พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. อปัณณกสูตร ว่าด้วยพราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านศาลา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36065
อ่าน  995

[เล่มที่ 20] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 223

๑๐. อปัณณกสูตร

ว่าด้วยพราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านศาลา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 20]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 223

๑๐. อปัณณกสูตร

ว่าด้วยพราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านศาลา

[๑๐๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จถึงพราหมณคามนามว่าศาลาของชนชาวโกศล พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านศาลาได้สดับข่าวว่า พระสมณโคดมศากยบุตรผู้เจริญ เสด็จออกผนวชจากศากยสกุล เสด็จจาริกมาในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จถึงบ้านศาลาแล้ว ก็กิตติศัพท์อันงามแห่งพระโคดมผู้เจริญนั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จําแนกพระธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงทําโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ ทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลาย เห็นปานนี้ ย่อมเป็นความดี.

ครั้งนั้น พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านศาลาพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ บางพวกถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 224

กันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประกาศชื่อและโคตรในสํานักพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกนั่งนิ่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

อปัณณกธรรม

[๑๐๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะพราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านศาลาผู้นั่งเรียบร้อยแล้วว่า ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย ศาสดาคนใดคนหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ชอบใจของท่านทั้งหลาย เป็นที่ให้ท่านทั้งหลายได้ศรัทธาอันมีเหตุ มีอยู่หรือ.

พราหมณ์และคฤหบดีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศาสดาคนใดคนหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ชอบใจของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นที่ให้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ศรัทธาอันมีเหตุ หามีไม่.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายยังไม่ได้ศาสดาที่ชอบใจ พึงสมาทานอปัณณกธรรมนี้แล้วประพฤติ ด้วยว่าอปัณณกธรรมที่ท่านทั้งหลายสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ท่านทั้งหลายสิ้นกาลนาน ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็อปัณณกธรรมนั้นเป็นไฉน.

วาทะที่เป็นข้าศึกกัน

[๑๐๕] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบวงสรวงไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วไม่มี โลก

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 225

นี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี อุปปาติกสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์ที่ไปโดยชอบ ปฏิบัติโดยชอบ ทําโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้รู้ทั่ว ไม่มีในโลก.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะเป็นข้าศึกโดยตรงต่อสมณพราหมณ์เหล่านั้น เขากล่าวอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้วมีผล การบวงสรวงมีผล การบูชามีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทําชั่วทําดีมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี อุปปาติกสัตว์มี สมณพราหมณ์ที่ไปโดยชอบ ปฏิบัติโดยชอบ ทําโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้รู้ทั่ว มีอยู่ในโลก ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมณพราหมณ์เหล่านี้ มีวาทะเป็นข้าศึกโดยตรงต่อกันและกันมิใช่หรือ.

อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๑๐๖] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์สองพวกนั้น สมณพราหมณ์ที่มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบวงสรวงไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทําดีทําชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี อุปปาติกสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์ที่ไปโดยชอบ ปฏิบัติโดยชอบ ทําโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้รู้ทั่ว ไม่มีในโลก ดังนี้ เป็นอันหวังข้อนี้ได้ คือ จักเว้นกุศลธรรม ๓ ประการนี้ คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต จักสมาทานอกุศลธรรม ๓ ประการนี้ คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต แล้วประพฤติ ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่เห็นโทษ ความต่ําทราม ความเศร้าหมองแห่งอกุศลธรรม

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 226

ไม่เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะ อันเป็นฝ่ายขาวแห่งกุศลธรรม ก็โลกหน้ามีอยู่จริง ความเห็นของผู้นั้นว่า โลกหน้าไม่มี ความเห็นของเขานั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ ก็โลกหน้ามีอยู่จริง แต่เขาดําริว่า โลกหน้าไม่มี ความดําริของเขานั้นเป็นมิจฉาสังกัปปะ ก็โลกหน้ามีอยู่จริง แต่เขากล่าววาจาว่า โลกหน้าไม่มี วาจาของเขานั้นเป็นมิจฉาวาจา ก็โลกหน้ามีอยู่จริง เขากล่าวว่า โลกหน้าไม่มี ผู้นี้ย่อมทําตนเป็นข้าศึกต่อพระอรหันต์ผู้รู้แจ้งโลกหน้า ก็โลกหน้ามีอยู่จริง เขายังผู้อื่นให้เข้าใจว่า โลกหน้าไม่มี การให้ผู้อื่นเข้าใจของเขานั้นเป็นการให้เข้าใจผิดโดยไม่ชอบธรรม เขายังยกตนและข่มผู้อื่น ด้วยการให้ผู้อื่นเข้าใจผิดโดยไม่ชอบธรรมนั้นด้วย เขาละคุณ คือ เป็นคนมีศีลแล้วก่อนเทียว ตั้งไว้เฉพาะแต่โทษ คือ ความเป็นคนทุศีลไว้ ด้วยประการฉะนี้ อกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนกเหล่านี้ คือ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา ความเป็นข้าศึกต่อพระอริยะ การให้ผู้อื่นเข้าใจผิดโดยไม่ชอบธรรม การยกตน การข่มผู้อื่น ย่อมมี เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ด้วยประการฉะนี้.

อปัณณกธรรมที่ถือไว้ชั่ว

[๑๐๗] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น บุรุษผู้รู้แจ้งย่อมเห็นตระหนักชัดว่า ถ้าโลกหน้าไม่มี เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านบุรุษบุคคลนี้ เมื่อตายไป จักทําตนให้สวัสดีได้ ถ้าโลกหน้ามี เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านบุรุษบุคคลนี้ เมื่อตายไป จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อนึ่ง โลกหน้าอย่าได้มีจริง คําของท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้นจงเป็นคําจริง เมื่อเป็นอย่างนั้น ท่านบุรุษบุคคลนี้ เป็นผู้อันวิญูชนติเตียนได้ในปัจจุบันว่า เป็นบุรุษบุคคลทุศีล เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นนัตถิกวาทะ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 227

ถ้าโลกหน้ามีจริง ความยึดถือของท่านบุรุษบุคคลนี้ ปราชัยในโลกทั้งสอง คือ ในปัจจุบัน ถูกวิญูชนติเตียน เมื่อตายไป จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ด้วยประการฉะนี้ อปัณณกธรรมนี้ ที่ผู้นั้นถือไว้ชั่ว สมาทานชั่ว ย่อมแผ่ไปโดยส่วนเดียว ย่อมละเหตุแห่งกุศลเสีย ด้วยประการฉะนี้.

[๑๐๘] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่บุคคลให้แล้วมีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ที่ไปโดยชอบ ปฏิบัติชอบ ทําโลกนี้และโลกหน้าให้ชัดแจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้รู้ทั่ว มีอยู่ในโลก สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นอันหวังข้อนี้ได้ คือ จักเว้นอกุศลธรรมทั้ง ๓ คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต จักสมาทานกุศลธรรมทั้ง ๓ คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต แล้วประพฤติ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้นเห็นโทษความต่ําทราม ความเศร้าหมอง แห่งอกุศลธรรม เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะ อันเป็นฝ่ายขาวแห่งกุศลธรรม ก็โลกหน้ามีอยู่จริง ความเห็นของผู้นั้นว่า โลกหน้ามีอยู่ ความเห็นของเขานั้นเป็นความเห็นชอบ ก็โลกหน้ามีจริง เขาดําริว่า โลกหน้ามีจริง ความดําริของเขานั้นเป็นความดําริชอบ ก็โลกหน้ามีจริง เขากล่าวว่า โลกหน้ามีจริง วาจาของเขานั้นเป็นวาจาชอบ ก็โลกหน้ามีจริง เขากล่าวว่า โลกหน้ามีจริง ชื่อว่าไม่ทําตนเป็นข้าศึกต่อพระอรหันต์ ผู้รู้แจ้งโลกหน้า ก็โลกหน้ามีจริง เขาให้ผู้อื่นเข้าใจว่า โลกหน้ามีจริง การให้ผู้อื่นเข้าใจของเขานั้น เป็นการให้ผู้อื่นเข้าใจโดยสัทธรรม และเขาย่อมไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยการที่ให้ผู้อื่นเข้าใจโดยสัทธรรมนั้นด้วย เขาละโทษ คือ ความเป็นคนทุศีล ตั้งไว้เฉพาะแต่คุณ คือ ความเป็นคนมีศีลไว้ก่อนเทียว ด้วยประการฉะนี้ กุศลธรรมเป็นอเนกเหล่านี้

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 228

คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา ความไม่เป็นข้าศึกต่อพระอริยะ การให้ผู้อื่น เข้าใจโดยสัทธรรม การไม่ยกตน การไม่ข่มผู้อื่น ย่อมมี เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ด้วยประการฉะนี้.

อปัณณกธรรมที่บุคคลถือไว้ดี

[๑๐๙] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น บุรุษผู้รู้แจ้ง ย่อมเห็นตระหนักชัดว่า ถ้าโลกหน้ามีอยู่จริง เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านบุรุษบุคคลนี้ เมื่อตายไป จักเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ อนึ่ง โลกหน้าอย่าได้มีจริง คําของท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้นจงเป็นคําจริง เมื่อเป็นอย่างนั้น ท่านบุรุษบุคคลนี้ ก็เป็นผู้อันวิญูชนสรรเสริญในปัจจุบันว่า เป็นบุรุษบุคคลมีศีล มีสัมมาทิฏฐิ เป็นอัตถิกวาทะ ถ้าโลกหน้ามีจริง ความยึดถือของท่านบุรุษบุคคลนี้อย่างนี้ เป็นความมีชัยในโลกทั้งสอง คือ ในปัจจุบัน วิญูชนสรรเสริญ เมื่อตายไป จักเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ด้วยประการฉะนี้ อปัณณกธรรมที่ผู้นั้นถือไว้ดี สมาทานดีนี้ ย่อมแผ่ไปโดยส่วนสอง ย่อมละเหตุแห่งอกุศลเสีย ด้วยประการฉะนี้.

วาทะเป็นข้าศึกกัน

[๑๑๐] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทําเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นทํา ตัดเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นตัด เผาผลาญเองหรือใช้ให้ผู้อื่นเผาผลาญ ทําสัตว์ให้เศร้าโศกเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทําสัตว์ให้เศร้าโศก ทําสัตว์ให้ลําบากเอง หรือใช้ผู้อื่นทําสัตว์ให้ลําบาก ทําสัตว์ให้ดิ้นรนเองหรือให้ผู้อื่นทําสัตว์ให้ดิ้นรน

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 229

ฆ่าสัตว์เองหรือใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ลักทรัพย์เองหรือใช้ผู้อื่นให้ลัก ตัดช่อง ปล้นใหญ่ ทําการปล้นเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ในทางเปลี่ยว คบหาภรรยาของผู้อื่น พูดเท็จ บาปที่บุคคลทําอยู่ ย่อมไม่ชื่อว่าเป็นอันทํา แม้หากผู้ใดพึงทําสัตว์ในแผ่นดินนี้ ให้เป็นลานเนื้อแห่งเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้อกองเดียวกัน ด้วยจักรมีคมโดยรอบเช่นคมมีดโกน บาปซึ่งมีการทําสัตว์ให้เป็นลานเนื้อแห่งเดียวกันเป็นเหตุย่อมไม่มี ไม่มีบาปมาถึง แม้บุคคลจะไปยังฝังขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าสัตว์เองหรือใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ตัดเองหรือใช้ผู้อื่นให้ตัด เผาผลาญเองหรือใช้ผู้อื่นให้เผาผลาญ บาปซึ่งมีการฆ่าสัตว์เป็นต้นเป็นเหตุย่อมไม่มี ไม่มีบาปมาถึง ถึงแม้บุคคลพึงไปยังฝังซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้ทานเองหรือใช้ให้ผู้อื่นให้บูชาเองหรือใช้ผู้อื่นให้บูชา บุญอันมีการให้ทานเป็นต้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มี บุญย่อมไม่มีมาถึง บุญย่อมไม่มี บุญย่อมไม่มีมาถึง เพราะการให้ เพราะการข่มใจ เพราะความสํารวม เพราะกล่าวคําสัตย์.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะเป็นข้าศึกโดยตรงต่อสมณพราหมณ์เหล่านั้น เขากล่าวอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทําเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทํา ตัดเองหรือใช้ผู้อื่นให้ตัด เผาผลาญเองหรือใช้ผู้อื่นให้เผาผลาญ ทําสัตว์ให้เศร้าโศกเองหรือให้ผู้อื่นให้ทําสัตว์ให้เศร้าโศก ทําสัตว์ให้ลําบากเองหรือให้ผู้อื่นให้ทําสัตว์ให้ลําบาก ทําสัตว์ให้ดิ้นรนเอง หรือให้ผู้อื่นให้ทําสัตว์ให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์เองหรือใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ลักทรัพย์เองหรือใช้ให้ผู้อื่นลักทรัพย์ ตัดช่องปล้นใหญ่ ทําการปล้นเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ในทางเปลี่ยว คบหาภรรยาของผู้อื่น พูดเท็จ บาปที่บุคคลทําอยู่ ย่อมชื่อว่าเป็นอันทํา แม้หากผู้ใดพึงทําสัตว์ในแผ่นดินนี้ให้เป็นลานเนื้อแห่งเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้อกองเดียวกัน ด้วยจักรมีคมโดยรอบ เช่นคมมีดโกน บาปซึ่งมีการทําสัตว์ให้เป็นลานเนื้อ

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 230

แห่งเดียวกันเป็นเหตุย่อมมี บาปย่อมมีมาถึง ถึงแม้บุคคลนั้นจะไปยังฝังขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าสัตว์เองหรือใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ตัดเองหรือใช้ผู้อื่นให้ตัด เผาผลาญเองหรือใช้ผู้อื่นให้เผาผลาญ บาปซึ่งมีการฆ่าสัตว์เป็นต้นเป็นเหตุ ย่อมมี บาปย่อมมีมาถึง ถึงแม้บุคคลพึงไปยังฝังซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้ทานเองหรือใช้ผู้อื่นให้ให้ บูชาเองหรือใช้ให้ผู้อื่นบูชา บุญอันมีการให้ทานเป็นต้นเป็นเหตุ ย่อมมี บุญย่อมมีมาถึง บุญย่อมมี บุญย่อมมีมาถึง เพราะการให้ทาน เพราะการฝึกฝน เพราะความสํารวม เพราะกล่าวคําสัตย์.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมณพราหมณ์เหล่านี้ มีวาทะเป็นข้าศึกแก่กันและกันโดยตรงมิใช่หรือ.

อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ความเห็นที่เป็นข้าศึกต่อพระอริยะ

[๑๑๑] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทําเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทํา ตัดเองหรือใช้ผู้อื่นให้ตัด เผาผลาญเองหรือให้ผู้อื่นให้เผาผลาญ ทําสัตว์ให้เศร้าโศกเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทําสัตว์ให้เศร้าโศก ทําสัตว์ให้ลําบากเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทําสัตว์ให้ลําบาก ทําสัตว์ให้ดิ้นรนเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทําสัตว์ให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์เองหรือใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ลักทรัพย์เอง หรือใช้ผู้อื่นให้ลัก ตัดช่อง ปล้นใหญ่ ทําการปล้นในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ในทางเปลี่ยว คบหาภรรยาของผู้อื่น พูดเท็จ บาปที่บุคคลทําอยู่ ย่อมไม่ชื่อว่าเป็นอันทํา.

ถึงหากผู้ใดพึงทําสัตว์ในแผ่นดินนี้ให้เป็นลานเนื้อแห่งเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้อกองเดียวกัน ด้วยจักรมีคมโดยรอบเช่นคมมีดโกน บาปซึ่งมีการทําสัตว์ให้เป็น

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 231

ลานเนื้อแห่งเดียวกันเป็นเหตุย่อมไม่มี ไม่มีบาปมาถึง ถึงแม้บุคคลจะไปยังฝังขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าสัตว์เองหรือใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ตัดเองหรือใช้ผู้อื่นให้ตัด เผาผลาญเองหรือใช้ผู้อื่นให้เผาผลาญ บาปซึ่งมีการฆ่าสัตว์เป็นต้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มี ไม่มีบาปมาถึง ถึงแม้บุคคลพึงไปยังฝังซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้ทานเองหรือใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเองหรือใช้ผู้อื่นให้บูชา บุญอันมีการให้ทานเป็นต้นเป็นเหตุย่อมไม่มี บุญย่อมไม่มีมาถึง บุญย่อมไม่มี บุญไม่มีมาถึงเพราะการให้ เพราะการข่มใจ เพราะความสํารวม เพราะกล่าวคําสัตย์ ดังนี้.

สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นอันหวังข้อนี้ได้ คือ จักเว้นกุศลธรรม ๓ ประการนี้ คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต จักสมาทานอกุศลธรรม ๓ ประการนี้ คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต แล้วประพฤติ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่เห็นโทษ ความต่ําทราม ความเศร้าหมองแห่งอกุศลธรรม ไม่เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะ อันเป็นธรรมฝ่ายขวาแห่งกุศลธรรม ก็ความทํามีอยู่ แต่ผู้นั้นมีความเห็นว่า ความทําไม่มี ความเห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด ก็ความทํามีอยู่ ผู้นั้นดําริว่าความทําไม่มี ความดําริของเขานั้น เป็นความดําริผิด ก็ความทํามีอยู่ ผู้นั้นกล่าววาจาว่าความทําไม่มี วาจาของเขานั้นเป็นมิจฉาวาจา ก็ความทํามีอยู่ ผู้นั้นกล่าวว่าความทําไม่มี ผู้นี้ย่อมทําตนให้เป็นข้าศึกต่อพระอรหันต์ ผู้มีวาทะว่า กรรมที่บุคคลทําอยู่เป็นอันทํา ก็ความทํามีอยู่ ผู้นั้นให้บุคคลอื่นสําคัญผิดว่าความทําไม่มี การที่ให้ผู้อื่นสําคัญผิดของเขานั้น เป็นการให้ผู้อื่นสําคัญผิดโดยไม่ชอบธรรม และเพราะการที่ให้ผู้อื่นสําคัญผิดโดยไม่ชอบธรรมนั้น เขาย่อมยกตน ข่มผู้อื่น เขาละคุณ คือ ความเป็นผู้มีศีล ตั้งไว้แต่โทษ คือ ความเป็นผู้ทุศีลขึ้นก่อนทีเดียว ด้วยประการฉะนี้ ส่วนอกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนกเหล่านี้ คือ ความเห็นผิด

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 232

ความดําริผิด วาจาผิด ความเป็นข้าศึกต่อพระอริยะ กิริยาที่ให้ผู้อื่นสําคัญผิดโดยไม่ชอบธรรม การยกตน การข่มผู้อื่น ย่อมมี เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ด้วยประการฉะนี้.

อปัณณกธรรมที่ถือไว้ชั่ว

[๑๑๒] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น บุรุษผู้รู้แจ้งย่อมเห็นตระหนักชัดว่า ถ้าแลความทําไม่มี เมื่อเป็นอย่างนี้ท่านบุรุษบุคคลนี้ เมื่อตายไป จักทําตนให้เป็นผู้มีความสวัสดีได้ ถ้าแลความทํามีอยู่ เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านบุรุษบุคคลนี้ เมื่อตายไป จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อนึ่ง ความทําอย่าได้มีจริง คําของท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้นจงเป็นคําจริง เมื่อเป็นอย่างนั้น ท่านบุรุษบุคคลนี้ ย่อมถูกวิญูชนติเตียนได้ในปัจจุบันว่า เป็นบุรุษบุคคลทุศีล มีความเห็นผิด มีวาทะว่ากรรมที่บุคคลทําอยู่ไม่เป็นอันทํา ถ้าแลความทํามีอยู่จริง ความยึดถือของท่านบุรุษบุคคลนี้ อย่างนี้ เป็นความปราชัยในโลกทั้งสอง คือ ในปัจจุบัน วิญูชนติเตียน เมื่อตายไป จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อปัณณกธรรมนี้ที่บุคคลถือไว้ชั่ว สมาทานชั่วอย่างนี้ย่อมแผ่ไปโดยส่วนเดียว ย่อมละเหตุแห่งกุศลเสีย.

ความเห็นที่ไม่เป็นข้าศึกต่อพระอริยะ

[๑๑๓] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทําเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทํา ตัดเองหรือใช้ผู้อื่นให้ตัด เผาผลาญเองหรือใช้ผู้อื่นให้เผาผลาญ ทําสัตว์ให้เศร้าโศกเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทําสัตว์ให้

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 233

เศร้าโศก ทําสัตว์ให้ลําบากเองหรือใช้ผู้อื่นทําสัตว์ให้ลําบาก ทําสัตว์ให้ดิ้นรนเองหรือใช้ผู้อื่นทําสัตว์ให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์เองหรือใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ลักทรัพย์ ตัดช่อง ปล้นใหญ่ ทําการปล้นในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ในทางเปลี่ยว คบหาภรรยาของผู้อื่น พูดเท็จ บาปที่บุคคลทําอยู่ ย่อมชื่อว่าเป็นอันทํา.

แม้หากผู้ใดพึงทําสัตว์ในแผ่นดินนี้ ให้เป็นลานเนื้อแห่งเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้อกองเดียวกัน ด้วยจักรมีคมโดยรอบเช่นคมมีดโกน บาปอันมีกรรมทําสัตว์ให้เป็นลานเนื้อแห่งเดียวกันเป็นเหตุ ย่อมมี บาปย่อมมีมาถึง แม้ถ้าบุคคลจะไปยังฝังขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าสัตว์เองหรือใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ตัดเองหรือใช้ผู้อื่นให้ตัด เผาผลาญเองหรือใช้ผู้อื่นให้เผาผลาญ บาปอันมีการฆ่าสัตว์เป็นต้นเป็นเหตุ ย่อมมี บาปย่อมมีมาถึง ถ้าแม้บุคคลจะพึงไปยังฝังซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้ทานเองหรือใช้ให้ผู้ยื่นให้ บูชาเองหรือใช้ผู้อื่นให้บูชา บุญอันมีการให้ทานเป็นต้นเป็นเหตุ ย่อมมี. บุญย่อมมีมาถึง บุญย่อมมี บุญย่อมมีมาถึง เพราะการให้ เพราะการข่มใจ เพราะความสํารวม เพราะกล่าวคําสัตย์ ดังนี้.

สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นอันหวังข้อนี้ คือ จักเว้นอกุศลธรรม ๓ ประการนี้ คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต จักสมาทานกุศลธรรม ๓ ประการนี้ คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต แล้วประพฤติ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเห็นโทษ ความต่ําทราม ความเศร้าหมองแห่งอกุศลธรรม ย่อมเห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะ อันเป็นธรรมฝ่ายขาว แห่งกุศลธรรม. ก็ความทํามีอยู่จริง และเขามีความเห็นว่า ความทํามีอยู่ ความเห็นของเขานั้นเป็นความเห็นชอบ. ความทํามีอยู่จริง ผู้นั้นดําริว่า ความทํามีอยู่ความดําริของเขานั้นเป็นความดําริชอบ. ก็ความทํามีอยู่จริง ผู้นั้นกล่าววาจาว่าความทํามีอยู่ วาจาของเขานั้นเป็นวาจาชอบ. ก็ความทํามีอยู่จริง ผู้นั้นกล่าวว่า ความทํามีอยู่ ผู้นี้ย่อมไม่ทําตนให้เป็นข้าศึกต่อพระอรหันต์ผู้มีวาทะว่า

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 234

กรรมที่บุคคลทําอยู่เป็นอันทํา. ก็ความทํามีอยู่จริง ผู้นั้นให้ผู้อื่นสําคัญว่าความทํามีอยู่ การที่ให้ผู้อื่นสําคัญของเขานั้น เป็นกิริยาที่ให้สําคัญโดยชอบธรรม และเพราะการที่ให้ผู้อื่นสําคัญโดยชอบธรรมนั้น เขาย่อมไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เขาละโทษ คือ ความเป็นผู้ทุศีลก่อนทีเดียว ตั้งไว้แต่คุณ คือ ความเป็นผู้มีศีล ด้วยประการฉะนี้. และกุศลธรรมเป็นอเนกเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดําริชอบ วาจาชอบ ความไม่เป็นข้าศึกต่อพระอริยะ การที่ให้ผู้อื่นสําคัญโดยธรรม การไม่ยกตน การไม่ข่มผู้อื่น ย่อมมี เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ด้วยประการฉะนี้.

อปัณณกธรรมที่ถือไว้ดี

[๑๑๔] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น บุรุษผู้รู้แจ้งย่อมเห็นตระหนักชัดว่า ถ้าแลความทํามีอยู่จริง ท่านบุรุษบุคคลนี้ เมื่อตายไป จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ หากความทําอย่าได้มี คําของท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น จงเป็นคําจริง และเมื่อเป็นอย่างนั้น ท่านบุรุษบุคคลนี้ ย่อมเป็นผู้อันวิญูชนสรรเสริญในปัจจุบันว่า เป็นบุรุษบุคคลมีศีล มีความเห็นชอบ มีวาทะว่า กรรมที่บุคคลทําอยู่เป็นอันทํา ดังนี้. ถ้าแลความทํามีอยู่จริง ความยึดถือของท่านบุรุษบุคคลนี้อย่างนี้ เป็นความชนะในโลกทั้ง ๒ คือ ในปัจจุบันวิญูชนสรรเสริญ เมื่อตายไป จักเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์. อปัณณกธรรมที่บุคคลนั้นถือดี สมาทานดี อย่างนี้ ย่อมแผ่ไปโดยส่วน ๒ ย่อมละเหตุแห่งอกุศลเสีย.

วาทะที่เป็นข้าศึกกัน

[๑๑๕] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี เพื่อความ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 235

เศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ย่อมเศร้าหมองเอง เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ย่อมบริสุทธิ์เอง กําลังไม่มี ความเพียรไม่มี เรี่ยวแรงของบุรุษไม่มี ความบากบั่นของบุรุษไม่มี สัตว์ทั้งปวง ปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง ชีวะทั้งปวง ไม่มีอํานาจ ไม่มีกําลัง ไม่มีความเพียร เป็นแต่แปรปรวนไปโดยเคราะห์กรรม ความเกิด และตามภาวะ ย่อมเสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖ (๑) เท่านั้น.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง มีวาทะเป็นข้าศึกโดยตรงต่อสมณพราหมณ์เหล่านั้น เขากล่าวอย่างนี้ว่า เหตุมี ปัจจัยมี เพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย จึงเศร้าหมอง เหตุมี ปัจจัยมี เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย จึงบริสุทธิ์ กําลังมีอยู่ ความเพียรมีอยู่ เรี่ยวแรงของบุรุษมีอยู่ ความบากบั่นของบุรุษมีอยู่ สัตว์ทั้งปวง ปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง ชีวะทั้งปวง มีอํานาจ มีกําลัง มีความเพียร แปรปรวนไปโดยเคราะห์กรรม ความเกิด และตามภาวะ ย่อมเสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖ เท่านั้น.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมณพราหมณ์เหล่านี้มีวาทะเป็นข้าศึกโดยตรงต่อกันและกันมิใช่หรือ.

อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ความเห็นที่เป็นข้าศึกต่อพระอริยะ

[๑๑๖] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์นั้น สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า เหตุไม่มี


(๑) อภิชาติ ๖ คือ กัณหาภิชาติ นีลาภิชาติ โลหิตาภิชาติ หลิททาภิชาติ สุกกาภิชาติ ปฐมสุกกาภิชาติ.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 236

ปัจจัยไม่มี เพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ย่อมเศร้าหมองเอง เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ย่อมบริสุทธิ์เอง กําลังไม่มี ความเพียรไม่มี เรี่ยวแรงของบุรุษไม่มี ความบากบั่นของบุรุษไม่มี สัตว์ทั้งปวง ปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง ชีวะทั้งปวง ไม่มีอํานาจ ไม่มีกําลัง ไม่มีความเพียร แปรปรวนไปโดยเคราะห์กรรม ความเกิด และตามภาวะ ย่อมเสวยสุข และทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖ เท่านั้น.

สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นอันหวังข้อนี้ คือ จักเว้นกุศลธรรม ๓ ประการนี้ คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต จักสมาทานอกุศลธรรม ๓ ประการนี้ คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต แล้วประพฤติ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่เห็นโทษ ความต่ําทราม ความเศร้าหมองแห่งอกุศลธรรม ไม่เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะอันเป็นธรรมฝ่ายขาวแห่งกุศลธรรม ก็เหตุมีอยู่จริง แต่ผู้นั้นมีความเห็นว่า เหตุไม่มี ความเห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด. ก็เหตุมีอยู่จริง ผู้นั้นดําริว่าเหตุไม่มี ความดําริของเขานั้นเป็นความดําริผิด. ก็เหตุมีอยู่จริง ผู้นั้นกล่าววาจาว่า เหตุไม่มี วาจาของเขานั้นเป็นวาจาผิด. ก็เหตุมีอยู่จริง ผู้นั้นกล่าวว่าเหตุไม่มี ผู้นี้ย่อมทําตนให้เป็นข้าศึกต่อพระอรหันต์ผู้กล่าวเหตุ. ก็เหตุมีอยู่จริง ผู้นั้นให้ผู้อื่นสําคัญผิดว่าเหตุไม่มี การให้ผู้อื่นสําคัญของเขานั้น เป็นกิริยาที่ให้สําคัญโดยไม่ชอบธรรม และเพราะการที่ให้ผู้อื่นสําคัญโดยไม่ชอบธรรมนั้น เขาย่อมยกตน ข่มผู้อื่น เขาละคุณคือความเป็นผู้มีศีลแต่ก่อนทีเดียว ตั้งไว้แต่โทษ คือ ความเป็นผู้ทุศีลขึ้นตั้งไว้ ด้วยประการฉะนี้ อกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนกเหล่านี้ คือ ความเห็นผิด ความดําริผิด วาจาผิด ความเป็นข้าศึกต่อพระอริยะ การที่ให้ผู้อื่นสําคัญโดยไม่ชอบธรรม

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 237

การยกตน การข่มผู้อื่น ย่อมมี เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ด้วยประการฉะนี้.

อปัณณกธรรมที่ถือไว้ชั่ว

[๑๑๗] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์นั้น บุรุษผู้รู้แจ้ง ย่อมเห็นตระหนักชัดว่า ถ้าแลว่าเหตุไม่มี เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านบุรุษบุคคลนี้ เมื่อตายไป จักทําตนให้มีความสวัสดีได้ ถ้าเหตุมีอยู่จริง เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านบุรุษบุคคลนี้ เมื่อตายไป จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อนึ่ง หากเหตุอย่ามีจริง คําของท่านสมณพราหมณ์นั้น จงเป็นคําจริง ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น ท่านบุรุษบุคคลนี้ อันวิญูชนพึงติเตียนได้ในปัจจุบันว่า เป็นบุรุษบุคคลทุศีล มีความเห็นผิด มีวาทะว่าหาเหตุมิได้ ถ้าแลเหตุมีอยู่จริง ความยึดถือของท่านบุรุษบุคคลนี้ อย่างนี้ เป็นความปราชัยในโลกทั้งสอง คือ ในปัจจุบันวิญูชนติเตียน เมื่อตายไป จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อปัณณกธรรมนี้ ที่บุคคลนั้นถือชั่ว สมาทานชั่ว อย่างนี้ ย่อมแผ่ไปโดยส่วนเดียว ย่อมละเหตุแห่งกุศลเสีย.

ความเห็นที่เป็นข้าศึกต่อพระอริยะ

[๑๑๘] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์นั้น สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า เหตุมี ปัจจัยมี เพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย ย่อมเศร้าหมองเอง เหตุมี ปัจจัยมี เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย ย่อมบริสุทธิ์เอง กําลังมีอยู่ ความเพียรมีอยู่ เรี่ยว-

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 238

แรงของบุรุษมีอยู่ ความบากบั่นของบุรุษมีอยู่ สัตว์ทั้งปวง ปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง ชีวะทั้งปวง มีอํานาจ มีกําลัง มีความเพียร แปรปรวนไปโดยเคราะห์กรรมความเกิดและตามภาวะ ย่อมเสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖ เท่านั้น.

สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นอันหวังข้อนี้ได้ คือ จักเว้นอกุศลธรรม ๓ ประการนี้ คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต จักสมาทานกุศลกรรม ๓ ประการนี้ คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต แล้วประพฤติ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเห็นโทษ ความต่ําทราม ความเศร้าหมองของอกุศลธรรม ย่อมเห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะ อันเป็นธรรมฝ่ายขาว แห่งกุศลธรรม. ก็เหตุมีอยู่จริง ผู้นั้นมีความเห็นว่า เหตุมี ความเห็นของเขานั้นเป็นความเห็นชอบ. ก็เหตุมีอยู่จริง ผู้นั้นดําริว่า เหตุมี ความดําริของเขานั้นเป็นความดําริชอบ. ก็เหตุมีอยู่จริง ผู้นั้นกล่าววาจาว่า เหตุมี วาจาของเขานั้นเป็นวาจาชอบ. ก็เหตุมีอยู่จริง ผู้นั้นกล่าวว่า เหตุมี ผู้นี้ย่อมไม่ทําตนให้เป็นข้าศึกต่อพระอรหันต์ผู้มีวาทะว่า เหตุมี. ก็เหตุมีอยู่จริง ผู้นั้นให้ผู้อื่นสําคัญว่ามีเหตุ การที่ให้ผู้อื่นสําคัญของเขานั้น เป็นการที่ให้สําคัญโดยชอบธรรม และเพราะการที่ให้ผู้อื่นสําคัญโดยชอบธรรมนั้น เขาย่อมไม่ยกตน ย่อมไม่ข่มผู้อื่น เขาละโทษ คือ ความเป็นผู้ทุศีลก่อนทีเดียว ตั้งไว้เฉพาะแต่ความเป็นผู้มีศีล ด้วยประการฉะนี้. กุศลธรรมเป็นอเนกเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดําริชอบ วาจาชอบ ความไม่เป็นข้าศึกต่อพระอริยะ การที่ให้ผู้อื่นสําคัญโดยชอบธรรม การไม่ยกตน การไม่ข่มผู้อื่น ย่อมมี เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 239

อปัณณกธรรมที่ถือไว้ดี

[๑๑๙] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์นั้น บุรุษผู้เป็นวิญูชนย่อมเห็นตระหนักชัดว่า ถ้าเหตุมีอยู่จริง เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านบุรุษบุคคลนี้ เมื่อตายไป จะเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ก็ถ้าเหตุอย่าได้มีจริง วาจาของท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้นจงเป็นคําสัตย์ ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น ท่านบุรุษบุคคลนี้ ย่อมเป็นผู้อันวิญูชนสรรเสริญในปัจจุบันว่า เป็นบุรุษบุคคลผู้มีศีล มีความเห็นชอบ มีวาทะว่ามีเหตุ และถ้าเหตุมีอยู่จริง ความยึดถือของท่านบุรุษบุคคลนี้ อย่างนี้เป็นความชนะในโลกทั้งสอง คือ ในปัจจุบัน ย่อมเป็นผู้อันวิญูชนสรรเสริญ เมื่อตายไป จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ อปัณณกธรรมนี้ ที่บุคคลนั้นยึดถือดี สมาทานดี อย่างนี้ย่อมแผ่ไปโดยส่วน ๒ ย่อมละเหตุแห่งอกุศลเสีย.

วาทะว่าอรูปพรหมไม่มี

[๑๒๐] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า อรูปพรหมย่อมไม่มีด้วยอาการทั้งปวง. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะเป็นข้าศึกโดยตรงต่อสมณพราหมณ์พวกนั้น เขากล่าวอย่างนี้ว่า อรูปพรหมมีอยู่ด้วยอาการทั้งปวง ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมณพราหมณ์เหล่านี้มีวาทะเป็นข้าศึกโดยตรงต่อกันและกันมิใช่หรือ.

อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์นั้น บุรุษผู้เป็นวิญูชนย่อมเห็นตระหนักดังนี้ว่า ข้อที่ว่าท่านสมณพราหมณ์มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า อรูปพรหมไม่มีด้วยอาการทั้งปวง ดังนี้ เรา

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 240

ไม่เห็น. แม้ข้อที่ว่า ท่านสมณพราหมณ์ มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า อรูปพรหมมีอยู่ด้วยอาการทั้งปวง ดังนี้ เราไม่รู้.

ส่วนเราเองเล่า เมื่อไม่รู้ เมื่อไม่เห็น จะพึงถือเอาโดยส่วนเดียวแล้วกล่าวว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ ข้อนั้นพึงเป็นการสมควรแก่เราหามิได้ ถ้าคําของท่านสมณพราหมณ์ที่มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า อรูปพรหมไม่มีด้วยอาการทั้งปวง ดังนี้ เป็นคําจริง ข้อที่เราจักเกิดขึ้นในเหล่าเทวดาที่มีรูป สําเร็จด้วยใจ ซึ่งไม่เป็นความผิด นี้เป็นฐานะที่จะมีได้.

ถ้าคําของท่านสมณพราหมณ์ที่มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า อรูปพรหมมีอยู่ด้วยอาการทั้งปวง ดังนี้ เป็นคําจริง ข้อที่เราจักเกิดขึ้นในเหล่าเทวดาที่ไม่มีรูปสําเร็จด้วยสัญญา ซึ่งไม่เป็นความผิด นี้เป็นฐานะที่จะมีได้.

อนึ่ง การถือท่อนไม้ การถือศัสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวว่ามึงๆ การกล่าวส่อเสียด และมุสาวาท ซึ่งมีรูปเป็นเหตุ ย่อมปรากฏ แต่ข้อนี้ย่อมไม่มีในอรูปพรหมด้วยอาการทั้งปวง ดังนี้ บุรุษผู้เป็นวิญูนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อหน่าย เพื่อคลายกําหนัด เพื่อดับสนิทแห่งรูปอย่างเดียว.

วาทะว่าความดังแห่งภพไม่มี

[๑๒๑] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ความดับสนิทแห่งภพ ไม่มีด้วยอาการทั้งปวง. สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง มีวาทะเป็นข้าศึกโดยตรงต่อสมณพราหมณ์เหล่านั้น เขากล่าวอย่างนี้ว่า ความดับสนิทแห่งภพมีอยู่ด้วยอาการทั้งปวง. ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมณพราหมณ์เหล่านี้ มีวาทะเป็นข้าศึกโดยตรงต่อกันและกันมิใช่หรือ.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 241

อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น บุรุษผู้เป็นวิญูย่อมเห็นตระหนักดังนี้ว่า ข้อที่ท่านสมณพราหมณ์มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ความดับสนิทแห่งภพไม่มีด้วยอาการทั้งปวง ดังนี้ เราไม่เห็นแม้ข้อที่ท่านสมณพรหมณ์มีวาทะอย่างนี้ว่า ความดับสนิทแห่งภพมีอยู่ด้วยอาการทั้งปวง ดังนี้ สิ่งนี้เราไม่รู้.

ส่วนเราเองเล่า เมื่อไม่รู้ เมื่อไม่เห็น จะพึงถือเอาโดยส่วนเดียว แล้วกล่าวว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่าดังนี้ ข้อนั้นพึงเป็นการสมควรแก่เราหามิได้ ถ้าคําของท่านสมณพราหมณ์ที่มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ความดับสนิทแห่งภพไม่มีด้วยอาการทั้งปวง ดังนี้ เป็นคําจริง ข้อที่เราจักเกิดขึ้นในเหล่าเทวดาที่ไม่มีรูป สําเร็จด้วยสัญญา ซึ่งไม่เป็นความผิด นี้เป็นฐานะที่มีได้.

อนึ่ง ถ้าคําของท่านสมณพราหมณ์ที่มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ความดับสนิทแห่งภพมีอยู่ด้วยอาการทั้งปวง ดังนี้ เป็นคําจริง ข้อที่เราจักปรินิพพานในปัจจุบันนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ความเห็นของท่านสมณพราหมณ์ที่มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ความดับสนิทแห่งภพไม่มีด้วยอาการทั้งปวงนี้ ใกล้ต่อธรรมเป็นไปกับด้วยความกําหนัด ใกล้ต่อธรรมเครื่องประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ต่อธรรมเครื่องเพลิดเพลิน ใกล้ต่อธรรมเครื่องสยบ ใกล้ต่อธรรมเครื่องถือมั่น.

ส่วนความเห็นของท่านสมณพราหมณ์ที่มีวาทะอย่างนี้ว่า ความดับสนิทแห่งภพมีอยู่ด้วยอาการทั้งปวงนี้ ใกล้ต่อธรรมอันไม่เป็นไปกับด้วยราคะ ใกล้ต่อธรรมอันมิใช่ธรรมประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ต่อธรรมอันมิใช่เครื่องเพลิดเพลิน ใกล้ต่อธรรมอันมิใช่เครื่องสยบ ใกล้ต่อธรรมอันไม่เป็นเครื่องยึดมั่น บุรุษผู้เป็นวิญูนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อหน่าย เพื่อคลายกําหนัด เพื่อความดับสนิทแห่งภพเท่านั้น.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 242

บุคคล ๔ จําพวก

[๑๒๒] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคล ๔ จําพวกนี้มีอยู่ หาได้อยู่ในโลก. ๔ จําพวกเป็นไฉน คือ

๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทําตนให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทําตนให้เดือดร้อน.

๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทําผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบการขวนขวายในการทําผู้อื่นให้เดือดร้อน.

๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทําตนให้เดือดร้อนและประกอบการขวนขวายในการทําตนให้เดือดร้อน ทําผู้อื่นให้เดือดร้อนและประกอบการขวนขวายในการทําผู้อื่นให้เดือดร้อน.

๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้ทําตนให้เดือดร้อนและไม่ประกอบการขวนขวายในการทําตนให้เดือดร้อน ไม่ทําผู้อื่นให้เดือดร้อนและไม่ประกอบการขวนขวายในการทําผู้อื่นให้เดือดร้อน.

บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ทําตนให้เดือดร้อน ไม่ทําผู้อื่นให้เดือดร้อนนั้น ไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหม อยู่ในปัจจุบันเทียว.

[๑๒๓] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นผู้ทําตนให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทําตนให้เดือดร้อนเป็นไฉน.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนเปลือย ทอดทิ้งมารยาท เลียมือ เขาเชิญให้มารับภิกษาก็ไม่มา เขาเชิญให้หยุดก็ไม่หยุด ไม่ยินดีภิกษาที่เขานํามาให้ ไม่ยินดีภิกษาที่เขาทําเฉพาะ ไม่ยินดีภิกษาที่เขานิมนต์ ไม่รับภิกษาปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากปากกระเช้า ไม่รับภิกษาคร่อม

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 243

ธรณีประตู ไม่รับภิกษาคร่อมท่อนไม้ ไม่รับภิกษาคร่อมสาก ไม่รับภิกษาของคน ๒ คนที่กําลังบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงผู้กําลังให้ลูกดูดนม ไม่รับภิกษาของหญิงผู้คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษาที่นัดแนะกันทําไว้ ไม่รับภิกษาในที่ที่เขาเลี้ยงสุนัข ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม ไม่รับปลา ไม่รับเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มน้ำหมักดอง เขารับภิกษาที่เรือนหลังเดียว เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคําเดียวบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๒ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๒ คําบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๓ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๓ คําบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๔ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๔ คําบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๕ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๕ คําบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๖ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๖ คําบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๗ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๗ คําบ้าง เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อยใบเดียวบ้าง ๒ ใบบ้าง ๓ ใบบ้าง ๔ ใบบ้าง ๕ ใบบ้าง ๖ ใบบ้าง ๗ ใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วันหนึ่งบ้าง ๒ วันบ้าง ๓ วันบ้าง ๔ วันบ้าง ๕ วันบ้าง ๖ วันบ้าง ๗ วันบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการบริโภคภัตที่เวียนมาตลอดกึ่งเดือนแม้เช่นนี้ด้วยประการฉะนี้ เขาเป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรําเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีข้าวไหม้เป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่น เยียวยาอัตภาพ.

เขาทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสกุลบ้าง ผ้าเปลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้าเปลือกปอกรองบ้าง ผ้าผลไม้กรองบ้าง ผ้ากัมพลทําด้วยผมคนบ้าง ผ้ากัมพลทําด้วยขน

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 244

สัตว์บ้าง ผ้าทําด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด คือ ประกอบการขวนขวายในการถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้ยืน คือ ห้ามอาสนะ เป็นผู้กระโหย่ง คือ ประกอบความเพียรในการกระโหย่ง [คือ เดินกระโหย่งเหยียบพื้นไม่เต็มเท้าบ้าง] เป็นผู้นอนบนหนาม คือ สําเร็จการนอนบนหนามบ้าง เป็นผู้อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง คือ ประกอบการขวนขวายในการลงน้ำบ้าง เป็นผู้ประกอบการขวนขวายในการทํากายให้เดือดร้อนเร่าร้อนหลายอย่างเห็นปานนี้อยู่.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ทําตนให้เดือดร้อน ประกอบการขวนขวายในการทําตนให้เดือดร้อน.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นผู้ทําผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบการขวนขวายในการทําผู้อื่นให้เดือดร้อนเป็นไฉน.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ฆ่าแพะเลี้ยงชีวิต ฆ่าสุกรเลี้ยงชีวิต ฆ่านกเลี้ยงชีวิต ฆ่าเนื้อเลี้ยงชีวิต เป็นคนเหี้ยมโหด เป็นคนฆ่าปลา เป็นโจร เป็นคนฆ่าโจร เป็นคนปกครองเรือนจํา หรือบุคคลเหล่าอื่นบางพวกเป็นผู้ทําการงานอันทารุณ.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ทําผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบการขวนขวายในการทําผู้อื่นให้เดือดร้อน.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นผู้ทําตนให้เดือดร้อนและประกอบการขวนขวายในการทําตนให้เดือดร้อน ทําผู้อื่นให้เดือดร้อนและประกอบการขวนขวายในการทําผู้อื่นให้เดือดร้อนเป็นไฉน.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นพระราชามหากษัตริย์ ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้วก็ดี เป็นพราหมณ์มหาศาลก็ดี พระราชาหรือพราหมณ์นั้นโปรดให้ทําโรงที่บูชายัญขึ้นใหม่ทางด้านบูรพาแห่ง

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 245

พระนคร แล้วทรงจําเริญพระเกศาและมัสสุ ทรงนุ่งหนังเสือทั้งเล็บ ทรงทาพระกายด้วยเนยใสและน้ำมันงา ทรงเกาพระปฤษฎางค์ด้วยเขามฤค เข้าไปยังโรงที่บูชายัญใหม่ พร้อมด้วยพระมเหสีและพราหมณ์ปุโรหิต บรรทมบนพื้นดินอันมิได้ลาดด้วยเครื่องลาด ทาด้วยโคมัยสด น้ำนมในเต้าที่หนึ่ง แห่งโคแม่ลูกอ่อนตัวเดียวมีเท่าใด พระราชาทรงเยียวยาอัตภาพด้วยน้ำนมเท่านั้น น้ำนมในเต้าที่ ๒ มีเท่าใดพระมเหสีทรงเยียวยาอัตภาพด้วยน้ำนมเท่านั้น น้ำนมในเต้าที่ ๓ มีเท่าใดพราหมณ์ปุโรหิตย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยน้ำนมเท่านั้น น้ำนมในเต้าที่ ๔ มีเท่าใดก็บูชาไฟด้วยน้ำนมเท่านั้น ลูกโคเยียวยาอัตภาพด้วยน้ำนมที่เหลือ. พระราชาหรือพราหมณ์นั้นตรัสอย่างนี้ว่า เพื่อต้องการบูชายัญ จงฆ่าโคผู้ประมาณเท่านี้ จงฆ่าโคเมียประมาณเท่านี้ ลูกโคผู้ประมาณเท่านี้ ลูกโคเมียประมาณเท่านี้ แพะประมาณเท่านี้ แกะประมาณเท่านี้ ม้าประมาณเท่านี้ จงตัดต้นไม้ประมาณเท่านี้ เพื่อต้องการทําเป็นเสายัญ จงเกี่ยวหญ้าประมาณเท่านี้ เพื่อต้องการลาดพื้น ชนเหล่าใดที่เป็นทาสก็ดี เป็นคนใช้ก็ดี เป็นกรรมกรก็ดี ของพระราชาหรือพราหมณ์นั้น ชนเหล่านั้นถูกอาชญาคุกคาม ถูกภัยคุกคาม มีน้ำตานองหน้า ร้องไห้ทําการงานตามกําหนด.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ทําตนให้เดือดร้อน และประกอบการขวนขวายในการทําตนให้เดือดร้อน ทําผู้อื่นให้เดือดร้อนและประกอบการขวนขวายในการทําผู้อื่นให้เดือดร้อน.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลไม่เป็นผู้ทําตนให้เดือดร้อนและไม่ประกอบการขวนขวายในการทําตนให้เดือดร้อน ไม่ทําผู้อื่นให้เดือดร้อนและไม่ประกอบการขวนขวายในการทําผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 246

ทําตนให้เดือดร้อน ไม่ทําผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบันเทียว เป็นไฉน.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ เสด็จไปดี ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จําแนกพระธรรม พระตถาคตพระองค์นั้นทรงทําโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์แล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง.

คฤหบดี บุตรคฤหบดีหรือผู้เกิดเฉพาะในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้ว ได้ศรัทธาในพระตถาคต เมื่อได้ศรัทธาแล้ว ย่อมเห็นตระหนักว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทําได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต.

เขาบวชอย่างนี้แล้ว ถึงพร้อมด้วยสิกขาและอาชีพเสมอด้วยภิกษุทั้งหลาย

๑. ละการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศัสตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่.

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 247

๒. ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่.

๓. ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน.

๔. ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คําจริง ดํารงคําสัตย์ มีถ้อยคําเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก.

๕. ละคําส่อเสียด เว้นขาดจากคําส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมพร้อมกัน กล่าวแต่คําที่ทําให้คนพร้อมเพรียงกัน.

๖. ละคําหยาบ เว้นขาดจากคําหยาบ กล่าวแต่คําที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ.

๗. ละคําเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคําเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คําที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คําที่มีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กําหนด ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาลอันควร.

๘. เธอเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม.

๙. เธอฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล.

๑๐. เธอเว้นขาดจากการฟ้อนรํา ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล.

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 248

๑๑. เธอเว้นขาดจากการทัดทรง ประดับและตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอมและเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว.

๑๒. เธอเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่.

๑๓. เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน.

๑๔. เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ.

๑๕. เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.

๑๖. เธอเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี.

๑๗. เธอเว้นขาดจากการรับทาสีและทาส.

๑๘. เธอเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ.

๑๙. เธอเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร.

๒๐. เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.

๒๑. เธอเว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน.

๒๒. เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการับใช้.

๒๓. เธอเว้นขาดจากการซื้อและการขาย.

๒๔. เธอเว้นขาดจากการฉ้อโกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอมและการโกงด้วยเครื่องตวงวัด.

๒๕. เธอเว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง.

๒๖. เธอเว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจํา การตีชิง การปล้นและกรรโชก.

เธอเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง นกมีปีกจะบินไปทางทิศาภาคใดๆ ก็มีแต่ปีกของตัวเป็นภาระบินไปฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 249

เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง.

ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสํารวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สํารวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงํานั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสํารวมในจักขุนทรีย์ เธอฟังเสียงด้วยโสตะ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ... ลิ้มรสด้วยชิวหา... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสํารวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สํารวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงํานั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสํารวมในมนินทรีย์ ภิกษุประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน.

ภิกษุนั้นย่อมทําความรู้สึกตัว ในการก้าวไป ในการถอยกลับ ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทําความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง.

ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรีย์สังวร สติและสัมปชัญญะ อันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขาซอกเขา ถ้า ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ในกาลภายหลังภัต เธอกลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดํารงสติไว้เฉพาะหน้า เธอละ

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 250

ความเพ่งเล็งโนโลก มีใจปราศจากความเพ่งเล็งอยู่ ย่อมชําระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็ง ละความประทุษร้าย คือ พยาบาท ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชําระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้าย คือ พยาบาทได้ ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกําหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชําระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทัธจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชําระจิตให้บริสุทธิ์จากอุธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความเคลือบแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชําระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา.

ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งใจ อันทําปัญญาให้ทุรพลได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.

ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 251

สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกําหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกําหนดอายุเพียงนั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ไม่มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.

ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กําลังจุติ กําลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทําด้วยอํานาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทําด้วยอํานาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้กําลังจุติ กําลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 252

บริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้.

ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทํา ทําเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลนี้ เรากล่าวว่า เป็นผู้ไม่ทําตนให้เดือดร้อน ไม่ประกอบการขวนขวายในการทําตนให้เดือดร้อน ไม่ทําผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่ประกอบการขวนขวายในการทําผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่ทําตนให้เดือดร้อน ไม่ทําผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบันเทียว.

พราหมณ์และคฤหบดีแสดงตนเป็นอุบาสก

[๑๒๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายชาวบ้านศาลาได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ํา เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด พระโคดม

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 253

ผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายนี้ ขอถึงท่านพระโคดม พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจําข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้แล.

จบอปัณณกสูตรที่ ๑๐

จบคหปติวรรคที่ ๑

๑๐. อรรถกถาอปัณณกสูตร

อปัณณกสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จาริกํ คือ จาริกไป ไม่รีบด่วน.

เหตุไรท่านจึงกล่าวว่า อตฺถิ ปน โว คหปตโย.

ดังได้สดับมา บ้านนั้นตั้งอยู่ใกล้ปากดง เหล่าสมณพราหมณ์ประเภทต่างๆ เดินทางมาตลอดวัน ย่อมเข้าไปหมู่บ้านนั้น เพื่อพักอาศัยในเวลาเย็นบ้าง เช้าบ้าง ชาวบ้านทั้งหลายก็ลาดเตียง ตั่ง ถวายสมณพราหมณ์เหล่านั้น ล้างเท้า ทาเท้า ถวายน้ำดื่มอันสมควร. วันรุ่งขึ้น ก็นิมนต์ถวายทาน.

สมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็มีจิตผ่องใส สนทนากับชาวบ้านเหล่านั้น พูดอย่างนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย ทรรศนะไรๆ ที่ท่านทั้งหลายยึดถือไว้ มีอยู่หรือ?

ชาวบ้านก็ตอบว่า ไม่มีหรอก ท่านเจ้าข้า.

สมณพราหมณ์ก็พูดว่า ท่านคฤหบดีทั้งหลาย เว้นทรรศนะเสีย โลกก็ดําเนินไปไม่ได้ พวกท่านชอบใจทรรศนะอย่างหนึ่ง เห็นสมควรรับไว้ ก็ควร. พวกท่านจงถือทรรศนะอย่างหนึ่งว่า โลกเที่ยง ดังนี้ก็พากันหลีกไป.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 254

วันต่อๆ มา สมณพราหมณ์เหล่าอื่นก็มา แล้วก็ถามเหมือนอย่างนั้นนั่นแล. ชาวบ้านเหล่านั้น ก็ตอบสมณพราหมณ์นั้นว่า ขอรับ เจ้าข้า แล้วก็บอกว่า วันก่อนๆ เหล่าสมณพราหมณ์เช่นเดียวกับพวกท่าน มาบอกให้พวกเราถือทรรศนะว่า โลกเที่ยง ดังนี้ก็ไป. สมณพราหมณ์เหล่านั้นก็ว่า พวกนั้นมันโง่ จะรู้อะไร โลกนี้ขาดสูญต่างหาก พวกท่านจงถือทรรศนะว่า ขาดสูญ ให้ชาวบ้านแม้เหล่านั้นถือทรรศนะว่า ขาดสูญ อย่างนี้ แล้วก็หลีกไป.

โดยทํานองนี้ สมณพราหมณ์ทั้งหลายก็ให้ถือทิฏฐิ ๖๒ อย่างนี้ คือ พวกหนึ่งให้ถือทิฏฐิว่า โลกเที่ยงบางอย่าง พวกหนึ่งให้ถือทิฏฐิว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด พวกหนึ่งให้ถือทิฏฐิดิ้นได้ ไม่ตายตัว. แต่ว่าชาวบ้านเหล่านั้น ไม่อาจตั้งอยู่ในทิฏฐิแม้สักอย่างเดียวได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไปภายหลังสมณพราหมณ์ทั้งหมด. ตรัสถาม เพื่อประโยชน์ของชาวบ้านเหล่านั้น จึงตรัสว่า อตฺถิ ปน โข คหปตโย เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาการวตี แปลว่า มีการณ์ มีเหตุ.

บทว่า อปณฺณโก แปลว่า ไม่ผิด ไม่ถึงทางสองแพร่ง ยึดถือได้โดยส่วนเดียว.

มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดอันมีวัตถุ ๑๐ มีว่า นตฺถิ ทินฺนํ คือ ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผลดังนี้เป็นต้น ท่านกล่าวไว้พิศดารแล้วในสาเลยยกสูตร ในหนหลัง สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบที่เป็นข้าศึกต่อความเห็นผิดนั้น ก็เหมือนกัน.

บทว่า เนกฺขมฺเม อานิสํสํ ความว่า อานิสงส์อันใด ในความที่คนเหล่านั้นออกจากอกุศล และฝ่ายธรรมขาว ฝ่ายธรรมบริสุทธิ์อันใด คนเหล่านั้น ย่อมไม่เห็นอานิสงส์และธรรมฝ่ายขาวอันนั้น.

บทว่า อสทฺธมฺมปฺตฺติ (๑) แปลว่า การบัญญัติธรรมอันไม่จริง.

บทว่า อตฺตานํ อุกฺกํเสติ ความว่า ยกตนว่าเว้นเราเสีย คนอื่นใครเล่า ยังจะสามารถนําให้คนอื่นๆ ยึดถือทรรศนะของ


(๑) บาลีข้อ ๑๐๖. ว่า อสทฺธมฺมสฺตฺติ

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 255

ตนได้.

บทว่า ปรํ วมฺเภติ ความว่า เขี่ยคนอื่นไว้เบื้องหลังอย่างนี้ว่า ในชนทั้งหลายจํานวนถึงเท่านี้ แม้สักคนหนึ่ง ก็ไม่สามารถทําคนอื่นๆ ให้ยึดถือทรรศนะของตนได้.

คําว่า ปุพฺเพว โข ปน ความว่า เมื่อคนยึดถือความเห็นมาก่อนนั่นแล ก็เป็นอันละความเป็นผู้มีศีลอันดีเสีย ปรากฏชัดแต่ความเป็นผู้ทุศีล.

คําว่า เอวมสฺสิเม (๑) ความว่า ธรรม ๗ อย่าง มีมิจฉาทิฏฐิเป็นต้นเหล่านี้ ย่อมมีแก่เขาอย่างนี้. แต่ธรรมฝ่ายบาปอกุศลเป็นอเนก ที่มีมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่าเกิดขึ้นด้วยอํานาจการเกิดขึ้นแล้วๆ เล่าๆ.

บทว่า ตตฺร แปลว่า นั้น คือ ในลัทธิทั้งหลายของสมณพราหมณ์เหล่านั้น.

บทว่า กลิคฺคาโห แปลว่า ถือเอาความพ่ายแพ้.

บทว่า ทุสฺสมตฺโต ทุสฺสมาทินฺโน แปลว่า ถือเอาชั่ว ถือเอาผิด.

บทว่า เอกํสํ ผริตฺวา ติฏติ ความว่า แผ่ขยายวาทะของตนนั่นแลไปข้างหนึ่ง ส่วนหนึ่งตั้งอยู่. ถ้าเมื่อถืออย่างนี้ว่า โลกอื่นไม่มี ก็จะนํามาซึ่งสวัสดิภาพ.

บทว่า ริฺฉติ (๒) แปลว่า ย่อมละ.

สทฺธมฺมปฺตฺติ ความว่า บัญญัติธรรมที่เป็นจริง.

กฏคฺคาโห ความว่า ความมีชัย.

บทว่า สุสมตฺโต สุมาทินฺโน แปลว่า ถือเอาดี จับต้องดี.

บทว่า อุภยํ สํผริตฺวา ติฏติ ความว่า แผ่ขยายวาทะของตนและวาทะของผู้อื่นไปสองข้าง สองส่วนตั้งอยู่. ถ้าเมื่อถืออยู่อย่างนี้ว่า โลกอื่นไม่มี ก็จะนํามาซึ่งสวัสดิภาพเทียว พึงทราบความในปัญหาส่วนเดียวและสองส่วน แม้ของฝ่ายอื่นก็โดยนัยนี้.

บทว่า กโรโต คือ กระทําด้วยมือของตน.

บทว่า การยโต คือ ใช้ให้คนอื่นกระทํา.

บทว่า ฉินฺทโต คือ ตัดมือเป็นต้นของคนอื่นๆ.

บทว่า ปจโต คือ เบียดเบียนหรือคุกคามเขาด้วยของร้อน (ไฟ).

บทว่า โสจยโต คือ กระทําเองก็ดีใช้ให้ผู้อื่นกระทําก็ดี ซึ่งความ


(๑) บาลีว่า สจฺจวชฺเชน.

(๒) บางแห่งเป็น ริฺจติ.

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 256

โศกเศร้าแก่คนอื่นด้วยการลักทรัพย์เป็นต้น.

บทว่า กิลมยโต คือ ลําบากเองก็ดี ทําให้คนอื่นลําบากก็ดี ด้วยการตัดอาหาร และกักขังในเรือนจําเป็นต้น.

บทว่า ผนฺทโต ผนฺทาปยโต คือ ดิ้นรนเองก็ดี ทําผู้อื่นให้ดิ้นรนก็ดี ในเวลามัดคนอื่นซึ่งกําลังดิ้นรน.

บทว่า ปาณมติปาตยโต คือ ฆ่าเองก็ดี ใช้ผู้อื่นฆ่าก็ดี ซึ่งสัตว์มีชีวิต.

พึงทราบความในที่ทุกแห่ง โดยการทําเองและใช้ให้คนอื่นทํา โดยนัยที่กล่าวมานี้.

บทว่า สนฺธิํ คือ ตัดช่อง (ย่องเบา).

นิลโลปํ คือ ปล้นสดมภ์.

บทว่า เอกาคาริกํ คือ ล้อมเรือนหลังเดียวเท่านั้น ปล้น.

บทว่า ปริปนฺเถ ติฏโต คือ ยืนดักที่หนทางเพื่อชิงทรัพย์ของคนเดินทาง.

บทว่า กโรโต น กริยติ ปาปํ ความว่า บาปของคนที่แม้กระทําด้วยเข้าใจว่า เราทําบาปอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่าไม่กระทําบาปไม่มี ก็สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้าใจอย่างนี้ว่า เรากระทํา.

บทว่า ขุรปริยนฺเตน คือ ปลายคม.

บทว่า เอกํ มํสขลํ คือ กองเนื้อกองหนึ่ง.

บทว่า ปุฺชํ เป็นไวพจน์ของคําว่า เอกํ มํสขลํ นั้นแล.

บทว่า ตโตนิทานํ แปลว่า มีเหตุจากการกระทําให้เป็นกองเนื้อกองหนึ่งนั้น.

เหล่าคนทางฝังใต้เป็นพวกกักขละ ทารุณ ท่านหมายเอาคนเหล่านั้น จึงกล่าวว่า หนนฺโต เป็นต้น.

เหล่าคนทางฝังเหนือ มีศรัทธา เลื่อมใสนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของเรา พระธรรมว่าเป็นของเรา พระสงฆ์ว่าเป็นของเรา ท่านหมายเอาคนเหล่านั้น จึงกล่าวว่า ททนฺโต เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยชนฺโต คือ กระทําการบูชาใหญ่.

บทว่า ทเมน คือด้วยการฝึกอินทรีย์ คือ อุโบสถกรรม.

บทว่า สํยเมน คือ ด้วยการสํารวมในศีล.

บทว่า สจฺจวาเจน คือ ด้วยกล่าวคําสัตย์.

การมา อธิบายว่า ความเป็นไปชื่อว่า อาคม.

สมณพราหมณ์บางพวกปฏิเสธการทําบาปและ

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 257

บุญทั้งหลาย แม้โดยประการทั้งปวง. แม้ในฝ่ายธรรมขาว (ฝ่ายดี) ก็พึงทราบความโดยนัยที่กล่าวแล้ว.

คําที่เหลือในฝ่ายดีนั้น ก็เหมือนคําที่กล่าวมาแล้วในวาระก่อน.

ในคําว่า นตฺถิ เหตุ นตฺถี ปจฺจโย นี้ ปัจจัยเป็นคําไวพจน์ของเหตุ. สมณพราหมณ์บางพวกย่อมปฏิเสธปัจจัยแห่งความเศร้าหมอง มีกายทุจริตเป็นต้น ปัจจัยแห่งความหมดจดมีกายสุจริตเป็นต้น ที่มีอยู่ แม้ด้วยเหตุและปัจจัยทั้งสอง.

บทว่า นตฺถิ พลํ นตฺถิ วิริยํ นตฺถิ ปุริสตฺถาโม นตฺถิ ปุริสปรกฺกโม ความว่า กําลังก็ดี ความเพียรก็ดี เรี่ยวแรงของบุรุษก็ดี ความบากบั่นของบุรุษก็ดี ชื่อว่า อันบุรุษพึงทํา เพื่อความเศร้าหมองหรือเพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มี.

สมณพราหมณ์บางพวกแสดงถึงสัตว์ทั้งหลายมีอูฐ โค และแพะเป็นต้นไม่ให้เหลือ ด้วยคําว่า สพฺเพ สตฺตา.

กล่าวโดยอํานาจคําเป็นต้นว่า สัตว์มีชีวิตอินทรีย์เดียว สัตว์มีชีวิตสองอินทรีย์ ด้วยคําว่า สพฺเพ ปาณา กล่าวหมายถึงสัตว์มีปาณะทั้งสิ้น.

สมณพราหมณ์บางพวก กล่าวหมายถึงสัตว์ผู้แสวงหาภพเกิด ในฟองไข่และในมดลูกด้วยคําว่า สพฺเพ ภูตา.

กล่าวหมายถึงธัญชาติมีข้าวสาลี ข้าวเหนียว ข้าวละมานเป็นต้น ด้วยคําว่า สพฺเพ ชีวา. ด้วยว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีความเข้าใจว่า ในธัญชาติเหล่านั้น มีชีวะ เพราะงอกได้.

คําว่า อวสา อพลา อวิริยา ความว่า เหล่านั้นไม่มีอํานาจ กําลัง หรือความเพียรเป็นของตน.

ในคําว่า นิยติสงฺคติภาวปริณตา นี้ การประสพเคราะห์กรรม ชื่อว่า นิยติ ความไปในที่นั้นๆ แห่งอภิชาติทั้ง ๖ ชื่อว่า สงฺคติ ความชุมนุมกัน.

สภาพนั้นชื่อว่า ภาว สมณพราหมณ์บางพวกแสดงว่าสัตว์ทั้งปวง แปรปรวนไป คือ ถึงความเป็นประการต่างๆ ก็เพราะการประสพเคราะห์กรรม เพราะความชุมนุมกันและเพราะสภาวะด้วยประการฉะนี้. สมณพราหมณ์บางพวก ย่อมแสดงว่าสภาวะใด

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 258

พึงอย่างใด สภาวะนั้นก็ย่อมมีอย่างนั้น. สภาวะใดไม่มี สภาวะนั้น ก็ไม่มีด้วย.

คําว่า ฉเสฺววาภิชาตีสุ ความว่า สมณพราหมณ์บางพวกแสดงว่า สัตว์ทั้งปวงตั้งอยู่ในอภิชาติ ๖ เท่านั้น จึงเสวยสุขและทุกข์ได้ ภูมิแห่งสุขและทุกข์อื่นไม่มี.

ในคําว่า ฉเสฺววาภิชาตีสุ นั้น ชื่อว่า อภิชาติ ๖ คือ กัณหาภิชาติ (อภิชาติดํา) นีลาภิชาติ (อภิชาติเขียว) โลหิตาภิชาติ (อภิชาติแดง) หลิททาภิชาติ (อภิชาติเหลือง) สุกกาภิชาติ (อภิชาติขาว) ปรมสุกกาภิชาติ (อภิชาติขาวอย่างยิ่ง).

บรรดาอภิชาติ ๖ นั้น คนฆ่านก คนฆ่าหมู พราน คนฆ่าปลา โจร คนฆ่าโจร ก็หรือว่า คนที่มีงานหยาบช้าบางพวกแม้เหล่าอื่น นี้ชื่อว่า กัณหาภิชาติ.

สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวว่า พวกภิกษุชื่อว่า นีลาภิชาติ.

สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีลัทธิอย่างนี้ว่า เขาว่าภิกษุเหล่านั้นใส่หนามลงในปัจจัย ๔ กิน ภิกษุจึงชื่อว่า ประพฤติกัณฏกวัตร.

อีกนัยหนึ่ง สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวว่า บรรพชิตพวกหนึ่งชื่อว่า ประพฤติกัณฏกวัตรนั่นเทียว.

จริงอยู่ แม้คําว่า สมณะ ผู้ประพฤติกัณฏกวัตร ก็เป็นลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น.

สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวว่า พวกนิครนถ์ผู้ชอบเพ้อลัทธิของตนฝ่ายเดียวชื่อว่า โลหิตาภิชาต.

เขาว่า นิครนถ์เหล่านั้นยังขาวกว่าสองพวกก่อน.

สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวว่า คฤหัสถ์สาวกของชีเปลือย ชื่อว่า หลิททาภิชาติ ดังนั้น สาวกของชีเปลือยจึงตั้งคนที่ให้ปัจจัยแก่ตนเป็นใหญ่แม้กว่านิครนถ์ทั้งหลาย.

สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวว่า นันทะ วัจฉะ สังกิจจะ นี้ชื่อว่า สุกกาภิชาติ. เขาว่าคนเหล่านั้น ยังขาวกว่าสี่พวกก่อน.

สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวว่า ส่วนอาชีวก ชื่อว่า ปรมสุกกาภิชาติ. เขาว่า อาชีวกเหล่านั้น ขาวกว่าทุกพวก.

สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีลัทธิอย่างนี้ว่า บรรดาอภิชาติ ๖ นั้น สัตว์ทั้งปวง มีคนฆ่านกเป็นต้นก่อน. พวกสมณศากยบุตรยังบริสุทธิ์

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 259

กว่าคนฆ่านกเป็นต้นนั้น พวกนิครนถ์ยังบริสุทธิ์กว่า พวกสมณศากยบุตรนั้น. สาวกของอาชีวกยังบริสุทธิ์กว่าพวกนิครนถ์นั้น. นันทะเป็นต้น ยังบริสุทธิ์กว่าพวกสาวกของอาชีวก อาชีวกยังบริสุทธิ์กว่านันทะเป็นต้นนั้น.

พึงทราบฝ่ายขาว โดยนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว.

คําที่เหล่าแม้ในที่นี้ก็เช่นเดียวกับที่กล่าวไว้แล้วในวาระก่อน.

ก็บรรดาทิฏฐิทั้ง ๓ นี้ นัตถิกทิฏฐิ ห้ามวิบาก อกิริยทิฏฐิ ห้ามกรรม อเหตุกทิฏฐิ ห้ามแม้ทั้งสอง (คือ ทั้งกรรมและวิบาก) ในกรรมและบากทั้งสองนั้น วาทะที่แม้ห้ามกรรม ก็เป็นอันห้ามวิบากด้วย วาทะที่แม้ห้ามวิบาก ก็เป็นอันห้ามกรรมด้วย ดังนั้น โดยอรรถ วาทะเหล่านั้น แม้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะและนัตถิกวาทะ ย่อมห้ามกรรมและวิบากทั้งสอง.

ก็คนเหล่าใดถือลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น นั่งท่องพิจารณาในที่พักกลางคืนและกลางวัน มิจฉาสติของคนเหล่านั้นย่อมตั้งมั่นในอารมณ์นั้นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล บาปของคนที่ทําแล้วไม่เป็นอันทํา เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี จิตก็มีอารมณ์อันเดียว ชวนะทั้งหลายก็แล่นไป. ในชวนะที่หนึ่ง ยังพอแก้ไขได้. ในชวนะที่สองเป็นต้นก็เหมือนกัน. ในชวนะที่เจ็ด แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็แก้ไขไม่ได้ เป็นผู้ไม่หวนกลับเช่นเดียวกับอริฏฐะและกัณฏกภิกษุ.

ในชวนะเหล่านั้นบางคนก็หยั่งลงทรรศนะเดียวบ้าง บางคนสองทรรศนะบ้าง บางคนสามทรรศนะบ้าง เมื่อเขาหยั่งลงทรรศนะหนึ่งสองสามทรรศนะก็เป็นอันหยั่งลงแล้ว เขาก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ ชนิดดิ่งทีเดียว ห้ามทางสวรรค์ ทางพระนิพพาน ไม่ควรไปสวรรค์ ในอันดับแห่งอัตภาพนั้น จะป่วยกล่าวไปไยถึงพระนิพพาน. สัตว์นี้เป็นผู้เฝ้าแผ่นดิน ชื่อว่า เป็นตอแห่งวัฏฏะ.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 260

ถามว่า ก็มิจฉาทิฏฐิสัตว์นี้ ดิ่งอยู่ในอัตภาพเดียวเท่านั้น หรือในอัตภาพอื่นด้วย.

ตอบว่า ดิ่งอยู่ในอัตภาพเดียวเท่านั้น. แต่ถ้าเขายังชอบใจทิฏฐินั้นๆ อยู่ในระหว่างภพด้วยอํานาจการเสพบ่อยๆ คนเช่นนั้น โดยมากก็ออกไปจากภพไม่ได้.

ตสฺมา อกลฺยาณชนํ อาสีวิสมิโวรคํ อารกา ปริวชฺเชยฺย ภูติกาโม วิจกฺขโณ

เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ ต้องการความเจริญ พึงงดเว้นคนไม่ดี ที่เป็นดังงูพิษ เสียให้ห่างไกล.

บทว่า นตฺถิ สพฺพโส อารุปฺปา ความว่า ชื่อว่า ฝ่ายอรูปพรหมโลกย่อมไม่มีโดยอาการทั้งปวง.

บทว่า มโนมยา คือ สําเร็จด้วยจิตอันประกอบด้วยฌาน.

บทว่า สฺามยา คือ สําเร็จด้วยสัญญาโดยสัญญาในอรูปฌาน.

บทว่า รูปานํเยว นิพฺพิทาย วิราคาย นิโรธาย ปฏิปนฺโน โหติ ความว่า ผู้นี้เป็นผู้ได้ก็มี เป็นผู้ตรึกก็มี.

ผู้ได้รูปาวจรฌาน ชื่อว่า ผู้ได้. ผู้ได้รูปาวจรฌานนั้น ไม่มีความสงสัยในรูปาวจรฌาน ยังมีความสงสัยในโลกฝ่ายอรูปาวจรอยู่.

ผู้ได้ฌานนั้น ย่อมปฏิบัติอย่างนั้น ด้วยเข้าใจว่า เราฟังผู้กล่าวว่า อรูปพรหมทั้งหลายมีอยู่ก็มี ผู้กล่าวว่า ไม่มีก็มี แต่เราไม่รู้ว่ามี หรือ ไม่มี เราจักทําจตุตถฌานให้เป็นปทัฏฐานแล้ว ทําอรูปาวจรฌานให้เกิด ถ้าอรูปพรหมทั้งหลายมีอยู่ เราจักบังเกิดในอรูปพรหมนั้น ถ้าไม่มี เราก็จักบังเกิดในโลกฝ่ายรูปาวจรพรหม ธรรมอันไม่ผิดของเรา จักเป็นธรรมไม่ผิด ไม่พลาด ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้.

ส่วนผู้ตรึกผู้ไม่ได้ฌาน แม้เขาจะไม่มีความสงสัยในรูปฌาน แต่ก็ยังมีความสงสัยในโลกฝ่ายอรูปพรหม. ผู้ตรึกนั้น ย่อมปฏิบัติอย่างนั้น ด้วยเข้าใจว่า

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 261

เราฟังผู้กล่าวอรูปพรหมทั้งหลายว่าไม่มีก็มี ผู้กล่าวว่า มีก็มี แต่เราไม่รู้ว่า มีหรือไม่มี เราจักทําบริกรรมในกสิณ ยังจตุตถฌานให้เกิดแล้ว ทําจตุตถฌานนั้นให้เป็นปทัฏฐาน จักยังอรูปาวจรฌานให้เกิด ถ้าอรูปพรหมทั้งหลายมีอยู่ เราก็จักบังเกิดในอรูปพรหมนั้น ถ้าไม่มี เราก็จักบังเกิดในโลกฝ่ายรูปาวจรพรหม.

ธรรมอันไม่ผิด จักเป็นธรรมไม่ผิด ไม่พลาดด้วยการปฏิบัติอย่างนี้นี่แหละ.

บทว่า ภวนิโรโธ คือ พระนิพพาน.

บทว่า สราคาย สนฺติเก คือ ใกล้ความยินดีในวัฏฏะ ด้วยอํานาจความกําหนัด.

บทว่า สํโยคาย คือ ใกล้ความประกอบตนไว้ ด้วยตัณหาความทะยานอยาก.

บทว่า อภินนฺทนาย คือ ใกล้ความเพลิดเพลินด้วยอํานาจตัณหาและทิฏฐิ.

บทว่า ปฏิปนฺโน โหติ ความว่า แม้ผู้นี้ เป็นผู้ได้ก็มี เป็นผู้ตรึกก็มี.

ผู้ได้สมาบัติ ๘ ชื่อว่า ผู้ได้. ผู้ได้สมาบัติ ๘ นั้น ไม่มีความสงสัยในอรูปพรหม ยังมีความสงสัยในพระนิพพาน. เขาปฏิบัติอย่างนี้ด้วยเข้าใจว่า เราฟังเขาพูดว่านิโรธมีก็มี ไม่มีก็มี เราไม่รู้เอง เราจักทําสมาบัติให้เป็นบาทแล้วเจริญวิปัสสนา ถ้านิโรธจักมีไซร้ เราก็จักบรรลุพระอรหัตปรินิพพาน ถ้าไม่มี เราก็จักบังเกิดในอรูปพรหม.

ส่วนผู้ตรึกไม่ได้แม้แต่สมาบัติสักอย่างหนึ่ง. แต่เขาก็ไม่มีความสงสัยในอรูปพรหม ยังมีความสงสัยในภวนิโรธ (พระนิพพาน) อยู่. เขาปฏิบัติอย่างนี้ ด้วยเข้าใจว่า เราฟังเขาพูดว่า นิโรธมีก็มี ไม่มีก็มี เราไม่รู้เอง เราจักกระทําบริกรรมในกสิณ แล้วทําสมาบัติ ๘ ให้เกิด เจริญวิปัสสนา มีสมาบัติเป็นปทัฏฐาน ถ้านิโรธจักมีไซร้ เราจักบรรลุพระอรหัตปรินิพพาน ถ้าไม่มี เราก็จักบังเกิดในอรูปพรหม.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ในพระสูตรนั้น คําว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ดังนี้เป็นต้นเป็นคําไม่ผิด ก็แล้วไปเถิด ส่วนคําว่า ทานที่ให้

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 262

แล้วไม่มีผล ดังนี้เป็นต้น ไม่ผิด ด้วยอย่างไรเล่า.

ตอบว่า ด้วยอํานาจความยึดถือกัน.

จริงอยู่ คําเหล่านั้น ที่เกิดเชื่อว่า ไม่ผิด ก็เพราะเขายึดถือไว้อย่างนี้ว่า ไม่ผิด ไม่ผิด.

ศัพท์ว่า จตฺตาโรเม นี้ แยกกันคนละส่วน แต่ข้อความเชื่อมโยงกัน.

บุคคล ๕ จําพวกเหล่านี้คือ นัตถิกวาทะ อกิริยวาทะ อเหตุกวาทะ และ ๒ จําพวกที่มีวาทะอย่างนี้ว่า อรูปพรหมไม่มี นิโรธไม่มี บุคคล ๓ จําพวกหลังเท่านั้นมีอยู่ บุคคล ๕ จําพวกมีอัตถิกวาทะเป็นต้น บุคคลจําพวกที่ ๔ จําพวกเดียวเท่านั้น.

เพื่อจะทรงแสดงความข้อนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มเทศนานี้.

โดยอรรถ คําทั้งหมด ในวาทะนั้นตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอปัณณกสูตรที่ ๑๐

จบคหปติวรรคที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กันทรกสูตร

๒. อัฏฐกนาครสูตร

๓. เสขปฏิปทาสูตร

๔. โปตลิยสูตร

๕. ชีวกสูตร

๖. อุปาลิวาทสูตร

๗. กุกกุโรวาทสูตร

๘. อภยราชกุมารสูตร

๙. พหุเวทนิยสูตร

๑๐. อปัณณกสูตร