พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. อัฏฐกนาครสูตร ว่าด้วยทสมคฤหบดี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36057
อ่าน  518

[เล่มที่ 20] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 28

๒. อัฏฐกนาครสูตร

ว่าด้วยทสมคฤหบดี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 20]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 28

๒. อัฏฐกนาครสูตร

ว่าด้วยทสมคฤหบดี

[๑๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ เวฬุวคาม เขตนครเวสาลี ก็สมัยนั้นคฤหบดีชื่อว่า ทสมะ เป็นชาวเมืองอัฏฐกะ ไปยังเมืองปาตลีบุตร ด้วยกรณียกิจอย่างหนึ่ง ครั้งนั้น ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ เข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งที่กุกกุฏาราม ไหว้ภิกษุนั้นแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้ถามภิกษุนั้น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 29

ว่า ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ท่านพระอานนท์อยู่ที่ไหน ด้วยว่าข้าพเจ้าใคร่จะพบท่านพระอานนท์. ภิกษุนั้นตอบว่า ดูก่อนคฤหบดี ท่านพระอานนท์อยู่ ณ บ้านเวฬุวคาม เขตนครเวสาลี ครั้งนั้นแล ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ ทํากรณียกิจนั้นให้สําเร็จที่เมืองปาตลีบุตรแล้ว ไปยังนครเวสาลี ถึงบ้านเวฬุวคาม เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระอานนท์แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๑๙] ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ธรรมอันหนึ่ง ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป และย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบพระองค์นั้น ตรัสไว้มีอยู่แลหรือ.

ท่านพระอานนท์ตอบว่า มีอยู่ คฤหบดี...

ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ก็ธรรมอันหนึ่ง เป็นไฉน...

รูปฌาน ๔

[๒๐] ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่.

เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้ปฐมฌานนี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยงมีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้ง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 30

หลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะจะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.

ดูก่อนคฤหบดี ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้นตรัสไว้.

ดูก่อนคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มิปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่.

เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้ทุติยฌานนี้อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะจะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.

ดูก่อนคฤหบดี ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล ที่เมื่อภิกษุไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้นตรัสไว้.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 31

ดูก่อนคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข.

เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้ตติยฌานนี้อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะจะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.

ดูก่อนคฤหบดี ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้นตรัสไว้.

ดูก่อนคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.

เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้จตุตถฌานนี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะจะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 32

ดูก่อนคฤหบดี ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้นตรัสไว้.

อัปปมัญญา ๔

[๒๑] ดูก่อนคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน เธอมีใจประกอบไปด้วยเมตตา อันไพบูลย์ เป็นมหัคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าโดยความมีตนทั่วไป ในที่ทุกสถานอยู่ด้วยประการฉะนี้.

เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้เมตตาเจโตวิมุตตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในเมตตาเจโตวิมุตตินั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.

ดูก่อนคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็น

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 33

เครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้นตรัสไว้.

ดูก่อนคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน เธอมีใจประกอบด้วยกรุณาอันไพบูลย์ เป็นมหัคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าโดยความมีตนทั่วไป ในที่ทุกสถานอยู่ ด้วยประการฉะนี้.

เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่าแม้กรุณาเจโตวิมุตตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความกําหนัดเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.

ดูก่อนคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้นตรัสไว้.

ดูก่อนคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่ง ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน เธอมีใจประกอบด้วยมุทิตา อันไพบูลย์ เป็นมหัคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไป

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 34

ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าโดยความมีตนทั่วไป ในที่ทุกสถานอยู่ ด้วยประการฉะนี้.

เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้มุทิตาเจโตวิมุตตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.

ดูก่อนคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้นตรัสไว้.

ดูก่อนคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน เธอมีใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหัคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าโดยความมีตนทั่วไป ในที่ทุกสถานอยู่ ด้วยประการฉะนี้.

เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่าแม้อุเบกขาเจโตวิมุตตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดาดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 35

เพราะความยินดีเพลินเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้นมีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.

ดูก่อนคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้นตรัสไว้.

อรูปฌาน ๔

[๒๒] ดูก่อนคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าถึงอากาสานัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวงอยู่.

เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้อากาสานัญจายตนสมาบัตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลินเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.

ดูก่อนคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียรมีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 36

ยังไม่สิ้นย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้นตรัสไว้.

ดูก่อนคหฤบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าถึงวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงอยู่.

เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่าแม้วิญญาณัญจายตนสมาบัตินี้อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.

ดูก่อนคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้นตรัสไว้.

ดูก่อนคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า อะไรๆ ก็ไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง.

เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้อากิญจัญญายตนสมาบัตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 37

สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.

ดูก่อนคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้นตรัสไว้.

อุปมา ๒ อย่าง

[๒๓] เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ทสมคฤหบดี ชาวเมืองอัฏฐกะ ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ บุรุษกําลังแสวงหาขุมทรัพย์ขุมหนึ่ง ได้พบขุมทรัพย์ถึง ๑๑ ขุมในคราวเดียวกัน ฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันนั้น กําลังแสวงหาประตูอมตะประตูหนึ่ง ได้พบประตูอมตะถึง ๑๑ ประตูในคราวเดียวกัน โดยการฟังเท่านั้น.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เรือนของบุรุษมีประตู ๑๑ ประตู เมื่อเรือนนั้นถูกไฟไหม้ บุรุษเจ้าของเรือนอาจทําตนให้สวัสดี โดยประตูแม้ประตูหนึ่งๆ ได้ฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันนั้น จักอาจทําตนให้สวัสดีได้โดยประตูอมตะ แม้ประตูหนึ่งๆ แห่งประตูอมตะ ๑๑ ประตูนี้.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อันชื่อว่าอัญญเดียรถีย์เหล่านี้ จักแสวงหาทรัพย์สําหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์ ก็ไฉน ข้าพเจ้าจักไม่ทําการบูชาท่านพระ-

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 38

อานนท์เล่า ลําดับนั้น ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ ให้ประชุมภิกษุสงฆ์ผู้อยู่ในเมืองปาตลีบุตร และเมืองเวสาลี พร้อมกันแล้ว ให้อิ่มหนําเพียงพอด้วยขาทนียะ โภชนียะ อันประณีต ด้วยมือของตน ให้ภิกษุครองคู่ผ้ารูปละคู่ๆ และได้ให้ท่านพระอานนท์ครองไตรจีวร แล้วให้สร้างวิหารราคา ๕๐๐ ถวายท่านพระอานนท์ ดังนี้แล.

จบอัฏฐกนาครสูตรที่ ๒

๒. อรรถกถาอัฏฐกนาครสูตร

อัฏฐกนาครสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวฬุวคามเก ความว่ายังมีหมู่บ้านชื่อเวฬุวคาม ไม่ไกล อยู่ทางทิศใต้แห่งเมืองเวสาลี ท่านพระอานนท์กระทําเวฬุวคามนั้นให้เป็นโคจรคาม.

บทว่า ทสโม ความว่า คฤหบดีแม้นั้น นับเข้าในฐานะที่ ๑๐ โดยชาติและตระกูล และโดยการนับตระกูลที่ถึงความเป็นตระกูลมหาศาล ด้วยเหตุนั้น คฤหบดีนั้น จึงชื่อว่า ทสมะ.

บทว่า อฏฺกนาคโร แปลว่า ชาวอัฏฐกนคร.

บทว่า กุกฺกุฏาราโม แปลว่า อารามที่กุกกุฏเศรษฐีสร้าง.

ในบาลีนี้ว่า เตน ภควตาฯ เปฯ อกฺขาโต มีความสังเขปดังนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นใด ทรงบําเพ็ญบารมี ๓๐ ถ้วน ทรงหักกิเลสทั้งปวง ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้อัธยาศัยและอนุสัยของเหล่าสัตว์นั้นๆ ทรงเห็นไญยธรรมทั้งปวงนั้น

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 39

ดุจผลมะขามป้อมอันวางไว้บนฝ่ามือ.

อีกอย่างหนึ่ง ทรงรู้ด้วยปุพเพนิวาสญาณเป็นต้น ทรงเห็นด้วยทิพยจักษุ. ก็หรือว่า ทรงรู้ด้วยวิชชา ๓ หรือ อภิญญา ๖ ทรงเห็นด้วยสมันตจักษุ อันอะไรๆ ไม่ขัดขวางในธรรมทั้งปวง. ทรงรู้ด้วยปัญญาอันสามารถรู้ธรรมทั้งปวง. ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายที่ล่วงจักษุวิสัยของสัตว์ทั้งปวง หรือที่อยู่นอกฝาเรือนเป็นต้น ด้วยมังสจักษุอันบริสุทธิ์ยิ่ง. ทรงรู้ด้วยปัญญา อันให้สําเร็จประโยชน์ส่วนพระองค์ ทรงเห็นด้วยเทศนาปัญญาอันมีพระกรุณาเป็นปทัฏฐาน อันให้สําเร็จประโยชน์แก่ผู้อื่น.

ชื่อว่า พระอรหันต์ เพราะทรงกําจัดข้าศึกเสียได้ และเพราะควรแก่การสักการะมีปัจจัยเป็นต้น.

ส่วนชื่อว่า สัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้สัจจะ ๔ โดยชอบ และด้วยพระองค์เอง.

อีกอย่างหนึ่ง ทรงรู้อันตรายิกธรรม ทรงเห็นนิยยานิกธรรมเป็นพระอรหันต์ เพราะกําจัดข้าศึก คือ กิเลส เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงด้วยพระองค์เอง รวมความว่า พระองค์ถูกสดุดีด้วยเหตุ ๔ คือ เวสารัชชธรรม ๔ อย่างนี้แล้ว จึงตรัสว่า ธรรมอันเอกมีอยู่หรือหนอ?

บทว่า อภิสงฺขตํ แปลว่า อันปัจจัยกระทําแล้ว ให้เกิดแล้ว.

บทว่า อภิสฺเจตยิตํ ความว่า ก่อให้สําเร็จแล้ว.

คําว่า โส ตตฺถ ิโต ความว่า คฤหบดีนั้นตั้งอยู่แล้วในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น.

ด้วยสองบทว่า ธมฺมราเคน ธมฺมนนฺทิยา พระองค์ตรัสฉันทราคะในสมถะและวิปัสสนา.

จริงอยู่ บุคคลเมื่อสามารถครอบงําฉันทราคะโดยประการทั้งปวงในสมถะและวิปัสสนาย่อมเป็นพระอรหันต์ เมื่อไม่สามารถก็จักเป็นพระอนาคามี เธอย่อมบังเกิดในชั้นสุทธาวาส ด้วยเจตนาอันสัมปยุตด้วยจตุตถฌาน เพราะยังละฉันทราคะในสมถะและวิปัสสนาไม่ได้.

นี้เป็นกถาสําหรับอาจารย์ทั้งหลาย.

ก็นักชอบพูดเคาะ พูดว่า "พระอนาคามีบังเกิดในสุทธาวาสเพราะอกุศล" ตาม

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 40

พระบาลีว่า เตเนว ธมฺมราเคน.

ผู้นั้นจะพึงถูกกล่าวว่า จงชักพระสูตรมา ผู้นั้นเมื่อไม่เห็นบาลีอื่นก็จะชักบาลีนี่แหละมาเป็นแน่ ดังนั้น ผู้นั้นพึงถูกต่อว่าว่า ก็พระสูตรนี้ มีอรรถที่ควรอธิบาย มีอรรถที่อธิบายมาแล้วหรือ.

ผู้นั้นก็จักกล่าวว่า มีอรรถที่ท่านอธิบายไว้แล้วเป็นแน่ ต่อนั้นเขาจะพึงพูดต่อว่าเมื่อเป็นเช่นนั้น ความติดด้วยอํานาจความพอใจ ในสมถะและวิปัสสนา ก็จักเป็นกิเลสที่ผู้ต้องการอนาคามีผลพึงกระทํา เมื่อทําให้เกิดฉันทราคะขึ้น ก็จักแทงตลอดอนาคามิผล.

ท่านอย่าแสดงลอยๆ ว่า ข้าพเจ้าได้สูตรมาแล้ว ผู้แก้ปัญหาควรเรียนในสํานักของพระอริยเจ้า จนรู้แจ้งอรรถรสแล้วจึงแก้ปัญหา.

ด้วยว่า ชื่อว่า การปฏิสนธิในสวรรค์ด้วยอกุศล หรือว่าในอบายด้วยกุศลไม่มี.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมปรากฏด้วยกรรมที่เกิดแต่โลภะ เกิดแต่โทสะ และเกิดแต่โมหะหามิได้ ก็หรือว่าสุคติแม้อื่นอย่างใดอย่างหนึ่งก็เหมือนกัน โดยที่แท้ นรก กําเนิดเดียรัจฉาน และปิตติวิสัย ย่อมปรากฏด้วยกรรมที่เกิดแต่โลภะ โทสะ และโมหะ ก็หรือทุคติอย่างใดอย่างหนึ่งก็เหมือนกัน.

เขาผู้นั้นก็จะพึงถูกทําให้เข้าใจอย่างนี้ว่า หากว่า ท่านเข้าใจได้ก็จงเข้าใจไปเถิด หากไม่เข้าใจ ก็จะต้องถูกส่งกลับวัดให้ฉันข้าวต้มแต่เช้าๆ.

ท่านกล่าวสมถะและวิปัสสนาไว้ในมหามาลุงกโยวาทสูตรบ้าง มหาสติปัฏฐานสูตรบ้าง กายคตาสติสูตรบ้าง เหมือนในพระสูตรนี้.

ในบรรดาพระสูตรเหล่านั้น ในพระสูตรนี้พระองค์ตรัสหมายถึง ธุระ คือ วิปัสสนาธุระเท่านั้น.

สําหรับภิกษุผู้ทั้งดําเนินไปด้วยสามารถแห่งสมถธุระทั้งดําเนินไปด้วยสามารถแห่งวิปัสสนาธุระ. ใน มหามาลุงกโยวาทสูตร พระ-

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 41

องค์ตรัสหมายถึงธุระ คือ วิปัสสนาธุระ ส่วนใน มหาสติปัฏฐานสูตร พระองค์ตรัสหมายถึงธุระ คือ วิปัสสนาธุระอันเยี่ยม. ใน กายคตาสติสูตร พระองค์ตรัสหมายถึงธุระ คือ สมถธุระอันเยี่ยม.

ธรรมแม้ทั้ง ๑๑ อย่าง ชื่อว่าเป็นธรรมเอก เพราะเป็นการถามถึงธรรมอันเอกว่า อยํ โข คหปติ ฯเปฯ เอกธมฺโม อกฺขาโต จึงแสดงเป็นปุจฉาอย่างนี้ว่า แม้นี้ก็จัดเป็นธรรมเอก.

จริงอยู่ ในมหาสกุลุทายีสูตร มีปุจฉาถึง ๑๙ ปุจฉา ทั้งหมดก็จัดเป็นธรรมเอกโดยปฏิปทา.

ธรรม ๑๑ อย่างในที่นี้มาว่าเป็นธรรมเอกโดยปุจฉา.

อีกอย่างหนึ่ง ควรจะกล่าวว่า แม้ทั้งหมดก็ชื่อว่าธรรมเอกโดยอรรถว่า ทําให้เกิดอมตธรรม.

บทว่า นิธิมุขํ คเวสนฺโต แปลว่า แสวงหาขุมทรัพย์.

บทว่า สกิเทว แปลว่า โดยการประกอบครั้งเดียวเท่านั้น.

ถามว่า ก็การได้ขุมทรัพย์ ๑๑ อย่าง โดยการประกอบครั้งเดียวมีได้อย่างไร?

ตอบว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ เที่ยวแสวงหาขุมทรัพย์ในป่า ผู้เสวงหาทรัพย์อีกคนหนึ่ง พบคนนั้นแล้วถามว่า พ่อมหาจําเริญ ท่านเที่ยวไปทําไม?

เขาตอบว่า ข้าพเจ้าแสวงหาทรัพย์เครื่องเลี้ยงชีวิต. อีกคนหนึ่งบอกว่า เพื่อน ถ้าอย่างนั้น มาไปพลิกหินก้อนนั้น เขาพลิกหินก้อนนั้นแล้ว พบหม้อทรัพย์ ๑๑ หม้อ ที่วางซ้อนๆ กันหรือที่วางเรียงกันไว้.

การได้ขุมทรัพย์ ๑๑ ขุม ด้วยการประกอบครั้งเดียว มีได้อย่างนี้.

บทว่า อาจริยธนํ ปริเยสิสฺสนฺติ ความว่า ก็อัญญเดียรถีย์ทั้งหลายเรียนศิลปะในสํานักของอาจารย์ใด นําทรัพย์ออกจากเรือนมอบให้อาจารย์นั้น ก่อน หลัง หรือ ระหว่างเรียนศิลปศาสตร์. คนที่ไม่มีทรัพย์ในเรือนย่อมแสวงหาทรัพย์จากญาติ หรือจากผู้ที่ชอบพอกัน เมื่อไม่ได้อย่างนั้นก็ต้อง

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 42

ขอเขาให้ ท่านหมายเอาทรัพย์นั้น จึงกล่าวคํานี้.

บทว่า กิมงฺคมฺปนาหํ ความว่า ก่อนอื่น คนภายนอกศาสนาแสวงหาทรัพย์ เพื่ออาจารย์ผู้ให้เพียงศิลปะในศาสนาแม้ที่มิใช่เป็นนิยยานิกธรรม ก็ไฉนเราจักไม่กระทําการบูชาอาจารย์ผู้แสดงปฏิปทาที่ให้เกิดอมตธรรม ๑๑ อย่าง ในศาสนาที่เป็นนิยยานิกะธรรมเล่า. เขาจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักทําการบูชาทีเดียว.

บทว่า ปจฺเจกํ ทุสฺสยุเคน อจฺฉาเทสิ ความว่า เราได้ถวายคู่ผ้าแก่ภิกษุแต่ละองค์ องค์ละคู่.

ในที่นี้คําที่เปล่งขึ้น ก็อย่างนั้น เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า อจฺฉาเทสิ.

คําว่า ปฺจสตํ วิหารํ ความว่า ได้สร้างบรรณศาลาราคา ๕๐๐.

คําที่เหลือในทุกๆ บท ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอัฏฐกนาครสูตรที่ ๒