พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. สมณมุณฑิกสูตร เรื่องอุคคาหมานปริพาชก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36083
อ่าน  592

[เล่มที่ 20] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 605

๘. สมณมุณฑิกสูตร

เรื่องอุคคาหมานปริพาชก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 20]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 605

๘. สมณมุณฑิกสูตร

เรื่องอุคคาหมานปริพาชก

[๒๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้น ปริพาชกชื่อ อุคคาหมานะ เป็นบุตรนางสมณมุณฑิกา พร้อมด้วยปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ อาศัยอยู่ ณ อารามของพระนางมัลลิการาชเทวี ในตําบลเอกสาลาชื่อว่า ติณฑุกาจีระ [แวดล้อมด้วยแถวต้นพลับ] เป็นที่ประชุมแสดงลัทธิของนักบวช ครั้งนั้น ช่างไม้ผู้หนึ่งชื่อ ปัญจกังคะ ออกจากเมืองสาวัตถี เพื่อจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเวลาเที่ยงแล้ว ครั้งนั้น เขามีความดําริว่า เวลานี้มิใช่กาลที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลีกเร้นอยู่ และไม่ใช่สมัยที่จะไปหาภิกษุทั้งหลายผู้เจริญทางใจ ภิกษุทั้งหลายผู้เจริญทางใจก็หลีกเร้นอยู่ อย่ากระนั้นเลย เราพึงเข้าไปหาอุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร ที่อารามของพระนางมัลลิการาชเทวี ณ ตําบลเอกสาลาชื่อว่าติณฑุกาจีระ เป็นที่ประชุมแสดงลัทธิของนักบวชเถิด ลําดับนั้น ช่างไม้ปัญจกังคะจึงเข้าไปยังอารามของพระนางมัลลิการาชเทวี ณ ตําบลเอกสาลาชื่อว่า ติณฑุกาจีระ.

ติรัจฉานกถา

[๓๕๗] สมัยนั้น อุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร นั่งอยู่กับปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ ซึ่งกําลังพูดติรัจฉานกถาหลายประการ ด้วยการส่งเสียงอื้ออึงอึกทึก.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 606

คือพูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอํามาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ํา เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ํา เรื่องหญิงสาวใช้ตักน้ํา เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญ และความเสื่อม ด้วยประการนั้นๆ.

อุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร ได้เห็นช่างไม้ปัญจกังคะซึ่งกําลังมาแต่ไกล จึงห้ามบริษัทของตนให้สงบว่า ขอท่านทั้งหลายจงเบาเสียงหน่อย อย่าส่งเสียงนัก ช่างไม้ปัญจกังคะ ผู้เป็นสาวกของพระสมณโคดมกําลังมา บรรดาสาวกของพระสมณโคดมที่เป็นคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาวประมาณเท่าใด อาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถี นายช่างปัญจกังคะนี้เป็นผู้หนึ่งของบรรดาสาวกเหล่านั้น ท่านเหล่านั้นชอบเสียงเบา ได้รับแนะนําในการมีเสียงเบา กล่าวสรรเสริญคุณของเสียงเบา บางทีช่างไม้ปัญจกังคะทราบว่าบริษัทมีเสียงเบา จะพึงสําคัญที่จะเข้ามาหาก็ได้ ปริพาชกเหล่านั้นจึงพากันนิ่งอยู่ ลําดับนั้น นายช่างปัญจกังคะได้เข้าไปหาอุกคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตรถึงที่ใกล้ ได้ปราศรัยกับอุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.

วาทะของปริพาชก

[๓๕๘] อุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร ได้กล่าวกะนายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ ผู้นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่งว่า ดูก่อนนายช่างไม้ เราย่อมบัญญัติบุรุษ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการว่า เป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 607

เป็นสมณะถึงภูมิปฏิบัติอันอุดม ไม่มีใครรบได้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนนายช่างไม้ บุคุคลในโลกนี้ไม่ทํากรรมชั่วด้วยกาย ไม่กล่าววาจาชั่ว ไม่ดําริถึงความดําริชั่ว ไม่เลี้ยงชีพชั่ว เราบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลว่า เป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณะ ถึงภูมิปฏิบัติอันอุดม ไม่มีใครรบได้ ดังนี้ ลําดับนั้น นายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ ไม่ยินดีไม่คัดค้านภาษิตของอุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยดําริว่า เราจักรู้แจ้งเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้า เขาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลเล่าการเจรจาปราศรัยกับอุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตรทั้งหมด แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๓๕๙] เมื่อนายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนนายช่างไม้ เมื่อเป็นเหมือนอย่างคําของอุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ ก็จักเป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณะถึงภูมิปฏิบัติอันอุดม ไม่มีใครรบได้ ดูก่อนนายช่างไม้ เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ แม้แต่จะรู้ว่ากาย ดังนี้ ก็ยังไม่มี ที่ไหนจักทํากรรมชั่วด้วยกายได้เล่า นอกจากจะมีเพียงอาการดิ้นรน เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ แม้แต่จะรู้ว่า วาจา ดังนี้ ก็ยังไม่มี ที่ไหนจักกล่าววาจาชั่วได้เล่า นอกจากจะมีเพียงการร้องไห้ เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ แม้แต่จะรู้ว่า ความดําริ ดังนี้ ก็ยังไม่มี ที่ไหนจักดําริชั่วได้เล่า นอกจากจะมีเพียงการร้องไห้และการหัวเราะ เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ แม้แต่จะรู้ว่า อาชีพ ดังนี้ ก็ยังไม่มี ที่ไหนจักเลี้ยงชีพชั่วได้เล่า นอกจากน้ํานมของมารดา.

ดูก่อนนายช่างไม้ เมื่อเป็นเหมือนอย่างคําของอุคคาหมานปริพาชก

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 608

สมณมุณฑิกาบุตร เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ จักเป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณะถึงภูมิปฏิบัติอันอุดม ไม่มีใครรบได้.

เสกขภูมิ

[๓๖๐] ดูก่อนนายช่างไม้ เราบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ว่ามิใช่ผู้มีกุศลสมบูรณ์เลย ไม่ใช่ผู้มีกุศลอย่างยิ่ง มิใช่เป็นสมณะผู้ถึงภูมิปฏิบัติอันอุดม ไม่มีใครรบได้ ก็แต่ว่าบุคคลผู้นี้ยังดีกว่าเด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่บ้าง ธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน ดูก่อนนายช่างไม้ บุคคลในโลกนี้ ไม่ทํากรรมชั่วด้วยกาย ไม่กล่าววาจาชั่ว ไม่ดําริถึงความดําริชั่ว ไม่เลี้ยงชีพชั่ว เราบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ว่ามิใช่ผู้มีกุศลสมบูรณ์ มิใช่ผู้มีกุศลอย่างยิ่ง มิใช่เป็นสมณะถึงภูมิปฏิบัติอันอุดม ไม่มีใครรบได้ ก็แต่ว่าบุคคลผู้นี้ยังดีกว่าเด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่บ้าง.

[๓๖๑] ดูก่อนนายช่างไม้ เราย่อมบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๓ ประการ ว่าเป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณะผู้ถึงภูมิปฏิบัติอันอุดม ไม่มีใครรบได้.

ดูก่อนนายช่างไม้ ข้อที่ศีลเหล่านี้เป็นอกุศล ศีลเป็นอกุศลมีสมุฏฐานแต่จิตนี้ ศีลเป็นอกุศลดับลงหมดสิ้นไปในที่นี้ ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลเป็นอกุศล เรากล่าวว่าควรรู้.

ข้อที่ศีลเหล่านี้เป็นกุศล ศีลเป็นกุศลมีสมุฏฐานแต่จิตนี้ ศีลเป็นกุศลดับลงหมดสิ้นไปในที่นี้ ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลเป็นกุศล เรากล่าวว่าควรรู้.

ข้อที่ความดําริเหล่านี้เป็นอกุศล ความดําริเป็นอกุศลมีสมุฏฐานแต่จิตนี้ ความดําริเป็นอกุศลดับลงหมดสิ้นในที่นี้ ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดําริเป็นอกุศล เรากล่าวว่าควรรู้.

ข้อที่ความดําริเหล่านี้เป็นกุศล

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 609

ความดําริเป็นกุศลมีสมุฏฐานแต่จิตนี้ ความดําริเป็นกุศลดับลงหมดสิ้นในที่นี้ ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดําริเป็นกุศล เรากล่าวว่าควรรู้.

อเสกขภูมิ

[๓๖๒] ดูก่อนนายช่างไม้ ก็ศีลที่เป็นอกุศลนั้นเป็นไฉน ดูก่อนนายช่างไม้ กายกรรมเป็นอกุศล วจีกรรมเป็นอกุศล การเลี้ยงชีพชั่ว เหล่านี้ เรากล่าวว่าศีลเป็นอกุศล ก็ศีลที่เป็นอกุศลเหล่านี้มีอะไรเป็นสมุฏฐาน แม้สมุฏฐานแห่งศีลเป็นอกุศลเหล่านั้น เรากล่าวแล้ว ก็ต้องกล่าวว่า มีจิตเป็นสมุฏฐาน.

จิตเป็นไฉน ถึงจิตเล่าก็มีมากหลายอย่าง มีประการต่างๆ จิตใดมีราคะ โทสะ โมหะ ศีลเป็นอกุศลมีจิตนี้เป็นสมุฏฐาน ก็ศีลเป็นอกุศลเหล่านี้ ดับลงหมดสิ้นในที่ไหน แม้ความดับแห่งศีลที่เป็นอกุศลเหล่านั้น เราก็ได้กล่าวแล้ว.

ดูก่อนนายช่างไม้ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ละกายทุจริต เจริญกายสุจริต ละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต ละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต ละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตด้วยสัมมาอาชีวะ ศีลที่เป็นอกุศลเหล่านั้นดับลงหมดสิ้นในการละทุจริต เจริญสุจริต และการละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตด้วยสัมมาอาชีวะ.

ศีลที่เป็นอกุศลเหล่านั้นดับลงหมดสิ้นในการละทุจริต เจริญสุจริตและการละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตด้วยสัมมาอาชีวะ ผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลที่เป็นอกุศล.

ดูก่อนนายช่างไม้ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งมั่น เพื่อยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 610

ตั้งมั่น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งมั่น เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียรประคองจิตไว้ ตั้งมั่น เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความเต็มเปียมแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว.

ดูก่อนนายช่างไม้ ผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลที่เป็นอกุศล.

[๓๖๓] ดูก่อนนายช่างไม้ ก็ศีลที่เป็นกุศลเป็นไฉน ดูก่อนนายช่างไม้ เราย่อมกล่าวซึ่งกายกรรมเป็นกุศล วจีกรรมเป็นกุศล และอาชีวะอันบริสุทธิ์ลงในศีล เหล่านี้เรากล่าวว่าศีลเป็นกุศล.

ก็ศีลเป็นกุศลเหล่านี้มีอะไรเป็นสมุฏฐาน แม้สมุฏฐานแห่งศีลเป็นกุศลเหล่านั้น เรากล่าวแล้ว ก็ต้องกล่าวว่า มีจิตเป็นสมุฏฐาน จิตเป็นไฉน แม้จิตเล่าก็มีมาก หลายอย่าง มีประการต่างๆ จิตใดปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ศีลเป็นกุศลมีจิตนี้เป็นสมุฏฐาน ศีลเป็นกุศลเหล่านี้ดับลงหมดสิ้นในที่ไหน แม้ความดับแห่งศีลเป็นกุศลนั้นเราก็กล่าวแล้ว.

ดูก่อนนายช่างไม้ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล แต่จะสําเร็จด้วยศีลหามิได้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดสิ้นแห่งศีลเป็นกุศลเหล่านั้น ของภิกษุนั้นด้วย.

ก็ผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลเป็นกุศล.

ดูก่อนนายช่างไม้ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งมั่น เพื่อยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น... เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว... เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น... เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 611

เพื่อความเต็มเปียมแห่งกุศลธรรมที่เกิดแล้ว.

ดูก่อนนายช่างไม้ ผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลเป็นกุศล.

อกุสลสังกัปปะ

[๓๖๔] ดูก่อนนายช่างไม้ ก็ความดําริอันเป็นอกุศลเป็นไฉน ดูก่อนนายช่างไม้ ความดําริในกาม ความดําริในพยาบาท ความดําริในการเบียดเบียน เหล่านี้เรากล่าวว่าความดําริเป็นอกุศล ก็ความดําริเป็นอกุศลนี้ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน แม้สมุฏฐานแห่งความดําริเป็นอกุศลเหล่านั้น เรากล่าวแล้วก็ต้องกล่าวว่า มีสัญญาเป็นสมุฏฐาน สัญญาเป็นไฉน แม้สัญญาเล่าก็มีมาก หลายอย่าง มีประการต่างๆ สัญญาใดเป็นสัญญาในกาม เป็นสัญญาในพยาบาท เป็นสัญญาในการเบียดเบียน ความดําริเป็นอกุศลมีสัญญานี้เป็นสมุฏฐาน ก็ความดําริเป็นอกุศลเหล่านี้ ดับลงหมดสิ้นในที่ไหน แม้ความดับแห่งความดําริเป็นอกุศลนั้นเราก็กล่าวแล้ว.

ดูก่อนนายช่างไม้ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ซึ่งเป็นที่ดับหมดสิ้นแห่งความดําริเป็นอกุศล ก็ผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดําริเป็นอกุศล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งมั่น เพื่อยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น... เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว... เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น... เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความเต็มเปียมแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว.

ดูก่อนนายช่างไม้ ผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดําริเป็นอกุศล.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 612

กุสลสังกัปปะ

[๓๖๕] ดูก่อนนายช่างไม้ ก็ความดําริเป็นกุศลเป็นไฉน ดูก่อนนายช่างไม้ ความดําริในเนกขัมมะ ความดําริในอันไม่พยาบาท ความดําริในอันไม่เบียดเบียนเหล่านี้ เราก็กล่าวว่า ความดําริเป็นกุศล ก็ความดําริเป็นกุศลนี้ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน แม้สมุฏฐานแห่งความดําริเป็นกุศลนั้น เรากล่าวแล้วก็ต้องกล่าวว่า มีสัญญาเป็นสมุฏฐาน สัญญาเป็นไฉน แม้สัญญาก็มีมาก หลายอย่าง มีประการต่างๆ สัญญาใดเป็นสัญญาในเนกขัมมะ เป็นสัญญาในความไม่พยาบาท เป็นสัญญาในอันไม่เบียดเบียน ความดําริเป็นกุศลมีสัญญานี้เป็นสมุฏฐาน ก็ความดําริเป็นกุศลเหล่านี้ดับลงหมดสิ้นในที่ไหน แม้ความดับแห่งความดําริที่เป็นกุศลนั้น เราก็กล่าวแล้ว.

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ซึ่งเป็นที่ดับลงหมดสิ้นแห่งความดําริเป็นกุศลเหล่านี้ ก็ผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดําริเป็นกุศล.

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งมั่น เพื่อยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น... เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว... เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น... เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความเต็มเปียมแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว.

ดูก่อนนายช่างไม้ ผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดําริเป็นกุศล.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 613

อเสกขธรรม ๑๐

[๓๖๖] ดูก่อนนายช่างไม้ เราย่อมบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการเหล่าไหน ว่าเป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณะถึงภูมิปฏิบัติอันอุดม ไม่มีใครรบได้ ดูก่อนนายช่างไม้ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิเป็นของอเสขบุคคล ๑ สัมมาสังกัปปะเป็นของอเสขบุคคล ๑ สัมมาวาจาเป็นของอเสขบุคคล ๑ สัมมากัมมันตะเป็นของอเสขบุคคล ๑ สัมมาอาชีวะเป็นของอเสขบุคคล ๑ สัมมาวายามะเป็นของอเสขบุคคล ๑ สัมมาสติเป็นของอเสขบุคคล ๑ สัมมาสมาธิเป็นของอเสขบุคคล ๑ สัมมาญาณะเป็นของอเสขบุคคล ๑ สัมมาวิมุตติเป็นของอเสขบุคคล ๑ เราย่อมบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้แล ว่าเป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณะถึงภูมิปฏิบัติอันอุดม ไม่มีใครรบได้ ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ช่างไม้ปัญจกังคะยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ดังนี้แล.

จบสมณมุณฑิกสูตรที่ ๘

๘. อรรถกถาสมณมุณฑิกสูตร

สมณมุณฑิกสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้นบทว่า อุคฺคาหมาโน ปริพาชกชื่อว่า อุคคาหมานะ ชื่อเดิมของปริพาชกนั้นว่า สุมนะ แต่เพราะสามารถเรียนวิทยาหลายอย่าง ชนทั้งหลายจึงตั้งชื่อว่า อุคคาหมานะ.

ชื่อว่า สมยมฺปวาทกํ

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 614

เพราะเป็นที่ประชุมแสดงลัทธิ.

นัยว่าในที่นั้น พวกพราหมณ์เริ่มต้นด้วยปกิตารุกขพราหมณ์และโปกขรสาติพราหมณ์ นิครนถ์ และพวกบรรพชิต มีอเจลกและปริพาชก เป็นต้น ประชุม ประกาศ สนทนา แสดง ลัทธิของตนๆ เพราะฉะนั้น อารามนั้นจึงเรียกว่า สมยัปปวาทกะ ที่ประชุมแสดงลัทธิ.

ศาลา ชื่อว่า ติณฑุกาจีระ เพราะล้อมด้วยแถวต้นมะพลับ.

ก็เพราะ ณ ที่นี้ได้มีศาลาอยู่หลังหนึ่งก่อน. ภายหลังจึงสร้างไว้หลายหลัง เพราะอาศัยโปฏฐปาทปริพาชิก ผู้มีบุญมาก. ฉะนั้น จึงเรียกว่า เอกสาลกะ โดยได้ชื่อตามความหมายถึงศาลาหลังหนึ่งนั้นนั่นเอง.

เอกสาลกะนั้นเป็นสวนของพระราชเทวีของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระนามว่ามัลลิกา ดาดาษด้วยดอกไม้และผลไม้ เพราะทําเป็นอารามจึงเรียกว่าอารามของพระนางมัลลิกา. อุคคาหมานปริพาชกอาศัยอยู่ในอารามของพระนางมัลลิกา ในตําบลติณฑุกาจีระอันเป็นที่ประชุมแสดงลัทธินั้น อยู่อย่างสบาย.

บทว่า ทิวาทิวสฺส เวลาเที่ยง คือ เลยเวลาเที่ยง ชื่อว่า เวลาเที่ยงวัน. อธิบายว่า นายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะออกไปในเวลาเที่ยงเลยไป เป็นกลางวันแม้ของวันนั้น.

บทว่า ปฏิสลฺลีโน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลีกเร้นอยู่ คือ ทรงสํารวมจิตจากอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้นๆ หลีกเร้นอยู่ ถึงความเป็นองค์เดียวด้วยทรงยินดีในฌาน.

บทว่า มโนภาวนียานํ คือ ผู้เจริญทางใจ. ความปราศจากนิวรณ์เพียงความคิดย่อมมีแก่ภิกษุผู้นึกผู้มนสิการอยู่. จิตย่อมฟู คือ ย่อมเจริญ.

บทว่า ยาวตา ประมาณเท่าใด.

บทว่า อยํ เตสํ อฺตโร นายช่างไม้ผู้นี้เป็นผู้หนึ่งของบรรดาสาวกเหล่านั้น คือ เป็นสาวกผู้หนึ่งในระหว่างสาวกเหล่านั้น.

บทว่า อปฺเปว นาม คือ อุคคาหมานปริพาชกต้องการให้นายช่างไม้เข้าไปใกล้จึงกล่าว. ก็เหตุที่ต้องการ ท่านกล่าวไว้แล้วในสันทกสูตร.

บทว่า เอตทโวจ อุคคาหมานปริพาชกได้กล่าวกะนายช่างไม้นั้น.

อุคคาหมานปริพาชกสําคัญว่า คหบดีนี้มีปัญญาอ่อน

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 615

เราจักสงเคราะห์เขาด้วยธรรมกถาแล้วจักทําให้เป็นสาวกของตน จึงได้กล่าวคํามีอาทิว่า จตูหิ โข ดังนี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ปฺเปมิ เราบัญญัติ คือ เราแสดงตั้งขึ้น.

บทว่า สมฺปนฺนกุสลํ คือ มีกุศลบริบูรณ์.

บทว่า ปรมกุสลํ มีกุศลอย่างยิ่ง คือ มีกุศลอุดม.

บทว่า อโยชฺฌํ ไม่มีใครรบได้ คือ ไม่มีใครสามารถจะรบด้วยวาทะให้หวั่นได้ เป็นผู้ไม่หวั่นไม่ไหว มั่นคง.

บทว่า น กโรติ คือ ย่อมกล่าวเพียงไม่ทําเท่านั้น.

อนึ่ง ในบทนี้อุคคาหมานปริพาชกไม่กล่าวถึงการละด้วยความสํารวมหรือการพิจารณา.

แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า เนว อภินนฺทติ ไม่ยินดี คือ นายช่างไม้สําคัญว่า ธรรมดาพวกเดียรถีย์ทั้งหลาย รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง ก็พูดส่งเดชไป จึงไม่ยินดี.

บทว่า นปฺปฏิกฺโกสิ ไม่คัดค้าน คือ นายช่างไม้สําคัญว่า อุคคาหมานปริพาชกกล่าวดุจคล้อยตามศาลนา ดุจอาการเลื่อมใสศาสนา จึงไม่คัดค้าน.

บทว่า ยถา อุคฺคาหมานสฺส เหมือนอย่างคําของอุคคาหมานปริพาชก.

พระผู้มีพระภาคเจ้า แสดงว่า เราไม่กล่าวเหมือนอย่างคําของอุคคาหมานปริพาชกนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่จักเป็นสมณะที่ใครรบไม่ได้ จักเป็นสมณะมั่นคงน่ะซิ.

บทว่า กาโยติปิ น โหติ แม้เพียงจะรู้ว่า กายดังนี้ก็ยังไม่มี คือ ไม่มีความรู้วิเศษว่า กายของตนหรือกายของผู้อื่น.

บทว่า อฺตฺร ผนฺทิตามตฺตา นอกจากจะมีเพียงอาการดิ้นรน คือ ย่อมมีเพียงกายดิ้นรนด้วยการสัมผัสเถาวัลย์บนที่นอนหรือถูกเรือดกัด นอกจากนั้นแล้วก็ไม่มีการทําทางกายอย่างอื่น. อนึ่ง กรรมนั้นจะมีก็ด้วยจิตประกอบด้วยกิเลสเท่านั้น.

บทว่า วาจาติปิ น โหติ แม้แต่จะรู้ว่าวาจาดังนี้ก็ยังไม่มี คือ จะรู้ความต่างกันว่า มิจฉาวาจา สัมมาวาจา ก็ไม่มี.

บทว่า โรทิตมตฺตา นอก

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 616

จากจะมีเพียงการร้องไห้ คือ จะมีเพียงการร้องไห้ของเด็กอ่อนที่หิวและกระหาย แม้กรรมนั้นจะมี ก็ด้วยจิตประกอบด้วยกิเลสเท่านั้น.

บทว่า สงฺกปฺโป คือ จะรู้ความต่างว่ามิจฉาสังกัปปะ สัมมาสังกัปปะก็ไม่มี.

บทว่า วิกุฏิตมตฺตา นอกจากจะรู้เพียงการร้องไห้และหัวเราะ คือ จิตของเด็กอ่อนมีอารมณ์ในอดีตเป็นไป. เด็กอ่อนมาจากนรก ระลึกถึงทุกข์ในนรกย่อมร้องไห้. มาจากเทวโลก ระลึกถึงสมบัติในเทวโลกย่อมหัวเราะ. กรรมแม้นั้นย่อมมีได้ด้วยจิตประกอบด้วยกิเลสเท่านั้น.

บทว่า อาชีโว จะรู้ความต่างว่ามิจฉาชีพ สัมมาชีพก็ไม่มี.

บทว่า อฺตฺร มาตุกฺํ นอกจากน้ํานมของมารดา. เด็กอ่อนเหล่านั้นชื่อว่ายังเป็นทารก เมื่อมารดาให้ดื่มน้ํานมก็ไม่ดื่ม ในเวลาที่มารดาจัดแจงงานอื่น มาข้างหลังจะดื่มน้ํานม. มิจฉาชีพอย่างอื่นพ้นไปจากนี้ก็ไม่มี. ท่านแสดงว่ามิจฉาชีพนี้ย่อมมีด้วยจิตประกอบด้วยกิเลสเท่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงปฏิเสธวาทะของปริพาชกอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงวางมาติกาในเสกขภูมิด้วยพระองค์เอง จึงตรัสพระดํารัสมีอาทิว่า จตูหิ โข อหํ เราบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการแล.

ในบทเหล่านั้นบทว่า สมธิคยฺห ติฏติ คือ ตั้งไว้ให้ดี.

ในบทมีอาทิว่า น กาเยน ปาปํ ไม่ทํากรรมชั่วด้วยกาย คือ ไม่เพียงสักว่าไม่ทําอย่างเดียวเท่านั้น. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติการละด้วยการสังวรและการพิจารณาไว้ในบทนี้ด้วย. ทรงหมายถึงข้อนั้นจึงได้ตรัสไว้.

ส่วนบทมีอาทิว่า น เจว สมฺปนฺนกุสลํ มิใช่ผู้มีกุศลสมบูรณ์ ตรัสหมายถึงพระขีณาสพ.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงวางมาติกาในอเสกขภูมิจึงตรัสพระดํารัสมีอาทิว่า ทสหิ โข อหํ เราบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ.

ในบทนั้น อาศัย ๓ บท ทรงวางจตุกกะ ๑ ไว้ ๒ บท. อาศัยบท ๑ ทรงวางจตุกกะสุดท้ายไว้ ๒ บท. นี้คือมาติกาในอเสกขภูมิ.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 617

บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจําแนกมาติกานั้นจึงตรัสพระดํารัสมีอาทิว่า กตเม จ ถปติ อกุสลา สีลา ดูก่อนนายช่างไม้ ก็ศีลเป็นอกุศลนั้นเป็นไฉน.

ในบทเหล่านั้นบทว่า สราคํ มีราคะ คือ จิตประกอบด้วยโลภะ ๘ อย่าง.

บทว่า สโทสํ มีโทสะ คือ จิต ๒ ดวง สัมปยุตด้วยปฏิฆะ.

บทว่า สโมหํ มีโมหะ คือ แม้จิต ๒ ดวง ประกอบด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะก็ควร แม้จิตที่เป็นอกุศลทั้งหมดก็ควร. เพราะท่านกล่าวไว้ว่า โมหะย่อมเกิดในอกุศลทั้งปวง.

บทว่า อิโตสมุฏานา ชื่อว่า อิโตสมุฏฐาน เพราะมีสมุฏฐานเกิดแต่จิตมีราคะเป็นต้นนี้.

บทว่า กุหิํ คือ ศีลที่เป็นอกุศลดับไม่เหลือเพราะบรรลุฐานะไหน.

บทว่า เอตฺเถเต ในการละทุจริตนี้ คือ ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล.

จริงอยู่ ปาฏิโมกขสังวรศีล ย่อมบริบูรณ์ในโสดาปัตติผล. ถึงฐานะนั้นแล้วศีลเป็นอกุศลดับไม่เหลือ.

อนึ่ง บทว่า อกุสลสีลํ นี้พึงทราบว่าเป็นชื่อของบุคคลทุศีลบ้าง เป็นชื่อของธรรมที่เป็นอกุศลบ้าง.

บทว่า นิโรธาย ปฏิปนฺโน ปฏิบัติเพื่อความดับ คือ ปฏิบัติเพื่อความดับตั้งแต่โสดาปัตติมรรค. แต่ศีลที่เป็นอกุศลเหล่านั้นชื่อว่าเป็นอันดับด้วยการบรรลุพระอรหัต.

ด้วยบทมีอาทิว่า วีตราคํ เป็นต้น ท่านกล่าวถึงกามาวจรกุศลจิต ๘ อย่าง. ด้วยบทนี้ ศีลที่เป็นกุศลย่อมตั้งขึ้น.

บทว่า สีลวา โหติ เป็นผู้มีศีล คือ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลและสมบูรณ์ด้วยคุณ.

บทว่า สีลมโย สําเร็จด้วยศีล คือ ไม่สําเร็จด้วยศีลอย่างนี้ว่า เพียงเท่านี้ก็พอ ไม่มีสิ่งไรๆ ที่ควรจะทํายิ่งไปกว่านี้.

บทว่า ยตฺถสฺส เต อันเป็นที่ดับหมดสิ้นแห่งศีลเป็นกุศลเหล่านั้นของภิกษุนั้น คือ ตั้งอยู่ในอรหัตตผล. เพราะศีลที่เป็นอกุศลดับไม่เหลือ เพราะบรรลุพระอรหัตตผล.

บทว่า นิโรธาย ปฏิปนฺโน ปฏิบัติเพื่อดับ คือ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อดับตั้งแต่อรหัตตมรรค. ศีลที่เป็นกุศลเหล่านั้นชื่อว่าเป็นอันดับด้วยการบรรลุผล.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 618

ใน กามสฺา เป็นต้น มีความดังต่อไปนี้.

บทว่า กามสฺา สัญญาในกาม คือ สัญญานอกนี้เกิดร่วมกับจิตที่ประกอบด้วยโลภะ ๘ ดวง สัญญาที่เกิดร่วมกับจิตประกอบด้วยโทมนัส ๒ ดวง.

บทว่า ปมํ ฌานํ ปฐมฌาน คือ ปฐมฌานอันเป็นอนาคามิผล.

บทว่า เอตฺเถเต ความดําริเป็นอกุศลเหล่านี้ดับสิ้นไปในปฐมฌาน คือ ตั้งอยู่ในอนาคามิผล. เพราะความดําริเป็นอกุศล ย่อมไม่เหลือเพราะการบรรลุอนาคามิผล.

บทว่า นิโรธาย ปฏิปนฺโน ปฏิบัติเพื่อความดับ คือ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับตั้งแต่อนาคามิมรรค. แต่ความดําริที่เป็นอกุศลเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นอันดับด้วยการบรรลุผล.

สัญญาแม้ ๓ มีเนกขัมมสัญญาเป็นต้น เป็นสัญญาเกิดร่วมกับกามาวจรกุศล ๘.

บทว่า เอตฺเถเต ความดําริที่เป็นกุศลเหล่านี้ดับไม่เหลือในทุติยฌานนี้ คือ ในอรหัตตผล เพราะว่าความดําริที่เป็นกุศล ย่อมดับไม่เหลือเพราะการบรรลุอรหัตตผลอันประกอบด้วยทุติยฌาน.

บทว่า นิโรธาย ปฏิปนฺโน ปฏิบัติเพื่อความดับ คือ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับจนถึงอรหัตตมรรค. แต่ความดําริที่เป็นกุศลเหล่านั้นชื่อว่า เป็นอันดับด้วยการบรรลุผล.

บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นด้วยประการฉะนี้.

จบสมณมุณฑิกสูตรที่ ๘