฺตํ สาติ วิฺาณํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนสาติเธอกล่าวหมายเอาวิญญาณใด วิญญาณนั้นเป็นไฉน. ข้อว่ายฺวายํ ภนฺเต วโท เวเทยฺโย ตตฺร ตตฺร กลฺยาณปาปกานํกมฺมานํ วิปากํ ป ปฏิสํ เวเทติ ความว่า สาติภิกษุกราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สภาวะใดย่อมพูดได้ ย่อมเสวยอารมณ์ได้ ก็ภาวะนั้น ย่อมเสวยวิบากของกุศลกรรม และอกุศลกรรมในที่นั้นๆ ได้ข้าพระองค์กล่าวหมายถึงวิญญาณอันใด ข้าแต่พระองค์เจริญ นี้เป็นวิญญาณนั้นดังนี้. บทว่ากสฺส นุ โข นาม ความว่า ก็ใครคือว่า แก่กษัตริย์หรือว่า พราหมณ์หรือว่าแก่แพศย์ ศูทรคฤหัสถ์บรรพชิต เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายคนใดคนหนึ่ง.
บทว่า อถโข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ ถามว่า เพราะเหตุไร จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. ตอบว่า ได้ยินว่า สาติภิกษุได้มีความคิดอย่างนี้ว่าพระศาสดาตรัสเรียกเราว่าโมฆบุรุษ ดังนี้จะไม่มีอุปนิสัยแห่งมรรคและผลทั้งหลายโดยสักแต่คําที่กล่าวแล้วว่าโมฆบุรุษนี้เท่านั้น ก็หามิได้เพราะว่า แม้พระอุปเสนเถระ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัส อย่างนี้ว่า ดูก่อนโมฆบุรุษเธอเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเร็วนักดังนี้ภายหลังสืบต่ออยู่ พยายามอยู่ ก็ได้กระทําให้แจ้งซึ่งอภิญญา ๖ แม้เราประคองความเพียรแล้ว ก็จักกระทําให้แจ้งซึ่งมรรคและผลทั้งหลายดังนี้. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะแสดงแก่เธอว่า สาติภิกษุนี้ มีปัจจัยอันขาดแล้วเป็นผู้มีธรรมอันไม่งอกงามในศาสนาดังนี้จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. บทว่า อุสฺมีกโต เป็นต้นบัณฑิตพึงทราบอธิบายตามที่ได้กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 195
บทว่า อถโข ภควา ความว่า อนุสนธิแม้นี้เป็นของเฉพาะบุคคล.ได้ยินว่าสาติภิกษุได้มีความคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ธรรมอันเป็นอุปนิสัยแห่งมรรคและผลทั้งหลายของเราไม่มี ดังนี้ เมื่อธรรมอันเป็นอุปนิสัยไม่มีอยู่ เราอาจเพื่อจะแก้ไขธรรมอันเป็นอุปนิสสัยได้หรือ เพราะว่า พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมไม่แสดงธรรมแก่บุคคลผู้มีอุปนิสสัย เท่านั้น แสดงอยู่แก่ใครๆ นั่นแหละ เราได้โอวาทของพระสุคตจากสํานักของพระพุทธเจ้าแล้วจักกระทํากุศล เพื่อสวรรค์สมบัติดังนี้. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแก่สาติภิกษุนั้นว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เราไม่ให้โอวาทหรืออนุสาสนีแก่เธอ ดังนี้ เมื่อจะทรงระงับโอวาทของพระสุคตเจ้า จึงเริ่มเทศนานี้. เนื้อความแห่งพระดํารัสนั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงชําระลัทธิในบริษัท จึงตรัสคําว่า อิธาหํ ภิกฺขู ปฏิปุจฺฉิสฺสามิ เป็นต้น. ถ้อยคําแม้ทั้งหมด บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.
จบสาติกัณฑ์
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงซึ่งความที่วิญญาณมีปัจจัยจึงตรัสคําว่า ยํ ยเทว ภิกฺขเว เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนฺจปฏิจฺจ ธมฺเม จ ได้แก่ วิญญาณอาศัยภวังคจิต พร้อมทั้งอาวัชชนะ และธรรมดันเป็นไปในภูมิสาม. บทว่า กฏฺจ ปฏิจฺจ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเจ้าตรัสแล้วเพื่อแสดงชี้แจงด้วยอุปมา. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้อย่างไร ด้วยอุปมานั้น. ทรงแสดงถึงความไม่มีความพอใจในทวาร. เหมือนอย่างว่า ไฟอาศัยไม่จึงลุกโพลงอยู่ เมื่อปัจจัยคือเชื้อยังมีอยู่นั่นแหละ ก็ยังลุกอยู่ เมื่อปัจจัยคือเชื้อไม่มีอยู่ ก็ย่อมดับไปในที่นั้นนั่นเอง เพราะความขาด
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 196
แคลนปัจจัย ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับเป็นต้นว่า ไฟสะเก็ดไม่เป็นต้น เพราะก้าวล่วงวัตถุทั้งหลายมีสะเก็ดไม่เป็นต้น ฉันใด วิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อปัจจัยกล่าวคือ จักขุประสาท รูป อาโลกะและมนสิการในทวารนั้น ยังมีอยู่ ย่อมเกิดขึ้นเมื่อปัจจัยนั้นไม่มีอยู่ ย่อมดังไปในที่นั้นแหละ ด้วยความบกพร่องแห่งปัจจัย ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับเป็นต้นว่า โสตวิญญาณเป็นต้น เพราะก้าวล่วงโสตประสาทเป็นต้น. ในวาระทั้งปวงก็มีนัยนี้แหละ. ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงติเตียนภิกษุสาติด้วยพระดํารัสว่า เราย่อมไม่กล่าวเหตุแม้สักว่าความพอใจในทวาร ในความเป็นไปแห่งวิญญาณ ก็สาติภิกษุโมฆบุรุษนี้ ย่อมกล่าวถึงความพอใจในภพดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความที่วิญญาณมีปัจจัยแล้วบัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงถึงความที่ขันธ์แม้ทั้งห้ามีปัจจัย จึงตรัสคําว่า ภูตมิทํเป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภูตมิทํ นี้ ได้แก่ ขันธปัญจกะ อันเกิดแล้ว เป็นแล้ว บังเกิดแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นว่า ขันธปัญจกะที่เกิดแล้วหรือ. บทว่า ตทาหารสมฺภวํความว่า ก็ขันธปัญจกะนั่นนั้น เกิดขึ้นเพราะอาหาร เกิดขึ้นเพราะปัจจัยพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถามว่า พวกเธอเห็นปานนี้ว่า เมื่อปัจจัยมีอยู่ขันธปัญจกะย่อมเกิดขึ้นหรือดังนี้. บทว่า ตทาหารนิโรธา ได้แก่ เพราะความดับแห่งปัจจัยนั้น. บทว่า ภูตมิทํ โนสุ ได้แก่ ขันธปัญจกะนี้เกิดขึ้นแล้ว.คือเป็นแล้ว มีอยู่หรือหนอ. บทว่า ตทาหารสมฺภวํ โนสุ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถามว่า ก็ขันธปัญจกะที่มีแล้วนี้ เกิดขึ้น เพราะปัจจัยหรือไม่หนอ. บทว่า ตทาหารนิโรธา ได้แก่ เพราะการดับแห่งปัจจัยนั้น. บทว่า นิโรธธมฺมํ โนสุ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าถามว่า ขันธปัญจกะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 197
มีความดับไปเป็นธรรมดาหรือไม่หนอ. บทว่า สมฺมปฺปฺาย ปสฺสโตความว่า เมื่อบุคคลเห็นอยู่โดยชอบด้วยวิปัสสนาปัญญา โดยลักษณะ อันมีรสตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกะนี้ เกิดแล้วเป็นแล้ว บังเกิดแล้วดังนี้. บทว่า ปฺาย สุทิฏํ ได้แก่ เห็นแล้วโดยชอบ ด้วยวิปัสสนาปัญญาโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. บุคคลเหล่าใดๆ กําหนดคําถามนั้น ด้วยอาการอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงรับปฏิญญาของคนเหล่านั้นๆ ก็จักแสดงถึงความที่ขันธ์ห้ามีปัจจัย ดังนี้.
บัดนี้ พวกภิกษุมีความเป็นขันธ์ปัญจกะนั้นมีปัจจัย และมีนิโรธเป็นอย่างดี ด้วยปัญญาใด พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสถามถึงความที่ขันธปัญจกะนั้นไม่มีตัณหาในที่นั้น จึงตรัสคําว่า อิมํ เจ ตุมฺเห เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น. บทว่า ทิฏิ ได้แก่ วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ. ชื่อว่า บริสุทธิ์ เพราะเห็นโดยสภาวะ ชื่อว่า ผุดผ่อง เพราะเห็นปัจจัย. บทว่า อลฺลิเยถ ได้แก่ พึงติดด้วยตัณหาและทิฏฐิทั้งหลายอยู่. บทว่า เกฬาเยถ ได้แก่ พึงเพลิดเพลินอยู่ ด้วยตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า ธเนยฺยาถ ได้แก่ ถึงถึงความอยากได้ เหมือนผู้ปรารถนาทรัพย์. บทว่า มมาเยถ ได้แก่ พึงยังเหตุสักว่าตัณหาและทิฏฐิให้เกิดขึ้น. บทว่า นิตฺถรณตฺถายโน คหณตฺถาย ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ธรรมใดเปรียบด้วยทุ่น (แพชนิดหนึ่ง) ที่เราแสดงแล้ว เพื่อประโยชน์ในอันสลัดออกจากโอฆะ ๔ พวกเธอพึงรู้ธรรมนั้น มิใช่เพื่อประโยชน์ในอันถือเอาด้วยสามารถแห่งความใคร่ บ้างหรือหนอ ดังนี้. บัณฑิตพึงทราบธรรมฝ่ายขาวโดยตรงกันข้าม.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงปัจจัยแห่งขันธ์เหล่านั้น จึงตรัสคําว่า จตฺตาโร เม ภิกฺขเว อาหารา เป็นต้น. คํานั้น มีอรรถตาม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 198
ที่กล่าวไว้แล้วนั่นแหละ. มีอธิบายว่า เหมืออย่างว่าธรรมอย่าหนึ่ง ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า เธอย่อมรู้ธรรมนี้ คือว่า บุคคลเมื่อรู้ด้วยสามารถแห่งประเพณีเป็นมาอย่างนี้ว่า เราย่อมไม่รู้มารดาของบุคคลนี้อย่างเดียวย่อมรู้แม้ซึ่งมารดาของมารกาดังนี้ ชื่อว่าย่อมรู้อย่างดีฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมทรงทราบชัดแต่เพียงขันธ์อย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ทรงทราบความสืบต่อเนื่องๆ กันมาแห่งธรรมที่เป็นปัจจัยทั้งปวงอย่างนี้ว่า ย่อมทรงทราบชัดแม้ปัจจัยแห่งขันธ์ทั้งหลาย ย่อมทรงทราบแม้ปัจจัยแห่งปัจจัยทั้งหลายเหล่านั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงกําลังของพระพุทธเจ้า เพื่อทรงแสดงความสืบเนื่องต่อๆ กันมาแห่งปัจจัยในบัดนี้ จึงตรัสคําว่า อิเม จ ภิกฺขเวจตฺตาโร อาหารา เป็นต้น. แม้คํานั้น ก็มีอรรถเหมือนที่กล่าวแล้ว. กถาว่าด้วยปฏิจจสมุปบาทในพระบาลีนี้ว่า ก่อนภิกษุทั้งหลายสังขารทั้งหลาย มีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยฯลฯด้วยประการฉะนี้แล ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้ ดังนี้ พึงให้พิสดารก็กถานั้นกล่าวพิสดารไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.
บทว่า อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ ได้แก่ เมื่อปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นนี้มีอยู่ ผลมีสังขารเป็นต้นนี้ก็มี. บทว่าอิมสฺสุปฺปาทา อิทิ อุปฺปชฺชติ ได้แก่เพราะปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นนี้เกิดขึ้นผลมีสังขารเป็นต้นนี้ ก็เกิดขึ้น. ด้วยเหตุนั้นเหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลาย จึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงวัฏฏะอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 199
ทรงแสดงถึงวิวัฏฏะจึงตรัสคําว่าอวิชฺชาย เตฺวว อเสสวิราคนิโรธา เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่าอวิชฺชายเตฺววคืออวิชชานั่นแหละ. บทว่าอเสสวิราคนิโรธาคํานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เพราะสังขารดับไป วิญญาณจึงดังดังนี้เป็นต้น เพื่อแสดงว่าก็เพราะความดับไปแห่งสังขารทั้งหลายอันดับไปแล้วอย่างนี้ว่า เพราะความดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคกล่าวคือวิราคะความดับไม่เกิดขึ้นแห่งสังขารทั้งหลายจึงมีดังนี้วิญญาณก็ดับ และเพราะความดับแห่งธรรมทั้งหลายมีวิญญาณเป็นต้น ชื่อว่าธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ก็ย่อมดับไปเหมือนกัน ดังนี้แล้วจึงตรัสว่าความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมิได้อย่างนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เกวลสฺสได้แก่ ทั้งสิ้น อธิบายว่า กองทุกข์ล้วนๆ เว้นจากความเป็นสัตว์. บทว่าทุกฺขกฺขนฺธสฺส แปลว่ากองทุกข์. บทว่า นิโรโธ โหติ ได้แก่ความไม่เกิดขึ้น. บทว่าอิมสฺมึ อสติเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับคําที่กล่าวแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสปฏิจจสมุปบาททั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะด้วยอาการอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะตรัสถามถึงความไม่มีแห่งการท่องเที่ยวไป อันบุคคลผู้รู้อยู่ซึ่งความหมุนเวียนไปแห่งปัจจัย ๑๒ นี้พร้อมด้วยมรรคในวิปัสสนาญาณที่ละได้แล้วนั้น จึงตรัสคําว่า อปินุ ตุมฺเห ภิกฺขเว เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวํ ชานนฺตาได้แก่ รู้อยู่อย่างนี้พร้อมด้วยวิปัสสนามรรค. บทว่า เอวํ ปสฺสนฺตา เป็นไวพจน์ของคํานั้นนั่นแหละ.บทว่า ปุพฺพนฺตํ อธิบายว่าขันธ์ ธาตุ และอายตนะทั้งหลายในอดีต. บทว่า ปฏิธาเวยฺยาถ คือว่า พึงแล่นไปด้วยอํานาจแห่งตัณหาและทิฏฐิ. คําที่เหลือพิสดารแล้วในสัพพาสวสูตร.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 200
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสถามถึงความไม่หวั่นไหวของภิกษุเหล่านั้น ในที่นั้นจึงตรัสคําว่า อปินุ ตุมฺเห ภิกฺขเว เอวํ ชานนฺตา เอวํปสฺสนฺตา เอวํ วเทยฺยาถ สตฺถา โน ครุ ดังนี้เป็นต้น. แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระศาสดาเป็นครูของพวกเรา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ครุ ได้แก่ ผู้เต็มไปด้วยภาระ เป็นผู้คล้อยตามความใคร่ก็มิได้. บทว่า สมโณ ได้แก่ สมณะผู้ตรัสรู้แล้ว. บทว่าอฺํ สตฺถารํ อุทฺทิเสยฺยาถ ความว่า พวกเธอพึงเป็นผู้สําคัญอย่างนี้ว่าพระศาสดานี้ ไม่สามารถยังกิจของพวกเราให้สําเร็จดังนี้ แล้วพึงยกย่องศาสดาอื่น คือภายนอกพระศาสนาบ้างหรือ. บทว่า ปุถุสมณพฺราหฺมณานํคือ สมณะเดียรถีย์และพราหมณ์เป็นอันมาก. บทว่า วตกุตุหลมงฺคลานิ ได้แก่ สมาทานข้อปฏิบัติอย่างหนึ่ง ตื่นความเห็นอย่างหนึ่ง และทิฏฐมงคลสุตมงคล มุตตมงคลอย่างหนึ่ง. บทว่า ตานิ สารโต ปจฺจาคจฺเฉยิยาถ ความว่า พึงเป็นผู้สําคัญเหล่านั้น อย่างนี้ว่าเป็นสาระ ดังนี้ ยึดถือเอา อธิบายว่า แม้สละออกแล้วอย่างนี้ แล้วก็ยึดถือเอาอีก. บทว่า สมมํ าตํ ได้แก่รู้ได้เองด้วยญาณ. บทว่า สามํ ทิฏํ ได้แก่ เห็นได้เองด้วยปัญญาจักษุ.บทว่า สามํ วิทิตํ ได้แก่ กระทําให้แจ้ง คือทําให้ปรากฏได้เอง. บทว่า อุปนี-ตา โข เม ตุมฺเห ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออันเรานําเข้าไปสู่นิพพานโดยธรรมอันมีสภาวะที่ตนพึงเห็นเองเป็นต้นนี้. อธิบายว่า อันเราให้ ถึงแล้ว เนื้อความแห่งธรรมทั้งหลายมีสนฺทิฏิโก เป็นต้น พิสดารแล้วในวิสุทธิมรรค. บทว่า อิทเมตํ ปฏิจฺจ วุตฺตํ ความว่า คํานี้ อย่างนี้ เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยความที่พวกเธอรู้เองเป็นต้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเริ่มคาถาว่า ดูก่อนภิกษุ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 201
ทั้งหลาย ก็เพราะการประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการดังนี้. พระองค์ทรงยังเทศนาให้ถึงที่สุดแล้ว ด้วยสามารถแห่งวัฏฏะในหนหลังมิใช่หรือ. ตอบว่า ใช่ให้ถึงที่สุดแล้ว. แต่ว่าอนุสนธินี้เป็นของเฉพาะบุคคล. จริงอยู่ โลกสันนิวาสนี้ หลงใหลแล้วในปฏิสนธิ. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเริ่มเทศนานี้ว่า เราจักกําจัดฐานอันเป็นที่ตั้งแห่งความหลงใหลของโลกสันนิวาสนั้นทําให้ปรากฏ. อีกอย่างหนึ่ง อวิชชามีวัฏฏะเป็นมูล ความบังเกิดขึ้นแห่งพุทธะมีวิวัฏฏะเป็นมูลเพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ทรงแสดงอวิชชาอันมีวัฏฏะเป็นมูล และพุทธุปบาทอันมีวิวัฏฏะเป็นมูลแล้ว ทรงดําริว่า เราจักยังเทศนาให้ถึงที่สุดอีกครั้งเดียว ด้วยสามารถแห่งวัฏฏะและวิวัฏฏะดังนี้ จึงเริ่มเทศนานี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺนิปาตาได้แก่ เพราะการประชุมคือว่า เพราะประมวลมา. บทว่า คพฺภสฺส ได้แก่ สัตว์ผู้เกิดขึ้นในครรภ์.บทว่า อวกฺกนฺติ โหติ ได้แก่ ความเกิดย่อมมี. จริงอยู่ในที่บางแห่งท้องแห่งมารดาท่านเรียกว่า ครรภ์. เหมือนอย่างที่กล่าวไว้ว่า :-
ยเมกรตฺตึ ปมํ คพฺเภ วสติ มาณโว อพฺภุฏิโตว สยติ ส คจฺฉํ น นิวตฺตติ.
แปลว่า สัตว์อยู่ในท้องแม่ ตลอดราตรีหนึ่งก่อน เขาลุกขึ้นแล้วก็นอน เขาไปไม่กลับ. ในที่บางแห่ง ท่านเรียกสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ว่า ครรภ์.เหมือนอย่างที่กล่าวไว้ว่า ยถา โข ปนานนฺท อิตฺถิโย อฺา นว วา ทส วามาเส คพฺภํ กุจฺฉินา ปริหริตฺวา วิชายนฺติ แปลว่า ก่อนอานนท์ หญิงอื่นๆ ย่อมรักษาทารกผู้เกิดในครรภ์ด้วยท้อง เก้าเดือน หรือว่า สิบเดือนแล้วจึงคลอด. ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาสัตว์. คําที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 202
คพฺภสฺส อวกฺกนฺติโหติ ดังนี้หมายถึงสัตว์นั้น.บทว่า อิธได้แก่ในสัตว์โลกนี้. บทว่า มาตา จ อุตุนีโหตินี้ตรัสหมายเอาเวลามีระดู. ได้ยินว่า ทารกย่อมเกิดแก่มาตุคามในโอกาสใดในโอกาสนั้น เม็ดโลหิตใหญ่ตั้งอยู่แล้วแตกไหลไป เป็นวัตถุบริสุทธิ์เมื่อวัตถุบริสุทธิ์มารดาบิดาอยู่ร่วมกันครั้งเดียวมีเขตเจ็ดวันทีเดียวในสมัยนั้น ทารกย่อมเกิดขึ้นได้ แม้ด้วยการลูบคลําอวัยวะ มีการจับมือจับมวยผมเป็นต้น. บทว่า คนฺธพฺโพ ได้แก่สัตว์ผู้เข้าถึงในที่นั้น. บทว่า ปจฺจุปฏิโต โหตินี้มีอธิบายว่า ชื่อว่า สัตว์ผู้จ้องดูการอยู่ร่วมมารดาและบิดา ซึ่งยืนอยู่ในที่ใกล้ ย่อมไม่มีแต่ว่า สัตว์หนึ่งผู้อันกรรมซัดส่งไปแล้ว ซึ่งจะเกิดขึ้นในโอกาสนั้น มีอยู่ ดังนี้. บทว่า สํ สเยน ความว่าด้วยการสงสัยในชีวิตอย่างใหญ่อย่างนี้ว่า เราหรือว่าบุตรของเราจักปราศจากโรคไหมหนอดังนี้.
บทว่า โลหิตฺเหตํ ภิกฺขเว ความว่าได้ยินว่าโลหิตของแม่ในครั้งนั้น ถึงพร้อมแล้วและถึงพร้อมแล้วซึ่งฐานะนั้น คือว่าย่อมเป็นของขาวด้วยความสิเนหาในบุตร เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนั้น.บทว่าวงฺกํ ได้แก่ไถเล็กของทารกในผู้เล่นอยู่. การเล่นประหารไม้สั้นด้วยไม้ยาว ท่านเรียกว่า ฆฏิกา. บทว่า โมกฺขจิกํ ได้แก่การเล่นหมุนเวียน.มีอธิบายว่าการเล่นจับท่อนไม้ในอากาศ หรือว่า เล่นเอาหัวตั้งที่พื้นดินแล้วพลิกไปมาข้างล่างข้างบน. จักรหมุนไปด้วยการกระทบลม ที่ทําด้วยวัตถุทั้งหลายมีใบตาลเป็นต้น ท่านเรียกว่า ปิงคุลิกะ. ทะนานทําด้วยใบไม้ท่านเรียกว่า ปัตตาฬหกะได้แก่การเล่นตวงวัตถุทั้งหลายมีทรายเป็นต้น ด้วยทะนานใบไม้นั้น. บทว่ารถกํ ได้แก่รถเล็ก. แม้ธนูก็ได้แก่ธนูเล็กนั่นแหละ. บทว่า สารชฺชติได้แก่ย่อมยังราคะให้เกิดขึ้น. บทว่า พฺยาปชฺชติได้แก่ย่อมยังความพยาบาทให้เกิดขึ้น. บทว่า อนุปฏิตกายสติ ความ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 203
ว่า สติในกาย เรียกว่า กายสติ อธิบายว่า ตั้งกายสตินั้น. บทว่า ปริตฺตเจตโสได้แก่ อกุศลจิต. บทว่า ยตฺถสฺส เต ปาปกาความว่าอกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นย่อมดับไป ในผลสมาบัติใดย่อมไม่รู้ย่อมไม่บรรลุสมาบัตินั้น. บทว่า อนุโรธวิโรธํ ได้แก่ราคะและโทสะ. บทว่าอภินนฺทติได้แก่ย่อมเพลิดเพลินด้วยอํานาจแห่งตัณหา เมื่อบุคคลกล่าวด้วยอํานาจแห่งตัณหาว่าโอ สุขหนอเป็นต้น ชื่อว่าย่อมบ่น. บทว่าอชฺโฌสาย ติฏติได้แก่กลืนกิน คือยังกิจให้สําเร็จแล้วถือเอาด้วยความติดใจในตัณหา. อธิบายว่าจงยินดียิ่งซึ่งสุข หรือว่าอทุกขมสุข ก่อนหรือว่าย่อมยินดียิ่งซึ่งทุกข์อย่างไร. เมื่อบุคคลยึดถือว่า เรามีทุกข์ทุกข์เป็นของเรา ดังนี้ชื่อว่าย่อมยินดียิ่งในทุกข์. บทว่าอุปฺปชฺชติ นนฺทิ ได้แก่ ตัณหาย่อมเกิดขึ้น.บทว่า ตทุปาทานํ ความว่า ตัณหานั้นเอง ชื่อว่า อุปาทาน เพราะอรรถว่ายึดถือ. ก็ปัจจยาการอันเป็นวัฏฏะมีสนธิสามและสังเขปนี้นี้ว่า ตสฺส อุปาทานปจฺจยา ภโว ฯเปฯ สมุทโย โหติ ดังนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสอีกครั้งหนึ่ง.
บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงอันเป็นส่วนวิวัฏฏะ จึงตรัสว่า อิธ ภิกฺขเว ตถาคโต โลเกอุปฺปชฺชติเป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่าอุปฺปมาณเจตโส ความว่า ชื่อว่า มีจิตหาประมาณมิได้ เพราะมีจิตเป็นโลกุตตระอันประมาณมิได้อธิบายว่า เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรคจิต.
บทว่า อิมํ โข เม ตุมฺเห ภิกฺขเว สงฺขิตฺเตน ตณฺหาสงฺขยวิมุตฺตึ ธาเรถความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงทรงจําเทศนาตัณหาสังขยวิมุตติของเราอันเราแสดงโดยย่อนี้ ตลอดกาลเป็นนิตย์เถิด อย่าหลงลืม. จริงอยู่ เทศนาในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าวิมุตติ เพราะเป็นเหตุได้วิมุตติ. บทว่า มหาตณฺหาชาลตณฺหาสํ ฆาฏิปฏิ-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 204
มุกฺกํ ความว่า ตัณหา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ข่ายตัณหาใหญ่เพราะอรรถว่าร้อยรัดไว้ ตรัสว่า สังฆาฏะ เพราะอรรถว่า เสียดสี อธิบายว่า พวกเธอจงทรงจําสาติภิกษุผู้เป็นบุตรนายเกวัฏฏ์นี้ว่า เป็นผู้สวมอยู่ในข่ายแห่งตัณหาใหญ่ และในร่างตัณหานี้ พึงทรงจําภิกษุนั้นว่า เป็นผู้เข้าไปแล้วอยากอยู่ภายใน ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้. คําที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.
จบ อรรถกถามหาตัณหาสังขยสูตรที่ ๘