พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. โคลิสสานิสูตร ว่าด้วยอรัญญิกธุดงค์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36074
อ่าน  667

[เล่มที่ 20] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 407

๙. โคลิสสานิสูตร

ว่าด้วยอรัญญิกธุดงค์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 20]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 407

๙. โคลิสสานิสูตร

ว่าด้วยอรัญญิกธุดงค์

[๒๐๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน เขตพระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ภิกษุชื่อโคลิสสานิ เป็นผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ มีมารยาทหยาบคาย มานั่งอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยกรณียกิจบางอย่าง.

[๒๐๔] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรปรารภโคลิสสานิภิกษุ จึงเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้มีความเคารพยําเกรง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้ไม่เคารพยําเกรง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใดไม่เป็นผู้เคารพยําเกรง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จะเป็นประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้มีความเคารพยําเกรง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.

[๒๐๕] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้ฉลาดในที่นั่งด้วยดีดังนี้ว่า เราจักไม่นั่งเบียดภิกษุผู้เถระ และจักไม่ห้ามอาสนะภิกษุผู้นวกะ ถ้าภิกษุสมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปในสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่เป็นผู้ฉลาดในที่นั่ง จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 408

ท่านนี้ใดไม่รู้จักธรรม แม้เพียงอภิสมาจาริกวัตร จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้ฉลาดในที่นั่ง.

[๒๐๖] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเข้าบ้านให้เช้านัก ไม่ควรกลับให้สายนัก ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เข้าบ้านเช้านัก กลับมาสายนัก จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใดเข้าบ้านเช้านัก กลับมาสายนัก จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควรเข้าบ้านให้เช้านัก ไม่ควรกลับให้สายนัก.

[๒๐๗] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรถึงความเที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ในเวลาก่อนภัต ในเวลาหลังภัต ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ถึงความเที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ในเวลาก่อนภัต ในเวลาหลังภัต จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า การเที่ยวไปในเวลาวิกาล อันท่านผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์นี้ ผู้อยู่เสรีในป่าแต่ผู้เดียว ทําไว้มากแน่ อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ก็จะกล่าวทักท้วงเธอผู้ไปสู่สงฆ์ได้ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควรเที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ในเวลาก่อนภัต ในเวลาหลังภัต.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 409

[๒๐๘] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเป็นผู้คะนองกาย คะนองวาจา ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้คะนองกาย คะนองวาจา จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ความคะนองกาย คะนองวาจา อันท่านผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์นี้ผู้อยู่เสรีในป่าแต่ผู้เดียว ทําไว้มากแน่ อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ก็จะกล่าวทักท้วงเธอผู้ไปสู่สงฆ์ได้ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควรเป็นผู้คะนองกาย คะนองวาจา.

[๒๐๙] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อนกล่น ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อนกล่น จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใดเป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อนกล่น จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อนกล่น.

[๒๑๐] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้ว่าง่าย มีกัลยาณมิตร ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้ว่ายาก มีปาปมิตร จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใดเป็นผู้ว่ายาก มีปาปมิตร จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงควรเป็นผู้ว่าง่าย มีกัลยาณมิตร.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 410

[๒๑๑] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ไม่เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใดไม่เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.

[๒๑๒] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นว่า ท่านผู้ใดเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ.

[๒๑๓] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นเนืองๆ ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้ไม่ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นเนืองๆ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใดเป็นผู้ไม่ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นเนืองๆ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่า แต่ท่านผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นเนืองๆ.

[๒๑๔] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้ปรารภความเพียร ถ้าภิกษุสมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้เกียจคร้าน จะ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 411

มีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใดเป็นผู้เกียจคร้าน จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้ปรารภความเพียร.

[๒๑๕] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้มีสติตั้งมั่น ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้มีสติฟันเฟือน จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้มีสติฟันเฟือน จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้มีสติตั้งมั่น.

[๒๑๖] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้มีจิตตั้งมั่น ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้ไม่มีจิตตั้งมั่น จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้มีจิตตั้งมั่น.

[๒๑๗] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรเป็นผู้มีปัญญา ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้มีปัญญาทราม จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านผู้นี้มีปัญญาทราม จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้มีปัญญา.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 412

[๒๑๘] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรทําความเพียร ในอภิธรรม ในอภิวินัย เพราะคนผู้ถามปัญหา ในอภิธรรมและในอภิวินัย กะภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์มีอยู่ ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ถูกถามปัญหา ในอภิธรรม ในอภิวินัยแล้ว จะให้ความประสงค์ของเขาสําเร็จไม่ได้ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านผู้นี้ถูกถามปัญหา ในอภิธรรม ในอภิวินัยแล้ว ยังความประสงค์ของเขาให้สําเร็จไม่ได้ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรทําความเพียร ในอภิธรรม ในอภิวินัย.

[๒๑๙] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรทําความเพียรในวิโมกข์อันละเอียดคืออรูปสมาบัติที่ล่วงรูปสมาบัติ เพราะคนผู้ถามในวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติที่ล่วงรูปสมาบัติมีอยู่ ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ถูกถามปัญหาในวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติที่ล่วงรูปสมาบัติแล้วให้ความประสงค์ของเขาสําเร็จไม่ได้ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านผู้นี้ถูกถามปัญหาในวิโมกข์อันละเอียดคืออรูปสมาบัติที่ล่วงรูปสมาบัติแล้ว ยังความประสงค์ของเขาให้สําเร็จไม่ได้ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรทําความเพียรไว้ในวิโมกข์อันละเอียดคืออรูปสมาบัติที่ล่วงรูปสมาบัติ.

[๒๒๐] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควรทําความเพียร ในอุตตริมนุสสธรรม เพราะคนผู้ถามปัญหา ในอุตตริมนุสสธรรมกะภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์มีอยู่ ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 413

ถูกถามปัญหาในอุตตริมนุสสธรรมแล้ว ให้ความประสงค์ของเขาสําเร็จไม่ได้ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านผู้นี้บวชเพื่อประโยชน์แห่งคุณวิเศษอันใด ไม่รู้จักประโยชน์แห่งคุณวิเศษอันนั้นจะมีประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุนี้สมาทานอรัญญิกธุดงค์จึงควรทําความเพียรในอุตตริมนุสสธรรม.

[๒๒๑] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามว่า ดูก่อนท่านสารีบุตรผู้มีอายุ อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์เท่านั้นหรือที่ควรสมาทานธรรมเหล่านี้ประพฤติ หรือแม้ภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้าน ก็ควรสมาทานธรรมเหล่านี้ประพฤติ.

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ แม้ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ยังควรสมาทานธรรมเหล่านี้ประพฤติ จะกล่าวไปไยถึงภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้านเล่า.

จบโคลิสสานิสูตรที่ ๙

๙. อรรถกถาโคลิสสานิสูตร

โคลิสสานิสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้นบทว่า ปทรสมาจาโร มีมารยาทหยาบคาย คือ ความประพฤติเลว มีอาจาระหยาบ เพ่งในปัจจัยทั้งหลายดุจพระมหารักขิตเถระได้ยินว่าอุปัฏฐากกล่าวกะพระเถระนั้นผู้นั่งอยู่ในตระกูลอุปัฏฐากว่า ท่านขอรับ ผมถวายจีวรแก่พระเถระรูปโน้นแล้ว. พระเถระกล่าวว่า โยมทําดีแล้วที่ถวาย

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 414

จีวรแก่พระเถระผู้ตรึกถึงจีวรนั้น. อุปัฏฐากกล่าวว่า ท่านขอรับ ผมจักถวายจีวรแก่ท่าน. พระเถระกล่าวว่า ดีแล้ว โยมจักถวายแก่พระเถระผู้ตรึกถึงจีวรนั้น. ภิกษุเห็นปานนี้แม้นี้ชื่อว่ามีอาจาระหยาบ.

บทว่า สปฺปติสฺเสน ความยําเกรง คือ มีความเป็นผู้ใหญ่. ไม่ควรทําตนให้เป็นใหญ่.

บทว่า เสรีวิหาเรน ด้วยการอยู่อย่างเสรี คือ ด้วยการอยู่ตามพอใจของตน ด้วยการอยู่โดยไม่มีผู้คอยตักเตือน.

บทว่า นานุปขชฺช ไม่เข้าไปเบียด คือ ไม่เข้าไปใกล้.

ภิกษุใดเมื่อพระมหาเถระ ๒ รูปนั่งอยู่ทั้ง ๒ ข้าง ไม่บอกกล่าวพระเถระเหล่านั้นนั่งเสียดสีด้วยจีวรก็ดี ด้วยเข่าก็ดี ภิกษุนี้ชื่อว่าเข้าไปนั่งเบียด.

อนึ่ง ไม่ทําอย่างนั้นครั้นอยู่ใกล้อาสนะที่ถึงแก่ตน พระเถระกล่าวว่า นั่งเถิดผู้มีอายุ ดังนี้จึงควรนั่ง. หากพระเถระไม่กล่าว ควรกล่าวถามว่า ท่านขอรับ ผมจะนั่งได้หรือ ดังนี้แล้วควรนั่ง. ตั้งแต่เวลากล่าวถาม เมื่อพระเถระกล่าวว่า นั่งเถิด หรือแม้เมื่อท่านไม่กล่าว ก็ควรนั่งได้.

ในบทว่า น ปฏิพาหิสฺสามิ เราจักไม่ห้ามนี้มีอธิบายว่า ภิกษุใดละเลยอาสนะที่ถึงแก่ตนแล้วนั่งแย่งที่ภิกษุใหม่ ภิกษุนี้ชื่อว่าห้ามอาสนะภิกษุใหม่. เมื่อภิกษุนั้นนั่งอยู่อย่างนั้น ภิกษุใหม่ยืนกล่าวโทษว่า ภิกษุนี้ไม่ให้เรานั่งก็ดี หรือเดินหาอาสนะก็ดี เพราะฉะนั้นพึงนั่งบนอาสนะที่ถึงแก่ตนนั่นแหละ อย่างนี้ชื่อว่า ไม่ห้ามอาสนะ.

บทว่า อภิสมาจาริกํปิ ธมฺมํ คือ ธรรมแม้เพียงการปฏิบัติอภิสมาจาริกวัตร.

บทว่า นาติกาเลน โดยไม่ใช่กาล คือ ไม่ควรเข้าบ้านให้เช้านัก ไม่ควรกลับให้สายนัก. ควรเข้าและออกพร้อมกับหมู่ภิกษุ. เพราะเมื่อเข้าไปเช้านัก ออกไปสายนัก การปฏิบัติวัตรในลานเจดีย์และลานโพธิ์เป็นต้นย่อมเสื่อม. ควรล้างหน้าแต่เช้าแล้วเขี่ยใยแมลงมุม เมื่อหยาดน้ำค้างตกเข้าบ้านแสวงหาข้าวยาคู นั่งกล่าวติรัจฉานกถานานาประการ ในภายในบ้านนั่นเอง จนถึงได้เวลาบิณฑบาตแล้วฉันอาหาร ออกไปในตอนสาย ไปถึงวัดในเวลาล้างเท้าของภิกษุทั้งหลายในภายหลัง.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 415

บทว่า น ปุเรภตฺตํ ปจฺฉาภตฺตํ กุเลสุ จาริตฺตํ อาปชฺชิตพฺพํ ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ไม่ควรถึงความเที่ยวไปในตระกูลทั้งหลายในเวลาก่อนภัต ในเวลาหลังภัต คือ ภิกษุรับนิมนต์พร้อมด้วยโภชนะไม่ลาภิกษุที่มีอยู่ เที่ยวไปในตระกูลในเวลาก่อนภัตก็ดี ในเวลาหลังภัตก็ดี เว้นไว้แต่สมัยต้องปาจิตตีย์ เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้รักษาสิกขาบทนี้ไม่ควรเที่ยวไปในเวลาก่อนภัต และในเวลาหลังภัต ซึ่งท่านกล่าวไว้แล้วในวิภังค์แห่งสิกขาบทนั้น.

บทว่า อุทฺธโต โหติ จปโล เป็นผู้คะนองกาย คะนองวาจา คือ เป็นผู้มีปรกติฟุ้งซ่าน และประกอบด้วยความเป็นผู้คะนอง ดุจเด็กทารก ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ประดับจีวร ประดับบาตร ประดับเสนาสนะ หรือ ตกแต่งประดับกายอันเปือยเน่านี้.

บทว่า ปฺวตา ภวิตพฺพํ ควรเป็นผู้มีปัญญา คือ เมื่อควรทําจีวรกรรมเป็นต้น ควรเป็นผู้ประกอบด้วยอุบายปัญญา.

บทว่า อภิธมฺเม อภิวินเย ควรทําความเพียรในอภิธรรมในอภิวินัย คือ ควรทําความเพียรในอภิธรรมปิฎก และในวินัยปิฎกด้วยบาลีและด้วยอรรถกถา. ไม่ควรพลาดธรรมหทยวิภังค์พร้อมด้วยทุกมาติกาและติกมาติกาเป็นต้นในอภิธรรมโดยปริจเฉทสุดท้าย. ไม่ควรพลาดปาฏิโมกข์ทั้ง ๒ ที่ท่านวินิจฉัยไว้ดีแล้วพร้อมกับการวินิจฉัยในข้อควรทําและไม่ควรทําในวินัย.

บทว่า อารุปฺปา อรูปสมาบัติด้วยบทเพียงเท่านี้เป็นอันท่านกล่าวถึงสมาบัติแม้ ๘ ประการ อนึ่ง เมื่อไม่สามารถบําเพ็ญสมาบัติเหล่านั้นได้ทั้งหมดก็ควรบําเพ็ญในสมาบัติ ๗ บ้าง ๖ บ้าง ๕ บ้าง โดยกําหนดบทสุดท้ายประพฤติถือเอากรรมฐานคือบริกรรมกสิณอย่างหนึ่งทําให้คล่องแคล่ว. เพียงเท่านี้ก็ไม่ควรพลาด.

ด้วยบทว่า อุตฺตริมนุสฺสธมฺเม นี้ พระสารีบุตรเถระแสดงโลกุตตรธรรมแม้ทั้งหมด. เพราะฉะนั้น อันผู้เป็นพระอรหันต์พึงละ. อันผู้ยังมิได้บรรลุพระอรหัต ควรตั้งอยู่ในอนาคามิ-

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 416

ผล สกทาคามิผล หรือโสดาปัตติผล. โดยปริยายสุดท้ายควรประพฤติถือเอาวิปัสสนาสุขอย่างเดียวจนถึงพระอรหัตทําให้คล่องแคล่ว.

บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น.

ก็ท่านพระสารีบุตรเถระยังโคลิสสานิภิกษุให้บรรลุพระอรหัตโดยลําดับตั้งแต่อภิสมาจาริกวัตร ด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้ควรแนะนําได้ จบเทศนานี้ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาโคลิสสานิสูตรที่ ๙