พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. สันทกสูตร เรื่องสันทกปริพาชก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36081
อ่าน  605

[เล่มที่ 20] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 513

๖. สันทกสูตร

เรื่องสันทกปริพาชก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 20]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 513

๖. สันทกสูตร

เรื่องสันทกปริพาชก

[๒๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตเมืองโกสัมพี สมัยนั้น สันทกปริพาชกพร้อมด้วยปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ประมาณห้าร้อย อาศัยอยู่ ณ ถ้ำปิลักขคูหา. ครั้งนั้นเวลาเย็น ท่านพระอานนท์ออกจากที่เร้นแล้วเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายจะเข้าไปยังบ่อน้ำที่น้ำฝนเซาะเพื่อจะดูถ้ำ ภิกษุเหล่านั้นรับคําท่านพระอานนท์ว่า อย่างนั้นท่านผู้มีอายุ. ลําดับนั้น ท่านพระอานนท์พร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก เข้าไปยังบ่อน้ำที่น้ำฝนเซาะ. สมัยนั้น สันทกปริพาชกนั่งอยู่กับปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ ซึ่งกําลังพูดติรัจฉานกถาเป็นอันมาก ด้วยเสียงสูง เสียงใหญ่อึงคนึง คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอํามาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องนางกุมภทาสี เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้นๆ.

สันทกปริพาชกได้เห็นท่านพระอานนท์กําลังมาแต่ไกล จึงห้ามบริษัทของตนให้สงบเสียงว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงเบาเสียงเถิด ท่านผู้เจริญทั้งหลาย อย่าทําเสียงดังต่อไปเลย นี่สาวกของพระสมณโคดม เป็นสมณะชื่ออานนท์กําลังมาอยู่ สมณะชื่ออานนท์นี้ เป็นสาวกองค์หนึ่ง ในบรรดาสาวกของพระ-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 514

โคดมที่อาศัยอยู่ ณ เมืองโกสัมพี ก็ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เป็นผู้ใคร่ในความเป็นผู้มีเสียงเบา แนะนําในความมีเสียงเบา กล่าวสรรเสริญเสียงเบา ถ้ากระไรสมณะชื่ออานนท์นั้น ทราบว่าบริษัทมีเสียงเบาแล้ว พึงสําคัญที่จะเข้ามาใกล้. ลําดับนั้น ปริพาชกเหล่านั้นได้นิ่งอยู่ ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปหาปริพาชกถึงที่ใกล้ สันทกปริพาชกได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า เชิญมาเถิดท่านพระอานนท์ ท่านพระอานนท์มาดีแล้ว ต่อนานๆ ท่านพระอานนท์จึงจะได้ทําเหตุเพื่อจะมาในที่นี้ เชิญนั่งเถิดท่านพระอานนท์ นี้อาสนะปูไว้แล้ว ท่านพระอานนท์นั่งบนอาสนะที่ปูไว้แล้ว แม้สันทกปริพาชกถือเอาอาสนะอันต่ําแห่งหนึ่ง แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ธรรมิกกถา

[๒๙๔] ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะสันทกปริพาชกว่า ดูก่อนสันทกะ เมื่อกี้นี้ ท่านทั้งหลายประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร และเรื่องอะไรที่ท่านทั้งหลายหยุดค้างไว้ในระหว่าง.

ส. ท่านพระอานนท์ เรื่องที่ข้าพเจ้าทั้งหลายประชุมสนทนาเมื่อกี้นั้น ขอยกไว้เสียเถิด เรื่องนั้นท่านพระอานนท์จักได้ฟังแม้ในภายหลังโดยไม่ยาก ดีละหนอ ขอเรื่องที่เป็นธรรมในลัทธิแห่งอาจารย์ของตนจงแจ่มแจ้งแก่ท่านพระอานนท์เถิด.

อา. ดูก่อนสันทกะ ถ้าเช่นนั้นท่านจงฟัง จงมนสิการให้ดี เราจักกล่าว สันทกปริพาชกรับคําท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูก่อนสันทกะ ลัทธิสมัยอันไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ๔ ประการนี้ และพรหมจรรย์อันเว้นความยินดี ๔ ประการ ที่วิญูชนไม่ฟังอยู่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 515

ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สําเร็จไม่ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ตรัสไว้แล้ว.

ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ก็ลัทธิสมัยอันไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ๔ ประการ ที่วิญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สําเร็จไม่ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ตรัสไว้แล้วนั้น เป็นไฉน.

[๒๙๕] ดูก่อนสันทกะ ศาสดาบางคนในโลกนี้ มีปกติกล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทําดีทําชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาบิดาไม่มี สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดําเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งกระทําโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง และสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ไม่มีในโลก คนเรานี้เป็นแต่ประชุมมหาภูตทั้งสี่ เมื่อทํากาลกิริยา ธาตุดินไปตามธาตุดิน ธาตุน้ำไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟไปตามธาตุไฟ ธาตุลมไปตามธาตุลม อินทรีย์ทั้งหลายย่อมเลื่อนลอยไปสู่อากาศ คนทั้งหลายมีเตียงเป็นที่ ๕ จะหามเขาไปเมื่อตายแล้ว ร่างกายปรากฏอยู่แค่ป่าช้า กลายเป็นกระดูกมีสีดุจนกพิลาป การเซ่นสรวงมีเถ้าเป็นที่สุด ทานนี้คนเขลาบัญญัติไว้ คําของคนบางพวกพูดว่า มีผลๆ ล้วนเป็นคําเปล่า คําเท็จ คําเพ้อ เพราะกายสลาย ทั้งพาลทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญพินาศสิ้น เบื้องหน้าแต่ตายไป ย่อมไม่มี ดังนี้.

ว่าด้วยอพรหมจริยวาส

[๒๙๖] ดูก่อนสันทกะ ในลัทธิของศาสดานั้น วิญูชนย่อมตระหนักดังนี้ว่า ท่านศาสดาผู้มีปกติกล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า การบูชาไม่มี

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 516

ผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทําดีทําชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาบิดาไม่มี สัตว์ที่เกิดผุดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดําเนินชอบปฏิบัติชอบ ซึ่งทําโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งไม่มีในโลก คนเรานี้เป็นแต่ประชุมมหาภูตทั้งสี่ เมื่อทํากาลกิริยา ธาตุดินไปตามธาตุดิน ธาตุน้ำไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟไปตามธาตุไฟ ธาตุลมไปตามธาตุลม อินทรีย์ทั้งหลายย่อมเลื่อนลอยไปสู่อากาศ คนทั้งหลายมีเตียงเป็นที่ ๕ จะหามเขาไปเมื่อตายแล้ว ร่างกายปรากฏอยู่แค่ป่าช้า กลายเป็นกระดูกมีสีดุจนกพิลาป การเซ่นสรวงมีเถ้าเป็นที่สุด ทานนี้คนเขลาบัญญัติไว้ คําของคนบางพวกพูดว่ามีผลๆ ล้วนเป็นคําเปล่า คําเท็จ คําเพ้อ เพราะกายสลาย ทั้งพาลทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญพินาศสิ้น เบื้องหน้าแต่ตายไปย่อมไม่มีดังนี้.

ถ้าคําของศาสดาผู้นี้เป็นคําจริง กรรมในลัทธินี้ ที่เราไม่ได้ทําเลยเป็นอันทําแล้ว พรหมจรรย์ในลัทธินี้ที่เราไม่ได้อยู่เลยเป็นอันอยู่แล้ว แม้เราทั้งสอง คือ เราผู้ไม่ได้กล่าวว่า เพราะกายสลาย แม้เราทั้งสองจักขาดสูญพินาศสิ้น เบื้องหน้าแต่ตายไปจักไม่มีดังนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้เสมอๆ กัน ถึงความเป็นผู้เสมอๆ กันในลัทธินี้ ที่ยิ่งกว่ากันก็คือ ความที่ท่านศาสดานี้เป็นผู้ประพฤติเปลือยกาย เป็นคนศีรษะโล้น ทําความเพียรในการเดินกระโหย่ง ถอนผมและหนวด เมื่อเราอยู่ครองเรือนนอนเบียดกับบุตร ประพรมแก่นจันทน์เมืองกาสี ทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดีทองและเงินอยู่ ก็จักเป็นผู้มีคติเสมอๆ กับท่านศาสดานี้ในภพหน้าได้ เรานั้นรู้อะไร เห็นอะไรอยู่ จึงจักประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานี้ วิญูชนนั้นครั้นรู้ว่าลัทธินี้ไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ได้ ดังนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น.

ดูก่อนสันทกะ ลัทธิอันไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ได้ ที่วิญูชนไม่

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 517

พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สําเร็จไม่ได้ เป็นประการที่หนึ่งนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ตรัสไว้แล้ว.

[๒๙๗] ดูก่อนสันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ มีปรกติกล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทําเอง ใช้ให้ผู้อื่นทํา ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทําเขาให้เศร้าโศกเอง ใช้ผู้อื่นทําเขาให้เศร้าโศก ทําให้เขาลําบากเอง ใช้ผู้อื่นให้ทําเขาให้ลําบาก ให้ดิ้นรนเอง ใช้ผู้อื่นทําเขาให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ทําโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ที่ทางเปลี่ยว ทําชู้ภรรยาเขา พูดเท็จ ผู้ทําไม่ชื่อว่าทําบาป.

แม้หากผู้ใดจะใช้จักร ซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกน สังหารเหล่าสัตว์ในปถพีนี้ให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้ออันเดียวกัน บาปที่มีการทําเช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา.

แม้หากบุคคลจะไปยังฝังขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน บาปที่มีการทําเช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา.

แม้หากบุคคลจะไปยังฝังซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา บุญที่มีการทําเช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา ด้วยการให้ทาน การทรมานอินทรีย์ การสํารวมศีล การกล่าวคําสัตย์ บุญย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขาดังนี้.

[๒๙๘] ดูก่อนสันทกะ ในลัทธิท่านศาสดานี้ วิญูชนย่อมเห็นตระหนักดังนี้ว่า ท่านศาสดาผู้มีปกติกล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 518

บุคคลทําเอง ใช้ให้ผู้อื่นทํา ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทําเขาให้เศร้าโศกเอง ให้ผู้อื่นทําเขาให้เศร้าโศก ทําเขาให้ลําบากเอง ใช้ผู้อื่นให้ทําเขาให้ลําบาก ให้ดิ้นรนเอง ใช้ผู้อื่นทําเขาให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ทําโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ที่ทางเปลี่ยว ทําชู้ภรรยาเขา พูดเท็จ ผู้ทําไม่ชื่อว่าทําบาป.

แม้หากผู้ใดจะใช้จักรซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกน สังหารเหล่าสัตว์ในปถพีนี้ให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้ออันเดียวกัน บาปที่มีการทำนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา.

แม้หากบุคคลจะไปยังฝังขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน บาปที่มีการทําเช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา.

แม้หากบุคคลจะไปยังฝังซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา บุญที่มีการทําเช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา ด้วยการให้ทาน การทรมานอินทรีย์ การสํารวมศีล การกล่าวคําสัตย์ บุญย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา ดังนี้.

ถ้าคําของศาสดานี้เป็นคําจริง กรรมในลัทธินี้ที่เราไม่ได้ทําเลยเป็นอันทําแล้ว พรหมจรรย์ในลัทธินี้เราไม่ได้อยู่เลยเป็นอันอยู่แล้ว แม้เราทั้งสอง เป็นผู้เสมอกัน ถึงความเสมอกันในลัทธินี้ เราไม่ได้กล่าวว่า เราทั้งสองผู้ทําไม่ชื่อว่าทําบาป ที่ยิ่งกว่ากันก็คือความที่ท่านศาสดานี้เป็นผู้ประพฤติเปลือยกาย เป็นคนศีรษะโล้น ทําความเพียรในการเดินกระโหย่ง ถอนผมและหนวด เมื่อเราอยู่ครองเรือนนอนเบียดกับบุตร ประพรมแก่นจันทน์เมืองกาสี ทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดีทองและเงินอยู่ ก็จักเป็นผู้มีคติเสมอๆ กับท่านศาสดานี้ในภพหน้าได้ เรานั้นรู้อะไรเห็นอะไรอยู่ จึงจักประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานี้ วิญูชนนั้นครั้น

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 519

รู้ว่า ลัทธินี้ไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ได้ดังนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น.

ดูก่อนสันทกะ ลัทธิอันไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ได้ ที่วิญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ถึงเมื่ออยู่ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สําเร็จไม่ได้ เป็นประการที่สองนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ตรัสไว้แล้ว.

[๒๙๙] ดูก่อนสันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกมีปกติกล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองแห่งสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหาเหตุหาปัจจัยมิได้ ย่อมเศร้าหมองเอง ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหาเหตุหาปัจจัยมิได้ ย่อมบริสุทธิ์เอง ไม่มีกําลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีเรี่ยวแรงของบุรุษ ไม่มีความบากบั่นของบุรุษ สัตว์ทั้งปวง ปาณะทั้งปวง ภูตะทั้งปวง ชีวะทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร แปรไปตามเคราะห์ดีเคราะห์ร้าย ตามความประจวบ ตามความเป็นเอง ย่อมเสวยสุขเสวยทุกข์ในอภิชาติทั้งหกเท่านั้น ดังนี้.

[๓๐๐] ดูก่อนสันทกะ ในลัทธิของศาสดานั้น วิญูชนย่อมเห็นตระหนักดังนี้ว่า ท่านศาสดาผู้มีปกติกล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองแห่งสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหาเหตุหาปัจจัยมิได้ย่อมเศร้าหมองเอง ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหาเหตุหาปัจจัยมิได้ย่อมบริสุทธิ์เอง ไม่มีกําลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีเรี่ยวแรงของบุรุษ ไม่มีความบากบั่นของบุรุษ สัตว์ทั้งปวง ปาณะทั้งปวง ภูตะทั้งปวง ชีวะทั้งปวง ล้วนไม่มีอํานาจ ไม่มีกําลัง ไม่มี

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 520

ความเพียร แปรไปตามเคราะห์ดีเคราะห์ร้าย ตามความประจวบ ตามความเป็นเอง ย่อมเสวยสุข เสวยทุกข์ในอภิชาติทั้งหกเท่านั้น ดังนี้.

ถ้าคําของท่านศาสดานี้เป็นคําจริง กรรมในลัทธินี้ที่เราไม่ได้ทําเลยเป็นอันทําแล้ว พรหมจรรย์ในลัทธินี้ที่เราไม่ได้อยู่เลยเป็นอันอยู่แล้ว แม้เราทั้งสองคือเราผู้ไม่ได้กล่าวว่า เราทั้งสองหาเหตุหาปัจจัยมิได้จักบริสุทธิ์เอง ดังนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้เสมอๆ กัน ถึงความเป็นผู้เสมอกันในลัทธินี้ ที่ยังยิ่งกว่านั้นก็คือ ความที่ท่านศาสดานี้เป็นผู้ประพฤติเปลือยกาย เป็นคนศีรษะโล้น ทําความเพียรในการเดินกระโหย่ง ถอนผมและหนวด เมื่อเราอยู่ครองเรือนนอนเบียดกับบุตร ประพรมแก่นจันทน์เมืองกาสี ทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดีทองและเงินอยู่ ก็จักเป็นผู้มีคติเสมอๆ กันกับท่านศาสดานี้ในภพหน้าได้ เรานั้นรู้อะไร เห็นอะไรอยู่ จึงจักประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานี้ วิญูชนนั้นนั้นครั้นรู้ว่า ลัทธินี้ไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ได้ดังนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น.

ดูก่อนสันทกะ ลัทธิอันไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ที่วิญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรม เครื่องออกไปจากทุกข์ให้สําเร็จไม่ได้ เป็นประการที่สามนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ตรัสไว้แล้ว.

[๓๐๑] ดูก่อนสันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ มีปกติกล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า สภาวะ ๗ กองเหล่านี้ ไม่มีใครทํา ไม่มีแบบอย่างอันใครทํา ไม่มีใครนิรมิต ไม่มีใครให้นิรมิต เป็นหมัน ตั้งอยู่มั่นคงดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด สภาวะ ๗ กองเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 521

ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่เบียดเบียนกันและกัน ไม่อาจให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์แก่กันและกัน.

สภาวะ ๗ กองเป็นไฉน คือ กองดิน กองน้ำ กองไฟ กองลม สุข ทุกข์ ชีวะเป็นที่ ๗ สภาวะ ๗ กองนี้ ไม่มีใครทํา ไม่มีแบบอย่างอันใครทํา ไม่มีใครนิรมิต ไม่มีใครให้นิรมิต เป็นสภาวะยั่งยืน ตั้งอยู่มั่นคงดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด สภาวะ ๗ กองเหล่านั้น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่เบียดเบียนกันและกัน ไม่อาจให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขทั้งทุกข์แก่กันและกัน ผู้ฆ่าเองก็ดี ผู้ใช้ให้ฆ่าก็ดี ผู้ได้ยินก็ดี ผู้กล่าวให้ได้ยินก็ดี ผู้เข้าใจความก็ดี ผู้ทําให้เข้าใจความก็ดี ไม่มีในสภาวะ ๗ กองนั้น.

เพราะแม้บุคคลจะเอาศัตราอย่างคมตัดศีรษะกัน ก็ไม่ชื่อว่าใครๆ ปลงชีวิตใครๆ เป็นแต่ศัตราสอดไปในช่องแห่งสภาวะ ๗ กองเท่านั้นดังนี้ ก็แต่กําเนิดที่เป็นประธาน ๑,๔๐๖,๖๐๐ กรรม ๕๐๐ กรรม ๕ กรรม ๓ กรรม ๑ กรรมครึ่ง ปฏิปทา ๖๒ อันตรกัป ๖๒ อภิชาติ ๖ ปุริสภูมิ ๘ อาชีวก ๔,๙๐๐ ปริพาชก ๔,๙๐๐ นาคาวาส ๔,๙๐๐ อินทรีย์ ๒,๐๐๐ นรก ๓,๐๐๐ รโชธาตุ ๓๖ สัญญีครรภ์ ๗ อสัญญีครรภ์ ๗ นิคันถครรภ์ ๗ เทวดา ๗ มนุษย์ ๗ ปีศาจ ๗ สระ ๗ ปวุฏะ ๗ หิน ๗ เหวใหญ่ ๗ เหวน้อย ๗๐๐ มหาสุบิน ๗ สุบิน ๗๐๐ มหากัป ๘,๔๐๐,๐๐๐ เหล่านี้ ที่พาลและบัณฑิตเร่ร่อนท่องเที่ยวไปแล้วจักทําที่สุดทุกข์ได้ ความสมหวังว่า เราจักบ่มกรรมที่ยังไม่อํานวยผลให้อํานวยผล หรือเราสัมผัสถูกต้องกรรมที่อํานวยผลแล้ว จักทําให้สุดสิ้นด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ ไม่มีในที่นั้น สุขทุกข์ที่ทําให้มีที่สิ้นสุดได้ เหมือนตวงของให้หมดด้วยทะนาน ย่อมไม่มีในสงสารด้วยอาการอย่างนี้เลย ไม่มีความเสื่อม ความเจริญ ไม่มีการเลื่อนขึ้นเลื่อนลง พาลและบัณฑิตเร่ร่อนท่องเที่ยวไป จักทําที่สุดทุกข์ได้เอง เหมือนกลุ่มด้ายที่บุคคลขว้างไป ย่อมคลี่หมดไปเองฉะนั้น ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 522

[๓๐๒] ดูก่อนสันทกะ ในลัทธิของศาสดานั้น วิญูชนย่อมเห็นตระหนักดังนี้ว่า ท่านศาสดาผู้มีปกติกล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ไม่มีใครทํา ไม่มีแบบอย่างอันใครทํา ไม่มีใครนิรมิต ไม่มีใครให้นิรมิต เป็นสภาวะยั่งยืน ตั้งอยู่มั่นคงดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด สภาวะ ๗ กองเหล่านั้น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่เบียดเบียนกันและกัน ไม่อาจให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขทั้งทุกข์แก่กันและกัน.

สภาวะ ๗ กองเป็นไฉน คือ กองดิน กองน้ำ กองไฟ กองลม สุข ทุกข์ ชีวะเป็นที่ ๗ สภาวะ ๗ กองนี้ ไม่มีใครทํา ไม่มีแบบอย่างอันใครทํา ไม่มีใครนิรมิต ไม่มีใครให้นิรมิต เป็นสภาวะยั่งยืน ตั้งอยู่มั่นคงดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด สภาวะ ๗ กองเหล่านั้น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่เบียดเบียนกันและกัน ไม่อาจให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขทั้งทุกข์แก่กันและกัน ผู้ฆ่าเองก็ดี ผู้ใช้ให้ฆ่าก็ดี ผู้ได้ยินก็ดี ผู้กล่าวให้ได้ยินก็ดี ผู้เข้าใจความก็ดี ผู้ทําให้เข้าใจความก็ดี ไม่มีในสภาวะ ๗ กองนั้น เพราะแม้ว่าบุคคลจะเอาศัสตราอย่างคมตัดศีรษะกัน ก็ไม่ชื่อว่าใครๆ ปลงชีวิตใครๆ เป็นแต่ศัสตราสอดไปตามช่องแห่งสภาวะ ๗ กองเท่านั้นดังนี้.

ก็แต่กําเนิดที่เป็นประธาน ๑,๔๐๖,๖๐๐ กรรม ๕๐๐ กรรม ๕ กรรม ๓ กรรมครึ่ง ปฏิปทา ๖๒ อันตรกัป ๖๒ อภิชาติ ๖ ปุริสภูมิ ๘ อาชีวก ๔,๙๐๐ ปริพาชก ๔,๙๐๐ นาคาวาส ๔,๙๐๐ อินทรีย์ ๒,๐๐๐ นรก ๓,๐๐๐ รโชธาตุ ๓๖ สัญญีครรภ์ ๗ อสัญญีครรภ์ ๗ เทวดา ๗ มนุษย์ ๗ ปีศาจ ๗ สระ ๗ ปวุฏะ ๗ หิน ๗ เหวใหญ่ ๗ เหวน้อย ๗๐๐ มหาสุบิน ๗ สุบิน ๗๐๐ มหากัป ๘,๔๐๐,๐๐๐ เหล่านี้ ที่พาลและบัณฑิตเร่ร่อนท่องเที่ยวไปแล้วจักทําที่สุดทุกข์ได้ ความสมหวังว่าเราจักบ่มกรรมที่ยังไม่อํานวยผลให้อํานวยผล หรือเราสัมผัสถูกต้องกรรมที่อํานวยผลแล้ว จัก

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 523

ทําให้สุดสิ้นด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ไม่มีในที่นั้น สุขทุกข์ที่ทําให้มีที่สิ้นสุดได้เหมือนตวงของให้หมดด้วยทะนานย่อมไม่มีในสงสารด้วยอาการอย่างนี้เลย ไม่มีความเสื่อม ความเจริญ ไม่มีการเลื่อนขึ้นเลื่อนลง พาลและบัณฑิตเร่ร่อนท่องเที่ยวไป จักทําที่สุดทุกข์ได้เอง เหมือนกลุ่มด้ายที่บุคคลขว้างไปย่อมคลี่หมดไปเอง ฉะนั้น ดังนี้.

ถ้าคําของท่านศาสดานี้เป็นคําจริง กรรมในลัทธินี้ที่เราไม่ได้ทําเลยเป็นอันทําแล้ว พรหมจรรย์ในลัทธินี้ที่เรามิได้อยู่เลยเป็นอันอยู่แล้ว แม้เราทั้งสองคือเราผู้มิได้กล่าวว่า เราทั้งสองเร่ร่อนท่องเที่ยวไปแล้วจักทําที่สุดทุกข์ได้ก็ดี ก็ชื่อว่าเป็นผู้เสมอๆ กัน ถึงความเป็นผู้เสมอกันในลัทธินี้ ที่ยิ่งกว่ากันก็คือความที่ท่านศาสดานี้เป็นผู้ประพฤติเปลือยกาย เป็นคนศีรษะโล้น ทําความเพียรในการเดินกระโหย่ง ถอนผมและหนวด เมื่อเราอยู่ครองเรือนนอนเบียดกับบุตร ประพรมแก่นจันทน์เมืองกาสี ทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดีทองและเงินอยู่ ก็จักเป็นผู้มีคติเสมอๆ กันกับท่านศาสดานี้ในภพหน้าได้ เรานั้นรู้อะไรเห็นอะไรอยู่ จึงจักประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานี้ วิญูชนนั้นครั้นรู้ว่า ลัทธินี้ไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ได้ดังนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น.

ดูก่อนสันทกะ ลัทธิอันไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ที่วิญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ก็ยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สําเร็จไม่ได้ เป็นประการที่สี่นี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ตรัสไว้แล้ว.

ดูก่อนสันทกะ ลัทธิสมัยอันไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ที่วิญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ ก็ยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สําเร็จไม่ได้ สี่ประการนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบพระองค์นั้น ตรัสไว้แล้ว.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 524

[๓๐๓] ท่านพระอานนท์ ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นผู้รู้ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ตรัสลัทธิอันไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์สี่ประการ ที่วิญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สําเร็จไม่ได้นี้ น่าอัศจรรย์ ท่านพระอานนท์ไม่เคยมี ท่านพระอานนท์ ก็พรหมจรรย์อันเว้นความยินดีสี่ประการ ที่วิญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สําเร็จไม่ได้เหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระองค์นั้นตรัสไว้แล้ว เป็นไฉน.

[๓๐๔] ดูก่อนสันทกะ ศาสดาบางคนในโลกนี้ ตั้งตนเป็นสัพพัญูรู้เห็นธรรมทั้งปวง ปฏิญาณความรู้ความเห็นอันไม่มีส่วนเหลือว่า เมื่อเราเดินอยู่ก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับแล้วก็ดี ตื่นอยู่ก็ดี ความรู้ความเห็นปรากฏเสมอเป็นนิจ ศาสดานั้นเข้าไปเรือนว่างบ้าง ไม่ได้ก้อนข้าวบ้าง สุนัขกัดเอาบ้าง พบม้าดุบ้าง พบโคดุบ้าง ถามถึงชื่อบ้าง โคตรบ้าง ของหญิงบ้าง ของชายบ้าง ถามถึงชื่อบ้าง หนทางบ้าง ของบ้านบ้าง ของนิคมบ้าง เมื่อถูกถามว่านี่อะไร ก็ตอบเขาว่า เราเข้าไปยังเรือนว่างด้วยกิจที่เราจําต้องเข้าไป เราไม่ได้ก้อนข้าวด้วยเหตุที่เราไม่ควรได้ เราเป็นผู้ถูกสุนัขกัดด้วยเหตุที่ควรถูกกัด เราพบช้างดุด้วยเหตุที่ควรพบ เราถามถึงชื่อบ้าง โคตรบ้าง ของหญิงบ้าง ของชายบ้าง ด้วยเหตุที่ควรถาม เราถามถึงชื่อบ้าง ทางบ้าง ของบ้านบ้าง ของนิคมบ้าง ด้วยเหตุที่ควรถาม.

ดูก่อนสันทกะ ในพรหมจรรย์ของศาสดานั้น วิญูชนย่อมทราบตระหนักดังนี้ว่า ท่านศาสดาซึ่งตั้งตัวเป็นสัพพัญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ปฏิ-

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 525

ญาณความรู้ความเห็นอันไม่มีส่วนเหลือว่า เมื่อเราเดินอยู่ก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับแล้วก็ดี ตื่นอยู่ก็ดี ความรู้ความเห็นปรากฏเสมอเป็นนิจ ศาสดานั้นเข้าไปยังเรือนว่างบ้าง ไม่ได้ก้อนข้าวบ้าง สุนัขกัดบ้าง พบช้างดุบ้าง พบม้าดุบ้าง พบโคดุบ้าง ถามชื่อบ้าง โคตรบ้าง ของหญิงบ้าง ของชายบ้าง ถามถึงชื่อบ้าง หนทางบ้าง ของบ้านบ้าง ของนิคมบ้าง ศาสดานั้นเมื่อถูกถามว่านี่อะไร ก็ตอบเขาว่า เราเข้าไปยังเรือนว่างด้วยกิจที่เราจําต้องเข้าไป เราไม่ได้ก้อนข้าวด้วยเหตุที่เราไม่ควรได้ เราเป็นผู้ถูกสุนัขกัดด้วยเหตุที่ควรถูกกัด เราพบช้างดุด้วยเหตุที่ควรพบ เราพบม้าดุด้วยเหตุที่ควรพบ เราพบโคดุด้วยเหตุที่ควรพบ เราถามถึงชื่อบ้าง โคตรบ้าง ของหญิงบ้าง ของชายบ้าง ด้วยเหตุที่ควรถาม เราถามถึงชื่อบ้าง หนทางบ้าง ของบ้านบ้าง ของนิคมบ้าง ด้วยเหตุที่ควรถาม ดังนี้.

วิญูชนครั้นรู้ว่า พรหมจรรย์นี้เว้นจากความยินดีดังนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปเสียจากพรหมจรรย์นั้น.

ดูก่อนสันทกะ พรหมจรรย์อันเว้นจากความยินดี ที่วิญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สําเร็จไม่ได้ ประการที่หนึ่งนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบพระองค์นั้น ตรัสไว้แล้ว.

[๓๐๕] ดูก่อนสันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้เป็นผู้เชื่อถือการฟังตามกัน เป็นผู้เชื่อว่าจริงด้วยการฟังตามกัน ศาสดานั้นจึงแสดงธรรมโดยฟังตามกัน โดยสืบๆ กันมาว่าอย่างนั้นๆ โดยอ้างตํารา ดูก่อนสันทกะ ก็เมื่อศาสดาเชื่อถือการฟังตามกัน เชื่อว่าจริงด้วยการฟังตามกันแล้ว ย่อมมีการฟังดีบ้าง มีการฟังชั่วบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างอื่นบ้าง.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 526

ดูก่อนสันทกะ ในพรหมจรรย์ของศาสดานั้น วิญูชนย่อมทราบตระหนักดังนี้ว่า ท่านศาสดานี้เป็นผู้เชื่อถือการฟังตามกัน เชื่อว่าจริงด้วยการฟังตามกัน ท่านศาสดาผู้นั้นแสดงธรรมโดยการฟังตามกัน โดยสืบๆ กันมาว่าอย่างนั้นๆ โดยอ้างตํารา ก็เมื่อศาสดาเชื่อถือการฟังตามกัน เชื่อว่าจริงด้วยการฟังตามกันแล้ว ย่อมมีการฟังดีบ้าง การฟังชั่วบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างอื่นบ้าง ดังนี้.

วิญูชนนั้นครั้นรู้ว่าพรหมจรรย์นี้เว้นจากความยินดีดังนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปเสียจากพรหมจรรย์นั้น.

ดูก่อนสันทกะ พรหมจรรย์อันเว้นจากความยินดีที่วิญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สําเร็จไม่ได้ ประการที่สองนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบพระองค์นั้น ตรัสไว้แล้ว.

[๓๐๖] ดูก่อนสันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้เป็นผู้ใช้ความตรึก เป็นผู้ใช้ความพิจารณา ศาสดานั้นจึงแสดงธรรมตามปฏิภาณของตนเทียบเหตุตามความที่ตนตรึก คล้อยตามความที่ตนพิจารณา ดูก่อนสันทกะ ก็เมื่อศาสดาใช้ความตรึก ใช้ความพิจารณาแล้ว ก็ย่อมมีความตรึกดีบ้าง ความตรึกชั่วบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างอื่นบ้าง.

ดูก่อนสันทกะ ในพรหมจรรย์ของศาสดานั้น วิญูชนย่อมทราบตระหนักดังนี้ว่า ท่านศาสดาจารย์นี้เป็นผู้ใช้ความตรึก เป็นผู้ใช้ความพิจารณา ท่านศาสดาจารย์นั้นย่อมแสดงธรรมตามปฏิภาณของตนเทียบเหตุตามความที่ตนตรึก คล้อยตามความที่ตนพิจารณา ก็เมื่อศาสดาเป็นผู้ใช้ความตรึก ใช้ความพิจารณาแล้ว ก็ย่อมมีความตรึกดีบ้าง ความตรึกชั่วบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างอื่นบ้าง วิญูชนนั้น ครั้นรู้ว่าพรหมจรรย์นี้เว้นจากความยินดีดังนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปเสียจากพรหมจรรย์นั้น.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 527

ดูก่อนสันทกะ พรหมจรรย์อันเว้นจากความยินดีที่วิญูชนไม่พึงประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สําเร็จไม่ได้ ประการที่สามนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบพระองค์นั้น ตรัสไว้แล้ว.

[๓๐๗] ดูก่อนสันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นคนเขลางมงาย เพราะเป็นคนเขลา เพราะเป็นคนงมงาย ศาสดานั้นเมื่อถูกถามปัญหาอย่างนั้นๆ ย่อมถึงความส่ายวาจา คือ ตอบดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า ความเห็นของเราว่าอย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ดังนี้.

ดูก่อนสันทกะ ในพรหมจรรย์ของศาสดานั้น วิญูชนย่อมทราบตระหนักดังนี้ว่า ท่านศาสดานี้เป็นคนเขลางมงาย เพราะเป็นคนเขลา เพราะเป็นคนงมงาย ศาสดานั้นเมื่อถูกถามปัญหาอย่างนั้นๆ ย่อมถึงความส่ายวาจา คือ ตอบดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า ความเห็นของเราว่าอย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ดังนี้.

วิญูชนนั้น ครั้นรู้ว่าพรหมจรรย์นี้เว้นจากความยินดีดังนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปเสียจากพรหมจรรย์นั้น.

ดูก่อนสันทกะ พรหมจรรย์อันเว้นจากความยินดี ที่วิญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ ก็ยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สําเร็จไม่ได้ ประการที่สี่นี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบพระองค์นั้น ตรัสไว้แล้ว.

ดูก่อนสันทกะ พรหมจรรย์อันเว้นจากความยินดี ที่วิญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สําเร็จไม่ได้ สี่ประการนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบพระองค์นั้น ตรัสไว้แล้ว.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 528

[๓๐๘] ท่านพระอานนท์ ข้อที่พรหมจรรย์อันเว้นจากความยินดีสี่ประการนั้นแหละ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสว่าเป็นพรหมจรรย์ เว้นจากความยินดี ที่วิญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกจากทุกข์ให้สําเร็จไม่ได้นี้ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ท่านพระอานนท์ ก็ศาสดานั้นมีปรกติกล่าวอย่างไร บอกอย่างไร ในพรหมจรรย์ที่วิญูชนพึงอยู่โดยส่วนเดียว และเมื่ออยู่ ก็ยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สําเร็จได้.

ว่าด้วยณาน ๔

[๓๐๙] ดูก่อนสันทกะ พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จําแนกพระธรรม พระตถาคตพระองค์นั้นทรงทําโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง แล้วทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.

คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี หรือผู้เกิดเฉพาะในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้ว ได้ศรัทธาในพระตถาคต เขาประกอบด้วยการได้ศรัทธานั้น ย่อมเห็นตระหนักว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทําได้ง่าย

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 529

ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งผ้ากาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิต.

เมื่อบวชแล้วเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพของภิกษุทั้งหลาย ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศัสตราแล้ว มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาด ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกลเว้นจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่ความจริง ดํารงสัตย์ พูดเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก ละคําส่อเสียด เว้นขาดจากคําส่อเสียด ฟังจากข้างนี้ แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้น แล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน ละคําหยาบ เว้นขาดจากคําหยาบ กล่าวแต่คําที่ไม่มีโทษ เพราะหูชวนให้รักจับใจเป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ ละคําเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคําเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คําที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คํามีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กําหนด ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาลอันควร เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม ฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล เว้นขาดจากการฟ้อนรําขับร้อง การประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เว้นขาดจากการทัดทรงประดับและตกแต่งร่างกาย ด้วยดอกไม้ของหอมและเครื่องประเทืองผิวอัน

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 530

เป็นฐานแห่งการแต่งตัว เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่ง ที่นอนอันสูงใหญ่ เว้นขาดจากการรับทองและเงิน เว้นขาดจากการรับธัญชาติดิบ เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร เว้นขาดจากการรับช้าง วัว ม้า และลา เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เว้นขาดจากการซื้อและการขาย เว้นขาดจากการฉ้อโกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจํา การตีชิง การปล้นและกรรโชก เธอเป็นผู้สันโดษ ด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง นกมีปีกจะบินไปทางทิศาภาคใดๆ ก็มีแต่ปีกของตัวเองเป็นภาระบินไปฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง.

เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสํารวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สํารวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงํา ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ เธอฟังเสียงด้วยหู... ดมกลิ่นด้วยจมูก... ลิ้มรสด้วยลิ้น... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสํารวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สํารวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงํานั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสํารวมในมนินทรีย์ ภิกษุประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันบริสุทธิ์ ไม่ระคนด้วยกิเลสเฉพาะตน.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 531

เธอย่อมทําความรู้สึกตัวในการก้าวไป ในการถอยกลับ ย่อมทําความรู้สึกตัวในการแล ในการเหลียว ย่อมทําความรู้สึกตัว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ย่อมทําความรู้สึกตัว ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ย่อมทําความรู้สึกตัว ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ย่อมทําความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ย่อมทําความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง.

ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรีย์สังวร สติสัมปชัญญะและสันโดษ อันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ในกาลภายหลังภัต เธอกลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดํารงสติไว้เฉพาะหน้า เธอละความโลภในโลก มีใจปราศจากความโลภอยู่ ย่อมชําระจิตให้บริสุทธิ์จากความโลภ ละความประทุษร้าย คือ พยาบาท ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชําระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้าย คือ พยาบาท ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกําหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชําระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชําระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชําระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา.

ภิกษุนั้นครั้นละนิวรณ์ทั้งห้าเหล่านี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทําปัญญาให้ถอยกําลังแล้ว เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่.

ดูก่อนสันทกะ ก็สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอันโอฬารเห็นปานนี้ ในศาสดาใด วิญูชนพึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานั้นโดยส่วนเดียว และเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สําเร็จได้.

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 532

ดูก่อนสันทกะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่.

ดูก่อนสันทกะ ก็สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอันโอฬาร เห็นปานนั้น ในศาสดาใด วิญูชนพึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานั้นโดยส่วนเดียว และเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สําเร็จได้.

ดูก่อนสันทกะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาณที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข.

ดูก่อนสันทกะ ก็สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอันโอฬารเห็นปานนี้ ในศาสดาใด วิญูชนพึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานั้นโดยส่วนเดียว และเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สําเร็จได้.

ดูก่อนสันทกะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละทุกข์ละสุข และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.

ดูก่อนสันทกะ ก็สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอันโอฬารเห็นปานนี้ในศาสดาใด วิญูชนพึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานั้นโดยส่วนเดียว และเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สําเร็จได้.

วิชชา ๓

[๓๑๐] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็น

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 533

อันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข เสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกําหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกําหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.

ดูก่อนสันทกะ ก็สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอันโอฬารเห็นปานนี้ในศาสดาใด วิญูชนพึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานั้นโดยส่วนเดียว และเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สําเร็จได้.

ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กําลังจุติ กําลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านั้น ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทําด้วยอํานาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านั้นประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทําด้วยอํานาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ดังนี้

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 534

เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กําลังจุติ กําลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้.

ดูก่อนสันทกะ ก็สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอันโอฬารเห็นปานนี้ ในศาสดาใด วิญูชนพึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานั้นโดยส่วนเดียว และเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สําเร็จได้.

ดูก่อนสันทกะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้วไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทํา ทําเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

ดูก่อนสันทกะ ก็สาวกย่อมบรรลุ คุณวิเศษอันโอฬารเห็นปานนี้ ในศาสดาใด วิญูชนพึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในศาสดานั้นโดยส่วนเดียว และเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สําเร็จได้.

พระขีณาสพไม่ล่วงฐานะ ๕

[๓๑๑] ท่านพระอานนท์ ก็ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทํา ทําเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ในภพสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นยังบริโภคกามทั้งหลายหรือ.

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 535

ดูก่อนสันทกะ ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทํา ทําเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันถึงแล้ว มีกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ในภพสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้น เป็นผู้ไม่ควรประพฤติล่วงฐานะทั้งห้า คือ ภิกษุขีณาสพ เป็นผู้ไม่ควรแกล้งปลงสัตว์จากชีวิต ๑ เป็นผู้ไม่ควรถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้อันเป็นส่วนแห่งความเป็นขโมย ๑ เป็นผู้ไม่ควรเสพเมถุนธรรม ๑ เป็นผู้ไม่ควรกล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ ๑ เป็นผู้ไม่ควรทําการสั่งสม บริโภคกามทั้งหลาย เหมือนเมื่อเป็นคฤหัสถ์ในกาลก่อน ๑.

ดูก่อนสันทกะ ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทํา ทําเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันถึงแล้ว มีกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ในภพสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรประพฤติล่วงฐานะทั้งห้าเหล่านี้.

รู้ว่าเราหมดอาสวะได้อย่างไร

[๓๑๒] ท่านพระอานนท์ ก็ภิกษุใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทํา ทําเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันถึงแล้ว มีกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ เมื่อภิกษุนั้นเดินไปอยู่ก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับแล้วก็ดี ตื่นอยู่ก็ดี ความรู้ความเห็นว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้วดังนี้ ปรากฏเสมอเป็นนิจหรือ.

ดูก่อนสันทกะ ถ้าเช่นนั้น เราจักทําอุปมาแก่ท่าน วิญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมรู้ทั่วถึงอรรถแห่งภาษิตได้ด้วยอุปมา เปรียบเหมือนมือและเท้าของบุรุษขาดไป เมื่อบุรุษนั้นเดินไปอยู่ก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับแล้วก็ดี ตื่นอยู่ก็ดี มือและเท้าก็เป็นอันขาดอยู่เสมอเป็นนิจนั่นเอง อนึ่ง เมื่อเขาพิจารณาย่อมรู้ได้ว่ามือและเท้าของเราขาดแล้ว ดังนี้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เป็นพระอรหันต์

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 536

ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทํา ทําเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันถึงแล้ว มีกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ เมื่อเดินไปอยู่ก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับแล้วก็ดี ตื่นอยู่ก็ดี อาสวะทั้งหลายก็เป็นอันสิ้นไปเสมอเป็นนิจนั่นเอง อนึ่ง เมื่อเธอพิจารณาย่อมรู้ได้ว่าอาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว.

[๓๑๓] ท่านพระอานนท์ ก็ในธรรมวินัยนี้ มีภิกษุผู้นํา [ตน] ออกไปได้จากกิเลสและกองทุกข์มากเพียงไร.

ดูก่อนสันทกะ ในธรรมวินัยนี้ ภิกษุผู้นํา [ตน] ออกไปได้จากกิเลสและกองทุกข์นั้น มีไม่ใช่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ความจริงมีอยู่มากทีเดียว.

ท่านพระอานนท์ น่าอัศจรรย์ ท่านพระอานนท์ ไม่เคยมี ในธรรมวินัยนี้ ไม่ได้มีการยกย่องแต่ธรรมของตน และมีคําติเตียนธรรมของผู้อื่น มีแต่การแสดงธรรมมากมายเพียงนั้น ส่วนอาชีวกเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นบุตรของมารดาผู้มีบุตรตายแล้ว ยกย่องแต่ตนและติเตียนคนอื่นเท่านั้น ทั้งตั้งศาสดาไว้สามคน คือ นันทวัจฉะ ๑ กิสสังกิจจะ ๑ มักขลิโคสาล ๑ ว่าเป็นผู้นํา [ตน] ออกจากกิเลสและกองทุกข์ได้.

ลําดับนั้น สันทกปริพาชก เรียกบริษัทของตนมาว่า พ่อผู้เจริญทั้งหลาย จงประพฤติพรหมจรรย์เถิด การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมย่อมมีผล แต่ว่าบัดนี้เราทั้งหลายสละลาภสักการะความสรรเสริญเสียนั้น ไม่ใช่ทําได้ง่าย.

สันทกปริพาชกส่งบริษัทของตนไปในการประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการฉะนี้แล.

จบสันทกสูตรที่ ๖

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 537

๖. อรรถกถาสันทกสูตร

สันทกสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้นบทว่า ปิลกฺขคุหายํ ที่ประตูถ้ำนั้นได้มีต้นเลียบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปิลักขคูหา.

บทว่า ปฏิสลฺลานา วุฏฺิโต พระอานนท์ออกจากที่เร้น คือ ออกจากวิเวก.

บทว่า เทวกตโสพฺโภ บ่อน้ำที่น้ำฝนเซาะ คือ สระน้ำใหญ่เกิดในที่ที่ถูกน้ำฝนเซาะ.

บทว่า คุหา ในบทว่า คุหาทสฺสนาย เพื่อดูถ้ำนี้ เป็นถ้ำเต็มไปด้วยฝุ่น.

ถ้ำนั้นได้อยู่ในที่ที่พ้นน้ำเป็นที่ดอน. ชนทั้งหลายทําอุโมงค์ตลอดนําตอไม้และฝุ่นออก ยกเสาไว้ภายใน ข้างบนสุดมุงด้วยกระดานทําเป็นเรือนชั่วคราว. พวกปริพาชกเหล่านั้นอยู่กันในถ้ำนั้น. ถ้ำนั้นในฤดูฝนมีน้ำขังเต็ม. ถึงหน้าแล้ง ปริพาชกพากันไปอยู่ในถ้ำนั้น พระอานนท์กล่าวว่า คุหาทสฺสนาย หมายถึง ถ้ำนั้น.

จริงอยู่ การไปเพื่อดูวิหาร หรือว่าเพื่อดูสมุทรและภูเขา เพราะพิจารณาซึ่งสังสารวัฏฏ์อันมีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลตามรู้ไม่ได้แล้ว ย่อมควร.

บทว่า อุนฺนาทินิยา ด้วยเสียงสูง คือ แผดเสียงเอ็ดตะโร.

ติรัจฉานกถานั้น แผดเสียงอยู่อย่างนี้ สูงด้วยส่ง เสียงสูงเสียงดังแพร่ไปในทิศทั้งหลาย. เพราะเหตุนี้ จึงชื่อว่า อุจฺจาสทฺทมหาสทฺโท เพราะเสียงสูงและเสียงดัง.

ปริพาชกเหล่านั้นลุกขึ้นแต่เช้าตรู่แล้วควรทําเจติยวัตร โพธิวัตร อาจริยวัตร อุปัชฌายวัตร หรือโยนิโสมนสิการไม่มีเลย. พวกเขาลุกแต่เช้าตรู่ กลางวันประชุมกัน ตอนเย็นประชุมสนทนากัน เพื่อหาความสบาย. เริ่มคุยกันถึงเรื่องมือและเท้าเป็นต้นของกันและกันอย่างนี้ว่า มือของคนนี้งาม เท้าของคนนี้งาม หรือคุยกันถึงผิวพรรณของหญิง ชาย เด็กหญิงและเด็กชาย หรือเรื่องอื่นๆ เช่น ความชื่นชม

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 538

ในกามและความชื่นชมในภพ เป็นต้น. แล้วกล่าวติรัจฉานกถาหลายอย่าง มีพูดถึงเรื่องพระราชา เป็นต้น โดยลําดับ.

จริงอยู่ การพูดอันเป็นการขัดขวางทางสวรรค์และนิพพาน ชื่อว่า ติรัจฉานกถา เพราะไม่นําออกไปจากภพได้ ในกถาเหล่านั้นการพูดถึงเรื่องพระราชาเป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า พระเจ้ามหาสมมตราช พระเจ้ามันธาตุราช พระเจ้าธรรมาโศกราช มีอานุภาพอย่างนี้ ชื่อว่า ราชกถา.

ในโจรกถา เป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. การพูดอาศัยกามคุณโดยนัยมีอาทิว่า พระราชาองค์โน้น พระรูปพระโฉมงดงาม น่าชม ดังนี้ ก็เป็น ติรัจฉานกถา.

แต่การพูดเป็นทํานองอย่างนี้ว่า แม้พระราชาองค์นั้นมีอานุภาพมากอย่างนี้ ก็ยังสวรรคตดังนี้ ชื่อว่าย่อมตั้งอยู่ในความเป็น กรรมฐานกถา.

แม้ในโจรทั้งหลายการพูดอาศัยกามคุณว่า โอ เขากล้าหาญ เพราะอาศัยกรรมของโจรเหล่านั้นว่า โจรมูลเทพมีอานุภาพมากอย่างนี้ โจรเมฆมาละมีอานุภาพมากอย่างนี้ ดังนี้ ก็เป็น ติรัจฉานกถา. แม้ในการรบ การพูดในภารตยุทธ เป็นต้น ด้วยความพอใจ ในกามว่าคนโน้น ถูกคนโน้นฆ่าอย่างนี้ ถูกแทงอย่างนี้ ดังนี้ก็เป็น ติรัจฉานกถา.

แต่การพูดในเรื่องทั้งหมดเป็นทํานองอย่างนี้ว่า แม้ชนเหล่านั้นก็ยังตายได้ดังนี้เป็น กรรมฐานกถา ทีเดียว.

อีกอย่างหนึ่งในเรื่องข้าว เป็นต้น ไม่ควรพูดด้วยสามารถความชื่นชมในกามว่า เราเคี้ยว กิน ดื่ม บริโภค ข้าว เป็นต้น มีสี มีกลิ่น มีรส มีผัสสะอย่างนี้. แต่ควรพูดถึงเรื่องน้ำ เป็นต้น ทําให้มีประโยชน์ว่า เราได้ถวายข้าว ผ้า ที่นอน ดอกไม้ ของหอมอันสมบูรณ์ด้วยสีอย่างนี้แก่ท่านผู้มีศีลในครั้งก่อน. เราได้ทําการบูชาที่พระเจดีย์ดังนี้. แม้ในการพูดถึงเรื่องญาติ เป็นต้น ก็ไม่ควรพูดด้วยสามารถความชื่นชมว่า ญาติของเราเป็นผู้กล้า เป็นผู้สามารถ หรือว่าเมื่อก่อนเราได้เที่ยวไปด้วยยานอันสวยงามอย่างนี้. แต่ควรพูดทําให้มีประโยชน์ว่า แม้

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 539

ญาติของเราเหล่านั้น ก็ได้ตายไปเสียแล้ว. หรือว่าเมื่อก่อนเราได้ถวายรองเท้าชนิดนี้แก่พระสงฆ์. แม้พูดเรื่องบ้าน ก็ไม่ควรพูดด้วยสามารถความอยู่ดี อยู่ชั่ว อาหารดี อาหารขาดแคลน เป็นต้น หรือพูดด้วยสามารถความชื่นชมว่า คนอยู่บ้านโน้นเป็นคนกล้าเป็นคนสามารถ. แต่ควรพูดทําให้มีประโยชน์ว่า แม้คนกล้าที่มีศรัทธาเลื่อมใส ก็ยังตายได้. แม้ในการพูดเรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. แม้การพูดเรื่องผู้หญิง ก็ไม่ควรพูดด้วยสามารถความชื่นชมอาศัยผิวพรรณและทรวดทรงเป็นต้น. ควรพูดอย่างนี้ว่า สตรีที่มีศรัทธาเลื่อมใส ก็ยังตายได้. แม้พูดเรื่องคนกล้าหาญ ก็ไม่ควรพูดด้วยความพอใจว่า นักรบชื่อว่าสันธิมิตรได้เป็นผู้กล้าหาญ. ควรพูดอย่างนี้ว่านักรบผู้กล้าหาญมีศรัทธา ก็ยังตายได้. แม้พูดเรื่องตรอกก็ไม่ควรพูดด้วยความพอใจว่า ตรอกโน้นตั้งอยู่ดี ตั้งอยู่ไม่ดี มีคนกล้า มีคนสามารถ. ควรพูดว่า คนกล้าคนสามารถที่อยู่ตรอกนั้น ก็ยังตายได้.

บทว่า กุมฺภฏานกถา พูดเรื่องท่าน้ำ คือ ที่ตั้งของหม้อน้ำ ท่านเรียกว่า ท่าน้ำ.

บทว่า กุมฺภทาสีกถา พูดเรื่องนางกุมภทาสี แม้นางกุมภทาสีนั้นก็ไม่ควรพูดด้วยความชื่นชมว่า นางกุมภทาสี น่ารัก ฉลาดการฟ้อนรําขับร้อง.

ควรพูดโดยนัยมีอาทิ ว่า สทฺธาสมฺปนฺนา นั่นแหละ.

บทว่า ปุพฺพเปตกถา พูดเรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว คือ พูดเรื่องญาติในอดีต.

ในบทว่า ปุพฺพเปตกถา นั้น เช่นเดียวกับพูดเรื่องญาติที่ยังมีชีวิตอยู่.

บทว่า นานตฺตกถา พูดเรื่องเบ็ดเตล็ด คือ พูดเรื่องไม่มีประโยชน์ มีสภาพต่างๆ นอกเหนือจากพูดเรื่องก่อนและเรื่องหลัง.

บทว่า โลกกฺขายิกา พูดเรื่องโลก คือ สนทนากันเรื่องโลกายตศาสตร์และเรื่องนอกคัมภีร์ มีอาทิอย่างนี้ว่า โลกนี้ใครสร้าง โลกนี้คนโน้นสร้าง กาขาวเพราะกระดูกขาว นกยางกรอกแดงเพราะเลือดแดง

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 540

การพูดเรื่องทะเลไร้ประโยชน์มีอาทิอย่างนี้ว่า เพราะเหตุไรจึงเรียกว่าสมุทร เพราะเหตุไรจึงเรียกว่า สาคร. ที่เรียกว่า สมุทร เพราะยกมือประกาศว่าเราขุด. ชื่อว่า สาคร เพราะสาครเทพ ขุด. ชื่อว่า พูดเรื่องทะเล พูดถึงเหตุไร้ประโยชน์ ไม่เป็นชิ้นเป็นอันว่า ความเจริญเป็นอย่างนี้ ความเสื่อมเป็นอย่างนี้ ชื่อว่าพูดเรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้นๆ.

อนึ่งในบทนี้ ความเห็นว่าเที่ยง คือ ความเจริญ. ความเห็นว่าสูญ คือ ความเสื่อม. ความเจริญ คือ ภว ความเสื่อมคือ อภว. กามสุข คือ ความเจริญ. การทําตนให้ลําบาก คือ ความเสื่อม. ชื่อว่า ติรัจฉานกถามี ๓๒ อย่าง รวมกับ อิติภวาภวกถา (พูดเรื่องความเจริญความเสื่อม) ๖ อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.

สันทกปริพาชกนั่งร่วมกับผู้พูดติรัจฉานกถาเห็นปานฉะนี้.

แต่นั้นสันทกปริพาชกแลดูปริพาชกเหล่านั้นคิดว่า ปริพาชกเหล่านี้ไม่เคารพยําเกรงกันและกันเสียเลย. อนึ่ง พวกเราตั้งแต่พระสมณโคดมปรากฏขึ้น เปรียบเหมือนหิ่งห้อยในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น. แม้ลาภสักการะของพวกเราก็เสื่อม. หากพระสมณโคดมหรือสาวกของพระโคดม แม้อุปัฏฐากผู้เป็นคฤหัสถ์ของพระสมณโคดมนั้นพึงมาสู่ที่นี้ จักน่าละอายอย่างยิ่ง. ก็โทษในบริษัทย่อมขึ้นในเบื้องบนของผู้เจริญในบริษัท. จึงมองดูข้างโน้นข้างนี้ได้เห็นพระเถระ.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อทฺทสา โข สนฺทโก ปริพาชโก ฯลฯ ตุณฺหี อเหสุํ สันทกปริพาชกได้เห็นท่านพระอานนท์มาแต่ไกล จึงห้ามบริษัทของตนให้สงบเสียงว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงเบาเสียงเถิด ท่านผู้เจริญทั้งหลาย อย่าทําเสียงดังต่อไปเลย นี่สาวกของพระสมณโคดมเป็นสมณะชื่ออานนท์กําลังมาอยู่. สมณะชื่ออานนท์นี้เป็นสาวกองค์หนึ่งในบรรดาสาวกของพระโคดมที่อาศัยอยู่ ณ กรุงโกสัมพี ก็ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เป็นผู้ใคร่ในความเป็นผู้มีเสียง

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 541

เบา แนะนําในความมีเสียงเบา กล่าวสรรเสริญเสียงเบา ถ้ากระไรสมณะชื่ออานนท์นั้นทราบว่าบริษัทมีเสียงเบาแล้ว พึงสําคัญที่จะเข้ามาใกล้. ลําดับนั้นปริพาชกเหล่านั้นได้นิ่งอยู่.

ในบทเหล่านั้นบทว่า สณฺเปสิ ให้สงบเสียง คือ ให้สําเหนียก ได้แก่ ปกปิดโทษของบริษัทนั้น. ยังบริษัทตั้งอยู่โดยอาการที่ตั้งอยู่แล้วด้วยดี. เหมือนบุรุษเมื่อเข้าไปยังท่ามกลางบริษัท ย่อมนุ่งห่มเรียบร้อยเพื่อปกปิดโทษ. กวาดที่รกด้วยฝุ่นละอองฉันใด. สันทกปริพาชกห้ามบริษัทว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงเบาเสียงเถิดเพื่อปกปิดโทษของบริษัทนั้น. อธิบายว่าให้บริษัทตั้งอยู่โดยอาการที่ตั้งอยู่ด้วยดี.

บทว่า อปฺปสทฺทกามา สาวกทั้งหลายใคร่ในความเป็นผู้มีเสียงเบา คือ ปรารถนาเสียงเบา. นั่งผู้เดียว ยืนผู้เดียว ไม่คลุกคลีด้วยหมู่.

บทว่า อปฺปสทฺทวินีตา แนะนําในความมีเสียงเบา คือ พระพุทธเจ้าผู้มีเสียงเบา มีเสียงไม่ดังทรงแนะนําไว้.

บทว่า อปฺปสทฺทสฺส วณฺณวาทิโน ผู้กล่าวสรรเสริญเสียงเบา คือ กล่าวสรรเสริญที่อันมีเสียงเบา ไม่มีเสียง.

บทว่า อุปสงฺกมิตพฺพํ มฺเยฺย พึงสําคัญที่จะเข้ามาใกล้ คือ พึงสําคัญที่จะเข้าไป ณ ที่นี้.

ก็เพราะเหตุไร สันทกปริพาชกนั้นจึงหวังจะเข้าไปใกล้พระเถระเล่า.

เพราะปรารถนาความเจริญแก่ตน.

ได้ยินว่า ปริพาชกทั้งหลายเมื่อพระพุทธเจ้าหรือเมื่อสาวกของพระพุทธเจ้ามายังสํานักของตนๆ จึงยกตนขึ้นในสํานักของพวกอุปัฏฐากว่า วันนี้พระสมณโคดมมายังสํานักของพวกเรา พระสารีบุตรก็มา. ท่านเหล่านั้นไม่ไปหาใครๆ เลย. พวกท่านจงเห็นว่า พวกเราสูงส่งแค่ไหน. ย่อมตั้งตนไว้ในที่สูง. พยายามจะรับเอาอุปัฏฐากแม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

นัยว่าปริพาชกเหล่านั้นเห็นพวกอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงกล่าวอย่างนี้

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 542

ว่า แม้พระโคดมผู้เจริญศาสดาของพวกท่าน แม้สาวกของพระโคดมยังมาสู่สํานักของพวกเรา. พวกเราพร้อมเพรียงกันและกัน. ส่วนพวกท่านไม่ปรารถนาจะมองดูพวกเรา ไม่ทําสามีจิกรรม. พวกเราทําผิดอะไรแก่พวกท่านหรือ.

ครั้งนั้น มนุษย์บางพวกคิดว่า แม้พระพุทธเจ้ายังเสด็จมาถึงสํานักปริพาชกเหล่านี้. ประสาอะไรแก่พวกเรา. ตั้งแต่นั้นพวกมนุษย์เห็นปริพาชกแล้วก็ไม่ดูแคลน.

บทว่า ตุณฺหี อเหสุํ ปริพาชกเหล่านั้นได้นิ่งอยู่ คือ นั่งล้อมสันทกปริพาชก.

บทว่า สฺวาคตํ โภโต อานนฺทสฺส ท่านพระอานนท์มาดีแล้ว ท่านแสดงไว้ว่า เมื่อท่านผู้เจริญมาหาพวกเรา เป็นพระอานนท์. เมื่อท่านไปก็จะเสียใจ.

บทว่า จิรสฺสํ โข นี้เป็นคํากล่าวแสดงความน่ารัก.

ส่วนพระเถระไปอารามของปริพาชกตามเวลาเพื่อต้องการจาริก เพราะเหตุนั้น สันทกปริพาชกถือเอาการไปก่อนจึงกล่าวอย่างนี้. ครั้นปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็มิได้เป็นผู้กระด้างด้วยมานะนั่ง. จึงลุกจากอาสนะของตนปัดอาสนะนั้น นิมนต์พระเถระให้นั่งบนอาสนะกล่าวว่า ท่านพระอานนท์ จงนั่งเถิด. นี่อาสนะปูไว้แล้ว.

บทว่า อนฺตรากถา วิปฺปกตา เรื่องอะไรที่พวกท่านหยุดค้างไว้ในระหว่าง. พระอานนท์ถามว่า กถาอะไรที่พวกท่านหยุดค้างไว้ในระหว่างตั้งแต่พวกท่านนั่งสนทนากันจนกระทั่งผมมา. กถาอะไรที่ยังไม่จบเพราะผมมาเป็นเหตุ.

ลําดับนั้นปริพาชกเมื่อจะแสดงว่า กถาไร้ประโยชน์ไม่มีสาระอาศัยวัฏฏะ ไม่สมควรจะกล่าวต่อหน้าท่าน จึงกล่าวคํามีอาทิว่า ติฏเตสา โภ ท่านผู้เจริญ เรื่องนั้นขอยกไว้เถิด.

บทว่า เนสา โภโต สันทกปริพาชกกล่าวว่า หากท่านผู้เจริญประสงค์จะฟัง แม้ภายหลังก็จักได้ฟังโดยไม่อยาก. กถานี้ไม่มีประโยชน์แก่พวกเราเลย. พวกเราได้การมาของท่านผู้เจริญแล้ว ประสงค์จะฟังกถาอันมีเหตุผลดีอย่างอื่นต่างหาก.

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 543

สันทกะเมื่อจะวิงวอนขอพระธรรมเทศนา จึงกล่าวคํามีอาทิว่า สาธุ วต ภวนฺตํเยว ดีละหนอ กถาที่เป็นธรรมจงแจ่มแจ้งแก่ท่านผู้เจริญเถิด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อาจริยเก คือ ในลัทธิของอาจารย์.

บทว่า อนสฺสาสิกานิ พรหมจรรย์อันเว้นความยินดี คือ ไม่มีความปลอดโปร่ง.

บทว่า สสกฺกํ เป็นนิบาตลงในอรรถว่าโดยส่วนเดียว. อธิบายว่า วิญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติโดยส่วนเดียว. ท่านอธิบายว่า ส่วนอวิญูชนเมื่ออยู่ประพฤติไม่พึงให้ยินดี ไม่พึงให้สําเร็จ ไม่พึงทําให้บริบูรณ์.

บทว่า ายํ ธมฺมํ กุสลํ ยังกุศลธรรมเครื่องออกไป คือ ชื่อว่ากุศลธรรมเพราะอรรถว่าไม่มีโทษอันเป็นเหตุ.

บทว่า อิธ คือ ในโลกนี้.

บทมีอาทิว่า นตฺถิ ทินฺนํ ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ท่านกล่าวไว้แล้วในสาเลยยกสูตร.

บทว่า จาตุมหาภูติโก คือ สําเร็จด้วยมหาภูตรูป ๔.

บทว่า ปวี ปวีกายํ ธาตุดินไปตามธาตุดิน คือ ธาตุดินภายในไปตามธาตุดินภายนอก.

บทว่า อนุเปติ คือ ไปตาม.

บทว่า อนุปคจฺฉติ ไปตาม เป็นไวพจน์ของบทว่า อนุเปติ. นั้น เป็น อนุคจฺฉติ ก็มี.

แม้ด้วยบททั้งสองนี้ ท่านแสดงว่า อุเปติ อุปคจฺฉติ คือ เข้าไป. แม้ในธาตุน้ำเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า อินฺทฺริยานิ คือ อินทรีย์มีมนินทรีย์เป็นที่ ๖ ย่อมแล่นไปสู่อากาศ.

บทว่า อาสนฺธิปฺจมา คือ มือมีเตียงเป็นที่ ๕ คือ มีเตียงนั่งเป็นที่ ๕. อธิบายว่า เตียงและบุรุษ ๔ คนยืนจับเท้าเตียงทั้ง ๔.

บทว่า ยาว อาหฬนา แค่ป่าช้า.

บทว่า ปทานิ คือ ร่างกาย.

คุณบททั้งหลายเป็นไปแล้วโดยนัยมีอาทิว่า ผู้นี้มีศีลอย่างนี้ ทุศีลอย่างนี้.

ในบทว่า ปทานิ นี้ท่านประสงค์เอาสรีระ.

บทว่า กาโปตกานิ คือ มีสีดุจสีนกพิลาป. อธิบายว่ามีสีดุจปีกนกพิลาป.

บทว่า ภสฺสนฺตา คือ มีเถ้าเป็นที่สุด. ในบทนี้บาลีเป็นอย่างนี้.

บทว่า อาหุติโย

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 544

การเซ่นสรวง ความว่า ทานที่ให้แล้วมีประเภทเป็นเครื่องสักการะเป็นต้นที่เซ่นสรวง ทั้งหมดนั้นมีเถ้าเป็นที่สุด. ต่อจากนั้นไม่ให้ผลเลย.

บทว่า ทตฺตุปฺตฺตํ ทานที่คนเขลาบัญญัติไว้ คือ คนโง่ คนพาล บัญญัติไว้ บทนี้ท่านอธิบายว่า ทานนี้ คนพาล คนโง่ บัญญัติไว้. มิใช่บัณฑิตบัญญัติ. คนพาลให้บัณฑิตรับ.

บทว่า อตฺถิกวาทํ วาทะว่ามีผล คนบางพวกกล่าววาทะว่ามีผลว่า ผลทานที่ให้แล้วมีอยู่. คําของคนเหล่านั้นเป็นคําเปล่าคําเท็จ คําเพ้อ.

บทว่า พาโล จ ปณฺฑิโต จ คือ พาลและบัณฑิต.

บทว่า อกเตน เม เอตฺถ กตํ กรรมในลัทธินี้ที่เราไม่ได้ทําเลยเป็นอันทําแล้ว คือ กรรมในลัทธินี้โดยกรรมของสมณะที่เราไม่ได้ทําเลยชื่อว่าเป็นอันทําแล้ว. พรหมจรรย์อันเราไม่เคยอยู่ชื่อว่าเป็นอันอยู่แล้ว.

บทว่า เอตฺถ คือ ในธรรมของสมณะนี้.

บทว่า สมสมา เป็นผู้เสมอๆ กัน คือ เสมอกันอย่างยิ่ง หรือเสมอกันด้วยคุณอันเสมอ.

บทว่า สามฺํ ปตฺตา คือ ถึงความเป็นผู้เสมอกัน.

บทมีอาทิว่า กรโต เมื่อบุคคลทําเอง ท่านกล่าวไว้แล้วในอปัณณกสูตร.

บทมีอาทิว่า นตฺถิ เหตุ ไม่มีเหตุ ก็อย่างนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในพรหมจริยวาสที่ ๔ ดังต่อไปนี้ ชื่อว่า อกตา เพราะไม่มีใครทํา.

บทว่า อกตวิธา คือ ไม่มีแบบอย่างอันใครทํา. อธิบายว่า ไม่มีใครๆ สั่งให้ทําว่าท่านจงทําอย่างนี้.

บทว่า อนิมฺมิตา ไม่มีใครนิรมิต คือ ไม่มีใครนิรมิตแม้ด้วยฤทธิ์.

บทว่า อนิมฺมาปิตา คือ ไม่มีใครให้นิรมิต.

อาจารย์บางพวกกล่าวบทว่า อนิมฺมิตพฺพา ไม่พึงนิรมิตให้. บทนั้นไม่ปรากฏในบาลี ไม่ปรากฏในอรรถกถา.

บทว่า วฺฌา เป็นหมัน สัตว์เลี้ยงเป็นหมัน มิให้เกิดแก่ใครๆ ดุจตาลเป็นต้นไม่มีผล.

ด้วยบทนี้ปฏิเสธความที่ปฐวีธาตุเป็นต้น ให้เกิดเป็นรูปเป็นต้น.

ชื่อว่า กูฏฏา เพราะตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา.

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 545

บทว่า อีสิกฏายิฏิตา (๑) คือ ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียดในหญ้ามุงกระต่าย. ในบทนั้นมีอธิบายว่า สิ่งใดที่ท่านกล่าวว่าย่อมเกิด สิ่งนั้นมีอยู่ ดุจเสาระเนียดย่อมออกไปจากหญ้ามุงกระต่าย.

ปาฐะว่า เอสิกฏายฏิตา ก็มี.

อธิบายว่า เสาระเนียดที่ฝังไว้ดีแล้ว ไม่หวั่นไหวตั้งอยู่มั่นคง. สภาวะ ๗ กอง ตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น.

แม้ด้วยบทที่ ๒ นี้ ท่านแสดงถึงความไม่พินาศไปแห่งสภาวะ ๗ กองเหล่านั้น.

บทว่า น อิฺชนฺติ สภาวะ ๗ กองไม่หวั่นไหว คือ ไม่สั่นคลอนเพราะตั้งอยู่มั่นคง ดุจเสาระเนียดฉะนั้น.

บทว่า น วิปริณมนฺติ ไม่แปรปรวน คือ ไม่ละปรกติไป.

บทว่า อฺมฺํ พฺยาพาเธนฺติ คือ ไม่เบียดเบียนกันและกัน.

บทว่า นาภํ คือ ไม่สามารถ.

พึงทราบความในบทมีอาทิว่า ปวีกาโย กองดินดังต่อไปนี้. กองดินหรือหมู่ดิน.

บทว่า ตตฺถ คือ ในกองมีชีวะเป็นที่ ๗ เหล่านั้น.

บทว่า นตฺถิ หนฺตา วา ผู้ฆ่าเองไม่มี ท่านแสดงไว้ว่าไม่มีผู้สามารถเพื่อฆ่าเองก็ดี เพื่อใช้ให้ฆ่าก็ดี เพื่อให้เดือดร้อนก็ดี เพื่อกระทบกระทั่งก็ดี เพื่อเศร้าโศกเองก็ดี เพื่อให้ผู้อื่นเศร้าโศกก็ดี เพื่อได้ยินเองก็ดี เพื่อเข้าใจเองก็ดี.

บทว่า สตฺตนฺนํเยว กายานํ แห่งสภาวะ ๗ กอง ท่านแสดงไว้ว่า เหมือนศัสตราที่ทําลายในกองถั่วเขียวเป็นต้น ย่อมเข้าไปโดยระหว่างกองถั่วเขียว ฉันใด ศัสตราสอดเข้าไปโดยช่องในระหว่างสภาวะ ๗ กองก็ฉันนั้น ศัสตราเป็นเพียงสัญญาอย่างเดียวเท่านั้นว่า เราจะฆ่าผู้นี้เสีย.

บทว่า โยนิปฺปมุขสตสหสฺสานิ ท่านแสดงทิฏฐิไร้ประโยชน์โดยเพียงคาดคะเนอย่างเดียวว่า กําเนิดที่เป็นประธานและกําเนิดสูงสุด ๑,๔๐๖,๖๐๐ กรรม.

บทว่า ปฺจ กมฺมุโน สตานิ ความว่า ๕๐๐ กรรม.

แม้ในบทมีอาทิว่า ปฺจ จ กมฺมานิ ตีณิ จ กมฺมานิ ๕ กรรมและ ๓ กรรม ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า ปฺจ กมฺมานิ กรรม ๕ ท่านกล่าวด้วยสามารถอินทรีย์ ๕.

บทว่า ตีณิ กรรม ๓ ท่านกล่าวด้วย


(๑) บาลีว่า เอสิกฏฺายิฏิตา มัช. มัช. ๑๓/ ข้อ ๓๐๒.

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 546

สามารถกายกรรมเป็นต้น.

แต่ในบทว่า กมฺเม จ อฑฺฒกมฺเม จ ๑ กรรม กรรมครึ่ง นี้ คือ ลัทธิของกรรมนั้น คือ กายกรรมและวจีกรรม. มโนกรรมเป็นกรรมครึ่ง.

บทว่า ทิฏิปฏิปทา ท่านกล่าวถึงปฏิปทาในทิฏฐิ ๖๒.

บทว่า ทฺวฏนฺตรกปฺปา อันตรกัป ๖๒ คือ ในกัปหนึ่งๆ มีอันตรกัป ๖๔. พระอานนทเถระเมื่อไม่รู้ ๒ กัป อย่างอื่นจึงกล่าวอย่างนี้. อภิชาติ ๖ กล่าวไว้พิสดารแล้วในอปัณณกสูตร.

บทว่า อฏ ปุริสภูมิโย ปุริสภูมิ ๘ ท่านกล่าวไว้ว่า ปุริสภูมิ ๘ เหล่านี้ คือ มันทภูมิ (ภูมิอ่อน) ๑ ขิฑฑาภูมิ (ภูมิเล่น) ๑ ปทวีมังสกภูมิ (ภูมิหัดเดิน) ๑ อุชุคตภูมิ (ภูมิเดิน) ๑ เสกขภูมิ (ภูมิศึกษา) ๑ สมณภูมิ (ภูมิสมณะ) ๑ ชินภูมิ (ภูมิเรียนรู้) ๑ ปันนภูมิ (ภูมิบรรลุแล้ว) ๑.

ในภูมิเหล่านั้นท่านกล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ยังอ่อน ยังเขลา เพราะตั้งแต่วันคลอดออกจากที่คับแคบใน ๗ วัน นี้ชื่อว่า มันทภูมิะ. อนึ่ง สัตว์เหล่าใดมาจากทุคติ สัตว์เหล่านั้นย่อมร้องและร้องดังบ่อยๆ. สัตว์มาจากสุคติ ระลึกถึงสุคตินั้นๆ แล้วหัวเราะ นี้ชื่อว่า ขิฑฑาภูมิ. การจับมือหรือเท้าของมารดาบิดาหรือเตียงตั่งแล้วเหยียบเท้าลงบนพื้น ชื่อว่า ปทวีมังสกภูมิ. คราวที่สามารถเดินไปด้วยเท้าได้ ชื่อว่า อุชุคตภูมิ. คราวศึกษาศิลปะ ชื่อว่า เสกขภูมิ. คราวออกจากเรือนแล้วบวช ชื่อว่า สมณภูมิ. คราวคบอาจารย์แล้วรู้ ชื่อว่า ชินภูมิ. อนึ่ง ภิกษุผู้รู้บรรลุแล้วไม่เรียนอะไรอีก เพราะเหตุนั้นสมณะผู้ไม่ต้องเรียนอย่างนี้ ชื่อว่า ปันนภูมิ.

บทว่า เอกูนปฺาส อาชีวสเต คือ ความเป็นไปของอาชีวก ๔,๙๐๐ อย่าง.

บทว่า เอกูนปฺาส ปริพฺพาชกสเต คือ การบรรพชาของปริพาชก ๔,๙๐๐.

บทว่า เอกูนปฺาส นาคาวาสสเต คือ นาคมณฑล ๔,๙๐๐.

บทว่า วีเส อินฺทฺริยสเต คือ อินทรีย์ ๒,๐๐๐.

บทว่า ติํเส

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 547

นิรยสเต คือ นรก ๓,๐๐๐.

บทว่า รโชธาตุโย คือ ที่เกลื่อนกล่นด้วยธุลี. ท่านกล่าวหมายถึงหลังมือและหลังเท้าเป็นต้น.

บทว่า สตฺต สฺิคพฺภา สัญญีครรภ์ ๗ ท่านกล่าวหมายถึง อูฐ โค ลา แพะ สัตว์เลี้ยง มฤค และควาย.

บทว่า อสฺิคพฺภา ได้แก่ อสัญญีครรภ์ ๗ ท่านกล่าวหมายถึงข้าวสาลี ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ถั่วเขียว ข้าวฟ่าง ลูกเดือย และหญ้ากับแก้.

บทว่า นิคนฺถคพฺภา นิคันถครรภ์ คือ ครรภ์เกิดในนิคันถะ. ท่านกล่าวหมายถึง อ้อย ไม้ไผ่ ต้นอ้อ.

บทว่า สตฺต เทวา เทวดา ๗ คือ เทวดามาก. แต่ท่านกล่าวว่า ๗. แม้มนุษย์ก็ไม่น้อย. ท่านก็กล่าวว่า ๗.

บทว่า สตฺต ปีสาจา ปีศาจ ๗ คือ ปีศาจมาก ท่านก็กล่าวว่า ๗.

บทว่า สรา คือ สระใหญ่ ท่านกล่าวหมายถึงสระชื่อว่า กัณณมุณฑกะ รถกาฬะ อโนตัตตะ สีหัปปปาตะ ฉัททันตะ มุจจลินทะ กุณาลทหะ.

บทว่า ปวุฏา ได้แก่ เจ้าตํารา.

บทว่า สตฺตปปาตา ได้แก่ เหวใหญ่ ๗.

บทว่า สตฺตปปาตสตานิ ได้แก่ เหวน้อย ๗๐๐.

บทว่า สตฺต สุปินา ได้แก่ มหาสุบิน ๗.

บทว่า สตฺต สุปินสตานิ ได้แก่ สุบินน้อย ๗๐๐.

บทว่า มหากปฺปิโน ได้แก่ มหากัป.

ในบทนี้ท่านกล่าวว่า ทุกๆ ๑๐๐ ปี เอาปลายหญ้าคา จุ่มน้ำ นําออกไปครั้งละหยาด ๗ ครั้ง เมื่อกระทําให้น้ำหมดจากสระนั้นแล้วจึงเรียกว่า ๑ มหากัป. คนพาลและบัณฑิตยังมหากัป ๘,๔๐๐,๐๐๐ เห็นปานนั้นให้สิ้นไป จึงจะทําที่สุดทุกข์ได้ นี้เป็นลัทธิของเขา. นัยว่า แม้บัณฑิตก็ไม่สามารถทําให้บริสุทธิ์ได้ในระหว่าง. แม้คนพาลก็ไม่ไปสูงกว่านั้นได้.

บทว่า สีเลน คือ ด้วยศีลเช่นนั้น แม้ท่านกล่าวด้วยอเจลกศีลหรือศีลอื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง.

ท่านกล่าวว่า โนติปิ เม โน โน โนติปิ เมโน คือ ความเห็นของเรา ว่าไม่ใช่ ก็มิใช่, ว่ามิใช่ ไม่ใช่ ก็มิใช่. จากนั้นเมื่อท่านกล่าวว่า ความเห็นของท่านว่าไม่ใช่หรือ ย่อมถึงความฟุ้งซ่านว่า ความเห็นของเราว่าไม่ใช่ก็มิใช่. ย่อมไม่ตั้งอยู่ในฝ่ายหนึ่ง.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 548

บทว่า นิพฺพิชฺช ปกฺกมติ เบื่อแล้วหลีกไป คือ ศาสดานั้นไม่สามารถเป็นที่พึ่งแม้แก่ตนได้ จักอาจเป็นที่พึ่งแก่เราได้อย่างไรกัน เพราะเหตุนั้นจึงเบื่อหลีกไป. ในความเว้นจากความยินดีแม้ในก่อนก็มีนิสัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า สนฺนิธิการกํ กาเม ปริภุฺชิตุํ ไม่ควรทําการสะสมบริโภคกาม คือ เป็นคฤหัสถ์มาก่อนทําการสะสมแล้วบริโภควัตถุกาม. บัดนี้ไม่ควรทําการสะสม งา ข้าวสาร เนยใส และเนยขึ้นเป็นต้นอย่างนี้แล้วบริโภค.

ก็งาและข้าวสารเป็นต้น ย่อมปรากฏในฐานะของพระขีณาสพ มิใช่หรือ เพราะเหตุนั้นจึงไม่ปรากฏแก่พวกเรา. แต่นั้นมิได้ตั้งไว้เพื่อประโยชน์แก่ตัวของท่าน ตั้งไว้เพื่อประโยชน์แก่ผู้บวชที่ไม่สบายเป็นต้น.

เพื่อพระอนาคามี อย่างไร? พระอนาคามีนั้นละกามคุณ ๕ ได้โดยประการทั้งปวง แต่พระอนาคามีพิจารณาสิ่งที่ท่านได้โดยธรรมโดยเสมอแล้วจึงบริโภค.

บทว่า ปุตฺตมตาย ปุตฺตา อาชีวกเหล่านั้นชื่อว่าเป็นบุตรของมารดาผู้มีบุตรตายแล้ว คือ นัยว่าสันทกปริพาชกนั้นฟังธรรมนี้แล้ว สําคัญว่าอาชีวกตายแล้วจึงกล่าวอย่างนี้.

ในบทนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้.

อาชีวกทั้งหลายชื่อว่าตายแล้ว มารดาของอาชีวกเหล่านั้นชื่อว่าเป็นมารดาผู้มีบุตรตายแล้ว ด้วยประการฉะนี้ อาชีวกทั้งหลายจึงเป็นผู้ชื่อว่าเป็นบุตรของมารดาผู้มีบุตรตายแล้ว.

บทว่า สมเณ โคตเม ท่านแสดงว่าการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ มีอยู่ในพระสมณโคดม.

บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาสันทกสูตรที่ ๖