พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. วีมังสกสูตร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ส.ค. 2564
หมายเลข  36051
อ่าน  843

[เล่มที่ 19] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 387

๗. วีมังสกสูตร

เรื่องสอบสวนพระธรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 19]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 387

๗. วีมังสกสูตร

เรื่องสอบสวนพระธรรม

[๕๓๕] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.

สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร อารามของท่านอนาถบิณฑิกะใกล้กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า "ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้. ภิกษุเหล่านั้นรับสนองพระดํารัสพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "พระพุทธเจ้าข้า"

[๕๓๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคําอย่างนี้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุผู้ใคร่ครวญ เมื่อไม่รู้กระบวนจิตของผู้อื่น จะพึงทําความสอบสวนในพระตถาคตเจ้าว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะด้วยความรู้แจ่มแจ้ง ด้วยประการฉะนี้หรือไม่. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญสิ่งทั้งหลายของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้นํา มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่ง พระพุทธเจ้าข้า ดีหนอขอเนื้อความภาษิตนั่นจงแจ่มแจ้งกับพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด" พวกภิกษุฟัง (เนื้อความภาษิตนั้น) ของพระผู้มีพระภาคเจ้าจักจําไว้.

พ. "ภิกษุทั้งหลาย! ถ้าเช่นนั้น พวกเธอจงฟัง ตั้งใจให้ดี เราจักกล่าว" ภิกษุเหล่านั้นรับสนองพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า"อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า"

[๕๓๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอย่างนี้ว่า "ภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้จะสอบสวน เมื่อไม่รู้กระบวนจิตผู้อื่น พึงสอบสวนพระตถาคต

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 388

เจ้า ในสิ่งทั้ง ๒ คือในสิ่งที่จะพึงรู้แจ้งด้วยตาและฟังด้วยหูว่า "สิ่งเหล่าใดเศร้าหมองที่จะพึงรู้ด้วยตาและฟังด้วยหู สิ่งเหล่านั้นของพรตถาคตเจ้ามีหรือไม่?"

"ภิกษุ เมื่อสอบสวนพระตถาคตเจ้า นั่นจะรู้อย่างนี้ว่า "สิ่งเหล่าใดเศร้าหมอง พร้อมพึงรู้แจ้งด้วยตาและฟังด้วยหูสิ่งเหล่านั้นของพระตถาคตเจ้าไม่มี" เพราะเมื่อภิกษุสอบสวนพระตถาคตเจ้านั้น จะรู้อย่างนี้ว่า "สิ่งเหล่าใดเศร้าหมองที่จะพึงรู้แจ้งด้วยตาและด้วยหู สิ่งเหล่านั้นของพระตถาคตเจ้าย่อมไม่มี." ภิกษุจะสอบสวนให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นว่า สิ่งเหล่าใดที่ยังเป็นความมืด ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยตาและด้วยหู สิ่งเหล่านั้น ของพระตถาคตเจ้ามีอยู่หรือ

ภิกษุเมื่อจะสอบสวนพระตถาคตเจ้านั้น ย่อมรู้อย่างนี้ว่า "สิ่งเหล่าใดยังเป็นความมืด ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยตาและด้วยหูสิ่งเหล่านั้นของพระตถาคตเจ้าไม่มี" เพราะภิกษุ เมื่อจะสอบสวนพระตถาคตเจ้านั้น ย่อมรู้อย่างนี้ว่า สิ่งเหล่าใดเป็นความมืด ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยตาและด้วยหูสิ่งเหล่านั้นของพระตถาคตเจ้าไม่มี." ภิกษุเมื่อจะสอบสวนพระตถาคตเจ้านั้นใหญ่ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นว่า "สิ่งเหล่าใดแจ่มแจ้งที่จะพึงรู้แจ้งด้วยตาและด้วยหูสิ่งเหล่านั้นของพระตถาคตเจ้ามีอยู่หรือไม่"

ภิกษุเมื่อจะสอบสวนพระตถาคตเจ้านั้น ย่อมรู้อย่างนี้ว่า "สิ่งเหล่าใด ที่แจ่มแจ้งพึงรู้แจ้งด้วยตาและด้วยหู สิ่งเหล่านั้นของพระตถาคตเจ้ามีอยู่พร้อม." เพราะภิกษุเมื่อจะสอบสวนพระตถาคตเจ้านั้น ย่อมรู้อย่างนี้ว่า สิ่งเหล่าใดแจ่มแจ้งที่จะพึงรู้แจ้งด้วยตาและด้วยหูสิ่งเหล่านั้นของพระตถาคตเจ้ามีอยู่พร้อม." ภิกษุจะสอบสวนคนอื่นนั้น ให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นว่า "ท่านผู้นี้ถึงพร้อมด้วยกุศลธรรมนี้ตลอดกาลนานหรือว่าเข้าถึงอกุศลธรรมนอกนี้"

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 389

ภิกษุนั้น เมื่อสอบสวนผู้นั้น ย่อมรู้อย่างนี้ว่า "ท่านผู้นี้เข้าถึงกุศลธรรมนี้สิ้นกาลนานแล้ว, ท่านผู้นี้ไม่ใช่เข้าถึงกุศลธรรมนอกนี้." เพราะภิกษุนั้น เมื่อสอบสวนผู้นั้นจะรู้อย่างนี้ว่า "ท่านผู้นี้เข้าถึงกุศลธรรมนี้สิ้นกาลนานแล้ว, ท่านผู้นี้ไม่ได้เข้าถึงอกุศลธรรมนอกนี้." เมื่อจะสอบสวนให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นว่า "ภิกษุผู้มีอายุนี้ปรากฏชื่อเสียง มียศโทษบางอย่างของเธอยังมีอยู่ในเรื่องนี้."

"ภิกษุทั้งหลาย! โทษบางอย่างไม่มีแก่ภิกษุในเรื่องนี้ตราบเท่าที่เธอยังไม่เป็นผู้มีชื่อเสียงปรากฏ (และ) ภิกษุทั้งหลายเมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีชื่อเสียงปรากฏ (และ) มียศเมื่อนั้นโทษบางอย่างของเธอในเรื่องนี้จึงมี."ภิกษุนั้นเมื่อจะสอบสวนผู้นั้นนั่นแหละย่อมรู้อย่างนี้ว่า ภิกษุผู้มีอายุนี้เป็นปรากฏชื่อเสียงเป็นผู้ได้ยศ, โทษบางอย่างของเธอไม่มีในเรื่องนี้." เพราะภิกษุนั้นเมื่อสอบสวนนั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า "ภิกษุผู้มีอายุนี้เป็นผู้ปรากฏชื่อเสียง เป็นผู้ได้ยศโทษบางอย่างไม่มีแก่เธอในกรณีนี้.

เพราะเมื่อภิกษุนั้น. เมื่อจะสอบสวนผู้นั้น ให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นว่าท่านผู้นี้เข้าถึงความยินดีในสิ่งไม่น่ากลัว, ท่านผู้นี้เป็นผู้ไม่เข้าถึงความยินดีในสิ่งที่น่ากลัว, เธอย่อมไม่เสพกามเพราะปราศจากความกําหนัดเพราะความกําหนัดสิ้นไป." เพราะฉะนั้น เมื่อจะสอบสวนผู้นั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า "ท่านนี้เข้าถึงความยินดีในสิ่งที่ไม่น่ากลัว, ไม่เป็นผู้เข้าถึงความยินดีในสิ่งที่น่ากลัว, ไม่เสพกามเพราะปราศจากความกําหนัดเพราะสิ้นความกําหนัด."

"ภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากคนพวกอื่นจะพึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่าอะไรเป็นอาการของท่าน, อะไรเป็นที่คล้อยตามท่าน ซึ่งเป็นเหตุที่ให้ท่านกลัวอย่างนี้ว่า. "ท่านเข้าถึงความยินดีในสิ่งที่ไม่น่ากลัว ท่านผู้นี้ไม่เข้าถึงความยินดีในสิ่งที่น่ากลัว, เธอย่อมไม่เสพกามเพราะปราศจากความกํา

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 390

หนัด เพราะสิ้นความกําหนัด." ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพยากรณ์โดยชอบพึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้อยู่ในหมู่หรือเป็นผู้เที่ยวอยู่, พวกใดไปดีแล้วในที่นั้น, พวกใดไปไม่ดีแล้วในที่นั้น, พวกใดตามสั่งสอนคณะในที่นั้น,บางเหล่าบางพวกปรากฏในอามิส และบางเหล่าบางพวกถูกอามิสแปดเปื้อน ท่านผู้นี้ย่อมไม่ดูหมิ่นผู้นั้นเพราะเหตุนั้น. ก็คํานี้เราได้ฟังได้รับเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า " เราเป็นผู้เข้าไปยินดีในสิ่งที่ไม่น่ากลัวไม่เข้าไปยินดีในสิ่งที่น่ากลัว เราไม่เสพกามเพราะปราศจากกําหนัดเพราะสิ้นความกําหนัด"

เรื่องทวนถาม

[๕๓๘] ภิกษุทั้งหลาย ครั้นพระตถาคตเจ้าถูกถามกลับยิ่งขึ้นไปอีกว่า "สิ่งเหล่าใดเศร้าหมองพร้อมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยตาและด้วยหู สิ่งเหล่านั้นอยู่หรือว่าไม่มีแก่พระตถาคตเจ้า." ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตเจ้าเมื่อพยากรณ์จะพึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า สิ่งเหล่าใดเศร้าหมองพร้อมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยตาและด้วยหู สิ่งเหล่านั้นไม่มีแก่พระตถาคตเจ้า." (ภิกษุทั้งหลาย. พระตถาคตเจ้าจะพึงกลับถูกถามยิ่งขึ้นไปอีกว่า) "สิ่งเหล่าใดมืดที่จะพึงรู้แจ้งด้วยตาและด้วยหู สิ่งเหล่านั้นมีอยู่หรือว่าไม่มีแก่พระตถาคต-"ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระตถาคตเจ้าพยากรณ์จะพึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า"สิ่งเหล่าใดมืดที่จะพึงรู้แจึงได้ด้วยตาและด้วยหูเหล่านั้นไม่มีแก่พระตถาคตเจ้า"

(ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตเจ้ากลับถูกถามให้ยิ่งขึ้นอีกว่า) " สิ่งเหล่าใดแจ่มแจ้ง พึงรู้แจ้งด้วยตาและด้วยหู เหล่านี้มีอยู่หรือว่าไม่มีแก่พระตถาคตเจ้า" ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระตถาคตจะพยากรณ์ก็จะพึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า สิ่งเหล่าใดแจ่มแจ้ง พึงรู้แจ้งด้วยตาและด้วยหู, เหล่านั้นมีอยู่แก่ตถาคต."

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 391

ภิกษุทั้งหลาย สาวกควรเข้าไป พระศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีศีลนั่นเป็นทาง มีศีลนั่นเป็นอารมณ์ และไม่มีตัณหาเพราะศีลอันบริสุทธิ์นั้นดังนี้เพื่อฟังธรรม, พระศาสดาย่อมแสดงธรรมสูงยิ่งขึ้นไปอันประณีตและประณีต เปรียบเทียบให้เห็นทั้งดําทั้งขาวแก่ภิกษุนั้น ภิกษุทั้งหลายพระศาสดาย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุยิ่งๆ ขึ้นไป ประณีตขึ้นไป พร้อมกับส่วนเปรียบให้เห็นทั้งดําทั้งขาวโดยประการใดๆ ภิกษุนั้น เพราะรู้ยิ่งธรรมบางชนิดในธรรมนั้น ถึงความตั้งลงในธรรมในพระศาสนานี้ ย่อมเลื่อมใสในพระศาสดาว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสรู้เองโดยชอบ. พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์ปฏิบัติดีแล้วโดยประการนั้นๆ "

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าคนทั้งหลายพึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้อีกว่าอะไรเป็นอาการของท่าน อะไรเป็นเครื่องคล้อยตามท่าน ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า " พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสรู้เองโดยชอบ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์ปฏิบัติแล้ว." ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุจะพยากรณ์ก็ควรพยากรณ์อย่างนี้ว่า " คุณ เราเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ เพื่อฟังธรรมในศาสนานี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่เรายิ่งๆ ขึ้นไป ประณีตยิ่งขึ้นไป พร้อมทั้งเปรียบเทียบให้เห็นทั้งขาวและดํา คุณ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่เราให้ยิ่งขึ้นไปให้ประณีตยิ่งขึ้น ให้เป็นส่วนเปรียบเทียบพร้อมให้เห็นทั้งดําและขาวโดยประการใดๆ เรารู้ยิ่งในบางสิ่งบางอย่าง ในสิ่งนั้น ที่ให้ถึงความตัดสินใจได้เด็ดขาดในธรรมในศาสนา จึงเลื่อมใสพระศาสดาว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้เองโดยชอบ พระธรรมพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์ปฏิบัติดีแล้ว ฉันนั้นๆ " ดังนี้.

[๕๓๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคํานี้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาตั้งมั่นในพระตถาคตเจ้าด้วยอาการเหล่านี้บทเหล่านี้พยัญชนะ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 392

เหล่านี้ เป็นรากเหง้า เป็นที่พึ่ง ภิกษุทั้งหลายศรัทธาที่มีอาการอย่างนี้ที่ใครๆ เป็นสมณะก็ตาม, พราหมณ์ก็ตาม เทวดา พรหม หรือว่ามารก็ตาม ในโลกกล่าวว่า มีความเห็นเป็นรากเหง้า มั่นคงไม่ง่อนแง่น ภิกษุทั้งหลาย การปรึกษาธรรมในพระตถาคตเจ้าย่อมมีอย่างนี้แล. ก็แลพระตถาคตเจ้าย่อมเป็นผู้อันบุคคลสอบสวนแล้วโดยชอบธรรมอย่างนี้."

ภิกษุเหล่านั้นต่างพอใจชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ วีมังสกสูตร ที่ ๗

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 393

อรรถกถาวีมังสกสูตร

วีมังสกสูตรมีคําเริ่มต้นว่าข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า "ผู้สอบสวนอยู่" ความว่า "ผู้จะสอบสวนมี๓ คือผู้สอบสวนในอรรถผู้สอบสวนในสังขารผู้สอบสวนในพระศาสดา."ในผู้สอบสวนเหล่านั้น ผู้สอบสวนเนื้อความมาแล้วในบทนี้ว่า "ท่านผู้มีอายุมนุษย์ทั้งหลาย ผู้ฉลาดย่อมเป็นผู้สอบสวน. ผู้สอบสวนในสังขารมาแล้วในบทนี้ว่า "พอละด้วยคําว่า "อานนท์" เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในธาตุฉลาดในอายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท และเป็นผู้ฉลาดในฐานะและมิใช่ฐานะอานนท์ ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุผู้ฉลาดย่อมเป็นผู้สอบสวน. ส่วนผู้ฉลาดในพระศาสดาท่านประสงค์เอาในพระสูตรนี้.

บทว่า "กระบวนจิต" ความว่า "วาระแห่งจิต คือการกําหนดจิต"

บทว่า "ตามแสวงหาพร้อม" ความว่า "แสวงหาคือเสาะหาได้แก่ใคร่ครวญหา."

บทว่า "เพื่อรู้แจ้ง ด้วยประการฉะนี้" ความว่า "เพื่อประโยชน์รู้แจ้งอย่างนี้."

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการเข้าไปอาศัยกัลยาณมิตรในคํานี้ว่า "ภิกษุพึงแสวงหาพระตถาคตเจ้าในเหตุทั้ง ๒ เพราะว่า พระตถาคตเจ้านี้ชื่อว่าเป็นที่พึ่งคือกัลยาณมิตรผู้ใหญ่ พึงทราบความที่พระตถาคตเจ้านั้นเป็นกัลยาณมิตรอย่างใหญ่หลวงนี้"

สมัยหนึ่ง ท่านอานนท์คิดว่า "พรหมจรรย์ครึ่งหนึ่ง มีเพราะอานุภาพตน ครึ่งหนึ่งมีได้เพราะอานุภาพกัลยาณมิตรแล้วไม่อาจจะวินิจฉัยตาม

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 394

ธรรมดาของตนได้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามว่า " พระพุทธเจ้าข้า กึ่งหนึ่งของพรหมจรรย์นี้คือความเป็นผู้มีมิตรงาม ๑ ความเป็นผู้มีสหายงาม ๑ ความเป็นผู้โน้มเข้าไปในมิตรที่งาม ๑" พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "อานนท์! เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้เลยๆ อานนท์ พรหมจรรย์ทั้งสิ้นนี้คือความเป็นผู้มีมิตรงาม ๑ ความเป็นผู้มีสหายงาม ๑ ความเป็นผู้โน้มไปในมิตรงาม ๑ อานนท์เหตุนั้น อันภิกษุผู้มีมิตรอันงาม มีสหายงาม โน้มไปในมิตรที่งาม พึงหวังได้เฉพาะเธอจักเจริญ ทําให้มากซึ่งมรรคมีองค์๘ ที่เป็นของพระอริยะอย่างไร อานนท์ ก็ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรฯลฯ เจริญ ทําให้มากซึ่งมรรคมีองค์๘ อันเป็นของพระอริยะ. อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาทิฏฐิฯลฯเจริญสัมมาสมาธิที่อาศัยวิเวก. อานนท์ อย่างนี้แล ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรฯลฯ ทําให้มากอานนท์เหตุนี้นั้นพึงทราบโดยทํานองนี้เหมือนอย่างพรหมจรรย์นี้ทั้งสิ้น คือความเป็นผู้มีมิตรที่งาม ๑ ความเป็นผู้มีสหายงาม ๑ ความเป็นผู้โน้มไปในมิตรทั้งงาม ๑ อานนท์ ก็สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีการเกิดเป็นธรรมดาอาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตร ย่อมพ้นจากชาติ.สัตว์ทั้งหลายผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ฯลฯ มีความโศก ความร่ําไรทุกข์ความโทมนัส และความคับแค้นใจเป็นธรรมดาย่อมพ้นจากความโศก ความร่ําไร ความทุกข์ความโทมนัส และความคับแค้นใจ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เมื่อจะตรัสความถึงพร้อมด้วยองค์ในภายนอก แก่ภิกษุทั้งหลาย จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เมื่อทําสิ่งในภายนอกว่าเป็นองค์แล้วเราไม่พิจารณาเห็นองค์อื่น แม้สักองค์เดียวที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่อย่างนี้ เหมือนความเป็นผู้มีมิตรงามนี้ ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มีมิตรงาม เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่."

แม้เมื่อจะตรัสข้อปฏิบัติเป็นเครื่องขัดเกลากิเลส แก่พระมหาจุนทะ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 395

จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลายควรทําความขัดเกลาว่า " คนเหล่าอื่นจักมีคนชั่วเป็นมิตร พวกเราจักมีมิตรที่งาม."

แม้เมื่อจะตรัสธรรมสําหรับบ่มวิมุตติแก่พระเมฆิยะเถระจึงตรัสธรรมเป็นเครื่องเข้าไปอาศัยกัลยาณมิตรให้วิเศษนั่นเทียวว่า "เมฆิยะธรรมทั้ง ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความสุกหง่อม แห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่สุกหง่อม ๕ อย่าง เป็นไฉน คือเมฆิยะ. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีกัลยาณมิตร.

แม้เมื่อจะประทานโอวาทเป็นเครื่องพิจารณาเนืองๆ แก่พระราหุลเถระปิยบุตร จึงตรัสธรรมเป็นเครื่องเข้าไปอาศัยกัลยาณมิตรนั่นแหละก่อนธรรมทั้งหมดว่า.

"เธอจงคบกัลยาณมิตร ที่นอนที่นั่งอันสงัด ที่อันเงียบปราศจากเสียงกึกก้อง เธอจงเป็นผู้รู้ประมาณในการกิน. เธออย่าได้ทําความอยากในปัจจัยเหล่านี้ คือจีวรบิณฑบาต ปัจจัยคือที่นอนและที่นั่งเธอจงอย่ามาสู่โลกอีก"

ขึ้นชื่อว่าธรรมเป็นเครื่องเข้าไปอาศัยกัลยาณมิตรนี้ เป็นธรรมมีคุณมากอย่างนี้.

เมื่อจะทรงแสดงธรรมแม้ในพระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภเทศนาว่า ภิกษุทั้งหลายพึงแสวงหาพระตถาคตเจ้าในสิ่งทั้ง ๒."อธิบายว่า ภิกษุผู้ฉลาด จงเสาะหาคือแสวงหาพระตถาคตเจ้าในสิ่งทั้งสองด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเปล่งสีหนาทว่า "กิจด้วยการคิดอย่างนี้ว่า" พระพุทธเจ้านี้มีชาติใหญ่ ถึงพร้อมด้วยลักษณะ รูปงามน่าชม มีชื่อเสียง ที่เขาถือว่าสําคัญอย่างยิ่ง หรือเราอาศัยผู้นี้แล้วจะได้ปัจจัยมีจีวรเป็นต้นแล้วอยู่อาศัยเราไม่มี" ส่วนผู้ใดมากําหนดอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้า

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 396

นี้พอจะเป็นศาสดาที่ทําหน้าที่ศาสดาให้สําเร็จแก่เราได้ บุคคลนั้นจงคบกับเราเถิด." ชื่อว่าการเปล่งอย่างสีหะของพระพุทธเจ้ากลายเป็นพระสูตร.

บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงสิ่งทั้งสองเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ที่พึงรู้แจ้งด้วยตาและหูในธรรมนั้น มารยาทที่เป็นไปทางกายของพระศาสดา ชื่อว่าธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยตาของผู้จะสอบสวน มารยาทที่เป็นไปทางวาจา ชื่อว่าธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยหู. บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงอาการที่จะพึงสอบสวนในธรรมเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "สิ่งเหล่าใดเศร้าหมองพร้อมแล้วเป็นต้น"

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เศร้าหมองพร้อมแล้ว "ได้แก่ประกอบด้วยกิเลส และสิ่งเหล่านั้น จะพึงรู้แจ้งด้วยตาและหูหามิได้." เหมือนเมื่อน้ำปันป่วน ฟองน้ำผุดขึ้น บุคคลย่อมรู้ว่า ภายในมีปลาฉันใด บุคคลเห็นและได้ยินกาย มารยาททางกายและทางวาจาของผู้ทําการฆ่าสัตว์หรือกล่าวเท็จเป็นต้น ก็ย่อมรู้ว่าจิตที่ให้อกุศลธรรมมีการฆ่าเป็นต้นตั้งขึ้นเศร้าหมองพร้อมแล้ว. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสอย่างนี้ว่า "สําหรับผู้ที่มีจิตเศร้าหมอง แม้มารยาททางกายและทางวาจาก็ชื่อว่าพลอยเศร้าหมองไปด้วย."

บทว่า "สิ่งเหล่านั้นไม่มีแก่พระตถาคตเจ้า" ความว่า "เขาย่อมรู้อย่างนี้ว่า "สิ่งเหล่านั้นของพระตถาคตเจ้าไม่มี คือหาไม่ได้." ก็เพราะความที่สิ่งเหล่านั้นไม่มีแน่เทียว คือเพราะไม่ได้ปกปิดไว้ จึงหาสิ่งเหล่านั้นไม่ได้.จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงปวารณาหมู่ภิกษุในสิ่งเหล่านี้ ในวันหนึ่งจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายเอาเถิด บัดนี้เราจะปวารณาต่อพวกเธอว่า "ก็พวกเธอย่อมไม่ติเตียนมารยาททางกายและทางวาจาของเราบ้างหรือ" เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ลุกขึ้นจากอาสนะ ทําผ้าจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประคองอัญชลีไปทางพระผู้มีพระ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 397

ภาคเจ้าประทับอยู่ ได้กราบทูลคํานี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า " ข้าแต่พระองค์เจริญ พวกข้าพระองค์จะไม่ติเตียนกรรมไรๆ ที่เป็นไปทางกายและทางวาจาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้มรรคที่ยังไม่เกิดขึ้นแล้วให้เกิดขึ้น ทรงให้รู้มรรคที่พวกใครๆ ไม่รู้แล้ว ทรงบอกมรรคที่ใครๆ บอกไม่ได้แล้ว ทรงเป็นผู้รู้หนทาง ทรงเป็นผู้รู้แจ้งซึ่งหนทาง ทรงเป็นผู้ฉลาดในหนทาง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็แลบัดนี้พวกสาวก เป็นผู้ดําเนินไปตามมรรคอยู่ ภายหลังมาตามพร้อมแล้ว.พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีมารยาททางกายและทางวาจาหมดจดอย่างนี้."

ได้ยินว่าแม้อุตตรมาณพ คิดว่า "เราจักเห็นโทษไรๆ ที่ไม่น่ายินดีในกายทวารและวจีทวารของพระตถาคตเจ้า." แล้วติดตามอยู่๗ เดือน ก็ไม่ได้เห็นแม้เท่ากับเล็นหรือว่าอุตตรมาณพนี้เป็นมนุษย์จักเห็นโทษอะไรที่ไม่น่ายินดี ในกายทวารและวจีทวารของพระตถาคตเจ้าผู้เป็นพระพุทธเจ้าถึงแม้เทวปุตตมาร ก็ติดตามตั้งแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระโพธิสัตว์เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์แสวงหาอยู่ตลอด ๖ ปี ก็ไม่ได้เห็นโทษไรๆ ที่ไม่น่ายินดีโดยที่สุดแม้เพียงความปริวิตกทางใจ. มารคิดแล้วว่า ถ้าว่าเราจักเห็นอกุศลแม้เพียงเหตุที่พระโพธิสัตว์นั้นตรึกแล้ว ในเพราะโทษนั้นนั่นแหละเราจักตีพระโพธิสัตว์นั้นที่ศีรษะแล้วหลีกไป." มารนั้นไม่ได้เห็นแล้วตลอด ๖ ปี ติดตามพระโพธิสัตว์ผู้เป็นพระพุทธเจ้าอีก ๑ ปี ก็ไม่ได้เห็นโทษไรๆ จึงไหว้แล้วในเวลาเป็นที่ไป จึงกล่าวคาถานี้ว่า

ข้าแต่พระโคดมผู้เป็นมหาวีระ มีปัญญามากผู้รุ่งเรืองด้วยพระฤทธิ์ด้วยยศ ผู้ทรงก้าวล่วงเวรภัยทั้งปวง ข้าพระองค์ขอถวายบังคมพระบาท" ดังนี้แล้วหลีกไป.

บทว่า "เจือกัน" ความว่า "ปนกันอย่างนี้คือ บางเวลาก็ดํา บางเวลาก็ขาว"

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 398

บทว่า "ขาว" ได้แก่ "บริสุทธิ์ไม่มีกิเลส"

บทว่า "มีอยู่" ความว่า "ธรรมที่ผ่องแผ้วมีอยู่ คือ หาได้อยู่." จริงอยู่พระตถาคตเจ้า ย่อมมีมารยาททางกายเป็นต้นบริสุทธิ์. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ๔ อย่างเหล่านี้ ที่ตถาคตไม่ต้องการระมัดระวัง ๔ อย่างอะไรบ้าง คือ ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตเจ้าเป็นผู้มีมารยาททางกายบริสุทธิ์. พระตถาคตเจ้าทรงไม่มีกายทุจริต ที่ตถาคตเจ้าต้องระมัดระวังว่า ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตทรงมีมารยาททางวาจาบริสุทธิ์มีมารยาททางใจบริสุทธิ์ มีอาชีวบริสุทธิ์ ตถาคตไม่มีมิจฉาชีพ ที่ตถาคตจะต้องระมัดระวังว่า ขอให้ผู้อื่นอย่าได้รู้มิจฉาชีพของเราเลย."

ข้อว่า "ธรรมที่เป็นกุศลนี้" ได้แก่ "ศีลมีอาชีวะเป็นที่๘." อธิบายว่า "ท่านผู้มีอายุนี้จงแสวงหาอย่างนี้ว่า " พระศาสดาทรงเข้าตลอดเวลานาน ทรงสมบูรณ์ด้วยศีลนี้ ตั้งแต่กาลที่นานยิ่ง หรือว่า "ทรงเข้าเวลาเล็กน้อยจึงทรงเข้าเมื่อวันวาน พรุ่งนี้หรือมะรืนนี้." เพราะว่าคนบางพวกอยู่ในที่หนึ่งได้ทํากรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีพที่ผิดอย่างมากกรรมนั้นย่อมปรากฏในการล่วงเวลานั้น ย่อมปรากฏแล้ว เธอเมื่อไปหมู่บ้านชายแดน หรือฝังมหาสมุทรแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วให้ทําบรรณศาลาอยู่ดุจชาวป่า. พวกมนุษย์เกิดความยกย่องแล้วถวายปัจจัยแก่เธอ. พวกภิกษุชาวบ้านนอกเห็นความเป็นอยู่ของเธอจึงกําหนดว่า ท่านผู้นี้รื่นเริงเหลือเกิน นี่ใครหนอ. ได้รู้แล้วว่า พวกภิกษุผู้ทํามิจฉาชีพชื่อโน้น ในที่โน้นหลีกไป แล้วนั่งปรึกษากันว่า "พวกเราไม่อาจจะทําอุโบสถหรือปวารณาร่วมกับภิกษุนี้ได้" จึงกระทํากรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในกรรมมีอุกเขปนียกรรมเป็นต้น โดยชอบธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้เพื่อทรงให้ภิกษุเหล่านั้นสอบสวนถึงข้อปฏิบัติที่ปกปิดเห็นปานนั้นว่ามีหรือไม่มี.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 399

ข้อว่า "ย่อมรู้อย่างนี้" ความว่า "รู้ว่าทรงเข้าตลอดเวลานาน มิใช่ทรงเข้าตลอดเวลาเล็กน้อย." ก็ข้อที่ศีลอันมีอาชีวะเป็นที่๘ ของพระตถาคตเจ้าผู้ทรงบรรลุพระสัพพัญุตญาณในบัดนี้พึงบริสุทธิ์ตลอดกาลนานนี้ไม่น่าอัศจรรย์แม้ในเวลาเป็นพระโพธิสัตว์ศีลของพระองค์ก็ได้เป็นอย่างนี้.

ทราบว่าในอดีตพระราชา ๒ พระองค์คือ พระราชาในแคว้นคันธาระและพระราชาในแคว้นวิเทหะ ทรงเป็นสหายกัน ทรงเห็นโทษในกามทั้งหลาย จึงมอบราชสมบัติแก่พระโอรส ทรงผนวชเป็นฤาษีแล้วเที่ยวบิณฑบาตในหมู่บ้านป่าหมู่หนึ่ง. ก็ชายแดนหาเกลือได้ยากฤาษีทั้งสองนั้นได้ข้าวต้มไม่ได้ใส่เกลือแล้วนั่งดื่มบนศาลาหลังหนึ่ง. พวกมนุษย์ในระหว่างๆ ได้ทําเกลือป่นมาถวาย. วันหนึ่ง คนหนึ่งใส่เกลือป่นบนใบไม้ให้แก่เวเทหะฤาษี. เวเทหะฤาษีรับแล้วแบ่งไว้ในสํานักของคันธาระฤาษีกึ่งหนึ่ง สํานักของตนกึ่งหนึ่ง. แต่นั้น ฤาษีนั้นเห็นเกลือที่เหลือจากบริโภคหน่อยหนึ่งจึงกล่าวว่า "เกลือนี้อย่าเสียเลย" แล้วเอาใบไม้ห่อไว้ในดงหญ้า ในเวลาดื่มข้าวต้มวันหนึ่ง เวเทหฤาษีระลึกได้เมื่อดูไปก็เห็นเกลือนั้นจึงเข้าไปหาคันธารฤาษี กล่าวว่า ท่านอาจารย์! ขอท่านจงถือเอาหน่อยหนึ่งจากส่วนนี้.

ค. "เวเทหฤาษี ท่านได้เกลือนี้มาจากไหน"

ว. "เกลือที่เหลือจากการบริโภคในวันนั้น กระผมเก็บไว้ด้วยคิดว่า อย่าเสียไปเลย."

คันธารฤาษีไม่ปรารถนาที่จะรับ ได้ดื่มข้าวต้มไม่มีเกลือนั้นแหละ แล้วกล่าวกับเวเทหฤาษีว่า

ท่านละหมู่บ้าน ๑๖,๐๐๐ ที่บริบูรณ์ ท้องพระคลังที่มั่งคั่งแล้วบัดนี้มาทําการสั่งสม (เกลือ) "

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 400

เวเทหฤาษีได้กล่าวว่า "ท่านละราชสมบัติบวชแล้ว บัดนี้เพราะเหตุอะไรจึงไม่ทํากรรมที่สมควรแก่การบวช. เพราะเหตุสั่งสมเพียงเกลือป่น?"

ค. "ผมได้ทําอะไรไว้ล่ะ ท่านเวเทหฤาษี"

ลําดับนั้น เวเทหฤาษี จึงกล่าวกับคันธารฤาษีว่า

"ท่านละแคว้นคันธาระในกรุงที่มีทรัพย์มาก ออกมาแล้วจากการปกครอง แล้วบัดนี้มาปกครองในที่นี้อีก."

ค. ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะกล่าวธรรม สิ่งที่ไม่ใช่ธรรม ข้าพเจ้าไม่ชอบใจ เมื่อข้าพเจ้ากล่าวธรรมอยู่ บาปย่อมไม่เข้าไปพัวพัน."

ว. บุคคลอื่น ย่อมได้ความย่อยยับ เพราะการสรรเสริญ อย่างใดอย่างหนึ่ง หากบัณฑิตไม่พึงกล่าวคํานั้น ที่มีประโยชน์ใหญ่".

ค. "ความใคร่จงย่อยยับไป หรืออย่าย่อยยับไป จงเรี่ยรายไปเหมือนโปรยแกลบ เมื่อเรากล่าวธรรมอยู่ บาปย่อมไม่เข้าไปติดพัน."

ลําดับนั้น เวเทหฤาษี คิดว่า "ผู้ใดไม่มีความรู้แม้ของตน ไม่ศึกษาระเบียบแบบแผนในสํานักอาจารย์เขาย่อมเที่ยวไป เหมือนกระบือบอดเที่ยวไปในป่า. แล้วกล่าวว่า

"ถ้าความรู้สําหรับตนไม่พึงมีไซร้ หรือไม่ได้ศึกษาวินัยไว้ให้ดีคนเป็นอันมากจะพึงเที่ยวไป ดุจกระบือบอดเที่ยวไปในป่า. ก็เพราะบุคคลบางพวกศึกษาดีแล้วในสํานักอาจารย์ฉะนั้น เป็นผู้มีวินัยที่บุคคลแนะนําได้แล้ว มีสติตั้งมั่นเที่ยวไปอยู่."

ก็แลครั้นกล่าวแล้วอย่างนี้ เวเทหฤาษีจึงกล่าวว่า

"เหตุนี้เราไม่รู้กระทําแล้ว. "แล้วให้คันธารฤาษีอดโทษแล้ว. ฤาษีแม้ทั้ง ๒ ประพฤติตบะแล้วไปสู่พรหมโลก. ถึงในกาลที่พระตถาคตเจ้าเป็น

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 401

พระโพธิสัตว์อาชีวัฏฐมกศีลก็ได้บริสุทธิ์ตลอดกาลนานอย่างนี้.

บทว่า "ภิกษุผู้มีอายุนี้ปรากฏชื่อเสียง มียศ" ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงว่า "ภิกษุผู้มีอายุนี้เป็นครูของเราถึงความเป็นผู้อันเขารู้แล้วคือมีชื่อเสียงได้แก่ปรากฏแล้วและตนเองบรรลุบริวารสมบัติหรือไม่หนอ เพราะเหตุนั้น เธอจงสอบสวนอย่างนี้ว่า "โทษบางเหล่าจักปรากฏ โดยความที่ตนปรากฏชื่อเสียงและโดยความที่ตนอาศัยยศ หรือไม่ปรากฏ"

บทว่า "ภิกษุทั้งหลายเพียงนั้นหามิได้" ความว่า ตลอดเวลาที่ภิกษุเป็นผู้ถึงความเป็นผู้มีชื่อเสียง ในพระราชาและอํามาตย์ของพระราชาเป็นต้น หรือซึ่งบริวารสมบัติ โทษบางอย่างมีมานะและมานะจัดเป็นต้นย่อมไม่มีเธอเป็นดุจว่าผู้เข้าไปสงบระงับแล้วดุจพระโสดาบัน และดุจพระสกทาคามีอยู่ เธอย่อมเป็นผู้อันใครๆ ไม่อาจเพื่อจะชี้ชัดว่า เธอเป็นพระอริยะหรือเป็นปุถุชนหนอแล"

บทว่า "ภิกษุทั้งหลายก็เมื่อใดแล" ความว่าก็เมื่อใดแลภิกษุบางพวกในศาสนานี้ เป็นผู้ปรากฏชื่อเสียงแล้ว หรือเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยบริวารเมื่อนั้น เธอเมื่อจะเบียดเบียนภิกษุเหล่าอื่น ในที่นั้นๆ ดุจโคตัวดุไล่เอาเขาที่แหลมขวิดฝูงโค และดุจเสือเหลืองย่ํายีฝูงเนื้อเป็นผู้ไม่มีความเคารพ มีความประพฤติไม่สมประกอบเที่ยวไป ดุจเอาปลายเท้าแตะแผ่นดิน"

ก็กุลบุตรบางพวก เป็นผู้ปรากฏชื่อเสียงมียศ โดยประการใดๆ โน้มลงด้วยดีดุจข้าวสาลีที่เต็มด้วยผลพวง โดยประการนั้นๆ เมื่อพระราชาและมหาอํามาตย์ของพระราชาเป็นต้นเข้าไปหาอยู่ เธอยอมพิจารณาเห็นความไม่มีกิเลสชาติเครื่องกังวล เข้าไปตั้งความสําคัญ ในความเป็นสมณะไว้ เป็นผู้สงบเสงี่ยม. ไม่เบ่ง มีจิตต่ํา ดุจโคอุสภมีเขาขาด และดุจเด็ก

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 402

จัณฑาล ปฏิบัติแล้วเพื่อประโยชน์และความสุขแก่ภิกษุสงฆ์และแก่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก พระผู้มีพระภาคเจ้า. ทรงหมายเอาการปฏิบัติเห็นปานนี้ จึงตรัสว่า "โทษบางอย่างในโลกนี้ไม่มีแก่เธอ."

ก็พระตถาคตเจ้า ทรงเป็นผู้คงที่ในโลกธรรม ๘ เพราะพระองค์เป็นผู้คงที่ในลาภบ้าง ในความไม่มีลาภบ้าง ในยศบ้าง ในความไม่มียศบ้างในนินทาบ้าง ในสรรเสริญบ้าง ในสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ฉะนั้น โทษทั้งหลายบางอย่างในโลกนี้จึงไม่มีแก่พระองค์โดยประการทั้งปวงทีเดียว.

บทว่า "เป็นผู้ไม่มีภัยเข้าไปยินดีแล้ว" ความว่า เป็นผู้มีภัยหามิได้เข้าไปยินดีแล้วอธิบายว่า "เป็นผู้เข้าไปยินดีแล้วโดยส่วนเดียวคือเป็นผู้เข้าไปยินดีโดยติดต่อ."

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีภัยเข้าไปยินดีแล้วเพราะความเป็นผู้เข้าไปยินดีโดยความเป็นภัยหามิได้ดังนี้บ้าง. ก็ภัยมี๔ อย่างคือ ภัยเกิดจากกิเลส ๑ ภัยเกิดจากวัฏฏะ ๑ ภัยเกิดจากทุคติ๑ ภัยเกิดจากการติเตียน๑ แม้ปุถุชนย่อมกลัวภัย ๔ ประการ, เสขบุคคลทั้งหลายย่อมกลัวภัย ๓ประการเพราะว่า พระเสขบุคคลเหล่านั้น ละภัยที่เกิดจากทุคติได้พระเสขบุคคล ๗ จําพวกเป็นผู้ยังไม่ปลอดภัยดังนี้แล. พระขีณาสพชื่อว่าเป็นผู้ปลอดภัย ก็ภัยอย่างหนึ่งของท่าน ย่อมไม่มี ภัยที่เกิดจากการติเตียนของผู้อื่นก็ไม่มีแล. ก็เธอย่อมอาศัยความเอ็นดูผู้อื่น แล้วรักษาความเข้าไปติเตียนผู้อื่นว่า "สัตว์ทั้งหลายอาศัยพระขีณาสพเช่นกับเรา จงอย่าพินาศเลย ดุจพระเถระผู้อยู่ในมุลุปปลวาปีวิหาร."

ได้ยินว่า พระเถระเข้าไปหมู่บ้านมุลุปปลวาปี เพื่อบิณฑบาต.ลําดับนั้น คนทั้งหลายรับบาตรของท่านผู้ถึงประตูบ้านตระกูลอุปัฏฐากแล้วปูอาสนะอิงเก้าอี้นอน ฝ่ายธิดาของอํามาตย์อาศัยเก้าอี้นั้นนั่นแลให้ปู่

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 403

อาสนะต่ําในส่วนข้างหนึ่งนั่งแล้ว ภิกษุเจ้าถิ่นรูปหนึ่ง เข้าไปบิณฑบาตภายหลังยืนแลดูที่ประตูบ้านนั่นเทียวกําหนดแล้วว่า "พระเถระนั่งบนเตียงเดียวกับธิดาอํามาตย์" จึงคิดว่า " ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลนี้อยู่ในวิหารเหมือนสงบเสงี่ยม แต่นั่งบนเตียงเดียวกันกับธิดาอํามาตย์ผู้อุปัฏฐากภายในบ้าน"แล้วตรวจดูซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า " อะไรหนอเราเห็นระยําเสียแล้ว"" เป็นผู้สําคัญอย่างนั้นแล้วหลีกไป ฝ่ายพระเถระฉันเสร็จแล้วไปวัดเข้าที่อยู่ของตนปิดประตูนั่งแล้ว. ฝ่ายภิกษุเจ้าถิ่น ฉันเสร็จแล้วก็ไปวัดคิดว่า ""เราจักข่มขู่เธอแล้วขับภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลออกจากวัด" แล้วไปที่อยู่ของพระเถระโดยทํานองการเที่ยวไปอย่างผู้ไม่สํารวมแล้ว เอากระบวยตักน้ำจากหม้อน้ำสําหรับฉัน. ทําเสียงดังแล้วล้างเท้า. พระเถระรําพึงอยู่ว่า ""ผู้นี้ใครหนอแลเป็นผู้เที่ยวไปไม่สํารวมแล้ว" รู้เรื่องทั้งหมดแล้วคิดว่า ""ผู้นี้อย่าได้เป็นผู้ให้ใจประทุษร้ายในเราแล้วเข้าถึงอบายเลย." แล้วเหาะขึ้นนั่งขัดสมาธิใกล้มณฑลช่อฟ้า. ภิกษุเจ้าถิ่นจึงยกหม้อโดยอาการที่จะประทุษร้ายได้เปิดประตูเข้าไปข้างในไม่พบพระเถระ คิดว่า ""พระเถระจักเข้าไปใต้เตียง" จึงตรวจดูไม่พบพระเถระแม้ในที่นั้นอีกเริ่มจะออกไป. พระเถระจึงกระแอมขึ้น ภิกษุเจ้าถิ่นนอกนี้แลขึ้นไปข้างบนเห็นแล้วไม่อาจจะอดทนได้จึงกล่าวอย่างนี้ว่า "ท่านผู้ทรงผ้าบังสุกุลผู้มีอายุ การนั่งบนเตียงเดียวกันกับธิดาอํามาตย์ผู้อุปัฏฐาก สมควรแก่ท่าน ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยอานุภาพอย่างนี้หรือ ท่านผู้เจริญ ขึ้นชื่อว่า บรรพชิตทั้งหลาย นั่งบนเตียงเดียวกันกับมาตุคามไม่ได้ก็เหตุนี้ท่านเห็นว่าไม่ดีหรือ" พระขีณาสพทั้งหลายย่อมรักการเข้าไปติเตียนผู้อื่นอย่างนี้."

บทว่า "เพราะสิ้นราคะ" ความว่า "เพราะความสิ้นไปแห่งราคะนั่นเอง ย่อมไม่เสพกามทั้งหลายเพราะปราศจากราคะอธิบายว่า "ห้ามแล้วเสพด้วยการพิจารณาหามิได้"

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 404

บทว่า "หากว่า...ซึ่งภิกษุนั้น" ความว่า "คนเหล่าอื่นพึงถามอย่างนี้กะภิกษุผู้จะสอบสวนนั้น ผู้รู้การละกิเลสของพระตถาคตเจ้าอย่างนี้แล้วนั่งบนธรรมาสน์ที่ตกแต่งแล้วท่ามกลางบริษัท ๔ แม้ในเวลายืนและนั่งเป็นต้นนั้นๆ กล่าวสรรเสริญการละกิเลสของพระตถาคตเจ้าอย่างนี้ว่า "แม้เพราะอย่างนี้พระศาสดา ทรงเป็นผู้ปราศจากราคะ. โทสะโมหะคายกิเลศละมลทินได้ทรงบริสุทธิ์อย่างดีเหมือนพระจันทร์เพ็ญพ้นจากหมอกฉะนั้น."

บทว่า "อาการ" ได้แก่ "เหตุ."

บทว่า "ไปตาม" ได้แก่ "รู้ตาม."

บทว่า "หรือว่าอยู่ในสงฆ์" ความว่า "บางคราวอยู่ท่ามกลางภิกษุที่กําหนดนับไม่ได้."

บทว่า "หรือว่า ผู้เดียวเสด็จประทับอยู่" ความว่า "ผู้เดียว ประทับอยู่ในที่หลีกเร้น และในชัฏป่าปาริเลยยกะอย่างนี้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย!เราปรารถนาเพื่อจะหลีกเร้นกึ่งเดือน (บ้าง) ๓ เดือน (บ้าง)."

บทว่า "ผู้ไปดีแล้ว" ความว่า "ผู้ไปดีแล้วคือเป็นผู้ปฏิบัติดีได้แก่เป็นผู้ที่ประกอบสมควรแก่เหตุ." ก็ภิกษุบางพวกแม้ เห็นปานนี้ก็มีอยู่."

บทว่า "ไปไม่ดีแล้ว" ความว่า "ชื่อว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องเพราะเกี่ยวหนักมากละกรรมฐาน ภิกษุบางรูป แม้เห็นปานนี้ก็มีอยู่."

บทว่า "ตามสอนคณะ" ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องเพราะเกี่ยวข้องด้วยคณะเป็นผู้ยินดีในคณะ มากในคณะ บริหารคณะอยู่." ภิกษุบางรูป แม้เห็นปานนี้ก็มีอยู่. ภิกษุเหล่านั้น เป็นปฏิปักษ์ต่อภิกษุพวกนั้น เป็นผู้แล่นออก สลัดออกจากคณะไม่ประกอบอยู่ก็มี.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 405

บทว่า "ย่อมปรากฏในอามิส" ความว่า "พวกภิกษุผู้มุ่งในอามิสทั้งหลายเป็นผู้โลภในอามิส มีจักษุเพ่งแต่อามิส เที่ยวไปเพื่ออามิส คือปัจจัย๔ เท่านั้นก็มีอยู่ภิกษุทั้งหลายถูกอามิสฉาบทาแล้ว มีใจผ่องใสจากปัจจัย๔ เป็นเช่นกับดวงจันทร์ที่พ้นจากหมอกอยู่ก็มีอยู่.

บทว่า "ท่านผู้นี้ย่อมดูหมิ่นผู้นั้น ด้วยอามิสหามิได้" ความว่า" ความยกขึ้นด้วยอํานาจอาศัยเรือนย่อมไม่มีแก่เธออย่างนี้ว่า "ท่านผู้มีอายุนี้เป็นครูย่อมไม่ดูหมิ่นบุคคลนั้นๆ ด้วยข้อปฏิบัตินั้นๆ ผู้นี้เป็นผู้ปฏิบัติดีเป็นนักปฏิบัติ นี้ชื่อว่าเป็นผู้แล่นออก สลัดออกจากคณะผู้นี้เป็นผู้ที่อามิสไม่ฉาบทาแล้วเป็นผู้มีจิตใจผ่องใสจากจากปัจจัยทั้งหลายเหมือนดวงจันทร์ที่พ้นจากหมอกฉะนั้น ดังนี้บ้าง." ความข่มขู่ด้วยอํานาจอาศัยเรือนย่อมไม่มีแก่เธออย่างนี้ว่า "ผู้นี้เป็นผู้ปฏิบัติไม่ดีไม่ใช่นักปฏิบัติ เป็นผู้มีกายหนักแน่น สละกรรมฐาน ผู้นี้เป็นผู้เกี่ยวเนื่องด้วยหมู่โลภในอามิส โลเล มีจักษุจ้องแต่อามิส ดังนี้บ้าง." ถามว่า "คําอะไรเป็นอันภิกษุนี้กล่าวไว้" ตอบว่า "ท่านย่อมเป็นผู้กล่าว ความเป็นผู้คงที่ในสัตว์ทั้งหลายของพระตถาคตเจ้า."

ก็พระผู้เป็นมุนีนี้ มีพระทัยเสมอต่อเหล่าสัตว์ทั้งปวง คือต่อพระเทวทัต นายขมังธนู โจรองคุลิมาล ในช้างธนบาล และในพระราหุล.

บทว่า ภิกษุทั้งหลาย ในภิกษุผู้จะสอบสวนเหล่านั้น" ความว่า"ก็ในบรรดาภิกษุผู้จะสอบสวนทั้งสองนั้น ภิกษุนี้ใดได้มาถึงแล้วในเพราะการถามว่า "ก็อะไรเป็นอาการของท่าน นี้ชื่อว่าผู้สอบสวนข้อขอด."อนึ่ง ผู้ใดมาแล้วด้วยคิดว่าท่านผู้นี้เป็นผู้ไม่มีภัยเข้าไปยินดีแล้ว ชื่อว่าผู้สอบสวนข้อมูล. ในบุคคลทั้ง ๓ ผู้สอบสวนเหล่านั้น ผู้สอบสวนข้อมูลจะพึงกลับถามพระตถาคตเจ้าให้หนักขึ้นไปอีกเทียว. อธิบายว่า "ข้อแรกแม้เธอก็จะ

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 406

ถึงความตกลงใจด้วยถ้อยคําของผู้อื่น ก็ขึ้นชื่อว่า ผู้อื่นเมื่อรู้บ้าง ไม่รู้บ้างก็จะพึงกล่าว, ถ้อยคําของเธอเป็นถ้อยคําจริงบ้างไม่จริงบ้างอย่างนี้เพราะฉะนั้น เธอไม่ถึงความตกลงใจในถ้อยคําของผู้อื่นนั่นเองจะพึงถามพระตถาคตเจ้าใหญ่ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีกเทียว.

ในคําว่า "เมื่อพยากรณ์ นี้เพราะขึ้นชื่อว่า พระตถาคตเจ้าไม่มีพยากรณ์ผิดฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า ถูก ผิด (แต่) ตรัสว่า "ทรงพยากรณ์อยู่."

บทว่า "เราเป็นผู้มีอาชีวัฎฐมกศีลนั้นเป็นหนทาง มีอาชีวัฎฐมกศีลนั้นเป็นโคจร" ความว่า "เราเป็นผู้มีอาชีวัฎฐมกศีลบริสุทธิ์ว่า "นี่เป็นทางของเรา นี่เป็นโคจรของเรา บาลีว่า "เอตาปาโถ ดังนี้บ้าง."

บทว่า "เอตาปาโถ" นั้นมีอธิบายว่า "เราเป็นผู้มีอาชีวัฎฐมกศีลบริสุทธิ์ เรานั้นชื่อว่าเป็นผู้อาชีวัฎฐมกศีลเป็นทาง ด้วยมุขคือญาณของภิกษุผู้ชื่อว่าสอบสวนนั้น เพราะความเป็นผู้บริสุทธิ์ มีคําอธิบายว่า ""เรามาปรากฏตัวอย่างนี้"

ด้วยบทว่า "เราเป็นผู้สําเร็จแล้วด้วยอาชีวัฎฐมกศีลนั้น ด้วยศีลนั้นหามิได้" พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ว่า "ก็เราเป็นผู้สําเร็จแล้วด้วยอาชีวัฎฐมกศีลนั้น ด้วยศีลที่บริสุทธิ์แม้นั้นหามิได้เป็นผู้มีตัณหาหามิได้ชื่อว่าเป็นผู้หมดตัณหา เพราะความเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์นั่นเอง."

บทว่า "ยิ่งๆ ขึ้นไป และประณีตยิ่งขึ้น" ความว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงให้ยิ่งขึ้นไป และให้ประณีตยิ่งขึ้นไป."

บทว่า "ที่มีส่วนเทียบทั้งฝ่ายดําและขาว" ความว่า "ทั้งดําและขาว."พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทําให้ทั้งฝ่ายดําและขาวนั้นมีส่วนเทียบกัน ให้มีวิบากเท่ากันแล้วทรงห้ามส่วนที่ดํา ทรงแสดงทั้งฝ่ายดําและขาวให้มีส่วน

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 407

เปรียบเทียบอย่างนี้ว่า ขาวและทรงห้ามส่วนที่ขาวแล้วแสดงทั้งส่วนดําและขาวให้มีส่วนเปรียบเทียบอย่างนี้ว่าดําดังนี้."

ก็แม้เมื่อทรงแสดงส่วนที่ดํา ก็ทรงแสดงพร้อมทั้งอุตสาหะและวิบาก. เมื่อทรงแสดงส่วนที่ขาว ก็ย่อมทรงแสดงพร้อมทั้งความอุตสาหะและวิบาก.

บทว่า "ถึงความตกลงใจในธรรมทั้งหลาย ด้วยความรู้ยิ่งซึ่งธรรมบางอย่างในศาสนานี้" ความว่า ถึงความตกลงใจในพระธรรมเทศนา ด้วยธรรมคือการแทงตลอดที่รู้ยิ่งแล้วนั้น ด้วยความรู้ยิ่งซึ่งธรรมบางอย่างในธรรมที่ทรงแสดงแล้วนั้น"

บทว่า"เลื่อมใสในพระศาสดา" ความว่า "ถึงความตกลงใจในธรรมอย่างนี้ แล้วเลื่อมใสในพระศาสดาโดยประมาณ โดยยิ่งว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้เองโดยชอบ" ย่อมเลื่อมใสในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์ก็อย่างนี้ว่า "ก็พระธรรมใดอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว พระธรรมแม้นั้น ชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เพราะเป็นเครื่องนําออก.พระสงฆ์ใดปฏิบัติธรรมนั้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พระสงฆ์แม้นั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว เพราะปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เว้นจากโทษมีการคดเป็นต้น."

บทว่า "ถ้าว่า.....ซึ่งภิกษุนั้น" ความว่า "ซึ่งภิกษุนั้น ผู้เลื่อมใสแล้วอย่างนี้กล่าวสรรเสริญคุณพระรัตนตรัยในที่นั้นๆ "

บทว่า "อาการเหล่านี้" ความว่า "ด้วยเหตุเป็นเครื่องสอบสวนพระศาสดาเหล่านี้"

บทว่า "ด้วยบทเหล่านี้" ได้แก่ "บทเป็นเครื่องรวบรวมอักขระเหล่านี้"

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 408

บทว่า "มีความเชื่อตั้งมั่น" ได้แก่ "ความแนบแน่นตั้งมั่นแล้ว."

บทว่า "มีความเกิดเป็นมูล" ได้แก่ "มีมูลเกิดพร้อมแล้วด้วยอํานาจโสดาปัตติมรรค." ก็โสดาปัตติมรรค ชื่อว่า เป็นมูลแห่งศรัทธา.

บทว่า "มีอาการ" ได้แก่ "ชื่อว่ามีเหตุเพราะท่านแสวงหาเหตุแล้วจึงถือเอา"

บทว่า "มีความเห็นเป็นมูล" ได้แก่ เป็นมูลแห่งโสดาปัตติมรรค.ก็โสดาปัตติมรรค ท่านเรียกว่า "ความเห็น"

บทว่า "มั่น" ได้แก่ ยั่งยืน."

บทว่า "อันใครนําไปไม่ได้" ได้แก่ "อันใครๆ ไม่อาจนําไปได้."

บทว่า "หรือสมณะ" ได้แก่ หรือว่าสมณะผู้มีบาปอันสงบแล้ว.

บทว่า "หรือว่าพราหมณ์" ได้แก่ "หรือว่าพราหมณ์ผู้ลอยบาปแล้ว."

บทว่า "หรือว่า เทพ" ได้แก่ "อุปบัติเทพ."

บทว่า "หรือว่า มาร" ได้แก่ "หรือว่าวสวัตตีมาร. ก็ความเชื่อของพระโสดาบันนั้นเป็นสภาพที่เทวดา แม้วสวัตตีมารก็ลักไปไม่ได้ ดุจความเชื่อของนายสูรผู้อยู่ป่ามะม่วง.

ทราบว่า นายสูระนั้น ฟังธรรมของพระศาสดาแล้วได้เป็นพระโสดาบันแล้วไปเรือน. ลําดับนั้นจึงเนรมิตเป็นรูปเปรียบด้วยพระพุทธเจ้าที่ประดับด้วยพระลักษณะอย่างเลิศ ๓๒ ประการแล้วยืนที่ประตูเรือนของสูรอุบาสก ส่งข่าวไปว่า "พระศาสดาเสด็จมาแล้ว." สูรอุบาสกคิดแล้วว่า "เราฟังธรรมจากสํานักของพระศาสดาแล้วเดี๋ยวนี้เองจักมีเหตุอะไรหนอแล" จึงเข้าไปเฝ้าแล้วได้ยืนถวายบังคมด้วยสําคัญว่าเป็นพระศาสดา.มารกล่าวแล้วว่า "สูรัมพัฏฐ คําใดที่เรากล่าวแล้วกับท่านว่า "รูปไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง เพราะคํานั้น เรากล่าวแล้วไม่ถูก เราไม่

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 10 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 409

ใคร่ครวญกล่าวแล้วอย่างนี้ ฉะนั้น ท่านจงถือเอาว่ารูปเที่ยงฯลฯวิญญาณเที่ยง."

สูรอุบาสกจึงคิดว่า "ข้อที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงใคร่ครวญแล้ว พึงตรัสคําไรๆ ไม่ให้แจ่มแจ้งแล้วนั้นเป็นไปไม่ได้. ผู้นี้จักเป็นมารมาเพื่อให้เราเข้าใจผิดแน่แท้. ลําดับนั้น จึงกล่าวกะมารนั้นว่า "ท่านเป็นมารหรือ"มารนั้นไม่อาจจะกล่าวเท็จได้จึงรับว่า "เออ...เราเป็นมาร." ถูกสูรอุบาสกกล่าวว่า "มาเพราะเหตุไร จึงกล่าวว่า "เพื่อให้ศรัทธาของท่านคลอนแคลน."

สูรอุบาสกจึงดีดนิ้วให้รู้ว่า เจ้ามารดําผู้มีบาป เจ้าผู้เดียวจงหยุดก่อน มารเช่นเจ้าตั้งร้อย ตั้งพัน ก็ไม่อาจให้ศรัทธาของเราหวั่นไหวได้ขึ้นว่าศรัทธาที่มาแล้วโดยมรรคย่อมไม่หวั่นไหว ดุจภูเขาสิเนรุที่ตั้งอยู่บนแผ่นดินที่เป็นศิลา เจ้าจะอยู่ในที่นี้ทําไม" มารนั้นไม่อาจดํารงอยู่ในที่นั้น ได้อันตรธานไปในที่นั้นนั่นเทียว.

บทว่า "หรือว่า พรหม" ความว่า "หรือว่าบรรดาพรหมมีพรหมกายิกะเป็นต้น พรหมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง"

บทว่า "หรือว่าใครๆ ในโลก" ความว่า "เว้นสมณะเป็นต้นเหล่านี้หรือว่า ใครๆ แม้อื่นในโลกก็ไม่สามารถนําไปได้.การสอบสวนภาวะของตน ชื่อว่าการสอบสวนธรรม.

บทว่า "ตั้งมั่นในการสอบสวนอย่างดี ตามธรรมดา" ได้แก่ ดํารงอยู่ในการสอบสวนอย่างดีโดยธรรมดา." อธิบายว่า "เป็นผู้ถูกสอบสวนแล้วอย่างดีตามภาวะของตนทีเดียว. คําทีเหลือในทุกบทตื้นทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาวีมังสกสูตร ที่ ๗