พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. มหาอัสสปุรสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ส.ค. 2564
หมายเลข  36043
อ่าน  552

[เล่มที่ 19] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 205

๙. มหาอัสสปุรสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 19]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 205

๙. มหาอัสสปุรสูตร

[๔๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่อัสสปุรนิคมของหมู่เจ้าอังคะในอังคชนบท ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประชุมชนย่อมรู้จักพวกเธอว่าสมณะๆ ก็แหละพวกเธอเมื่อเขาถามว่า ท่านทั้งหลายเป็นอะไรก็ปฏิญญา (รับ) ว่า พวกเราเป็นสมณะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวกเธอนั้น มีชื่ออย่างนี้มีปฏิญญาอย่างนี้แล้ว ก็ควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักสมาทานประพฤติกรรม ทําความเป็นสมณะด้วย ทําความเป็นพราหมณ์ด้วย เมื่อพวกเราปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ชื่อและปฏิญญานี้ของพวกเราก็จักเป็นความจริงแท้ ใช่แต่เท่านั้น พวกเราบริโภค จีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของทายกเหล่าใด สักการะทั้งหลายนั้น ของทายกเหล่านั้น ก็จักมีผลมาก มีอานิสงส์มากในเพราะพวกเราอีกอย่างหนึ่งเล่า บรรพชานี้ของพวกเรา ก็จักไม่เป็นหมันจักมีผล มีกําไร.

[๔๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมทําความเป็นสมณะและทําความเป็นพราหมณ์เป็นอย่างไร พวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ บางทีพวกเธอจะมีความดําริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะแล้วด้วยกิจเพียงเท่านี้พอละพวกเราทําเสร็จแล้ว สามัญญัตถะประโยชน์ของความเป็นสมณะ (มรรคผล นิพพาน) พวกเราถึงแล้วโดยลําดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทําให้ยิ่งขึ้น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 206

ไปมิได้มีพวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้งหลายขอเตือนแก่เธอทั้งหลายเมื่อกิจที่ควรทําให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.

[๔๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็กิจที่ควรทําให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไรพวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักมีกายสมาจารบริสุทธิ์ปรากฏ เปิดเผยไม่มีช่องและคอยระวังจักไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความเป็นผู้มีกายสมาจารอันบริสุทธิ์นั้น บางทีพวกเธอจะมีความดําริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจารบริสุทธิ์แล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละ พวกเราทําเสร็จแล้วสามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลําดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทําให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทําให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.

[๔๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทําให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไรพวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักมีวจีสมาจารบริสุทธิ์ปรากฏ เปิดเผยไม่มีช่องและคอยระวัง จักไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความเป็นผู้มีวจีสมาจารบริสุทธิ์นั้น บางทีพวกเธอจะมีความดําริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจาร และวจีสมาจารบริสุทธิ์แล้วด้วยกิจเพียงเท่านี้พอละ พวกเราทําเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลําดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทําให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้งหลายขอเตือนแก่เธอทั้งหลายเมื่อกิจที่ควรทําให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 207

[๔๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็กิจที่ควรทําให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไรพวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักมีมโนสมาจารบริสุทธิ์ปรากฏ เปิดเผย ไม่มีช่องและคอยระวัง จักไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความ เป็นผู้มีมโนสมาจารบริสุทธิ์นั้น บางทีพวกเธอจะมีความดําริว่าพวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจาร วจีสมาจารและมโนสมาจารบริสุทธิ์แล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้พอละพวกเราทําเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลําดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทําให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้งหลายขอเตือนแก่เธอทั้งหลายเมื่อกิจที่ควรทําให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.

[๔๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทําให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไรพวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักมีอาชีวะบริสุทธิ์ปรากฏเปิดเผยไม่มีช่องและคอยระวัง จักไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์นั้น บางทีพวกเธอจะมีความดําริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจารวจีสมาจาร มโนสมาจารและอาชีวะบริสุทธิ์แล้วด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละ พวกเราทําเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลําดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทําให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลายเมื่อกิจที่ควรทําให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.

[๔๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็กิจที่ควรทําให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไรพวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักมีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญ-

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 208

ชนะจักปฏิบัติเพื่อสํารวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สํารวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงําได้ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสํารวมในจักขุนทรีย์ได้ยินเสียงดสต...ดมกลิ่นด้วยฆานะ..ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว, จักไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะจักปฏิบัติเพื่อสํารวมมนินทรีย์ ที่เมื่อสํารวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงําได้ ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ถึงความสํารวมในมนินทรีย์บางทีพวกเธอจะมีความดําริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร อาชีวะบริสุทธิ์แล้วและเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ด้วยกิจเพียงเท่านี้พอละ พวกเราทําเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลําดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทําให้ยิ่งขึ้นไป ได้มีพวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลายเมื่อกิจที่ควรทําให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่สามัญญัตตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.

[๔๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็กิจที่ควรทําให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไรพวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักรู้จักประมาณในโภชนะจักพิจารณาโดยแยบคายแล้วกลืนอาหารจักไม่กลืนเพื่อเล่น เพื่อมัวเมาเพื่อตบแต่ง เพื่อประดับ จักกลืนเพียงเพื่อให้กายนี้ตั้งอยู่ เป็นไป ห่างไกลจาความเบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์เท่านั้น และจะบําบัดเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น และจักให้อัตภาพดําเนินไป ไม่มีโทษอยู่สบายด้วยประการฉะนี้ บางทีพวกเธอจะมีความดําเนินไป ไม่มีโทษเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจารวจีสมาจาร มโนสมาจาร อาชีวะบริสุทธิ์ เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายและรู้จักประมาณในโภชนะแล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละพวกเราทําเสร็จ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 209

และ สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลําดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทําให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทําให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.

[๔๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทําให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไรพวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ในความเป็นผู้ตื่น จักชําระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นเครื่องกีดกั้น (นิวรณ์) ด้วยการจงกรม และการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี จักสําเร็จการนอนดังราชสีห์โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทําไว้ในใจถึงความสําคัญในอันลุกขึ้น ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี กลับลุกขึ้นแล้ว จักชําระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกีดกั้น (นิวรณ์) ด้วยการจงกรม และการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี บางทีพวกเธอจะมีความดําริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร อาชีวะบริสุทธิ์แล้ว เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย และรู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบเนืองๆ ในความเป็นผู้ตื่นแล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละพวกเราทําเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลําดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทําให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้นเราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนเธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทําให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.

[๔๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทําให้ยิ่งขึ้นไปอย่างไรพวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ทําความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในการ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 210

ฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ทําความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่งการหลับ การตื่น การพูดการนิ่ง บางทีพวกเธอจะมีความดําริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจารวจีสมาจาร มโนสมาจารอาชีวะบริสุทธิ์แล้ว เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบเนืองๆ ในความเป็นผู้ตื่น และประกอบด้วยสติสัมปชัญญะแล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละ พวกเราทําเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลําดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทําให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกเก่เธอทั้งหลายขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทําให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.

[๔๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทําให้ยิ่งขึ้นไปอย่างไรดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าโคนไม้ ภูเขา ซอกเขาถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้งลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาตในกาลภายหลังภัตแล้ว นั่งขัดสมาธิตั้งกายตรง ดํารงสติไว้เฉพาะหน้า เธอละความเพ่งเล็งในโลกแล้ว มีใจปราศจากความเพ่งเล็งอยู่ ย่อมชําระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้ ละความประทุษร้ายคือพยาบาทแล้วไม่คิดพยาบาท มีความกรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชําระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือพยาบาทได้ ละถีนมิทธะได้แล้วเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความสําคัญหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชําระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชําระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉาได้แล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชําระให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 211

[๔๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนบุรุษจะพึงกู้หนี้ไประกอบการงาน การงานเหล่านั้นของเราจะพึงสําเร็จผล เขาจะพึงใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้น และทรัพย์ที่เป็นกําไรของเขาจะพึงมีเหลืออยู่สําหรับเลี้ยงภรรยา เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเรากู้หนี้ไปประกอบการงาน บัดนี้ การงานของเราสําเร็จผลแล้ว เราได้ใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้นแล้ว และทรัพย์ที่เป็นกําไรของเรายังมีเหลืออยู่สําหรับเลี้ยงภรรยาดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ถึงความโสมนัส มีความไม่มีหนี้นั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นผู้มีอาพาธ ถึงความลําบากเจ็บหนัก บริโภคอาหารไม่ได้ ละไม่มีกําลังกาย สมัยต่อมา เขาพึงหายจากอาพาธนั้น บริโภคอาหารได้ และมีกําลังกาย เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน เราเป็นผู้มีอาพาธ ถึงความลําบากเจ็บหนัก บริโภคอาหารไม่ได้และไม่มีกําลังกาย บัดนี้เราหายจากอาพาธนั้นแล้ว บริโภคอาหารได้สละมีกําลังกาย ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีความไม่มีโรคนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนบุรุษจะพึงถูกจองจําอยู่ในเรือนจํา สมัยต่อมา เขาพึงพ้นจากเรือนจํานั้นโดยสวัสดี ไม่มีภัยและไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรๆ เลยเขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน เราถูกจองจําอยู่ในเรือนจํา บัดนี้เราพ้นจากเรือนจํานั้นโดยสวัสดีไม่มีภัยแล้ว และไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรๆ เลย ดังนี้เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีการพ้นจากเรือนจํานั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นทาส พึ่งตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น ไปไหนตามความพอใจไม่ได้ สมัยต่อมา เขาพึงพ้นจากความ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 212

เป็นทาสนั้น พึ่งตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นไทแก่ตัว ไปไหนได้ตามความพอใจ เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน เราเป็นทาส พึ่งตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น ไปไหนตามความพอใจไม่ได้ บัดนี้เราพ้นจากความเป็นทาสนั้นแล้ว พึ่งตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นไทแก่ตัวไปไหนได้ความความพอใจ ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีความเป็นไทแก่ตัวนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษมีทรัพย์ มีโภคสมบัติ จะพึงเดินทางไกลกันดาร สมัยต่อมา เขาพึงข้ามพ้นทางกันดารนั้นได้ โดยสวัสดีไม่มีภัย ไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรๆ เลยเขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่าเมื่อก่อนเรามีทรัพย์ มีโภคสมบัติ เดินทางไกลกันดาร บัดนี้ เราข้ามพ้นทางกันดารนั้นแล้ว โดยสวัสดี ไม่มีภัย ไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรๆ เลยดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีภูมิสถานอันเกษมนั้นเป็นเหตุฉันใด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้ ที่ยังละไม่ได้ในตน เหมือนหนี้ เหมือนโรค เหมือเรือนจํา เหมือนความเป็นทาส เหมือนทางไกลกันดาร และพิจารณาเป็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตน เหมือนความไม่มีหนี้เหมือนความไม่มีโรคเหมือนการพ้นจากเรือนจํา เหมือนความเป็นไทแก่ตน เหมือนภูมิสถานอันเกษม ฉันนั้นแล.

[๔๗๑] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตอันเป็นเครื่องทําปัญญาให้ถอยกําลังได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอทํากายนี้แลให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบ ซาบซ่าน ด้วยปิติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 213

ไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือของพนักงานสรงสนานผู้ฉลาดใส่จุณสีตัวลงในภาชนะสําริด แล้วพรมด้วยน้ำหมักไว้ ก้อนจุณสี-ตัวนั้นมียางซึมไปจับติดกันทั้งข้างในข้างนอก ย่อมไม่กระจายออก ฉะนั้น.

[๔๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกและวิจารสงบไป ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทํากายนี้แลให้ชุ่มชื่น อิ่มเอิบ ซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึก มีน้ำขังอยู่ ไม่มีทางที่น้ำจะไหลมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก ด้านตะวันตก ด้านเหนือ ด้านใต้ ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาลแต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้ว จะพึงทําห้วงน้ำนั้นแลให้ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมดที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉะนั้น.

[๔๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอทํากายนี้แลให้ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซ่าน ด้วยสุขอันปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง เปรียบไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนในกออุบล กอปทุม หรือกอบุณฑริก แต่ละชนิด ในกออุบลกอปทุมหรือกอบุณฑริก ดอกบัวบางชนิดเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นจากน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำเลี้ยงไว้อันน้ำเย็นหล่อเลี้ยงเอิบอาบซึมซาบไปแต่ยอดและ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 214

เหง้าไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกออุบลกอปทุม หรือกอบุณฑริก ที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉะนั้น.

[๔๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าจตุตถฌานไม่มีทุกข์ไม่มีสุขเพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสในก่อนได้มีความบริสุทธิ์แห่งสติที่อุเบกขาให้เกิดขึ้นอยู่ เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แลด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่จิตอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนบุรุษนั่งคลุมตัวตลอดศีรษะด้วยผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขาที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง ฉะนั้น.

[๔๗๕] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ เธอระลึกชาติที่เคยอยู่อาศัยในกาลก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้างฯลฯระลึกชาติที่เคยอยู่อาศัยในกาลก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทศด้วยประการฉะนี้ เปรียบเหมือนบุรุษออกจากบ้านของตนไปสู่บ้านอื่น ออกจากบ้านแม้นั้นไปสู่บ้านอื่น ออกจากบ้านแม้นั้นแล้ว กลับมาสู่บ้านของตนตามเดิม เขาจะพึงระลึกได้ว่า เราออกจากบ้านของตนไปสู่บ้านโน้น ในบ้านนั้น เราได้ยืนอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น ออกจากบ้านแม้นั้นไปสู่บ้านโน้น แม้ในบ้านนั้น เราก็ได้ยืนอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น ออกจากบ้านแม้นั้นแล้ว กลับมาสู่บ้านของตนตามเดิม ดังนี้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแลย่อมระลึกชาติที่เคยอยู่อาศัยในกาลก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้างฯลฯระลึกชาติที่เคยอยู่อาศัยในกาลก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทศ ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 215

[๔๗๖] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมน้อมโน้มจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กําลังจุติ กําลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดีมีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม เปรียบเหมือนเรือนสองหลังมีประตูร่วมกัน บุรุษผู้มีจักษุ ยืนอยู่ท่านกลางเรือน พึงเห็นหมู่มนุษย์กําลงเข้าสู่เรือนบ้าง กําลังออกจากเรือนบ้าง กําลังเดินไปบ้าง กําลังเที่ยวไปบ้าง ฉันใด ภิกษุย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กําลังจุติ กําลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฉันนั้นเหมือนกันแล.

[๔๗๗] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มโน้มจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เธอย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี้ปฏิปทา เหล่านี้อาสวะนี้อาสวะสมุทัย นี้อาสวะนิโรธ นี้อาสวะนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะแม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทํา ทําเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีเปรียบเหมือนห้วงน้ำบนยอดภูเขา มีน้ำใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว บุรุษผู้มีจักษุดี ยืนอยู่ที่ขอบห้วงน้ำนั้น พึงเห็นหอยกาบ หอยโข่ง ก้อนกรวด กระเบื้องฝูงปลา หยุดอยู่บ้าง เคลื่อนไปบ้าง เขามีความดําริว่า ห้วงน้ำนี้ มีน้ำใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว มีหอยกาบ หอยโข่งก้อนกรวดกระเบื้องและฝูงปลา หยุดอยู่บ้าง เคลื่อนไปบ้าง ฉันใด ภิกษุย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 216

ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย ฯลฯ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่แล้ว กิจที่ควรทํา ทําเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฉันนั้นเหมือนกันแล.

[๔๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง นหาตกะบ้าง เวทคูบ้าง โสตติยะบ้าง อริยะบ้าง อรหันต์บ้าง.

ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่า สมณะ. เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันให้เศร้าหมอง นําให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป อันภิกษุนั้นระงับเสียแล้ว อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าสมณะ.

ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า พราหมณ์ เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันให้เศร้าหมอง นําให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป อันภิกษุนั้นลอยเสียแล้ว อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพราหมณ์.

ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่า นหาตกะ. เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันให้เศร้าหมอง นําให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป อันภิกษุนั้นอาบล้างเสียแล้ว อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่านหาตกะ.

ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าเวทคู เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันให้เศร้าหมอง นําให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป อันภิกษุนั้นรู้แจ้งแล้ว อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเวทคู.

ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าโสตติยะ. เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันให้เศร้าหมอง นําให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 217

ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป อันภิกษุนั้นให้หลับไปหมดแล้ว อย่างนี้แลภิกษุ ชื่อว่าโสตติยะ.

ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าอริยะ. เหล่าอกุศลธรรมอันลามกอันให้เศร้าหมอง นําให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป ห่างไกลภิกษุนั้น อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าอริยะ.

ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าอรหันต์. เหล่าอกุศลธรรม อันลามกอันให้เศร้าหมอง นําให้เกิดในภพใหม่ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ใหม่ ชาติ ชรา มรณะต่อไป อันภิกษุนั้นกําจัดเสียแล้วอย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าอรหันต์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.

จบ มหาอัสสปุรสูตรที่ ๙

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 218

อรรถกถามหาอัสสปุรสูตร

มหาอัสสปุรสูตร มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในมหาอัสสปุรสูตรนั้น. บทว่า องฺเคสุ ได้แก่พวกเจ้าชาวชนบท นามว่า อังคะ. ที่ประทับอยู่แห่งเจ้าอังคะเหล่านั้น แม้เป็นชนบทเดียว ก็เรียกว่า อังคาดังนี้ เพราะศัพท์ขยายความถึง ในอังคชนบทนั้น.บทว่าอสฺสปุรํ นาม องฺคานํ นิคโม ความว่า นิคมหนึ่งแห่งอังคชนบท มีโวหารอันได้แล้วโดยนามเมืองว่า อัสสปุระอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทํานิคมนั้นให้เป็นโคจรคามแล้ว ประทับอยู่ บทว่า ภควาเอตทโวจ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพุทธพจน์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประชุมชนย่อมรู้จักพวกเธอว่าเป็นสมณะๆ ดังนี้เป็นต้น.

ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสอย่างนี้. ได้ยินว่าในนิคมนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีศรัทธาเลื่อมใส มีความนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของเรา นับถือพระธรรมว่าเป็นของเรา นับถือพระสงฆ์ว่าเป็นของเรา เห็นแม้สามเณรผู้บวชในวันนั้น ก็ทําให้เป็นเช่นกับพระเถระมีพรรษาตั้งร้อย. พวกเขาเห็นภิกษุสงฆ์เข้าไปบิณฑบาตในเวลาเช้า แม้ถือพืชและคันไถเป็นต้นไปยังนา แม้ถือวัตถุมีขวานเป็นต้น เข้าไปยังป่า ก็จะวางอุปกรณ์เหล่านั้น แล้วปัดกวาดที่สําหรับนั่งของภิกษุสงฆ์หรืออาสนศาลา หรือมณฑปหรือว่าโคนไม้ แล้วปูลาดอาสนะทั้งหลาย ตั้งเชิงรองบาตรและน้ำดื่ม แล้วนิมนต์ให้ภิกษุสงฆ์นั่งถวายข้าวยาคูและของที่ควรเคี้ยวเป็นต้น ส่งภิกษุสงฆ์ผู้ทําภัตตกิจเสร็จแล้วไป จึงถืออุปกรณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จากที่นั้นไปสู่นาหรือว่าป่ากระทําการงานทั้งหลายของตน. ในที่ทํางานเขาก็ไม่พูดกันอย่างอื่น พวกเขาเหล่านั้น ย่อมกล่าวคุณความดีของภิกษุสงฆ์นั่นแหละด้วยคําว่า บุคคล ๘ คือผู้ตั้งอยู่ในมรรค ๔ ชื่อว่าอริยสงฆ์พระอริยสงฆ์

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 219

เหล่านั้นประกอบด้วยศีลเห็นปานนี้ ด้วยอาจาระเห็นปานนี้ ด้วยข้อปฏิบัติเห็นปานนี้ เป็นผู้ละอาย เป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก เป็นผู้มีคุณอันโอฬารดังนี้ มาจากที่ทําการงานแล้ว บริโภคอาหารเย็นแล้วนั่งอยู่ที่ประตูเรือนก็ดี เข้าไปห้องนอนนั่งแล้วก็ดี ก็ย่อมกล่าวคุณความดีของพระภิกษุสงฆ์นั่นแหละ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นความนับถือของพวกมนุษย์เหล่านั้นแล้วทรงประกอบภิกษุสงฆ์ไว้ ในความเคารพในบิณฑบาต จึงได้ตรัสพระดํารัสนั้น.

บทว่า เย ธมฺมา สมณกรณา จ พฺราหฺมณกรณา จความว่า ธรรมเหล่าใดอันบุคคลสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมทําให้เป็นสมณะ มีบาปอันสงบ และให้เป็นพราหมณ์ มีบาปอันลอยแล้ว ดังนี้. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมอันสมณะควรทําไว้ในข้อว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายกิจของสมณะอันสมณะพึงกระทําเหล่านี้ มี ๓ อย่าง ๓ อย่างเป็นไฉน คือการสมาทานอธิศีลสิกขา ๑. การสมาทานอธิจิตตสิกขา ๑ การสมาทานอธิปัญญาสิกขา ๑ ดังนี้. แม้ธรรมเหล่านั้น ก็ชื่อว่าเป็นธรรมกระทําให้เป็นสมณะเหมือนกัน. แต่ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าให้เทศนาพิสดารแล้วด้วยอํานาจแห่งหิริโอตตัปปะเป็นต้น.

ในบทว่า เอวํ โน อยํ อมฺหากํ นี้บทว่า โน สักว่าเป็นนิบาต อธิบายว่า ธรรมนี้จักมีแก่พวกเรา ด้วยอาการอย่างนี้. แม้บททั้งสองคือ มหปฺผลาและ มหานิสํ สา ว่าโดยอรรถเป็นอย่างเดียวกัน. บทว่า อวฺา ได้แก่ไม่เป็นโมฆะ. บทว่า สผลา เนื้อความนี้ก็มีอรรถแห่งอโมฆะนั่นแหละ.จริงอยู่ ผลแห่งความไม่เป็นหมันไม่มีผลนั้น ชื่อว่า มีโทษ. บทว่า สอุทฺรยาแปลว่า มีกําไร คํานี้ เป็นไวพจน์กัน เพราะมีผล. บทว่า เอวฺหิโว ภิกฺขเว สิกฺขิตพฺพํ แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 220

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญธรรม มีหิริและโอตตัปปะเป็นต้น ด้วยฐานะนี้มีประมาณเท่านี้ ด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุไร เพราะเพื่อตัดทางแห่งคําพูด. จริงอยู่ ถ้าใครๆ บวชไม่นานเป็นภิกษุโง่พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอสมาทานธรรมมีหิริและโอตตัปปะเป็นต้น แล้วประพฤติเถิดดังนี้ ก็อะไรหนอ เป็นอานิสงส์ในการสมาทานธรรมเหล่านั้นประพฤติ เพื่อตัดทางแห่งคํา ของภิกษุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสรรเสริญว่า ธรรมเหล่านี้ บุคคลสมาทานทําให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมทําให้มีชื่อว่า สมณะผู้มีบาปสงบแล้วให้มีชื่อว่าพราหมณ์ผู้ลอยบาปแล้วทั้งให้เกิดลาภคือปัจจัยสี่ ย่อมยังความมีผลมากให้ถึงพร้อมแก่ผู้ให้ปัจจัย ย่อมกระทําการบรรพชาไม่ให้เป็นหมันให้มีผล ให้มีกําไร ที่เป็นอานิสงส์ดังนี้. พึงทราบเนื้อความโดยสังเขปในที่นี้เพียงนี้ แต่โดยพิสดาร พึงทราบการกล่าวสรรเสริญโดยนัยที่กล่าวไว้ในสติปัฏฐาน.

บทว่า หิโรตฺตปฺเปน ได้แก่ ด้วยหิริและโอตตัปปะที่ท่านขยายออกไปอย่างนี้ว่า สิ่งใดอันบุคคลผู้ควรละอายย่อมละอาย สิ่งใด อันบุคคลผู้ควรเกรงกลัวย่อมเกรงกลัว ดังนี้ อีกอย่างหนึ่งในข้อนี้ หิริมีภายในเป็นสมุฏฐาน โอตตัปปะมีภายนอกเป็นสมุฏฐาน หิริเป็นอัตตาธิปไตย โอตตัปปะเป็นโลกาธิปไตย. หิริดํารงอยู่ในสภาพความละอาย โอตัปปะดํารงอยู่ในสภาพความกลัว. ก็กถาพิสดารในธรรมทั้งสองนี้ กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรคโดยอาการทั้งปวง.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งสองเหล่านี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ชื่อว่าธรรมเป็นเครื่องคุ้มครองโลก เพราะรักษาโลก. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุกกธรรมทั้ง ๒ เหล่านี้ ย่อมคุ้ม

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 221

ครองโลก ๒ อย่างเป็นไฉน คือ หิริ และโอตตัปปะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสุกกธรรม ๒ เหล่านี้ไม่พึงคุ้มครองโลก ไม่พึงปรากฏในที่นี้ไซร้ โลกไม่ว่ามารดา หรือ ป้า น้า ภรรยาของอาจารย์หรือว่าภรรยาของครู ก็จักถึงการเจือปนกันเหมือนแพะ แกะ ไก่ สุกร สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก. ธรรมเหล่านี้แหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในชาดกว่า เป็นเทวธรรม. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

หิริโอตฺตปฺปสมฺปนฺนา สุกฺกธมฺมสมาหิตาสนฺโต สปฺปุริสา โลเก เทวธมฺมาติ วุจฺจเร

แปลว่า สัตบุรุษทั้งหลายผู้สงบแล้วในโลก ผู้ถึงพร้อมด้วยหิริและโอตตัปปะ ประกอบด้วยสุกกธรรม ท่านกล่าวว่า เป็นผู้มีเทวธรรม ดังนี้.

หิริและโอตตัปปะธรรมเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแก่พระมหาจุนทเถระ ว่าเป็นปฏิปทาเครื่องขัดเกลากิเลส. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า เธอพึงทําการขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่น จักเป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ เราจักเป็นผู้มีโอตตัปปะในที่นี้ ดังนี้. ก็หิริและโอตตัปปะธรรมเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสําหรับกระทําให้เป็นโอวาทูปสัมปทา จริงอยู่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสปะ เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเข้าไปตั้งหิริโอตตัปปะอย่างแรงกล้า ในพระเถระในพระนวกะในพระมัชฌิมะทั้งหลาย ดังนี้ ดูก่อนกัสสปะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล. แต่ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงหิริและโอตตัปปะธรรมเหล่านี้ว่า ชื่อว่าสมณธรรม. ก็เพราะประโยชน์แห่งความ

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 222

เป็นสมณะย่อมไม่ถึงซึ่งที่สุดด้วยธรรมมีประมาณเท่านี้ เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงธรรมอันกระทําความเป็นสมณะแม้อื่นๆ จึงตรัสคําว่า ยา โข ปน ภิกฺขเว ตุมฺหากํ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า สามฺตฺโถ ก่อนอื่นในคัมภีร์สังยุตนิกาย ที่ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สามัญญะความเป็นสมณะเป็นไฉน อริยมรรค ประกอบด้วยองค์๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แล เราเรียกว่า สามัญญะดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ โทสะ โมหะ อันใด อันนี้ เราเรียกว่าประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ. มรรคท่านเรียกว่า สามัญญะ ผลและนิพพานท่านเรียกว่า ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ. แต่ในที่นี้ บัญฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ เพราะรวมทั้งมรรคและผลเข้าด้วยกัน. บทว่าอาโรจยามิ แปลว่า ย่อมบอก.บทว่า ปฏิเวทยามิ ได้แก่ เตือนให้รู้.

ในบทว่า ปริสุทฺโธ โน กายสมาจาโร นี้ ได้แก่กายสมาจาร ๒อย่างคือ บริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์. จริงอยู่ ภิกษุใดฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ประพฤติผิดในกาม กายสมาจารของภิกษุนั้น ชื่อว่า ไม่บริสุทธิ์. ก็กายสมาจารนี้ท่านห้ามไว้โดยเป็นกรรมบถ.ก็ภิกษุใดย่อมตี ย่อมเบียดเบียนผู้อื่น ด้วยฝ่ามือ หรือด้วยก้อนดินด้วยท่อนไม้ หรือด้วยศาตรา กายสมาจารของภิกษุนั้น ชื่อว่า ไม่บริสุทธิ์. กายสมาจารแม้นี้ ท่านก็ห้ามไว้ โดยเนื่องด้วยสิกขาบทที่เดียวในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสข้อความทั้งสองนั้น ตรัสแต่ชื่อเป็นธรรมขัดเกลาอย่างยิ่ง.

จริงอยู่ ภิกษุใด เงื้อก้อนดิน หรือท่อนไม้ โดยไล่กาทั้งหลายซึ่งกําลังดื่มน้ำในหม้อน้ำ หรือจิกกินข้าวสุกในบาตร กายสมาจาร

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 223

ของภิกษุนั้น ไม่บริสุทธิ์. ตรงกันข้ามชื่อว่าสมาจารบริสุทธิ์. บทว่าอุตฺตาโน ได้แก่ขึ้นไปแล้วคือปรากฏแล้ว. บทว่าวิวโฏ ได้แก่ เปิดเผยคือ ไม่ปกปิด ย่อมแสดงความบริสุทธิ์ด้วยธรรมแม้ทั้งสองนั่นเอง. บทว่า น จ ฉิทฺทวาได้แก่ เป็นเช่นเดียวกันในกาลทุกเมื่อคือไม่มีช่องในระหว่างๆ. บทว่า สํวุโต ได้แก่ ปิดแล้วด้วยเครื่องปิดประตูของกิเลสทั้งหลาย มิใช่เพื่อต้องการปกปิดโทษ.

แม้ในวจีสมาจาร ภิกษุใด พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคําหยาบพูดเพ้อเจ้อ วจีสมาจารของภิกษุนั้น ชื่อว่า ไม่บริสุทธิ์. ก็วจีสมาจารนี้ท่านห้ามไว้โดยเป็นกรรมบถแล้ว. ก็ภิกษุใดเมื่อกล่าวดูหมิ่นด้วยคําทั้งหลายมีคําว่า คฤหบดีหรือว่าทาส หรือว่า คนรับใช้เป็นต้น วจีสมาจารของภิกษุนั้น ก็ชื่อว่าไม่บริสุทธิ์. วจีสมาจารนี้ ท่านห้ามไว้โดยเนื่องด้วยสิกขาบท ในสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสวจีสมาจารทั้งสองนั้นตรัสแต่ชื่อเป็นธรรมขัดเกลาอย่างยิ่ง.

ก็เมื่อภิกษุหนุ่ม หรือว่า สามเณรกล่าวว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายเห็นพระอุปัชฌาย์ของพวกกระผมบ้างหรือดังนี้ ภิกษุใด แม้มีความประสงค์เพียงหัวเราะกล่าวถ้อยคําเห็นปานนี้อยู่โดยนัยเป็นต้นว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุณีมากรูปอยู่แล้วในถิ่นนี้ พระอุปัชฌาย์ของพวกท่านจักไปช่วยยกห่อใส่ผักขายดังนี้ วจีสมาจารของภิกษุนั้น ย่อมไม่บริสุทธิ์.วจีสมาจารตรงกันข้ามชื่อว่า บริสุทธิ์.

ในมโนสมาจาร ภิกษุใด เป็นผู้มีอภิชฌา มีจิตพยาบาท เป็นผู้มีความเห็นผิด มโนสมาจารของภิกษุนั้น ชื่อว่าไม่บริสุทธิ์. ก็มโนสมาจารอันนี้ ท่านห้ามไว้แล้วโดยเป็นกรรมบถ. ก็ภิกษุใดยินดีทองและเงินที่เขาเก็บไว้เพื่อตน มโนสมาจารของภิกษุนั้นชื่อว่า ไม่บริสุทธิ์. มโนสมาจาร

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 224

แม้นี้ ก็ห้ามไว้แล้ว โดยเนื่องด้วยสิกขาบท ในสูตรนี้ ไม่ตรัสถึงมโนสมาจารทั้งสองนั้น โดยตรัสแต่ธรรมชื่อขัดเกลาอย่างยิ่ง. ภิกษุใด ย่อมตรึกถึงกามวิตก หรือพยาบาทวิตก หรือวิหญิงสาวิตก มโนสมาจารของภิกษุนั้น ชื่อว่าไม่บริสุทธิ์. มโนสมาจารที่ตรงกันข้าม ชื่อว่า บริสุทธิ์.

ในอาชีวะ ภิกษุใด เพราะอาชีวะเป็นเหตุย่อมเลี้ยงชีพด้วยอํานาจอเนสนา ๒๑ อย่าง เช่นทําเวชกรรมรับใช้ค่าฝี การให้น้ำมันทาขาย่อมหุงน้ำมันเป็นต้น หรือว่า ภิกษุใด ทําวิญญัติบริโภคอาชีวะของภิกษุนั้นชื่อว่าไม่บริสุทธิ์. ก็อาชีวะอันไม่บริสุทธิ์นี้ ตรัสห้ามไว้โดยเนื่องด้วยสิกขาบท. ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสถึงอาชีวะอันไม่บริสุทธิ์ทั้งสองได้ตรัสแต่ธรรมชื่อขัดเกลาอย่างยิ่ง.

จริงอยู่ ภิกษุใด ได้ปัจจัยมีเนยใส เนยขึ้น น้ำมัน น้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้นแล้วคิดว่าจักฉันในวันพรุ่งนี้ มะรืนนี้ แล้วฉันสิ่งที่ตนสั่งสมไว้. หรือว่า ภิกษุใด เห็นช่อสะเดาเป็นต้น แล้วกล่าวกะพวกสามเณรว่า พวกเธอจงเคี้ยวกินช่อสะเดา ดังนี้. พวกสามเณรคิดว่า พระเถระอยากจะเคี้ยวกิน จึงทําให้เป็นกัปปิยะแล้วถวาย. ภิกษุกล่าวกะภิกษุหนุ่มหรือสามเณรว่า ดูก่อนผู้มีอายุพวกเธอจงดื่มน้ำดังนี้. ภิกษุหนุ่ม หรือสามเณรเหล่านั้น คิดว่า พระเถระต้องการจะดื่มน้ำจึงทําน้ำนั้นให้สะอาดแล้วถวาย. อาชีวะของภิกษุผู้บริโภคน้ำนั้น ชื่อว่าไม่บริสุทธิ์. อาชีวะตรงกันข้าม ชื่อว่า บริสุทธิ์.

บทว่า มตฺตฺ ได้แก่ ผู้รู้จักพอดี รู้จักพอควรรู้จักพอประมาณ ในการแสวงหา การรับและการบริโภค.

บทว่า ชาคริยมนุยุตฺตา ได้แก่ ทําการแบ่งกลางคืนกลางวันออกเป็น ๖ ส่วน แล้วกระทําโอกาสเพื่อการหลับส่วนหนึ่ง ประกอบขวนขวายแล้วในธรรมเป็นเครื่องตื่น ๕ ส่วน. ในบทว่า สีหเสยฺยํ นี้ได้แก่ การนอน ๔

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 225

คือกามโภคิไสยา เปตไสยา สีหไสยา ตถาคตไสยา. ในบรรดาการนอนเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้บริโภคกามโดยมาก ย่อมนอนตะแคงข้างซ้าย เพราะฉะนั้น การนอนนี้ จึงชื่อว่า กามโภคีไสยา จริงอยู่ในบรรดาสัตว์ผู้บริโภคกามเหล่านั้น โดยมากไม่นอนตะแคงข้างขวา. ก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรตโดยมาก ย่อมนอนหงาย เพราะฉะนั้น การนอนนี้ จึงเรียกว่า เปตไสยา. จริงอยู่ เพราะมีเนื้อและเดือดน้อย เปรตมีร่างกระดูกยุ่งเหยิง ย่อมไม่อาจนอนตะแคงข้างหนึ่งได้จึงนอนหงายเท่านั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมไม่อาจนอนตะแคงข้างหนึ่งได้ในระหว่างขาอ่อนแล้วนอนตะแคงข้างขวา เพราะฉะนั้น การนอนนี้ จึงเรียกว่า สีหไสยา. จริงอยู่ สีหมิคราชเพราะมากด้วยอํานาจวางสอดเข้าข้างหน้าไว้ในที่หนึ่งวางสองเท้าหลังไว้ที่หนึ่ง เอาหางสอดเข้าในระหว่างขาอ่อน กําหนดโอกาสอันตั้งอยู่แห่งเท้าหน้า เท้าหลังและหางแล้วนอนวางศีรษะพาดเท้าหน้าทั้งสอง หลับไปแม้ตลอดวัน เมื่อตื่นก็ไม่มีการหวาดผวาตื่นยกศีรษะขึ้นแล้วกําหนดโอกาสอันเป็นที่ตั้งแห่งเท้าหน้าเป็นต้น ถ้าฐานะอะไรๆ ที่ตนตั้งไว้แล้วผิดปกติไป ก็เป็นผู้เสียใจว่าฐานะนี้ไม่สมควรแก่ชาติและความเป็นผู้กล้าหาญของท่านดังนี้ ก็จะนอนในที่นั้นนั่นแหละ ไม่ออกไปเพื่อหาอาหาร. ก็ครั้นเมื่อฐานะที่ตนตั้งไว้ไม่ผิดปกติไป ก็จะเป็นผู้ร่าเริงพอใจว่าฐานะนี้สมควรแก่ชาติและแก่ความเป็นผู้กล้าหาญของท่านดังนี้ ลุกขึ้นแล้วก็เอี้ยวตัว สะบัดขนสร้อยบันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แล้วจึงออกไปเพื่อหาอาหาร. ก็การนอนด้วยฌานที่สี่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ตถาคตไสยา ในบรรดาการนอนสี่เหล่านั้น การนอนอย่างสีหะมาแล้วในที่นี้ เพราะว่าการนอนนี้ ชื่อว่า การนอนอย่างประเสริฐ เพราะเป็นอิริยาบถของผู้มากด้วยอํานาจ.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 226

บทว่า ปาเทน ปาทํ ได้แก่ เอาเท้าซ้ายทับเท้าขวา. บทว่าอุจฺจาธายได้แก่ วางไว้เหลื่อมกันหน่อยหนึ่ง. เพราะว่า ข้อเท้ากระทบกับข้อเท้าเข่ากระทบกับเข่า เวทนาย่อมเกิดเนืองๆ จิตย่อมไม่สงบ การนอนก็ไม่ผาสุกก็ข้อเท้ากับข้อเท้า เข่ากับเข่าย่อมไม่เสียดสีกัน โดยประการใดเมื่อวางไว้เหลื่อมโดยประการนั้น เวทนาย่อมไม่เกิดขึ้น จิตย่อมสงบ การนอนย่อมผาสุกเพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนั้น.

บทว่า อภิชฺณํ โลเก เป็นต้น กล่าวพิสดารแล้วในจุลลหัตถิปทสูตร.

บทว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว เป็นอุปมา บรรดาบทเหล่านั้น บทว่าอิณมาทาย - ได้แก่ถือเอาทรัพย์โดยเสียดอกเบี้ย (กู้) . บทว่า พฺยนฺตีกเรยฺยได้แก่พึงกระทําให้หมดไป อธิบายว่า พึงใช้คืนไปทั้งหมด. บทว่า ตโตนิทานํได้แก่ เหตุแห่งความไม่มีหนี้จริงอยู่ บุรุษนั้น เมื่อระลึกว่า เราเป็นผู้ไม่มีหนี้ ดังนี้ ก็จะได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เขาพึงได้ความปราโมทย์พึงถึงความโสมนัส ดังนี้. ชื่อว่าอาพาธ เพราะเกิดเวทนาอันเป็นข้าศึกเพราะตัดอยู่ซึ่งอิริยาบถ - ดุจถูกตัดด้วยเลื่อยเบียดเบียนอยู่ อาพาธนั้น มีอยู่แก่บุคคลนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ผู้มีอาพาธ. ชื่อว่า มีทุกข์เพราะทุกข์อันมีอาพาธนั้นเป็นสมุฏฐาน. ชื่อว่า เจ็บหนัก เพราะป่วยมีประมาณยิ่ง. บทว่า นจฺฉาเทยฺย ได้แก่ไม่พึงชอบใจเพราะมีพยาธิหนักเป็นเบื้องหน้า. บทว่า พลมตฺตา ได้แก่กําลังนั่นแหละ อธิบายว่า เขาพึงมีกําลังกาย. บทว่า ตโตนิทานํ ได้แก่ เหตุความไม่มีโรค. จริงอยู่ เมื่อเขาระลึกอยู่ว่า เราเป็นผู้ไม่มีโรคดังนี้เหตุทั้งสองนั้น ย่อมเกิดขึ้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าลเภถ ปาโมชฺชํ อธิคจฺเฉยฺย โสมนสฺสํ ดังนี้.บทว่า น จสฺส กิฺจิโภคานํ วโยความว่าไม่พึงเสื่อมโภคะทั้งหลายแม้

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 227

เพียงว่ากากณิกหนึ่ง. บทว่า ตโตนิทานํ ได้แก่ เหตุพ้นจากการจองจําคําที่เหลือในบททั้งปวง พึงประกอบโดยนัยที่กล่าวแล้ว. บทว่าอนตฺตาธีโนได้แก่ ตัวเองไม่ได้เป็นใหญ่ คือว่าย่อมทําอะไรๆ ไม่ได้ตามชอบใจของตน.บทว่า ปราธีโน ได้แก่ ผู้อื่นเป็นใหญ่ คือว่า เป็นไปตามความชอบใจของผู้อื่นบทว่า น เยนกามงฺคโม ความว่า เขาใคร่จะไป ต้องการไปโดยทิสาภาคใด ย่อมไม่ได้โดยทิสาภาคนั้น. บทว่า ทาสพฺยา ได้แก่ความเป็นทาส. บทว่า ภุชิสฺโส ได้แก่ เป็นไทแก่ตน. บทว่า ตโตนิทานํได้แก่ เหตุความเป็นไท. บทว่า กนฺตารทฺธานมคฺคํ ได้แก่ ทางไกลกันดารอธิบายว่า ทางไกลปราศจากน้ำ. บทว่า ตโตทิทานํ ได้แก่ เหตุแดนอันเกษม.

ในบทว่า อิเม ปฺจ นีวรเณ อปฺปหีเน นี้ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงกามฉันทนิวรณ์ที่ยังละไม่ได้ เป็นเช่นกับความเป็นหนี้นิวรณ์ที่เหลือเป็นเช่นกับโรคเป็นต้น. ในข้อนั้น พึงทราบความเป็นเช่นเดียวกัน ดังต่อไปนี้.

จริงอยู่ บุคคลใดกู้หนี้เขาไปแล้วไม่ใช้บุคคลนั้น ถูกเจ้าหนี้ทวงว่า เจ้าจงใช้หนี้ ดังนี้ก็ดี ถูกเขาพูดคําหยาบก็ดี ถูกเขาจับไปก็ดี ถูกเขาประหารก็ดี ย่อมไม่อาจโต้ตอบอะไรได้ย่อมอดกลั้นทุกอย่าง เพราะว่า หนี้นั้นมีการอดกลั้นเป็นเหตุ ฉันใด บุคคลใด ย่อมยินดีสิ่งใด ด้วยกามฉันทะย่อมถือเอาซึ่งสิ่งนั้น ด้วยการถือเอาด้วยตัณหา ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลนั้น ถูกเขากล่าวคําหยาบก็ดี ถูกเขาจับไปก็ดี ถูกเขาประหารก็ดี ย่อมอดทนทุกอย่าง เพราะว่ากามฉันทะนั้น มีการอดกลั้นเป็นเหตุ ดุจความพอใจในกามของหญิงทั้งหลายที่ถูกสามีในเรือนฆ่า เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบกามฉันทะ ราวกะความเป็นหนี้ อย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 228

เหมือนอย่างว่า บุคคลผู้กระสับกระส่ายเพราะโรคดี เมื่อใครๆ ให้วัตถุทั้งหลายมีน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวดเป็นต้น ก็ย่อมไม่ได้รสแห่งวัตถุเหล่านั้น เพราะความที่ตนกระสับกระส่ายด้วยโรคดี ย่อมอาเจียนออกนั่นเทียว ด้วยสําคัญว่า รสขมๆ ดังนี้ ฉันใด บุคคลผู้มีจิตพยาบาท ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อถูกอาจารย์ หรืออุปัชฌาย์ผู้หวังประโยชน์กล่าวสอนอยู่เพียงเล็กน้อย ก็ไม่รับโอวาท จะกล่าวว่า พวกท่านย่อมขัดใจเราเหลือเกิน แล้วก็สึกออกไป เขาย่อมไม่ประสบรสแห่งพระศาสนาอันต่างด้วยความสุขในฌานเป็นต้น เพราะความกระสับกระส่ายด้วยความโกรธ เหมือนบุคคลนั้น ผู้ไม่ประสบอยู่ซึ่งรสน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวดเป็นต้น เพราะความกระสับกระส่ายด้วยโรคดี. บัณฑิตพึงเห็นความพยาบาท เหมือนโรคอย่างนี้.

ภิกษุผู้ถูกถีนมิทธะครอบงําแล้ว ครั้นเมื่อธรรมสวนะการฟังธรรมแม้มีนัยอันวิจิตกําลังเป็นไปอยู่ก็ย่อมไม่รู้เบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งธรรมสวนะนั้น เหมือนบุรุษผู้ถูกจองจําในเรือนจําในวันนักขัตฤกษ์ ย่อมไม่เห็นเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งงานนักขัตฤกษ์ เขาพ้นเรือนจําในวันที่สองแล้ว แม้ได้ฟังคําว่า โอ เมื่อวันวานได้มีงานรื่นเริงสนุกสนาน มีฟ้อนรําขับร้องเป็นต้น ก็ไม่กล่าวตอบ. เพราะเหตุไร เพราะความที่ตนไม่ได้ประสบ งานนักขัตฤกษ์ ฉะนั้น ภิกษุนั้น เมื่อธรรมสวนะตั้งขึ้นแล้ว แม้ฟังผู้อื่นกล่าวสรรเสริญธรรมสวนะว่า โอ ฟังธรรม โอ การณะ โอ อุปมา เป็นต้น ก็ไม่ให้ตอบ. เพราะเหตุไร. เพราะความที่ตนไม่ประสบธรรมกถา ด้วยอํานาจแห่งถีนมิทธะ. ถีนมิทธะ บัณฑิตพึงทราบ ดุจเรือนจําอย่างนี้.

เหมือนอย่างว่า ทาสแม้จะเล่นงานนักขัตฤกษ์ ถูกนายสั่งว่า ชื่อว่า กรณีเร่งด่วนนี้มีอยู่เจ้าจงไปในที่นั้นทันที ถ้าเจ้าไม่ไป เราจะตัดมือและเท้า หรือว่า หู จมูกของเจ้าดังนี้ เขาย่อมรีบไปทีเดียว ย่อมไม่ได้เพื่อประสบ

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 229

เบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดของงานนักขัตฤกษ์. เพราะเหตุไร เพราะตนมีผู้อื่นเป็นใหญ่ ฉันใด ภิกษุผู้ไม่รู้ข้อปฏิบัติในพระวินัยแม้เข้าไปสู่ที่อื่นด้วยวิเวกกถาเรื่องวิเวก เมื่อมีความสําคัญในอกัปปิยะอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว โดยที่สุดแม้ในกัปปิยะมังสะ ก็ละวิเวก ไปในสํานักพระวินัยธรเพื่อชําระศีล เพราะฉะนั้น เธอย่อมไม่ได้เพื่อเสวยความสุกอันเกิดแต่วิเวก.เพราะเหตุไร เพราะถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงําก็ฉันนั้น บัณฑิตพึงทราบอุทธัจจกุกกุจจะ ดุจทาสอย่างนี้.

เหมือนอย่างว่า บุรุษเดินทางไกลกันดาร เห็นโอกาสที่พวกมนุษย์ถูกโจรปล้นแล้ว ก็ระแวงสงสัยว่า พวกโจรมาแล้ว ด้วยเสียงของท่อนไม้บ้างด้วยเสียงของพรานนกบ้างดังนี้ ย่อมเดินไปบ้าง หยุดอยู่บ้างย่อมกลับบ้างที่ที่มามากกว่าที่ไป บุคคลนั้นย่อมไปถึงที่อันเป็นแดนเกษมได้โดยยากลําบาก หรือไม่ถึง ฉันใด วิจิกิจฉา คือความสงสัยของบุคคลใด ในฐานะ๘ อย่างเกิดขึ้นแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เขาเมื่อสงสัยว่า พุทฺโธ นุโข นนุโข พุทฺโธ ใช่พระพุทธเจ้าหรือไม่ใช่พระพุทธเจ้าหนอเป็นต้น ไม่อาจน้อมเพื่อจะถือเอาด้วยศรัทธา เมื่อไม่อาจก็ย่อมไม่บรรลุมรรคผล. เมื่อบุคคลยังความลังเลสงสัย ความไม่เชื่อมั่น ความเป็นผู้สะดุ้งให้เกิดแก่จิตบ่อยๆ ว่าพวกโจรมีอยู่ในทางไกลกันดาร หรือไม่หนอดังนี้ ย่อมกระทําอันตรายแก่การถึงที่ปลอดภัย ฉันใด แม้วิจิกิจฉา ก็ฉันนั้น ยังความลังเลสงสัย ความไม่เชื่อมั่นความสะดุ้งให้เกิดแก่จิตบ่อยๆ โดยนัยว่า พุทฺโธ เป็นต้น ย่อมกระทําอันตรายแก่การบรรลุอริยมรรค บัณฑิตพึงทราบ ดุจบุคคลผู้เดินทางไกลกันดาร.

บัดนี้ ในบทว่า เสยิยถาปิ ภิกฺขเว อานณฺยํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงซึ่งกามฉันทะอันละได้แล้ว ให้เป็นเช่นกับความไม่มีหนี้ และซึ่งนิวรณ์ที่เหลืออันภิกษุละได้แล้ว ให้เป็นเช่นกับความไม่มีโรคเป็นต้น. ในข้อนั้น ความเป็นเช่นเดียวกัน พึงทราบดังต่อไปนี้. -

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 230

เหมือนอย่างว่า บุรุษกู้หนี้มาแล้วประกอบการงาน เสร็จการงานแล้วคิดว่าขึ้นชื่อว่าหนี้แล้ว ย่อมเป็นเหตุให้กังวลใจดังนี้ จึงใช้หนี้คืนพร้อมทั้งดอกเบี้ยแล้วฉีกหนังสือทิ้งเสีย. ทีนั้น ก็ไม่มีใครๆ มาทวงหนี้หรือส่งหนังสือมาทวงเขาจําเดิมแต่กาลนั้น. เขาเห็นเจ้าหนี้แล้ว ถ้าปรารถนาจะนั่งหรือจะลุกขึ้นจากที่นั่ง หรือไม่ปรารถนาจะนั่ง ไม่ต้องการจะลุกขึ้นก็ได้. เพราะเหตุไรเพราะความที่เขาหมดหนี้แล้วไม่เกี่ยวข้องแล้วกับด้วยเจ้าหนี้เหล่านั้น ฉันใด ภิกษุนี้ คิดว่า ชื่อว่ากามฉันทะมีความกังวลใจเป็นเหตุดังนี้ แล้วเจริญธรรมทั้ง ๖ อย่าง โดยนัยที่กล่าวไว้ในสติปัฏฐานแล้วละกามฉันทนิวรณ์ ฉันนั้นเหมือนกัน. ความกลัวความสะดุ้งย่อมไม่มีแก่บุรุษหมดจากหนี้แล้วเพราะเห็นเจ้าหนี้ฉันใด ความข้องเกี่ยวความผูกพันของภิกษุผู้มีกามฉันทะอันละได้แล้ว ย่อมไม่มีในวัตถุอื่น ฉันนั้นเหมือนกัน. เมื่อเห็นรูปทั้งหลายแม้เป็นทิพย์ กิเลสก็ไม่ฟุ้งขึ้น. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสการละกามฉันทะ เหมือนผู้หมดหนี้.

เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้กระสับกระส่ายด้วยโรคดีนั้น ทําโรคนั้นให้สงบระงับไปด้วยการทําเภสัช จําเดิมแต่นั้น ย่อมรู้รสแห่งน้ำตาลกรวดเป็นต้น ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน คิดว่าขึ้นชื่อว่า พยาบาทนี้กระทําความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ดังนี้ แล้วเจริญธรรม ๖ อย่างละพยาบาทนิวรณ์ได้. ภิกษุนั้น ชื่อว่าละความพยาบาทได้อย่างนี้. บุรุษผู้หายจากโรคดี ชอบเสพของหวานมีน้ำตาลกรวดเป็นต้น ฉันใด ภิกษุนั้น อันอาจารย์ให้ศึกษาอยู่ซึ่งอาจาระและพระวินัยบัญญัติเป็นต้น รับด้วยศีรษะชอบศึกษาอยู่ฉันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสการละพยาบาทดุจความไม่มีโรค.

บุรุษผู้ถูกจับเข้าไปสู่เรือนจําในวันนักขัตฤกษ์ แม้ในวันนักขัตฤกษ์อื่นอีก เขาคิดว่า เราเคยถูกจองจําด้วยโทษแห่งความประมาทจึงไม่ได้เล่นงานวันนักขัตฤกษ์ เพราะโทษนั้น บัดนี้ เราจักเป็นผู้ไม่ประมาท

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 231

ดังนี้ ฉันใดศัตรูของเขาย่อมไม่ได้โอกาส เขาเป็นผู้ไม่ประมาท จึงได้เล่นงานนักขัตฤกษ์แล้วเปล่งอุทานว่า อโห วันนักขัตฤกษ์ดังนี้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน คิดว่า ขึ้นชื่อว่าถีนมิทธะนี้ กระทําความฉิบหายใหญ่ดังนี้ จึงเจริญธรรม ๖ อย่างละถีนมิทธะได้ ภิกษุนั้นชื่อว่าละถีนมิทธะแล้วอย่างนี้ บุรุษผู้พ้นจากเครื่องจองจําเล่นงานนักขัตฤกษ์ตลอดเบื้องต้นท่ามกลาง และที่สุดได้แม้ทั้ง ๗ วัน ก็เสวยอยู่ทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งธรรมนักขัตต์ ฉันใด บรรลุพระอรหัต พร้อมทั้งปฏิสัมภิทา ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสการละถีนมิทธะเหมือนการพ้นจากเครื่องจองจํา.

เหมือนอย่างว่า ทาสเข้าไปอาศัยมิตรคนใดคนหนึ่ง ให้ทรัพย์แก่นายกระทําตนให้เป็นไทได้แล้ว จําเดิมแต่นั้นมา พึงทําสิ่งที่ตนปรารถนาได้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน คิดว่าขึ้นชื่อว่า อุทธัจจกุกกุจจะกระทําความฉิบหายใหญ่ดังนี้ จึงเจริญธรรม ๖ อย่าง แล้วละอุทธัจจกุกกุจจะได้. ภิกษุนั้นชื่อว่าละอุทธัจจกุกกุจจะแล้วด้วยอาการอย่างนี้ บุรุษผู้เป็นไทแก่ตัว ปรารถนาจะทําสิ่งใดก็ทําสิ่งนั้นได้ ใครจะยับยั้งเขาจากการกระทํานั้นโดยพลการไม่ได้ ฉันใด ภิกษุย่อมปฏิบัติเนกขัมมปฏิปทาตามสบายฉันนั้นเหมือนกัน อุทธัจจกุกกุจจะใครๆ จะยังเธอให้กลับจากเนกขัมมปฏิปทานั้นมาสู่อุทธัจจกุกกุจจะโดยพลการไม่ได้. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสการละอุทธัจจกุกกุจจะได้เหมือนความเป็นไท.

เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้มีกําลังถือสะเบียงกรังตระเตรียมอาวุธพร้อมกับบริวารดําเนินไปสู่ทางกันดาร พวกโจรเห็นเขาแต่ไกลพึงหนีไป บุรุษนั้น ก็ผ่านทางกันดารนั้นไปถึงความปลอดภัยได้ด้วยความสวัสดีพึงเป็นผู้ร่าเริงยินดีแล้ว ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน คิดว่า ชื่อว่าวิจิกิจฉานี้ย่อมกระทําความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ ดังนี้ จึงเจริญธรรม ๖ อย่างแล้วละ

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 232

วิจิกิจฉาได้ ภิกษุนั้นชื่อว่าละวิจิกิจฉาแล้วด้วยอาการอย่างนี้ บุรุษผู้มีกําลังมีอาวุธอันตระเตรียมไว้แล้ว พร้อมกับบริวารเห็นโจรแล้ว ไม่กลัว ไม่คํานึงพวกโจรเท่าเส้นหญ้า ออกไปถึงสถานที่อันปลอดภัยโดยความสวัสดีฉันใด ภิกษุ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผ่านพ้นทางกันดารคือทุจริตแล้ว ถึงอมตนิพพานอันเกษมอย่างยิ่ง. เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสการละวิจิกิจฉาดุจผู้ที่ถึงสถานที่ปลอดภัย.

บทว่า อิมเมว กายํ ได้แก่ กรชกายนี้. บทว่า อภิสนฺเทติ ได้แก่ทําให้ชุ่มชื่น ทําให้สิเนหา คือว่า ย่อมกระทําปีติและสุขเป็นไปในกรชกายทั้งปวง. บทว่า ปริสนฺเทติ ได้แก่ย่อมหลั่งไหลไปโดยรอบ. บทว่า ปริปูเรติได้แก่ ย่อมเต็มเหมือนถูกลมเป่า. บทว่า ปริปฺผรติ ได้แก่ ย่อมถูกต้องโดยรอบ. บทว่า สพฺพาวโต กายสฺส ความว่า ที่แม้น้อยหนึ่งตามผิดเนื้อโลหิตในที่สืบต่อเป็นไปของอุปาทินนกรูป อย่างใดอย่างหนึ่งแห่งกายทุกส่วนของภิกษุนั้น ชื่อว่าไม่ถูกต้องด้วยความสุขในปฐมฌาน ย่อมไม่มี. บทว่า ทกฺโขได้แก่ ผู้ฉลาด สามารถ เพื่อกระทํา เพื่อประกอบ เพื่อผสมซึ่งจุณสําหรับอาบ. บทว่า กํ สถาเล ได้แก่ ภาชนะที่กระทําด้วยโลหะอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ภาชนะที่ทําด้วยดินเหนียว เป็นภาชนะไม่มั่นคง เมื่อบุคคลทุบอยู่ย่อมแตกได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่แสดงภาชนะที่ทําด้วยดินเหนียวนั้น. บทว่า ปริปฺโผสกํ ปริปฺโผสกํ แปลว่า ประพรม. บทว่าสนฺเนยฺย ความว่า ถือถาดสําริดด้วยมือซ้าย พรมแล้วพรมอีกซึ่งน้ำพอประมาณด้วยมือขวาแล้วขยํากระทําให้เป็นก้อน. บทว่า สิเนหานุคตา ได้แก่ ติดกันด้วยยางเหนียวคือน้ำ. บทว่า สิเนหปเรตา ได้แก่ ซึมไปด้วยยางเหนียวคือน้ำ. บทว่า สนฺตรพาหิรา ความว่า พร้อมทั้งส่วนข้างในข้างนอก. ย่อมถูกต้องส่วนทั้งหมดทีเดียวด้วยยางเหนียวคือน้ำ. บทว่า

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 233

น จ ปคฺฆารณี ความว่า น้ำย่อมไม่ไหลไปเป็นหยดๆ อธิบายว่า สามารถเพื่อถือเอา แม้ด้วยมือ แม้ด้วยนิ้วเพียงสองนิ้วเพื่อกระทําให้วนได้.

พึงทราบข้ออุปมาความสุขในทุติยฌาน. บทว่า อุพฺภิโตทโก ได้แก่ น้ำที่ไม่ไหลไป คือไม่ไหลไปข้างล่าง ไม่ไหลไปข้างบน อธิบายว่า เป็นน้ำเกิดอยู่ในภายในนั่นแหละ. บทว่า อายมุขํ ได้แก่ ทางมา. บทว่า เทโว ได้แก่ เมฆ. บทว่า กาเลน กาลํ ได้แก่ ทุกกึ่งเดือน หรือทุกสิบวัน. บทว่าธารํ แปลว่า ฝน. บทว่า อานุปเวจฺเฉยฺย ได้แก่ ไม่พึงเข้าไป คือว่า ไม่พึงตกลงไป. อธิบายว่า ธารน้ำเย็นผุพุขึ้น คือทําห้วงน้ำเย็นที่ขังอยู่ให้เต็มแล้ว.จริงอยู่ น้ำที่พุขึ้นแต่ข้างล่าง ทําน้ำที่พุขึ้นไม่ให้แตกกระเพื่อมออกไปน้ำที่ไหลเข้าไปโดยทิศทั้งสี่ ย่อมกระเพื่อมด้วยใบไม้ หญ้า เศษไม้ ท่อนไม้เก่าเป็นต้น น้ำย่อมกระเพื่อมเพราะฟองน้ำฝน ธารน้ำที่ตกลงมา แต่น้ำสงบนิ่งเกิดขึ้นอยู่ ย่อมแผ่ไปสู่ประเทศนี้ ย่อมไม่แผ่ไปสู่ประเทศนี้ เหมือนเนรมิตไว้ด้วยฤทธิ์ เพราะฉะนั้น โอกาสอันน้ำนั้นไม่ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่มี หามิได้. ในข้อนั้น กรชกาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำ ความสุขในทุติยฌานเหมือนน้ำ. คําที่เหลือ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยก่อน.

พึงทราบคําอุปมาในความสุขแห่งตติยฌาน ดอกอุบลทั้งหลายมีอยู่ ในที่นี้ เพราะเหตุนั้น ที่นี้จึงชื่อว่า กออุบล. แม้สองบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็พึงทราบวินิจฉัยในข้อนี้ว่า ในคํานี้ บรรดาดอกอุบล มีสีขาว สีแดงสีเขียว ดอกอุบลอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จัดเป็นอุบลทั้งนั้น ดอกอุบลที่มีใบเก้าสิบเก้าใบ เรียกว่า บุณฑริกมีใบร้อยใบ เรียกว่า ประทุม อีกอย่างหนึ่ง ดอกอุบลสีขาว แม้ไม่กําหนดใบ ก็เรียกว่า ประทุม ดอกอุบลสีแดง เรียกว่า บุณฑริก.บทว่า อุทกานุคฺคตานิ ได้แก่ ไม่โผล่จากน้ำ. บทว่า อนฺโตนิมุคฺคโปสิตานิความว่า จมอยู่ภายในพื้นน้ำเท่านั้น ย่อมถูกต้อง คือย่อมเจริญ. คําที่เหลือ พึงทราบโดยนัยก่อนแล.

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 234

พึงทราบความอุปมาความสุขในจตุตถฌานต่อไป ในบทว่า ปริสุทฺ-เธน เจตสา ปริโยทาเตน นี้พึงทราบชื่อว่า บริสุทธิ์แล้วเพราะอรรถว่าหมดอุปกิเลส ชื่อว่าผ่องแผ้วแล้ว เพราะอรรถว่า ประภัสสร. บทว่า โอทาเตน ตวฺเถน นี้ ท่านกล่าวเพื่อการแผ่ไปแห่งโอกาส. พึงทราบความในข้อนี้อย่างนี้ว่า ผ้าที่เศร้าหมองความอบอุ่นย่อมไม่แผ่ไป. ทันใดที่ผ้าขาวซักบริสุทธิ์สะอาด ความอบอุ่นย่อมมีกําลังแผ่ไป. จริงอยู่ สําหรับอุปมานี้ กรชกายเปรียบเหมือนผ้า ความสุขในจตุตถฌาน เปรียบเหมือนการแผ่ไปแห่งโอกาสเพราะฉะนั้น เมื่อบุรุษอาบน้ำชําระดีแล้ว นั่งห่มผ้าขาวคลุมศีรษะ อุตุจากสรีระย่อมแผ่ไปตลอดผ้าทั้งหมดทีเดียว โอกาสอะไรๆ ไม่เป็นโอกาสที่จะถูกผ้า มิได้มีฉันใดโอกาสอะไรๆ อันความสุขในจตุตถฌานไม่ถูกต้องกรชกายของภิกษุย่อมไม่มี ฉันนั้น. อีกอย่างหนึ่ง จิตในจตุตถฌานนั่นแหละเปรียบเหมือนผ้าที่ห่มแล้ว รูปที่มีจิตนั้นเป็นสมุฏฐานเปรียบเหมือนการแผ่ไปแห่งโอกาส.บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในที่นี้ อย่างนี้ว่า เหมือนอย่างว่า เมื่อผ้าขาวในที่บางแห่งแม้ไม่ถูกกาย กายก็เป็นอันโอกาสซึ่งมีกายนั้นเป็นสมุฏฐานถูกต้องแล้วทั้งหมดทีเดียวฉันใดกายของภิกษุก็เป็นอันสุขุมรูป ซึ่งจตุตถฌานให้เกิดขึ้นถูกต้องทั่วไปหมด ก็ฉันนั้น.

พึงทราบอุปมาในปุพเพนิวาสญาณ กิริยาอันภิกษุนั้นทําแล้วในวันนั้น ย่อมปรากฏชัดเพราะฉะนั้น ในวันนั้นเธอยึดเอาบ้านสามหลัง ในข้อนั้นบัณฑิตพึงทราบว่า ภิกษุผู้ได้ปุพเพนิวาสญาณ เหมือนบุรุษไปสู่บ้านสามหลัง. ภพสาม บัณฑิตพึงเห็นเหมือนบ้านสามหลัง. ความแจ่มแจ้งแห่งกิริยาอันภิกษุผู้มุ่งจิตไปในปุพเพนิวาสญาณนั่งทําแล้วในภพสาม บัณฑิตพึงทราบ เหมือนความแจ่มแจ้งแห่งกิริยาอันบุรุษนั้นกระทําแล้วในวันนั้นในบ้านสามหลัง

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 235

พึงทราบอุปมาในทิพยจักษุบทว่า เทฺว อคาราได้แก่บ้านสองหลัง. บทว่า สทฺวาราได้แก่มีประตูข้างหน้า. บทว่าอนุจงฺกมนฺเต ได้แก่ เดินไปมา. บทว่า อนุวิจรนฺเต ได้แก่ เที่ยวไปข้างโน้น ข้างนี้อธิบายว่าพึงทราบด้วยสามารถแห่งการออกจากบ้านหลังนี้แล้วเข้าไปสู่บ้านหลังนั้นหรือออกจากบ้านหลังนั้น แล้วเข้าไปสู่บ้านหลังนี้.

ในข้อนั้น จุติและปฏิสนธิ เปรียบเหมือนบ้านสองหลัง มีประตูร่วมกันภิกษุได้ทิพยจักษุญาณ เปรียบเหมือนบุรุษมีจักษุ กาลเวลาที่สัตว์ผู้กําลังจุติและปฏิสนธิปรากฏ แก่ภิกษุผู้ได้ทิพยจักษุ ผู้เจริญอาโลกกสิณ ตรวจดูอยู่เปรียบเหมือนเวลาที่บุรุษเดินเข้าและเดินออกตลอดบ้านสองหลัง ปรากฏแก่บุรุษมีผู้จักษุผู้ยืนแลดูอยู่ในระหว่างบ้านสองหลัง. ถามว่าก็กาลเหล่านั้นปรากฏแก่ญาณ หรือแก่บุคคล ตอบว่าแก่ญาณ. แต่ว่า เพราะปรากฏแก่ญาณนั้น จึงปรากฏแก่บุคคลเหมือนกัน.

พึงทราบอุปมาแห่งอาสวักขยญาณ ดังนี้ บทว่า ปพฺพตสงฺเขเปได้แก่ ยอดภูเขา. บทว่า อนาวิโล ได้แก่ ไม่มีเปือกตม. หอยโข่งด้วยหอยกาบด้วย ชื่อว่าหอยโข่งและหอยกาบ. ก้อนกรวดด้วย กระเบื้องด้วย ชื่อว่าก้อนกรวดและกระเบื้อง. ชื่อว่าฝูงปลา เพราะปลาเป็นหมู่เป็นฝูง. ในบทว่า ติฏนฺตํ ปิ จรนฺตํ ปิ นี้ได้แก่ ก้อนกรวดและกระเบื้องหยุดอยู่ แต่นอกนี้ มีหอยโข่งเป็นต้น เดินไปบ้าง หยุดอยู่บ้าง. เหมือนอย่างว่า เมื่อแม่โคยืนบ้าง หมอบบ้าง นอนบ้าง ในระหว่างๆ ฝูงโคเหล่านี้ย่อมเที่ยวไป พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาโคที่เที่ยวไป จึงตรัสว่าโคนอกนี้ย่อมเที่ยวไป ฉันใดพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาก้อนกรวดและกระเบื้องที่หยุดอยู่นั่นเองจึงตรัสว่า สองหมวดนอกนี้หยุดอยู่. ทรงหมายเอาสองหมวดนี้เคลื่อนไปจึงตรัสว่าแม้ก้อนกรวดและกระเบื้องก็เคลื่อนไป ดังนี้. ในข้อนั้น พึงทราบกาลที่สัจจะ ๔ แจ่มแจ้งแล้วแก่ภิกษุผู้นั่งน้อมจิตไปเพื่อ

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 236

ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ดุจกาลที่หอยโข่งและหอยกอบเป็นต้นแจ่มแจ้งแล้วแก่บุรุษผู้มีจักษุยืนดูอยู่ที่ฝัง ฉะนั้น.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงถือเอาชื่อพระขีณาสพ ทั้งเพศ ทั้งคุณ ด้วยอาการ ๗ อย่างจึงตรัสบทว่า อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว ภิกฺขุสมโณ อิติปิ เป็นต้น. พึงทราบวินิจฉัยในบทเหล่านั้น ในบทว่า เอวํ โขภิกฺขเว ภิกฺขุ สมโณ โหติ เป็นต้น อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่า สมณะเพราะมีบาปอันสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้. ชื่อว่า พราหมณ์ เพราะมีบาปอันลอยแล้ว. ชื่อว่า นหาตกะ (ผู้อาบ) เพราะมีกิเลสล้างออกแล้ว คือมีกิเลสอันกําจัดออกแล้ว. ชื่อว่าเวทคู เพราะอกุศลธรรมทั้งหลายไปแล้ว ด้วยเวททั้งหลายคือ มรรคญาณ๔ อธิบายว่า เพราะรู้แล้ว. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าวิทิตสฺส โหนฺติเป็นต้น. ชื่อว่าโสตติยะ เพราะกิเลสทั้งหลายหลับไปแล้วคือว่า เพราะกิเลสทั้งหลายไม่ไหลออกไปมา. ชื่อว่าอริยะ เพราะไกลจากกิเลสทั้งหลายอธิบายว่า เพราะกิเลสทั้งหลายถูกกําจัดแล้ว. ชื่อว่าอรหันต์เพราะไกลคือว่า เป็นผู้ห่างไกลแล้ว. คําที่เหลือในที่ทั้งปวง ปรากฏแจ่มแจ้งแล้วแล.

จบ อรรถกถามหาอัสสปุรสูตรที่ ๙