พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. กีฏาคิริสูตร คุณของการฉันอาหารน้อย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36075
อ่าน  748

[เล่มที่ 20] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 417

๑๐. กีฏาคิริสูตร

คุณของการฉันอาหารน้อย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 20]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 417

๑๐. กีฏาคิริสูตร

คุณของการฉันอาหารน้อย

[๒๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวจาริกไปในกาสีชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรีเสียทีเดียว และเมื่อเราฉันโภชนะเว้นการฉันในราตรีเสีย ย่อมรู้คุณคือความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า มีกําลังและอยู่สําราญ แม้ท่านทั้งหลายก็จงมาฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรีเสียเถิด ก็เมื่อเธอทั้งหลายฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรีเสีย จักรู้คุณ คือ ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า มีกําลัง และอยู่สําราญ ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะฉันอาหารในเวลาวิกาล

[๒๒๓] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวจาริกไปในกาสีชนบทโดยลําดับ เสด็จถึงนิคมของชนชาวกาสีอันชื่อว่า กีฏาคิรี ได้ยินว่าครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมของชนชาวกาสีอันชื่อว่ากีฏาคิรี ก็โดยสมัยนั้น มีภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในกีฏาคิรีนิคม. ครั้งนั้น ภิกษุเป็นอันมากเข้าไปหาอัสสชิภิกษุและปุนัพพสุกภิกษุถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ ฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรี ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าและ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 418

ภิกษุสงฆ์ฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรี ย่อมรู้คุณ คือ ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า มีกําลัง และอยู่สําราญ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ท่านทั้งหลายก็จงมาฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรีเสียเถิด เมื่อท่านทั้งหลายฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรี ก็จักรู้คุณ คือ ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า มีกําลัง และอยู่สําราญ.

เมื่อภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอัสสชิและภิกษุปุนัพพสุกะ ได้กล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น ทั้งเวลาเช้า ทั้งเวลาวิกาล ในกลางวัน เมื่อเราเหล่านั้นฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น ทั้งเวลาเช้า ทั้งเวลาวิกาล ในกลางวัน ก็ย่อมรู้คุณ คือ ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า มีกําลัง และอยู่สําราญ เราเหล่านั้นจักละคุณที่ตนเห็นเอง แล้ววิ่งไปตามคุณอันอ้างกาลทําไม เราทั้งหลายจักฉันทั้งเวลาเย็น ทั้งเวลาเช้า ทั้งเวลาวิกาล ในกลางวัน.

[๒๒๔] เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่สามารถจะให้อัสสชิภิกษุและปุนัพพสุกภิกษุยินยอมได้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานโอกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายเข้าไปหาอัสสชิภิกษุและปุนัพพสุกภิกษุถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ ฉันโภชนะเว้นการฉันในราตรี เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ ฉันโภชนะเว้นการฉันในราตรี ย่อมรู้คุณ คือ ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า มีกําลัง และอยู่สําราญ แม้ท่านทั้งหลายก็จงฉันโภชนะเว้นการฉันในราตรีเสียเถิด ก็เมื่อท่านทั้งหลายฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรี รู้จักคุณ คือ ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 419

มีโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า มีกําลัง และอยู่สําราญ.

เมื่อข้าพระองค์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว อัสสชิภิกษุและปุนัพพสุกภิกษุได้กล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น ทั้งเวลาเช้า ทั้งเวลาวิกาล ในกลางวัน เมื่อเราทั้งหลายนั้นฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น ทั้งเวลาเช้า ทั้งเวลาวิกาล ในกลางวัน ย่อมรู้คุณ คือ ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า มีกําลัง และอยู่สําราญ เราเหล่านั้นจักละคุณที่ตนเห็นเอง แล้ววิ่งไปตามคุณอันอ้างกาลทําไม เราทั้งหลายจักฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น ทั้งเวลาเช้า ทั้งเวลาวิกาล ในกลางวัน.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ทั้งหลาย ไม่สามารถจะให้อัสสชิภิกษุและปุนัพพสุกภิกษุยินยอมได้ จึงกราบทูลเนื้อความนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาว่า ดูก่อนภิกษุ เธอจงไปเรียกอัสสชิภิกษุและปุนัพพสุกภิกษุตามคําของเราว่า พระศาสดาตรัสเรียกท่านทั้งหลาย ภิกษุนั้นทูลรับต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เข้าไปหาอัสสชิภิกษุและปุนัพพสุกภิกษุถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวว่า พระศาสดาตรัสเรียกท่านทั้งหลาย อัสสชิภิกษุและปุนัพพสุกภิกษุรับต่อภิกษุนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกับอัสสชิภิกษุและปุนัพพสุกภิกษุว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุเป็นอันมากเข้าไปหาเธอทั้งสองแล้วกล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรี เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรี ย่อมรู้คุณ คือ ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า มีกําลังและอยู่สําราญ แม้ท่านทั้งหลายก็จงมาฉันโภชนะเว้นการฉันในราตรีเสียเถิด เมื่อท่านทั้งหลายฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรี จักรู้คุณ คือ ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า มีกําลังและอยู่สําราญดังนี้.

ได้ยินว่าเมื่อภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 420

เธอทั้งสองได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เราทั้งหลายฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น ทั้งเวลาเช้า ทั้งเวลาวิกาล ในเวลากลางวัน เมื่อเราทั้งหลายนั้น ฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น ทั้งเวลาเช้า ทั้งเวลาวิกาล ในกลางวัน ย่อมรู้คุณ คือ ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า มีกําลัง และอยู่สําราญ เราเหล่านั้นจักละคุณที่ตนเห็นเอง แล้ววิ่งตามคุณที่อ้างกาลทําไม เราทั้งหลายจักฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น ทั้งเวลาเช้า ทั้งเวลาวิกาล ในกลางวัน ดังนี้ จริงหรือ.

อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พระพุทธเจ้าแสดงเวทนา ๓

[๒๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ บุรุษบุคคลนี้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ สุข ทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข อกุศลธรรมของบุรุษบุคคลนั้นย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ ดังนี้หรือหนอ.

ไม่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม ส่วนเมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยทุกข์เวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม ส่วนบุคคลในโลกนี้เสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้ เสวยอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เสวย

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 421

อทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ ดังนี้มิใช่หรือ.

ภ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๒๒๖] พ. ดีละ ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะข้อว่า เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้ เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม ดังนี้ นี่จักเป็นข้อที่เราไม่ได้รู้แล้ว ไม่ได้เห็นแล้ว ไม่ได้ทราบแล้ว ไม่ได้ทําให้แจ้งแล้ว ไม่ได้ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เมื่อเราไม่รู้อย่างนี้ จะพึงกล่าวว่า เธอทั้งหลายจงละสุขเวทนาเห็นปานนี้เสียเถิด ดังนี้ ข้อนี้จักได้สมควรแก่เราแลหรือ.

ภ. ไม่สมควร พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะข้อว่า เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้ เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม ดังนี้ นี่เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทําให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า เธอทั้งหลายจงละสุขเวทนาเห็นปานนี้เสียเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อว่า เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้ เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ ดังนี้ นี่จักเป็นข้อที่เราไม่รู้แล้ว ไม่ได้เห็นแล้ว ไม่ได้ทราบแล้ว ไม่ได้ทําให้แจ้งแล้ว ไม่ได้ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เมื่อเราไม่รู้อย่างนี้จะพึงกล่าวว่า เธอทั้งหลายจงเข้าถึงสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่เถิด ดังนี้ ข้อนี้จักได้สมควรแก่เราแลหรือ.

ภ. ไม่สมควร พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะข้อว่า เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้ เสวยสุขเพราะเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ ดังนี้ นี่เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทําให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า เธอทั้งหลายจงเข้าถึงสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่เถิด.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 422

[๒๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะข้อว่า เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้ เสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม ดังนี้ นี่จักเป็นข้อที่เราไม่ได้รู้แล้ว ไม่ได้เห็นแล้ว ไม่ได้ทราบแล้ว ไม่ได้ทําให้แจ้งแล้ว ไม่ได้ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เมื่อเราไม่รู้อย่างนี้ จะพึงกล่าวว่า เธอทั้งหลายจงละทุกขเวทนาเห็นปานนี้เสียเถิด ดังนี้ ข้อนี้จักได้สมควรแก่เราแลหรือ.

ภ. ไม่สมควร พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะข้อว่า เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้ เสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม ดังนี้ นี่เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทําให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า เธอทั้งหลายจงละทุกขเวทนาเห็นปานนี้เสียเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อว่า เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้ เสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ ดังนี้ นี้จักเป็นข้อที่เราไม่ได้รู้แล้ว ไม่ได้เห็นแล้ว ไม่ได้ทราบแล้ว ไม่ได้ทําให้แจ้งแล้ว ไม่ได้ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เมื่อเราไม่รู้อย่างนี้จะพึงกล่าวว่า เธอทั้งหลายจงเข้าถึงทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่เถิด ข้อนี้จักได้สมควรแก่เราแลหรือ.

ภ. ไม่สมควร พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะข้อว่า เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้ เสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ ดังนี้ นี่เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทําให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า เธอทั้งหลายจงเข้าถึงทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่เถิด.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 423

[๒๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะข้อว่า เมื่อบางคนในโลกนี้ เสวยอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม ดังนี้ นี่จักเป็นข้อที่เราไม่ได้รู้แล้ว ไม่ได้เห็นแล้ว ไม่ได้ทราบแล้ว ไม่ได้ทําให้แจ้งแล้ว ไม่ได้ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เมื่อเราไม่รู้อย่างนี้จะพึงกล่าวว่า เธอทั้งหลายจงละอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้เสียเถิด ดังนี้ ข้อนี้จักได้สมควรแก่เราแลหรือ.

ภ. ไม่สมควร พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะข้อว่า เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้ เสวยอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม ดังนี้ นี่เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทําให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า เธอทั้งหลายจงละอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้เสียเถิด ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อว่า เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้ เสวยอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ ดังนี้ นี่จักเป็นข้อที่เราไม่ได้รู้แล้ว ไม่ได้เห็นแล้ว ไม่ได้ทราบแล้ว ไม่ได้ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เมื่อเราไม่รู้อย่างนี้ จะพึงกล่าวว่า เธอทั้งหลายจงเข้าถึงอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่เถิด ดังนี้ ข้อนี้จักได้สมควรแก่เราแลหรือ.

ภ. ไม่สมควร พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะข้อว่า เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้ เสวยอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ ดังนี้ นี่เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทําให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า เธอทั้งหลายจงเข้าถึงอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่เถิด.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 424

[๒๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหากล่าวว่า กิจที่ควรทําด้วยความไม่ประมาทย่อมมีภิกษุทั้งปวง ดังนี้ไม่ อนึ่ง เราหากล่าวว่า กิจที่ควรทําด้วยความไม่ประมาท ไม่มีแก่ภิกษุทั้งปวง ดังนี้ไม่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทํา ทําเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว มีประโยชน์ตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้โดยชอบ เราย่อมกล่าวว่า กิจที่ควรทําด้วยความไม่ประมาท ไม่มีแก่ภิกษุเห็นปานนั้น.

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุเหล่านั้นได้ทํากรณียกิจเสร็จแล้วด้วยความไม่ประมาท และภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะประมาท.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดยังเป็นพระเสขะ ยังไม่บรรลุถึงความเต็มปรารถนา ยังไม่ได้บรรลุเป็นพระอรหันตขีณาสพ ยังปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่าอยู่ เราย่อมกล่าวว่า กิจที่ควรทําด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุเห็นปานนั้น.

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุเหล่านี้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านเหล่านี้ เมื่อเสพเสนาสนะอันสมควร คบหากัลยาณมิตรทําอินทรีย์ให้เสมออยู่ ทําให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดังนี้ จึงกล่าวว่า กิจที่ควรทําด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุเห็นปานนั้น.

บุคคล ๗ จําพวก

[๒๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จําพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๗ จําพวกเป็นไฉน คือ อุภโตภาควิมุตบุคคล ๑ ปัญญาวิมุตบุคคล ๑ กายสักขีบุคคล ๑ ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑ สัทธาวิมุตบุคคล ๑ ธัมมานุสารีบุคคล ๑ สัทธานุสารีบุคคล ๑.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 425

[๒๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุภโตภาควิมุตบุคคลเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติ ล่วงรูปสมาบัติ ด้วยกายอยู่ และอาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นอริยสัจนั้น ด้วยปัญญา บุคคลนี้เรากล่าวว่า อุภโตภาควิมุตบุคคล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า กิจที่ควรทําด้วยความไม่ประมาท ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนี้.

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกิจที่ควรทําด้วยความไม่ประมาท ภิกษุนั้นทําเสร็จแล้วและภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะประมาท.

[๒๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปัญญาวิมุตบุคคลเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติ ล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นอริยสัจนั้น ด้วยปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรากล่าวว่า ปัญญาวิมุตบุคคล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า กิจที่ควรทําด้วยความไม่ประมาท ย่อมไม่มีแก่ภิกษุแม้นี้.

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกิจที่ควรทําด้วยความไม่ประมาท ภิกษุนั้นทําเสร็จแล้ว และภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะประมาท.

[๒๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กายสักขีบุคคลเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติ ล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ และอาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นอริยสัจนั้น ด้วยปัญญา บุคคลนี้เรากล่าวว่า กายสักขีบุคคล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า กิจที่ควรทําด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้.

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้ เมื่อเสพเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ทํา

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 426

อินทรีย์ให้เสมออยู่ พึงทําซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองได้ในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ดังนี้ เราจึงกล่าวว่า กิจที่ควรทําด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้.

[๒๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิปัตตบุคคลเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติ ล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นอริยสัจนั้น ด้วยปัญญา อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่ตถาคตประกาศแล้ว เป็นธรรมอันผู้นั้นเห็นแจ้งด้วยปัญญาประพฤติดีแล้ว บุคคลนี้เรากล่าวว่า ทิฏฐิปัตตบุคคล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า กิจที่ควรทําด้วยความไม่ประมาทย่อมมีแก่ภิกษุแม้นี้.

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้เสพเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ทําอินทรีย์ให้เสมออยู่ พึงทําซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการให้แจ้งชัด ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้ เราจึงกล่าวว่า กิจที่ควรทําด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้.

[๒๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธาวิมุตบุคคลเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูปสมาบัติ ล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นอริยสัจนั้น ด้วยปัญญา อนึ่ง ความเชื่อในพระตถาคตของผู้นั้นตั้งมั่นแล้ว มีรากหยั่งลงมั่นแล้ว บุคคลนี้เรากล่าวว่า สัทธาวิมุตบุคคล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่ากิจที่ควรทําด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุแม้นี้.

ข้อนั้นเพราะ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 427

เหตุไร เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้เสพเสนาสนะอันสมควร คบหากัลยาณมิตร ทําอินทรีย์ให้เสมออยู่ พึงทําให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้จึงกล่าวว่า กิจที่ควรทําด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้.

[๒๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธัมมานุสารีบุคคลเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียดคืออรูปสมาบัติ ล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นอริยสัจนั้น ด้วยปัญญา อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้วย่อมควรซึ่งความพินิจ โดยประมาณด้วยปัญญาของผู้นั้น อีกประการหนึ่ง ธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมมีแก่ผู้นั้น บุคคลนี้เรากล่าวว่า ธัมมานุสารีบุคคล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า กิจที่ควรทําด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุแม้นี้.

ข้อนี้เพราะเหตุไร เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้เสพเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ทําอินทรีย์ให้เสมออยู่ พึงทําให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้ เราจึงกล่าวว่า กิจที่ควรทําด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้.

[๒๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธานุสารีบุคคลเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คือ อรูป-

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 428

สมาบัติ ล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นอริยสัจนั้น ด้วยปัญญา อนึ่ง ผู้นั้นมีแต่เพียงความเชื่อความรักในพระตถาคต อีกประการหนึ่ง ธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมมีแก่ผู้นั้น บุคคลนี้เรากล่าวว่า สัทธานุสารีบุคคล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า กิจที่ควรทําด้วยความไม่ประมาทย่อมเกิดแก่ภิกษุแม้นี้.

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้เสพเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ทําอินทรีย์ให้เสมออยู่ พึงทําให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้ จึงกล่าวว่า กิจที่ควรทําด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้.

การตั้งอยู่ในอรหัตตผล

[๒๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตตผลด้วยการไปครั้งแรกเท่านั้นหามิได้ แต่การตั้งอยู่ในอรหัตตผลนั้น ย่อมมีได้ด้วยการศึกษาโดยลําดับ ด้วยการทําโดยลําดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลําดับ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การตั้งอยู่ในอรหัตตผลย่อมมีได้ ด้วยการศึกษาโดยลําดับ ด้วยการทําโดยลําดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลําดับอย่างไร.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในธรรมวินัยนี้ เกิดศรัทธาแล้วย่อมเข้าไปใกล้ เมื่อเข้าไปใกล้ย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลง เมื่อเงี่ยโสตลงแล้วย่อมฟังธรรม ครั้นฟังธรรมย่อมทรงธรรมไว้ ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้แล้ว เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทนได้ซึ่งความพินิจ เมื่อธรรมทนความพินิจ

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 429

ได้อยู่ ฉันทะย่อมเกิด เมื่อเกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความเพียร เมื่อมีตนส่งไป ย่อมทําให้แจ้งชัดซึ่งบรมสัจจะด้วยกาย และย่อมแทงตลอดเห็นแจ้งบรมสัจจะนั้นด้วยปัญญา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศรัทธาก็ดี การเข้าไปใกล้ก็ดี การนั่งใกล้ก็ดี การเงี่ยโสตลงก็ดี การฟังธรรมก็ดี การทรงจําธรรมก็ดี การพิจารณาเนื้อความก็ดี ธรรมอันได้ซึ่งความพินิจก็ดี ฉันทะก็ดี อุตสาหะก็ดี การไตร่ตรองก็ดี การตั้งความเพียรก็ดี นั้นๆ ไม่ได้มีแล้ว เธอทั้งหลายย่อมเป็นผู้ปฏิบัติพลาด ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษเหล่านี้ ได้หลีกไปจากธรรมวินัยนี้ ไกลเพียงไร.

บท ๔

[๒๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บทสี่อันยืนยันได้ที่เรายกขึ้นแสดงแล้ว อันวิญูบุรุษจะพึงรู้เนื้อความได้ด้วยปัญญาไม่นานเลย มีอยู่ เราจักแสดงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจักรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งบทสี่อันยืนยันได้ ที่เรายกขึ้นแสดงแล้วนั้น.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกไหนเป็นข้าพระองค์ทั้งหลาย และพวกไหนจะเป็นผู้รู้ทั่วถึงธรรมได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศาสดาใดเป็นผู้หนักในอามิส รับมรดกแต่ส่วนที่เป็นอามิส ข้องอยู่ด้วยอามิส แม้ศาสดานั้นย่อมไม่มีคุณสมบัติเหมือนดังของตลาดซึ่งมีราคาขึ้นๆ ลงๆ เห็นปานนี้ว่า ก็เมื่อเหตุอย่างนี้พึงมีแก่เรา เราพึงทําเหตุนั้น ก็เมื่อเหตุอย่างนี้ไม่พึงมีแก่เรา เราไม่พึงทําเหตุนั้น ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทําไมเล่าตถาคตจึงไม่ข้องด้วยอามิสโดยประการทั้งปวงอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สภาพนี้ย่อมมีแก่สาวก ผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคําสอน

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 430

ของพระศาสดาแล้วประพฤติด้วยตั้งใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระศาสดา เราเป็นสาวก พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงรู้ เราไม่รู้ คําสอนของพระศาสดาย่อมงอกงามมีโอชาแก่สาวกผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคําสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ.

สภาพนี้ ย่อมมีแก่สาวกผู้มีศรัทธาผู้หยั่งลงในคําสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ ด้วยตั้งใจว่า เนื้อและเลือดในสรีระของเราจงเหือดแห้งไป จะเหลืออยู่แต่หนังและเอ็นและกระดูกก็ตามที เมื่อเรายังไม่บรรลุถึงอิฐผลที่จะพึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักคลายความเพียรนั้นเสีย จักไม่มีเลย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผลสองอย่างคือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อขันธบัญจกที่กรรมกิเลสเข้าไปยึดถือเป็นส่วนเหลือยังมีอยู่ ความเป็นพระอนาคามีอย่างใดอย่างหนึ่ง อันสาวกผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคําสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ พึงหวังได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.

จบกีฏาคิริสูตรที่ ๑๐

จบภิกขุวรรคที่ ๒

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 431

๑๐. อรรถกถากีฏาคิริสูตร

กีฏาคิริสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาสีสุ ในชนบทมีชื่ออย่างนี้.

ในบทว่า เอวํ ตุมฺเหปิ ภิกฺขเว นี้ มีความดังต่อไปนี้.

แม้พวกเธอเห็นอานิสงส์ ๕ อย่างเหล่านี้ ก็จงฉันอาหารเว้นการฉันในราตรีเสีย.

ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงให้เว้นการฉัน ๒ อย่างเหล่านี้ คือ การฉันในเวลาวิกาลในกลางคืน ๑ การฉันในเวลาวิกาลในกลางวัน ๑ ในคราวเดียวกัน. ในสมัยหนึ่ง ทรงให้เว้นการฉันในเวลาวิกาลในกลางวันเสียเท่านั้น. ครั้นกาลเวลาล่วงไปพระองค์ทรงให้เว้นการฉันในเวลาวิกาลในกลางคืนเสีย จึงตรัสอย่างนี้.

เพราะเหตุไร.

เพราะการฉัน ๒ คราวเหล่านี้ เป็นการสะสม หมกมุ่น ในวัฏฏะ มิได้แล่นออกไปได้ดุจน้ำไหลลงแม่น้ำ กุลบุตรผู้ละเอียดอ่อนเจริญเพราะบริโภคอาหารดีในเรือนแม้ที่สงบเงียบ เว้นการบริโภค ๒ ครั้งในคราวเดียวกันเท่านั้นย่อมลําบาก.

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงมิได้ทรงให้เว้นในคราวเดียวกัน. ทรงให้เว้นการบริโภคในเวลาวิกาลในกลางวัน ในภัททาลิสูตร ในสูตรนี้ ทรงให้เว้นการบริโภคในเวลาวิกาลในกลางคืน. ก็เมื่อให้ละ ทรงคุกคามหรือทรงข่ม.

พระองค์ทรงแสดงอานิสงส์อย่างนี้ว่า พวกเธอจักรู้คุณ คือ ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย เพราะการละการบริโภคเหล่านั้นเป็นปัจจัย แล้วจึงทรงให้เว้นเสีย.

บทว่า กีฏาคิรี เป็นชื่อของนิคมนั้น.

บทว่า อสฺสชิปุนพฺพสุกา คือ พระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ ในบรรดาภิกษุฉัพพัคคีย์ ๖ รูป ท่านทั้งสองเป็นคณาจารย์. ชนทั้ง ๖ เหล่านี้ คือ ปัณฑุกะ ๑ โลหิตกะ ๑

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 432

เมตติยะ ๑ ภุมมชกะ ๑ อัสสชิ ๑ ปุนัพพสุกะ ๑ ชื่อว่า ฉัพพัคคีย์.

ในฉัพพัคคีย์เหล่านั้น พระปัณฑุกะ และพระโลหิตกะ พาบริวารของตนไปอยู่ ณ กรุงสาวัตถี. พระเมตติยะ พระภุมมชกะ ไปอยู่ ณ กรุงราชคฤห์. อีก ๒ ท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในกีฏาคิรีนิคม.

บทว่า อาวาสิกา เจ้าอาวาส คือ อยู่ประจํา. ท่านทั้งสองอยู่ประจําสร้างเสนาสนะที่ยังมิได้สร้าง ซ่อมเสนาสนะที่ชํารุด เป็นผู้มีอิสระในการทํา.

บทว่า กาลิกํ เป็นไปตามกาล คือ อานิสงส์ที่พึงถึงในอนาคตกาล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงอะไร ในบทนี้ว่า มยา เจตํ ภิกฺขเว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงความนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุฉัน ๓ ครั้งต่อวันแล้วยังสุขเวทนาให้เกิด ชื่อว่า เป็นผู้ทํากิจในศาสนานี้ ก็หามิได้ดังนี้ จึงปรารภเทศนานี้.

อนึ่ง บทว่า เอวรูปํ สุขํ เวทนํ ปชหถ พวกเธอจงละสุขเวทนาเห็นปานนี้เสียเถิด นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยสามารถโสมนัสอันอาศัยกามคุณ.

บทว่า อุปสมฺปชฺช วิหรถ พวกเธอจงเข้าถึงสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่เถิด นี้พระองค์ตรัสด้วยสามารถแห่งโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ.

พึงทราบความด้วยสามารถแห่งโทมนัส และ อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะในวาระ ๒ แม้อื่นจากนี้อย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงถึงเวทนาที่ควรเสพและไม่ควรเสพอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงถึงกิจที่ภิกษุควรทําและไม่ควรทํา ด้วยความไม่ประมาทจึงตรัสบทมีอาทิว่า นาหํ ภิกฺขเว สพฺเพสํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหาได้กล่าวว่า กิจที่ควรทําด้วยความไม่ประมาทย่อมมีแก่ภิกษุทั้งปวงดังนี้ไม่.

บทว่า กตํ เตสํ อปฺปมาเทน เพราะภิกษุเหล่านั้นได้ทํากิจสําเร็จแล้วด้วยความไม่ประมาท คือ กิจใดอันภิกษุเหล่านั้นพึงทําด้วยความไม่ประมาท กิจนั้น

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 433

ได้ทําเสร็จแล้ว.

บทว่า อนุโลมิกานิ ความว่า เสนาสนะอันสมควรแก่การปฏิบัติ มีกรรมฐานเป็นที่สบาย. อันผู้อยู่ในเสนาสนะสามารถบรรลุมรรคผลได้.

บทว่า อินฺทฺริยานิ สมนฺนานยมานา ทําอินทรีย์ให้เสมออยู่ คือ ทําอินทรีย์มีศรัทธาเป็นต้นให้เสมออยู่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงอะไรในบทนี้ว่า สตฺตีเม ภิกฺขเว ปุคฺคลา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จําพวกมีอยู่ในโลก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความนี้ว่า บุคคลมีอยู่ ๗ จําพวกเหล่านี้ แม้ทั้งหมดอย่างนี้ คือ บุคคลที่ไม่มีกิจที่ควรทําด้วยความไม่ประมาท มี ๒ จําพวก. บุคคลผู้ที่มีกิจที่ควรทําด้วยความประมาท มี ๕ จําพวก.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อุภโตภาควิมุตฺโต คือ ผู้พ้นโดยส่วนสอง. พ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติ ๑ พ้นจากนามกายด้วยมรรค ๑.

บุคคลนั้นออกจากสมาบัติอย่างหนึ่งๆ แห่งอรูปสมาบัติ ๔ พิจารณาถึงสังขารแล้วออกจากนิโรธของบุคคล ๔ จําพวกผู้บรรลุพระอรหัต เป็นบุคคล ๕ จําพวกด้วยสามารถแห่งพระอนาคามีผู้บรรลุพระอรหัต.

อนึ่ง บาลีในบทนี้มาแล้วด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้ได้วิโมกข์ ๘ ในอภิธรรม อย่างนี้ว่า ก็อุภโตภาควิมุตบุคคลเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกายอยู่และอาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นอริยสัจธรรมนั้น ด้วยปัญญาดังนี้.

บุคคลชื่อว่า ปัญญาวิมุต เพราะพ้นด้วยปัญญา.

ปัญญาวิมุตบุคคลนั้น มี ๕ ด้วยสามารถแห่งบุคคลเหล่านี้ คือ เป็นสุกขวิปัสสก ๑ ผู้ออกจากฌาน ๔ แล้วบรรลุพระอรหัตอีก ๔ แต่บาลีในบทนี้มาแล้วด้วยสามารถการปฏิเสธวิโมกข์ ๘.

เหมือนดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ก็บุคคลนั้นแลหาได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกายอยู่ไม่. อาสวะของเขาสิ้นไปแล้วเพราะเห็นอริยสัจธรรมนั้นด้วยปัญญา. บุคคลนี้เรากล่าวว่าปัญญาวิมุตบุคคล.

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 434

บุคคลชื่อ กายสักขี เพราะทําให้แจ้งธรรมที่ถูกต้องแล้วนั้น.

บุคคลใดถูกต้องผัสสะ คือ ฌาน เป็นครั้งแรก ภายหลังจึงทําให้แจ้งนิพพานอันเป็นความดับสนิท.

พึงทราบบุคคลนั้นมี ๖ ตั้งต้นแต่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลจนถึงบุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกายอยู่ อาสวะบางเหล่าของบุคคลนั้นสิ้นไป เพราะเห็นอริยสัจธรรมนั้นด้วยปัญญา. บุคคลนี้เรากล่าวว่ากายสักขีบุคคล.

บุคคลชื่อว่า ทิฏฐิปัตตะ เพราะบรรลุธรรมที่เห็นแล้วนั้น.

ในบทนี้มีลักษณะโดยสังเขปดังต่อไปนี้.

ชื่อว่า ทิฏฐิปัตตบุคคล เพราะเป็นผู้รู้ เห็นรู้แจ้ง ทําให้แจ้ง ถูกต้องด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ การดับสังขารทั้งหลายเป็นสุข ดังนี้.

แต่โดยพิสดารแม้บุคคลนี้ก็มี ๖ ดุจกายสักขีบุคคล.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์.

อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่ตถาคตประกาศแล้วเป็นธรรมอันผู้นั้นเห็น เห็นแจ้งแล้ว ด้วยปัญญา ประพฤติดีแล้ว. บุคคลนี้เรากล่าวว่าทิฏฐิปัตตบุคคล.

บุคคลชื่อว่า สัทธาวิมุต เพราะน้อมใจเธอด้วยศรัทธา.

แม้สัทธาวิมุตบุคคลนั้นก็มี ๖ ตามนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์.

อนึ่ง ความเชื่อในพระตถาคตของผู้นั้นตั้งมั่นแล้วมีรากหยั่งลงมั่นแล้ว. บุคคลนี้เรากล่าวว่าสัทธาวิมุตบุคคล.

จริงอยู่ในบุคคลเหล่านี้ ขณะของกิเลสย่อมมีแก่สัทธาวิมุตบุคคล ดุจแก่ผู้เชื่อ ดุจแก่ผู้สําเร็จและดุจแก่ผู้น้อมใจเชื่อในขณะมรรคอันเป็นส่วนเบื้องต้น. ญาณตัดกิเลสของทิฏฐิปัตตบุคคล เป็นญาณปรารภคมกล้า ย่อมนําไปใน

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 435

ขณะแห่งมรรคอันเป็นส่วนเบื้องต้น.

เพราะฉะนั้นเหมือนเอาดาบที่ไม่คมตัดต้นกล้วย ที่ที่ขาดย่อมไม่เกลี้ยงเกลา ดาบก็ไม่ผ่านไปฉับพลัน. ยังได้ยินเสียงจึงต้องทําความพยายามอย่างแรงฉันใด. การเจริญมรรคอันเป็นส่วนเบื้องต้นของสัทธาวิมุตบุคคลก็เห็นปานนั้น.

อนึ่ง เหมือนเอาดาบที่ลับจนคมกริบตัดต้นกล้วย ที่ที่ตัดก็เกลี้ยงเกลา. ดาบก็ผ่านไปได้ฉับพลัน เสียงก็ไม่ได้ยิน ไม่ต้องพยายามอย่างแรงฉันใด.

พึงทราบการเจริญมรรคอันเป็นส่วนเบื้องต้นของปัญญาวิมุตบุคคลก็ฉันนั้น.

บุคคลชื่อว่า ธัมมานุสารี เพราะระลึกเนืองๆ ในธรรม.

บทว่า ธมฺโม คือ ปัญญา. อธิบายว่า เจริญมรรคอันมีปัญญาเป็นเบื้องหน้า.

อนึ่ง ใน สัทธานุสารีบุคคล ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บุคคลทั้งสองนี้ เป็นผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรคเช่นกัน.

แม้ข้อนี้ท่านก็กล่าวไว้ว่า เมื่อบุคคลปฏิบัติเพื่อทําให้แจ้งโสดาปัตติผล อินทรีย์ย่อมมีประมาณยิ่ง. ผู้นําปัญญา ย่อมเจริญมรรคอันมีปัญญาเป็นหัวหน้า. บุคคลนี้เรากล่าวว่า ธัมมานุสารีบุคคล.

อนึ่ง เมื่อบุคคลใดปฏิบัติเพื่อทําให้แจ้งโสดาปัตติผล สัทธินทรีย์ย่อมมีประมาณยิ่ง. ผู้นําศรัทธาย่อมเจริญอริยมรรคอันมีศรัทธาเป็นหัวหน้า. บุคคลนี้เรากล่าวว่า สัทธานุสารี.

นี้เป็นความสังเขปในบทนี้.

แต่โดยพิสดาร กถามีอุภโตภาควิมุตกถาเป็นต้น ท่านกล่าวไว้ในอธิการแห่งปัญญาภาวนาในวิสุทธิมรรค. เพราะฉะนั้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในวิสุทธิมรรคนั้นนั่นแล.

เพื่อแสดงวิภาคแห่งบุคคลเหล่านั้นจึงยกบาลีมาในที่นี้.

พึงทราบข้อความในบาลีนั้นดังต่อไปนี้.

เพราะชื่อว่าอรูปสมาบัติเว้นรูปสมาบัติเสียแล้วย่อมมีไม่ได้.

ฉะนั้นแม้เมื่อกล่าวว่า อารุปฺปา ก็พึงทราบว่า เป็นอันท่าน

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 436

กล่าวถึงวิโมกข์ ๘ ด้วย.

บทว่า กาเยน ผุสิตฺวา คือ ถูกต้องด้วยนามกายอันเกิดร่วมกัน.

บทว่า ปฺาย จสฺส ทิสฺวา คือ อาสวะบางเหล่าของเขาสิ้นไปแล้วเพราะเห็นอริยสัจธรรมนั้น. เพราะเหตุนั้นควรละอาสวะส่วนหนึ่งด้วยปฐมมรรคเป็นต้น.

บทว่า ตถาคตปฺ ปเวทิตา คือ อริยสัจ ๔ อันพระตถาคตทรงประกาศแล้ว.

บทว่า ปฺาย โวทิฏฺา โหนฺติ คือ ธรรมทั้งหลายเป็นอันผู้นั้นเห็นดีแล้วด้วยมรรคปัญญา เพราะสะสมความประพฤติไว้ในอรรถด้วยอรรถ ในเหตุด้วยเหตุอย่างนี้ว่า ศีล สมาธิ วิปัสสนา มรรคและผล ท่านกล่าวไว้ในที่นี้.

บทว่า โวจริตา คือ ประพฤติดีแล้ว.

บทว่า สทฺธา นิวิฏฺา โหติ ได้แก่ โอกัปปนศรัทธาตั้งมั่นแล้ว.

บทว่า มตฺตโส นิชฺฌานํ ขมนฺติ ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้วย่อมควรซึ่งความเพ่งพินิจโดยประมาณ. คือควรตรวจดูโดยประมาณ.

บทว่า สทฺธามตฺตํ คือ ศรัทธานั่นแหละ.

บทนอกนั้นเป็นไวพจน์ของ บทว่า สทฺธามตฺตํ นั่นเอง.

เพราะเหตุนี้ในบุคคลผู้ควรทําด้วยความไม่ประมาทเหล่านี้ พระเสขะผู้แทงตลอดมรรคผล ๓ จําพวกเหล่านั้นเสพเสนาสนะอันสมควร คบกัลยาณมิตร ทําอินทรีย์ให้เสมออยู่ย่อมถือเอาพระอรหัตตามลําดับ.

เพราะฉะนั้น อธิบายความแห่งบาลีแห่งบทเหล่านั้นเป็นอันตั้งไว้ตามสมควรแล้ว.

อนึ่ง ในที่สุดท่านผู้เพียบพร้อมด้วยโสดาปัตติมรรคทั้งสองเหล่านั้น เสพเสนาสนะอันสมควรแก่มรรคนั้น คบกัลยาณมิตรทําอินทรีย์ให้สงบ เสพคบ ทําอินทรีย์ให้เสมอ เพื่อประโยชน์แก่มรรค ๓ ในเบื้องบน จักบรรลุพระอรหัตตามลําดับ นี้เป็นความอธิบายบาลีในสูตรนี้ด้วยประการฉะนี้.

ส่วนท่านผู้พูดนอกรีตนอกรอยจับเอาบาลีนี้นี่แหละแล้วกล่าวว่า โลกุตตรมรรคมิได้

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 437

เป็นไปในขณะจิตดวงเดียวแต่เป็นไปในขณะจิตหลายดวง.

พึงกล่าวกะผู้พูดนั้นว่า ผิว่า เสพเสนาสนะด้วยจิตดวงหนึ่ง คบกัลยาณมิตรด้วยจิตดวงหนึ่ง ทําอินทรีย์ให้เสมอด้วยจิตดวงหนึ่ง ท่านหมายว่า มรรคจิตเป็นจิตดวงอื่น แล้วกล่าวว่ามรรคมิได้เป็นไปในขณะจิตดวงหนึ่ง เป็นไปในขณะจิตหลายดวงน่ะซิ.

เมื่อเป็นอย่างนั้น ผู้เสพเสนาสนะย่อมเห็นภูเขามีแสงสว่างเป็นสีเขียว เห็นป่า ได้ยินเสียงเนื้อและนก ดมกลิ่นดอกไม้ ผลไม้ ดื่มน้ำ ลิ้มรส นั่ง นอน ถูกต้องผัสสะ.

เมื่อเป็นอย่างนั้น แม้ความเพียบพร้อมด้วยวิญญาณ ๕ ก็จักเป็นความเพียบพร้อมแห่งโลกุตตระนั่นเอง.

ก็หากท่านรับข้อนั้น. ย่อมขัดกับพระศาสดา.

พระศาสดาตรัสถึงกองแห่งวิญญาณ ๕ ว่าเป็นอัพยากฤตโดยส่วนเดียว. เป็นการคัดค้านกุศลและอกุศลของผู้เพียบพร้อมด้วยมรรคนั้น.

อนึ่ง โลกุตตรมรรคเป็นกุศลส่วนเดียว. เพราะฉะนั้น ควรประกาศให้รู้ไว้ว่าท่านจงละวาทะนั้นเสีย.

หากผู้พูดนั้นไม่ยอมตามสัญญาควรส่งไปด้วยคําว่า ท่านจงไป จงเข้าไปสู่วิหารแต่เช้าตรู่แล้วดื่มยาคู.

บทว่า นาหํ ภิกฺขเว อาทิเกเนว ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตตผลเป็นครั้งแรกเท่านั้น ดุจกบกระโดดไปฉะนั้น.

บทว่า อนุปุพฺพสิกฺขา เป็นปฐมาวิภัตติลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ แปลว่า ด้วยการศึกษาโดยลําดับ.

แม้ใน ๒ บทต่อไปก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า สทฺธาชาโต เกิดศรัทธา คือ มีศรัทธาเกิดแล้วด้วยศรัทธาอันเป็นที่ตั้งแห่งความสําเร็จ.

บทว่า อุปสงฺกมิ คือ ย่อมเข้าไปหาครู.

บทว่า ปยิรุปาสติ คือ ย่อมนั่งในสํานักครู.

บทว่า ธาเรติ คือ ย่อมทรงไว้ทําให้คล่องแคล่ว.

บทว่า ฉนฺโท ชายติ ฉันทะย่อมเกิด ได้แก่ ฉันทะ คือ ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทําย่อมเกิด.

บทว่า อุสฺสหติ ย่อมอุตสาหะ คือ ทําความเพียร.

บทว่า ตุเลติ ย่อมไตร่ตรอง คือ ไตร่ตรองว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.

บทว่า ตุลยิตฺวา ปทหติ ครั้นไตร่ตรองแล้วย่อมตั้งความเพียร คือ เมื่อไตร่ตรองด้วยวิปัสสนาเป็นเครื่องพิจารณาอย่างนี้ ย่อมตั้งความเพียรในมรรค.

บทว่า ปหิตตฺโต คือ

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 438

มีตนส่งไปแล้ว.

บทว่า กาเยน เจว ปรมสจฺจํ ย่อมทําให้แจ้งซึ่งบรมสัจจะด้วยกาย คือ ย่อมทําให้แจ้งซึ่งนิพพานสัจจะด้วยนามกาย.

บทว่า ปฺาย จ คือ ย่อมแทงตลอด ย่อมเห็นด้วยมรรคปัญญาอันสัมปยุตด้วยนามกาย.

บัดนี้ เพราะภิกษุเหล่านั้นได้ข่าวว่าพระศาสดาเสด็จมา ไม่ทําแม้เพียงการต้อนรับ. ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงติเตียนความประพฤติของภิกษุเหล่านั้น จึงตรัสพระดํารัสมีอาทิว่า สาปิ นาม ภิกฺขเว สทฺธา นาโหสิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ศรัทธาก็ไม่มีดังนี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า กีวทูเรวีเม คือ ในที่ไกลแสนไกล. ควรจะกล่าวว่าได้หลีกไปแล้วร้อยโยชน์บ้าง พันโยชน์บ้าง. แต่ไม่กล่าวอะไรๆ ได้เลย.

บทว่า จตุปฺปฺทํ เวยฺยากรณํ ท่านกล่าวหมายถึงการพยากรณ์อริยสัจ ๔.

บทว่า ยสฺสุทฺทิฏฺสฺส ตัดบทเป็น ยสฺส อุทฺทิฏฺสฺส ความว่า อันเรายกขึ้นแสดงแล้ว.

บทว่า โยปิ โส ภิกฺขเว สตฺถา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศาสดาใด ท่านแสดงถึงศาสดาภายนอก.

บทว่า เอวรูปี คือ มีชาติอย่างนี้.

ปโณปณวิยา เหมือนดังของตลาด คือ มีราคาขึ้นๆ ลงๆ.

บทว่า น อุเปติ ไม่เข้าถึง คือ ไม่มี.

อธิบายว่า ไม่มีราคาขึ้นๆ ลงๆ ดุจเวลาซื้อและขาย. เมื่อพูดว่าโคตัวนี้ราคาเท่าไร ราคา ๒๐ ชื่อว่าราคาขึ้น. เมื่อพูดว่าโคตัวนี้ราคาไม่ถึง ๒๐ ราคา ๑๐ เท่านั้น ชื่อว่าราคาลง. เมื่อพูดปฏิเสธคํานี้ ชื่อว่าราคาไม่ขึ้นไม่ลง.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงการขึ้นๆ ลงๆ นั้นจึงตรัสว่า ก็เมื่อเหตุอย่างนี้พึงมีแก่เรา. เราพึงทําเหตุนั้น. ก็เมื่อเหตุนั้นไม่พึงมีแก่เรา เราไม่พึงทําเหตุนั้น.

บทว่า กิํ ปน ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทําไมเล่า

ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเกี่ยวข้องด้วยอามิสทั้งหลายโดยประการทั้งปวง. การมีราคาขึ้นๆ ลงๆ เห็นปานนี้จักควรอย่างไร แก่พระศาสดาผู้เกี่ยวข้องแล้วอย่างนี้.

บทว่า ปริโยคยฺห วตฺตโต ผู้หยั่งลงแล้วประพฤติ

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 439

คือ หยั่งลงยกขึ้นถือเอาแล้วประพฤติ.

บทว่า อยํ ปน ธมฺโม คือ สภาพนี้.

บทว่า ชานาติ ภควา นาหํ ชานามิ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ เราไม่รู้ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้อานิสงส์ในการฉันอาหารหนเดียว เราไม่รู้.

ภิกษุเว้นการฉัน ๓ ครั้งต่อวันด้วยเชื่อในเราแล้ว ฉันอาหารหนเดียว.

บทว่า รุฬฺหนียํ คือ งอกงาม.

บทว่า โอชวนฺตํ มีโอชา คือ มีความอร่อย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความเพียรมีองค์ ๔ ด้วยบทนี้ว่า กามํ ตโจ จ จริงอยู่ ในบทนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า บุคคลตั้งความเพียรประกอบด้วยองค์ ๔ อย่างนี้ คือ หนังเป็นองค์ ๑ เอ็นเป็นองค์ ๑ กระดูกเป็นองค์ ๑ เนื้อและเลือดเป็นองค์ ๑ แล้วปฏิบัติอย่างนี้ว่า เราไม่บรรลุพระอรหัตแล้วจักไม่ลุกขึ้น ดังนี้.

บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาลงด้วยธรรมเป็นยอดแห่งพระอรหัตด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้ควรแนะนําได้ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถากีฏาคิริสูตรที่ ๑๐

จบภิกขุวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรในวรรคนี้มี ๑๐ สูตร คือ

๑. จูฬราหุโลวาทสูตร

๒. มหาราหุโลวาทสูตร

๓. จูฬมาลุงกยโอวาทสูตร

๔. มหามาลุงกยโอวาทสูตร

๕. ภัททาลิสูตร

๖. ลฑุกิโกปมสูตร

๗. จาตุมสูตร

๘. นฬกปานสูตร

๙. โคลิสสานิสูตร

๑๐. กีฏาคิริสูตร