พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. เวรัญชกสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ส.ค. 2564
หมายเลข  36046
อ่าน  514

[เล่มที่ 19] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 268

๒. เวรัญชกสูตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 19]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 268

๒. เวรัญชกสูตร

[๔๘๘] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-

"สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับที่พระเชตวันอารามของอนาถปิณฑิกะใกล้กรุงสาวัตถี ก็โดยสมัยนี้แล พวกพราหมณ์เละคฤหบดีชาวเมืองเวรัญชาพักแรมอยู่ในกรุงสาวัตถี ด้วยกรณียกิจบางอย่างพวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวเมืองเวรัญชาได้ฟังว่า "ท่านผู้เจริญ ดังได้ข่าวมาว่า พระสมณโคดม ผู้ศากยบุตร ทรงผนวชจากตระกูลศากยะประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถปิณฑิกะใกล้กรุงสาวัตถี ก็เกียรติ-ศัพท์อันงดงามของพระโคดมผู้เจริญนั้นแลฟุ้งขจรไปอย่างนี้ว่า ""แม้เพราะเหตุอย่างนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยถูกต้อง สมบูรณ์ความรู้และความประพฤติเสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้จักโลกเป็นสารถีฝึกคนที่พอจะฝึกได้อย่างเยี่ยม เป็นผู้สั่งสอนพวกเทพและมนุษย์เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จําแนกแจกธรรม พระองค์ทรงทําให้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้วประกาศโลกนี้รวมทั้งเทวโลก พร้อมทั้งมารพร้อมทั้งพรหม หมู่สัตว์ที่รวมทั้งสมณะและพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์พระองค์ทรงแสดงธรรมที่ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลางไพเราะในที่สุด ประกาศหลักครองชีวิตอันประเสริฐ.บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงพร้อมทั้งอรรถ (หัวข้อ) พร้อมทั้งพยัญชนะ (คําอธิบาย) ก็การได้เห็นพวกพระอรหันต์เห็นปานนั้นเป็นการดี"

ครั้งนั้นแล พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวเมืองเวรัญชาได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ แล้วบางพวกถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า, บางพวกก็ชื่นชมยินดีกับพระผู้มีพระภาคเจ้า เปล่งถ้อยคําเป็นที่น่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 269

บันเทิงทําให้ระลึกนึกถึงกัน, บางพวกเป็นแต่ประณมมือหันไปทางที่พระผู้มี-พระภาคเจ้าประทับ, บางพวกเป็นแต่ร้องประกาศชื่อสกุลในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้า, บางพวกไม่พูดจาว่ากระไรแล้วต่างก็นั่งลงในที่ควรส่วนหนึ่ง, เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวเมืองเวรัญชาต่างนั่งลงในที่ควรส่วนหนึ่งแล้ว ก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า :-

"พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ, อะไรเป็นปัจจัยที่สัตว์บางพวกในโลกนี้เข้าถึงอบายทุคติวินิบาต นรกเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก และ พระโคดมผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุ, อะไรเป็นปัจจัย ที่สัตว์บางพวกในโลกนี้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก "

ภ. "พราหมณ์เละคฤหบดีทั้งหลาย เพราะความประพฤติไม่ถูกต้องและประพฤติไม่เรียบร้อยเป็นเหตุ, สัตว์บางพวกในโลกนี้จึงเข้าถึงอบายทุคติวินิบาตนรกหลังจากที่แตกกายตายไป, พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายเพราะเหตุที่ประพฤติถูกต้องและประพฤติเรียบร้อย สัตว์บางพวกในโลกนี้จึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์หลังจากที่แตกกายตายไป "

พ. คําที่พระโคดมผู้เจริญพูดไว้โดยย่อยังไม่ได้จําแนกเนื้อความอย่างพิสดารนี้พวกข้าพเจ้ายังไม่เข้าใจเนื้อความอย่างพิสดารเลย จึงขอความกรุณาให้พระโคดมผู้เจริญได้โปรดแสดงธรรมโดยประการที่พวกข้าพเจ้าจะพึงเข้าใจเนื้อความของคําที่พระโคดมผู้เจริญพูดไว้โดยย่อนี้โดยพิสดารด้วยเถิด "

ภ. พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอให้พวกท่านจงตั้งใจฟังให้ดี เราจะว่าให้ฟัง"

พราหมณ์เละคฤหบดีชาวเมืองเวรัญชารับสนองพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ"

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 270

อกุศลกรรมบถ ๑๐

[๔๘๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสคํานี้ว่า :-

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลเป็นผู้ประพฤติไม่ถูกต้อง ประพฤติไม่เรียบร้อยทางกายมี๓ อย่างแล. เป็นผู้ประพฤติไม่ถูกต้อง ประพฤติไม่เรียบร้อยทางวาจามี๔ อย่าง. เป็นผู้ประพฤติไม่ถูกต้อง ประพฤติไม่เรียบร้อยทางใจมี๓ อย่างพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นผู้ประพฤติไม่ถูกต้อง ประพฤติไม่เรียบร้อยทางกาย ๓ อย่าง อย่างไรบ้าง?

"พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ :-

๑. เป็นคนชอบฆ่าสัตว์คือเป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือดมุ่งแต่เข่นฆ่าไร้ยางอายไม่มีความสงสารในหมู่สัตว์ทุกชนิด

๒. เป็นคนชอบลักทรัพย์คือถือเอาทรัพย์สมบัติของคนอื่นที่เขายังไม่ให้ซึ่งเป็นอาการแห่งขโมย

๓. เป็นคนชอบประพฤติผิดในของรักของใคร่ทั้งหลาย คือล่วงละเมิดจารีต (ประเวณี) ในพวกผู้หญิงที่แม่ปกครอง ฯลฯ เห็นปานนั้น

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลเป็นผู้ประพฤติไม่ถูกต้องประพฤติไม่เรียบร้อยทางกาย ๓ อย่าง อย่างนี้แล

"พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นผู้ประพฤติไม่ถูกต้อง ประพฤติไม่เรียบร้อยทางวาจา ๔ อย่างอย่างไรบ้าง

"พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ :-

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 271

๑. เป็นผู้ชอบพูดเท็จ, ฯลฯ * เป็นผู้พูดเท็จทั้งๆ ที่รู้อยู่

๒. เป็นผู้กล่าวส่อเสียด คือฟังจากทางนี้แล้วไปบอกทางโน้น ฯลฯเป็นผู้กล่าววาจาเป็นเครื่องทําให้แตกกันเป็นพรรคเป็นพวก

๓. และก็เป็นคนกล่าวคําหยาบ คือชอบพูดคําที่ค่อนขอด หยาบช้าฯลฯ เป็นผู้พูดคําเห็นปานนั้น.

๔. อีกทั้งเป็นผู้ชอบกล่าวคําพูดเพ้อเจ้อ คือพูดในเวลาไม่ควรพูดคําไม่จริงฯลฯไม่มีที่สิ้นสุดไม่ประกอบด้วยประโยชน์.

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลเป็นผู้ประพฤติไม่ถูกต้องประพฤติไม่เรียบร้อยทางวาจา ๔ อย่าง อย่างนี้แล.

"พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลเป็นผู้ประพฤติไม่ถูกต้องประพฤติไม่เรียบร้อยทางใจ ๓ อย่าง อย่างไรบ้าง?

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ :-

๑. เป็นผู้มากไปด้วยความเพ่งเล็งว่าฯลฯ นั้นพึงเป็นของเร่า

๒. เป็นผู้มีจิตพยาบาท คือมีความคิดในใจที่ร้ายว่า "ขอให้สัตว์เหล่านี้จงเดือดร้อน ฯลฯ หรืออย่าได้มีแล้ว"

๓. อีกทั้งเป็นผู้มีความเห็นผิด คือเห็นคลาดเคลื่อนไปว่า "ทานที่ให้แล้วไม่มีผล, การบูชาไม่มีผล, การเซ่นสรวงไม่มีผล ฯลฯ ทําให้แจ้งแล้วประกาศไม่มี"

"พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลย่อมเป็นผู้ประพฤติไม่ถูกต้องประพฤติไม่เรียบร้อยทางใจ ๓ อย่าง อย่างนี้แล.

๑. ข้อความที่ ฯลฯ ทุกแห่ง เหมือนที่กล่าวแล้วในสาเลยยกสูตร

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 272

"พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย เพราะเหตุที่ประพฤติไม่ถูกต้องและประพฤติไม่เรียบร้อยดังที่ว่ามานี้แล สัตว์บางพวกในโลกนี้จึงเข้าถึงอบายทุคติวินิบาตนรกเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกไปอย่างนี้.

กุศลกรรมบถ ๑๐

[๔๙๐] พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็แลบุคคลเป็นผู้ประพฤติถูกต้อง ประพฤติเรียบร้อยทางกายมี๓ อย่าง, ... ..ทางวาจา มี๔ อย่าง, ... ... ทางใจมี ๓ อย่าง.

"พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็แลบุคคลเป็นผู้ประพฤติถูกต้องประพฤติเรียบร้อยทางกาย ๓ อย่าง อย่างไรบ้าง

"พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ :-

๑. ละการฆ่าสัตว์ งดเว้นการฆ่าสัตว์ได้เด็ดขาดวางท่อนไม้เสียแล้ววางศัสตราเสียแล้ว ฯลฯ เป็นผู้มีการเกื้อกูลอนุเคราะห์สัตว์ทุกจําพวกอยู่

๒. ละการลักทรัพย์ งดเว้นจากการลักทรัพย์ได้เด็ดขาดไม่ถือเอาทรัพย์สมบัติของผู้อื่นที่เขายังไม่ได้ให้อันเป็นส่วนแห่งขโมย

๓. ละการประพฤติผิดในเรื่องของรักของใคร่ทั้งหลาย ฯลฯ ไม่เป็นผู้ล่วงละเมิดจารีต (ประเวณี) ในพวกหญิงเห็นปานนั้น

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลย่อมเป็นผู้ประพฤติถูกต้องประพฤติเรียบร้อย ทางกาย ๓ อย่าง อย่างนี้แล.

"พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมเป็นผู้ประพฤติถูกต้องประพฤติเรียบร้อยทางวาจา ๔ อย่าง เป็นอย่างไรบ้าง

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 273

"พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ :-

๑. ละการกล่าวเท็จ เว้นจากการกล่าวเท็จได้อย่างเด็ดขาดคืออยู่ในที่ประชุมก็ดี ฯลฯเป็นผู้ไม่กล่าวเท็จทั้งๆ ที่รู้อยู่.

๒. ละคําส่อเสียดเว้นจากคําส่อเสียดได้อย่างเด็ดขาด ฯลฯ เป็นผู้กล่าวคําที่ทําให้เกิดสมัครสมานกันเห็นปานนั้น

๓. ละคําหยาบ ฯลฯเป็นผู้กล่าวคําเห็นปานนั้น

๔. ละคําสํารากเพ้อเจ้อ ฯลฯ โดยเลือกเวลา มีที่อ้างมีที่สิ้นสุดประกอบด้วยประโยชน์

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลย่อมเป็นผู้ประพฤติถูกต้องประพฤติเรียบร้อยทางวาจา ๔ อย่าง อย่างนี้แล.

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมเป็นผู้ประพฤติถูกต้องประพฤติเรียบร้อยทางใจ ๓ อย่าง เป็นอย่างไรบ้าง?

"พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ :-

๑. ไม่เป็นผู้มากไปด้วยความเพ่งเล็ง คือไม่เพ่งเล็งทรัพย์สมบัติของผู้อื่นว่า " ไฉนหนอ ทรัพย์ของคนอื่นพึงเป็นของเรา "

๒. ไม่เป็นผู้มีจิตพยาบาท ไม่มีจิตคิดร้าย (คิดในใจ) ว่า " ขอให้สัตว์เหล่านี้จงอย่ามีเวรอย่าเบียดเบียนกัน อย่ามีทุกข์ จงมีแต่สุข รักษาตนเถิด "

๓. เป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง ไม่ใช่เห็นคลาดเคลื่อน (คือเห็น) ว่า"ทานที่ให้แล้วมีผล, การบูชามีผล, การเซ่นสรวงมีผลฯลฯ ทําให้แจ้งด้วยความรู้อย่างยิ่งของตนเองแล้วประกาศ (แก่สัตว์อื่น) มี"

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 274

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลย่อมเป็นผู้ประพฤติถูกต้องประพฤติเรียบร้อยทางใจ ๓ อย่าง อย่างนี้แล.

"พราหมณ์เละคฤหบดีทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งการประพฤติถูกต้องและประพฤติเรียบร้อยดังว่ามานี้แล สัตว์บางพวกในโลกนี้จึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์หลังจากที่แตกกายตายไปแล้ว.

ผลของธรรมจริยาและสมจริยา

[๔๙๑] พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลที่ประพฤติถูกต้องประพฤติเรียบร้อย พึงหวังว่า " ไฉนหนอ ขอให้เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกเดียวกันกับพวกกษัตริย์มหาศาล ... พวกพราหมณ์มหาศาล ... พวกคฤหบดีมหาศาลเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกเถิด" ก็ข้อที่เขาเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก พึงเข้าถึงความเป็นพวกเดียวกันกับพวกกษัตริย์มหาศาล ... พวกพราหมณ์มหาศาล ... พวกคฤหบดีมหาศาลนี้ ย่อมเป็นไปได้.นั้น เพราะเหตุไร? เพราะเขาเป็นผู้ประพฤติถูกต้อง ประพฤติเรียบร้อย.

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าผู้ที่ประพฤติถูกต้อง ประพฤติเรียบร้อย พึงหวังว่าไฉนหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายเถิดขอให้เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกเดียวกันกับพวกเทพชั้นจาตุมหาราชิกา ... ชั้นดาวดึงส์ ... ชั้นยามา ... ชั้นดุสิต ... ชั้นนิมมานรดี ... ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ... ชั้นพรหมกายิกา (พวกพรหมมี๓ ชั้น คือ พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิ-ตา มหาพรหมา) เถิด" ก็ข้อที่เขาเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก พึงเข้าถึงความเป็นพวกเดียวกันกับพวกเทพชั้นจาตุมหาราชิกา ฯลฯ ชั้นพรหมกายิกานี้ย่อมเป็นไปได้นั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาประพฤติถูกต้อง ประพฤติเรียบร้อย.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 275

"พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าผู้ที่ประพฤติถูกต้อง ประพฤติเรียบร้อย พึงหวังว่า " ไฉนหนอเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกขอให้เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกเดียวกันกับพวกเทพชั้นอาภา (พวกมีรัศมี มี๓ ชั้น คือ ปริตตาอัปมาณาภาอาภัสสรา) เถิด " ก็ข้อที่เขาเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกพึงเข้าถึงความเป็นพวกเดียวกันกับหมู่เทพชั้นอาภานี้ย่อมเป็นไปได้นั้น เพราะเหตุไร เพราะเขาเป็นผู้ประพฤติถูกต้องประพฤติเรียบร้อย.

"พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าผู้ที่ประพฤติถูกต้อง ประพฤติเรียบร้อย พึงหวังว่า"ไฉนหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกขอให้เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกเดียวกันกับพวกเทพชั้นปริตตสุภา... ชั้นอัปปมาณสุภา...ชั้นสุภกิณหา... ชั้นเวหัปผลา... ชั้นอวิหา... ชั้นอตัปปา... ชั้นสุทัสสา..ชั้นสุทัสสี... ชั้นอกนิฏฐา....ชั้นผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ.....ชั้นผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ... ชั้นผู้เข้าถึงอากิญจัญญาตนะ....ชั้นผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะเถิดก็ข้อที่เบื้องหน้าตายเพราะกายแตกเขาพึงเข้าถึงความเป็นพวกเดียวกันกับหมู่เทพชั้นปริตตสุภาฯลฯ ชั้นผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ย่อมเป็นไปได้. นั้น เพราะเหตุไร? เพราะเขาเป็นผู้ประพฤติถูกต้อง ประพฤติเรียบร้อย

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าผู้ที่ประพฤติถูกต้องประพฤติเรียบร้อย พึงหวังว่า " ไฉนหนอ ขอให้เราพึงทําให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติที่หาอาสวะไม่ได้เพราะพวกอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งของตนเองแล้วอยู่ในปัจจุบันนี้เองเถิด " ก็ข้อที่เขาพึงทําให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติที่

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 276

หาอาสวะไม่ได้ เพราะพวกอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งของตนเองแล้วอยู่ในปัจจุบันนี้เองนี้ ย่อมเป็นไปได้. นั้น เพราะเหตุไร เพราะเหตุที่เขาเป็นประพฤติถูกต้อง ประพฤติเรียบร้อย

[๔๙๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนี้จบแล้ว พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวเมืองเวรัญชาได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า "ไพเราะเหลือเกิน พระโคดมผู้เจริญ พระโคดมผู้เจริญ ไพเราะจริงๆ " พระโคดมผู้เจริญได้ประกาศธรรมหลายแบบ เหมือนคนหงายของที่คว่ํา เปิดของที่ปิดบอกทางแก่ผู้หลง ตามตะเกียงน้ำมันไว้ในที่มืด ด้วยคิดว่า " คนมีตาดีๆ จะได้เห็นรูป" พวกข้าพเจ้าเหล่านี้ ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรมและพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึกขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจําพวกข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป "

จบเวรัญชกสูตร ที่ ๒

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 277

อรรถกถาเวรัญชกสูตร

เวรัญชกสูตร ขึ้นต้นว่า " ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้"

ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า "ชาวเวรัญชา" ได้แก่พวกผู้อยู่ที่เมืองเวรัญชา. คําว่า "ด้วยกรณียะบางอย่างทีเดียว" ได้แก่ด้วยกิจที่ไม่กําหนดให้แน่ลงไปบางอย่างนั่นแลคําที่เหลือทั้งหมด พึงทราบตามแบบที่ว่าไว้แล้วในสูตรก่อน. ก็เพียงแต่ในพระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทําการแสดงชนิดยกเอาบุคคลมาเป็นที่ตั้งอย่างนี้ว่า "บุคคลมีปกติประพฤติไม่เป็นธรรม มีปกติประพฤติไม่เรียบร้อยแต่ในพระสูตรก่อน เป็นชนิดยกเอาธรรมมาเป็นที่ตั้งเท่านั้น. แตกต่างกันเท่านี้ที่เหลือเหมือนกันทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาเวรัญชกสูตร ที่ ๒