พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. เวขณสสูตร เรื่องเวขณสปริพาชก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ส.ค. 2564
หมายเลข  36085
อ่าน  493

[เล่มที่ 20] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 642

๑๐. เวขณสสูตร

เรื่องเวขณสปริพาชก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 20]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 642

๑๐. เวขณสสูตร

เรื่องเวขณสปริพาชก

[๓๘๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตเมืองสาวัตถี ครั้งนั้นแล เวขณสปริพาชก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

เปรียบเทียบวรรณ ๒ อย่าง

[๓๙๐] เวขณสปริพาชกยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้เปล่งอุทานในสํานักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนกัจจานะ ท่านทําไมจึงกล่าวอย่างนี้ว่า นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง ดังนี้ ก็วรรณอย่างยิ่งนั้นเป็นไฉน.

เว. ข้าแต่ท่านพระโคดม วรรณใดไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า วรรณนั้นเป็นวรรณอย่างยิ่ง.

พ. ดูก่อนกัจจานะ วรรณไหนเล่า ที่ไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า.

ข้าแต่ท่านพระโคดม วรรณใด ไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่าหรือประณีตกว่า วรรณนั้นเป็นวรรณอย่างยิ่ง.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 643

[๓๙๑] ดูก่อนกัจจานะ ท่านกล่าวแต่เพียงว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม วรรณใดไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า วรรณนั้นเป็นวรรณอย่างยิ่ง ดังนี้ วาจานั้นของท่านพึงขยายออกอย่างยืดยาว แต่ท่านไม่ชี้วรรณนั้นได้ ดูก่อนกัจจานะ เปรียบเหมือนบุรุษพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราปรารถนารักใคร่นางชนปทกัลยาณี ในชนบทนี้ คนทั้งหลายพึงถามเขาอย่างนี้ว่า พ่อ นางชนปทกัลยาณีที่พ่อปรารถนารักใคร่นั้นพ่อรู้จักหรือว่า เป็นนางกษัตริย์ พราหมณี แพศย์ หรือศูทร เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขาพึงตอบว่า หามิได้ คนทั้งหลายพึงถามเขาว่า พ่อ นางชนปทกัลยาณีที่พ่อปรารถนารักใคร่นั้น พ่อจักรู้หรือว่า นางมีวรรณอย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขาพึงตอบว่า หามิได้ คนทั้งหลายพึงถามเขาว่า พ่อ นางชนปทกัลยาณีที่พ่อปรารภรักใคร่นั้น พ่อรู้จักหรือว่า สูง ต่ํา หรือพอสันทัด ดํา ขาว หรือมีผิวคล้ํา อยู่ในบ้าน นิคม หรือนครโน้น เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขาพึงตอบว่า หามิได้ คนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาว่า พ่อ พ่อปรารถนารักใคร่หญิงที่พ่อไม่รู้จัก ไม่เคยเห็นนั้นหรือ เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขาพึงตอบว่าถูกแล้ว ดูก่อนกัจจานะ ท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนี้ คํากล่าวของบุรุษนั้น ถึงความเป็นคําใช้ไม่ได้ มิใช่หรือ.

แน่นอน พระโคดมผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น คํากล่าวของบุรุษนั้น ถึงความเป็นคําใช้ไม่ได้.

ดูก่อนกัจจานะ ข้อนี้ฉันใด ท่านก็ฉันนั้นแล กล่าวอยู่แต่ว่า ข้าแต่พระโคดม วรรณใดไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า วรรณนั้นเป็นวรรณอย่างยิ่ง ดังนี้ แต่ไม่ชี้วรรณนั้น.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 644

ข้าแต่ท่านพระโคดม เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ ๘ เหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว เขาวางไว้ที่ผ้ากัมพลแดงย่อมสว่างไสวส่องแสงเรืองอยู่ฉันใด ตัวตนก็ฉันนั้น เมื่อตายไป ย่อมเป็นของมีวรรณ ไม่มีโรค.

[๓๙๒] ดูก่อนกัจจานะ ท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน แก้วไพฑูรย์อันงามเกิดเองอย่างบริสุทธิ์ ๘ เหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว เขาวางไว้ที่ผ้ากัมพลแดง ย่อมสว่างไสวส่องแสงเรืองอยู่ ๑ แมลงหิ่งห้อยในเวลาเดือนมืดในราตรี ๑ บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณไหนจะงามกว่าและประณีตกว่ากัน.

ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณทั้งสองนี้ แมลงหิ่งห้อยในเวลาเดือนมืดในราตรีนี้ งามกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย.

[๓๙๓] ดูก่อนกัจจานะ ท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน แมลงหิ่งห้อยในเวลาเดือนมืดในราตรี ๑ ประทีปน้ํามันในเวลาเดือนมืดในราตรี ๑ บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณไหนจะงามกว่าและประณีตกว่ากัน.

ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณทั้งสองนี้ ประทีปน้ํามันในเวลาเดือนมืดในราตรีนี้ งามกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย.

[๓๙๔] ดูก่อนกัจจานะ ท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ประทีปน้ํามันในเวลาเดือนมืดในราตรี ๑ กองไฟใหญ่ในเวลาเดือนมืดในราตรี ๑ บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณไหนจะงามกว่าและประณีตกว่ากัน.

ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณทั้งสองนี้ กองไฟใหญ่ในเวลาเดือนมืดในราตรีนี้ งามกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 645

[๓๙๕] ดูก่อนกัจจานะ ท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน กองไฟใหญ่เวลาเดือนมืดในราตรี ๑ ดาวพระศุกร์ในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ๑ บรรดาวรรณทั้ง ๒ นี้ วรรณทั้ง ๒ นี้ วรรณไหนจะงามกว่าและประณีตกว่ากัน.

ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณทั้งสองนี้ ดาวพระศุกร์ในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรีนี้ งามกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย.

[๓๙๖] ดูก่อนกัจจานะ ท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ดาวพระศุกร์ในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ๑ ดวงจันทร์ในเวลาเทียงคืนตรง ในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในวันอุโบสถที่ ๑๕ ค่ํา [เพ็ญกลางเดือน] ๑ บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณไหนจะงามกว่าและประณีตกว่ากัน.

ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณทั้งสองนี้ ดวงจันทร์ในเวลาเที่ยงคืนตรง ในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในวันอุโบสถที่ ๑๕ ค่ํา นี้งามกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย.

[๓๙๗] ดูก่อนกัจจานะ ท่านจะสําคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ดวงจันทร์ในเวลาเที่ยงคืนตรง ในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในวันอุโบสถที่ ๑๕ ค่ํา ๑ ดวงอาทิตย์ในเวลาเที่ยงตรง ในอากาศอันกระจ่าง ปราศจากเมฆในสรทสมัย เดือนท้ายฤดูฝน ๑ บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณไหนจะงามกว่าและประณีตกว่ากัน.

ข้าแต่พระโคดม บรรดาวรรณทั้งสองนี้ ดวงอาทิตย์ในเวลาเที่ยงตรง ในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในสรทสมัยเดือนท้ายฤดูฝนนี้ งามกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 646

[๓๙๘] ดูก่อนกัจจานะ เทวดาเหล่าใดย่อมสู้แสงพระจันทร์และแสงพระอาทิตย์ไม่ได้ เทวดาเหล่านั้นมีมากยิ่งกว่าเทวดาพวกที่สู้แสงพระจันทร์และแสงพระอาทิตย์ได้ เรารู้เรื่องเช่นนั้นดีอยู่ ถึงกระนั้น เราก็ไม่กล่าวว่า วรรณใดไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านก็ชื่อว่า กล่าวอยู่ว่า วรรณใดเลวกว่าและเศร้าหมองกว่าแมลงหิ่งห้อย วรรณนั้นเป็นวรรณอย่างยิ่ง ดังนี้ แต่ท่านไม่ชี้วรรณนั้นเท่านั้น.

ดูก่อนกัจจานะ กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก เกี่ยวด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกําหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตะ... กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานะ... รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา... โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก เกี่ยวด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกําหนัด.

ดูก่อนกัจจานะ กามคุณ ๕ เหล่านี้แล ความสุขโสมนัสอันใด อาศัยกามคุณ ๕ เหล่านั้นเกิดขึ้น ความสุขโสมนัสนี้ เรากล่าวว่า กามสุข [สุขเกิดแต่กาม] ด้วยประการฉะนี้ เป็นอันเรากล่าวกามสุขว่าเลิศกว่ากามทั้งหลาย กล่าวสุขอันเป็นที่สุดของกาม (๑) ว่าเลิศกว่ากามสุข ในความสุขอันเป็นที่สุขของกามนั้น เรากล่าวว่าเป็นเลิศ.

สรรเสริญสุขอันเป็นที่สุดของกาม

[๓๙๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เวขณสปริพาชกได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้อที่พระโคดมผู้เจริญตรัสกามสุขว่าเลิศกว่ากามทั้งหลาย ตรัสความสุขอันเป็นที่สุดของกามว่าเลิศกว่ากามสุข ในความสุขอันเป็นที่สุดของกามนั้นตรัสว่าเป็นเลิศนี้ ตรัสดี น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา.


(๑) หมายเอานิพพาน.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 647

ดูก่อนกัจจานะ ข้อที่ว่ากามก็ดี กามสุขก็ดี สุขอันเป็นที่สุดของกามก็ดี นี้ยากที่ท่านผู้มีความเห็นเป็นอย่างอื่น มีความพอใจเป็นอย่างอื่น มีความชอบใจเป็นอย่างอื่น มีความประกอบเนื้อความเป็นประการอื่น มีลัทธิอาจารย์เป็นประการอื่นจะพึงรู้ได้ ดูก่อนกัจจานะ ภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกรณียะได้ทําเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันถึงแล้วตามลําดับ มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุเหล่านั้นแล จะพึงรู้ข้อที่ว่า กาม กามสุข หรือสุขอันเป็นที่สุดของกามนี้ได้.

[๔๐๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว เวขณสปริพาชกโกรธ ขัดใจ เมื่อจะด่าว่าติเตียนพระผู้มีพระภาคเจ้า คิดว่า เราจักให้พระสมณโคดมได้รับความเสียหาย ดังนี้ จึงได้กราบทูลว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น สมณพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ ไม่รู้เงื่อนเบื้องต้น ไม่รู้เงื่อนเบื้องปลาย แต่ปฏิญาณอยู่ว่า เรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทํา ทําเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ภาษิตของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงความเป็นคําน่าหัวเราะทีเดียว ถึงความเป็นคําต่ําช้าอย่างเดียว ถึงความเป็นคําเปล่า ถึงความเป็นคําเหลวไหลแท้ๆ.

[๔๐๑] ดูก่อนกัจจานะ สมณพราหมณ์เหล่าใด เมื่อไม่รู้เงื่อนเบื้องต้น เมื่อไม่รู้เงื่อนเบื้องปลาย มาปฏิญาณว่า เรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทํา ทําเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ สมณพราหมณ์เหล่านั้นควรถูกข่มขี่สมกับเหตุ ดูก่อนกัจจานะ ก็แต่ว่าเงื่อนเบื้องต้นจงงดไว้เถิด เงื่อนเบื้องปลายจงงดไว้เถิด บุรุษผู้รู้ความไม่เป็นคนโอ้อวด ไม่มีมายา เป็นคนชื่อตรง ขอจงมาเถิด เราจะสั่งสอน

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 648

เราจะแสดงธรรม เมื่อปฏิบัติตามคําที่เราสอนแล้ว ไม่นานก็รู้จักเอง จักเห็นเอง ได้ยินว่า การที่จะหลุดพ้นไปได้โดยชอบจากเครื่องผูก คือ เครื่องผูกคืออวิชชา ก็เป็นอย่างนั้น.

ดูก่อนกัจจานะ เปรียบเหมือนเด็กอ่อนยังนอนหงาย จะพึงถูกเขาผูกไว้ด้วยเครื่องผูกที่ข้อเท้าทั้งสอง ที่ข้อมือทั้งสอง ที่คอหนึ่ง เป็นห้าแห่ง เครื่องผูกเหล่านั้นจะพึงหลุดไปเพราะเด็กนั้นถึงความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เขาพึงรู้ว่าเป็นผู้พ้น และเครื่องผูกก็ไม่มี ฉันใด กัจจานะ บุรุษผู้รู้ความก็ฉันนั้นแล เป็นคนไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เป็นคนซื่อตรง ขอจงมาเถิด เราจักสั่งสอน เราจักแสดงธรรม เมื่อปฏิบัติได้ตามคําที่เราสอนแล้ว ไม่นานนักก็จักรู้เอง จักเห็นเอง ได้ยินว่า การที่จะหลุดพ้นไปได้โดยชอบจากเครื่องผูก คือ เครื่องผูกคืออวิชชา ก็เป็นอย่างนั้น.

เวขณสปริพาชกแสดงตนเป็นอุบาสก

[๔๐๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว เวขณสปริพาชกได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ํา เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ฉันใด พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญทรงจําข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบเวขณสสูตรที่ ๑๐

จบปริพพาชกวรรคที่ ๓

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 649

๑๐. อรรถกถาเวขณสสูตร

เวขณสสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้นบทว่า เวขณโส ได้ยินว่าเวขณสปริพาชกนี้ เป็นอาจารย์ของสกุลุทายิปริพาชก. เวขณสปริพาชกนั้นได้ยินว่า สกุลุทายิปริพาชกแพ้ปัญหามีวรรณอย่างยิ่ง จึงคิดว่า สกุลุทายีนั้นเราให้เรียนเป็นอย่างดีแล้ว แม้สกุลุทายีก็เรียนได้ดี เขาแพ้ได้อย่างไรหนอ เอาละ เราจะไปเอง ทูลถามปัญหามีวรรณยิ่งกะพระสมณโคดมแล้วจักรู้ได้. จึงไปกรุงสาวัตถีประมาณ ๔๕ โยชน์จากกรุงราชคฤห์ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ยืนเปล่งอุทานในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ในบทนั้นพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว เช่นกับสูตรก่อนนั่นแหละ.

เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มว่า ปฺจ โข อิเม กามคุณ ๕ เหล่านี้.

คนบางคนแม้ครองเรือนก็เป็นผู้หนักในกาม น้อมไปในกาม. บางคนเป็นผู้หนักในเนกขัมมะ น้อมไปในเนกขัมมะ. อนึ่ง บางคนเป็นบรรพชิต เป็นผู้หนักในกาม น้อมไปในกาม. บางคนเป็นผู้หนักในเนกขัมมะ น้อมไปในเนกขัมมะ. บุคคลนี้ชื่อว่า เป็นผู้หนักในกาม บุคคลนั้นเมื่อเขากล่าวกถานี้ จักกําหนดความที่ตนน้อมไปในกาม เทศนานี้จักเป็นที่สบายของบุคคลนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มเทศนานี้.

บทว่า กามคฺคสุขํ สุขอันเป็นที่สุดของกาม ท่านประสงค์เอานิพพาน.

บทว่า ปาปิโต ภวิสฺสติ จักให้พระสมณโคดมได้รับความเสียหาย คือ จักให้ถึงความไม่รู้.

บทว่า ลามกํเยว สมฺปชฺชติ ถึงความเป็นธรรมต่ําช้า คือ ถึงความเป็นธรรมเพียงคําพูดอันไร้ประโยชน์นั่นเอง.

บทว่า

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 12 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 650

ติฏตุ ปุพฺพนฺโต ติฏตุ อปรนฺโต เงื่อนเบื้องต้น จงงดไว้เถิด เงื่อนเบื้องปลายจงงดไว้เถิด. เพราะบุพเพนิวาสญาณอันสมควรแก่กถาในอดีตของท่านไม่มี. ทิพจักขุญาณอันสมควรแก่กถาในอนาคตก็ไม่มี. ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า แม้ทั้งสองอย่างนั้นก็จงลดไว้เถิด.

บทว่า สุตฺตพนฺธเนหิ คือ ด้วยเครื่องผูกทําด้วยด้าย คือ เขาผูกด้ายไว้ที่มือเท้าและที่คอเพื่อดูแลทารกนั้น. เครื่องผูกนี้ท่านหมายถึงด้ายนั้น. แต่ครั้นเป็นผู้ใหญ่ เครื่องผูกเหล่านั้นเปือยจะหลุดไปเอง หรือตัดออกไป.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงบทนี้ด้วยบทว่า เอวเมว โข ดังนี้. การไม่รู้ที่สุดเบื้องต้นแห่งอวิชชา ดุจกาลที่เด็กอ่อนไม่รู้เครื่องผูกทําด้วยด้ายฉะนั้น. เพราะไม่สามารถรู้ที่สุดแห่งอวิชชาได้. แต่การรู้ว่า ความพ้นแห่งเครื่องผูก คือ อวิชชา ด้วยอรหัตตมรรค เช่นกับการรู้ในเวลาพ้น.

บทที่เหลือในที่ทั้งปวง ง่ายทั้งนั้นด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาเวขณสสูตรที่ ๑๐

จบปริพพาชกวรรคที่ ๓

รวมพระสูตรในวรรคนี้มี ๑๐ สูตร คือ

๑. จูฬวัจฉโคตตสูตร

๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร

๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

๔. ทีฆนขสูตร

๕. มาคัณฑิยสูตร

๖. สันทกสูตร

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

๘. สมณมุณฑิกสูตร

๙. จูฬสกุลุทายิสูตร

๑๐. เวขณสสูตร พร้อมด้วยอรรถกถา.