พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. มหามาลุงกยโอวาทสูตร โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36069
อ่าน  665

[เล่มที่ 20] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 308

๔. มหามาลุงกยโอวาทสูตร

โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 20]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 308

๔. มหามาลุงกยโอวาทสูตร

โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

[๑๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้พระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับพระดํารัสพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังจําโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่เราแสดงแล้วได้หรือไม่. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระมาลุงกยบุตรได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจําได้ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว.

ดูก่อนมาลุงกยบุตร ก็เธอจําโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่เราแสดงแล้วว่าอย่างไร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจําได้ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจําได้ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วอย่างนี้.

[๑๕๔] ดูก่อนมาลุงกยบุตร เธอจําโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เหล่านี้ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้แก่ใครหนอ ดูก่อนมาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์จักโต้เถียง ด้วยคําโต้เถียงอันเปรียบด้วยเด็กนี้ได้ มิใช่หรือว่า แม้แต่ความคิดว่า กายของตน ดังนี้ ย่อมมีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 309

สักกายทิฏฐิจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน. ส่วนสักกายทิฏฐิอันเป็นอนุสัยเท่านั้นย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น.

แม้แต่ความคิดว่า ธรรมทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็ความสงสัยในธรรมทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน. ส่วนวิจิกิจฉาอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น.

แม้แต่ความคิดว่า ศีลทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ สีลัพพตปรามาสในศีลทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน. ส่วนสีลัพพัตตปรามาสอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น.

แม้แต่ความคิดว่า กามทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็กามฉันทะในกามทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นที่ไหน ส่วนกามราคะอันเป็นอนุสัยเท่านั้นย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น.

แม้แต่ความคิดว่า สัตว์ทั้งหลายดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็ความพยาบาทในสัตว์ทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นที่ไหน. ส่วนพยาบาทอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น.

ดูก่อนมาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์จักโต้เถียง ด้วยคําโต้เถียงอันเปรียบด้วยเด็กอ่อนนี้ได้มิใช่หรือ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เวลานี้เป็นกาลสมควร ข้าแต่พระสุคต เวลานี้เป็นกาลสมควรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงแสดงโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักทรงจําไว้.

ดูก่อนอานนท์ ถ้ากระนั้น เธอจงฟัง จงมนสิการให้ดี เราจักกล่าว. ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 310

อุบายเครื่องละสังโยชน์

[๑๕๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนําในธรรมของพระอริยะ ไม่เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนําในธรรมของสัตบุรุษ มีจิตอันสักกายทิฏฐิกลุ้มรุมแล้ว อันสักกายทิฏฐิครอบงําแล้วอยู่ และเมื่อสักกายทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง สักกายทิฏฐินั้นก็เป็นของมีกําลังอันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าโอรัมภาคิยสังโยชน์.

ปุถุชนนั้นมีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุมแล้ว อันวิจิกิจฉาครอบงําแล้วอยู่ และเมื่อวิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง วิจิกิจฉานั้นก็เป็นของมีกําลังอันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์.

ปุถุชนนั้นมีจิตอันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมแล้ว อันสีลัพพตปรามาสครอบงําแล้วอยู่ และเมื่อสีลัพพตปรามาสเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง สีลัพพตปรามาสนั้นก็เป็นของมีกําลัง อันปุถุชนบรรเทาไม่ได้แล้วชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์.

ปุถุชนนั้นมีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมแล้ว อันกามราคะครอบงํา และเมื่อกามราคะเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง กามราคะนั้นก็เป็นของมีกําลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์.

ปุถุชนนั้นมีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมแล้ว อันพยาบาทครอบงําแล้วอยู่ และเมื่อพยาบาทเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง พยาบาทนั้นก็เป็นของมีกําลังอันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 311

ดูก่อนอานนท์ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยะเป็นผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับแนะนําในธรรมของพระอริยะดีแล้ว ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับแนะนําในธรรมของสัตบุรุษดีแล้ว มีจิตอันสักกายทิฏฐิกลุ้มรุมไม่ได้ อันสักกายทิฏฐิครอบงําไม่ได้อยู่ และเมื่อสักกายทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง สักกายทิฏฐิพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

อริยสาวกนั้นมีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุมไม่ได้ อันวิจิกิจฉาครอบงําไม่ได้อยู่ และเมื่อวิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง วิจิกิจฉาพร้อมทั้งอนุสัยอันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

อริยสาวกนั้นมีจิตอันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมไม่ได้ อันสีลัพพตปรามาสย่อมครอบงําไม่ได้อยู่ และเมื่อสีลัพพตปรามาสเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามเป็นจริง สีลัพพตปรามาสพร้อมทั้งอนุสัยอันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

อริยสาวกนั้นมีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมไม่ได้ อันกามราคะครอบงําไม่ได้อยู่ และเมื่อกามราคะเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง กามราคะพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

อริยสาวกนั้นมีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมไม่ได้ อันพยาบาทครอบงําไม่ได้อยู่ และเมื่อพยาบาทเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง พยาบาทพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

มรรคปฏิปทาเครื่องละสังโยชน์

[๑๕๖] ดูก่อนอานนท์ ข้อที่ว่า บุคคลจักไม่อาศัยมรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้วจักรู้ จักเห็น หรือจักละ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนอานนท์ เปรียบเหมือน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 312

ข้อที่ว่า ไม่ถากเปลือกไม่ถากกะพี้ของต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้น มีแก่น แล้วจักถากแก่นนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด ข้อที่ว่า บุคคลจักไม่อาศัยมรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว จักรู้ จักเห็น หรือจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น ก็ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น.

ดูก่อนอานนท์ ข้อที่ว่า บุคคลอาศัยมรรคปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว จักรู้ จักเห็น และจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ นั้นได้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนอานนท์ เปรียบเหมือนข้อที่ว่าถากเปลือกถากกะพี้ของต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้น มีแก่น แล้วจึงถากแก่นนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด ข้อที่ว่า บุคคลอาศัยมรรคปฏิปทา อันเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว จักรู้ จักเห็น หรือจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น.

ดูก่อนอานนท์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา น้ำเต็มเปียมเสมอขอบฝัง กาก้มลงดื่มได้ ครั้งนั้น บุรุษผู้มีกําลังน้อย พึงมาด้วยหวังว่า เราจักว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ไปให้ถึงฝังโดยสวัสดี ดังนี้ เขาไม่อาจจะว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคา ไปให้ถึงฝังโดยสวัสดีได้ ฉันใด ดูก่อนอานนท์ จิตของบางคน ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ในธรรมที่เราแสดง เพื่อดับสักกายทิฏฐิ ย่อมไม่ตั้งมั่น ไม่หลุดพ้น ฉันนั้นเหมือนกัน บุรุษผู้มีกําลังน้อยนั้นฉันใด พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.

ดูก่อนอานนท์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา น้ำเต็มเปียมเสมอขอบฝัง กาก้มลงดื่มได้ ครั้งนั้นบุรุษมีกําลังพึงมาด้วยหวังว่า เราจักว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ ไปให้ถึงฝังโดยสวัสดี ดังนี้ เขาอาจจะว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคา ไปให้ถึงฝังโดยสวัสดีได้ ฉันใด ดูก่อนอานนท์ เมื่อธรรมอันผู้แสดงๆ อยู่แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเพื่อ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 313

ดับสักกายทิฏฐิ จิตของผู้นั้นแล่นไป เลื่อมใส มั่นคง ย่อมหลุดพ้น ฉันนั้นเหมือนกันแล บุรุษมีกําลังนั้นฉันใด พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.

รูปฌาน ๔

[๑๕๗] ดูก่อนอานนท์ มรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเพราะอุปธิวิเวก เพราะละอกุศลธรรมได้ เพราะระงับความคร้านกายได้โดยประการทั้งปวง บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่.

เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในภายในสมาบัตินั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวผี เป็นดังลูกศร เป็นความลําบาก เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของมิใช่ตัวตน เธอย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่าธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกําหนัด เป็นที่ดับสนิท เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น ย่อมบรรลุธรรม เป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมเป็นโอปปาติกะ (๑) จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความยินดี ความเพลิดเพลินในธรรมนั้น และเพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ดูก่อนอานนท์ มรรคแม้นี้แลปฏิปทาแม้นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕.


(๑) พระอนาคามี

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 314

ดูก่อนอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่.

ดูก่อนอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข.

ดูก่อนอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.

อรูปฌาน ๔

[๑๕๘] ดูก่อนอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ด้วยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง.

ดูก่อนอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุวิญญาณัญจายตนฌานด้วยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง.

ดูก่อนอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากิญจัญญายตนฌานด้วยบริกรรมว่า อะไรๆ ก็ไม่มี เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง.

[๑๕๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้ามรรคนี้ ปฏิปทานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร ภิกษุบางพวกในพระศาสนานี้ จึงเป็นเจโตวิมุตติ บางพวกเป็นปัญญาวิมุตติเล่า.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 315

ดูก่อนอานนท์ ในเรื่องนี้ เรากล่าวความต่างกันแห่งอินทรีย์ ของภิกษุเหล่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.

จบมหามาลุงกยโอวาทสูตรที่ ๔

๔. อรรถกถามหามาลุงกยโอวาทสูตร

มหามาลุงกยโอวาทสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า โอรมฺภาคิยานิ คือ สังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ํา ยังสัตว์ให้เป็นไป คือ เกิดในกามภพ.

บทว่า สํโยชนานิ คือ เครื่องผูก.

บทว่า กสฺส โข นาม แก่ใครหนอ คือ เธอจําโอรัมภาคิยสังโยชน์ที่เราแสดงแก่ใคร คือ แก่เทวดา หรือแก่มนุษย์. เธอผู้เดียวเท่านั้นได้ฟัง ใครๆ อื่นมิได้ฟังหรือ.

บทว่า อนุเสติ ย่อมนอนตาม คือ ชื่อว่าย่อมนอนตามเพราะยังละไม่ได้.

ชื่อว่า สังโยชน์ คือ การนอนตาม.

อนึ่ง ในบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงสังโยชน์. แม้พระเถระก็พยากรณ์สังโยชน์เท่านั้น. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกโทษในวาทะของใคร.

เพราะเหตุไร จึงทรงยกโทษพระเถระนั้นเล่า.

เพราะพระเถระถือลัทธิอย่างนั้น. เพราะนี้เป็นลัทธิของพระเถระนั้น. พระเถระเป็นผู้ชื่อว่าประกอบด้วยกิเลสในขณะประพฤตินั่นเอง. ไม่ประกอบในขณะนอกนี้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงยกโทษแก่พระเถระนั้น.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 316

ลําดับนั้น ท่านพระอานนท์ดําริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มพระธรรมเทศนาโดยธรรมดาของพระองค์ว่า เราจักแสดงธรรมแก่ภิกษุสงฆ์. ภิกษุแม้ไม่ฉลาดนี้กล่าวตู่พระธรรมเทศนานั้น ช่างเถิดเราจะทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วให้ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย. ท่านพระอานนท์ได้ทําอย่างนั้นแล้ว.

เพื่อแสดงความนั้น ท่านจึงกล่าวคํามีอาทิว่า เอวํ วุตฺเต อายสฺมา อานนฺโท เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ในบทเหล่านั้นบทว่า สกฺกายทิฏิปริยุฏิเตน มีจิตอันสักกายทิฏฐิกลุ้มรุมแล้ว คือ อันสักกายทิฏฐิยึดไว้ ครอบงําแล้ว.

บทว่า สกฺกายทิฏิปุเรเตน อันสักกายทิฏฐิครอบงําแล้ว คือ อันสักกายทิฏฐิตามไปแล้ว.

บทว่า นิสฺสรณํ อุบายเป็นเครื่องสลัดออก ได้แก่ นิพพานๆ ชื่อว่า อุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งทิฏฐิ. ไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกนั้น ตามความเป็นจริง.

บทว่า อปฺปฏิวินีตา คือ อันปุถุชนบรรเทาไม่ได้แล้ว นําออกไปไม่ได้แล้ว.

บทว่า โอรมฺภาคิยสํโยชนํ ได้แก่ สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องต่ํา.

แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ธรรมฝ่ายขาวมีอรรถง่ายทั้งนั้น.

อนึ่ง ในสูตรนี้เพราะบาลีว่า สานุสยา ปหียติ สักกายทิฏฐิพร้อมด้วยอนุสัย อันพระอริยบุคคลละได้แล้ว

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สังโยชน์เป็นอย่างหนึ่ง อนุสัยเป็นอย่างหนึ่ง. เหมือนเมื่อกล่าวว่า ภัตพร้อมด้วยกับ. กับข้าวเป็นอย่างอื่นจากภัตฉันใด. ลัทธิของอาจารย์เหล่านั้นว่า อนุสัยพึงเป็นอย่างอื่นจากสักกายทิฏฐิอันกลุ้มรุม เพราะบาลีว่า สานุสยา พร้อมด้วยอนุสัยก็ฉันนั้น.

อาจารย์เหล่านั้นปฏิเสธด้วยบทมีอาทิว่า สสีสํ ปารุเปตฺวา คลุมตลอดศีรษะ. เพราะคนอื่นไปจากศีรษะย่อมไม่มี.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 317

ถ้าเช่นนั้นพึงมีคําถามว่า ผิว่า สังโยชน์เป็นอย่างนั้น อนุสัยไม่เป็นอย่างนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกพระเถระ อุปมาด้วยคนหนุ่มก็เป็นการปรารมภ์ที่ไม่ดีน่ะซิ. มิใช่ยกขึ้นไม่ดี.

เพราะบทนี้ว่า เอวํ ลทฺธิกตฺตา เพราะมีลัทธิอย่างนี้ กล่าวพิสดารแล้ว.

ฉะนั้น กิเลสนั้นชื่อว่าสังโยชน์ เพราะเป็นเครื่องผูก ชื่อว่า อนุสัย เพราะละไม่ได้.

เพราะเหตุนั้นพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ สานุสยา ปหียติ สักกายทิฏฐิพร้อมด้วยอนุสัยอันพระอริยบุคคลละได้. หมายเอาความนี้.

ในบทมีอาทิว่า ตจํ เฉตฺวา ถากเปลือก บทนี้แสดงความเปรียบเทียบ. พึงเห็นว่าสมาบัติดุจการถากเปลือก. พึงเห็นวิปัสสนาดุจการถากกระพี้. พึงเห็นมรรคดุจการถากแก่น. อนึ่ง ปฏิปทาเจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระนั่นแหละจึงควร.

บทว่า เอวเมเต ทฏพฺพา คือ พึงเห็นบุคคลเห็นปานนั้น ฉันนั้น.

บทว่า อุปธิวิเวกา คือ เพราะอุปธิวิเวก.

ด้วยบทนี้ท่านกล่าวถึงความสงัดจากกามคุณ ๕.

ด้วยบทนี้ว่า อกุสลานํ ธมฺมานํ ปหานา เพราะละอกุศลธรรมได้ ท่านกล่าวถึงการละนิวรณ์.

ด้วยบทนี้ว่า กายทุฏุลฺลานํ ปฏิปสฺสทฺธิยา ท่านกล่าวถึงการระงับความคร้านกาย.

บทว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ สงัดจากกาม คือ เป็นผู้เว้นจากกามด้วยอุปธิวิเวก.

บทว่า วิวิจฺจ อกุสเลหิ สงัดจากอกุศล คือ เป็นผู้เว้นจากอกุศล ด้วยการละอกุศลธรรมและด้วยการระงับความคร้าน.

บทว่า ยเทว ตตฺถ โหติ คือ ธรรมชาติมีรูปเป็นต้น อันตั้งอยู่ในสมาบัติ ย่อมมีในภายในสมาบัตินั้นและในขณะแห่งสมาบัติ.

บทว่า เต ธมฺเม ได้แก่ ธรรมเหล่านั้นมีรูปเป็นต้น ดังกล่าวแล้วโดยนัยมีอาทิว่า รูปคตํ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 318

คือ รูป.

บทว่า อนิจฺจโต โดยความเป็นของไม่เที่ยง คือ โดยความเป็นของเที่ยงหามิได้.

บทว่า ทุกฺขโต โดยความเป็นทุกข์ คือ โดยความเป็นสุขหามิได้.

พึงทราบความในบทมีอาทิว่า โรคโต ดังต่อไปนี้ ชื่อว่า โดยความเป็นโรค เพราะอรรถว่าเจ็บป่วย.

ชื่อว่า โดยเป็นดังหัวฝี เพราะอรรถว่ามีโทษในภายใน.

ชื่อว่า โดยเป็นดังลูกศร เพราะอรรถว่าเข้าไปเสียบแทง และเพราะอรรถว่าให้เกิดทุกข์.

ชื่อว่า โดยเป็นความลําบาก เพราะอรรถว่าเป็นทุกข์.

ชื่อว่า โดยเป็นไข้ เพราะอรรถว่าเป็นโรค.

ชื่อว่า โดยเป็นอื่น เพราะอรรถว่าไม่เป็นของตน.

ชื่อว่า โดยเป็นของทรุดโทรม เพราะอรรถว่าสลายไป.

ชื่อว่า โดยเป็นของสูญ เพราะอรรถว่ามิใช่สัตว์.

ชื่อว่า โดยเป็นของมิใช่ตัวตน เพราะอรรถว่าไม่เป็นตัวตน.

ในบทเหล่านั้น ท่านกล่าวถึงอนิจจลักษณะด้วย ๒ บท คือ อนิจฺจโต ปโลกโต โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นของทรุดโทรม.

ท่านกล่าวถึงทุกขลักษณะด้วย ๖ บทมีอาทิ คือ ทุกฺขโต โดยความเป็นทุกข์.

ท่านกล่าวถึงอนัตตลักษณะด้วย ๓ บทว่า ปรโต สุฺโต อนตฺตโต โดยความเป็นอื่น โดยความเป็นของสูญ โดยความไม่เป็นตัวตน.

บทว่า โส เตหิ ธมฺเมหิ เธอย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น ความว่า เธอย่อมเปลื้องจิตจากธรรม คือ ขันธ์ ๕ ในภายในสมาบัติที่ยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์อันตนเห็นแล้วเหล่านั้นอย่างนี้.

บทว่า จิตฺตํ ปฏิปาเทติ เปลื้องจิต คือ ปล่อยจิตนําจิตออกไป.

บทว่า อุปสํหรติ น้อมจิตไป คือ น้อมจิตไปในอมตธาตุอันเป็นอสังขตะอย่างนี้ว่า วิปัสสนาจิตเป็นความดับอันสงบด้วยการฟัง การสรรเสริญการเรียน การบัญญัติ. ย่อมไม่กล่าวอย่างนี้ว่า มรรคจิตเป็นความสงบ เป็น

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 319

ความประณีตด้วยการทํานิพพานให้เป็นอารมณ์. อนึ่ง มีอธิบายว่า เมื่อแทงตลอดธรรมชาตินั้นโดยอาการนี้ ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุนั้น.

บทว่า โส ตตฺถ ิโต คือ เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนาอันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น.

บทว่า อาสวานํ ขยํ ปาปุณาติ ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย คือ เจริญมรรค ๔ โดยลําดับแล้วจึงบรรลุ.

บทว่า เตเนว ธมฺมราเคน เพราะความยินดีในธรรมนั้น คือ เพราะความพอใจยินดีในธรรมคือสมถะและวิปัสสนา.

จริงอยู่ เมื่อสามารถถือเอาความพอใจและความยินดีในสมถะและวิปัสสนาโดยประการทั้งปวง ย่อมบรรลุพระอรหัต. เมื่อไม่สามารถย่อมเป็นพระอนาคามี.

บทว่า ยเทว ตตฺถ โหติ เวทนาคตํ คือ เวทนาย่อมมีในสมาบัตินั้น ในบทนี้ท่านไม่ถือเอารูป. เพราะเหตุไร. เพราะล่วงเลยไปแล้ว.

จริงอยู่ ภิกษุนี้เข้าถึงรูปาวจรฌานในหนหลัง แล้วก้าวล่วงรูป เป็นผู้เข้าถึงอรูปาวจรสมาบัติ เพราะเหตุนั้น รูปจึงก้าวล่วงไปด้วยอํานาจสมถะ.

ครั้นพิจารณารูปในหนหลังแล้ว ก้าวล่วงรูปนั้น ในบัดนี้ย่อมพิจารณาอรูป เพราะเหตุนั้น รูปจึงก้าวล่วงไปด้วยอํานาจวิปัสสนา แต่ในอรูปย่อมไม่มีรูป แม้โดยประการทั้งปวง เพราะเหตุนั้น แม้ท่านหมายถึงอรูปนั้น ในที่นี้ก็ไม่ถือเอารูป. ไม่ถือเอาโดยชอบ.

บทว่า อถ กิฺจรหิ เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร.

พระอานนท์ทูลถามว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามว่า เพราะอะไร.

พระเถระมิได้มีความสงสัยในข้อนี้ว่า ธุระ คือ ความเป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เดียว ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไปด้วยอํานาจแห่งสมถะ ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นเจโตวิมุต ธุระ คือ ปัญญาย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไปด้วยอํานาจแห่งวิปัสสนา. ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นปัญญาวิมุต.

พระเถระทูล

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 320

ถามว่า ภิกษุนี้เป็นบุรุษควรฝึกทั้งนั้น แต่เมื่อภิกษุทั้งหลายไปด้วยอํานาจสมถะ รูปหนึ่งเป็นเจโตวิมุต. แม้เมื่อไปด้วยอํานาจแห่งวิปัสสนา รูปหนึ่งชื่อว่าเป็นปัญญาวิมุต รูปหนึ่งเป็นเจโตวิมุต. อะไรเป็นเหตุในข้อนี้.

บทว่า อินฺทฺริยเวมตฺตตํ วทามิ คือ เรากล่าวความต่างกันแห่งอินทรีย์.

ท่านอธิบายว่า ดูก่อนอานนท์ เธอบําเพ็ญบารมี ๑๐ แล้วยังไม่บรรลุพระสัพพัญุตญาณ. เพราะเหตุนั้น พระสัพพัญุตญาณนั้นจึงไม่ปรากฏแก่เธอ. แต่เราแทงตลอดแล้ว. ด้วยเหตุนั้น พระสัพพัญุตญาณนั้นจึงปรากฏแก่เรา. ความต่างแห่งอินทรีย์เป็นเหตุในข้อนี้แหละ.

เพราะเมื่อภิกษุทั้งหลายไปด้วยอํานาจแห่งสมถะธุระ คือ ความเป็นผู้มีจิตดวงเดียว จึงมีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง. ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นเจโตวิมุต. ธุระ คือ ปัญญาย่อมมีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง. ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นปัญญาวิมุต.

อนึ่ง เมื่อภิกษุทั้งหลายไปด้วยอํานาจวิปัสสนา ธุระ คือ ปัญญาย่อมมีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นปัญญาวิมุต. ธุระ คือ ความเป็นผู้มีจิตดวงเดียวย่อมมีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง. ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นเจโตวิมุต.

พระอัครสาวกทั้งสองบรรลุพระอรหัตด้วยธุระ คือ สมถะและวิปัสสนา. ในท่านทั้งสองนั้นพระธรรมเสนาบดีเป็นปัญญาวิมุต. พระมหาโมคคัลลานเถระเป็นเจโตวิมุต. พึงทราบว่าความต่างแห่งอินทรีย์เป็นเหตุในข้อนี้ ด้วยประการฉะนี้.

บทที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.

จบอรรถกถามหามาลุงกยโอวาทสูตรที่ ๔